รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๖ โดยพ่อครูและส.เดินดิน
| เรื่อง. รู้อัตตาก่อน จึงทำความพอเหมาะแก่อนัตตา

ส.เดินดินเปิดรายการที่ห้องกันเกรา สันติอโศก

ช่วงนี้พวกเราเพิ่งกลับจากงานพุทธาภิเษกฯ ที่ศาลีอโศก ซึ่งในงาน พ่อครูก็ได้อธิบาย ธรรมะอย่างลึกซึ้ง และมีผู้ที่คอยตรวจสอบว่า ความเห็นของเขาเป็นอย่างไร ต่างจากพ่อครูอย่างไร พ่อครูก็ได้นำมาอ่าน และได้วิเคราะห์วิจัยธรรม ได้อย่างลึกซึ้ง

ที่ผ่านมาได้พบญาติธรรมท่านหนึ่ง ที่เคยคิดว่า เป็นผู้ชายไม่เที่ยวผู้หญิง จะเป็นไปได้อย่างไร แต่พอมาปฏิบัติธรรม ก็มีการเปลี่ยนแปลง ลดละได้ ซึ่งคนทั่วไป ก็ไม่อาจนึกว่า ตัวตนนั้น ลดละได้ และพ่อครูยังได้ให้ธรรมะ ที่ลึกซึ้งไปอีกว่า แม้ตัวตน ก็มีหลายระดับ และแม้สิ่งที่เป็นอรูป ก็ลดละได้ ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่แค่นึกคิดเอา ซึ่งมีทั้งตัวตน ที่กำจัดได้ง่ายและยาก เป็นเรื่องโลกุตระ เป็นเรื่องลึกซึ้ง อตักกาวจรา แม้มีผู้ชี้ทางถูก เรายังเดินทางผิดได้ ยิ่งไม่มีผู้รู้คอยชี้ ก็ยิ่งหลงทาง เราก็ต้องมาฟัง สิ่งที่ให้สัมมาทิฏฐิ ให้เราเข้าใจได้ชัด ได้ถูกขึ้น ...

พ่อครู ก็ให้ฟังสิ่งที่ซ้ำที่วน คือการเช็คดูว่า จะเข้าใจยิ่งขึ้นไหม พ่อครูพยายาม อธิบายวนรอบ ให้พิศดารเพิ่มขึ้นอีก ส่วนผู้ที่ไม่เข้าใจ ก็ตัดรอบ เขาก็เข้าใจ ในสิ่งที่เขาเข้าใจ ลึกละเอียด ไปตามประสาเขา และก็ต้องให้พวกเราได้ฟัง สิ่งที่เขาพูด เขาเขียนด้วย จะได้เปรียบเทียบ เกิดปัญญาในการตัดสิน ว่าอันไหนถูก พ่อครูไม่นิยม ครอบงำทางความคิด ของคุณ 8705 ก็แสดงออกมาอีกว่า

