FMTV
560326_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์
เรื่อง อภิสังขารชำระจิตสันดานสู่นิพพานพุทธ
ตอน ๒

พ่อครูออกรายการที่บ้านราชฯ ได้พูดถึงมีผู้ส่ง sms มาในรายการเมื่อวาน แย้งมาว่า

0850556xxx ใครสอนพท.ว่า รูป คือสิ่งทิ่ถูกรู้ โดดน้ำเก่งจริงๆ ขอบคุณแม่มูล

ใครสอนพ่อท่าน ก็มีแต่พระพุทธเจ้าสอนเท่านั้นแหละ ก็เห็นใจ ที่เขาไม่เข้าใจว่า รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ นี่คือความรู้ ที่พ่อครูมี ภูมิปัญญาของผู้รู้ เขาก็รู้กัน ก็ให้ใช้ปัญญา พิจารณาดีๆ คนติดแต่ภาษา ก็จะไม่เข้าใจสภาวะได้

0850556xxx ใครสอนพท.ว่าทำทานแล้วได้บุญได้กุศล ได้ผลได้อานิสงส์ต่างหาก ดูพตฏ.สิ

 ก็ไปติดแต่พยัญชนะเช่นกัน แต่ก็ยังมีกุศลเจตนามาว่า

0888705xxx อปุญญาภิสังขาร= อกุศลเจตนาชัดๆอยู่แล้ว แต่เดียถีก็ยังรั้น แปลเป็นโลกุตระ

ในพยัญชนะเป็นเช่นนั้นจริง พระพุทธเจ้าว่า อกุศลเจตนา กามาวจรา เป็นพยัญชนะ อย่างคุณว่าจริง แต่ว่าให้ฟังที่พ่อครูขยายความต่อไป จะได้รู้ว่า พ่อครูรั้น หรือพยายาม แจกแจงสิ่งดี

0888705xxx สังขาร3 มีผลเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ไม่เห็นว่าจะมีผล เป็นโลกุตระเลย

ก็ใช่ คนไม่เห็นก็ต้องไม่เห็น แต่คนเห็นก็จะเห็นเป็นโลกุตระ พ่อครูขอยืนยันว่า เข้าใจถูก ที่แย้งมาก็ดี ทำให้เรามีประเด็นที่น่าคิดว่า เราจะถูกหรือผิด

 

พ่อครูได้พูดมาจากเมื่อวานนี้ถึงที่ว่า

คนผู้ยัง “อวิชชา” จะเชื่อว่า “สวรรค์หรืออารมณ์สุข” อย่างที่คนทั้งหลาย หลงยึดว่าจริง ที่ต้องเสพนั้น หมดไปจากจิตใจไม่ได้ ถือว่าขาดธรรมชาติ (สุข) อย่างนี้ไปจาก จิตใจคนไม่ได้ ต้องมี ยังไงๆคนก็ต้องมี "อารมณ์สุข"

พ่อครูเคยได้รับคำแย้ง จากชาวต่างชาติว่า ทำไมศาสนาพุทธ สอนให้ลดกาม มันควรจะให้มีสุข มีกามไปสิ มันเป็นธรรมชาติของคน ซึ่งเขาเข้าใจไม่ได้จริงๆ  

คนที่หลงมากติดมาก จึงหลง "ปรุงแต่ง (สังขาร) อารมณ์สุขอย่างนั้นอย่างนี้ ให้ตนเสพ" อยู่เสมอ ไม่ปรุงอย่างใด ก็หาเรื่องปรุงอย่างหนึ่ง อยู่ตลอด

คน “อวิชชา “จึงหลงใน “สังขาร “อย่างงมงาย เละเทะเลอะเทอะ หาที่สุดมิได้

สุขมันไม่มีอยู่ตลอดเวลา คนก็รู้ มันมีอย่างนั้น แล้วก็ไปมีอย่างนี้ สุขอย่างนี้หยุดไป ไม่มี ระยะใด ระยะหนึ่งก็จริง ไม่มีอารมณ์สุขชั่วคราว..ได้ พักชั่วคราว..ได้ แต่ขาดสูญ "อารมณ์สุข" อย่างที่เคยมีนี้ ไปจากจิตใจคน ตลอดกาลไม่ได้ ยิ่งอารมณ์สุข ที่ตนเสพติด ยิ่งขาดไม่ได้ คนต้องมี "สุข" (โลกียสุข) ไม่เชื่อว่า "สุข" จะสูญสิ้นไปได้

