งานมหาปวารณา'๕๗ ครั้งที่ ๓๒
ฉลอง ๘๐ ปีวิชิตชัย พ่อครูสมณะโพธิรักษ์
๓๐ปี ปฐมอโศก
วันที่ ๖-๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
ณ ชุมชนบุญนิยมปฐมอโศก จ.นครปฐม

งานมหาปวารณา ครั้งที่ ๓๒ จัดขึ้นตามวาระปกติ ระหว่าง วันที่ ๖-๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ณ ชุมชนปฐมอโศก ภายหลังจาก ว่างเว้นจัดงาน มหาปวารณา มา ๑ ปี เนื่องจาก ชาวอโศก มีกิจกรรมชุมนุม ทางการเมือง ในปลายปี ๒๕๕๖ จนล่วงเลยถึงกลางปี ๒๕๕๗ เมื่อเหตุการณ์บ้านเมือง เข้าสู่ภาวะปกติ จึงได้จัดงาน มหาปวารณา ซึ่งเป็นงานประเพณีสำคัญ ประจำปีของ ชาวอโศก ที่หมู่สมณะทุกพุทธสถาน จะได้มารวมตัวกัน เพื่อปวารณา ให้เพื่อน สหพรหมจรรย์ ว่ากล่าว ตักเตือนกันได้ อันเป็นความเจริญมั่นคง ของพระพุทธศาสนา

ปีนี้เป็นปีที่มีความพิเศษ เพราะตรงกับปีที่ พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ อายุครบรอบ ๘๐ ปี และ ตรงกับปีที่ ๓๐ ของการก่อตั้ง ชุมชนบุญนิยม ปฐมอโศก ดังนั้น ชาวอโศก จึงได้ถือโอกาส จัดงานฉลอง ๘๐ ปีวิชิตชัย พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ๓๐ ปีปฐมอโศก ขึ้นในงานมหาปวารณา ครั้งนี้ด้วย

จากผืนดินที่เคยเป็นท้องนา พ่อท่านได้นำพาชาวอโศก ก่อตั้งพุทธสถาน ปฐมอโศก สร้างชุมชนแห่งแรก ของชาวอโศก คือ ชุมชนปฐมอโศก ร่วมกันสร้าง บ้านเรือน แบบไทยๆ เป็นศูนย์รวมของ จิตวิญญาณของคน ที่จะมาร่วมกันอยู่ อย่างเรียบง่าย ถือศีล ละอบายมุข กินมังสวิรัติ ร่วมกันสร้างชุมชน ให้เป็นธรรมชาติ มีภูเขา น้ำตก หาดทราย ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ ๓๐ ปีผ่านมา ชุมชนปฐมอโศก จึงเป็นหมู่บ้าน ที่มีธรรมชาติร่มรื่น เย็นสบาย

ก่อนจะถึงวันจัดงาน มีการปรับภูมิทัศน์ หน้าชุมชนปฐมอโศกครั้งใหญ่ โดยมีการตั้งซุ้ม ประตูโขง ที่มีพญาแร้ง อยู่บนยอดซุ้ม ประตูโขง ส่วนฐานของ ประตูโขง มีคชสีห์และคชสิงห์ ทองเหลือง สองตัว อยู่บนฐาน มีการรื้ออาคาร ที่เป็นศาลายาเก่า ทำเป็นศาลาสำหรับ ให้คนมาพักผ่อน เรียกว่า ศาลาสมเด็จปู่ฯ” อยู่หน้า อ่างลงหิน รวมทั้งมีการปรับภูมิทัศน์ รอบๆศาลา หน้าอ่างลงหิน เพื่อทำเป็นที่รองรับ พระพุทธรูป สมเด็จปู่วิชิตอวิชชา ที่ทำจากหินทราย สูง ๓.๘๕ เมตร ปางวิชิตอวิชชา

วันจันทร์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

ก่อนวันจัดงาน ได้มีการขนย้ายพระพุทธรูป “สมเด็จปู่วิชิตอวิชชา” สูง ๓.๘๕ เมตร ซึ่งยังแกะสลัก ไม่สำเร็จเรียบร้อย ยังเป็นโครงร่าง พอให้เห็นเค้าหน้า และรูปร่าง เพื่อง่ายต่อการขนย้าย ไม่แตกหักเสียหาย โดยขนย้ายมาจากอ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เพื่อมาประดิษฐาน ที่ชุมชนปฐมอโศก และจะได้ ทำการแกะสลัก ให้เสร็จสมบูรณ์ต่อไป ในการขนย้าย ได้มีการขนหินทรายรูปทรงสามเหลี่ยมหนักหลายตัน ที่มีรูปทรง เหมาะจะนำมาใช้ ประดับบริเวณอีกด้วย เมื่อหินก้อนนี้ นำไปประดับอยู่หลัง

สมเด็จปู่วิชิตอวิชชา โดยมีการจัดวางที่พอดี อยู่บนต้นข่อย พ่อครูจึงให้ชื่อ หินก้อนนี้ว่า “หินข่อยค้ำ”

ในการขนย้าย สมเด็จปู่ครั้งนี้ มีการขนย้าย พระพุทธรูป สมเด็จปู่วิชิตอวิชชา องค์เล็ก ที่แกะสลักจาก หินทราย สำเร็จ สมบูรณ์แล้วอีก ๑ องค์มาด้วย ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ที่มีความงดงามมาก เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ ชุมชนศาลีอโศก ต่อไป โดยจะได้มีพิธีบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ในงานพุทธาภิเษกฯ ที่ศาลีอโศก ในปี ๒๕๕๘

วันที่ ๓-๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

มีการจัดอบรมสัมมนา เชิงปฏิบัติการ “การจัดการเรียนรู้ห้องเรียน ในศตวรรษที่ ๒๑ และการเรียนการสอน แบบบูรณาการ คุณค่าความเป็นมนุษย์” ขึ้นที่ห้องประชุมชาวบ้าน ชุมชนปฐมอโศก งานนี้ได้เชิญ คณะคุรุ จากทุกโรงเรียน สัมมาสิกขา เข้าร่วมอบรม โดยผู้จัดได้เชิญ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา มาเป็นวิทยากร จัดการอบรม ท้ายสุด ได้นิมนต์พ่อครู ไปให้โอวาท ปิดการอบรมฯ

