อัตตาภวตัณหาลึกๆ
เมื่อค่ำ วันมาฆบูชา ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
สมณะโพธิรักษ์ ณ พุทธสถานศีรษะอโศก

ต่อจากหน้า ๑

 


 

ทุกวันนี้ก็ยังพูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง ข้างนอกนี่ ไม่รู้เรื่องหรอก อาตมาก็จะต้อง พูดกับพวกคุณนี่แหละ ให้รู้ รูปฌาน อรูปฌาน และ รูปฌานอรูปฌานอาศัยได้ จะใช้เป็นประโยชน์ศึกษา เป็นอุปการะก็ได้ ไม่ได้หมายความว่า เราเอาประโยชน์ จากอันนี้ไม่ได้ ได้ๆ ต้องเรียนดีๆ พวกเราก็ฝึกกันอยู่ ไม่ใช่ไม่ฝึก เรียนรู้กันไป แต่ว่าทางเอก ของพระพุทธเจ้านั้น เป็นสัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิ UNIQUE เป็นสมาธิ ที่พิเศษกว่าอื่นในโลก มีอันเดียวนี่เท่านั้น ของพระพุทธเจ้า ของคุณอื่นไม่มีเหมือน UNIQUELY UNIQUENESS เป็นความพิเศษ อันเดียวเท่านั้น ของพระพุทธเจ้า สัมมาสมาธิ ไม่มีภาษาเรียก เรียก MEDITATION ไม่ได้ เพราะมันไม่เหมือน MEDITATION เขารู้กันทั่วโลกเลยว่า จะต้องเป็นอย่าง ฌานฤาษี นั่นแหละ ฌานมานั่ง สมาธิ หรือจะเพ่งข้างนอกก็ได้ ฌานให้เกิดเพ่งสะกด สะกดจิตเข้าไปอยู่ในภพ แต่ของพระพุทธเจ้านั้น ตื่นออกมาจากภพ ของพระพุทธเจ้า ตื่นออกมาจากภพ ขึ้นมาเรื่อย ขึ้นมาสู่วิถีเสมอ ขึ้นมาสู่ตาหูจมูกลิ้น กายใจ ขึ้นมารับรู้ ยิ่งรับรู้อย่างตื่น อย่างเต็ม เป็นชาคริยา เป็นความตื่นเต็ม ไม่หรี่ ไม่ลวง ไม่พราง รู้อย่างชัดแจ้ง โยนิโส รู้อย่างแยบคาย รู้อย่างถ่องแท้ อะไรคืออะไร ผัสสะทางตารู้ ผัสสะทางหูรู้ ไม่ใช่ปิดตาปิดหู ปิดจมูกปิดกาย ไม่ใช่! มีครบๆ เป็นสามัญมนุษย์ธรรมดา แต่ไม่สามัญตรงที่ รู้จุดศึกษาๆ มาทำความหมาย แล้วมาปฏิบัติ ให้ถูกตรง จะเกิดผลลดละ ดับเฉพาะกิเลส ถูกตัวกิเลส โดยตรง

เพราะฉะนั้น กิเลสยิ่งดับ จิตยิ่งเก่ง จิตยิ่งตื่น จิตยิ่งรู้มาก จิตยิ่งรู้อะไรได้เร็ว รู้ได้ถูกต้องด้วย จิตยิ่งวิเศษ ไม่ใช่ยิ่งทำแล้ว จิตยิ่งไม่รู้เรื่อง จิตเกี่ยวข้องกับทางตา จิตเกี่ยวข้องทางหู หรือจะเรียก วิญญาณก็ได้ วิญญาณเกี่ยวข้องกับทางตา เรียกจักขุวิญญาณ วิญญาณที่เกี่ยวข้องทางหู เขาเรียกว่า โสตวิญญาณ วิญญาณที่เกี่ยวข้องทางจมูก เขาเรียกว่า ฆานวิญญาณ ทางลิ้นทางกาย เขาเรียกวิญญาณทั้งนั้น เพราะจิตที่มาทางตา จิตที่มาทางหู ยิ่งเก่ง กิเลสยิ่งลด ยิ่งเก่งยิ่งรู้เท่าทันตา รู้เท่าทันรูป ยิ่งรู้เท่าทันเสียง ยิ่งรู้ว่า ได้รับเสียงเป็นอย่างนี้แล้ว มีกิเลสร่วมด้วยไหม กิเลสเป็นอย่างไร วิเคราะห์ในกิเลสออก ฆ่ากิเลสจนหมด ยิ่งฆ่ากิเลสออก จิตยิ่งรู้เท่าทันเสียง จิตยิ่งรู้เท่าทันรูป ยิ่งรู้เท่าทันกลิ่น ยิ่งรู้เท่าทันรส ไม่เป็นทาสสิ่งนี้ เพราะกิเลสมันตาย เพราะกิเลสเป็นทาส จิตยิ่งรู้แต่ความจริง รู้ความจริง ตามความเป็นจริง ของธรรมชาติ ทั้งหมด ธรรมชาติรูป ธรรมชาติเสียง ธรรมชาติกลิ่น ธรรมชาติรส รสพริกเป็นอย่างนี้ รสไอ้นั่น เป็นอย่างนี้ แต่ไม่มีกิเลสเข้าไปอร่อย เข้าไปไม่อร่อย ไม่ใช่ กิเลสเข้าไปชอบ กิเลสเข้าไปชัง ไม่มี เสียงอย่างนี้เสียงด่า โอ๊ รู้ชัดเสียงด่า คนนี้ด่าได้แสบดี แต่ไม่โกรธ หูได้ยินเสียงด่า โอ คนนี้ด่าอย่างนี้ เข้าใจสมมุติโลก ว่าด่าอย่างนี้ คนนี้ด่าอย่างนี้หยาบ ด่าอย่างนี้ผู้ดี ด่าอย่างนี้คนชั่ว ด่าอย่างนี้คนชั้นต่ำ รู้หมด เข้าใจสมมุติสัจจะ แต่กิเลสไม่มี หรือกิเลสน้อยลง ก็ต้องรู้ว่า เรารู้อันนี้แล้ว กิเลสเราน้อยลง แสดงว่า จิตเรายิ่งรู้ชัด ยิ่งมีโยนิโส ยิ่งแยบคาย ถ่องแท้เพิ่มขึ้น ลดกิเลสลง ดับกิเลสจนกิเลสดับ จิตยิ่งรู้เต็มที่เลยของจิต ตามความเป็นจริงหมด ไม่ใช่ปิดหู ปิดตา ไม่ใช่ยิ่งไม่รู้เรื่อง สังขารร่วมด้วย ปรุงๆร่วมด้วย ยังได้ด้วยซ้ำ เป็นวิสังขาร

วิ นี่ แปลว่ายิ่ง อย่างยิ่ง อย่างวิเศษ วินี่แปลว่าวิเศษ หรือ ไม่ เพราะกิเลสไม่มี และมีอะไรพิเศษ รู้พิเศษ เก่งพิเศษ วินี่มีความหมาย สองอันครบ วิก็ด้วย วิเศษก็ด้วย จิตวิเศษด้วยเป็นวิสังขาร ไม่มีกิเลสเข้าไปสังขาร แต่สังขาร อย่างวิเศษ แต่อันเดียวกันนะๆ จิตสังขาร นี่อันเดียวกัน นี่มันวิเศษลึกซึ้งอย่างนี้ ไม่ใช่ไปได้แต่ด้านเดียว วิแปลว่า ไม่ปรุง ไม่ปรุงก็โง่เท่านั้นแหละ ไม่คิดโง่ ไม่รับรู้โง่ ศาสนาพุทธ ไม่ได้สอนคนโง่ ไม่ได้สอนคนไม่รู้ สอนคนให้รู้ๆ ให้รู้เท่าทันโลก เป็นโลกวิทูด้วยซ้ำ ไม่ใช่ไม่ให้รู้ วิเศษอย่างนี้ เพราะเราศึกษาเข้าไปแล้ว พยายามวิเคราะห์วิจัย ฝึกฝนไปจริงๆ แล้วละก็จะได้