0888705xxx ธรรมดาว่า คนเรามีอายตนะถึง6ช่อง เป็นที่ต่อให้เกิดรูปนามได้ แต่คนทั่ว เหมือนกับปลาที่เคยชินกับน้ำ! คือหมายถึงว่า คนเรามักจะพอใจ คือมีฉันทะ กับกามคุณ5 จึงถนัดที่จะใช้อายตนะเพียง5ช่อง คือตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย เป็นที่ให้เกิดรูปนาม ต่อเนื่อง เป็นอารมณ์โคจรจนเคยชิน ที่เรียกว่ากามาวจร! แต่ก็มีคนส่วนหนึ่ง รู้สึกเบื่อหน่าย ต่อกามคุณ5 จึงแยกตัวจากสังคมไปเข้าป่า เพื่อฝึกหัดให้ยินดี เฉพาะต่ออารมณ์ อันเกิดจากอายตนะ ที่ชื่อว่าใจ เพียงอย่างเดียว! โดยต้องใช้อุบายวิธี เพื่อให้สามารถยึดติด อยู่กับอารมณ์ อันเกิดจากใจให้ได้! เช่นใช้วิธีกสิณดิน, น้ำ,ลม,ไฟ เป็นต้น จนเกิดความชำนาญ ต่อการยึดอยู่กับ อารมณ์อันเดียวได้! และเมื่อทำจนเคยชิน ก็เลยกลายเป็นฉันทะ ต่อโคจรของอารมณ์ ที่พ้นจากกามาวจรได้ โดยเรียกอารมณ์อันเดียวนี้ว่า เป็นรูปาวจร! และเมื่อพัฒนาต่อไป จนอารมณ์ยิ่งละเอียดขึ้น จนสามารถพ้นไปจาก รูปาวจรที่หยาบกว่าได้ เกิดเป็นฉันทะ ยินดีเฉพาะต่ออารมณ์ ที่ละเอียดยิ่งกว่า ที่เรียกว่า อรูปาวจรได้! เช่น อาฬารดาบส และอุทกดาบส เป็นต้น แต่เมื่อสมณะโคดม ได้มาศึกษากับดาบส ทั้ง2นี้แล้ว ก็เห็นว่า แม้อารมณ์อันเดียว ที่ละเอียดยิ่งนี้ ก็ยังเอาเป็นที่พึ่งมิได้! เหตุเพราะว่า อารมณ์ ก็เป็นของไม่เที่ยงอยู่ดี! ฉะนั้นจึงยังคงต้อง ทุกข์ยากลำบากอยู่! ในการที่จะควบคุม ให้มันเที่ยง! เมื่อทรงเห็นว่า แม้อรูปฌานสูงสุดนี้ ก็ยังไม่อาจพ้นทุกข์ถาวรได้! จึงได้ทรงหลีกไป จากดาบสทั้ง2 และที่สุดก็ได้ทรงค้นพบ หนทางแห่งการตรัสรู้ ซึ่งนั่นก็คือ สติปัฏฐาน4 หรือโดยวิธีปฏิบัติก็คือ อานาปานสติปัฏฐาน(4) นั่นเอง! ซึ่งวิธีอานาปานสติปัฏฐานนี้ ถึงแม้จะยังคงนั่งหลับตา แต่ก็ไม่เคยมีในหมู่ฤาษี! เพราะฤาษีไม่เคยรู้จักวิธีนี้เลย อธิบายว่า ฤาษีย่อมปฏิบัติ เพื่อยึดติดกับอารมณ์อันเดียว เท่านั้น! ซึ่ง=ว่าเป็นฝึกแต่สมาธิล้วนๆ อยู่กับอารมณ์เดียว จึง=ไม่ได้ฝึกสติ เพื่อให้ระลึกรู้ทันกับ ความเป็นจริง ณ.ปัจจุบัน! ที่ทุกอารมณ์ จำต้องเปลี่ยนแปลงตลอด! และนี่ก็คือ ข้อแตกต่าง ระหว่างวิธีนั่งหลับตา (สมาธิล้วนๆ) ของฤาษีที่ไม่ใช่ วิธีการฝึกสติ ผิดกับวิธีนั่งหลับตา (ฝึกอานาปานสติปัฏฐาน) ของพุทธ! ที่เป็นการฝึกสติโดยเฉพาะ เพื่อระลึกรู้ให้ทัน กับทุกอารมณ์ ณ.ปัจจุบัน! หรือระลึกรู้ รูปนามแบบสดๆ ตามภาษาของพธร.ไง! และเมื่อฝึกสติจนแก่กล้า ทันกับทุกอารมณ์แล้ว สมาธิก็ย่อมจักค่อยๆรวมตัว ก่อเกิดขึ้นเอง! และเมื่อนั้น ภาวนามยปัญญา หรือวิปัสนาญาณ ตัวแรก ที่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จักบังเกิดขึ้น! ถึงตอนนี้ ก็ต้องใช้ความเพียรต่อไป เพื่อจะประคองสมาธิ(จิต)ไว้! (ไม่ให้ล้ม) อันเป็นฐานให้เกิด วิปัสนาญาณ ที่สูงยิ่งขึ้นได้ จนเมื่อเกิดโลกียปัญญา ถึงขั้นสูงสุดแล้ว (=สังขารูเปกขาญาณ) เมื่อนั้น ทั้งสติ สมาธิ ปัญญา ก็จะสมังคีรวมเป็นหนึ่งเดียว! คือหมายความว่า แต่ละตัว ต่างก็จะทำหน้าที่ของตัวเอง โดยเป็นการกระทำ ที่พร้อมกันไป และด้วยวิธีที่สติ สมาธิ ปัญญา สมังคีกันนี้ ถึงเปิดช่องให้ มรรคญาณ คือญาณเห็นอริยสัจจ์4 สามารถบังเกิดขึ้นได้! แต่ก็มียกเว้นบุคคลอยู่ 2 จำพวก คือ 1.ผู้ที่ปราถนาพุทธภูมิ! เพราะถ้าหากบารมียังไม่เต็ม พอที่จะให้ตรัสรู้เป็นพุทธเจ้าได้แล้ว มรรคญาณก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่จะได้โคตรภูญาณแทน เท่านั้น!  2.ผู้ที่มีกรรมหนักมาตัดรอน (เช่นอนันตริยกรรม) อย่างเช่นพระเจ้าอชาติศัตรู เป็นต้น ซึ่งถ้าไม่ได้ฆ่าพ่อของตนแล้ว คืนวันที่ไปกับหมอชีวก ฟังธรรมพุทธเจ้าครั้งแรกนั้น จักต้องได้เห็น อริยสัจจ์4 บรรลุเป็นโสดาบันแน่นอน! และถ้าเป็นกรณีอาบัตปาราชิก ของภิกษุแล้ว ก็จัดเป็นกรรมหนัก ที่ตัดรอน ไม่ให้มรรคญาณ เกิดขึ้นได้เหมือนกัน! จึงขอสรุปเลยว่า ที่เขมรกล่าวหาว่า พื้นที่โดยรอบ 4.6 ตร.กม. ก็เป็นของเขมร! เหมือนกับที่ประสาทเขาพระวิหารนั้น ฉันใด มหาโพธิรักก็ฉันนั้น! เพราะย่อมถนัด แต่กล่าวหาว่า ถ้าเป็นการนั่งหลับตาปฏิบัติแล้ว จักต้องเป็นสมาธิ หลับตาปี๋ (จมอยู่ในภวังค์) ของฤาษี เท่านั้น! ซึ่งข้อด่วนสรุปของพธร.นี้ ถ้าเกิดจากอคติของพธร. ที่มีต่อสงฆ์ละก็ บาปไม่หนักเท่าไรดอก! แต่คิดว่า น่าจะเกิดจาก ความโง่เขลาของพธร. เองมากกว่า! ซึ่งบาปย่อมจะหนักกว่ามาก! และหากพธร. ยังจะมีข้อเถียงอันใด ก็เชิญแถลงไขได้! แต่คิดว่า พธร.ควรจะทบทวน คำชี้แนะของเราให้มากๆ! ก็เพเสียที! เพราะมิฉะนั้น จะเข้าหลักเอาฝูงคน มาทำเป็นฝูงควาย! ซึ่งจะน่าที่จะได้เลิก กล่าวหาพล่อยๆ! พร้อมกับเลิกดูถูก วิธีนั่งปฏิบัติหลับตาเสียดายยิ่งนัก! และคิดว่า ตลอดชีวิต ที่ผ่านมา พธร.