ในช่วงเช้าของวันที่ ๓-๔ พ.ย.'๕๗ มีการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับนักบวช ทั้งสมณะและสิกขมาตุ โดยมี นพ.วัชระ ก้อนแก้ว จากโรงพยาบาล โพธาราม จ.ราชบุรี, นพ.เก่งกาจ งามขจรวิวัฒน์, พญ.วิจิตร งามขจรวิวัฒน์ จากโรงพยาบาล บางประกอก ๙ อินเตอร์, นพ.เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา จาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา, นักศึกษาพยาบาล ลูกศิษย์ ผศ.ดร.พิมพ์สุภา จันทนะโสตถ์ จากคณะพยาบาลศาสตร์ ม.ราชภัฏนครปฐม มาช่วยซักประวัติ ตรวจร่างกาย และเจาะเลือด ส่งตรวจทางห้อง ปฏิบัติการ

วันพุธที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. มีการประชุมประจำปีสิกขมาตุ ที่ศาลาชาวบ้าน โดยมีสมณะ เดินดิน ติกขวีโร เป็นประธานการประชุม และมีพ่อครู สมณะโพธิรักษ์ ได้เทศนา ปิดประชุม

วันพฤหัสบดีที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ วันมหาปวารณา ของหมู่สมณะ

เริ่มตั้งแต่เช้ามืด ๐๔.๓๐ น. พ่อครูนำหมู่สมณะ ชาวอโศก ทั้งหมด จำนวน ๘๓ รูป จากทั้งหมด ๙๐ รูป โดยขอลาป่วย ๖ รูป ประชุมมหาปวารณา ครั้งที่ ๓๒ ณ โบสถ์ปฐมอโศก ซึ่งปีนี้สมณะมีความลงตัว ในการเป็นอยู่ และการปฏิบัติธรรม ทำให้ประชุม เสร็จภายใน ๑ วัน เริ่มประชุม ๐๔.๓๐ น. แล้วพัก ฉันอาหาร ๒ ชม. จากนั้น ประชุมต่อ จนเสร็จในช่วงเย็น นับว่าเป็นความเจริญ ของหมู่สงฆ์ อย่างหนึ่ง

๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น. รายการภาคค่ำ ที่ศาลาวิหาร “๓๐ ปี ชุมชนปฐมอโศก” พึ่งเกิดแก่เจ็บตายกันได้ ดำเนินรายการโดย สมณะเดินดิน ติกขวีโร สัมภาษณ์ ผู้ร่วมสร้าง ร่วมก่อ ร่วมสาน ชุมชนบุญนิยม ปฐมอโศก จนเจริญพัฒนา ให้มีคุณลักษณะ “คนมีคุณ บุญมีค้ำ กิจกรรมมีผลเจริญ”

 

มีผู้ให้‰สัมภาษณ์ หลายท่าน ล้วนเป็นตัวจักรสำคัญ ในการดำเนินการ ของชุมชน คือ คุณทิวเมฆ นาวาบุญนิยม, คุณวิเชียร เรืองศรี, คุณน้ำดิน เนตรายนต์, คุณยิ่งธรรม อุดมสุข, คุณลุงดีแล้ว ชาวหินฟ้า, คุณสุรชัย มีวรรณ (ทิดตุ้ย)

วันศุกร์ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

๐๓.๓๐ น. รายการเวียนธรรม โดยสมณะและสิกขมาตุ

๐๖.๓๐ น. มีการตักบาตรเทโว เป็นการตักบาตร หลังจากที่สมณะ ปวารณากันเสร็จแล้ว

ซึ่งเร็วกว่า ตารางรายการเดิม หนึ่งวัน โดยพ่อครูนำหมู่สมณะ สิกขมาตุ ออกบิณฑบาต มีญาติธรรม

และชาวชุมชน รวมทั้งประชาชน ส่วนต่างๆ มาร่วมใส่บาตรด้วย เป็นจำนวนมาก ภายหลังจากบิณฑบาต พ่อครูมีกำหนด การเทศนาก่อนฉัน และก่อนเทศนา พ่อครูได้ทำการ แจกเข็มกลัด เหรียญพญาแร้ง ที่ระลึก ในงานฉลอง ๘๐ ปีวิชิตชัย ๓๐ ปีปฐมอโศก แจกที่โต๊ะหินแก้ว (โต๊ะหินชุดใหม่ ข้างโบสถ์) เหรียญนี้ออกแบบโดย คุณแสงศิลป์ เดือนหงาย เป็นรูปพญาแร้ง

สีทอง กางปีกบนสัญลักษณ์เลข ๘๐ มีพื้นสามสี ให้เลือก สีขาว สีน้ำเงิน และสีแดง จัดทำมาทั้งหมด ประมาณ ๑,๒๐๐ เหรียญ ภายหลังแจกเหรียญ พ่อครูก็ได้ แจ้งสรุป ประชุมมหาปวารณา ต่อสาธารณชน มีเนื้อหาคือ

สมณะเข้าร่วมประชุม ๘๓ รูป ไม่สามารถร่วมประชุม ๗ รูป มี ๑. สมณะน่านฟ้า สุขฌาโน ๒. สมณะขยะขยัน สรณีโย ๓. สมณะถนอมคูณ คุณกิตตโณ ๔. สมณะพอจริง สัจจาสโภ ๕. สมณะสอน โสปาโก ๖. สมณะอ้วน อภิมันโต และมีสมณะ ที่เดินทางมา ไม่ทัน ๑ รูป คือ สมณะแก่นหล้า วัฑฒโน โดยมีพ่อครู เป็นประธานที่ประชุม

ศาสนวัตถุ ศาสนพิธี ศาสนสถาน

_ปิดโรงเรียน สัมมาสิกขาหินผาฟ้าน้ำ ส่วนชุมชน หินผาฟ้าน้ำ ให้สมณะ ทางสีมาอโศกดูแล

_สมณะ สิกขมาตุ อายุเกิน ๖๐ ปี ไม่รับเงินดูแล ผู้สูงอายุ จากรัฐบาล

_บทสวดภวตุสัพฯ ใช้ “พึง” ตัวแรก “จึง” ตัวหลัง” เช่น ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง มงคลทั้งปวง พึงเกิดขึ้น รักขันตุ สัพพะเทวะตา จิตสูงทั้งปวง พึงรักษา ... จบลงด้วย สัทธาโสตถี ภะวันตุเต ความสวัสดี จึงเกิดมีแก่ท่านทุกเมื่อ.

