580208_วิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ
เรื่อง คำว่ากายไม่ได้หมายแค่สรีระหรือแค่จิต

ส.ฟ้าไทว่า... วันนี้อาทิตย์ที่ ๘ ม.ค. ๒๕๕๘ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย
อากาศเย็นเหมือนติดแอร์ มาฟังธรรม เหมือนนั่งห้องแอร์ จะได้ฟังสาระของชีวิต ซึ่งถ้าอาตมา ไม่ได้มาฟังพ่อครู ก็จะปฏิบัติผิดๆไปอยู่เดียวๆ ปฏิบัตินั่งสมาธิหลับตา ซึ่งอาตมาเท่าที่ดู ปฏิบัตินั่งหลับตา ไม่สุขภาพเสีย ก็เสียท่ากับกามคุณ แต่วันนี้ เรามาฟังธรรมะ ของพุทธที่ คัมภีรา ทุทฺทสา ทุรนุโพธา ฯ

พ่อครูว่า...วันนี้อาตมาได้รับ ข้อคิดเห็นเรื่อง กาย มโน วิญญาณ ที่มาจากเฟสบุค ของคุณยุทธณา ที่พวกเราได้เจอ ก็เป็นหลักฐาน ที่เราจะได้เอามา วิจัยเพิ่ม

580205 (Thu) ข้อคิดเห็นเรื่อง กายคือ จิต มโน วิญญาณ จากคุณยุทธณา

15:31 จากคุณ ยุทธณา..... มีคำกล่าวจาก ภันเตท่านนึง ที่มากด้วยพรรษาแล้ว จากสำนัก แถวสุขาภิบาล 1 นวมินทร์ กล่าวว่า "...กาย กับ จิต อย่างเดียวกัน..." เพราะภันเต ท่านอ้างว่า ด้วยจากพระสูตรนี้ อัสสุตวตาสูตรที่ ๑ ว่า "...ตถาคตเรียก *ร่างกายอันเป็น ที่ประชุมแห่ง มหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืน และกลางวัน ฯ..."

ท่านจึงตีความว่า "...กาย กับ จิต อย่างเดียวกัน..."

คำตอบ
• ครับ ใช่ครับ อย่างเดียวกัน เพราะ กายกับจิต อยู่ในขันธ์ ๕ มีอยู่ในเรา
••• แต่... ไม่ใช่อย่างเดียวกันครับ เพราะ วิญญาณ เข้าไปรู้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร (เรียก วิญญาณฐิติ ๔ ฐานที่ตั้ง ของวิญญาณ) หรือ อุปมาที่ว่า วิญญาณ เปรียบเหมือน เมล็ดพืช, ภพ เปรียบเหมือน ผืนนา ครับ ถ้า กาย กับ จิต เป็นอย่างเดียวกัน อย่างที่ภันเต เข้าใจอย่างเดียวแล้ว อุปมาอุปไมย พระพุทธเจ้า คงไม่แยก พืช กับ ผืนนา หร๊อกครับ อีกทั้ง ถ้า กาย กับ จิต เป็นอย่างเดียวกัน อย่างที่ภันเต เข้าใจแล้ว สายปฏิจจสมุปบาท ก็จะผิดครับ เพราะ พระพุทธเจ้า ไล่สาย ปฏิจจสมุปบาท แยกการทำงาน ดังนี้ว่า... เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นาม-รูป....ครับ และไหน จะอุปมา แสง กระทบ ฉาก(เรือนยอด) อีก และไหน จะอุปมา ถูกศรธนู 2 ดอกอีก จาก สัลลัตถสูตร ว่า..."..... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ย่อมถึงความงมงาย เขาย่อมเสวย เวทนา ๒ อย่าง คือ
• เวทนาทางกาย
• และเวทนาทางใจ ฯ

[๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน นายขมังธนู พึงยิงบุรุษ ด้วยลูกศร ยิงซ้ำ
บุรุษนั้น ด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้น ย่อมเสวยเวทนา เพราะลูกศร ๒ อย่าง
คือ
• ทางกาย
• และทางใจ

ภันเตครับ ลองอ่านพระสูตร มหาสัจจกสูตร ดูครับ พระพุทธเจ้า แยก กาย กับ จิต ทั้งสองอย่างนี้อย่างไร และอบรมกาย อบรมจิต แยกกันอย่างไรครับ ไปดูครับ ภันเตครับ บางที ต้องศึกษาหลาย ๆๆ พระสูตร เพราะคำพระศาสดาจะ "..เชื่อมโยง สอดรับกันครับ.." จะมาอาศัย พระสูตรเดียว แล้วก็วิเคราะห์เอง จากฐานการปฏิบัติ หรือคำครูอาจารย์ บอกมาอย่างนี้ แล้วนำมา เชื่อมโยงกับคำ พระศาสดาแบบนี้ ผมว่า ไม่น่าจะได้ครับ จะเปิดธรรมที่ถูกปิด ไม่ได้ครับ นมัสการ..... ด้วยความเคารพ ภันเต กราบ กราบ กราบ./

