งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ ๓๗ ที่ พุทธสถาน ศาลีอโศก
 ธรรมที่เป็นพุทธ ตอนที่ 6 |
560302_สรุปเนื้อหา ทำวัตรเช้างานพุทธาฯครั้งที่ ๓๗ โดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์

่คนเราทุกคน รู้จักการใช้ภาษา มากกว่าสัตว์อื่น คนใช้ละเอียดลออมาก สื่อรู้ชัดในนามธรรม และในรูปธรรม มีมากละเอียดลออจริงๆ แต่ในพระไตรฯ เล่ม ๑๖ ข้อ ๑๔ พระพุทธเจ้าตรัสถึง รูปและนามว่า รูปคือมหาภูตรูป และอุปาทายรูป ส่วนนาม คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ซึ่งต้องมีสภาวะต่างๆ รู้สภาวะต่างๆ ว่าต่างกันอย่างไร เป็นนามทั้งนั้น แต่เอามา ๕ ชื่อนี้ มาขาน เพื่อให้รู้ว่า ให้ใช้และปฏิบัติได้ แม้ในเวทนา ก็แจกไปอีกถึง ๑๐๘ อย่าง ต้องรู้ว่าการปฏิบัติ ในภาวะปัจจุบันเป็นอย่างไร และรู้มโนเจตนา ว่าเรามีวิภวตัณหา อ่านเวทนาที่เกิดจาก ทวาร ๕ กระทบมหาภูตรูป มีผัสสะ ก็เป็นกายในกาย เกิดเวทนาในเวทนา ต่อเนื่องไปถึง จิตในจิต ที่เป็นเจโตปริยญาณ ๑๖ อีก รู้ว่ามีกิเลสเกิดอย่างไร เราก็ทำการปหาน ๕ ได้อย่างเป็นลำดับ จนมั่นคงแข็งแรง จนสัมผัสกิเลสอย่างไร ก็ไม่กระดิกเลย ต้องพิสูจน์ให้ได้ ในทุกปัจจุบัน ในเวทนา ๓๖ ของปัจจุบัน ให้สมบูรณ์ มีผลครบ เป็น โลเก อัตถิตา คือมีผลแล้ว (มีความไม่มี) ก็ปฏิบัติมีผลสูงสุด คือกิเลสสูญ ในทุกปัจจุบัน ผู้นี้แหละ คือผู้ที่มี เป็นความประเสริฐ ที่มนุษย์ทุกผู้ ต้องรู้ความมี (มีชีวิต) แต่คุณก็ไม่มี (ไม่มีกิเลส) ใครจะกระทุ้งกระแทก ยั่วยวน จนถึงฆ่าเรา เราก็ไม่มีกิเลส มีนิโรธสนิท เที่ยงแท้ยั่งยืน ถาวร ไม่กลับกำเริบ

เพราะเราได้ตรวจสอบถึง อรูปฌาน ที่ก็ต้องลืมตา สติปัฏฐาน ในการปฏิบัติ ความมี เช่นพระอรหันต์ ท่านก็ยังมีชีวิต มาอธิบายธรรมะ แต่ท่านก็ไม่มีกิเลสเลย

