งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ ๓๗ ที่ พุทธสถาน ศาลีอโศก
“ธรรมที่เป็นพุทธ” ตอน ๑ |
560225
_สรุปเนื้อหา ทำวัตรเช้าโดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์

ทำวัตรเช้า เป็นภาษาที่เป็นประเพณี ในการบำเพ็ญธรรมมา ทั้งทางด้านศาสนาหมู่ใหญ่ ท่านก็สวดมนต์เป็นหลัก ฟังธรรมแต่น้อย นอกจากบางที่ ที่มีนักเทศน์ก็มีบ้าง แต่ส่วนใหญ่ ทำวัตรก็คือ มาสวดมนต์ พ่อครูเคยบวช อยู่ในวัดใหญ่ พอได้เวลาทำวัตร ก็มาสวดมนต์ มีหลายบท เป็นการสวดสังคีติ ท่องจำไว้ ให้จำบทมนต์ไปเรื่อย ก็ได้ประโยชน์ที่มาร่วมกัน มีใจที่มีกิจร่วมในกิจศาสนา ที่จะบำเพ็ญธรรม แค่มารวมตัวกันก็ดีแล้ว มาปฏิบัติธรรม นั่งให้สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ให้นิ่ง ถ้าเฉยๆเรียกว่า meditation เป็นลัทธิเก่าแต่โบราณ เป็นบทต้น ให้สงบ ก็มีผลดี ถ้ายิ่งมีอะไรเพิ่มขึ้น ในพิธีการ อย่างพวกเรา มีปลุกเสกฯ พุทธาฯ จนมาถึงปีที่ ๓๗ ก็ลงตัว มีสวดมนต์บ้าง แล้วก็มาฟังธรรมเป็นหลัก แล้วก็จะมีอื่นอีก มีสังวรศีล  มีสำรวมอินทรีย์  โภชเนมัตตัญญุตา มีชาคริยานุโยคะ ปฏิบัติจรณะ ๑๕ เป็นสำคัญ ชาคริยาฯ เราต้องมีสัมปชัญญะ สัมปันนะ คือให้สติเราเป็นตัวต้น เรียกสติสัมโพชฌงค์ สติคือความรู้ตัว เป็นคำรวม ถ้าเราไม่ศึกษาต่อ ก็ไม่รู้ว่า สัมปชัญญะ สัมปฌานะคืออะไร ก็คือลีลาการต่อเนื่องจากสติ ที่มีการต่อเนื่อง สัมปชัญญะคือ ระลึกรู้ตัวต่อจากสติ รู้รอบในการ สัมผัสสัมพันธ์ ทางทวาร รู้กรรมกิริยา ทั้งวาจา ซึ่งสังกัปปะคือ พฤติกรรมองค์รวมของจิต ที่มีบทบาท แจกเป็น ๗ อย่าง        

ถ้าไม่รู้จักสัมปชัญญะ สัมปชานะ สัมปัชชลติ สัมปัตตะ.... สัมปันนะ คือเข้าถึง การบรรลุธรรม ถ้าเรารู้ตลอดสาย ตั้งแต่เกี่ยวข้องสัมผัส ทางทวาร ๖ แล้วเราก็มี สัมปชัญญะ รู้ต่อจากทวาร ๖ รู้กิริยาข้างนอก ที่กระทบสัมผัส แล้วเข้าไปต่อข้างในใจ รับรู้ ยิ่งรู้ไปถึง มีการวิจัยวิจาร มีการอ่านจิต ซึ่งอ่านภายนอกก็รู้ง่าย ว่ามิจฉาหรือสัมมา ทั้งวจีกรรม ก็จะรู้ว่า มิจฉาหรือสัมมา สำหรับอาชีวะ เราก็จะวิจัยวิจาร ต่อเนื่องเข้าไปสู่ใจ ที่เรามีวิตกวิจาร วิจารคือความประพฤติ ทั้งภายนอกภายใน เราจะฝึกชะวะนะจิต คือจิตที่แววไว เร็วไว ฝึกให้มันสัมผัสรู้ เสวยอารมณ์ทุกอย่างก็ต้องรู้