ทุกวันนี้พวกเรา อาตมาเอง อาตมาก็เห็นว่า พวกเราได้ดี แต่ว่าดีกว่านี้ ยังมีอีก ที่เราจะเจริญขึ้น ประเด็นที่สำคัญ ก็คือว่า พวกเรานี่ยังปฏิบัติ ให้มันเกิดระบบ มรรคองค์ ๘ และ โพชฌงค์ ๗ มันยังไม่พอ จะบอกว่า อาชีพคุณก็ทำกันพอไป ก็มีบ้าง บางคนเลี่ยงหลบบ้าง กิเลสส่วนนั้นส่วนขี้เกียจ ก็ขยันขึ้นก็แล้วกัน แต่ตรงที่ มันสำคัญ ก็คือตรงที่ว่า เรายังไม่เก่งขึ้นของ โพชฌงค์ สติเราเป็น สติสัมโพชฌงค์ ก็ยังไม่ค่อยเก่งขึ้น ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ของเรา ก็ยังไม่เก่งขึ้น เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเพียรตัวนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ คือเพียร ให้เกิดสติ จึงเป็นสัมโพชฌงค์ เพียรให้เกิด ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น เมื่อคุณจะเพียรนี่ คุณนั่งอยู่เฉยๆ ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับงาน ไม่เกี่ยวข้องกับใคร มันไม่ช่ำชอง มันจะช่ำชองก็ต้อง ประกอบไปด้วยมรรค ประกอบด้วย สังกัปปะ เมื่อคุณสัมผัสแล้วคิด คุณคิดอยู่คนเดียว แล้วคุณก็เพ้อ และฟุ้งซ่านอยู่ เหมือนกบ ในกะลาครอบ แต่ถ้าไปกระทบ สัมผัสกับคนอื่น ก็จะมีแง่คิด อันที่เป็นจริง ไม่ใช่นักผกผัน ไม่ใช่ตรรก คิดๆๆ ได้ความคิดตรรกศาสตร์ ไม่ใช่เหตุผล แต่เป็นความจริง เมื่อกระทบสัมผัสใครขึ้นมาแล้ว สิ่งที่ทำให้เรา เกิดกิเลสขึ้นมา เราก็จะพยายาม วิจัยกิเลสให้ออก ธัมมวิจัยนี่ วิจัยจริง เมื่อวิจัยแล้ว แยกเคหสิตะ แยกเนกขัมมะออก แยกว่านี่กิเลสนะ ถ้าเป็นไปตาม สุขทุกข์กิเลสนี่ โทมนัสโสมนัสแบบกิเลส เคหสิตแบบชาวบ้าน แบบปุถุชน อย่างนี้เราไม่เอา เราลดละกิเลส ที่มันจะเป็นสุขเป็นทุกข์ แบบนี่ซะ

ลดละออกได้ทำวิธีใดๆ คุณสามารถเนกขัมมะจะออก ความเป็นเคหสิต นี่เรียกว่า เนกขัมมะ ออกจากความเป็นคนโลกๆ อย่างนี้ออกมา ลดกิเลสอย่างนี้ ทุกข์สุขอย่างนี้ไม่เอา ลดกิเลส ลดสุขลดทุกข์ อัสสาทะ แบบโลกๆนี่ ลดได้จริงๆ เนกขัมมะมาเรื่อยๆ คุณได้ คุณจะต่อสู้อยู่ ลดไม่ได้ก็ไปเป็นโทมนัส เป็น เนกขัมมโทมนัสๆ เวทนา จนกระทั่ง เราพอสู้ได้ พอได้ปั้บมันดีใจ ลดได้มากขึ้น ก็ยิ่งดีใจมากขึ้น ก็เป็นโสมนัสดีใจ เป็นสุขอย่างดีใจ เวทนาอย่างนี้ วิเคราะห์วิจัยเวทนา อย่างนี้ออกเรื่อยๆ จนกระทั่ง แม้แต่โสมนัส เป็นอุปกิเลส คุณก็ลดลงอีก ปีติโสมนัส โสมนัสอะไร ก็ตามใจเถิด ยินดีๆใจที่เราได้ ลดลงอีก จนกระทั่งสงบ เป็นอุเบกขา เป็นเนกขัมมอุเบกขาเวทนา เป็นฐานนิพพาน แม้อุเบกขานี่ ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวของเรา ไม่ยึดเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวปลายสุด ให้มันได้ตัวนี้ก่อนเถอะ เป็นฐานอาศัย ช่ำชองแล้ว ค่อยมาวางมัน อุเบกขา อย่าเพิ่งรีบวางนัก หรือบางคน ไม่ถึงขั้นอุเบกขาหรอก ดีใจที่เราได้ดี ก็อาศัยไปก่อนก็ได้ เป็นลำดับๆๆไป นี่ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ จะต้องให้อ่านออกอย่างนี้ สติสัมโพชฌงค์ ก็คือ สติมีธัมมวิจัย อย่างนี้อยู่ในสติ อยู่ในการรับรู้ รู้ตัวทั่วพร้อม สัมผัสตาหูจมูกลิ้นกายใจ สัมผัสเมื่อไหร่ ก็ไว รู้ รู้ทัน รู้ผล รู้เกิดอาการทางใจ รู้แล้วธัมมวิจัย ธัมมวิจัยเร็วขึ้น เป็นมุทุภูตธาตุ ไวสามารถเร็ว

เพราะฉะนั้น ก็ยิ่งเร็วก็ยิ่งคล่อง ก็ยิ่งทำได้ คุณก็ยิ่งสามารถ ที่จะทำกรรมทุกอย่าง มุทุภูเต กัมมนิเย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มโนกรรมกระทำอาชีพ กรรมกระทำการงาน กรรมกระทำการคิด กรรมกระทำการพูด กรรมทำอะไร ต่างๆนานา มโนกรรม วจีกรรม กายกรรมๆ การงานอาชีพ ทุกอย่าง คุณก็ยิ่งจะแคล่วคล่อง ก็ยิ่งควร ยิ่งเหมาะ ยิ่งสม ยิ่งจะทำอันนี้ไป ก็สามารถที่จะพัฒนาตนเอง ให้เกิดพร้อม ไปกับงานการ พร้อมกันไป กับความคิด พร้อมกันไป กับการพูด พร้อมไปกับการทำการงาน พร้อมกันไปกับอาชีพ พร้อมกันนั้น คุณก็ปฏิบัติธรรมอันนี้ มีโพชฌงค์ตัวนี้ประกอบ เมื่อกี้พูดไปนั่น มรรคตัวโพชฌงค์นี่ ก็อยู่ร่วมกันเลย โดยเฉพาะ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ เมื่อกี้ไม่ได้พูดถึง ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ไม่ได้พูดถึง แต่ก็พูดแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวชื่อ ความดีใจ โสมนัสเวทนา นั่นก็ใช่ปีติ แล้วจิตของเราสงบลง ถึงขั้นอุเบกขาก็สงบ ปัสสัทธิมันสงบ เป็นสัมโพชฌงค์ เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ มันสงบลง จนมันวางเฉยได้ กิเลสกระแทก กระเทือนอย่างไร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะ ๖ ยังมีอยู่ เหตุปัจจัยใด ที่ก่อให้เกิดกิเลส ก็มีอยู่ แต่จิตที่เป็น ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ จ กัมมัญญา จ ปภัสสรา จ จิตตัวนี้บริสุทธิ์อยู่ อุเบกขาอยู่ สะอาดอยู่ องค์ธรรมของ อุเบกขา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา บริสุทธิ์ แม้กิเลสจะมาหุ้ม มาพอกกระทุ้ง กระแทกยังไง ก็สงบอยู่ เอามาอาบมาพอก มายังก็ ปริโยทาตา ๆ ก็ยังสะอาดอยู่ได้ เหมือนน้ำกับใบบอน เอามาลดมาร่วม ก็ไม่ดูด ไม่ซับ ไม่ซึม อุเบกขาเฉยก็อยู่ได้ แข็งแรงๆอยู่ได้ เป็นตัวของตัวเองอยู่ อย่างบริสุทธิ์ แข็งแรง ไม่ซับไม่ซึม คุณภาพวิเศษ กัมมัญญา ก็คือ กัมมนิเย นั่นแหละ เหมาะควรแก่การงาน เขาก็แปลอันเดียวกัน ทำได้ดีด้วย สละสลวย ทำการงานได้สำเร็จ เสร็จสมอย่างดี มุทุ จิตเร็ว จิตคล่อง จิตมุทุก่อนนะ เดี๋ยวค่อยกัมมัญญา จิตนี่สามารถที่ ปริโยทาตาก็มุทุ ก็มุทุภูตธาตุนั่นแหละ ตัดได้ง่าย ปรับได้ง่าย สามารถที่แววไว รู้เท่าทันได้เร็ว จิตก็ลดกิเลส ได้เร็วด้วย เร็วจนกระทั่ง จิตแข็งแรง ไม่เกิดนั่นแหละ จิตวิเศษ จะเป็นการงานอะไร ก็ทำได้ง่ายหมด กัมมัญญา กัมมนิเย การงานอะไร ก็ทำได้ดีมากขึ้น จะว่าหมด มันอาจจะไม่หมด มันอาจจะไม่เก่งบางอย่าง แต่ก็เก่งขึ้นเรื่อยๆ ทำได้เรื่อยๆ กว้างขวาง สามารถมากขึ้น เป็นคนมีการงานได้ดี