เราต้องมีตัวรู้ของเรา มีญาณของเรา เป็นตัวกำหนดว่า อารมณ์ตอนนี้ เราอุเบกขาไหม มันกลางคือไม่มีกาม หรือพยาบาท ไม่ผลักไม่ดูด แต่มันรื่นเริงเบิกบาน ไปในทางสดชื่นไหม ไม่ได้ขุ่นมัว (พ่อครูว่า กำลังอ่านใจในปัจจุบัน ให้พวกเราฟัง อ่านเหมือน การรายงานข่าว พร้อมกันนั้น ก็ผัสสะกับคุณอยู่ เจตนาปรุงแต่ง นิรุติปฏิภาณ แสดงนัจจะ คีตะ วาทิตะ มีกรรมกิริยา คือให้คุณได้รู้ธรรมะ แต่สิ่งที่ไม่มีๆๆๆๆๆ คือกิเลส แต่อนุโลม มีการยินดีไหม  มียินดี อนุโมทนา ที่พวกคุณรู้เรื่อง แม้จะพูดไป คนก็ไม่ฟัง คุยกัน ไม่น่าควรยินดี แต่เราก็ไม่เกิดความผลัก แต่ก็จะไปชอบได้อย่างไร เพราะเขาขัดแย้ง กับสิ่งที่ควร แต่เราอุเบกขาอยู่ จิตจะอนุโลมไปสู่ความหม่นหมองไม่มี ในสติปัฏฐาน มีการทำจิตให้ร่าเริง อยู่ตลอดเวลา จิต ปัสสัมภยัง จิตตัง  จิต อภิปโมทยัง จิตตัง ทำให้จิตสมาทหัง (แข็งแรงตั้งมั่น) จิตอนุโลมได้ ไม่ได้ว่าง เพราะมีร่าเริง เบิกบาน เป็นอุเบกขา แต่จิตร่าเริง เบิกบานในกุศล ไม่ใช่เรื่องแรง เป็นผรณาปีติ แผ่ซ่านไป ไม่ใช่อุพเพงคาปีติ ได้ในฌาน ๓ ฌาน ๔ หรือมีฌาน ๒ ปีติปราโมทอยู่ แต่ก็รู้ว่า ผรณาปีติจะมากไป ยินดีมากไปหนักไป มันจะติดได้ มันจะจับตัว ต้องมีปัญญา อย่าหลงจับตัวกับมัน จิตจากเดิมเป็นยางธรรมชาติ ต่อมาเป็นกาวตราช้าง และต่อไป มันจะเป็นยางเหนียว จนกลายเป็นอีพ็อกซี่ไปเลย ถ้าไปปรุงแต่งด้วยอวิชชา จะเป็นยางเหนียว อีกกี่ชาติมันจะหยุด

เรามีวิญญาณเป็นแค่ อาลยวิญญาณหรือไม่ เป็นเครื่องอาศัย เพื่อทำงาน เมื่อเราไม่ทำงานก็อุเบกขา เราทำงานด้วยเมตตา ซึ่งต้องใช้สัญญา ในการกำหนดในปัจจุบัน ส่วนปัญญา เป็นองค์รวมใหญ่ในการรู้ สัญญาเป็นตัวปฏิบัติในปัจจุบัน และเป็นคลังเก็บข้อมูลใหญ่ มากมาย จนบางที ชักออกมาไม่ได้ ไม่รู้ว่าเก็บไว้ที่ไหน ส่วนปัญญา คือตัวกำหนดรู้ ปริญเญยยะ คือการกำหนดรู้ ก็คือปัญญา คือการรู้รอบ

เหล่านี้เป็นรายละเอียดของนามธรรม ที่มีมากมาย พระพุทธเจ้าบัญญัติ เป็นพยัญชนะมากมาย มีบางคน เขาไม่ถือว่า สิ่งเหล่านี้สำคัญ เขารู้ว่า ไม่มีอะไร เป็นอัตตาเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีตัวตน สัพเพ ธัมมา อนัตตา เขาคิดว่า อันนี้คือเบื้องต้น แล้วเขาจะรู้การปฏิบัติอย่างไร ถ้าเขาปฏิบัติให้ถูก ในเบื้องต้น จะรู้ว่าเรามีอัตตาอะไร และได้ปฏิบัติ ให้เห็นอนัตตา ในแต่ละระดับ กิเลส มีอาการ ลิงค นิมิต อุเทศ พวกเราก็เรียนรู้ แล้วไปอ่านกิเลสได้จริง แต่คนที่ฟังไม่รู้เรื่อง เขาว่าไม่มีกิเลสหรอก จึงไม่มีการปฏิบัติ เมื่อตายไปก็สูญ นี่ก็คือ อุจเฉททิฏฐิ ขาดสูญ

ก็เข้าใจความเห็น ของพวกขาดสูญ เขายึดทิฏฐุปาทาน อย่างนั้นจริง เขาว่าเขาก็สงสารพ่อครู เขามีเมตตา จึงส่ง sms มาชี้แจง เขาว่า