_ บทสวดพาหุงฯ ๘ “เมื่อสัจจนิครนถ์” เปลี่ยนเป็น “เมื่อสัจจกนิครนถ์” (ตามพระไตรปิฎก)

ศาสนบุคคล

- สมณะที่ช่วยงานบุญนิยมทีวี มี ๔ รูป คือ สมณะคมลึก เมตตจิตโต, สมณะลั่นผา สุชาติโก, สมณะหินมั่น สีลาปากาโร, สมณะใต้ดาว เหฏฐานักขัตโต

ปัจฉาสมณะ

ปัจฉาพ่อท่านฯ - สมณะเดินดิน ติกขวีโร และคณะ (สมณะสมณะพิสุทธิ์ พิสุทโธ, สมณะขยะขยัน สรณีโย, สมณะดินไท ธานิโย, สมณะหนักแน่น ขันติพโล และสมณะแสนดิน ภูมิพุทโธ)

ปัจฉาสมณะเดินดิน ติกขวีโร - สมณะฝนธรรม พุทธกุโล

ปัจฉาสมณะบินบน ถิรจิตโต - สมณะโพธิสิทธิ์ โพธิสิทโธ

ปัจฉาสมณะผืนฟ้า อนุตตโร - สมณะภูผาฟ้าน้ำ

ปัจฉาสมณะเสียงศีล ชาตวโร - สมณะข้าฟ้า ฐานรโต

ปัจฉาสมณะเพาะพุทธ จันทเสฏโฐ - สมณะเลื่อนลิ่ว อรณชีโว

- สมณะป่วยแห่งปี

๑. สมณะกรรมกร กุสโล ๒. สมณะน่านฟ้า สุขฌาโน ๓. สมณะเบิกบาน ธัมมนิยโม ๔. สมณะถนอมคูณ คุณกิตตโณ

- คณะเอาภาระสงฆ์ (คภส.)

๑. สมณะผืนฟ้า อนุตตโร ๒. สมณะถ่องแท้ วินยธโร ๓. สมณะขยะขยัน สรณีโย
๔. สมณะฟ้าไท สมชาติโก รวมทั้ง อุปัชฌาย์อีก ๓ รูปด้วย

- คณะอาจารย์โรงเรียนนวกะ มี ๒ รูป ได้แก่ อาจารย์ ๑ (สมณะบินบน ถิรจิตโต) อาจารย์ ๒ (สมณะผืนฟ้า อนุตตโร)

สมณะลงอาราม ปี ๒๕๕๘ (สมณะทั้งหมดมี ๙๐ รูป)

พุทธสถานสันติอโศก ๒๐ รูป
๑. สมณะสมณะพิสุทธิ์ พิสุทโธ
๒. สมณะเลื่อนลิ่ว อรณชีโว
๓. สมณะน่านฟ้า สุขฌาโน
๔. สมณะเมืองแก้ว ติสสวโร
๕. สมณะกอบชัย ธัมมาวุโธ
๖. สมณะขยะขยัน สรณีโย
๗. สมณะชนะผี ชิตมาโร
๘. สมณะณรงค์ จันทเสฏโฐ
๙. สมณะซาบซึ้ง สิริเตโช
๑๐. สมณะเบิกบาน ธัมมนิยโม
๑๑. สมณะคมลึก เมตตจิตโต
๑๒. สมณะกล้าจริง ตถภาโว
๑๓. สมณะลานบุญ วชิโร
๑๔. สมณะดงเย็น สีติภูโต
๑๕. สมณะชัดแจ้ง วิจักขโณ
๑๖. สมณะลั่นผา สุชาติโก
๑๗. สมณะธรรมทาบฟ้า รวิวัณโณ
๑๘. สมณะแด่ธรรม ธัมมรักขิโต
๑๙. สมณะขยันยอม วิริยธโร
๒๐. สมณะหินจริง วีรปาสาโณ

พุทธสถานปฐมอโศก ๑๑ รูป
๑. สมณะกรรมกร กุสโล
๒. สมณะเสียงศีล ชาตวโร
๓. สมณะเด็ดขาด จิตตสันโต
๔. สมณะฝุ่นฟ้า อัคคชโย
๕. สมณะนาทอง สิงคีวัณโณ
๖. สมณะดาวดิน ปฐวัตโต
๗. สมณะบินก้าว อิทธิภาโว
๘. สมณะตรงมั่น อุชุจาโร
๙. สมณะวิเชียร วิชโย
๑๐. สมณะเมฆฟ้า นภมังคโล
๑๑. สมณะธาตบุญ ธาตุปุญโญ

พุทธสถานศีรษะอโศก ๖ รูป
๑. สมณะถ่องแท้ วินยธโร
๒. สมณะผองไท รตนปุญโญ
๓. สมณะดวงดี ฐิตปุญโญ
๔. สมณะหินกลั่น ปาสาณเลโข
๕. สมณะแก่นหล้า วัฑฒโน
๖. สมณะพอจริง สัจจาสโภ