ก็คงไม่เคยได้พบกับ กัลยาณมิตรที่ดี เช่นเดียวกับเรา! ฉะนั้นจึงขอพธร. ศึกษาให้ดีๆว่า คำว่าโดยปรมัตถ์แล้ว ย่อมจะหาอัตตามิได้! หรือหาอัตตาไม่พบ! หรือหาใช่อัตตาไม่! หรือคือไม่ใช่อัตตา นั่นเอง (=อนัตตา!) ซึ่งทั้งหมด ดังที่กล่าวมานี้ เพราะพุทธองค์ประสงค์ จะแสดงสัจธรรมของอนัตตา! ก็เพื่อหวังให้บุคคล ได้หลุดพ้นจาก อุปาทานของอัตตา (=อัตวาทุปาทาน) ที่ครอบงำจิต ของบุคคลอยู่! แต่ถ้าหากว่า บุคคลยังฝังแน่นอยู่ด้วย อุปาทานของอัตตา แล้วละก็ แน่นอนว่า บุคคลนั้น แม้จะฟังยังไง ก็คงไม่อาจ เข้าใจอนัตตาได้อยู่ดี! แล้วเผลอๆ อาจไปตีความว่า อนัตตาก็คือ ไม่มีตัวตน หรอกมั๊ง! (=มิจฉาทิฐิชั้นที่1) แล้วก็เลยตีความต่อไปว่า อนัตตาต้องหมายถึง นามธรรมแง๋ๆ! (=มิจฉาทิฐิชั้นที่2) ก็เพราะเหตุที่ไม่มีตัวตน คือไม่มีรูปธรรม ให้เห็นได้ นั่นเอง! ซึ่งข้อสรุป ที่โง่เขลาเช่นนี้ ย่อมเป็นเพราะ ขาดสติปัญญา ที่จะพิจารณา ให้ลึกซึ้งได้นั่นเอง! จึงหลงผิดไปว่า รูปก็คือตัวตน! หรือตัวตนก็คือรูป! (=มิจฉาทิฐิชั้นที่3) และเหตุนี้ จึงหลงผิดต่อไปอีกว่า รูปหมายถึงเฉพาะรูปภาพ ที่ต้องเห็นได้ด้วยตา เท่านั้น! (=มิจฉาทิฐิชั้นที่4) และสุดท้าย พธร. ก็เลยสรุปเหมาเอาว่า ถ้าปฏิบัตนั่งหลับตาแล้ว ย่อมจะไม่เห็นรูปสดๆ! ฉะนั้น จึงไม่ใช่ของพุทธแท้ แต่เป็นของฤาษี! (=มิจฉาทิฐิชั้นที่5) ซึ่งเบื้องต้นของพธร. ย่อมเกิดจากมิจฉาทิฐิชั้นที่1 แล้วก็เลยเกิดสืบต่อเนื่องมาจนถึง เกิดมิจฉาทิฐิชั้นที่5 (สุดท้าย)! ฉะนั้นจึงเห็นชัดว่า ถ้าจะแก้มิจฉาทิฐิให้พธร.แล้ว จะต้องแก้ที่ฐานพธร.ก่อน คือชั้นที่1 เพียงชั้นเดียว ก็จะ=ว่า แก้ได้ครบ5ชั้นแล้ว! แต่จนแล้วจนรอด ป่านนี้แล้ว ส่งSMSไปเป็นกระบุงโกย ก็ยังไม่อาจทำให้มหาโพธิรัก เข้าใจอนัตตาได้อยู่ดี หนำซ้ำ ยังกลับมากล่าวหาเราอีก หาว่าเราเป็นพวกอุจเฉททิฐิ! ทั้งนี้ก็เพราะว่า ภูมิปัญญาของพธร. จัดว่า ยังต่ำชั้น(LowClass)อยู่มาก นั่นเอง แต่ถึงยังไง ก็จะให้ปริศนาธรรม แก่พธร.ว่า สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน กำลังดิ้นรน เพื่อสร้างความเป็นตัวตน ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง! ซึ่งอาการดิ้นรนนี่แหละ ที่เรียกว่าทุกข์! (เพราะอุปาทาน) และคำว่า สิ่ง! ในที่นี้ก็หมายถึง รูป-นาม! และต้องขอบอกว่า ความพยายามที่จะสร้าง ความเป็นตัวตน ให้เกิดขึ้น กับตัวเองนั้น ถึงจะพยายามมากสักเท่าไร ก็ไม่มีวันสำเร็จได้เลย! สาเหตุก็เป็นเพราะว่า ไม่มีสิ่งใด ที่จะสามารถขัดแย้งกับสัจธรรม คืออนัตตานั้นได้! แต่วิสัยของปุถุชน(เช่นพธร.) ย่อมฝังลึกอยู่ด้วยอุปาทานของอัตตา! ฉะนั้นจึงต้องดิ้นรน (อยู่เสมอ) เพื่อจะสร้างความเป็นตัวตน ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง! และเหตุนี้ ปุถุชน(+พธร.) จึงยังต้องทุกข์ (คือดิ้นรนโพธิรักจะเข้าใจ แบบเถรวาทได้ ต้องกลับไป ตั้งต้นใหม่ เพราะยึดถือผิด มาแต่แรกอยู่) ก็เพราะอุปาทาน ของอัตตานั้นเอง! ฉะนั้น จึงมีคำกล่าวว่า ที่อรหันต์เป็นผู้หลุดพ้นนั้น ก็เพราะว่า ปราศจากอุปาทาน (ของอัตตา)แล้ว นั่นเอง กล่าวคือ เป็นเพราะอรหันต์ หมดความทุกข์ความดิ้นรน ที่จะสร้างอัตตา ให้แก่ตนแล้ว นั่นเอง จึงขอตบท้ายว่า ถ้าพธร. ยังแยกไม่ออกระหว่าง 3 คำคืออัตตา, นิรัตตา, อนัตตาแล้ว ย่อมแสดงว่า พธร. ยังถูกหัวตะปู ตอกฝาโลงอยู่! คือหลงติดอยู่กับอัตวาทุปาทาน โดยไม่รู้ตัว นั่นเอง! สรุปแล้ว พธร.สุดยอดปาฏิหารย์! เพราะทั้งดื้อ ทั้งโง่ ทั้งบ้า (3อิน1) เลยทีเดียว! เอวังฯ สิ่งที่เกิดจากสิ่งที่ไม่ดี จะเป็นสิ่งที่ดีได้ อย่างไรกัน! สิ่งที่เกิดจากโลกียะ จะเป็นโลกุตระ ได้อย่างไรกัน! ฉะนั้นเมื่อ อปุญญาภิสังขาร เกิดจากอวิชชาแล้ว อปุญญาภิสังขารนั้น จะเป็นโลกุตระ (ตามที่พธร.ว่า) ได้อย่างไรกัน! สงสัยว่า มหาโพธิรัก คงจะสุดยอดปาฏิหารย์3 จริงๆ! เพราะว่ามารวมกัน! ทั้งดื้อรั้น! ทั้งบ้าระห่ำ! ทั้งโง่เง่า! 3อย่างสมังคีกัน จำเพฦเป็น สุดยอดของ อโศกะปาติกะพอดี! เจริญพร สาธุฯ OK โชคดี เซ็งลี้ฮ้อ ถามหน่อยว่า ที่ได้มาเกิด ในโลกมนุษย์ มีรูปร่างเป็นมนุษย์ได้ เพราะอะไรปั้นขึ้นมา? มิใช่เพราะกรรมดอกหรือ! ที่ปั้นความเป็นมนุษย์ขึ้นมา! ฉันใดก็ฉันนั้น ผู้มีบุญ ที่ได้ไปบังเกิดเป็นเทวดาจริงๆ, นางฟ้าจริงๆ มีวิมานทองจริงๆ เป็นที่อยู่ในภพ สวรรค์จริงๆได้ ก็เป็นเพราะว่า กรรมดีของเขาเองแหละ ที่ปั้นขึ้นมา! ฉะนั้น จึงไม่เห็นจะแปลกแต่อย่างใด ใช่ไหมจ๊ะ มหาโพธิรัก? ก็เหมือนกับที่กรรมของ พธร. ปั้นให้พธร. ยุ่งกับการเมืองไง!