8705 ทีนี้จะขอย้อนกล่าวถึง เรื่องของอัตตา ที่พธร. เข้าใจผิด คิดว่าคือตัวกิเลส! เพราะแท้จริงโดยปรมัตถ์แล้ว หาอัตตามิได้พบ! แล้วจะเป็นตัวกิเลส หรือเป็นตัวทุกข์ ได้อย่างไรเล่า! และขอให้จำไว้ว่า สิ่งที่มนุษย์ต้องการ จะทำให้สำเร็จ โดยสิ่งนั้น ไม่มีวันที่จะให้สำเร็จได้! ก็สิ่งนั้นคืออะไรเล่า? ก็คือการพยายาม สร้างอัตตา ของตนขึ้นมา นั่นเอง! และนี่แหละคือ กองทุกข์ ที่ไม่มีวันจบสิ้น! นอกเสียจากว่า จะหยุดสร้าง อัตตาของตน) เมื่อไร เมื่อนั้นทุกข์ก็จะค่อยๆดับไปเอง! ฉะนั้นจึงเห็นชัดว่า การที่จะดับกองทุกข์ได้นั้น จึงมิใช่เป็นการไปฆ่าอัตตา หากแต่เป็นการ ไม่สร้างอัตตา (ของตน) ขึ้นมาเอง ต่างหากเล่า! เพราะว่าโดยปรมัตถ์ ทั้งรูปและนาม ต่างก็หาอัตตามิได้ ตั้งแต่แรกแล้ว! แล้วจะไปฆ่าอัตตา ที่ตรงไหนจ๊ะ? หรือว่ามหาโพธิรัก ยังจะเถียง! ซึ่งเรื่องของเรื่องก็คือ พธร.โง่บรม) ตั้งแต่แรกแล้ว ที่ไปหลงเข้าใจผิดคิดว่า อัตตามีมา ตั้งแต่แรกแล้ว จึงดันทะลึ่ง ไปตั้งอัตตาไว้ก่อน! และนี่แหละคือ อัตวาทุปาทานของพธร.!

เขาเอาความไม่มีอัตตาของเขา ไปเป็นอัตตานั่นเอง

ต่อไปจะต่อเรื่อง วิโมกข์ ข้อที่ ๔

๔.ผู้ล่วงพ้นรูปสัญญา  เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะ(ละ)ไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า... อากาศ หาที่สุดมิได้ (สัพพโส รูปสัญญานัง สมติกกมา ปฏิฆสัญญานัง อัตถังคมา นานัตตสัญญานัง อมนสิการา อนันโต อากาโสติ อากาสานัญจายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ) เราอ่านอาการของ ความรู้สึกสุข เมื่อมันถูกรู้ ก็จะกายเป็นรูป (อุปาทายรูป) เราต้องรู้ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ รวมเป็นมนสิการ คำว่า นานัตตสัญญา คือกำหนดรู้สัญญาต่างๆ

ในวิญญาณฐีติ ๗ ข้อ ๕

. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่๕

 ในปฏิฆะสัญญานั้น จะดับเลย คำว่า อมนสิการ ท่านแปลว่า ไม่ใส่ใจ ซึ่งไม่น่าจะถูก บาลีว่า อมนสิการ คือไม่ต้อง ทำใจในใจ เพราะเสร็จกิจแล้ว เป็นขั้นอนุโลม ปรุงแต่งเป็นอภิสังขารได้แล้ว

ถ้าเป็นฌานหลับตา คำว่า อากาสานัญจายตนะ ของพวกไม่สัมมาทิฏฐิ อารมณ์ว่างจากนิวรณ์นั้นมี จิตมีกุศลจิต มีกุศลสังกัปปะ นึกคิดอะไรได้ดี เพราะไม่มีกิเลสกวน จิตใส แต่ก่อนคิดไม่ออก แต่พออันนี้ คิดได้ดีได้ไว แล้วหลงว่านี่คือปัญญา (ที่จริงปัญญาคือ รู้ความจริง ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ความคิดที่ไปคิด ต่อเนื่องจากสัมผัส คิดผกผันอะไรก็ได้ คิดเป็นวิมาน ปรุงแต่งอะไรก็ได้ เหตุผลคิดมาหักล้าง กี่ตลบก็ได้ แต่ไม่ใช่ปัญญา ที่เห็นความจริง ตามความเป็นจริง โดยมีสัญญา เป็นตัวกำกับด้วย ปัญญาไม่ได้ขาดสัญญา ) แต่ปัจจุบัน ที่ไม่มีสัมผัส ก็ไม่ใช่ความจริงแล้ว นี่คือ ความติดยึด ที่คุณดึงเอาสัญญา ความจำมาระลึกรู้ ถ้าสัมผัสแล้วกำหนดรู้ ก็เป็นปัญญา  แต่พอไม่ได้สัมผัส วิญญาณทางตาก็ไม่มี ปัญญาทางตาก็ไม่มี แต่คุณมีสัญญา แล้วก็เผลอ ว่าเป็นของจริง ที่สัมผัสอยู่เมื่อกี้นี้ แล้วก็ไปยึดว่ามี เป็นตัวจริง เป็นสุข อย่างที่สัมผัสเมื่อกี้นี้ มันก็หลงว่า สัญญาเป็นอัตตา เป็นตัวตน ที่จริงเป็นความจำ ไม่ใช่ความจริง