สัมปชานะ คือรู้รอบรู้ถูกผิด มีวิจัยวิจารให้รู้ รู้ว่าเป็นฌาน ๑ คือจิตเราไม่มีนิวรณ์ ขณะใดเราไม่มีนิวรณ์ คือเราทำฌาน ทั้งที่มีกระทบทางทวาร ๖ ก็มีต่อเนื่องรับรู้ถึงภายใน คืออาศัยมหาภูตรูป แล้วต่อเนื่องเป็น มหาภูตรูป (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ก็คือรูป) คำว่ารูปคือสิ่งที่ถูกรู้ แล้วเราก็จะรู้ในใจเรา

สัมปชัญญะ = ความรู้ต่อจากการมีสติรู้สึกตัว
สัมปชานะ =  ความรู้สึกตัวในการปฏิบัติอยู่
สัมปาเทติ   =  เหตุไปสู่การละเลงเพื่อสัมปัชชติ
สัมปัชชติ   = ความรู้จากการแยกแยะขจัด
สัมปาเปติ  =  การสังเคราะห์กันขึ้นอย่าง อวจร
สัมปฏิสังขา  =  ญาณรู้จักการทบทวนกระทำซ้ำ .
สัมปัชชลติ = เข้าสู่การโหมไหม้ สว่างเรืองรอง
สัมปัตตะ, สัมปันนะ  = การเข้าบรรลุผล .
สัมปฏิเวธ  =  ความรู้ที่รู้แจ้งแทงตลอด

วิตกวิจาร ตัวแรกคือทำจิตเรา ไม่ให้มีนิวรณ์ ๕ จะด้วยวิขัมภนะ กดข่ม หรือด้วยวิธีใดๆ ก็แล้วแต่ ไม่ให้มี กาม พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็ไม่มี เราก็สบายใจ มีปีติสงบอยู่ มีเอกัคคตา ฌาน๑ ก็ลืมตาเป็นแบบพระพุทธเจ้า ส่วนของหลับตา เขาก็ไม่ให้มีนิวรณ์ ก็ทำกันทั่วโลก เรียกว่า เจโตสมถะ แต่ของพระพุทธเจ้า ทำวิปัสสนา ปัสสะคือการเห็นโต้งๆอยู่ แล้วก็ทำให้จิตสงบ มีสมถะเหมือนกัน มีปหาน ๕ ก็มีกดข่มได้ ซึ่งเป็นสัญชาติญาณสามัญ ที่เรียกว่ามารยาท เมื่อกระทบสัมผัส แม้คนอวิชชา ก็มีมารยาท ก็มีการระงับได้ แม้ว่าจะมีอาการจิตว่า น่าแตะน่าทำอะไรออกไป เราก็ยังมีมารยาทก็กดข่ม โดยสัญชาติญาณ ทำเป็นปกติอัตโนมัติ เป็นสัจจะก็เกิดอยู่ตลอดเวลา

แต่เรามาเรียนรู้มัน ว่าเราเป็นไหม ซึ่งธรรมดาคนก็เป็นกันทั้งนั้น เราอยู่กับสังคม ก็มีมารยาท มีกาม มีโทสะก็ระงับ ถ้ามันแรงก็ระงับ นอกจากมันไม่ไหว ก็ออกมาเป็น กายกรรม วจีกรรม ตามปรารถนาออกไป ก็เป็นเรื่องจริง

แต่เมื่อเราปฏิบัติธรรม เราต้องรู้ว่า อันนี้ให้ระมัดระวังนะ เช่นที่เรากำหนดศีล ๕ เราต้องลดละอะไรบ้าง มันจะเกิดอาการทางใจ เมื่อสัมผัส แล้วกิเลสเกิด เราก็ต้องมี วิธีลดละ เรามีวิปัสสนา คือการมีสติ แล้วปฏิบัติให้ครบ จนเป็นวิมุติ ให้กิเลสลด จะวิขัมภนะช่วย แล้วมีวิปัสสนา พิจารณาให้กิเลสลด แม้ระงับแล้ว มันก็ยังเกิด เราก็พิจารณามันว่า มันไม่เที่ยง มันก็อยู่ได้นะ มันไม่เที่ยง แต่มันเบาบางลง แม้ชั่วคราว ก็ตทังคะ ถ้าทำได้ต่อเนื่อง ได้เร็วได้เก่งไวขึ้น จนเห็นได้อย่างเด็ดขาด คือ สมุทเฉทปหาน เราสัมผัสกิเลสเกิด เราก็ทำให้ขาด ทำได้เร็วขึ้น ทำวิปัสสนาวิธี ส่วนตทังคะ คือได้เป็นครั้งคราว แต่ไม่ใช่ว่า มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปเอง ซึ่งมันเกิดดับเอง แล้วบอกว่า เห็นอนัตตาแล้ว อย่างนี้แล้วบอกว่า มันไม่ใช่ตัวตน อย่างที่มีคน sms มาบอกว่า นี่ไม่ใช่ตัวตน ก็เป็นแต่ภาษา ที่เอามาถกกันเท่านั้น อย่างเช่นนักวิทยาศาสตร์ ว่า ควอนตัมนั้น เป็นสิ่งที่เคลื่อนไหว ต่อเป็นสายไม่เป็นแท่งก้อน แต่โปรตอนนั้น เป็นสิ่งที่เป็นตัวตน เป็นแท่งก้อน เขาก็เถียงกันอยู่