เพราะฉะนั้น ศาสนาพระพุทธเจ้า ยิ่งบรรลุเป็นอริยะ ยิ่งมีความสามารถ ยิ่งทำการงานกับโลกเขาได้ อย่างวิเศษ ช่วยมนุษยชาติได้มาก มีปัญญาในเรื่อง รู้ตรรกศาสตร์ ของสังคม รู้จักเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ปฏิบัติธรรมนี่ จะเข้าใจ ในเรื่องนิติศาสตร์ เพราะหลักเกณฑ์ ของสังคมก็คือ นิติกรรม นิติศาสตร์ จะรู้เข้าใจ ไม่ต้องไปเรียนปริญญา นิติศาสตร์ ให้ยากจริงๆ จะรู้จักหลักแห่งการตัดสิน หลักแห่งการกำหนดว่า อย่างนี้ควรหรือไม่ควร จะเก่งกว่า นิติศาสตร์โลกๆ ด้วยซ้ำ เพราะนิติศาสตร์โลกๆ ก็ยังลวง นิติศาสตร์โลกๆ ก็ยังเห็นแก่พรรค แก่พวก แก่ตัวแก่ตน แต่นิติศาสตร์ของ พระพุทธเจ้า หรือทางธรรมะ ที่เป็นสัจจะ จะตรง จะไม่ลำเอียง จะเพื่อประโยชน์ของประโยชน์ ที่แท้จริง ไม่ใช่เพื่อใคร แม้แต่ตัวเราเอง จะไม่ลำเอียง เข้าข้างตัว เศรษฐศาสตร์นั่น ไม่ต้องพูดเลย ชัดเจน รัฐศาสตร์ก็ไม่ต้องพูด ก็คือมวลมนุษยชาติ รัฐศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ เป็นแต่เพียง การดูแล รัฐศาสตร์ก็คือ ผู้ที่ศึกษานั้นก็คือ ผู้ที่จะสามารถ รู้จักสังคม แล้วบริหารสังคม

ส่วนสังคมศาสตร์นั้นก็คือ สังคมทั้งหมด ในศาสตร์ที่ อาตมากล่าวนี้ อยู่ในพุทธศาสนาหมด จะลึกซึ้งด้วย รัฐศาสตร์ก็การเมืองนั่นแหละ ที่พูดกันให้ชัดๆ รัฐศาสตร์ ก็คือการเมือง จะรู้จักการเมือง จะรู้จักเศรษฐศาสตร์ จะรู้จักนิติศาสตร์ จะรู้จักสังคมศาสตร์ ส่วนศาสตร์ พิเศษที่ว่า วิศวกรรมศาสตร์ ก็เป็นไปเรียนพิเศษ มันก็ไม่เกี่ยวกับ ศาสนาพุทธเท่าไหร่ แต่ถ้าไปเรียน ฝึกฝน ก็จะง่าย ไปเรียนวิศวะ ไปเรียนงานพิเศษอะไร ที่มันเป็นงานโลกๆ เขาหลายอย่าง มันจะไม่ได้จากเรียน พุทธธรรม

ก่อนนี้เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือการเมือง สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ อะไรพวกนี้ ปฏิบัติพุทธนี่แหละ จะได้ศาสตร์พวกนี้ ขึ้นมาจริงจัง เพราะมันเกี่ยวกับมนุษยชาติ เกี่ยวแก่ความเป็นอยู่ ของมนุษยชาติ ส่วนที่จะไปผลิตพิเศษ เรียนรู้ดาราศาสตร์ เรียนรู้วิศวกรรมศาสตร์ เรียนรู้เทคนิค อะไรต่ออะไรอื่นๆ อะไรออกไป นั่นนะ ต้องไปเรียนพิเศษเอา ไม่ได้เกิดจากพุทธ แต่ถ้าจิตใจดีแล้ว จะเรียนก็ง่าย จะเรียน ช่างกล จะเรียนช่างไม้ จะเรียนแม่ครัวหัวป่า ทำอาหารเก่ง อะไรก็แล้วแต่ จะไปเรียนอะไรพวกนี้ ไปฝึกเอาได้ แต่ไม่ได้จากพุทธตรง แต่ได้จากพุทธพวกนี้ วิชาศาสตร์พวกนี้ อยู่ในพุทธ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์พวกนี้อยู่ในพุทธ ปฏิบัติพุทธ จะได้สิ่งเหล่านี้มา โดยตัวมันเอง มันจะเกื้อกูลมนุษยชาติ สามารถช่วยเหลือ มนุษยชาติได้ อย่างแท้จริง นำพาได้ สะอาดบริสุทธิ์ด้วย ไม่ลำเอียง ไม่เข้าข้าง ยิ่งบริสุทธิ์สะอาด มากเท่าไหร่ จะไม่เข้าข้าง แม้แต่ตัวเอง จะไปป่วยการ กล่าวไปทำไมกับ เข้าข้างกับหมู่พวกตัวเอง ไม่เข้าข้างหมู่พวกตัวเอง เพราะตัวเอง ยังไม่เข้าข้างตัวเอง แค่หมู่พวกก็ โธ่ จะไปเข้าข้างทำไม จะไปเข้าข้างๆ ก็ไปเข้าข้างสัจธรรม นั่นเอง

พระพุทธเจ้าท่านสอน วันมาฆบูชา ไปให้ท่านสอนเป็นหลัก หลักที่รู้กันดีคือ หลักแรก สัพพปาปัสสะ อกรณัง กุสลัสสูปสัมปทา สจิตตปริโยทปนัง หลัก ๓ โอวาทปาติโมกข์ ๓ อันนี้ เหมือนกับที่อาตมาอธิบายให้รู้ว่า อะไรไม่ดี อะไรเป็นบาป บาปนี่หมายความว่า สิ่งชั่วร้ายมาก ชั่วร้ายมากแล้วไม่ทำจริงๆ เพราะฉะนั้น ฐานะของบุคคล ฐานะสูง ก็ฐานะยังไม่สูงนัก ฐานะยังไม่สูงนัก บาปของเขา เขาก็ทำในระดับหนึ่ง มันก็จะหยาบมาก ไม่สูงนัก แต่ในระดับหนึ่ง เขาก็ยังทำบาป ในระดับนั้นอยู่ ผู้ที่สูงกว่าผู้นี้ ถือว่า ไอ้นั่นหยาบ บาปมาก ขนาดนี้ของผู้ที่ทำอยู่นี่ ถ้าผู้สูงมา ก็ต้องถือว่า ผู้นี้เป็นบาป ที่ผู้นี้จะต้องไม่ระเบิด ไม่ทำเหมือนกัน ไม่ทำด้วย เพราะผู้นี้สูงกว่าผู้นี้ บาปของพุทธ ผู้นี้ยังถือว่า ยังทำอยู่ ไม่ถือว่าบาปนัก แต่สูงขึ้นมาแล้ว ผู้นี้จะต้องถือว่า ที่ผู้นี้ทำอยู่ถือว่าบาป บาปยังไม่มากเท่าอันนี้ ผู้นี้ก็ถือว่าบาป อันนี้เป็นบาปมาก และต้องไม่ทำ สูงขึ้นไปอีกๆ ก็จะลดหลั่นไป อย่างนี้เรื่อยๆ จนกระทั่ง ผู้นี้จะไม่ทำบาป ทั้งหลายก็คือ ต้องรู้ว่า ไอ้บาปเหล่านั้นน่ะ ซ้อนเชิงก็คือว่า ตัวเองก็ไม่ต้อง ไปทำสิ่งนั้น ให้แก่ตัวเอง

ทีนี้เมื่อเวลาปฏินิสสัคคะ ตีกลับ ผู้นี้ไปทำอันนี้ ถือว่าบาป คนอื่นมองตื้นๆ ว่าบาป เช่น ดูวิดีโอ ดูละครละเม็ง แต่เขาได้อยู่ เหนือละครแล้วตอนนี้ ท่านไปดูละครนี่ ดูร่วมกับเขา เพื่ออนุโลม และเพื่อสอนเขา แนะนำเขา ใช้อันนี้เป็น โสตทัศนศึกษา อย่างนี้เป็นต้น ท่านไม่ทำเพื่อตัวเองเลย ท่านไม่ได้เสพ แต่ท่านดูกับผู้นี้ ผู้นี้ก็ยังบาป ผู้นี้ก็ยังได้ตกต่ำ และได้มีอะไรอยู่บ้างก็ช่วย อย่างนี้เป็นต้น สิ่งนี้ ปฏินิสสัคคะ อย่างนี้นี่ มันก็อยู่ที่ ความจริง และบริสุทธิ์ใจ ต้องอ่านตัวเองจริงๆ แล้วต้องศึกษาเข้าไปนะ เราๆเอง เรามีกิเลสจริง แล้วก็อย่าไปปฏิเสธ ต้องเรียนรู้ ลดละกิเลสให้ได้ ถ้าลดละไม่ได้ ตัวเองก็งมงายอยู่ อย่างนั้นแหละ เล่นเจ้าล่อเอาเถิด ตีกินหลอกคนอื่น ก็ยิ่งบาปซ้ำ ก็ยิ่งชั่วช้ำ แต่ถ้าตัวเอง ได้ประโยชน์ เมื่อเราอยู่เหนือมัน เมื่อไหร่ คุณจะรู้ อยู่เหนือมันแล้ว คุณก็รู้ คุณก็ไม่อยากเสพ อะไรหรอก อยู่ในโลกนี้ ทั้งนั้นแหละ มันก็เป็นสิ่งที่ จะอยู่กับโลกเขา