พอผัสสะไม่มี แล้วไม่มีปัญญา มีแต่สัญญา แต่พอคุณ นั่งสมาธิ คุณไม่มีรูปจริงให้สัมผัส คุณก็เอาสัญญา มาขบคิด ผกผันทั้งนั้น ไม่ใช่ปัญญา มีแต่สัญญา แล้วก็ไปยึดว่าจริง ยึดสัญญาเป็นตน ที่เราเน้นหนักคือ ไม่ให้ยึดสุขยึดทุกข์ แม้อุเบกขา ก็ไม่ให้ยึดเป็นเรา เราไม่ยึด แต่เราอาศัยอุเบกขา มีเมตตาเป็นตัวทำงาน เป็นพระพรหม มีเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา (มีองค์คุณ ๕ คือ มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา) ปภัสสราคือ ความว่างความใส คืออากาสาฯ คุณนึกคิด ปรุงแต่งอยู่ ก็เป็นอภิสังขารอยู่ เป็นกัมมัญญา คือทำการงานด้วยอัญญา อัญญาจึงเป็นความฉลาด ที่เหนือกว่า สัญญาและปัญญา ปัญญามีเมื่อ มีการกระทบสัมผัส เมื่อไม่มีสัมผัส ปัญญาไม่มี เช่นกำลังไปรู้ ความว่างในอากาศ คุณไม่มีปัญญาทางตา หู ไม่มีการรู้ความจริง ตามความเป็นจริง ในทางตา ทางหู ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น คุณเหลือแต่ใจในใจ แล้วก็ดึงสัญญามาคิด เมื่อมันปรุง คุณก็รู้ว่า มันปรุงอะไร จะบอกว่า ความรู้นั้นครบไหม ก็ไม่ครบ มันรู้แต่ในใจ เท่านั้น มันรู้ความจริงตามจริง ของการปรุงแต่งสัญญา จึงเรียกว่า “อากาศของความว่าง หรือ อภัสสรา” ที่จริงมันมืด แต่คุณไปปั้นแสงสว่าง ก็เป็นแสงสว่าง ของแต่ละคน ในการหลับตา ที่จริงมีแต่มืด เป็นกิณหา แล้วก็หลง กิณหาความมืด ว่าเป็นนิโรธ เรียกว่าเป็นนิโรธ ในพวกมิจฉาทิฏฐิ ที่นั่งหลับตาให้มันดับ ก็ได้ความมืด และสายอาภัสสรา ก็ไปได้ความสว่าง กายของอาภัสสรา ก็เป็นความสว่าง แต่ความมืดมีได้อย่างเดียว แต่ของอุทกดาบส อาฬารดาบส ก็ยังแบ่งได้สองอย่าง อย่างอาฬารดาบส มีแต่การเกิดความมืด อย่างต่อเนื่อง ไม่มีอะไรคั่นเลย คือโอกกันติ แกก็มืดต่อเนื่องเลย แต่อุทกดาบส มีขณิกะคั่น จึงมีการแว่บรู้ แต่มีความยึดว่า ต้องดับ ก็ดับมันได้ ก็สำเร็จแบบสายมืดแล้ว ทั้งคู่ดับมืดดำ เป็นกายเดียวกัน