พุทธสถานศาลีอโศก ๕ รูป
๑. สมณะลือคม ธัมมกิตติโก
๒. สมณะเน้นแก่น พลานีโก
๓. สมณะเลื่อนฟ้า สัจจเปโม
๔. สมณะพันเมือง ภทันโต
๕. สมณะสอน โสปาโก

พุทธสถานสีมาอโศก ๕ รูป
๑. สมณะกล้าดี เตชพหุชโน
๒. สมณะสร้างไท ปณีโต
๓. สมณะฝนธรรม พุทธกุโล
๔. สมณะดินทอง นครวโร
๕. สมณะสยาม สัจจญาโณ

พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ ๑๒ รูป
๑. สมณะบินบน ถิรจิตโต
๒. สมณะผืนฟ้า อนุตตโร
๓. สมณะร่มเมือง ยุทธวโร
๔. สมณะโพธิสิทธิ์ โพธิสิทโธ
๕. สมณะฟ้ารู้ นโภคโต
๖. สมณะชุบดิน วิชชานันโต
๗. สมณะจนแจ้ง อัสสกจาโร
๘. สมณะฮังดิน ภูมิคโต
๙. สมณะแม่นใจมั่น จิตตถาวโร
๑๐. สมณะค้ำดิน ภูมิปูรโณ
๑๑. สมณะคมเย็น ถามวโร
๑๒. สมณะถักร้อย ธัมมธโร

พุทธสถานราชธานีอโศก ๒๒ รูป
๑. สมณะพอแล้ว สมาหิโต
๒. สมณะแน่วแน่ สีลวัณโณ
๓. สมณะแดนเดิม พรหมจริโย
๔. สมณะคิดถูก ทิฏฐุชุกัมโม
๕. สมณะฟ้าไท สมชาติโก
๖. สมณะเด่นตะวัน นรวีโร
๗. สมณะสมชาย ตันติปาโล
๘. สมณะคมคิด ทันตภาโว
๙. สมณะคำจริง วจีคุตโต
๑๐. สมณะแก่นผา สารุปโป
๑๑. สมณะแก่นเกล้า สารกโร
๑๒. สมณะถนอมคูณ คุณกิตตโณ
๑๓. สมณะมือมั่น ปูรณกโร
๑๔. สมณะข้าฟ้า ฐานรโต
๑๕. สมณะหินมั่น สีลาปากโร
๑๖. สมณะถักบุญ อาจิตปุญโญ
๑๗. สมณะใต้ดาว เหฏฐานักขัตโต
๑๘. สมณะขุนศึก อโยมโน
๑๙. สมณะด่วนดี สุชโว
๒๐. สมณะเพียงพอ สันตุฏฐิธัมโม
๒๑. สมณะดินทน ธีรภัทโธ
๒๒. สมณะอ้วน อภิมันโต

สังฆสถานทะเลธรรม ๔ รูป
๑. สมณะดินดี สันตจิตโต
๒. สมณะนึกนบ ฉันทโส
๓. สมณะเทินธรรม จิรัสโส
๔. สมณะนาไท อิสสรชโน

๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. มีการประชุมสถาบันบุญนิยม, พาณิชย์บุญนิยม ที่ศาลาวิหาร โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญ ๓ วาระ คือ

๑. การดำเนินการ “โครงการสร้างจิตอาสา” ของสำนักงาน กองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับตัวแทน สสส. ๓ ท่าน โดย สสส. มุ่งพัฒนาคุณภาพ ผู้ขอรับทุน เพื่อทำโครงการจาก สสส. เพื่อปรับแนวคิด ให้เกิดจิตอาสา แก่ผู้ขอรับทุน เน้นลดอบายมุข ให้ได้ก่อน มีผู้จะเข้าอบรม ประมาณ ๓,๐๐๐ คน กำหนดอบรม ครั้งละ ๔ คืน ๕ วัน โดยให้มี ศูนย์อบรม ของชาวอโศก ๙ เครือข่าย เป็นหลักไว้ก่อน หากศูนย์ไหนพร้อม ให้เริ่มอบรมได้ ในเดือนมกราคม ๒๕๕๘ และจะมีการนัด ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง ที่สันติอโศก วันที่ ๑๒ ธ.ค.’๕๗

๒. การบริหารจัดการ ข้าวไร้สารพิษ ๒,๐๐๐ ตัน ในปี ๒๕๕๘

๓. การจัดงาน “ตลาดอาริยะ ปี ๒๕๕๘”

๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น. รายการภาคค่ำ มีการแสดงภาคค่ำ หลากหลาย จากหลายพุทธสถาน แต่ไฮไลท์ ของรายการ วันนี้คือ รายการย้อนอดีต ภาพศิลปะของพ่อครู สมณะโพธิรักษ์ โดยทางคณะผู้จัดงาน นำโดย สิกขมาตุต้นข้าว ได้ค้นหา ภาพที่วาดโดยพ่อครู และ ภาพถ่ายในอดีต ของพ่อครู ซึ่งเป็นภาพ หายากมาก แต่ทาง สิกขมาตุต้นข้าว ที่ดูแลเรื่องประวัติศาสตร ์ด้านนี้อยู่ ก็สามารถหาภาพเก่า ของพ่อครูมาได้ ดำเนินรายการโดย คุณขวัญชนก ชูเกียรติ และ คุณในน้ำคำ อูนากูล สัมภาษณ์พ่อครู ที่จะมาบรรยาย เกี่ยวกับภาพ ที่จะขึ้นจอ ให้ผู้ชม ได้ชมภาพไปด้วยกัน เป็นภาพวาด ของพ่อครู หาได้ยากมาก มีภาพที่เหลือ เพียงภาพเดียว นอกนั้น สูญหาย ไปหมดแล้ว ภาพสุดท้ายที่เหลือ เป็นภาพที่ พ่อครูตอนเป็นฆราวาส ได้เอาไปทำหน้าปก ของหนังสือ คู่มือแม่บ้าน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ พ่อครูให้ชื่อว่าภาพ “จะสิ้นโลกแล้วหรือ? เป็นภาพจิตรกรรม หนึ่งเดียวของพ่อครู ที่ยังเหลืออยู่ เป็นภาพวาด ที่พ่อครูบอกว่า เกือบจะเน่าแล้ว การลงสี ถ้ามากกว่านี้ ก็จะเป็นภาพ ที่เสียไปเลย เกือบเน่า แต่ก็ไม่เน่า มีต้นไม้ ที่ไม่มีใบเลย เหมือนโลกจะสิ้นแล้ว เหลือเพียงกวาง อยู่สองตัว ภาพวาดอื่นๆ ของพ่อครู เท่าที่หาได้ ในภาพถ่าย ก็มีตอน ม.๗ พ่อครูก็วาดภาพแล้ว จนเข้าเรียนที่ เพาะช่างปี ๑ ก็ฝึกวาดภาพจริงจัง ภาพที่วาด เป็นภาพธรรมชาติ ซึ่งบ่งบอกถึงเป้าหมาย จุดหมายในชีวิต ทางเดินชีวิต