ยกตัวอย่างอีกอันหนึ่งง่ายๆ อยากเทศน์ คนที่หลงเทศน์ แม้บางคนนี่จะรำคาญ หลงเทศน์ เทศน์ดีเสียด้วยนะ แต่ตัวเอง ก็ยังไม่รู้ว่า ตัวเองติด ไม่รู้ว่าตัวเองหลง นั่นแหละเป็นสิ่งที่ตัวเอง จะต้องพยายามละลด ลองหัดไม่เทศน์เสียบ้างซิ หรือ ถ้าคุณมีตัวญาณ ตัวธัมมวิจัย สติสัมโพชฌงค์ชัด คุณเทศน์ ก็ต้องอ่านใจตัวเอง วิเคราะห์วิจัยกิเลส มันเสพมันติดอร่อยน่ะ นี่ก็ให้รู้ ต้องละกิเลสให้ถูกสภาวะ เมื่อละกิเลส ถูกสภาวะแล้ว คุณไม่อร่อย ไม่มัน ไม่เสพ คุณก็รู้ว่าเมื่อย ก็ควรหยุด ควรหยุดก็หยุดวะ แต่ถ้ามันนี่ โอ้โฮ ควรหยุดก็ไม่หยุดละ ถ้ามันๆ มันอร่อย ติดอยากเทศน์ มันก็ไม่หยุด มันควรจะหยุดแล้ว ก็ไม่หยุด และจะไม่สังเกตรู้คนอื่น เขาเท่าไหร่ และลำเอียง เข้าข้างตัวเสียด้วย โอ้โฮ คนเขาสนใจ แต่ที่จริงเขาเกรงใจ เขาเกรงใจ เขาสนใจน่ะ ลำเอียงเข้าข้างตนหมด อย่างนี้ก็เป็นนะ

นี่ยกตัวอย่าง แค่สองตัวอย่าง อันอื่นๆมีอีก มันต้องเรียนรู้จริงๆเลย เรียนรู้อาการจริงๆ อาการของจิตเรานี่ ที่อาตมาพูดเอาไว้ เคยใช้เป็นโศลกพวก แล้วตนก็เสพ ต้องเรียนรู้ อาการ ลิงค นิมิต ของอาการทางจิต ตัวนี้ให้ได้ นี่อาตมาไม่เห็น ที่นั่งๆหลับกันไปบ้างหรือ ก็ไม่รู้นี่ เจาะลึกเข้าไป หาสภาวะธรรมข้างหน้าๆ นี่อาตมาเห็นหน้านี่ ไม่กล้าหลับ แต่พ้นรัศมีการเห็นแล้วนี่ มืดข้างหลังไม่เห็นแล้ว เห็นอยู่นี่ ทางหน้าๆนี่ ไปรัศมีแสงพอเห็นนี่ ถ้าใครที่อยู่มืดๆ ตรงโน้น ใต้ร่มไผ่ ใต้โน่นนะ เลิกเลย ป่านนี้ อย่าเพิ่งกรนออกมา ก็แล้วกัน แต่ถ้าใครยังฟังได้อยู่ดีนะ ยังชัดเจนฟังได้ นั่นเราก็ฟังธรรมะพวกนี้ ได้ธรรมรส ฟังรู้เรื่อง ฟังเข้าใจ แม้สภาวะ เราจะยังไม่ได้ ยังไม่มี แต่เราฟัง อันนี้รู้เรื่อง ก็ใช้ได้ ฟังเข้าใจ แล้วก็นำเอาไปปฏิบัติ แล้วอย่าหลง ไอ้ที่เราฟังเข้าใจ ก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นทีเดียว

บางคนนี่มีไอคิวดี มีตัวเฉลียวฉลาดดี ฟังรู้เรื่อง เหตุผลมาก รู้ได้ดี ระวังจะไปเป็นปทปรมะ พวกเอาหัวยันตีน อาตมาแปลว่า เอาหัวยันตีน ปทปรมะ นี่แปลว่ายอด แปลว่าหัว ปทะนี่แปลว่าตีน ปทปรมะ อยู่ด้วยกันเลย เอาหัวยันตีน ทั้งๆที่ตัวเป็นตีน นึกว่าตัวเป็นหัว ทั้งๆที่ตัวต่ำต้อยนี่ เข้าใจเป็นยอด มันได้นะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นปทปรมะ พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสว่า ผู้ที่ศึกษา พระพุทธพจน์ก็มาก ทรงจำไว้ได้ก็มาก สาธยายอยู่ ก็เก่งมาก อย่างกับบรรลุธรรม จ๋อย ไม่บรรลุธรรมอะไร เดี๋ยวนี้ก็เยอะ เดี๋ยวนี้ก็ศึกษากันอยู่เยอะ สาธยายยืนยัน บรรลุธรรมหรือเปล่า ทั้งๆที่ ศึกษามามาก เขาไม่ให้บอกๆ ก็บอกบ้างปะไร อย่างน้อยก็รู้จัก อุปสัมบันบ้าง ขนาด โพธิรักษ์นี่ พอเป็นอุปสัมบันบ้างไหมล่ะ ถามบ้าง รู้บ้างไหม บรรลุธรรมบ้างไหม กระซิบก็ได้เอา ประเดี๋ยวกลัวคนอื่นได้ยิน ประเดี๋ยวจะกลายเป็นอาบัติ ก็ถ้าเชื่อว่าโพธิรักษ์ เป็นอุปสัมบัน ก็ให้โพธิรักษ์บ้าง รู้บ้างไหม จะกล้าบอกไหม มั่นใจไหม บอกได้ รู้แจ้งเห็นจริงเลย อันนี้คือเขียว อันนี้คือแดง ถามอันนี้เขียวหรือแดง ฮึ บอกไม่ได้ ก็ไม่รู้ซิ ถ้ารู้ว่าเขียวว่าแดง บอกมาบ้างซิ แล้วคนๆนี้ ก็ควรบอกด้วย เพราะเขาก็เป็น อุปสัมบัน ภูมิเขาก็ถึงน่ะ ยิ่งภูมิถึง ข้ายิ่งไม่กล้าบอก เขารู้ว่าข้าไม่จริง ดันไปบอก ว่าเขียว ว่าแดง บอกแดงว่าเขียว ขายหน้าตายใช่ไหม เพราะมันไม่กล้าบอก ยิ่งรู้ว่า อุปสัมบันคนมีภูมิ เอ้า ขืนไปเปิดภูมิ ก็ตายนะซิ เดี๋ยวเขาก็จับได้ว่า เราไม่รู้จริง แต่ถ้าคุณแน่ใจว่าคุณรู้ รู้จริง จะได้ตรงกัน จะได้เช็ค นี่เขียวหรือแดง นี่แดง นี่เขียว นี่บอกไปเลย ตรงกันเป๊ะเลย ภูมิเหมือนกัน รู้เหมือนกัน ทำไมจะไม่กล้าบอก เพราะคนนี้ ไม่มีอัตตามานะ จะบอก ถ้ารู้ว่า คนนี้มีภูมิบอกซิ ถ้าผิด ท่านจะได้บอกให้เรา อ๋อ เราเข้าใจผิดเหรอ เราไปชี้แดงว่าเป็นเขียว ไปชี้เขียวว่าเป็นแดงเหรอ อ๋อ ท่านรู้ว่า ท่านเป็นอุปสัมบัน ท่านรู้ ท่านประกาศด้วย ท่านเป็นอุปสัมบัน เออดี ลองเชื่อท่านบ้างซิ ถ้าท่านว่าอันนี้เป็นผิด อธิบายให้ผมด้วย ช่วยชี้จริงๆด้วย ผมจะเป็นลูกศิษย์ พิสูจน์เลยซิ อาจารย์จริงหรือเปล่า อุปสัมบันจริงหรือเปล่า เป็นผู้มีภูมิ จริงหรือเปล่า เราก็จะได้รู้ ได้เช็คเลย เราก็เรียนมามากละ แต่อัตตามานะ มันไม่ยอมนะ

