1/1 Close

หน้าแรก >[04] กสิกรรม > เครืองข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย > องค์ความรู้ > เกษตรอินทรีย์

 


การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ
(Natural ways for Soil Ioil Improvement)


บทบาทของจุลินทรีย์ กับเกษตรอินทรีย์
โดย ดร.พงศ์เทพ อัตนะริกานนท์


เกษตรอินทรีย์
ORGANIC
AGRICULTURE

ปริญญา พรศิริชัยวัฒนา
รองประธานชมรม
เกษตรอินทรีย์
แห่งประเทศไทย
ฝ่ายผลิต


ปุ๋ยหมักพระราชทาน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี


บทความพิเศษ
โดย จุลณีย์ ถนอมพล เครือข่ายประชาคม เกษตรยั่งยืน :
พัฒนาการมีส่วนร่วม
แบบองค์รวม (พหุภาคี) สัจธรรมสู่ภาค
การเกษตรยั่งยืน
อย่างแท้จริง

 

 

 

เครือข่ายประชาคมเกษตรยั่งยืน

โดย จุลณีย์ ถนอมพล

พัฒนาการมีส่วนร่วมแบบองค์รวม
(พหุภาคี )
สัจธรรมสู่ภาคการเกษตรยั่งยืน อย่างแท้จริง

โดยภาพรวม ในปัจจุบัน ถ้ามอง ในเชิงนโยบาย ภาคเกษตร ของประเทศไทยได้ให้ความสำคัญ ต่อการพัฒนาภาคเกษตรไร้สารพิษมากขึ้นเรื่อย ๆ บ่อยครั้ง ที่เวลาดิฉันไปรณรงค์เกี่ยว กับการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตรไร้สารพิษ และ เกษตรอินทรีย์ ในต่างจังหวัด แล้ว และ เยี่ยมสหกรณ์การเกษตรหลายจังหวัด เพื่อไปสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วม กับเครือข่ายเกษตรกรกลุ่มต่างๆ ดิฉันจะเห็นคำขวัญ ของรัฐบาลติดอยู่ตามสหกรณ์ต่างๆ ว่า “ สร้างเกียรติภูมิ ด้วยการพัฒนาเกษตรปลอดสารพิษ เพื่อเทิดพระเกียรติ “ และ “ เกษตรปลอดสารพิษ ช่วยกอบกู้ชาติ “ ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาการกำหนดนโยบายภาคเกษตร อย่างเป็นรูปธรรม ในปัจจุบัน ภาครัฐก็ได้เปิดโอกาสให้เกษตรกร ที่ได้เงินช่วยเหลือ สนับสนุน เพื่อจัดซื้อปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมีได้เอง และ เกี่ยว กับเงิน----งบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ตำบลละ 1 ล้านบาท ก็ได้เปิดช่องให้กลุ่มเกษตรกร ที่เป็นนิติบุคคล เสนอโครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรปลอดสารพิษ เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ เช่น กัน

แต่อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลจะกำหนดนโยบาย ที่ชัดเจน และ เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อส่งเสริม และ สนับสนุนกระบวนการพัฒนาภาคเกษตรอินทรีย์ และ เกษตรปลอดสารพิษให้ก้าวสู่ความยั่งยืน อย่างแท้จริง แต่น่าเสียดาย ที่ ในทางปฏิบัติเกษตรกรส่วนใหญ่ ยังขาดประสบการณ์ ขาดความเข้าใจ และ ขาดความเชื่อมั่นเกี่ยว กับกระบวนการพัฒนาเกษตรปลอดสารพิษ และ เกษตรอินทรีย์อยู่มาก ขณะเดียวกันก็ยังมีเกษตรกรอีกมาก ที่ยังมักง่าย และ ติดยึดอยู่ กับพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมี และ สารเคมีกำจัดโรคพืช และ ศัตรูพืชกันอยู่ 100 % ในปริมาณ ที่มากเกินไป ซึ่งไม่ต่างอะไร กับคน ที่ติดยาบ้า กลุ่มคนเหล่านี้น่าเป็นห่วง และ น่าสงสารมาก เพราะกำลังตายผ่อนส่ง เด็กหนุ่มๆ อายุแค่ประมาณ 30 ปี บางคน ( หรืออาจจะหลายคนแล้วตาม ที่ชาวบ้านเล่าให้ฟัง ) ฉีดยาเคมีกำจัดศัตรูพืชเสร็จกลับบ้าน อาบน้ำนอนสูบบุหรี่ พักผ่อนอยู่ กับบ้าน เช้าขึ้นมาภรรยาปลุกให้ตื่นมารับประทานอาหาร ปรากฏว่าไม่ยอมตื่นเลยชั่วนิจนิรันดร์