ส่วนสว่างมีหลายขนาด กายจึงต่างกัน แต่สัญญา ว่าเหมือนกัน แต่พวกมืด จะมีกายอย่างเดียวกัน คือมืด แต่การกำหนดต่างกัน คือรู้ว่ามีการแวบรู้ มาสว่างแวบ แล้วเขาก็รีบดับ ให้มันมืด ส่วนพวกอาภัสรานั้น เป็นพวกสว่างขาว เป็นการเห็นความสว่าง เป็นมโนมยอัตตา มันก็ไม่เท่ากันหรอก แต่พวกทำให้มืด จะมืดเหมือนกัน แต่พวกมืดจะต่างกันว่า มีแวบสว่าง กับพวกไม่มีแวบ ดับหมดต่อเนื่อง แสงเป็นโฟตอน หรือควันตัม ถ้ามันมีตัวก็เป็นโฟตอน คือมันมีการคั่น แต่ถ้ามันไม่มีอะไรคั่น มันต่อเนื่อง มันก็ไม่มีตัว ก็เป็นควันตัม ที่เขาเถียงกัน ในวิทยาศาตร์ว่า แสงเป็นโฟตอน หรือควันตัม (คนเถียงกัน ตายไป หลายคนแล้ว) คล้ายกับที่ 8705 เถียงมา โดยตรรกะว่า รูปนามมันก็ต่อเนื่อง ไม่มีการขาด ความเห็นของเขา เป็นลักษณะโฟตอน ซึ่งธาตุรู้นั้น จะต้องรู้ แต่เขาไปดับให้มันไม่รู้ ก็ได้ระยะหนึ่งเท่านั้น ถ้ายังมีอัตภาพ ยังมี ขันธุ์ ๕ อยู่ ถ้าไม่สลาย จนไปยึดมัน ก็เป็นรูป  แต่ถ้ารู้มันก็เป็นนาม จะอยู่ในฐานของ เวทนา สัญญา ก็ตาม แต่ผู้สลายตายลงจริงๆ มันจะกลายเป็น ผู้ไม่มีรู้ มันจะเป็นรูป สัญญา เวทนา สังขาร ไม่มีแล้วสลาย มันก็คือ เหลือแต่อุตุนิยาม จนกระทั่ง พัฒนาต่อมา เป็นธาตุพีชะ มีการปรุง แต่ไม่มีเวทนา ไม่มีเจตนา ไม่มีตัณหา ปรุงแล้วก็จบ ไม่มีมีเวรกรรมต่อไป มันเกิดแล้วตาย มันก็สูญ พืชนั้นสูญพันธุ์ง่าย แต่สัตว์นั้น สูญพันธุ์ยาก เพราะเป็นสังขาร ที่มีวิญญาณครอง

อากาสานัญจายตนะ ของชาวฤาษีสร้างภพ อาภัสสรา (ความว่าง สว่างใส รุ่งเรืองชัชวาล) ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด อนันโต อากาโสติ แต่ของพุทธ ว่างแบบไม่มีแสง มันว่าง อาการว่างจากทุกข์จากสุข ว่างจากอำนาจของ ความไม่สบาย (อบาย) ถ้าจะว่างกลางๆ ก็เฉยเด๋อ คนที่ทำได้ก็ได้ บางคนว่างไม่ได้ก็ไม่ได้ แต่ต้องอ่านความว่าง ในขณะลืมตา ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่นอะไรก็เฉย แต่ความเฉยคือ ไม่มีอารมณ์ ชอบหรือไม่ชอบ ไม่มีอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ ไม่ผลักไม่ดูด เป็นมัชฌิมา กลางมัชฌิมานั้น สูงกว่าอุเบกขา มีนิวทรอน มีอะไรเข้ามา ก็เป็นกลาง ไม่บวกไม่ลบ ไม่แข็งไม่อ่อน แต่รู้ความจริงตามสัมผัส ก็รู้ตามสัญญา มีทั้งรู้เป็นอรูป และเป็นรูป (อรูปที่สำเร็จด้วยสัญญา แต่รูปนั้นสำเร็จด้วยจิต คือ มโนมยอัตตา) 

พวกมโนมยอัตตา เวลาปั้นใส จะซาบซึ้งในการสร้าง แสงสว่างใสต่างกัน จะปั้นให้เป็น ใสแบบนี้ว่าโสดาฯ แบบนี้สกิทาฯ แต่ใสโสดาฯของสองคน ก็จะใส ไม่เหมือนกัน แบบสว่างจะมีกรรม พักกรรม (แต่ไม่หมดวิบาก) ส่วนพวกใสจิตจะทำงาน มีกรรม แต่ไม่เหมือนกันหรอก เพราะแม้แต่ปรมาณู สองตัว ที่เล็กที่สุด ก็ยังไม่เท่ากัน อย่างแก๊สแต่ละชนิด ก็ไม่เหมือนกัน จนเล็กแยกต่อไม่ได้ เขาก็ยังแยกต่อไปอีก เขาแยกนิวเคลียสได้ แต่เขายังแยกนิวเคลียร์ไม่ได้ ถ้าเขาแยกนิวเคลียสออก เป็นนาโนได้อีก จะมีพลังงาน สูงกว่านิวเคลียร์อีก นิวแปลว่าใหม่ เคลียร์แปลว่า สว่างสะอาด มันคือความสว่าง แสงไฟอุณหธาตุฝ่ายร้อน ส่วนพวกมืด ก็ตรงกันข้าม