เพราะฉะนั้น คนที่มีความจริงแล้วนี่ จะอาจหาญแกล้วกล้า แต่ไม่ใช่ห่ามนะ ไม่ใช่ไปเที่ยวอวดเก่งอวดดี ไประรานใคร ไม่ใช่นะ จะกล้า กล้าจริงๆ แล้วจะมีเหตุมีผล มีหลักมีเกณฑ์ อย่างที่พูดให้ฟัง บางคน ได้แต่ปริยัติ ได้แต่อะไรนี่ ไม่แกล้วกล้าหรอก ไม่อาจหาญหรอก นอกจากไม่แกล้วกล้า ไม่อาจหาญแล้ว บรรยายก็เลี่ยงๆหลบๆไป ยิ่งมีอัตตามานะ มากอยู่ด้วยแล้วก็ ผิดก็ไม่กล้ารับผิด ไม่ยอมรับผิด กลบเกลื่อนไป เลี่ยงไปตะพืด ก็คนเรามันผิดได้ เป็นพระอรหันต์ ก็ผิดได้ พออาตมาพูดอย่างนี้ อะไรวะ ใครสอนวะ พูดอย่าง อาจารย์สุนีย์อีกแล้ว ใครสอนวะ พูดว่า พระอรหันต์ผิดได้ พระอรหันต์ก็ผิดได้ สิ่งที่ท่านไม่รู้ ก็ต้องผิด แต่กิเลสของพระอรหันต์ ท่านรู้ของท่านหมด และท่านก็ล้างของท่านหมด แต่ไอ้เรื่องความรู้ ท่านก็ผิดได้ ยิ่งบัญญัติ ยิ่งภาษา ยิ่งอะไร เหตุผลอะไรพวกนี้ บางทีท่านก็ผิดได้ แต่ถ้ากิเลสของท่าน ท่านไม่มีผิดล่ะ ท่านฆ่ากิเลสของท่าน ได้หมดเกลี้ยง แต่เรื่องความรู้นี่ ทำไมมันจะไปรู้หมด อะไรกันนักหนา มันรู้ไม่หมดหรอก มันต้องเรียน สัพพัญญูไปอีก ผิดได้พลาดได้ มันผิด เราก็รับผิด มันก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลย พระอรหันต์ ก็ไม่เห็นจะขายหน้าตรงไหน เพราะท่านไม่มีตัวตน ผิดเป็นอย่างไร ผิดก็ผิด เอาละ บอกความถูกต้องมา เราก็เรียน ความถูกต้องนั้นไปอีก ก็เจริญไปอีกซิ ถูกจริงหรือเปล่าละ ถ้าเรียนไปแล้ว สุดท้าย เราก็รู้ว่าไม่ถูก อ้อ เราก็ไม่ถูก ไม่เป็นไร ก็เราโง่ ไม่รู้ว่าถูกหรือไม่ถูก ยังอุตส่าห์ ไปเรียนตามกันเยอะ เอ้า ผิดแล้ว ผิดด้วยกันเป็นครู ผิดๆก็ผิดไป เพราะเราก็โง่ ไปผิดกับเขาน่ะ แต่ถ้าเราฉลาดก็รู้ แล้วเรา ไม่ไปเรียนด้วยหรอก มันผิด พูดชัดๆ เราก็ไม่ไปเรียน เท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ ท่านไม่กลัวเสียหน้าหรอก คนกลัวเสียหน้าอยู่ ไม่ใช่พระอรหันต์ เชื่อไหม คนกลัวเสียหน้าอยู่ ไม่ใช่พระอรหันต์หรอก พระอรหันต์ ไม่ต้องไปกลัวเสียหน้าหรอก เพราะผิดก็ผิด จับประเด็นให้ชัด พระอรหันต์นั้น ท่านเองท่านรู้อะไรๆ รู้กิเลส หยาบ กลาง ละเอียด ลึก ไปจนสุดหมดถึง อาสวะอนุสัยของตน ของคนอื่นไปรู้ของคนอื่น ก็ผิดได้ด้วย พระอรหันต์นี่ก็ตาม เพราะไม่มีเจโตปริยญาณ สูงขึ้นไป ถึงขนาดคนคุ้นก็ไม่พอ เนื้อหาเหตุปัจจัยก็ไม่พอ ก็พยากรณ์คนอื่นผิดนะ พระอรหันต์ ก็พยากรณ์ ผิดได้ ไม่ใช่ว่าไม่ได้ แต่ของท่านซิ ไม่มีผิดๆ เพราะอาตมาเอง บอกตรงๆนะ ที่พูดนี่ ไม่ได้แก้ตัว ให้กับตัวเองนะ พูดความจริงให้ฟัง อาตมาไม่อายหรอก ที่จะไปพยากรณ์ผิด ไม่อายหรอกผิด ผิดก็ผิด เออดีแล้ว ขี้เท่อบอกเสียก่อน บอกแล้วต้องพยายาม ก็อาจจะพูดอีก พยากรณ์อีกก็ได้ บอกได้ สำหรับคนที่ควรบอก ก็บอกได้ ยังไม่พูดเป็นเปิดเผยโฆษณานี่ โอ้ย ไม่เป็นความสุขเลย และทำให้คนอื่น ไม่เลื่อมใสไปด้วย เพราะคนอื่นถือได้ ไหนว่าแน่ ไม่เห็นแน่ ก็ไม่ว่า มันไม่แน่ ก็ไม่เป็นไรหรอก จะถือสาอันนี้ ก็เอาขี้หมา มาแลกทองคำ เอาแค่นั้นมาเป็นเหตุ ที่จะไม่ศรัทธาเลื่อมใส ทั้งหมดเลย ก็ไม่ว่าอะไร แค่นี้ก็ไม่ว่านะ

เพราะในความซับซ้อนอะไรๆ หลายอย่างนี่ ให้แม่นประเด็น พระอรหันต์เจ้า ไม่ได้หมายความว่า ได้ไปเที่ยวได้เก่ง หมดทุกอย่าง ไม่ใช่ ! เรายกให้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยอดวิเศษ เก่งหมดทุกอย่าง พระโพธิสัตว์ ก็เก่งขึ้นไปบ้าง ตามควร ยิ่งอรหันต์ ยิ่งไม่มีปฏิสัมภิทาญาณ อะไรมากมาย อรรถะก็ยังไม่มาก ธรรมะก็ยังไม่มาก อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ก็ยังไม่มากๆ ยิ่งนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ยิ่งไม่มี ท่านก็ผิดได้ ภาษาก็พูดผิด พูดถูกได้ด้วย เพราะท่านไม่ค่อยเก่งนิรุตติ ไม่ค่อยมีปฏิภาณ ความเฉลียว ฉลาดไม่มาก แต่ท่านแม่นกิเลสของท่าน นี่มันมีความซับซ้อน ซ้อนอย่างนี้ ศึกษาดีๆนะ

คนที่จะเข้าใจธรรมะ ของพระพุทธเจ้านี่ ไม่ง่าย เราประกาศธรรมะ ของพระพุทธเจ้า อยู่ทุกวันนี้ ยิ่งทุกวันนี้ อาตมานี่ ปฏินิสสัคคะ ทวนกระแสกลับ ตีกลับ มากขึ้นๆๆ แล้วนี่ ยิ่งยาก ขนาดพวกเรานี่ อาตมาต้องมาคอยอธิบายตาม เออ ค่อยบรรเทา ปัจเจกสัจจะบรรเทาพอได้ บางคน ก็ยังไม่บรรเทาเท่าไหร่ ฟังได้ แต่ก็ยังไม่เชื่อสนิท บังคับไม่ได้ อันนี้อาตมาก็บังคับไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร อย่าเอาไว้นานนัก ก็แล้วกัน มันทุกข์นะ เพราะฉะนั้น ก็พยายามศึกษาไปเรื่อยๆ