แต่ของพุทธก็มีสิ่งที่เป็นตัวตน เรียกว่า อัตตา กำลังแสดงบทบาท เป็นเจ้าของ ใจเรา กำลังออกฤทธิ์ ให้ทำตามมันเลยนะ มันยังมีอาการ แต่เราก็เห็นว่า มันก็ไม่เที่ยง ไม่คงที่ แม้จะมันบำเรอมันก็ เดี๋ยวมันก็ดับ มีธรรมะหลายสาย บอกว่า ให้อยู่ไปเรื่อยๆ มันอยากอะไรก็ให้ แล้วมันก็หยุด หนักเข้า มีสายกาม อยากเสพเมถุน ก็ทำให้เต็มที่ จนมันหยุด อยากได้ ก็ให้มันทุกอย่าง ซักวันมันก็หยุด คนคิดแบบนั้นก็มี ซึ่งถ้าไม่เข้าใจ สัมมาทิฏฐิ ก็ไปกันใหญ่

เมื่อมาปฏิบัติจนเข้าใจสติ มีสติสัมโพชฌงค์ คือปฏิบัติตามมรรคองค์ ๘ รู้ว่า มีการสัมผัสภายนอก มหาภูตรูป แล้วรู้เนื่องไปใน มหาภูตรูป เป็นองค์ประชุมภายใน เป็นกายในกาย ตอนรู้ภายใน ตอนเริ่มต้น เป็นวิญญาณ คือธาตุรู้ทั้งหมด แต่ที่ปรุงแต่งเร็วปุ๊ป นั่นคือ การสังขาร

พระพุทธเจ้าสอนให้รู้นามรูป (นามรูป ปริเฉทญาณ) ในปฏิจจสมุปบาท เรียกว่า นาม-รูป แต่ทั่วไปบอกว่า ให้รู้รูป-นาม ซึ่งมี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ต้องรู้ว่า นาม-รูป คือนามธรรมที่ถูกรู้ คือการขยายวิญญาณนั่นเอง นามคืออะไร คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ส่วนรูปคือ มหาภูตรูปและอุปาทายรูป (อุปาทายรูป คือรูปที่อาศัย มหาภูตรูปเกิด) เราต้องชัดเจนว่า เราต้องรู้ทั้ง นามและรูป

ต้องรู้อาการมันว่า เวทนา มีอาการจิตอย่างไร สัญญามีอาการจิตอย่างไร ต้องกำหนดรู้ คือ สติปัฏฐาน ๔ คือการปฏิบัติ เอาสติเป็นที่ตั้ง อย่างไร? คือพิจารณา รู้กายในกาย เวทนาในเวทนา รู้จิตในจิต รู้ธรรมในธรรม ให้สติทำงาน ไปจนถึง อานาปานสติ รู้ว่ามีกายสังขาร รู้จิตรำงับ รู้จิตปรุงแต่ง แล้วให้รำงับ

กายในกาย คือการรู้ทุกอริยาบท แล้วต่อเนื่องไปเป็น อุปาทายรูป มีจิตสังขาร ให้ตามรู้ อนุปัสสี ๔ ตามรู้ความไม่เที่ยง ความจางคลายกิเลส จนกิเลสดับ และมีการทำซ้ำ ทำทวน อยู่ตลอดเวลา