สรุปแล้วคนนั่งหลับตา จะสร้างแสงใสต่างกัน กายต่างกัน แต่สัญญาว่าสว่างใน โชติช่วงชัชวาล ไป แต่พวกมืด จะเป็นพวกไม่มี พวกดับ สายดับจะไปมีนิพพานอยู่ที่มืด คนเข้าใจว่า นิโรธคือความดับ มันหยุด คนเข้าใจได้มากกว่าพวกสว่าง เพราะสายปัญญา มันปรุงฟุ้งไปได้มาก เขาเข้าใจว่าปัญญา ที่จริงเป็น มโนมยอัตตา เป็นการปั้นส่วนตน ส่วนอรูปนั้น เอาไปให้คนอื่น รู้ด้วยไม่ได้ คุณรู้แต่เอโก ปั้นแสงสว่างเป็นอรูป ก็เป็นส่วนตน ไม่มีใครรู้ได้ด้วย เป็นองค์ประชุมที่สร้างมาเอง แม้จะสร้างตัวตนซ้อน ในความไม่มีตัวตน ไปสร้างวิมานเป็นสวรรค์ คนก็ไปติดสภาพปรุงแต่ง เป็นแรดหรู แรดคือแวบๆ แป็บๆ คือสายสร้างวิมาน ไม่มีจบ แต่พวกสายมืด จะจบหยุด ได้ง่ายกว่า จะเฉื่อยช้า แกะแคะไม่ขึ้น

ในวิโมกข้อสาม ๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน  เช่น พวกเทพอาภัสราพรหม (ว่าง..ใส.. สว่าง.. แผ่กว้าง) แม้แต่ในระดับ ปรมาณู ก็ยังมีต่างกัน ในนิวเคลียสก็ต่างกัน มันต่างกันน้อยมาก เวลาทะเลาะกัน มันจึงทะเลาะกันแรงมาก ระเบิดเลย

มาสายมืดจะอยู่ในวิญญาณฐีติ ข้อ ๔
สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน  มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพ.. สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืดเป็นโชค) ในอุทกดาบส จะให้ดำมืด เป็นความต่อเนื่อง ในอาฬารดาบส กำหนด เนวสัญญานาสัญญายตนะไม่ได้ แต่ก็เข้าใจว่าต้องดับ จึงทำให้มืดต่อไปอีก ก็คือ มีกายอย่างเดียวกัน วิญญาณเป็นธาตุรู้ ต้องออกมารู้ ทางทวาร ๖ อย่างเก่า ถ้ายังไม่ปรินิพพาน 

การเสพจะได้เมื่อมีสัมผัส แต่เมื่อคุณไม่มีทวาร ๕ แล้ว เมื่อตายไป คุณมีกิเลส อันไหนอยากได้มากๆ ที่คุณเคยได้สัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่ได้เสพ หรือ คุณจะได้สัมผัสในฝัน เสพรสแต่ในฝัน ไม่ทำงานทำกรรมกิริยา เสพแต่อยู่ในภพ ถึงเวลากินก็กิน แต่ก็ไม่ใยดี ในรสนอกเท่าไหร่ ชอบอยู่กับภพมากกว่า นี่คือสายฤาษี ไปดับอย่างเดียว แต่ก็ไปเสพ  อีกพวกไปนึกคิด นึกฝันเพ้อบ้าบอ แต่เป็นไปไม่ได้ คือสายฟุ้ง ในพวกเรา จะเป็นสายฟุ้งมากกว่า