และพ่อครู ยังเป็นนักถ่ายภาพ ที่ฝีมือชั้นครู อีกด้วย การถ่ายภาพ ที่มีองค์ประกอบศิลป์ มีจุดสนใจ และมี convergence พ่อครูยังบรรยาย หลังภาพของภาพหนึ่ง ที่ถ่ายภาพคนเก็บฟืน ที่เขามานั่ง แล้วพ่อครู ก็ถ่ายภาพเขาไว้ พ่อครูบรรยายไว้ว่า

“ตะวันก็จวนเจียนจะลับฟ้า... แต่งานข้ายังมิสิ้นเสร็จเลย ชีวิตยังหวังที่จะอยู่ ข้าก็ต้องต่อสู้ดิ้นรน ทุกวิถีที่จะชูชีพตนอยู่ได้ แม้นเมื่อยก็ต้องทน หมองหม่นก็จำทำ เหนื่อยนักก็พักเสียสักหน่อย แล้วจึงค่อยทำต่อไป ...และต่อไป ตราบชีวิตจักดับ!” ชื่อภาพชื่อว่า “โรยแรง” ถ่ายเมื่อ ๑๗.๔๕ น. ๒๑ ก.ย. ๒๔๙๖

พ่อครูบอกว่า งานที่พ่อครูทำ เป็นศิลปะโดยแท้ มีองค์ประกอบ ทั้งวัตถุทั้งบุคคล ทั้งสภาพแวดล้อม ทั้งธรรมะ ที่จะสื่อให้ผู้รับศิลปะ ได้ธรรมะ และพ่อครูบอกว่า พวกเรามารวมกันได้ ด้วยศิลปะ ที่พ่อครูสร้างขึ้นมาโดยแท้ พ่อครู คือยอดแห่ง โลกุตรศิลปิน โดยแท้

วันเสาร์ที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

๐๓.๓๐-๐๖.๐๐ น. รายการทำวัตรเช้า โดย สมณะบินบน ถิรจิตโต และ สิกขมาตุ กล้าข้ามฝัน อโศกตระกูล

๐๗.๐๐-๐๙.๐๐ น. มีการอบรม “สุดยอดจุลินทรีย์” โดยคณะวิจัย ศีรษะอโศก ณ ห้องประชุมชาวบ้าน บรรยายโดย อาเปิ้ม ขวัญดิน สิงห์คำ, อ.บุญรุ้ง สีดำ อาจารย์สอนวิชา ชีวะวิทยา โรงเรียนสัมมาสิกขา ศีรษะอโศก เปิดบรรยาย องค์ความรู้ใหม่ๆ จากต่างประเทศ ที่ว่าด้วยเรื่อง ซุปเปอร์ปุ๋ย ใช้แค่ ๑ แคบซูล/๑ไร่ มีความเป็นไปได้ว่า ในอนาคตของชาวอโศก ต่อไปไม่ต้อง แบกปุ๋ยเป็น ๑๐๐ กก. ใส่ในไร่ แต่มีวิธีการเพิ่ม ประสิทธิภาพของปุ๋ย ที่เราผลิต พร้อมทั้งมอบเกร็ดเล็กๆน้อยๆ ให้กับผู้เข้าอบรมด้วย การสอนทำจุลินทรีย์ ไมโคไรซา จากดินโพน ส่วนประกอบ ดินจาวปลวก (ระวังต้องเอาตัวปลวก ออกก่อน) เอาจาวปลวกมา ๒๐๐ กรัม ขยำรวมกับข้าวสุก (เย็นแล้ว) ๒-๓ กก. ใส่น้ำ ๕๐ ลิตร ปิดฝาไว้ ๑๕ วัน กรองน้ำใส เชื้อจุลินทรีย์ ไมโคไรซา จะเร่งให้การแตกตัวของราก มากกว่าปกติถึง ๗๐๐ เท่า ดังนั้น พืชจึงโตเร็วมาก

๐๗.๓๐-๐๘.๓๐ น. พ่อครูนำหมู่สมณะ สิกขมาตุ ออกบิณฑบาต บริเวณรอบชุมชน บรรยากาศอบอุ่น ภายหลังจากบิณฑบาต เช้าวันที่ ๓ ของงานมหาปวารณา พ่อครูแจกเหรียญ พญาแร้ง ที่ระลึกในงาน มีสามสี แดง ขาว น้ำเงิน ทำมาทั้งหมด ประมาณ ๑,๒๐๐ ชิ้น กะประมาณว่า คนคงมางานไม่ถึง ๑,๒๐๐ คน แต่ปรากฏว่า ยังไม่ทันจบงาน เหรียญหมดแล้ว แสดงว่าคนต้อง มางานนี้เกิน ๑,๒๐๐ คนแน่ พ่อครูต้องหันไปแจก ล็อกเก็ตแทน หลายคนบ่นว่าเสียดาย มาไม่ทัน พ่อครูเลยบอกว่า ให้รออีก ๓ ปี พ่อครูอายุครบ ๘๔ ปี จะจัดทำเหรียญ ที่ระลึกอันใหม่