คำว่าปฏินิสสัคคะ คำนี้นี่ ไม่ใช่เรื่องธรรมดา อาตมาหยิบเอา คำสอนของ พระพุทธเจ้ามา อนิจจานุปัสสี วิราคานุปัสสี นิโรธานุปัสสี ปฏินิสสัคคานุปัสสี สี่ตัว มาตั้งข้อสังเกตให้ฟัง ว่าทำไม ปฏินิสสัคคานุปัสสี จึงตามหลังนิโรธ เพราะมันสูงกว่านิโรธ ปฏินิสสัคคานี่ มันสูงกว่านิโรธ ดับสนิทได้แล้ว จึงจะสลัดคืนได้ดี ถ้าดับไม่สนิท ยังไว้ใจไม่ได้ ดับไม่สนิท อย่าโลดโผน อย่าทำเป็นแอ๊ค เน่ามาเยอะแล้ว ถ้าดับไม่สนิท ดับสนิทให้แข็งแรง จนกระทั่ง มีปฏิภาณ มีปัญญา มีอะไรนั่น ถึงค่อย ปฏินิสสัคคะ ค่อยสลัดคืนไปดี มันเชื่อมั่น ในสิ่งที่เราได้สนิท ถ้าสนิทดีแข็งแรง ก็เป็นฐานอาศัย เป็นสิ่งที่ทำให้ตัวเองก็ ไม่พลาดท่า เสียที ตัวเองก็สามารถ ช่วยผู้อื่นได้ แม้แต่ช่วยคนอื่นได้ ก็ยังไม่ดี ก็ค่อยฝึกไป เพราะฉะนั้น ศาสนาของ พระพุทธเจ้า จึงได้ประโยชน์ตน แล้วก็ต้องช่วยประโยชน์ผู้อื่น ฝึกซ้อนๆ จะไปต่อว่า เราจะปฏิบัติตน ให้ดีๆ ทั้งหมดเสียก่อน แล้วถึงจะมา ช่วยผู้อื่น มีบางคนคิดอย่างนี้ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ๆ เพราะอะไร เพราะเหตุปัจจัย ที่เป็น จะเป็นโจทย์ ให้แก่เรานั้นไม่พอๆ เพราะฉะนั้น คนที่บอกว่า จะเอาประโยชน์ ของตนเสียก่อน ก็เลยไปอยู่แต่ในภพ ของตัวเอง เลยกลายเป็น สุดโต่งไปฝั่งหนึ่ง การช่วยผู้อื่นนี่ เป็นการลด อัตตามานะในตัว เป็นการเรียนรู้ใน ภวตัณหา เพราะมันจะช่วยผู้อื่น ทำงานกับผู้อื่น ผู้อื่นก็จะ ติเตียนเราบ้าง เราช่วยเขา เขาจะติเตียนเรา ติเตียนแล้ว เราถือสาไหมล่ะ มีอัตตามานะ ไหมล่ะ อ่าน อ่านความจริงของ ของจริง ถ้าเผื่อว่าเราเอง ยิ่งไม่เกี่ยวข้องกับใคร มันยิ่งไม่มีโจทย์ ไม่มีประโยชน์ พวกนี้ เมื่อไม่มีโจทย์ ไม่มีประโยชน์ คุณก็เสียเวลา ช้านานไป นี่แหละ เป็นพวกธรรมะ ของพระพุทธเจ้า ข้อหนึ่ง ที่บอกว่า ธรรมใดที่เป็นไปเพื่อ ความเนิ่นช้า ธรรมนั้นวินัยนั้น ไม่ใช่ของเราตถาคต นี่มันจะโต่งไป ในทางนั้น

ธรรมะของพระพุทธเจ้า ในสมัยพระพุทธเจ้า ที่โต่งสุด มีพระกัสสปะ ซึ่งไม่ค่อยจะสุงสิง สุดท้าย ท่านก็มีสัมมาทิฐิ ต้องมีคณะ ต้องมีหมู่มีกลุ่ม ไม่โดดเดี่ยวหรอก คณะหมู่กลุ่มท่าน ก็ยอมมาประสาน แต่ท่านมีจริต สร้างมาอย่างนั้น นานับชาติเลย พระกัสสปะ ออกถึงบอกว่า ขีดสุดก็ ถ้าใครเกิน พระกัสสปะไปแล้วนะ พวกนี้นอกรีต ขีดสุดท้าย แค่พระกัสสปะนี่แหละ ถือตบะธรรมถึง ๑๓ ข้อ ยานที่สุดแล้ว สำหรับพระพุทธศาสนา ฟังให้ชัดๆ ตบะธรรมฤาษี ของพระกัสสปะนี่ รู้สึกว่าเป็นขีดที่ โอ้โฮ อยู่ป่าเป็นวัตร ป่าก็ไม่ใช่มีคนมาก อย่างนี้ นี่ยานที่สุดแล้ว ก็จุดเคร่งที่จะขาด ถ้าเลยไปกว่านี้แล้ว ไม่ใช่พุทธแล้ว เพราะฉะนั้น ใครไปทำขนาดพระกัสสปะนี่ ล่อแหลมแล้ว

พระกัสสปะนี่ได้ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า ก็เพราะว่า มีสัมมาทิฐิ ที่เอามาใช้ได้ ในเยื่อใยสุดท้ายเท่านั้น เพราะขีด ฤาษีกับพุทธนี่ กัสสปะเป็นเขตที่เหลือ เอาพุทธไว้ได้ ถ้าเลยนั้นไปไม่ใช่ และคนที่จะมี อินทรีพละ อย่างพระกัสสปะนั้น ที่สามารถเป็นฤาษี ได้ขนาดนั้น แล้วเอาพุทธไว้ได้นี่ โอ้โฮ ยอดยาก ตามอย่างยาก ในสมัยของ พระพุทธเจ้า ไม่มีคนอื่น เพราะฉะนั้น ลูกศิษย์พระกัสสปะ น้อยที่สุด ลูกศิษย์พระสารีบุตรมาก ลูกศิษย์พระอานนท์มาก ลูกศิษย์พระกัจจายนะมาก แม้แต่ลูกศิษย์ พระโมคคัลลา ก็ยังมาก ลูกศิษย์พระกัสสปะ น้อยกว่าเพื่อน เพราะท่านก็มีหมู่คณะ ของท่านเท่านั้น

คุณไม่ต้องสงสัยหรอก สุภัททะแก่ ไปด่าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่พระพุทธเจ้า ปรินิพพานใหม่ๆ เพราะปัญญา ไม่ค่อยสูง คนพวกนี้ ลูกศิษย์พระกัสสปะ ถึงตำหนิพระพุทธเจ้าได้ เพราะว่าปัญญาไม่สูง แล้วเป็นคนหลงภพ หลงภพอย่างฤาษี พระพุทธเจ้าตรัส...

ภาษาบอกว่า ภพพระกัสสปะนี่ มีธรรมะเท่ากับเรา ยกเท่ากับเรา ยกเท่าเทียมเรา นั่นเป็นคำที่ตรัส ให้คนอื่นๆ วางใจนะ อย่าไปถือสาพระกัสสปะมาก ในยุคของท่าน เพราะยุคนั้นแล้ว ผู้ที่ศึกษาพุทธศาสนาแล้ว เข้าใจพุทธแล้ว

เพราะฉะนั้น จึงต้องพูดๆถ่วง รักษาพระกัสสปะเอาไว้ ถ้าไม่รักษา พระกัสสปะเอาไว้ ขีดเขตของคน ที่จะไปอดทน เป็นแบบฤาษีพวกนี้ ก็จะไม่เหลือ ขีดสุดก็คือพระกัสสปะ พระกัสสปะนี่ ใช้เวลาบำเพ็ญธรรม นานมาก กว่าจะบรรลุธรรมะ เป็นผู้ที่บรรลุ ใช้ชาติในการปฏิบัติธรรม ได้เป็นฤาษีมานานมาก เนิ่นช้า ไม่ใช่อาตมารังเกียจ อาตมาชมเชย ในความอดทน ในความกล้า ในลัทธิบำเพ็ญแบบ อัตตกิลมถานุโยค ของพระกัสสปะสูง อัตตกิลมถานุโยคสูง เพราะฉะนั้น ในสิ่งที่ เท่าเทียมพระพุทธเจ้า เท่าที่ยกในเรื่อง อัตตกิลมถานุโยค ไม่มีใครเท่า พระพุทธเจ้าตรัส ท่านยกกัสสปะเท่าเทียม ในด้านนี้ อดทน แต่ปัญญานั้นไม่เหมือนกัน ปัญญา สามารถเอาพุทธธรรม ไปได้ยาก สายพระกัสสปะ จึงบรรลุพระอรหันต์น้อย ๆ และใช้เวลายาวนาน สายพระสารีบุตร สายพระมหากัจจายนะ สายพวกนี้ บรรลุเร็ว บรรลุได้ไว เพราะสัมมาทิฐิดี ทางโน้นพูดยาก เพราะหนักไป ในทางฤาษี แต่ก็ต้องมีตัวอย่าง ถ้ายิ่งสมัยของ พระพุทธเจ้า ต้องมีตัวอย่าง ไม่มีตัวอย่างไม่ได้ ต้องมีให้ครบหมด ทุกอย่าง สมัยนี้ไม่ใช่ยุคแบบ พระกัสสปะ เพราะว่า มันเป็นแบบ ฤาษีไปหนัก แต่คนหลงผิด ไปนิยมแบบนั้น มันก็เลย ยิ่งห่างศาสนาพุทธ หลงผิด เพราะคนสมัยนี้ ไม่อดทน ก็เลยไปนิยม ชมชื่นอย่างนั้น มันอดทน มันก็ดี ทำให้ความอดทน ดีเหมือนกัน มันก็อุปการะ ในมุมหนึ่ง ในประเด็นหนึ่ง