พ่อครูก็ยังยืนยันว่า คนเราเกิดมา ต้องเข้าใจว่า ตนเองมีอัตตาเป็นพื้นฐาน ไม่ใช่ว่า ไปเข้าใจว่า ตนไม่มีอัตตา ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เราต้องมีการเข้าถึง อัตตาของตน คืออัตตสัมปทา เป็นแสงเงินแสงทอง จึงจะเดินมรรคได้

ในสุริยเปยยาลมี [๑๒๙] มิตรดี เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค . . ดูรายละเอียดมิตรดี -> .

[๑๓๑]  สีลสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

ศีล ๕
ข้อ ๑ มีองค์ ๕ คือ สัตว์มีชีวิต รู้ว่ามีชีวิต เจตนาฆ่า ลงมือฆ่า สัตว์ตายจริง ก็คือสำเร็จองค์ ๕ ของปาณาติบาต
ข้อ ๒ ก็มีองค์ ๕ คือบ่งว่า ศีลต้องปฏิบัติให้เข้าถึงอย่างสมบูรณ์ ตามมรรคองค์ ๘

ต้องมีฉันทะด้วย [๑๓๒]  ฉันทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .

[๑๓๓] อัตตสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค ต้องรู้ตัวตนที่เป็นเหตุ คือตัณหา เป็นเหตุแท้ เป็นตัวตนที่เป็นเหตุแท้ แล้วละล้างให้มันจางคลาย จนมันนิโรธ แล้วก็รักษาผล อย่างมีขั้นตอน พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ ให้ปฏิบัติไม่ใช่บัญญัติไว้เฉยๆ ถ้าแค่รู้ว่า ไม่ใช่ตัวตนก็บรรลุแล้ว พระพุทธเจ้าจะให้ปฏิบัติอย่างไร

ในงานพุทธาภิเษก พ่อครูได้อธิบายถึงอรูปฌาน ที่พยายามแยกแยะให้รู้ว่า องค์รวม คือกาโย ในสภาพภายนอกมหาภูตรูป ก็สัมผัสรู้ แล้วสิ่งที่โยงเข้ามาเป็นกายใน เป็นอุปาทายรูป อย่างต่อเนื่อง สันตติ เป็นรูปภายใน เป็นรูปาวจร ต้องล้างด้วยรูปฌาน จนหมดจบรูปฌาน ในวิโมกข์ ๘ ในสามข้อแรก ล้างถึงอรูปอัตตา

อรูปอัตตา.....ในพยัญชนะวิโมกข์ ๘ รูปี รูปานิ ปัสสติ กาเยนะ ผุสิตวา วิหรติ คือรู้กาย ขณะผัสสะอยู่ อย่างเห็นความจริง ตามความเป็นจริง ในปัจจุบันนั่นเทียว จนกระทั่ง ลดละกิเลส ได้สิ้นเกลี้ยง รู้ในนามธรรมด้วย เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ซึ่งจะรู้การสังขาร เป็นปุญญาภิสังขาร จนเป็นอปุญญาภิสังขาร แล้วทำได้ อย่างมั่นคงไม่หวั่นไหว เป็นอเนญชาภิสังขาร ซึ่งจะมีญาณ สังขารุเปกขาญาณเกิด เพราะได้ปฏิบัติ ให้เกิดผลอย่างมั่นคง เที่ยงแท้ถาวร

สุภันเตวะ อธิมุตตโต โหติ คือโน้มใจในสิ่งเจริญ ในในวิมุติ ให้ได้อุเบกขา เป็นฐานนิพพาน ในฌานที่ ๔ แต่ท่านไม่ให้หยุดอยู่ ให้ทำให้เกิดผลอย่าง นิจจัง ทุวัง สัสสตัง อวิปริณาธัมมัง อสังหิรัง อสังกุปปัง

เมื่อตรวจแล้วว่าไม่มีอะไรในอรูป คือตรวจอรูปอัตตา เมื่อถึงขั้นนี้ ต้องตรวจสิ่งที่เหลือ เป็นธุลีละออง เรียกลักษณะว่าเป็นอากาศ และวิญญาณ และตรวจไปอีกว่า แม้นิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง ก็ไม่ให้มี อากิญจัญญาฯ และต้องให้รู้ชัด ไม่ใช่รู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่ จนพ้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ จึงจะพ้นอวิชชาสังโยชน์ พ้นอวิชชาสวะอย่างแท้จริง