(พระสูตร)
๖. มหาสัจจกสูตร
สัจจกนิครนถ์ทูลถามปัญหา
[๔๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี. ก็สมัยนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาค ทรงนุ่งดีแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร มีพระพุทธประสงค์ จะเสด็จเข้าไป เพื่อบิณฑบาต ในเมืองเวสาลี เวลานั้น สัจจกนิครนถ์ ผู้เป็นนิคันถบุตร เมื่อเที่ยวเดิน เพื่อยืดแข้งขา ได้เข้าไปที่ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน. ท่านพระอานนท์ ได้เห็นสัจจกนิครนถ์ กำลังเดินมาแต่
ไกล ครั้นแล้วจึงทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัจจกนิครนถ์นี้ เป็นนักโต้ตอบ พูดยกตนว่า เป็นนักปราชญ์ ชนเป็นอันมาก ยอมยกว่า เป็นผู้มีความรู้ดี เขาปรารถนา จะติเตียน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค
ทรงพระกรุณา ประทับอยู่ สักครู่หนึ่งเถิด.

พระผู้มีพระภาค จึงประทับอยู่บนอาสนะ ที่เขาปูถวาย. ขณะนั้น สัจจกนิครนถ์ เข้าไปถึงที่ พระผู้มีพระภาค ประทับ ครั้นแล้ว ทูลปราศรัย กับพระองค์ ครั้นผ่าน การปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๔๐๖] สัจจกนิครนถ์ ครั้นนั่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า พระโคดมผู้เจริญ
มีสมณะ และพราหมณ์พวกหนึ่ง

หมั่นประกอบ กายภาวนาอยู่
แต่หาได้หมั่นประกอบ จิตภาวนาไม่.

สมณะและพราหมณ์พวกนั้น ย่อมประสบ ทุกขเวทนา อันเกิดในสรีรกาย.

พระโคดมผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว เมื่อบุคคล อันทุกขเวทนา อันเกิดในสรีรกาย กระทบเข้าแล้ว ความขัดขาจักมีบ้าง หทัยจักแตกบ้าง เลือดอันร้อน จักพลุ่ง ออกจากปากบ้าง (พวกที่บำเพ็ญ กายภาวนานั้น) จักถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง จิตอันหันไป ตามกายของผู้นั้น ก็เป็นไปตาม อำนาจกาย. นั่นเป็นเพราะอะไร? เป็นเพราะ ไม่อบรมจิต.

พระโคดมผู้เจริญ มีสมณะและพราหมณ์ พวกหนึ่ง
• หมั่นประกอบ จิตตภาวนาอยู่
• แต่หาได้หมั่นประกอบ กายภาวนาไม่.

สมณะและพราหมณ์พวกนั้น ย่อมประสพ ทุกขเวทนา อันเกิดขึ้นในจิต.

พระโคดมผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว เมื่อบุคคล อันทุกขเวทนา อันเกิดขึ้นในจิต กระทบเข้าแล้ว ความขัดขา จักมีบ้าง หทัยจะแตกบ้าง เลือดอันร้อนจัด พลุ่งออกจากปาก (พวกที่บำเพ็ญ จิตตภาวนานั้น) จักถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง กายอันหันไป ตามจิตของผู้นั้น ก็เป็นไป ตามอำนาจจิต. นั่นเป็นเพราะอะไร? เป็นเพราะ ไม่อบรมกาย. พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีความดำริว่า หมู่สาวกของ พระโคดม ย่อมหมั่นประกอบ จิตตภาวนา อยู่โดยแท้ แต่หาหมั่นประกอบ กายภาวนา อยู่ไม่.

[๔๐๗] พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกร อัคคิเวสสนะ กายภาวนา ท่านฟังมาแล้ว
อย่างไร?