ถ้าคน “ไม่มีสุข" ก็จะไม่ปกติ ไม่เหมือนคนทั้งหลาย หนะสิ

เมื่อผู้ศึกษาและได้ปฏิบัติ จนกระทั่งมี “การชำระกิเลส" หรือ “ชำระจิตสันดาน ให้หมดจด" ได้จริง จึงจะเชื่อสนิทว่า “โลกที่ยังหลงสุขอยู่" นั้น ก็ต้องมี “ทุกข์" อยู่

สัมผัสจริงๆมันสุข แต่เมื่อไม่ได้สัมผัส มันก็มีแต่ความจำ ไม่ใช่ความจริง มันลวงเรา ต้องชัดเจนว่า มันไม่ใช่สุขจริง ถ้าสุขจริง มันต้องอยู่ตลอดสิ

โลก..โลกียะ จึง “ดับสุขดับทุกข์สนิท" ไม่ได้

ส่วนโลก..โลกุตระนั้น “ดับสุข-ดับทุกข์" ได้สนิทจริง

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่แยก “โลก" ๒ โลกนี้ได้ และ พาคนให้ปฏิบัติ จนเลิกเป็นคน “โลกียะ” กลายเป็นคนโลกใหม่คือ “โลกุตระ” โดยไม่ต้องกลับมาเป็นคน “โลกียะ” เป็นคนผู้ “ไม่ทุกข์ไม่สุข” (อทุกขมสุข) อีกเลยได้อย่างแท้จริงสัมบูรณ์

เพราะได้เรียนรู้ฝึกฝน “สติปัฏฐาน ๔” รู้ชัด “เวทนาในเวทนา” กระทั่งรู้จักรู้แจ้งรู้จริง “ มโนปวิจาร ๑๘-๓๖” และปฏิบัติจนบรรลุ “เนกขัมมสิตอุเบกขา” อย่างสัมผัส ภาวะจริง และสามารถทำให้ “เวทนา” ของตนเป็น “อุเบกขา” หรือ “อทุกขมสุข” ได้เที่ยงแท้ (นิจจัง) ยั่งยืน (ธุวัง) ตลอดกาล (สัสสตัง) จริง เป็นต้น

                เพราะ "ดับ โลก นั้น"(โลกียะ) แล้วจริง
                เพราะ "ในจิตไม่มี โลกนั้น"(โลกียะ) แล้วจริง
                เพราะ "จิตใจไม่ต้องอาศัย โลกนั้น"(โลกียะ) แล้วจริง
                พระพุทธเจ้าคือผู้ค้นพบ เป็นเจ้าของทฤษฎี หรือ เป็นเจ้าของ "ทิฏฐิ"

ดังนั้น ถ้าผู้ใดไม่สามารถเข้าใจ" ทฤษฎี"หรือ "ทิฏฐิ"ของพระพุทธเจ้า ถูกต้องถ่องแท้ ก็แน่นอนว่า ย่อมจะเข้าสู่" โลก"ที่เป็น "โลกุตระ"ไม่ได้

แต่ก็มีคนหลงผิดมากมายเหลือเกิน หลงไปยึดเอา “โลก" ที่ไม่ใช่ "โลกุตระ" ตรงตาม "โลกุตระ" ของพระพุทธองค์ ว่า เป็น"โลกุตระ"

"โลก"ที่เรียกว่า "โลกุตระ"นี้ เป็น "โลก" ซึ่งหมายถึง “แดนที่จิตใจอาศัยอยู่" เหมือนกัน ตราบที่ยังไม่ดับขันธ์ สุดสิ้นปรินิพพาน ก็ อาศัย "จิตใจที่ได้ชำระจิตสันดาน จนหมดจด หมดสิ้นอนุสัย" นั้นแล เป็นอยู่ ดำเนินชีวิตไป เป็นอรหันต์ที่ยังมีชีวิต

เพราะได้ศึกษา "ปฏิบัติ ปุญญาภิสังขาร" จนกระทั่งบรรลุ "อปุญญาภิสังขาร"

ดังนั้น "อภิสังขาร" ตัวต่อมา ที่ว่า อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน

ตามพระไตรปิฎก ท่านก็แปลไว้ว่า “อกุศลเจตนา เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร"