อาตมาขยายไป จนกระทั่งอันนี้ ที่อาตมาพูดถึงนี่ อาตมารู้สึกว่า อธิบายยังไม่เก่งเท่าไหร่ แต่จะเอาไว้ วันหลังๆ จะอธิบายเพิ่มเติม ในจุดนี้ให้ฟัง ที่พูดนี่ ไม่ได้หมายความว่า จะไปลบหลู่พระกัสสปะ จะไปลบหลู่ ตบะธรรม ไม่ใช่ไปเช่นนั้น สมัยนี้ตบะธรรมใช่น้อย ใช่พิลึกพิลือ สมัยพระพุทธเจ้า ไม่มีความอดทน ขนาดนั้น

ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปมุ่น ถึงขนาดนั้น พยายามศึกษาษา มรรคองค์ ๘ โพชฌงค์ ๗ ของ พระพุทธเจ้าให้ชัด แล้วปฏิบัติ อยู่กับหมู่กลุ่ม มิตรดีสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี ไม่ต้องตะแบง ออกไปข้างนอกเขต ให้มากนักหรอก ช้า ขอยืนยัน แต่มันห้ามไม่ได้หรอก คนที่มีจริต มีความชอบ เขาก็ไปแต่ไป.. เอาเถอะ ไม่ให้หลุดจากหมู่นี้ก็ดีแล้ว แต่ก็ไปอีกหลายชาติ ถ้าใครที่สามารถ อยู่ในหมู่ได้แล้ว สามารถสมานอัตตา สมานัตตตา สามารถที่จะผสมผสาน ไอ้ที่มันสมานไม่ได้ ก็เพราะอัตตามานะ นี่แหละ เป็นตัวสำคัญ ในเรื่องกาม เราก็รู้ ถ้าสมานมาก จนกระทั่ง เป็นกาม เดี๋ยวก็ติดเยิ้มกาม เข้าใจกันอยู่แล้ว พวกเรานี่ ตาไว แม้แต่ฆราวาสด้วยกัน โอ้โฮ ไม่ได้ ซัดกันน่าดูเลย แต่อัตตามานะพวกเรา ยังไม่เก่ง ยังเรียน ยังไม่ค่อยเก่ง ยังไม่ค่อยรู้ตัวนัก เพราะฉะนั้น มันจึงเกิดระหองระแหง กันอยู่มากหน่อย ตรงนี้ กามเราก็ดู ไม่น่าเกียจเท่าไหร่ เพราะพวกเรา คอยระแวงระวัง และก็รู้กันเร็ว แต่อัตตามานะนี่ยัง เพราะฉะนั้น ต้องมาพยายามเพ่งเพียร เรียนรู้ อัตตามานะให้มาก แล้วลดละได้สมานัตตตา ของเราก็ดี จะประสาน กลมกลืนกันได้ เพราะเราลดตัว ลดตน ยอมอนุโลม ปฏิโลม รู้จักยืดหยุ่น ประสานกันได้ ดี ถ้าดีเข้าไปเท่าไหร่ ถ้าอัตตามานะลด ปัญญาญาณ ที่จะไปเห็นกาม ละเอียดเพิ่มขึ้น รูปราคะ อรูปราคะ หรือกาม มันจะมีหลายระดับ ราคะหรือกามนี่ มันจะเข้าไปเห็น เพราะลดอัตตามานะ มันจะยาน มันจะละเอียด ซับซ้อน อุปการะกัน ลดกามก็จะไปเรียน อัตตามานะ ลดอัตตามานะ ก็จะไปเห็นกามละเอียด ลดกามละเอียด จะไปเห็นกาม อัตตามานะละเอียด และก็ซับซ้อนกันไปอย่างนี้ จนกระทั่ง หมดกาม เหลือแต่ อัตตามานะ ก็ไปเรียนอัตตามานะ จนไปข้างเคียงเป็น อนาคามี ก็จะเหลือ รูปราคะ อรูปราคะ ซึ่งเป็นกามละเอียด ซึ่งไม่มีฤทธิ์มีเดช ออกมาทำงานข้างนอก หิริ โอตตัปปะมาก ทางกาย ทางวาจา จะไม่ทำแล้ว ไม่กล้า โอตตัปปะ เกรงกลัว ตรงความชั่วความบาป พวกนี้จะไม่ทำ เพราะฉะนั้น จะเหลือ รูปราคะอรูปราคะ อยู่ในใจเราเท่านั้น เราก็จะต้องลด ละล้าง เรียนรู้ของเราเอง เพราะฉะนั้น อันนี้บางที ตัวเองหลงได้ว่า เราหมดกาม หมดกามราคะ จะต้องเรียนรู้ ละเอียดลงไปอีก มันมีเชิงดีดดิ้นอยู่ กามในราคะ ในประเภท ผูกพัน ติดยึดรสอร่อยทางเสพ ทางสัมผัสแตะต้อง และมีอะไรใน เมถุนสังโยค ๗ อาตมาก็อธิบาย และ ต้องพยายาม ศึกษาเพิ่มเติม

 

เอาละวันนี้มาฆบูชา
ถาม วันมาฆบูชา พระอรหันต์ ๑๒๕๐ รูป มาประชุมกับ พระพุทธเจ้า และผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ไปไหนหมด
ก็ท่านไม่มี สิ่งที่ท่านจะต้องมี ญาณที่จะสำเนียก ที่จะต้องระลึกรู้ นี่ดูเหมือน ได้เคยอธิบายแล้วนะ พระอรหันต์ ที่มาประชุม ในวันมาฆบูชานี่ ได้สั่งสมมา รู้ทั้งกาลเทศะ อันควรว่า วาระใด เราควรจะเฝ้าพระพุทธเจ้า ไม่ต้องอะไรหรอก สัญญาณแค่ว่า วันเพ็ญเดือน ๓ ถ้าคุณเป็นลูกศิษย์ ของพระพุทธเจ้าหมด แล้วชาติหน้าๆๆ จนกระทั่งคุณรู้ อันนี้มันก็จะอยู่ วิญญาณของคุณ เป็นวิบากจำได้ เป็นพระอรหันต์ โอ้ เราเป็น เอหิภิกขุ วันนี้สมควรไปแล้ว ไปพบพระพุทธเจ้า มันจะเกิดพรั่งพร้อม องค์ประกอบวันนั้น ของพระพุทธเจ้า มีบารมี ท่านจะมี พระอรหันต์ กี่รูปละ ๑๒๕๐ รูป มีจริง ไม่ใช่ของปลอม มันก็จะครบครัน มันก็จะไป มันจะบริสุทธิ์อย่างนั้น คนที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ จะไม่มีภูมิ จะไม่มีความรู้สึก จะไม่มีความรำลึก ไม่มีองค์ประกอบ ของเหตุปัจจัย ที่เคยสั่งสมพวกนี้ หรือสั่งสมมา ก็ยังไม่แน่นพอ ยังไม่แจ๋วพอ ยังไม่คมชัดพอ มันก็เบลอๆ มันก็ไม่รู้ตัวไม่รู้ แต่นี่ท่านรู้แล้ว ท่านชัดท่านคมแล้ว อันนี้เหตุปัจจัยนี่ ท่านมี ท่านก็สั่งการ ของท่านไป นี่พยายามอธิบาย อจินไตยนี้ ให้ฟังแล้วนะ

ถามว่า (ทำไม)พระอรหันต์ถึงไม่ชวน พระอนาคา พระสกิทา
ไม่ใช่เรื่อง ! เพราะวาระของพระพุทธเจ้า ต้องการสอน พระอรหันต์เท่านั้น และท่านก็เคยได้เรียน เหมือนคุณได้ฟังนี่ เพราะท่านฉลาดกว่าคุณ จึงไม่ถามอย่างคุณ ท่านจะตัดสิน ท่านจะรู้เลยว่า ในกาละนี้ ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับ พระสกิทา พระอนาคา ไม่เกี่ยว เกี่ยวกับพระอรหันต์เท่านั้น แต่พระอรหันต์แต่ละองค์ ก็ไม่ชวนกัน ทุกองค์ท่านมา ไม่ชวนกัน ต่างคน ต่างไม่ได้นัดหมายไว้ มาเองเลย ขนาดพระอรหันต์ ท่านยังไม่ชวนกัน ไปชวนพระสกิทามายังไง เห็นไหมว่า เหตุผล มันลงตัวทุกอย่าง ทุกรูปพร้อมใจ ใจของพระอรหันต์ แต่ละองค์ ท่านพร้อมของท่าน นั่นมันก็ มาลงพร้อมกันเลย ไม่มีการนัดหมาย ไม่มีการกำหนด ทุกอย่างจะต้องเป็น พระพุทธเจ้ารู้องค์เดียว รู้องค์เดียวว่า จะเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าย่อมรู้ ส่วนพระอรหันต์องค์อื่น ท่านคิดว่าเอ้า ท่านก็มาหรือๆ แต่ท่านยังไม่ถึงขนาด ประหลาดใจ เพราะท่านได้ฟัง เหมือนคุณได้ฟัง และท่านได้ฟัง มามากกว่าคุณ ได้ฟังมากเที่ยวกว่า คุณได้ฟัง เชื่อไหม พระอรหันต์ ๑๒๕๐ องค์นี่ จะไปประชุมพร้อมนี่ เป็นพระอรหันต์ ที่ได้ฟังอย่างนี้ มานับเที่ยวไม่ถ้วน

สมัยนั้นไม่ใช่มีพระอรหันต์แค่นั้น มีมากกว่านั้น ?