สัจจกนิครนถ์ ทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ท่านนันทะ ผู้วัจฉโคตร ท่านกิสะ ผู้สังกิจจโคตรท่านมักขลิ ผู้โคสาล ก็ท่านเหล่านี้ เป็นผู้เปลือยกาย ปล่อยมารยาทดีเสีย เช็ดอุจจาระ ที่ถ่ายด้วยมือ ไม่ไปรับภิกษา ตามที่เขาเชิญให้รับ ไม่หยุดตามที่ เขาเชิญให้หยุด ไม่ยินดีภิกษา ที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีภิกษา ที่เขาเจาะจงให้ ไม่ยินดีการนิมนต์ ไม่รับภิกษา ที่เขาให้แต่ปากหม้อ ไม่รับภิกษา ที่เขาให้แต่ปากกระเช้า ไม่รับภิกษา ในที่มีธรณี และมีท่อนไม้ หรือมีสาก อยู่ในระหว่าง ไม่รับภิกษา ของคน ๒ คน ที่กำลังกินอยู่ ไม่รับภิกษา ของหญิง มีครรภ์ ของหญิงที่ กำลังให้ลูกดื่มนม ของหญิงที่มีชู้ ไม่รับภิกษา ที่เขานัดกันทำ ในที่ ที่เขาเลี้ยงสุนัขไว้ และในที่มี หมู่แมลงวันตอม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำ ที่เขาหมักแช่ ด้วยสัมภาระ รับภิกษา ที่เรือนเดียวบ้าง รับเฉพาะคำเดียวบ้าง รับที่เรือน สองหลังบ้าง รับเฉพาะ สองคำบ้าง ฯลฯ รับที่เรือนเจ็ดหลังบ้าง รับเฉพาะ เจ็ดคำบ้าง เลี้ยงตนด้วยภิกษา อย่างเดียวบ้าง สองอย่างบ้าง ฯลฯ เจ็ดอย่างบ้าง กลืนอาหารที่เก็บไว้ วันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง ฯลฯ เจ็ดวันบ้าง หมั่นประกอบเนืองๆ ในอันกินภัต ตามวาระ แม้มี
วาระครึ่งเดือน เห็นปานนี้ ย่อมอยู่ดังนี้.

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลเหล่านั้น เลี้ยงตนด้วยภัตเท่านั้น อย่างเดียวหรือ?

ส. ไม่เป็นดังนั้น พระโคดมผู้เจริญ บางทีท่านเหล่านั้น เคี้ยวของควรเคี้ยว อย่างดีๆ
กินโภชนะ อย่างดีๆ ลิ้มของลิ้ม อย่างดีๆ ดื่มน้ำอย่างดีๆ ให้ร่างกายนี้ มีกำลัง เจริญ อ้วนพีขึ้นๆ

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ พวกเหล่านั้น ละทุกกรกิจ อย่างก่อนแล้ว บำรุงกายนี้ ภายหลัง
เมื่อเป็นอย่างนั้น กายนี้ก็มีความเจริญ และความเสื่อมไป.

ว่าด้วยกายภาวนาและจิตตภาวนา
[๔๐๘] พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกร อัคคิเวสสนะ จิตตภาวนา ท่านได้ฟังมาแล้วอย่างไร?

สัจจกนิครนถ์ อันพระผู้มีพระภาค ตรัสถาม ในจิตตภาวนา ไม่อาจทูลบอกได้.
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสกะสัจจกนิครนถ์ ดังนี้ว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ กายภาวนาก่อนนั้น ท่านเจริญแล้ว แม้กายภาวนานั้น ไม่ประกอบด้วยธรรม ในอริยวินัย ท่านยังไม่รู้จัก แม้กายภาวนา จักรู้จัก จิตตภาวนาแต่ไหน ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลที่มีกาย มิได้อบรมแล้ว มีจิตมิได้อบรมแล้ว และที่มีกาย อบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว เป็นได้ด้วยเหตุอย่างไร ท่านจงฟัง เหตุนั้นเถิด
จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว.

สัจจกนิครนถ์ ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
[๔๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ก็บุคคลที่ มีกายมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม เป็นอย่างไร?

• ดูกรอัคคิเวสสนะ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้มิได้สดับ มีสุขเวทนา เกิดขึ้น เขาถูก
สุขเวทนา กระทบเข้าแล้ว มีความยินดีนัก ในสุขเวทนา และถึงความเป็น ผู้ยินดีนัก ในสุขเวทนา สุขเวทนา ของเขานั้น ย่อมดับไป เพราะสุขเวทนาดับ

• ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกทุกขเวทนา กระทบเข้าแล้ว ก็เศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน คร่ำครวญ ตบอก ถึงความหลงใหล

แม้สุขเวทนานั้น เกิดขึ้นแก่เขาแล้ว ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ มิได้อบรมกาย
แม้ทุกขเวทนา เกิดขึ้นแล้ว ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ มิได้อบรมจิต

ดูกรอัคคิเวสสนะ
• แม้สุขเวทนาเกิดขึ้น แก่ปุถุชน คนใดคนหนึ่ง ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ มิได้อบรมกาย
• แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ มิได้อบรมจิต

ทั้งสองอย่างดังนี้

ดูกรอัคคิเวสสนะ
• บุคคลที่มีกาย มิได้อบรม
• มีจิตมิได้อบรม
เป็นอย่างนี้แหละ.

ดูกรอัคคิเวสสนะ ก็บุคคลที่มีกาย อบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว เป็นอย่างไร?