 อภิสังขารบทนี้ คำตรัสมีสั้นนิดเดียวเท่านี้ แต่ลึกซึ้งสุดวิเศษ เป็นโลกุตระ ที่ต้องมีสภาวะ ของปรมัตถธรรม กันอย่างสำคัญ จึงจะแยกโลกียะ แยกโลกุตระได้จริง

ผู้ยังไม่มีปรมัตถ์ ก็เข้าใจอยู่แต่ในมิติโลกีย์ คือ ยังวนอยู่ใน โลกเดิม คือ โลกของปุถุชน วนใน กุศลกับ อกุศล ซึ่งวนไปวนมา สุขๆ-ทุกข์ๆ ทุกข์ๆ-สุขๆ ต่ำแล้วก็สูง สูงแล้วก็ต่ำ อยู่ในโลกีย์เดิม เช่น เป็นอบายชน หรือปุถุชน แล้วเมื่อทำกุศลก็ดี ก็ได้แค่ กุศลที่เป็น กัลยาณชน ซึ่งก็ไม่พ้นภาวะ ไตรลักษณ์ เกิดขึ้น แล้วก็ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป แล้วก็วนมา เกิดขึ้น – ตั้งอยู่ - ดับไป อีก ตามสามัญลักษณ์

เพราะยังไม่สามารถมี ปัจจัตตลักษณ์ตามทฤษฎีของ โลกุตระ

ดังนั้น ในโลกียะ จึงต้องตกต่ำกลับไปสู่อบายอีก อยู่ในโลกของ ปุถุชนโลกีย์ วนไปวนมา ไม่ด้านใด ก็ด้านหนึ่ง วนแล้ววนเล่า สูงแล้วก็ต่ำ ต่ำแล้วก็สูงอยู่เท่านั้น เป็น ความวน อยู่ในโลกโลกีย์สามัญ ที่เป็นโลก ปุถุชน

เรื่องของความเป็นโลก พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องโลก ครบพร้อมทั้งโลก ที่เรียกว่า โลกีย์ และโลกที่เรียกว่า โลกุตระ จึงเรียกว่า เป็นผู้รู้แจ้ง โลก คือ โลกวิทู

ผู้ไม่เข้าใจหรือไม่รู้จักความเป็น ภูมิโลกุตระ ย่อมไม่มีทาง ที่จะเดินเข้าสู่ โลกที่เป็น โลกุตรภูมิได้แน่ๆ

ไม่สามารถสูงขึ้นสู่ โลกใหม่-โลกอื่น (ปรโลก) อันคงวนเวียน อยู่ในโลกเก่า (อยังโลก) ออกนอกโลกเก่าไปไม่ได้

ไม่สามารถสูงเลื่อนชั้นขึ้นสู่ชั้นภูมิ ที่สูงยิ่งขึ้น ที่เป็นสภาพ หมุนรอบเชิงซ้อน (คัมภีราวภาโส) ที่ซับซ้อน สูงขึ้นๆจริง ไม่ใช่วนไปมาต่ำ-สูงอยู่ ไม่อาจล่วงพ้น (สมติกฺกม) ชั้นโลกีย์ ที่หมุนวนไปได้ จึงเป็นเรื่องที่ เห็นตามได้ยาก (ทุทฺทส) รู้ตามได้ยาก (ทุรนุโพธา) จริงๆ

อกุศลเจตนา เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร

ซึ่งพระบาลีก็คือ อกุสลา เจตนา กามาวจรา อยํ วุจฺจติ อปุญฺญาภิสงฺขาโร

ก็อีกแหละ ตามภูมิอาตมา ซึ่งจะเอาสภาวะธรรม ที่อาตมามีเป็นหลัก ก็เข้าใจได้ว่า อกุศล นั้นคำหนึ่ง เจตนา นั้นอีกคำหนึ่ง ที่มีในประโยคนี้ ให้ความหมายอยู่ชัด

ดังนั้น อปุญญาภิสังขาร จึงหมายความว่า ความจงใจ (เจตนา) ปฏิบัติตนให้เกิด ความดีงามถูกต้อง (กุศล) ที่ท่องเที่ยวไปใน แดนกามภพ (กามาวจร) และแน่นอน ต้องสำเร็จได้ด้วยทาน สำเร็จได้ด้วยศีล สำเร็จได้ด้วยภาวนา ซึ่งต้องเข้าใจ ทาน-ศีล-ภาวนา อย่างสัมมาทิฏฐิ แท้จริงเป็นสำคัญ จึงจะสามารถ ได้บุญ คือ ได้ ชำระจิตสันดาน หรือชำระกิเลส สะอาดผ่องใส จนกระทั่ง ไม่ต้องชำระจิตสันดาน นั้นอีกแล้ว เพราะ อกุศลเป็น เจตนา หรือตามที่จงใจ หรือมุ่งหมาย ได้ทำสำเร็จลง อภิสังขารนี้ สำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้อง ทำบุญอีก เป็น อปุญญแล้ว