ปัญหา เช่น นี้ในปัจจุบันยังเกิดอยู่บ่อยๆ ในพื้นที่ทำการเกษตร ที่ใช้สารเคมีกันเต็ม 100 % และ ใช้อัตราสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเดี๋ยวนี้พืช ที่ปลูก โดยใช้สารเคมีเต็ม 100 % และ ใช้ในปริมาณมากเกินไปจะไม่มีภูมิต้านทานโรคเลย และ เวลาภูมิอากาศแปรปรวนจะเกิดโรคระบาดง่ายมาก และ ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี ทำให้เกษตรกร ที่ยังหลับหูหลับตาใช้สารเคมีกันเต็ม 100 % อยู่ก็จะยิ่งเพิ่มความเข้มข้น ของตัวยามากขึ้นเป็นลำดับ เพราะโรคพืช และ ศัตรูพืชเริ่มดื้อยามากขึ้น เช่น กัน ขณะเดียวกันดินก็จะเสื่อมสภาพมากขึ้น อย่างต่อเนื่องจนบางพื้นที่ดินไม่ยอมกินปุ๋ยเลย และ ปลูกอะไรก็แทบไม่ได้ผลผลิตเลย

...........

ระดับชั้น และ ขั้นตอน
ของกระบวนการ
เกษตรยั่งยืน 4 ระดับ

ระดับที่ 1
เกษตรอินทรีย์
สามารถพัฒนา
กระบวนการผลิต
แบบครบวงจร
เลิกใช้สารเคมี
ทุกประเภท

ระดับที่ 2
เกษตรไร้สารพิษ
เลิกใช้สารเคมี
กำจัดโรค และ ศัตรู
พืช แต่อาจมีการใช้
ปุ๋ยเคมีบ้างเล็กน้อย
ตามความจำเป็น
ของพืช เพื่อจัดการ
ธาตุอาหารให้สมดุล

ระดับที่ 3
เกษตรปลอดสารพิษ
ยังมีการใช้ปุ๋ยเคมี
อยู่บ้างผสมผสาน
กับปุ๋ยอินทรีย์
เพื่อจัดการ
ธาตุอาหารให้สมดุล
และ ยังใช้สารเคมี
กำจัดโรค และ ศัตรู
พืชอยู่บ้าง แต่ไม่มาก
และใช้ในช่วงระยะ
เวลา ที่ปลอดภัย
ต่อผู้บริโภค

ระดับที่ 4
เกษตรเคมี 100 %
มีการใช้ปุ๋ยเคมี และ
ยาเคมีกำจัดโรค และ
ศัตรูพืช ในปริมาณ
มากเกินความจำเป็น
จนเป็นอันตราย
ต่อพืช, มนุษย์, สัตว์
และ สิ่งแวดล้อม

............