• ดูกรอัคคิเวสสนะ อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ มีสุขเวทนา เกิดขึ้น เขาถูกสุขเวทนา กระทบเข้าแล้ว ไม่มีความยินดีนัก ในสุขเวทนา  และไม่ถึง ความเป็นผู้ยินดีนัก ในสุขเวทนา สุขเวทนาของเขานั้น ย่อมดับไป เพราะสุขเวทนาดับ

• ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกทุกขเวทนา กระทบเข้าแล้ว ก็ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน คร่ำครวญ ตบอก ไม่ถึงความหลงใหล

• แม้สุขเวทนา นั้นเกิดขึ้น แก่อริยสาวกแล้ว ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ ได้อบรมกาย
• แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ ได้อบรมจิต

ดูกรอัคคิเวสสนะ
• แม้สุขเวทนาเกิดขึ้น แก่อริยสาวก ผู้ใดผู้หนึ่ง ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ ได้อบรมกาย
• แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่  เพราะเหตุที่ ได้อบรมจิต

ทั้งสองอย่างนี้ ดังนี้

ดูกรอัคคิเวสสนะ
• บุคคลที่มีกายอบรมแล้ว
• มีจิตอบรมแล้ว
เป็นอย่างนี้แหละ.

สัจจกนิครนถ์ทูลว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ ข้าพเจ้าเลื่อมใส ต่อพระโคดม เพราะพระโคดม
มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว.
.....
พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง) เล่ม ๑๒ ข้อ ๔๐๕-๔๓๒.

15:33 ยุทธณา จาก facebook ชื่อ Worachart Tipmaneekomut

พ่อครูว่า... ถ้าอาตมาสอน ไปแยกกาย แยกจิต อย่างที่คุณยุทธณาว่านี้ ก็ปฏิบัติไม่ถูก สรุปว่า คุณยุทธนา เข้าใจถูกว่า กายไม่ใช่จิตนะ แต่ก็ต้องเป็นจิตนะ

ผู้ที่อบรมแต่จิต ไม่พยายามอบรมกาย ตรงนี้สำคัญ มากที่สุดเลย ผู้ที่อบรมกาย จะได้อบรมจิตด้วย ผู้ที่อบรม โดยที่เข้าใจว่า กายแยกจากจิต เขาก็จะอบรมกาย อย่างแยกกับจิต แล้วอบรมจิต อย่างแยกกับกาย เวลาเขาอบรม ก็จะแยกส่วนกัน กายจะสุขทุกข์ ก็อยู่ที่กาย แล้วจิตสุขทุกข์ ก็อยู่ที่จิต ไม่ต่อเนื่องกัน คนๆนี้ จะไม่มีวันปฏิบัติ รู้จักสุขทุกข์ ที่ยึดเอากายนั้น จริงๆแล้ว กายเป็นเท็จ กายไม่มีในโลก กายมาจากรูปนาม ประชุมกัน ถ้าไม่มีการประชุมรูปนาม กายไม่มี

คนเราเกิดมามีทั้ง สรีรกาย ก็จะเกิดทุกข์สุข จากที่คนหลง พอสัมผัส ก็จะเกิด สารีริกัง ทุกขเวทนัง เช่น อาตมาอธิบาย กายคตาสติ คุณก็ปฏิบัติ ย่างหนอ เหยียบหนอ แต่ไม่ได้เชื่อมโยง ถึงจิต ก็ได้แค่นั้น เวลาจะอบรมจิต ก็ไปนั่งสมาธิเอา เป็นการแยก กายกับจิตปฏิบัติ อาตมาก็อธิบายว่า กายคตาสติ กับ อานาปานสติ ไม่ได้แยกกัน คุณต้องรู้รูปนอก แล้วเข้ามาอ่านใน

พระพุทธเจ้าว่า กายเรากล่าวว่า จิต บ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง เพราะมีทั้งกาย คือสัมผัสข้างนอก แล้วให้อ่านจิต คือ มโน กับวิญญาณ อธิบายมาแล้ว ผู้เข้าใจกาย อย่างที่คุณยุทธณา กังวลว่า เราจะเข้าใจว่า กายคือ อย่างเดียวกัน กับจิต เขากลัวไว้อย่างนี้ดี ซึ่งเราแยกได้ เรารวมได้ ถ้าผู้ใด บำเพ็ญถูกต้อง สัมมาทิฏฐิ สัมมาปฏิบัติ ผู้นั้นจะรู้จักสุขทุกข์ ที่เกิดจาก องค์ประชุมภายนอก ที่เกิดจาก ดิน น้ำ ไฟ ลม และรูป ๒๔ ที่เกิดจาก การสัมผัส แล้วเกิด ภาวรูป

แต่ถ้าเป็นรูปกับนาม ที่มันแตะกันอยู่ เหมือนขนมชั้น อยู่เฉยๆ เป็นรูปกับนาม ไม่ได้ทำปฏิกิริยา ก็ไม่เกิด ภาวะวิญญาณ เหมือนตา คุณกระทบอยู่นี่ คุณก็ไม่เกิด ความรู้สึกอะไร แสงมันกระทบวัตถุ เข้าไปสู่ม่านตา แต่ไม่เกิดปฏิกิริยา ไม่เกิดวิญญาณ คุณก็ไม่รู้เรื่อง เฉยๆ แต่ถ้าจิต เข้าไปทำงาน ปรุงแต่ง จะเกิดเป็นสุข ทุกข์ทันที ให้เราได้เห็น แต่ผู้บำเพ็ญแล้ว พากเพียรแล้ว แม้จะสัมผัสแล้ว ปรุงแต่งก็ ไม่สุขไม่ทุกข์ กลางๆ