เมื่อทำใจเราให้กิเลสลดละ จางคลายได้ สติเช่นนี้ เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ ทุกเวลา ต้องทำสัมมาสติ ควบคู่กับมรรคทั้ง ๗ องค์ ซึ่งสติก็แจกละเอียด ได้อีกหลายภาวะ สรุปคือ บทบาทลีลาของจิต ที่ทำงานต่อเนื่อง แล้วสุดท้าย รู้แจ้งแทงตลอด มีสัมปันนะ คือความสำเร็จ แล้วทวนตลอด เรียกว่า สตินำพาสู่การตรัสรู้คือ สติสัมโพชฌงค์ มีทุกอย่างครบหมด

นี่เรียกว่า กระบวนการ หรือมนสิการของจิต ให้รู้ว่าเรามีสติ ถึงขั้นไหน แล้วพยายาม ให้มันยิ่งขึ้น ให้มีบทบาท แล้วเรารู้การทำของมัน มีการเผา (สัมปัชชลติ) คือมีไฟ ฌานในการเผา ทำลายกิเลส ให้เบาบางจางคลาย นี่คือฤทธิ์แรง อุณหธาตุ ที่ไปทำลายกิเลส จนมีผลเรียกว่า สัมปันนะ แล้วทำทวนแทงตลอดใน คือสัมปฏิเวธ ต้องมีสติ ที่ครบบริบูรณ์ จึงบรรลุเต็ม

ตอนนี้วิจัยธรรมะในกลุ่มของ สติสัมปชัญญะ แล้วเอาไปทำ ตั้งแต่จิตมันเริ่มดำริ มีวิตักกะ เราใช้คำว่าวิ ซึ่งคนไทยใช้คำว่า วิตก คือการกังวลใจ คือมันยังไม่สำเร็จผล แต่ความจริงแล้ว มันแปลว่า สำเร็จผลด้วย แต่มันยังกังวลว่า มันมีกิเลสอยู่ เป็นอาการแรกของวิตก แต่เมื่อเราทำเข้า ปฏิบัติเข้า เราทำปหาน ๕ ไปจนถึง นิสสรณะปหาน ซึ่งคำของพระพุทธเจ้านั้น มีละเอียดลออมากมาย ท่านทำไมต้อง บัญญัติมามากมาย ซึ่งท่านไม่ได้ตั้งขึ้นมาเฉย แต่ตั้งมาให้รู้ และเรียกสภาวะ ที่มีรายละเอียด ที่เป็นธรรมชาติ  แจกละเอียด ของจิตเจตสิกต่างๆ ในบางคำก็เอามาใช้กัน แต่ส่วนใหญ่นั้น คำบาลี ไม่ได้นำมาใช้ทางรูปธรรม เพราะมีความละเอียด ลึกซึ้งมาก เป็นคำแทนสภาวะ

มีศัพท์อยู่สองคำคือ ร่วมถือ และแยกถือ  คำว่าร่วมถือคือ ความยึดถือจากที่รวบรวม แต่แยกถือ ก็คือแยกแยะออก แล้วก็ถือไว้ ซึ่งถ้ารวบถือ มันก็ไม่รู้ ก็จะยึดมั่นถือมั่นได้ แต่คำว่าแยกถือ ก็มีลักษณะดีกว่า คำว่าร่วมถือ

ตอนนี้จะนำหนังสือ ธรรมที่เป็นพุทธ มาเรียนกัน ถ้าใครอ่านแล้วเกิดธรรมรส อ่านไปถึง ๓ เที่ยวอย่างน้อย แล้วก็เข้าใจเพิ่มขึ้น คุณอาจอ่านเที่ยวที่ ๔ ที่ ๕ ต่อไป เป็นหนังสือที่เขียนด้วยภาษาง่ายๆ


สารบัญ
บทที่ ๑. ขอบคุณชีวิต      
บทที่ ๒. ชีวิตชาติชั่ว    
บทที่ ๓. ชาตินี้ของชีวิต         
บทที่ ๔. สิ้นชาติก็สิ้นชั่ว