ปัญหาเหล่านี้ ยังมีให้เห็นแทบทุกจังหวัด ในปัจจุบัน โดยเฉพาะ ในพื้นที่ๆ ทำการเกษตร ต่อเนื่องตลอดทั้งปี เช่น พื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง บริเวณ ที่มีปัญหาดินเปรี้ยวมากๆ หรือพื้นที่ปลูกพืชหัวซึ่งใส่ปุ๋ยเคมีมาก และ ใช้ยาเคมีกำจัดโรคพืช และ ศัตรูพืชมากเป็นพิเศษ เช่น เผือกหอม,แห้ว , มันเทศ , หอมแดง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ อีกหลายชนิด ที่เกษตรกรมีปัญหา เช่น ที่กล่าว ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องคงจะทราบดี

ดังนั้น เมื่อหน่วยงานทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง กับการส่งเสริม และ พัฒนาภาคเกษตรให้ยั่งยืน อย่างแท้จริงได้ตระหนัก และ รับรู้ถึงวิกฤต ของปัญหาภาคเกษตร ในปัจจุบันซึ่งยังมีพื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วประเทศ ที่เกษตรกรยังหลับหูหลับตาเดินถอยหลังลงคลองกันอยู่ เช่น ที่กล่าว

 

จึงจำเป็น อย่างยิ่ง ที่หน่วยงานทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เช่น รัฐบาล, สภาผู้แทนราษฎร, รัฐสภา, สภา ที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ, ข้าราชการ, เอ็นจีโอ, ภาคเอกชน, สื่อมวลชน ประชาชนผู้บริโภคสินค้าเกษตร, เกษตรกร และ สถาบันการศึกษา จะต้องเปิดใจกว้างร่วมด้วยช่วยกัน พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือแบบองค์รวม หรือพหุภาคี เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนา และ ส่งเสริมภาคเกษตรให้ครบวงจร อย่างต่อเนื่อง ด้วยความจริงจัง และ จริงใจ โดยจุดสำคัญ ของการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ ทุกฝ่ายต้องเอาใจนำ เพื่อถักทอสายใย เชื่อมโยง ประสานความร่วมมือ ให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้เป้าหมาย ในการพัฒนาภาคเกษตรให้ยั่งยืน อย่างแท้จริง ได้บรรลุผลสำเร็จ ในทางปฏิบัติ คือ สามารถ ลด ละ เลิกสารเคมี ที่เป็นพิษ ต่อมนุษย์ พืช สัตว์ และ สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ โดยมีเหตุผลสำคัญ ในการพิจารณาขบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิต พัฒนาคุณภาพผลผลิต พัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มผลผลิต ปรับปรุงบำรุงดิน ให้สมดุลสู่ธรรมชาติรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าเกษตรกรไทยสามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้ ย่อมแน่นอนว่า เกษตรอินทรีย์ และ เกษตรปลอดสารพิษ ช่วยกอบกู้ชาติได้ อย่างแน่นอน เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรครบวงจร เกิดความยั่งยืน อย่างแท้จริงให้ได้ตลอดไป จุดนี้ดิฉันขอชื่นชม และ ให้กำลังใจรัฐบาล อย่างเต็มที่ ในการส่งเสริมนโยบายเกษตรอินทรีย์

อย่างไรก็ตาม ในสภาพความเป็นจริงเกี่ยว กับความร่วมมือ ของทุกฝ่าย ที่เกี่ยว กับการพัฒนาภาคเกษตรให้ยั่งยืน ส่วนใหญ่ยังต่างคนต่างทำ และ แยกส่วนกันทำงานอยู่ เกษตรปลอดสารพิษ และ เกษตรยั่งยืนมาตลอด และ ยังไบางหน่วยงานยังเน้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้เกษตรกรเป็นหลัก หรือบางครั้งหน่วยงานก็ยัง งง! อยู่ว่าเกษตรยั่งยืน เกษตรปลอดสารพิษ หรือเกษตรอินทรีย์ ควรจะเชื่อมโยงให้เป็นหนึ่งเดียวได้ อย่างไร พร้อมกันนี้ก็ยังมีข้าราชการ นักวิชาการ และ เกษตรกรไม่น้อย ที่ขาดความเชื่อมั่น ในกระบวนการผลิตเกษตรอินทรีย์ ซึ่งไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกประเภทว่าจะได้ผลเต็มที่ ในทางปฏิบัติแค่ไหน