ผู้ได้บำเพ็ญอย่าง สัมมาทิฏฐิ แล้วละกิเลส ตัวเหตุได้จริง ทั้งที่ตา กระทบรูปอยู่ หูสัมผัสเสียง แต่ท่านก็มีองค์ประชุมอยู่ มีทั้งกาย แต่ท่านไม่มี อกุศลเหตุแล้ว นี่คือ ผู้ได้อบรมกาย

เมื่อคุณได้อบรมกาย ทวารนอกทั้ง ๕ กระทบสัมผัส รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส โดยอ่านจิต ที่คุณได้กำจัด อกุศลเหตุแล้ว อมรมกายดีแล้ว แต่ทวารนอกทั้ง ๕ ของคุณ ก็กระทบ สัมผัสนอก เหมือนเดิม แต่จิตคุณ สงบรำงับ นี่คือ ผู้ที่อบรมกาย

ผู้ที่ไม่อยู่ในอาริยวินัย ไม่ได้ไม่รู้ ไม่อบรม กายภาวนา จะรู้จัก จิตภาวนาแต่ไหน? นี่คือคำที่พระพุทธเจ้าบอก ทุกวันนี้ เขาปฏิบัติกาย ให้สงบ คือเดินจงกรม แล้วไป ปฏิบัติจิต ให้สงบ ก็ไปนั่งหลับตา แล้วทำให้สงบ คุณกำหนดกสิณ ให้จิตสงบ เท่านั้น คุณไม่รู้เรื่อง อาการจิต ต่างๆเลย จะรู้จักจิตภาวนา แต่ไหน? หมายความว่า คุณแยกกายแยกจิต ปฏิบัติ จิตภาวนา คุณก็อบรมไม่เป็น ก็ไปนั่งสมถะอย่างเก่า การปฏิบัติกาย ก็ย่างหนอ ก้าวหนอ ก็ได้แต่สมถะ อย่างเดียว ก็ได้สมาธิ เจโตสมถะ อย่างเดียวอีก ไม่ได้อบรมจิต ไม่ได้อบรมกายเลย เพราะมิจฉาทิฏฐิ ไปหมด สำนักต่างๆ มีแต่สมถะ ไม่มีวิปัสสนาเลย เพราะมันปฏิบัติ แยกกายกับจิตเลย ไม่เกี่ยวข้องกัน เป็นองค์รวมเลย

เช่น ตากระทบ บวบเหลี่ยม บางคนก็ชอบ บางคนก็ไม่ชอบ ไม่เหมือนกัน ของแต่ละคน มันเกี่ยวข้องอยู่ ตากระทบรูปอยู่ จิตก็อบรม แม้กระทบภายนอก จิตก็สงบรำงับ กายก็มีอยู่ ข้างในเมื่อกระทบภายนอก กายก็เห็นความจริง จิตก็เห็นความจริง แต่ถ้าเอาแต่จิต ไม่มีกายกระทบ มันก็ไม่มีกายสิ มีแต่ความจำ ไม่มีความจริง เป็นแต่มี นามกายเท่านั้น ความจริงของพุทธ ต้องเกิดจาก ผัสสะ ๓ ตากระทบรูป แล้วเกิดวิญญาณ วิญญาณต้องมี ตากระทบรูป แล้วถึงรู้จิต รู้มโน ที่ก็ยังเกี่ยวกับผัสสะ ที่มีโคจรรูป ปสาทรูป ทำงาน

ถ้าปราศจากปัจจัย ปราศจาก การกระทบสัมผัส กันแล้ว วิญญาณมิได้มี การปฏิบัติ จึงต้องปฏิบัติวิญญาณฐีติ เช่นนี้ อย่างคุณยุทธนาว่า กายกับจิต อย่างเดียวกันนี่ คุณยุทธณา ว่าอย่างเดียวกัน ใช้เพราะกายกับจิต มีอยู่ในขันธ์ ๕ อย่างเดียวกัน นี่คือ ตีความตรรกะ ไม่ได้ตีความ ภาคปฏิบัติ วิญญาณฐีติ ๔ คือวิญญาณ ที่ตั้งอยู่ ขณะนี้ เพราะมีขันธ์ ๕ อยู่แล้ว แต่อาตมาก็ว่า ต้องมีการสัมผัส เป็นเหตุ ในมูลสูตรว่าไว้

สรุปรวมอีกทีว่า กายไม่มีของจริง  ถ้าจะบอกว่า สรีรกาย อันนี้ประกอบด้วยร่าง สรีรกายอันนี้ เกี่ยวกับข้างนอก ข้อความมาจาก คุณวรชาติ ทิพย์มณีโกมุต ก็ขอบคุณ สื่อสารพวกนี้ มาใช้อย่างนี้ เป็นประโยชน์ อย่าใช้มอมเมากัน แต่อย่างนี้ดีแล้ว