วิญญาณคือธาตุรู้ ที่ไม่มีที่สิ้นสุด คือการปรุงแต่ง ปรุงเป็นวิมานได้ ไม่สิ้นสุด แต่สายดับ สายกิณหา จะหยุดได้ พวกปรุงฟุ้งจะเสียเวลาไปมาก คุณปรุงเป็นรูป ก็ยังออกมาเป็น สภาพภายนอกตัวตนได้ แต่ถ้าปรุงอรูปนั้น ไปแบ่งใคร ไม่ได้เลย มันจะสำเร็จด้วยสัญญา ไม่มีสภาวะ มหาภูตรูป เกี่ยวข้องเลย ไม่เป็นปัญญา ไม่ให้คนอื่นเห็น หรือสัมผัสได้ จมกับอารมณ์ตัวคนเดียว ไม่มีอายตนะต่อข้างนอกเลย

ในสภาพวิญญาณคือธาตุรู้ พระพุทธเจ้าว่า วิญญาณจะเกิดได้ ให้ยืนยันในขณะ มีเหตุปัจจัย คือต้องมี ผัสสะ ๓ คือมีทวาร ตาหูจมูกลิ้นกายให้ แต่อยู่ข้างใน มีธรรมารมณ์ (ไม่มีผัสสะ มีแต่จิตที่ทรงไว้ แล้วปรุงเป็นอารมณ์เอง) อยู่ภพใน เรียกว่า มนะ หรือจิต แต่ออกมาข้างนอก รู้ภายนอก เรียกว่า วิญญาณ ซึ่งคนเลยเข้าใจเลยเถิด ว่าวิญญาณนั้น ล่องลอย มีตัวตน ที่จริงแล้ววิญญาณ ให้ศึกษาทางทวาร ๕ จะดับวิญญาณ ต้องตอนเป็น เมื่อมีการปรุงออกมาข้างนอก เรียกว่า กายสังขาร แต่จิตสังขารนั้น อยู่แต่ในภายใน เมื่อมีสัมผัสภายนอก แล้วก็มีวิญญาณเกิดในภายใน แยกเป็นจิต เจตสิกต่างๆ มีอาการสุขทุกข์อุเบกขา หรือแจก จิตเจตสิก ออกไปได้มากมาย จิตจึงมีมากดวง พวกอภิธรรม ประมวลได้มากมาย แต่ที่จริงละเอียดได้มากกว่านี้อีก แต่แค่นี้ก็มากแล้ว ให้ศึกษาแค่เวทนา ๑๐๘ ก็เหลือกินแล้ว

วิญญาณสะอาดกับวิญญาณอยู่ว่างๆ ในศาสนาพุทธ ให้ตรวจว่า สว่างว่างจาก สิ่งที่พาชั่วพาเลว มีแต่ความสว่างสะอาด มีแต่กุศล ใช้ทำงานที่ดี แต่พวกมโนมยอัตตา จะปรุงไปในจิตเราคนเดียว ถ้าไม่บอกคนอื่น ก็จะรู้คนเดียว แต่พอบอกไปก็ กิระดั่งได้ยินมา ก็ปันกันต่อไป สืบต่อกันไป บอกกันไป ก็ปรุงกันไป จนเป็นสำนักที่ปั้นสวรรค์ หลอกกันไป มากมาย แต่ไม่มีจริงเลยในโลก เช่นคนเขาปั้นเรื่อง สัตว์หิมพานต์ สารพัดสัตว์ จะมีในตำนานมากมาย แต่ไม่มีตัวตนหรอก เช่นเดียวกับที่ปั้นสัตว์นรก สัตว์สวรรค์ ก็จิตวิญญาณไม่มีรูปร่าง พระพุทธเจ้าว่า คุณจะเชื่อ นักเทวนิยม หรือเชื่อพระพุทธเจ้า แต่แบบเทวนิยมนั้น ปั้นยากมากนะ อย่างฤาษีลิงดำ ปั้นมากมาย เก่งเรื่องปั้น สามารถเหาะได้ เหาะเอาธรรมมาส ไปได้ด้วย แล้วก็ปั้นสวรรค์วิมานได้เยอะ มีอรูปที่สำเร็จได้ ด้วยสัญญาของตนเอง เป็นมโนมยอัตตา