ประเด็นนี้ ดิฉัน ในฐานะผู้มีส่วนร่วม ในการผลักดัน และ สนับสนุนนโยบาย เกษตรอินทรีย์ และ ยังได้พยายามเชื่อมโยง นโยบาย ของรัฐบาลลงสู่ภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดรูปธรรม ที่ชัดเจน ในการพัฒนา กระบวนการผลิต เกษตรอินทรีย์ด้วยตนเอง พร้อมๆ กันนี้ได้มีโอกาสไปรณรงค์ และ สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วม กับเครือข่ายเกษตรกรระดับรากหญ้าทั่วประเทศเกี่ยว กับการพยายาม ลด ละ เลิกสารเคมีทุกประเภทกันอยู่แทบทุกวัน

จากประสบการณ์จริง ของดิฉันในจุดนี้ ทำให้ดิฉันเข้าใจมุมมอง ที่แตกต่างหลายๆ ด้าน ของกลุ่มคน แต่ละฝ่าย ดังนั้น จึงขอเสนอให้ทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาภาคเกษตรให้ยั่งยืน ยึดทางสายกลาง เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือแบบองค์รวม เพื่อให้เข้าใจง่าย และ ทำให้กระบวนการพัฒนาภาคเกษตร ให้ยั่งยืนไปในทางเดียวกันตามนโยบาย ของรัฐบาล เราควรจัดระดับชั้น และ แบ่งกลุ่มขั้นตอน ของกระบวนการพัฒนาภาคเกษตรให้ยั่งยืนออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 หมายถึง เกษตรอินทรีย์ ซึ่งสามารถพัฒนากระบวนการผลิตแบบครบวงจรได้สำเร็จ โดยการเลิกใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกประเภท

ระดับที่ 2 หมายถึง เกษตรไร้สารพิษ ซึ่งสามารถเลิกใช้สารเคมีกำจัดโรคพืช และ ศัตรูพืชได้ ส่วนปุ๋ยเคมีอาจมีการใช้อยู่บ้างเล็กน้อยตามความจำเป็น ของพืช เพื่อจัดการธาตุอาหารให้สมดุล

ะดับที่ 3 หมายถึง เกษตรปลอดสารพิษ โดยยังมีการใช้ปุ๋ยเคมีอยู่บ้างผสมผสาน กับปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อจัดการธาตุอาหารให้สมดุล และ ยังใช้สารเคมีกำจัดโรคพืช และ ศัตรูพืชอยู่บ้าง เช่น กัน แต่ ในปริมาณไม่มาก และ ใช้ ในช่วงระยะเวลา ที่ปลอดภัย ต่อผู้บริโภค

ระดับที่ 4 หมายถึง เกษตรเคมี 100 % โดยยังใช้ปุ๋ยเคมี และ ยาเคมีกำจัดโรคพืช และ ศัตรูพืช ในปริมาณมากเกินความจำเป็นจนเป็นอันตราย ต่อพืช, มนุษย์, สัตว์ และ สิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ถ้าหากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาภาคเกษตรพิจารณาขั้นตอน ของกระบวนการพัฒนาภาคเกษตรให้ยั่งยืน เช่น ที่ดิฉันกล่าวข้างต้นนี้ เราสามารถถักทอสายใยประสาน และ เชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตการเกษตรให้เข้าสู่เป้าหมายระดับ 2 และ ระดับ 1 ได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงตอนนี้ ความสำเร็จ ของการพัฒนากระบวนการเกษตรอินทรีย์จริงๆ ของเมืองไทย สามารถทำได้ กับพืชบางชนิด และ บางพื้นที่เท่านั้น แต่อยู่ในวงแคบ ซึ่งถ้าเราร่วมกันกำหนดเป้าหมาย และ มีแนวทางพัฒนาที่ดี อย่างเป็นรูปธรรม พร้อม กับการมีมาตรฐาน ที่ชัดเจน ก็คงจะสามารถพัฒนาให้ดี และ ขยายวงกว้างยิ่งๆ ขึ้นได้ แต่สำหรับการพัฒนากระบวนการผลิตเกษตรไร้สารพิษระดับ 2 ขณะนี้เกษตรกรไทยได้พัฒนาเข้าสู่มาตรฐานนี้แพร่หลายกว้างขึ้นเรื่อยๆ ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ และ กำลังพยายามพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพดียิ่งๆ ขึ้น ต่อไป ซึ่ง เมื่อถึงจุดหนึ่งดิฉันหวังว่า เกษตรกรไทยคงจะพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านการผลิต เพื่อก้าวเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับขั้นตอนการพัฒนากระบวนการผลิตการเกษตรระดับ 3 และ ระดับ 4 ดิฉันขอให้ทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะเป็นกลุ่ม ที่ใหญ่ที่สุด ถ้าพิจารณาทั่วประเทศ และ ยังน่าเป็นห่วงมาก โดยเฉพาะระดับ 4 เกษตรกรกำลังเดินถอยหลังลงคลองกันมาก