แม้ในอรูปฌาน ก็ไม่ได้ปฏิบัติอย่างหลับตา แต่ลืมตาเปิดทวาร อย่างในวิโมกข์ ๘ ข้อ ๔

๔. ผู้ล่วงพ้นรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะ(ละ)ไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า... อากาศหาที่สุดมิได้ (สัพพโส รูปสัญญานัง สมติกกมะ ปฏิฆสัญญานัง อัตถังคมา นานัตตสัญญานัง อมนสิการา อนันโต อากาโสติ อากาสานัญจายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ) คือพ้นทั้งรูปธรรม นามธรรมที่ละเอียด ล่วงพ้นมาแล้ว ดับปฏิฆะหมดแล้ว ในสัญญากำหนดต่างๆ ก็ไม่ต้องทำทั้งนั้น เข้าถึงขั้นอากาศอันหาที่สุดไม่ได้ ตรวจความว่าง ว่าจริงหรือไม่ และวิญญาณคือธาตุรู้ เรารู้ตนว่าอาศัยอากาศว่าว่าง และตรวจเศษเหลืออีกว่า ยังเหลืออยู่หรือไม่ แม้จะอยู่กับโลกจะมีอะไรให้เราเกิด เศษธุลีละอองเกิดหรือไม่ จะต้องรู้ให้จริง จะไม่รู้ไม่ได้ หรือรู้บ้าง ไม่รู้บ้างไม่ได้ ถึงขั้นสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นสภาพสูงสุด เป็นนิโรธ อย่างสัญญากำหนดรู้ เคล้าเคลียอารมณ์ อย่างมีผลทั้งในอดีต สั่งสมมาอย่างมากมาย จนสัมผัสในปัจจุบันก็ไม่มี พยากรณ์ได้ว่า อนาคตก็ไม่มี

เพราะเราดับโลกสมุทัยได้แล้ว เรามีแต่โลกนิโรธ การปฏิเสธว่าอะไรก็ไม่มีนั้น ก็เรียนไม่ได้ เพราะไม่มีสภาวะสัจจะที่เป็นจริงปรากฏ (ปาตุภาวะ) แม้สุญญตา อนัตตาก็ปรากฏอยู่ อย่างเอโก ตนรู้ตนมีอยู่

ในกามภพ มันมีทั้ง กามาวจรภูมิ คือชั้นของความรู้ที่มีกาม

แม้กามรสก็สัมผัส แต่ของเราไม่มีการเสพ แต่เราก็รู้ว่ามี รสตามนั้น เช่น รสเผ็ดก็รู้ แต่เราไม่มีรสว่าชอบ ไม่ชอบ ที่เรียกว่า อัสสาทะ คือรสลวง เรามีแต่รสอนัตตา แต่ก่อนเรามี แต่ตอนนี้เราไม่มี เราต้องอ่านด้วยตาทิพย์หูทิพย์ รสเผ็ด เราอ่านออก รสก็เป็นรูป ทุกคนแตะลิ้น ก็รสพริกเผ็ดเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ คนชอบก็มีรสอย่างหนึ่ง คนไม่ชอบ ก็รสอีกอย่างหนึ่ง คนรู้ทั้งชอบและไม่ชอบ แต่ไม่มีความชอบและไม่ชอบ คนนี้คือคนรู้ทั้งสองฝ่าย เป็นผู้จบ

  • กามานุสารีย์ คือ ผู้มีเยื่อใยใฝ่กามอยู่
  • กามาธิการณะ คือยังมีเหตุของกามให้เกิดเรื่องอยู่ ยังไม่ตัด ก็ยังมีนิทานอยู่อีกต่อไป
  • กามาวจรกิริยา คือกิริยาของกาม เป็นกิริยาของนามธรรม (ทางกายก็รู้ง่าย)
  • กามาวัฏฏะ คือการวนในกาม ไม่ว่าจะวนเล็กหรือใหญ่ เราต้องถอดถอน ให้ความวนน้อยลงเล็กลง
  • กามาวจรวิบาก
  • กามาสวะ คือความยึดที่เหลือเล็กน้อย
  • กามาภิภู คือผู้ชนะกาม คือผู้ครอบงำกามได้เบ็ดเสร็จ สภาวะเหล่านี้คือ การล้างตัวตนทั้งสิ้น แต่เขาเลี่ยงเอาภาษามายึดไว้ ตัวตนก็ไม่มีวันจะได้ศึกษาอัตตา ไม่มีอัตตทิฏฐิ
  • ภาษานี้คือภาษาที่ใช้เรียกสภาวะทั้งนั้น

มาถึงขั้นรูป ก็มีสีสันตัวตน ก็จะบอกว่า ของสดของอนาคามีก็ได้ สดเมื่อตากระทบรูป หูกระทบเสียงอยู่ในปัจจุบัน คุณก็มีอาการของรูปอยู่ในใจ แต่รสหยาบข้างนอกไม่มี ควบคุมได้ง่าย หรือจะไปปั้นเอง เป็นมโนมยอัตตา คืออัตตาที่สำเร็จด้วยจิต แต่อัตตา ที่สำเร็จด้วยสัญญาก็มี คือระลึกเอาความจำมาปรุง จะเป็นรูปก็ได้ หรือปรุงไม่ขึ้น เป็นแค่อรูป คุณก็ต้องรู้ด้วยตนเป็นส่วนตน แต่ก็ต้องมีการกระทบสัมผัส ครบทุกทวาร

ต้องมีกาเยนะ ผุสิตวา วิหรติ แม้จะเป็นทักขิเนยบุคคล ในระดับกายสักขี

จริตศรัทธากับจริตปัญญา

  • สายศรัทธาเริ่มด้วยศรัทธานุสารี เป็นผู้ปฏิบัติเข้าสู่โสดาปัตติมรรค ส่วนสายปัญญา ก็เป็นปัญญานุสารี จะอบรมอริยมรรค ทำโสดาปัตติผล ไปตามลำดับ
  • สายปัญญา เริ่มที่ธัมมานุสารี ก็ทำให้แจ้งด้วยปัญญา อบรมด้วยอริยมรรค มีปัญญาเป็นประธาน
  • สายศรัทธานุสารี ถ้าได้ผลประมาณหนึ่งเรียกว่า สัทธาวิมุติ ส่วนสายธัมมานุสารี พอได้โสดาปัตติผลขึ้นไปเรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ

ในกายสักขี นั้นคือขั้นปลายของพวกสัทธานุสารี คืออาสวะบางอย่างหมดไปได้ ส่วนสายธัมมานุสารี จะได้ขั้นปลาย เป็นปัญญาวิมุติ คือได้อรหันต์เลย คือสำเร็จอิริยาบทอยู่ ก็เห็นอาสวะขาดสูญอยู่ ตลอดเวลา อย่างเป็นผู้มี (มรรคผล) อย่างนี้เรียกว่า ปัญญวิมุติ เป็นผู้สิ้นอาสวะ เพราะเห็นด้วยปัญญา ไม่ต้องสัมผัสด้วยวิโมกข์ เพราะเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ตั้งแต่ต้น

ส่วนสายสัทธานั้น ไม่มีสัมมาทิฏฐิแต่ต้น พระพุทธเจ้าจึงไม่รับรองผล ก็ได้แค่กายสักขี แต่ไม่มีกาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ อย่างพวกปฏิบัติ ในสายปัญญา

วิญญาณฐีติ สัตตาวาส ๙

  • จะมีความอย่างเดียวกันหรือต่างกันก็คือ มิจฉากับสัมมา ก็ได้ผลต่างกันไป
  • สัตตาวาสคือยังเป็นสัตวที่ถูกผูกไว้อยู่ ในอสัญญีสัตว์ กับ เนวสัญญานาสัญญานายตนสัตว์ คือพวกดับมืด
  • ๑.    สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะบางเหล่า
  • ๒.   สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน เป็นต้น .
  • ๓.   สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสราพรหม  (ว่าง..ใส.. สว่าง.. แผ่กว้าง) .
  • ๔.   สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพ.. สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืดเป็นโชค)
  • ความมืดของสายปัญญาก็มีได้ เมื่อหลับตาก็มืดแล้ว และจะไม่มีมโนมยอัตตา ที่เป็นทั้งวาสนาก็ได้ เป็นสิ่งที่ปั้นมาก็ได้ ซึ่งไม่ใช่ของจริง สายปัญญาจะไม่ยึด แต่พวกสายศรัทธา จะยึดว่ามีสวรรค์ นางฟ้าเทวดา เป็นตัวตนจริง สายปัญญาจะหลับแต่แล้วมืด
  • แต่ในพวกหลับตา จะนึกว่า ความมืดคือนิโรธ แต่พุทธรู้ว่า ความมืดก็คือความมืด รู้นิโรธคือนิโรธ
  • อากาสานัญจายตนะ กับ วิญญานัญจายตนะ คือฝ่ายสว่าง
  • อากิญจัญญายตนะ กับเนวสัญญายตนะ คือฝ่ายมืด
  • พวกสว่างบางพวก จะเนรมิตวิมานสวรรค์สว่าง ส่วนพวกมืด เอาความดับมืด เป็นนิโรธ ก็จะมีพระพรหม เป็นขั้นสูงกว่าพวกสว่าง เป็นสิ่งที่เขายึดความมืดว่าดี คือ สุภกิณหะพรหม
  • นิโรธในพวกสายดับนั้น หลงมืดว่าเป็นนิโรธ และสายสว่างหลงว่า ความสว่าง เป็นนิโรธ พวกดับจะดับความสว่าง แล้วยึดความมืดว่าคือนิโรธ
  • ในสายสว่างเมื่อได้สว่างมากๆ ก็เรียกว่า อาภัสราพรหม

มาอธิบายในนัยของพุทธ

  • ต้องปฏิบัติมรรค ๗ องค์ ที่มีสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน อย่างไร
  • เมื่อมีสัมมาทิฏฐิพอเหมาะ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้......... สัมมาสมาธิพอเหมาะ สัมมาญาณจึงพอเหมาะได้ และสัมมาวิมุติ จึงพอเหมาะได้ 
  • เมื่อมีสัมมาในมรรคแต่ละองค์ ก็จะสลัดมิจฉามรรค ในแต่ละองค์ไปได้ ย่อมมีสัมมา ในมรรคแต่ละองค์ เป็นความสมบูรณ์ มีสัมมาสมาธิ เพราะปฏิบัติมรรค ๗ องค์ ซึ่งมีสัมมาทิฏฐิ เป็นประธานในการปฏิบัติ ต่อมา จึงมีสัมมาสังกัปปะ ที่พอเหมาะได้ (ปโหติ) และต่อมา  มรรคแต่ละองค์ ก็จะสัมมา มีสติและวายามะ เป็นสิ่งห้อมล้อม เป็นผู้ช่วย ให้หยั่งลงถึงเหตุของกุศล และกำจัดเหตุของกุศล ผู้ปฏิบัติจะมีไตรสิกขา เจริญได้เป็นปัญญา มีผลสำเร็จ เป็นภาวนา สามารถหยั่งรู้ในสังกัปปะ ๗ ซึ่งเป็นภาคปฏิบัติ เป็นมนสิการตัวจริง

(๗ สภาวะของสังกัปปะ คือมนสิการตัวจริง) ตั้งแต่ ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา วจีสังขารา  ผู้ปฏิบัติจะรู้วจีสังขาร ได้ด้วยญาณ ด้วยวิชชา ผู้รู้ขั้นนี้ จะอ่านวิญญาณ เวทนา ตัณหา อุปาทาน อ่านนิโรธออก เช่น การสัมผัสทางตา ก็จะรู้วิญญาณทางตา