ขยายความ ที่ตั้งชื่อนี้ตั้งแล้วจึงเขียน ในบทที่ ๑ ขอบคุณชีวิต ต้องขอบคุณที่พ่อครู ได้ทำงาน ได้มีศาสนาพุทธอยู่กับชีวิต เป็นศาสนาที่อยู่กับชีวิตเรา เพราะศาสนาพุทธคือ ทุกสิ่งทุกอย่างของมนุษย์ เมื่อรู้ใจก็ไปรู้กาย วจี ไปถึงอาชีพ มันจะมีภูมิปัญญา รู้ไปหมด เมื่อดับกิเลสได้ เป็นคุณค่าชีวิตจริงๆ ได้มาลดละ สิ่งไม่ดีงาม จนได้อาศัย ธรรมะที่เป็นพุทธ แล้วก็มีชีวิตต่อไปอีก ก็ตั้งใจอยู่ถึง ๑๕๑ ปีก็ขอบคุณอีก สมมุติว่า พ่อครูไม่มีกิเลส (เพราะบางคนไม่เชื่อ) ถ้าพ่อครูจะอยู่ต่อไปอีก ตามโครงการ ขยายอายุขัย สมมุติอยู่ต่อ ก็ต้องขอบคุณ พวกคุณ ที่มาปฏิบัติธรรม พวกที่ไม่มา ก็อยากขอบคุณ แต่เขาไม่มาให้ขอบคุณ คนเก่าเคยมา เดี๋ยวนี้ก็ไม่มา เพราะมีโทรทัศน์ดู มาแล้วไม่มีอิสระ หรือมีเหตุผล อีกมากที่จะไม่มา ก็เลยไม่ได้ขอบคุณเขา แต่พวกที่มา อย่างน้อย ก็ให้เห็นหน้าตา ว่าเจริญขื้นหรือไม่ เห็นว่ายังอยู่ ก็มารวมหมู่กลุ่ม ทำให้มวลโต ซึ่งดี เพราะมามากแล้วสงบ ไม่เหมือนกับบางหมู่ รวมกันแล้วก็ไม่สนใจคนพูด แต่พวกคุณ มาตั้งใจฟังธรรม จะมีหลับบ้าง เท่านั้นเอง ก็ช่วยไม่ได้ ไม่อยากหลับหรอก ถึงมีมวลมาก ก็ไม่กวน ถ้ามามากแล้วจอแจ อย่างกับโต๊ะจีน อย่างนี้ไม่ไหว

ถ้าพ่อครูจะมีชีวิตอยู่ต่อไป ก็เพื่อสร้างประโยชน์ แล้วก็มีความชำนาญเพิ่ม ผู้ที่เป็นอรหันต์แล้ว ก็หมดประโยชน์ตน จบกิจแล้ว คือกิเลสตน หมดเกลี้ยงแล้ว จิตมันเที่ยงแท้ ถาวรมั่นคง ไม่แปรเปลี่ยน ไม่กลับกำเริบ ทั้งเวทนา ๑๐๘ ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ก็มีกิเลสสูญ จะมีอมตะ คือไม่ตายไม่เกิด มีอตัมยตา คือจะตายก็ได้ จะเกิดก็ได้ จะไม่มีก็ได้ มีก็ได้ มีก็ปรุงแต่งเพื่อคนอื่น ให้คนได้เข้าใจธรรมะเพิ่มขึ้น

ประโยชน์ตนจะว่าได้ ก็เป็นความชำนาญ ความฉลาดขึ้น เป็นประโยชน์ตนที่ไม่แท้ คือเก่งฉลาดขึ้น ก็เพื่ออะไร ก็เพื่อมาให้กับคนอย่างเก่า แต่ประโยชน์ตนจบแล้ว ไม่ต้องมีอีกแล้ว แต่มีเพื่อให้ใช้งาน ให้แก่คนอื่นมากขึ้น ก็ไม่ได้มาทำเอา แต่มาทำให้ (บางคนเผิน ว่าแค่ได้ฉลาดขึ้น ดีขึ้นเก่งขึ้น ก็ได้แล้ว แต่นั้นไม่ใช่ประโยชน์ตนที่แท้)

ชีวิตชาติชั่ว พ่อท่านเกิดมา ทำชั่วไม่ได้เหมือนกับคนอื่น เป็นลิงลมอมข้าวพอง แม้จะมีของเก่าแล้ว แต่เกิดมา ก็ไม่ได้รู้ตัวทันที พระพุทธเจ้าเกิดมา เป็นเจ้าชาย ก็ไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า มีคนทำนายได้ แต่พ่อหาเมียให้ มีลูกก็มี มีปราสาทสามฤดู มีกามคุณบำเรอ พออายุ ๒๙ มีลูกคลอดออกมา ก็รู้สึกแล้วว่ามีห่วง แม้ออกไปบวชอีก ๖ ปี ท่านก็ลิงลมอมข้าวพอง บวชไปตามโลก อย่างโลกมีสองสาย สายหนึ่งสูงสุด ก็ไปเป็นสังฆราช อีกสายก็ไปเป็นอรหันต์ในป่าเขา ซึ่งท่านก็ทำไปตามโลก แต่ท่านทำ เก่งกว่าเขาทุกคน ท่านอดข้าวเก่งกว่าทุกคน ทรมานตน เก่งกว่าทุกคน ทำหมดตามเขาหมด นั่นคือ ลิงลมอมข้าวพอง ท่านก็ตรัสยืนยันไว้ว่า ทำผิดมาก่อน