และในงานมหาปวารณานี้ พ่อครูยังได้แจกหนังสือ “ค้าบุญคือบาป” ที่เพิ่งพิมพ์เสร็จใหม่ๆ สำหรับคนที่มางานนี้ด้วย หนังสือค้าบุญคือบาป เล่มนี้เป็นเล่มแถม สำหรับหนังสือพิมพ์ “เราคิดอะไร?" ซึ่งดำเนินมาได้ถึง ๒๐ ปีแล้ว

๐๙.๐๐-๑๑.๐๐ น. รายการเทศน์ก่อนฉัน โดยพ่อครู เทศนาไว้ตอนหนึ่งว่า “เมืองไทยกำลังจะเป็นชมพูทวีป” ..... ตอนนี้เมืองไทยกำลังกระเตื้อง ใครเคยโกงมา ก็หยุดเถอะ กรรมชั่วแม้น้อยนิด อย่าทำเสียเลย เป็นคำของพระพุทธเจ้า เมืองไทยกำลังจะก้าวหน้า จะเป็นชมพูทวีปของโลก คือ มนุษย์จะมีสุรภาโว สติมันโต อิธ พรหมจริยวาโส คือคุณสมบัติ สามประการ ของมนุษย์ชมพูทวีป คุณมีโลก กายยาววา หนาคืบ กว้างศอก พร้อมสัญญาและใจ มีอาการ ๓๒ ครบ เต็ม แข็งแรง เรียกว่า สุรภาโว แล้วคุณก็ปฏิบัติ ให้ใช้สติเป็น ทำสติปัฏฐาน ๔ ทำกาย เวทนา จิต ธรรม เป็น ต้องรู้ว่า กายคตาสติ อานาปานสติ สัมพันธ์กัน แล้วตัวปฏิบัติ คือ สติปัฏฐาน ๔ คุณก็จัดการให้ กาย เวทนา จิต ให้ทรงธรรมไว้ พระอรหันต์ปรินิพพาน อะไรก็ไม่เหลือแล้ว แม้ธรรมะ ก็เลิกล้มทุกอย่าง ไม่มีทั้งรูปและนาม

๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. ประชุมการศึกษาบุญนิยม ที่ชั้น ๒ ศูนย์เจาะวิจัยฯ มีดร.เอนก นาคะบุตร และ ดร.ศักดิ์ ประสานดี จากอาศรมศิลป์ มาอธิบายเรื่อง การเรียนการสอน ของอาศรมศิลป์ และความต้องการ ของชาวอโศก ที่จะต่อยอด การศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ได้มีการตั้งคณะกรรมการ ๗ คน เพื่อศึกษารายละเอียด แล้วนัดประชุมกัน ในวันที่ ๒๖ ธ.ค.’๕๗ ที่ราชธานีอโศกต่อไป

๑๓.๐๐-๑๕.๓๐ น. รายการ ๑ วันสำคัญเพื่อพ่อ โดยศิษย์เก่า สัมมาสิกขาปฐมอโศก รวมตัวกัน ทั้งหมด ๑๗ รุ่น ทำกิจกรรมรำลึกความหลัง สมัยเรียนอยู่โรงเรียน สัมมาสิกขา ปฐมอโศก (สส.ฐ.) และกระชับความสัมพันธ์ ในระหว่างพี่น้อง สส.ฐ. ภายหลังจาก แยกย้ายกันไป มีหน้าที่การงาน มีครอบครัว มีความรับผิดชอบ ต่างๆกันไป และจะได้ผนึก รวมตัวกัน เพื่อตอบแทนศาสนา ที่ได้ปลูกฝัง ให้เป็นคนดีในสังคม

๑๕.๓๐-๑๗.๐๐ น. พ่อครูเอื้อไออุ่น ศิษย์เก่า สส.ฐ. มีศิษย์เก่า สส.ฐ.มาทั้งหมด ๑๙๔ คน แถมด้วย ลูกเด็กเล็กแดง ที่เป็นผลผลิต มาให้พ่อครู ตั้งชื่อให้ อีกหลายคน บรรยากาศอบอุ่นมาก

ในการเทศน์เอื้อไออุ่น กบ(แดนไท) ถามพ่อครูว่า.... ในฐานะศิษย์เก่า มีความเชื่อมโยงกัน ระหว่าง แต่ละรุ่นศิษย์เก่า แต่แบบใหญ่ๆนี้ ก็นานๆที ทำอย่างไร จะเชื่อมโยง ระหว่างวัด กับพวกศิษย์เก่าเพิ่มขึ้น

พ่อครูตอบว่า...วัดไม่ได้มีความเรียกร้อง ถ้าคุณมา ก็ต้องการ แต่ไม่เรียกร้อง ถ้าคุณเอง จะมาสัมพันธ์กับวัด คุณก็มาด้วยอิสรเสรีภาพ ไม่ได้เรียกร้อง แต่วัดต้องการพวกคุณไหม? .ตอบแทนอาตมาหน่อย... ต้องการ วัดต้องการ แต่ไม่กล้าเรียกร้อง แต่ถ้าจะมา สัมพันธ์กับวัด ก็ยินดีมาก มาสิ แต่จะให้วัดเรียกร้อง มากดดันพวกคุณ อาตมาไม่พาทำ อาตมาเคารพ อิสรเสรีภาพ ของคน จะอยู่นานเท่าไหร่ก็ได้ อย่างเอก(ลมเย็น) นี่ก็อยู่ได้ ก็อยู่ไปสิ กำลังจะยกฐานะ ให้เป็น ผู้อำนวยการโรงเรียน จะให้ต่อปริญญาเอก ต่อนี่ ที่นี่อิสรเสรีภาพ ใครจะมาสัมพันธ์กับวัด ต้องการอย่างยิ่ง แต่ไม่กล้าเรียกร้อง อยู่ที่น้ำใจ และความสมัครใจพวกคุณ ดีไหม? แม้รู้ว่าดี แต่ไม่ฝืนใจตนเองบ้าง การไม่มีธรรมะฝืนใจ ทมะ ขันติ คือ ฝึกฝน อดทน ต้องมา แต่ถ้ากลัวอดทนฝึกฝน คุณก็ไม่ได้มา แต่ถ้าคุณ เป็นอรหันต์ ไม่ต้องเรียก พวกคุณก็มา เพราะน้ำต้องไหลไปหาน้ำ น้ำมันต้องไหลไปหาน้ำมัน