เพราะฉะนั้น ถ้าหากหน่วยงานหรือองค์กรไหนพยายาม ของเงินสนับสนุนการพัฒนากระบวนการการผลิตเกษตร ก็ขออย่าได้มองข้ามกลุ่มเกษตรกรระดับ 3 และ 4 เพราะกลุ่มเหล่านี้ยังต้องการพี่เลี้ยงอยู่มาก โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วทุกตำบล ในประเทศไทย ควรเข้าไปส่งเสริม และ แนะนำตลอดจนร่วมพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วม กับเครือข่ายเกษตรกรระดับรากหญ้า ให้ใกล้ชิด อย่างจริงจัง จริงใจ และ ต่อเนื่องให้มากขึ้น ส่วนนักวิชาการ และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรทุกหน่วยงานก็ควรศึกษา และ พัฒนาปัจจัยการผลิต ที่สามารถทดแทนการใช้สารเคมี เพื่อแนะนำหรือเผยแพร่พร้อม กับเข้าไปร่วมพัฒนาเครือข่าย เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วม กับเกษตรกรระดับรากหญ้า ให้มากกว่านี้ไม่ใช่นั่งอยู่บนหอคอยงาช้างหรือวิจัยอยู่ในห้องแล็ป หรือแปลงทดลองเล็กๆ เท่านั้น

 

อย่างไรก็ตามสำหรับประเด็นเกี่ยว กับรูปธรรม ของการพัฒนาการมีส่วนร่วมเครือข่ายภาคเกษตรให้ยั่งยืน อย่างแท้จริง ของทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดิฉันจะขอกล่าว และ วิเคราะห์เจาะลึก ในฉบับหน้า เพื่อหาแนวทางพัฒนาความร่วมมือให้บังเกิดประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล ในการพัฒนากระบวนการเกษตรยั่งยืน ให้พัฒนาครบวงจรให้ได้ อย่างแท้จริง เพราะถ้าต่างฝ่ายยังแยกส่วนการทำงานอยู่ เช่น นี้ เราจะขาดพลังร่วม และ ขบวนการพัฒนาภาคเกษตรก็จะล่าช้ามาก และ อาจจะสายเกินแก้ ถ้าเรายังปล่อยให้แผ่นดินไทยเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ยกตัว อย่างง่ายๆ เช่น ที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีกฎหมายห้ามเผาฟางตอซัง ในนาข้าว แต่เกษตรกรก็ไม่สนใจกฎหมาย และ ผู้รักษากฎหมายก็ทำอะไรไม่ได้ จึงจำเป็น อย่างยิ่ง ที่เราทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาภาคเกษตร ต้องปลูกจิตสำนึกตัวเอง แล้วหันหน้าเข้าหากัน รวมพลัง และ ศักยภาพ ของทุกฝ่าย ร่วมด้วยช่วยกันฟื้นชีวิต ให้แผ่นดิน ที่เราเกิด ได้คืนสมดุลสู่ธรรมชาติให้ดียิ่งขึ้นให้ได้ เพื่อความสำเร็จ ของการพัฒนาภาคเกษตร ให้ยั่งยืน อย่างแท้จริง

จาก... วารสารชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 1 ฉบับที่ 1เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2545