ผู้ที่จะออกป่า ต้องมีสมาธิพอสมควร ถ้าไม่มีพอ ออกป่าไป ถ้าไม่จมก็ลอย ป่าและราวป่า อันสงัดอยู่ลำบาก ป่าจะเอาใจไปเสีย หาความอภิรมณ์ หาความวิเวกได้ยาก ซึ่งเป็นสิ่งลึกซึ้ง การทำความวิเวกนั้น ไม่ใช่แค่ออกป่า

...การไม่มานั้น ถ้าคุณจะต้องฝืนสิ่งที่เป็นพรหมลิขิต หรือมาตั้งตน บนความลำบาก นี่แหละ คือสิ่งดี เราเห็นแล้วว่า เหตุปัจจัย ควรมาได้ก็มาเลย

ชาตินี้ของชีวิตนั้น ต้องมาเรียนคำว่า “ชาติ” ชาติ คือความเกิด ก็มีการแยกแยะถึง ๕ อย่าง ชาติคือการเกิดของกิเลส ซึ่งมีอาการ ลิงค นิมิต อุเทศ ก่อนจะคลอด มันเห็นหัวเลย คุณรู้ได้ ก็ยิ่งเก่ง อย่าให้มันมี ถ้าขจัดมันได้ มันเป็นสังกัปปะ คือความนึกคิด เต็มรูปก็คือ สัมมาสังกัปปะ สะอาดจากมิจฉาทั้งหลาย ก็จัดการที่ใจ ให้ตัวเหตุมันดับไป คราใดที่ดับได้ ก็เป็นการปรุงแต่ง จากตัวต้นทาง ก็ออกมาเป็นวจีสะอาด กายกรรมสะอาด อย่างไม่ต้องกดข่ม ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจคือมโน สำเร็จได้อย่าง มโนมยิทธิ คือการทำ สังกัปปะ ๗ นั่นเอง

ถ้าทำไม่ได้ เพราะมีอวิชชาอยู่ วิจัยวิจาร ฆ่ากิเลสไม่เป็น เมื่อสัมผัสก็มีสังกัปปะ แล้วไม่ได้ฆ่ากิเลส ในกระบวนการ วิตักกะ ที่จะออกไปเป็น วจีสังขาร ออกไปเป็นวจีกรรม กายกรรม อาชีพที่ดี แต่ถ้าไม่ได้ทำ ก็ออกมาพรวด เป็นมิจฉาสังกัปปะ แม้จะมีมารยาท กรองไว้บ้าง เช่นโกหกอย่างนี้ ไม่ควรโกหกก็ไม่ทำ แต่บางอย่าง โกหกแล้วได้ประโยชน์ ก็ทำออกไป บางอย่างไม่ฆ่า ไม่ละเมิดเอาของเขา ปุถุชนก็มีการกดข่มไว้อยู่แล้ว แต่ไม่รู้เรื่อง ซึ่งถ้าทำอย่างรู้ๆ ทำในสังกัปปะ ทำให้จิตสะอาด สั่งสมหน่วยกิจ ที่จิตตั้งมั่น ทวีเป็นฐานความสมถะ เป็นพลังแห่งความแข็งแรง มีทั้งลักษณะเสถียร และเคลื่อนไหว มีทั้งสมถะ และวิปัสสนา เจริญไปด้วยกัน ทำงานช่วยกันเสมอๆ

ใครไม่เรียนรู้มา ก็ทำแต่วิกขัมภนะ ทำตามมารยาท ก็จะไม่รู้ธาตุจิตว่ามีผี มีวิญญาณเลวร้าย มีผีอยู่ในตน ถามว่ามนุษย์ทั้งหลาย เป็นผีหรือคน มากกว่ากัน... ตอบว่า ...ผี ... เพราะกิเลสมีมาก ก็ผีตัวใหญ่ กิเลสน้อย ก็ผีตัวน้อย กิเลสไม่มีก็เป็น เทวดาวิสุทธิเทพ ก