แสดงว่า กายภาวนา อย่างลัทธิ ทรมานตน พระพุทธเจ้าถือว่า ไม่ใช่กายภาวนา อย่างอาริยวินัย  ใช่ไหม? ...สู่แดนธรรมถาม

พ่อครูว่า...ใช่ อาตมาอธิบายได้เมื่อต้น เขาอบรมจิต เหมือนกัน ในกายคตาสติ เขาย่างหนอ เหยียบหนอ ยกหนอ เขาละเอียดนะ จิตเขาฝึก ให้สงบนิ่ง เขาไม่ได้วิจัย วิจารณ์เลยว่า จิต เจตสิก เป็นเช่นไรเวทนา ๑๐๘ เป็นเช่นไร เขาไม่แยกเลย แล้วเขาทำ ภาวนา ก็ไปท่องบ่น ไม่มีผลทางอาริยะ แต่เป็นผล มิจฉาทิฏฐิ ไม่ใช่ สัมมาทิฏฐิ ตามพระพุทธเจ้าสอน มันได้แต่ เจโตสมถะ ที่เขาอบรมอย่าง ให้จิต ดูมือเคลื่อนอย่างไร ดูว่าเท้าไปไหน คือให้จิตนิ่ง ไม่ได้อ่านแตก เวทนา ๑๐๘ และ จิตเจตสิกอีก มา ที่แตกออกไป อีกมากมาย พิสดารเลย ในสังคมพุทธ ปฏิบัติแบบ แยกส่วน เกือบหมดแล้ว

คำว่ากาย จะเกิด เมื่อมีเหตุปัจจัย แม้ว่าถ้าคุณเอง ตายลง กายก็ไม่มี มีแต่สรีระร่าง แต่จิตไปไหน ไม่รู้แล้ว จิตไม่มีในร่างนี้แล้ว เพราะปฏิกิริยา ธาตุจิตกับสรีระ ไม่ทำงานร่วมกันแล้ว องค์ประชุมกาย ก็หายไปเลย ตายแล้ว ไม่เรียกว่ากาย เรียกแต่ร่าง คนตายนี่ ร่างเหลืออยู่ สรีระอยู่ เรียกว่าเป็นศพ แม้ในขณะ ที่เรากำลัง มีร่าง เสร็จแล้วเราก็ทิ้ง ไม่รับรู้ภายนอก เข้าไปรู้แต่ในภวังค์ นี่คือ สมาธิข้างใน เป็นเอกัคคตาภายใน ในขณะนั้น คุณยังมีร่างนะ แล้วอาศัยร่างนี้ ระลึกรู้ข้างใน อันนี้มีกายอยู่นะ แต่ถ้าตายลงไป ก็ไม่เรียกว่ากาย ไม่เรียกจิต ไม่เรียกวิญญาณด้วย จริงๆท่านเรียกว่า วิบาก เป็นผลวิบาก ที่ไม่รู้ว่าอยู่ไหนแล้ว ไม่มีที่อยู่ ไม่มีใคร พบใคร แต่เขามีนิยายว่า มีนรกสวรรค์ให้อยู่ มียมบาล หรือไปรบกันต่อในนรก ไปชื่นชมกันในเมืองสวรรค์ มันเป็นเรื่องไม่จริง ไม่มี เพราะถ้ามี คงยุ่งพิลึก มากมาย 

พระพุทธเจ้าตรัสถึง บุคคล ๔
๑. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ     แต่ไม่ได้โลกุตระ
๒. บุคคลผู้ได้โลกุตระ       แต่ไม่ได้เจโตสมถะ .
๓. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ    และได้ทั้งโลกุตระ
๔. บุคคลผู้ไม่ได้เจโตสมถะ  และไม่ได้ทั้งโลกุตระ
พตปฎ. เล่ม ๓๖  ข้อ ๑๐,  ข. ๑๓๗,  ข.๕๒๕