โดยสัจจะ ก็ให้วัด เป็นศูนย์กลาง จะไลน์จะเฟส ก็ติดต่อกันได้เร็ว ก็ส่งข่าว จะมีวิธีการอย่างไรก็ทำ สร้างสรร อาตมาอนุโมทนา สาธุเลย ไม่อยากเรียกร้อง แต่ต้องการอย่างยิ่ง

- จำเป็นหรือไม่ที่ศิษย์เก่า ต้องมาทำประโยชน์ ในอโศกเท่านั้น

พ่อครูตอบว่า...ส่วนตัวแล้ว อาตมาว่าจำเป็นมาก ไม่เกี่ยวกับคุณนะ ส่วนคุณจะเห็นว่า จำเป็นหรือไม่ ก็แล้วแต่คุณ แม้แต่เรียกร้อง ก็ไม่เรียกร้อง แต่ต้องการไหม? หยุดไม่ต้องบอกอีก

แล้วถ้าพวกเรา มาร่วมกัน อยู่ในชุมชนอโศก มานี่ก็วันนี้ ๑๙๐ กว่าคน มันก็จะไปได้เร็วเลย อาตมาเรียกร้องไม่ได้ ต้องการแน่นอน และจำเป็นไหม? จำเป็น ถ้าคุณมาช่วยอาตมา แล้วจะได้ผลงาน ได้แรงงาน ได้มีผู้ช่วยทำงานศาสนา เพิ่มไหม? ก็ได้เพิ่ม ถามได้ว่าจำเป็นไหม? แต่ทุกวันนี้ แต่ละคนในวัด ทำงานไม่รู้จักกี่หน้าที่ ไม่ใช่ว่า เราไม่มีงาน ที่นี่งานตกคน เป็นเมืองเจริญ สังคมไหน ที่คนตกงาน เป็นสังคมเสื่อม

หลังเอื้อไออุ่น ศิษย์เก่าสส.ฐ.รหัส ๐๐๑ คือ นายคมธรรม (กอล์ฟ) ยัพราษฎร์ เป็นผู้มอบ ทำเนียบศิษย์เก่า สส.ฐ. ๕๔๐ คน เพื่อให้พ่อครู เรียกใช้งานได้ ตลอดเวลา ขอให้พ่อครูอายุยืน ไม่มีแก่ หลังจากนั้น ก็ได้ร่วมกันร้องเพลง “ปฐมอโศกบ้านเรา” ร่วมกัน โดยมีอาหินชนวน อโศกตระกูล อดีตคุรุ สส.ฐ.รุ่นแรก เป็นต้นเสียง เนื่องด้วย เป็นผู้แต่งเพลงนี้เอง

๑๘.๐๐-๒๐.๓๐ น. รายการภาคค่ำ มีการแสดงจาก หลากหลายพุทธสถาน และมีรายการพิเศษ เริ่ม ๑๙.๓๐ น.

ดำเนินรายการโดย สมณะเดินดิน ติกขวีโร สัมภาษณ์พิเศษ บรรพชนปฐมอโศก คือ คุณลุงจำลอง ศรีเมือง และคุณป้าอารมณ์ มหาปิยศิลป์ ถึงเรื่องของการเกิด ชุมชนปฐมอโศก เมื่อครั้งคุณลุงคุณป้า ยังหนุ่มยังสาว ในช่วงเวลานั้น โดยมีพ่อครู สมณะโพธิรักษ์ สมณะ สิกขมาตุ ชาวชุมชนปฐมอโศก พี่น้องญาติธรรม จากทุกๆชุมชน ศิษย์เก่าปฐมอโศก และลูกหลาน สัมมาสิกขา จากทุกพุทธสถาน และแขกที่มาเยี่ยมเยือน ร่วมบรรยากาศ อย่างอบอุ่น หลังเสร็จรายการ ฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก ทำให้อากาศ เย็นสบาย

ตลอดงาน มีการจัดโรงบุญมังสวิรัติ เลี้ยงอาหารผู้ร่วมงาน “ขยันขันแข็ง แข่งกันฝึกตน ด้วยการเป็น “ผู้ให้” อย่างตั้งใจจริง” คือภาพรวมของ จิตวิญญาณ พ่อให้แม่ให้ ของโรงบุญมังสวิรัติ จำนวนโรงบุญ มีเกินกว่าโต๊ะตั้งแจก ที่เราจัดเตรียมไว้บริการ จนหลายๆโรงบุญ ต้องตั้งแจกกัน บริเวณหลังด้านใน ของโรงบุญ ที่ติดถนน ความมากมายของชนิด และปริมาณอาหาร เป็นเหตุให้บางคน ติงฝ่ายจัดสถานที่ว่า “ทำไมให้ตั้งแจก ด้านในล่ะคะ ทำเล คนเข้ารับอาหาร ยากไป....” คืออยากแจก ไม่อยากขนกลับ แต่ในความเป็นจริง คือว่า ....โต๊ะดังกล่าว ผู้จัดตั้งให้แต่ละโรงบุญ ได้มีที่ตั้งพักอาหาร หรือวัตถุดิบ เตรียมแจก ครั้นแม่ให้ขยายๆๆๆๆ ขึ้น จึงต้อง แบ่งๆกันเอื้อเฟื้อ... เป็นความอบอุ่นสมบูรณ์ อย่างคนจนที่มีศีล เป็นแกนนำ อย่างสำคัญ