เทวดาที่เป็นสมมุติเทวานั้น ได้สิ่งเสพสมบำเรอ พวกจตุมหาราชิกา  คือใช้เงินมาซื้อ มาล่าความใหญ่โตทั้งสี่ทิศ เขาเขียนรูป มีสี่มือสี่หัว เป็นยักษ์ แย่งชิงเขามา พอได้มาก็เป็นสุข ตั้งแต่กามาวจร ที่เป็นอบาย อย่างพวกที่ บริหารประเทศตอนนี้ แปลงตัวเป็นมาร แล้วหลอกคนอยู่ทุกวัน ทั้งนักธุรกิจ ข้าราชการ นักการเมือง ทำชั่วโดยแนบเนียน หลอกเขา ทั้งทุจริต โกงกินโหดร้าย เอาเปรียบเอารัดมากมาย นั่นแหละ ผีใหญ่ เป็นจตุมหาราชิกา

เทวดาทั้ง ๖ คือผีหลอกทั้งนั้น

  1. จาตุมหาราชิกา
  2. ดาวดึงส์ คือ ๓๓ ชีวิตคนมีแต่อาการ ๓๒ แต่หลงหลอกให้มีอีกอาการคือ อาการ ที่ ๓๓ ไปหลงเสพ เป็นอาการหลอกเสพติด ในกามาวจร
  3. ยามา แปลว่าเวลา คือจะต้องให้ได้เสพเป็นเทวดาได้นาน เท่าที่ต้องการ อยู่ไปตลอดกาลนาน ต้องการบำบัด ให้ไม่ขาดตอน พยายามสั่งสมยามา
  4. ดุสิต แปลว่า พัก แม้จะต่อเนื่องอย่างไร ต้องมีการพักยก งานเลี้ยงต้องมีวันเลิกรา มีการสงบ โดยโลกีย์ก็มีพักยกหยุด เรียกว่า เคหะสิตอุเบกขา (อพพยกฤติ) ซึ่งธรรมดาจะลนลานหาสุข แสวงหา ไปเรื่อยๆ จะแสวงหาสุขให้ทุกอย่าง ว่างๆปาก ก็หาอะไรมาอม หาอะไรมาดม หาอะไรมาฉุน ตลอดเวลา คุณหาอะไร มาบำเรอความต้องการ ที่ไร้สาระมากมาย ถามตัวเองบ้างว่า ตนกำลังทำอะไร บางอย่างเลอะเทอะ มาทำสิ่งดีกว่านี้เถอะ เราไปเสียเงิน ให้เขาแคะขี้เล็บ ทำเล็บทีหนึ่ง เป็นพันบาทเลย ไร้สาระ ซึ่งเศรษฐศาสตร์มองตื้นๆ ว่าเงินสะพัด แต่เวลาแรงงาน ที่เสียไปสิไม่นับ การแคะขี้เล็บ ยังเป็นประโยชน์ แต่การเล่นหวยนั้น ไร้ประโยชน์กว่าอีก ที่จริงการแคะขี้เล็บ ยังมีประโยชน์ แต่การแต่งเล็บ เพ้นท์เล็บนั้น เสียเวลา แรงงาน แรงคิด ขอวิจารณ์เต็มเหนี่ยว มากมาย ไม่รู้กี่อย่าง คนเราไม่รู้สาระชีวิต คนรู้สาระว่าเป็นสาระ คนนั้นมีสาระ
  5. นิมมานรดี คือเนรมิตเอง สร้างเอง มีเงินก็เนรมิตเอง จ้างเทวดามาล้างส้วมให้ได้ นี่คืออำนาจที่สร้างเอา
  6. ปรนิมมิตวสวดี คือมีอำนาจให้คนกลัวเกรง จนคนอื่นมาสร้าง มาทำให้หมด