ได้แต่เจโตสมถะอย่างเดียว ไม่ได้เป็นอาริยบุคคล แม้แต่โสดาบัน

บุคคลที่ได้อบรม กายภาวนา แล้วมีผล เช่น ผลทางข้างนอก ได้หมดแล้ว เหลือแต่ภายใน คือ อนาคามี ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย กระทบภายนอก แล้วท่าน ไม่สุขไม่ทุกข์ แต่เหลือเชื้อพลิ้วพราย ของ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ภายในเท่านั้น กายภาวนา ท่านสำเร็จแล้ว แต่ท่านก็มี การสัมผัส ทวารนอกอยู่ แต่จิตไม่มีไปปรุงหยาบ กับกามภพแล้ว นี่คือพ้นแล้ว กระทบ ก็ไม่มีสุขทุกข์ ภายนอก แต่มีพลิ้วพรายภายใน พลังงานภายใน เหมือนหม้อ แบตเตอรี่ ไฟหมด เอามาจุดเปลว ให้สว่าง ไม่ได้แล้ว เอาไปสตาร์ทรถ ก็แหงๆๆๆ ไม่ติดรถได้แล้ว อนาคามี นี่ให้นอน ห้องเดียวกับลูกสาว ก็ไม่ไปปล้ำ ลูกสาวคุณหรอก แต่ลูกสาวคุณ อย่าไปปล้ำท่าน ก็แล้วกัน ใจท่านมี รูปราคะ อรูปราคะได้ แต่ท่าน ไม่ทำหรอก ภายนอก ท่านมีหิริโอตตัปปะ ไม่ทำสิ่งเปื้อนแน่ นี่คือ ผู้ปฏิบัติ กายภาวนา ลดกิเลสได้จริง มันระริกข้างใน แต่ข้างนอก ท่านไม่เกิดอะไรไม่สุขไม่ทุกข์ มันรู้แล้ว สุขก็อย่างนี้ ทุกข์ก็อย่างนี้ ไม่เห็นจำเป็น ต้องเสียเวลา แรงงาน ไปกับมันเลย

ธรรมะพระพุทธเจ้า ถ้ายังไม่ตาย ยังต้องเกี่ยวข้องกับ องค์ประชุมภายนอก แต่ท่านไม่ทุกข์ ไม่สุขแล้ว แต่ท่าน ก็ยังจำได้ สัญญา รู้ว่าอย่างนี้ เขาสุขเขาทุกข์ กับมัน บางอย่าง ไม่เคยสัมผัส เช่นอาตมา ก็ไม่เคยสุขทุกข์ กับลิปสติค เคยเอามา ทาเล่น แต่ไม่ได้สุขทุกข์อะไร จำไม่ได้ด้วย ยิ่งฝืนด้วย อาตมา หัดกินเหล้า สูบบุหรี่ มันสุข ไม่เคยรู้ว่า สุขอย่างไร ตอนแรก มันทนได้ยาก แต่ต่อมา ก็พอทนได้ โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก เป็นฌาน แต่ฉุนมากๆ ยาเส้นน่ะ เคยลองกันไหม?

คำว่าอุปาทาน … ทุกอย่างคือ อุปาทาน นอกจาก คุณรู้ความจริง ตามความเป็นจริง เย็นคือเย็น ร้อนคือร้อน หวานคือหวาน ขมคือขม แต่ถ้าคุณชอบ หรือไม่ชอบขึ้นมา นั่นแหละ อุปาทาน ชอบนิดก็อุปาทานนิด แต่ถ้ากลางๆเฉยๆ ก็ไม่มีอุปาทาน มันเค็ม มันร้อนแค่ไหน ก็รู้ตามจริง

อุปาทานนี่เป็นฤทธิ์ เอาพลังงานมาใช้ได้ เกินคนสามัญทนไหว  ทนร้อนเย็น ทนหวาน ทนเปรี้ยวเค็มเผ็ดได้ แม้ที่สุด ทำให้หนังมันทนต่อ การทำให้แตกหัก เรียกว่า หนังเหนียว ก็คือ พลังงานอุปาทานทั้งสิ้นเลย ฟันไม่ออก ยิงไม่เข้า ก็ตาม ฝึกได้ที่ แล้วทำได้ แต่ทำยาก ทำได้เกินเชื่อได้เลย ไม่ใช่เรื่องไม่เป็นจริง เพราะพลังงาน ทางจิตนี้ ยิ่งใหญ่กว่า พลังงานทางวัตถุ แต่ทำแล้วไม่เที่ยง ทำแล้วพลาดได้ พวกหนังเหนียว นี่ตายไป หลายคนแล้ว ลองกัน

เรื่องกาย หากเรียนรู้ไม่ชัด ไม่สัมมาทิฏฐิ รับรองไม่มีทาง บรรลุธรรม ถ้าเผื่อว่าไม่ชัดเจน ความเป็นกายอย่างสัมมาทิฏฐิจริงๆ เรื่องใหญ่นะ เรื่องกายนี่ ดีนะ คุณวรชาติ ได้ทำมาแล้ว ยุทธณา ได้ส่งมานี่

คำว่า บุญ นี่แหละ ตอนนี้ เรื่องบุญใหญ่สร้างภาพ ให้คนหลงใหล เรื่องบุญ เอาบุญมาขาย เราก็กำลังมีโศลก ออกอากาศว่า อย่าเอาบุญ มาเป็นวิมานหลอกคนนี่ “วัฒนธรรมบุญนิยมนั้น ต้องไม่ใช้ “บุญ” เป็นวิมานหลอกคน”