ที่ถามเมื่อกี้นี้ ในสมัยนั้น ไม่มีพระอรหันต์เพียงแค่ ๑๒๕๐ รูป ใช่ ! แล้วพระอรหันต์ ที่มีบุญบารมี ที่จะได้ฟังธรรม มาฆบูชา ๑๒๕๐ รูป มีเฉพาะ ๑๒๕๐ รูปนี้เท่านั้น เพราะพวกนั้น บารมียังไม่ถึง ก็ไม่ได้ไป สั่งสมบุญนั้น ยังไม่ครบพร้อมอันนี้ มีเหตุปัจจัยไม่ครบ ก็ไม่ได้ไป อย่าว่าแต่สกิทา อนาคามีเลย ต้อง เอหิภิกขุด้วย ที่พระพุทธเจ้าบวชให้ เพราะเป็นองค์ที่ ใกล้ชิดแล้ว เป็นคนที่มีบารมี ถ้วนถึงแล้ว จึงจะได้อันนี้ ไม่ใช่เรื่องสมมุติ ไม่ใช่บังเอิญๆ

คิดไปเถอะคิดไปว่า โอ้โฮ ทำไมนะ ทีเราอยู่ดีกิ๊กก๊อก และมีพระอรหันต์ ไปรุมล้อมอยู่ตั้ง ๑๒๕๐ องค์ ถึงวาระนั้น อย่างนั้น เอ๊ วันเพ็ญเดือนสว่าง โอ้โฮ จิตดีอย่างนี้ มันน่าจะมีองค์อื่นๆ ไปบ้างนะ ทำไมจะให้ สะอาดบริสุทธิ์บ้าง ไม่ได้หรือ คิดเอาไม่ค่อยมีเหตุผลเลย ไม่ค่อยสมเหตุผล เหตุผลอันนี้ มันเหนือเหตุผล เพราะอันนี้ มันคือสัจจะ ที่มันไม่เกี่ยวกับเหตุผล เพราะเหตุผลนี่ คือสิ่งที่ยังไม่ลงตัว ต้องมีเหตุ ต้องมีผล ที่จะต้องค้านแย้ง มันก็เลย คิดอยู่อย่างนั้นน่ะ แต่นี่มันจบแล้วนี่ เหตุกับผล เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันแล้ว สมบูรณ์ สมดุลแล้ว ไม่มีความสงสัย เหมือนคุณสงสัยแล้ว มันเป็นเรื่องไม่ใช่จะคิดได้ ไม่ใช่ตรรกศาสตร์ ไม่ใช่ อตักกาวจรา ไม่ใช่เรื่องคิด แต่เป็นเรื่องที่จะต้อง เห็นแจ้ง

ที่ผมตอบคุณได้ ก็เพราะว่า เห็นแจ้งอันนั้นๆ และผมไม่สงสัย อย่างคุณสงสัย แต่ก็ตอบคุณอย่างนี้ พอปัจเจกสัจจะบรรเทา บ้างไหม พอมันเข้าไปในตัว พอบรรเทา ความสงสัยนี่ได้ พอมีสัจจะ ขึ้นมาหน่อย บ้างน่ะ มันก็ได้ขนาดนี้นะ

เอาละอาตมาคิดว่า วันนี้ได้ใช้เวลาของ วันมาฆบูชา คืนฟ้าเพ็ญ ของวัน มาฆบูชาวันนี้ เราก็ได้ฟัง สิ่งที่ อาตมาคิดว่า ควรพูดหลายอย่าง เป็นอจินไตยหลายอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ เจาะลึกลงไป ยังไม่เคยฟังวันนี้ ก็ได้พูดบ้าง หลายอย่าง ได้เจาะลึก ไปในปรมัตถ์ โดยเฉพาะเจตนา จะเจาะลึกปรมัตถ์ ทบทวนด้วย และ เจาะลึก ซ้อนลงไปด้วย

คนที่ติดตามฟังธรรม ประจำไม่ขาด ได้รับข้อมูล ในการศึกษา ปริยัติก็ดี ก็จะเข้าใจได้สอดคล้อง เข้าใจได้ เพราะว่า มันมีพื้นฐานอะไร รองรับแล้ว มันก็จะได้ดี เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรม ขาดการฟังธรรม ความติดต่อ หรือความต่อเนื่อง เป็นระดับ มันก็จะขาดไป เพราะการฟังธรรมนี่ มีอานิสงส์ ในการฟังธรรม ผู้ใส่ใจฟังธรรม ที่พูดนี่ ไม่ได้หมายความว่า เรียกร้องคน จะให้มาฟังธรรม มากๆ ไม่มากก็ไม่เป็นไร แต่สิ่งที่ควรจะให้คุณรับรู้ อาตมาก็เพียรเต็มที่ ที่จะให้คุณรับรู้ ส่วนคุณจะได้ คุณก็เอาไปปฏิบัติ ให้มันได้ซิ ให้มันเกิด ได้แล้วคุณก็สืบทอด พระพุทธศาสนา อยากให้ได้อรหันต์ไหม ไปถามคนโง่ๆก็ได้ ถ้าไปถามว่า อยากให้คนเป็นโจรไหม ก็เหมือนกัน เป็นมุมที่ ตรงข้ามกันเท่านั้น อาตมาไม่อยากให้ใคร เป็นโจร อยากให้เป็นอรหันต์ไหม ก็อยาก แต่จะไปอยาก โดยคนมันไม่เป็น อาตมาก็ทุกข์ อาตมาก็ไม่ทำ เพราะอาตมาเรียนแล้ว มีคำตอบอยู่บทหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า

ผู้หมดหวัง คือผู้ที่ข้ามชาติ ชรา ได้แล้ว ยังมี เดี๋ยวจะอ่านให้ฟัง แต่เตรียมมา ผู้หมดหวัง เพราะฉะนั้น อาตมาไม่หวังอะไรหรอก จะพูดโดยสมมุติ โดยโวหาร ว่าอยากมั้ยละ ไม่อยาก แล้วจะทำหาอะไร (ผู้ฟังหัวเราะ) แต่อยาก อันนี้เป็นวิภวตัณหา เป็นตัณหาอุดมการณ์ บอกแล้ว ก็หมดหวังในตัวแล้ว ถึงอยากยังไง คุณไม่ได้ ช่างหัวคุณปะไร คุณไม่ได้ก็สบายคุณ คุณไม่ได้ก็ไม่สบายคุณ แต่อาตมาอยากจะทำ อยากจะทำให้คุณนะ ผิดด้วยหรือครับ (ผู้ฟังหัวเราะ) ที่อยากทำให้คุณดีขึ้น ทำแล้วก็ไม่ได้คิดเบี้ย คิดบาท เอามานะค่าทำ เอามาห้าบาทสิบบาท เอามาร้อยหนึ่งพันหนึ่ง ไม่ได้เรียกคุณ นี่ทำฟรี จะทำซะอย่าง ทำฟรีด้วย

เอาละ สำหรับวันนี้พอ

สาธุ


 

ถอดโดย ยงยุทธ ใจคุณ ๒ พฤษภาคม ๒๕๓๗
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๗
พิมพ์โดย ใจธรรม สิทธินาวิน ๘ สิงหาคม ๒๕๓๗
ตรวจทาน ๒ โดย โครงงานถอดเท็ปฯ ๕ กันยายน ๒๕๓๗
เข้าปกโดย สมณะพรหมจริโย
เขียนปกโดย พุทธศิลป์