พอถึงขั้น ๕ หรือ ๖ คือพวกมีอำนาจบันดาล จนกระทั่ง คนอื่นมาทำให้ แค่แสดงท่าที นิดหน่อย ก็มีคนทำให้ แค่ล้วงบุหรี่มา ไฟแช็คก็มาเลย ขอให้บอกเถอะนาย และไม่ต้องให้บอกหรอก แค่สังเกต ก็ทำให้นายก่อนเลย นายเสียไปหลายคน เพราะลูกน้อง รู้ดีกว่านาย ฉิบหายก็มีมาแล้ว เลขาทำป่วน

นี่คือเทวดา ๖ อย่าง อย่าอยากเป็นเลย ไม่ได้หมายความว่า เป็นแต่ชาตินี้ บำเรอตนเอง ด้วยโลกธรรม เทวดานั้นเป็นโลกียะ ทั้งนั้น ส่วนพรหมนั้น เขาว่าเป็นโลกุตระ แต่ที่จริงยังไม่ใช่บริสุทธิ์

ตอนนี้กำลังอธิบายสารบัญ......

ถึงสารบัญบทที่ ๓ ชาตินี้ของชีวิต คือมาเรียนสิ่งที่ชั่วของชีวิต ถ้าพลาดไป ก็ไม่ได้เรียน เพราะชาตินี้ที่มี กายยาววา หนาคืบ กว้างศอก พร้อมสัญญาและใจ เราเท่านั้นที่เรียนรู้ได้ มีสูรา สติมันโต อิธะ พรหมจริยวาโส ถ้าทำความสะอาด เป็นพรหมได้ตั้งแต่เป็น โสดาบัน สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ ถ้าทำความเป็นพรหม ตั้งแต่อิธะโลกนี้ ตายไปก็ได้ แต่ถ้าทำความเป็นพรหม ในตอนเป็นไม่ได้ ตอนตายก็ทำไม่ได้ พระพุทธเจ้า ไม่ได้ให้ปฏิบัติตอนตาย แต่ให้ทำตอนนี้ ขณะมีร่างกาย พร้อมใจนี่แหละ ที่จะปฏิบัติธรรมได้ เรียกว่า มนุษย์ชมพูทวีป

คำว่าดาวดึงส์ ท่านใช้เรียกการเสวย องคาพยพที่ ๓๓ เป็นอาการหลอก ที่คิดว่ามีจริง นึกว่ามีแดน เป็นภพชาติจริง ที่ได้เสพ เป็นเทวดดาวดึง มนุษย์อุตรกุรุทวีป อุตระคือสูงขึ้น จนไปถึง นิพพานได้ จะเป็นพระพุทธเจ้า แม้จะตรัสรู้ตายไป ก็ต้องมาเกิด ให้มีร่างกายครบ ๓๒ จึงจะบรรลุ เป็นพระพุทธเจ้าสูงสุด

ที่เขาเล่าว่า ก่อนเป็นพระพุทธเจ้านั้น เป็นเทวดาในชั้นดุสิต ก็คือการพัก ไม่ใช่แดนที่จะปฏิบัติ หรือจะเป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็พักอยู่เฉยๆ ไม่มีอะไรกระดิก แต่ถึงเวลา ท่านก็เกิดมา มีอาการ ๓๒ ครบ มาเป็นพระพุทธเจ้า เป็นแดนบริสุทธิ์สะอาด ที่จะแสดงตัวได้ ถ้าตายแล้ว แสดงอะไรไม่ได้ ไม่มีที่ไหนแสดง ดังนั้นแดนที่เป็นชมพูทวีป

เมืองไทยเป็นชมพูทวีป เพราะมีคนเรียนรู้ ธรรมะพระพุทธเจ้า ได้มากกว่าที่ใดๆ มาอยู่ในเมืองไทยนานแล้ว แต่เสื่อมไป ตอนนี้พ่อครู จะมากู้คืน ที่ไหนมีรากฐาน ของพุทธรรมมาก ก็เป็นแดนชมพูทวีป เป็นการพูดด้วยสัจจะ ไม่ด้นเดา

บทที่ ๔ สิ้นชาติก็สิ้นชั่ว ชีวิตก็ทำชั่วไม่เป็น

จะอธิบายต่อ ในวันต่อไป.......

อ่านต่อ

เทศน์กัณฑ์พิเศษ มาฆะบูชา ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

ทำวัตรเช้า ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

ทำวัตรเช้า ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

ทำวัตรเช้า ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

ทำวัตรเช้า ๑ มีนาคม ๒๕๕๖

ทำวัตรเช้า ๒ มีนาคม ๒๕๕๖