คำว่าบุญ หรือปุญญะ เป็นภาษทางธรรม ที่เดี๋ยวนี้เพี้ยน เป็นสิ่งที่คนอยากได้ อยากมี อยากเป็น จริงๆแล้ว บุญคือ อุปกรณ์อาวุธ ของนักปฏิบัติธรรม ที่เอามาใช้ ชำระกิเลส เป็นไฟฌาน ทำให้กิเลสลด หรือดับได้ ก็เป็นประสิทธิภาพ ของเครื่องมือนี้ ไม่ได้อะไร นอกจาก ทำให้กิเลสหมดไป หากยังไม่ได้หมด ก็ได้ส่วนแห่งบุญ เป็น สาสวะ ที่ว่าแบ่งส่วนบุญ เอาส่วนบุญมาฝาก นี่แบ่งไม่ได้นะ

บุญ คือการชำระกิเลส ใครชำระได้ ก็ของคนนั้น ไม่ใช่ของที่เอามา แบ่งปันกันได้ บุญไม่ใช่สมบัติ บุญคืออาวุธ ไม่ใช่ข้าวของ ทรัพย์สมบัติ ที่จะเอามา แบ่งกันได้ เป็นพลังงานบุญ ทำให้กิเลสลดได้ ถ้ายังไม่ถึง อนาสวะ ก็เป็นสาสวะ จนบุญ ชำระกิเลส จนสิ้นอาสวะ ถาวร ก็สิ้นบุญ สิ้นบาป เป็น ปุญญาปาปริกขีโณ หมดหน้าที่ ของบุญแล้ว ถาวรจบกิจแล้ว พระอรหันต์ทุกข์องค์ เป็นคนไม่มีบุญ

มาที่พระไตรปิฎก... ข.๑๙๑ ล.๑๖ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่เป็น บุญปรุงแต่ง วิญญาณ ก็เข้าถึงบุญ ถ้าสังขารที่เป็นบาป ปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบาป (ตัวนี้แปลผิดๆ เพราะมาจาก บาลีที่ว่า อปุญญูปคัง ที่แปลว่า ความเจริญ ที่ไม่มีบาปแล้ว)  ถ้าสังขาร ที่เป็นอเนญชา ปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึง อเนญชา ฯ (ภิกฺขเว ปุริสปุคฺคโล ปุฺฺเจ สงฺขาร อภิสงฺขโรติ ปุฺูปค โหติ วิฺาณ อปุฺฺเจ สงฺขาร อภิสงฺขโรติ อปุฺูปคํ โหติ วิฺาณ ฯ อเนชฺเจ สงฺขาร อภิสงฺขโรติ อเนชูปค โหติ วิฺาณ ฯ)

กายภาวนา ที่มิจฉาทิฏฐิ ก็ได้แต่ เจโตสมถะ พอปฏิบัติจิต ก็ได้แค่ เจโตสมถะอีก ไม่ว่าจะ สมาธิหลับตาหรือ สมาธิลืมตา ที่สะกดจิตไว้เฉยๆไม่ได้ดับเหตุเลย ในอานาปานสติ มีกายสังขารัง ปัสสัมภยัง จิตสังขารัง แล้วท่านก็ยังให้ทำจิต อภิปโมทยัง จิตตัง (แต่ต้องทำจิต ให้สงบก่อนนะ เป็นอนุโลมให้โลก) แต่ต้องให้จิต สงบก่อนนะ แล้วทำให้เบาด้วย ลหุตา

พระพุทธเจ้าว่า คนจะอนุโลม ทำจิตให้เบิกบานร่าเริง คุณต้องทำจิต สงบจากกิเลส ก่อนนะ ให้มีฐาน อัปปนา พยับปนา เจตโสอภินิโรปนา ให้มีฐานแข็งแรง ที่จะเอื้อมมือไปช่วย คนตกบ่อนะ ต้องรู้ตนเองอย่างเพียงพอ อย่าหลงตนเอง เด็ดขาด ผู้เป็นอาริยะจริง จะไม่อนุโลมแก่คนง่ายๆ เพราะท่าน ไม่ต้องการ อะไรแล้วนี่ ต้องมีฐานแข็งแรง จึงอนุโลมได้ และก็อนุโลมพอเหมาะ ไม่มากไป จนหมดตัวเลย อาตมาเอง ถ้าไม่แน่ใจถึง ๗๐ % - ๘๐% -  ๙๐% จึงทำ ทำไปแล้ว ก็เสีย เราไม่ได้อยากได้อะไร ทำไปทำไม ถ้าเสีย แต่ถ้าคุณมีจิต อยากได้อยู่ ก็จะเสี่ยงสิ

เรื่องกาย กับเรื่องบุญ เราต้องพูดกันอีกมาก พูดกันด้วยจริงใจนะ ในวงการ ศาสนาพุทธ ท่านเข้าใจคำว่ากายผิด ต้องไปศึกษาใหม่ เพราะพยัญชนะ คำว่า กาย ในพระไตรฯ มีมากมายเลย.... กายมุทุตา กายปาคุญญตา แปลว่า ความแคล่วคล่อง ขององค์ประชุม เจตสิก ๓ (เวทนา สัญญา สังขาร)

พ่อครูว่า... อรหันต์ ๙ คนนี้ยังมีนัยแฝงด้วยนะ...สาธุ