รายการอาหารชวนชิม มีเยอะแยะ ทั้งส้มตำ ขนมจีนน้ำยา ข้าวโพดคั่ว เมล็ดธัญพืช ไอศกรีม น้ำผักปั่น แหนมทอด แซนด์วิช ผลไม้ ขนมไทย ผักม้วน ผัดหมี่โคราช สะเต๊ะ กระเพาะมังฯ ปาท่องโก๋น้ำขิง จาปาตี ฯลฯ .....มีรายการยาวเหยียด กว่านี้อีกหลายเท่า โดยวันแรก คือ ๗ พ.ย. จัดแจกกว่า ๔๑ โรงบุญ วันหลังมา สถิติเพิ่มถึง ๖๐ กว่าโรงบุญ คนขาย(แจก) พ่ายคนกินอีกวาระหนึ่ง

อาหารมีเหลือมากมาย คุรุบางท่าน ก็พยายามชวนนักเรียน ลำเลียงอาหารไปแจกต่อ ที่หน้าวัด แต่ก็ยังมีเหลือมาก จนญาติธรรมบางคน ปรารภอย่างเสียดายยิ่ง “วันหน้า ถ้าอาหารเหลือมาก ขนาดนี้อีก เราควรประกาศ ขอแรงญาติธรรม มาช่วยกันห่อช่วยกันขนไปแจก ให้ได้มากกว่านี้” เสียดายวัตถุดิบ และแรงกายแรงใจ ของพ่อแม่ พี่น้อง ที่อุตส่าห์ขนหิ้วมา จากใกล้บ้างไกลบ้าง

หลายคนเหนื่อย กับการเตรียม และแบกขน เหมือนมาง้อ พี่น้องเรากินๆๆๆ ภายในสังคม ที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยอาหาร เห็นภาพแล้วนึกถึง เพื่อนร่วมโลก อีกมุมหนึ่ง ที่เขาอดอยาก หิวโซ..... กรรมจำแนกสัตว์ ให้เป็นไป น่าอัศจรรย์แท้

วันอาทิตย์ที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ วันสุดท้ายของงาน

๐๔.๐๐-๐๖.๐๐ น. สรุปงานมหาปวารณา ดำเนินรายการโดย สมณะเดินดิน ติกขวีโร โดยมีสมณะ สิกขมาตุ ญาติธรรม ร่วมกันสรุป ข้อดีข้อเสีย และมีการชื่มชม –ชี้ขุมทรัพย์ แก่ผู้จัดงาน รวมถึงองค์รวม ของชาวอโศก เพื่อความเจริญ พัฒนาของหมู่กลุ่มต่อไป

บทสรุปมหาปวารณา....

ปิดท้ายงาน ด้วยการเทศนา รายการ “วิถีอาริยธรรม” โดยพ่อครู และสมณะฟ้าไท เป็นรายการสุดท้าย ของงานมหาปวารณา ครั้งที่ ๓๒ โดยพ่อครู ให้ขุมทรัพย์แก่ชาวอโศก ไว้ในการเทศนานี้ว่า...ปวารณาแปลว่า ยอมให้ว่ากล่าวได้ จะสำนึกหรือไม่ ก็อยู่ที่เจ้าตัว สำนึก แก้ไขตัวเอง แต่ละคนๆ มีข้อบกพร่องอะไร เอาเหตุปัจจัยที่เกิด มาตรวจสอบ ข้อบกพร่อง ตรวจให้ชัด อย่าลำเอียงเข้าข้างตนเอง พวกเราศึกษาพวกนี้ มันเรื่องลึกซึ้ง เรื่องปฏิภาณปัญญา

สายปัญญา จะมีเหตุผล เป็นเงื่อนไข ในการศึกษา ส่วนสายศรัทธา ศึกษาแต่จิต ไม่ค่อยชอบคิด วิจัยเหตุผล ไม่ถนัด ฝึกแต่จิตๆๆไป ก็เลยแคบ เอาแต่จิต ไม่มีเหตุผล ก็แคบ แต่ถ้าเอาแต่เหตุผล ไม่เอาจิต ก็กว้างกระจาย ไม่จบ พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า ให้เข้าหาความพอเหมาะพอดี ส่วนกลางให้ได้ เมื่อมันผิด แล้วหลุดจากกรอบ ปุญญักเขต ไม่ปโหติ (เหมาะสม) เลยไปด้านปัญญาฟุ้ง ก็ผิด เลยไปทางจมดิ่ง ก็ผิด ท่านว่าไม่ลอยก็จม มีสองทิศ ตั้งแต่ละเอียด ถึงหยาบ คนต้องรู้ ความพอเหมาะพอดี จะเรียกว่า ทางสายกลาง ก็ต้องรู้ว่า กลางอย่างนี้ ไม่ได้หมายเอาแค่ รูปธรรม

แต่ว่ากลางอย่างนี้คือ จิตเราต้องรู้ฝ่ายปัญญา สว่างจ้าเกินไป อีกฝ่ายก็มืด ดับสนิท พระพุทธเจ้า ให้เรียนใหญ่หยาบก่อน เราจะสัมผัสความจริง เป็นส่วนๆ แล้วจะรู้ความจริง สภาพพอดี ในใหญ่หยาบ กลาง ละเอียด พอดีอย่างไร จะให้ลงตรงกลาง ไม่มีความเข้าใจผิด ไม่มีมัว ที่มืดมิดก็ไม่มี หรือว่าสว่างอย่างไร ไม่มัวไม่ชัด ก็ไม่เอา ให้คมชัด แม่นจริงเต็ม ไม่มีอะไร เหลื่อมซ้อน มันตรงเป๊ะ เข้ารูปให้ได้ นี่คือสัจจะ ที่พูดถึงนามธรรม แม้พวกเรา ยังไม่มีความคมชัด แต่ต้องฝึก ให้เห็นรู้ชัดได้จริงๆ


ทีมงานข่าวอโศก