  • ซึ่งผู้ศึกษาศาสนาพุทธ เมื่อมีสัมมาทิฏฐิจริง อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารนั้น แต่ผู้ที่ปฏิบัติได้ผล จะสามารถจัดการสังขาร ให้เป็นบุญได้ (ปุญญาภิสังขาร) คือปรุงแต่งให้ออกจากกิเลส ถึงขั้นอภิสังขารได้ คือปรุงแต่งให้เจริญยิ่งๆขึ้นได้ เพราะอธิปัญญาสิกขา จะอ่านรู้ แยกจับได้ว่า มีกามพยาบาท หรือวิหิงสา หรือไม่ แล้วก็กำจัดกิเลสได้ คือทำลงถึงที่เกิดได้ เป็นการทำใจในใจ อย่างแยบคาย และ กำจัดอกุศลเจตสิก ด้วยปหาน ๕ ให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ
  • “อวิชชา” ก็เจริญๆขึ้นเป็น “วิชชา” (ความรู้แบบพุทธ) ไปตามลำดับคือ รู้จักรู้แจ้งรู้จริง “สังขาร” ได้ถึงขั้นวจีสังขาร ที่ยังอยู่ภายในจิต ยังไม่ได้ออกมาเป็น “วจีกรรม” ข้างนอก โดยเฉพาะสามารถรู้แจ้งเห็นจริง ในขณะที่กำลังมี โยนิโสมนสิการ (การทำใจในใจอย่างถ่องแท้) อยู่ใน “สัมมาสังกัปปะ ๗” ตามหลักปฏิบัติการทำ “สมาธิ” ที่สัมมาของพุทธ
  • เพราะอธิปัญญาสิกขา จะเริ่มพยายาม (สัมมาวายามะ) พัฒนารู้จักรู้แจ้งรู้จริง จิตที่เริ่ม “ดำริ” อันคือ ”ตักกะ” แล้วมี “ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์” พยายามแยกแยะ จนจับตัว “มิจฉาสังกัปปะ” ซึ่งได้แก่ กามหรือพยาบาท เป็นต้น จับได้แล้วก็ “กำจัด” อกุศลเจตสิกด้วย “ปหาน ๕” ให้บริบูรณ์ตามลำดับ
  • นั่นคือผู้ปฏิบัติ พยายามมีการทำใจในใจให้แยบคาย (โยนิโสมนสิการ) หรือ ให้ลงไปถึงที่เกิด (โยนิโส)
  • แล้วอะไรเกิดเล่า “เกิด” ใน “ที่เกิด” นั้น ก็คือ กิเลสนั่นเอง ที่เป็นตัวการ ที่ต้องกำจัด เพราะเป็นเหตุแห่งทุกข์ ให้ได้ด้วยปหาน ๕ เมื่อได้ผลนี่ก็คือ ปโหติ ที่แปลว่า พอเหมาะได้ ที่ตามศัพท์ แปลว่า ดำเนินไป เกิดขึ้นหรือเพียงพอ หรือสามารถ “ด้วย”
  • ดังนั้น ท่านสรุปไว้ว่า เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้ (ปโหติ) และดำเนินไป อย่างพอเหมาะ พัฒนาไปตามลำดับ และนัยในมรรคข้ออื่น ก็เช่นกัน ....................
  • ด้วยนัยะนี้เอง เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
  • ข้ออื่นๆของ มรรค เจริญขึ้นเป็นผล ก็นัยเยี่ยงนี้
  • เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงเพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ จึงพอเหมาะได้ ฯลฯ
  • จนเมื่อถึงสัมมาญาณ สัมมาวิมุติ จึงพอเหมาะได้ ที่สุดก็คือ เมื่อกำจัด อกุศลเจตสิกได้สิ้น ก็ไม่มีเหตุ “สมุทัย” เข้าไปร่วมปรุงแต่ง ในจิตเจตสิกของเรา เพราะเหตุ คืออกุศลจิตไม่มีแล้ว ในการปรุงแต่ง (สังขาร) นี้ วจีสังขารของเรา ก็เป็นอภิสังขาร หรือวิสังขาร หากจะออกมาเป็นวจีกรรม ก็เป็น “การพูดจา” อันไม่มีเหตุ ให้เกิดวจีกรรม เป็นมิจฉาวาจา แต่จะเป็นสัมมาวาจา เพราะใจเป็นประธาน (มโนบุพพังฯ)
  • นั่นคือ สัมมาวาจา จึงจะพอเหมาะได้ ซึ่งผู้ที่ไม่รู้การปฏิบัติ ที่สัมมาปฏิบัติ ดังที่สาธยายมานี้ ก็จะทำได้แค่ การควรคุมวาจา เท่านั้น ไม่ใช่ การทำใจในใจ (มนสิการ)
  • ดังนั้น ผู้ที่อธิบายกันว่า ศีลสามารถควบคุมได้แค่ กายกับวาจาเท่านั้น ส่วนใจ ให้ไปนั่งหลับตา ทำสมาธิเอานั้น จึงเป็นการปฏิบัติ ที่แยกคนละอย่าง คนละส่วน ไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน
  • ก็สามารถควบคุมวาจา ให้เป็นวาจาสุจริต ได้ สามัญคนทั่วไป ก็มีมารยาทสังคม ทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว ตามแต่จะทำได้มากได้น้อย เท่าใดๆของตนๆ แต่ละบุคคล หรือ แม้จะฝึกฝนกัน อย่างตั้งใจทำสมาธิแบบหลับตา สะกดจิตกันนั้น ใจอาจจะมีพลัง ออกมาบังคับ ควบคุมกายวาจาได้ ดังที่คนทั้งหลายก็ทำได้ และถ้ายิ่ง นั่งสมาธิเก่ง ก็ทำได้เก่งยิ่งขึ้นเท่าใด ก็ได้เท่านั้นๆ แต่จะไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง แยบคาย ถ่องแท้ ลงไปถึงที่เกิด (โยนิโส) ในความเป็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน ที่มีความละเอียดของ จิตเจตสิก รูป ชนิดที่จะให้รู้จัก รู้แจ้ง รู้จริง เป็นปรมัตถธรรมนั้น ไม่ได้ ตามที่สาธยายมา แค่คร่าวๆนี้เด็ดขาด เพราะไม่เป็นไป ตามที่พระพุทธเจ้าสอน ที่สำคัญไม่เป็นไปตามลำดับ เบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย และไม่ทำอย่างสัมมาทิฏฐิ ตาม มหาจัตตารีสกสูตร ก็ไม่สามารถมี สัมมาผล ไปตามลำดับอย่างพอเหมาะได้ (ปโหติ) ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
  • เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา จึงพอเหมาะได้
  • มันก็ไม่สามาถ “จัดการเป็นลำดับ ตั้งแต่ใจในใจ มาถึงวาจา มาถึง กาย มาถึง กัมมันตะ (ที่สุดแห่งกรรมกิริยาทุกอย่าง) ถึงขั้น อาชีพ ตามสัมมาทิฏฐิ แบบพุทธ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ จึงพอเหมาะได้ ก็มีนัยะเยี่ยงเดียวกัน เพราะการกระทำ ทั้งกายวาจาใจ (กัมมันตะ) ไม่มีเหตุคืออกุศลจิต ที่จะนำพา ให้เกิดกรรมกิริยาเป็น “มิจฉากัมมันตะ” “กัมมันตะ”จึงเป็นสัมมากัมมันตะ
  • อาชีพก็นัยเดียวกัน ก็เป็นสัมมาอาชีวะ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิ จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณ สัมมาวิมุตติ จึงพอเหมาะได้
  • ซึ่งจะเห็นชัดว่า สังกัปปะ นี่เอง ที่เป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องเรียนรู้ ให้ถ่องแท้ชัดเจน และต้องทำให้เป็น ทำให้ได้ ทำให้สำเร็จผล นี่คือ การทำใจในใจ ให้ถ่องแท้ แยบคาย ศัพท์ทางวิชาการ คือ โยนิโสมนสิการ
  • การทำใจในใจให้ถ่องแท้ แยบคายชัดเจน หรือ โยนิโสมนสิการ จึงเป็นจุดต้นคือ มนหรือมโน ที่เป็น มโนปุพพังคมา ธัมมา หมายความว่า ใจหรือจิตนี่แหละ เป็นประธานสิ่งทั้งปวง ดังนั้น สังกัปปะ ในมรรคองค์ ๘ ซึ่งรองลงมาจากทิฏฐิ ที่เป็นประธานแล้ว สังกัปปะ จึงต่อมาเป็นตัวปฏิบัติต้นทางของ กรรมกิริยา ต่างๆในคน นั่นคือ ต้องปฏิบัติตรงนี้ ที่เป็นต้นทาง ก่อให้เกิดพฤติกรรมทั้งปวง อันได้แก่ คำพูด (วาจา) การกระทำต่างๆทั้งกาย วาจา ใจ (กัมมันตะ) และอาชีพ (อาชีวะ)
  • เมื่อปฏิบัติ ความดำรินึกคิด (สังกัปปะ) จนเป็นสัมมาสังกัปปะ สำเร็จ วาจาก็เป็น สัมมาวาจา กัมมันตะก็เป็น สัมมากัมมันตะ อาชีวะก็เป็นสัมมาอาชีวะ วายามะก็เป็น สัมมาวายามะ สติก็เป็นสัมมาสติ สมาธิย่อมเป็นสัมมา ที่พอเหมาะได้ (ปโหติ) เป็นปัจจัยต่อตามกันมา จึงก่อเกิดสัมมาสมาธิ อันแปลว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือจิตที่มีความตั้งมั่น ซึ่งก็คือจิตที่มีสัมมาญาณ และสัมมาวิมุติ ที่บริบูรณ์ เต็มที่เกิดขึ้นในจิต จนสัมบูรณ์ เป็นความตั้งมั่นของจิต ที่พร้อมไปด้วย ญาณ และวิมุติ
  • เมื่อจิตใจ ไม่มีเหตุแห่งทุกข์แล้ว จิตใจก็สงบ สมาธิ ที่เป็นแบบพุทธนั้น ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก ตรัสรู้ตามได้ยาก สงบอย่างพิเศษ สุขุมประณีต จะรู้แจ้งไม่ได้ ด้วยการคาดคะเน เพราะละเอียดขั้นนิพพาน
  • เพราะไม่ใช่สมาธิ สามัญทั่วไป ที่นั่งสะกดจิต หลับตาเข้าภวังค์ ปฏิบัติมาๆเข้า ชำนาญเข้า ก็สงบได้ ซึ่งก็เป็นความสงบ ที่ใครๆก็พอรู้ พอเข้าใจได้ ไม่ยากเลย แต่สมาธิของพระพุทธเจ้านี้ จะเห็นได้ว่า เป็นสัมมาสมาธิ ที่ต่างกันมากกับ สมาธิแบบนั่งหลับตา เข้าไปหลบอยู่ในภวังค์ ที่ไม่รับรู้อะไร จากทวารภายนอก ทั้ง ๕ แม้แต่ ความดำรินึกคิด (สังกัปปะ) ก็ไม่ให้มี ปากก็ไม่ให้ พูด (วาจา) กรรมกิริยาต่างๆ ก็ไม่ กระทำกรรมกิริยาใดๆ (กัมมันตะ) ไม่ทำอาชีพอะไรเลย เอาแต่อยู่นิ่งๆ หยุดๆ เป็นหลัก
  • ส่วนของพุทธนั้น กรรมทุกกรรม ของผู้มีสัมมาสมาธิ หรือผู้สงบอย่างวิเศษ จึงล้วนเจริญ เพราะไม่มี อกุศลจิต ร่วมปรุงแต่งใน อภิสังขาร อย่างแท้ชัดแจ้งจริง
  • สัมมาสมาธิ อย่างนี้ จึงจะเป็นสมาธิแบบพุทธ ตามคำสอนอันสัมมาทิฏฐิ ของพระพุทธเจ้า เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณจึงพอเหมาะได้  เมื่อมีสัมมาญาณ สัมมาวิมุติ จึงพอเหมาะได้....

ส.เดินดินสรุป..... ที่คุณ 8705 กับเรา ต่างก็ต้องการความจริง ถ้าเราจะบอกว่า เขาแต่ละเบอร์ คือคนๆเดียว แม้ดูกระบวนท่า ก็น่าจะเป็นคนๆเดียวกัน แต่พ่อครู ก็ไม่ด่วนสรุปซะทีเดียว ต้องการความจริงมากกว่า แต่ที่เขาพูดมานั้น ว่าพ่อครูโง่เซ่อนั้น มันตั้งอยู่บนความจริงหรือไม่? และที่พระพุทธเจ้า อธิบายไว้อย่างละเอียด พระพุทธเจ้า จะบัญญัติไว้ทำไม แค่เข้าใจว่าอัตตาไม่มี ก็หลุดพ้นได้ อย่างนั้นเราก็เข้าใจ แต่มันหลุดพ้นได้ไม่จริง  เราต้องมาเรียนรู้ ให้ละเอียดลึกซึ้ง อย่างที่พ่อครู ได้กรุณาแจกแจง
............จบ.....