ความสว่างในแบบพุทธ อรูปฌานของพุทธ คือรู้ความจริง ตามความเป็นจริง ตามเหตุปัจจัย ที่มาผัสสะ ถ้าไม่ประสาทหูตา จมูกลิ้นกายเสีย คุณก็จะสัมผัส แล้วรู้ร่วมกันได้หมด เพราะกำหนดสมมุติร่วมกันได้ ที่ว่าว่างคือ ว่างจากเหตุปัจจัย ที่เรียกว่าอกุศล แต่ไม่ได้ว่างจากสิ่งที่เจริญ ประโยชน์คุณค่า ความดีงาม วิญญาณจึงสะอาด เป็นพระพรหม เทวดาคือจิตสูง ที่สะอาดจากอกุศลทั้งหมด ปรุงแต่งเก่งด้วย มีสมรรถนะสามารถ มีจิตเมตตาจริง ปรารถนา เห็นคนพ้นทุกข์ มีประโยชน์ต่อคนอื่น อย่างมีเมตตา มีความว่าง สามารถอนุโลม อย่าไปตกผลึกเป็น อุพเพงคาปีติ ให้ไปถึงขั้น มันร้อนแรง ดีใจแรงเกิน จนต้องอุปาทานขนาดไว้ว่า ต้องถึงขนาดนี้ จึงจะสม อุปาทาน ต้องสวยขนาดนี้ แดงขนาดนี้ จึงจะพอ

สรุปแล้ว ความใสว่าง วิญญาณสะอาด ให้ตรวจวิญญาณสะอาด ไม่ได้อยู่เฉยๆ ไม่ใช่อยู่ในภพ ไม่ใช่รับลูกไม่ได้ แต่คุณล้างกรรม ที่บำเรอราคะ โทสะโมหะ แต่ถ้าคุณมี ก็มีอยู่ในของคุณเอง ก็เป็นอนาคามี ถ้าเป็นอรหันต์ก็ไม่สุขทุกข์ แต่ถ้าเป็นระดับอื่น ก็ต้องสุขทุกข์ ตามทวารภายนอก ในอนาคามียังมีทวาร ๕ ทำงานร่วมกับใจ แต่ก็อวจรอยู่ มีใจรู้พร้อมรับวิถี แต่มันวิสังขาร ไม่มีกิเลสร่วมปรุงแล้ว ก็ไม่เอาแล้วรสกาม มันแรงไป อนาคามีจะมีแค่นี้ สันโดษ แล้วรับผิดชอบตัวเอง แต่มันมีเชื้อ มันโตได้นะ ในกิเลสที่เหลือ ถ้าไม่ทำ ให้เที่ยงแท้ถาวร ในเวลาวัฏฏะที่ยาวนาน ล้านๆๆปี มันก็ไม่ออกฤทธิ์ แต่มันก็สลายได้ เพราะเมื่อร่างกายสลาย เป็นดินน้ำไฟลมแล้ว กว่ามันจะไปปรุงแต่ง จนเป็นตัวตนได้อีก ก็ต้องสร้างอารมณ์สมมุติใหม่อีก มันจำไม่ได้หรอก เพราะมันนานมาก

ในจิตที่สะอาด มีการลืมตากำหนดหมายรู้ อะไรควรไม่ควร กุศลอกุศล แล้วก็ร่วมปรุงไปกับสังคม อนุโลม สอนคนให้เจริญได้ แล้วทุกวันนี้ สังคมเขาถือมาก เช่น เรื่องนุ่งผ้า ถ้าไม่นุ่งไม่ได้ แต่สมัยดึกดำบรรพ์นั้น ไม่นุ่งผ้าเลย ก็ไม่ถือกัน แต่มันเดี๋ยวนี้ถือ กามก็ไม่เกิด ไม่ชอบไม่ชัง ไม่ผลักไม่ดูด มันก็ธรรมดา ยกตัวอย่าง ลองเดาตาม ม้ามันไม่ถือว่า กลิ่นตด เป็นของชอบหรือไม่ชอบ ม้าจะตด มันก็ไม่สุขไม่ทุกข์ เพราะมันไม่ถือ แต่คนตดมันก็ถือ ม้าจะไม่ถือสา กลิ่นตดไม่มีพิษนะ แต่แก๊สหลายอย่างมีพิษ ที่ปรุงกันมาให้ดมนะ

โปรดติดตามฉบับต่อไป... สิ่งที่พูดเป็นไปได้ ไม่ใช่วิมานที่สำเร็จด้วยสัญญาของตนเอง ...

จบ