ใน กามาวจร หรือท่องเที่ยวไปในแดนกามภพ (กามาวจร) นั้นเอง บัดนี้เป็น อปุญญาภิสังขารแล้ว ไม่ต้องชำระกิเลส กันอีกแล้ว (อปุญญา)

"อปุญญาภิสังขาร" จึงเป็น "อภิสังขาร" ที่ อบุญ หรือ อปุญญ แล้ว..ไง!
อ คือ ไม่ จะแปล อบุญ หรือ อปุญญ ว่า ไม่ใช่บุญแล้ว –ไม่เป็นบุญแล้ว -ไม่มีบุญแล้ว ก็ได้ทั้งนั้น ภาวะแห่งสัจจะ เป็นอย่างเดียวกัน

แต่ถ้าท่านใดจะแปล อบุญ หรือ อปุญญนี้ว่า บาป
เพราะเมื่อมันไม่ใช่ บุญ มันก็ต้องวนกลับไปเป็น บาป เท่านั้นอย่างนั้น

นั่นคือ การแปลวน อยู่ในความวน บาป-บุญอยู่ ในโลกเดิม หรือวงวนเดิม วนไป-วนมา ก็อยู่ใน โลกเก่า-ภพเดิม ก็อยู่ในโลกเดิมคงเดิม ไม่ได้ออกไปจาก โลก หรือภพนั้น ไปสู่ โลกใหม่ คือ อยู่ในโลกียภูมิ ตามเดิม

ก็ไม่มีปัญหานี่ อาตมาก็เข้าใจ ตามที่ท่านหมาย (สัญญา) หรือมุ่งหมาย (เจตนา)

แต่อาตมาหมาย (สัญญา) หรือมุ่งหมาย (เจตนา) นั้น ท่านก็คงเข้าใจ ความมุ่งหมาย หรือการ สำคัญมั่นหมาย (สัญญา) ของอาตมา..นะ

อาตมาเห็นจริงอย่างนี้ และทำได้อย่างนี้ จึงแปลตามที่มีจริง เป็นจริงของอาตมา

ส่วนท่านก็เห็นจริงเป็นจริง ตามที่ท่านเป็น และมุ่งหมาย ก็แตกต่างกันตรงนี้

ดังนั้น "อภิสังขาร" ตัวต่อมา ที่ว่า อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน ก็มากันศึกษาต่อ

ตามพระไตรปิฎก ท่านก็แปลไว้ว่า "อกุศลเจตนา เป็นกามาวจร" นี้เรียกว่า "อปุญญาภิสังขาร"

คำตรัสนี้มีคำว่า "อกุศล" และ “กามาวจร" ชัดๆ (ไม่ใช่คำว่า กามภพนะ)

คำ ๒ คำนี้ จะบ่งชี้ได้ว่า ความเข้าใจของใคร จะอยู่ในภูมิไหน? ภพไหน? ก็จะอธิบาย ความจริงของตน อย่างใดอย่างนั้น ตั้งใจศึกษาดีๆ

 "อภิสังขาร" บทนี้ คำตรัสมีสั้นนิดเดียว แต่ลึกซึ้งสุดวิเศษ เป็นโลกุตระ ที่ต้องมีสภาวะของ ปรมัตถธรรม กันอย่างสำคัญ จึงจะแยกโลกียะ แยกโลกุตระได้จริง

ผู้ยังไม่มีปรมัตถ์ ก็เข้าใจอยู่แต่ใน มิติโลกีย์ คือ ยังวนอยู่ใน "โลกเดิม" คือ "โลกของปุถุชน" วนใน "กุศล"กับ" อกุศล" ซึ่งวนไปวนมา สุขๆ-ทุกข์ๆ ทุกข์ๆ-สุขๆ ต่ำแล้วก็สูง สูงแล้วก็ต่ำอยู่ในโลกีย์เดิม เช่น เป็นคนขึ้นสูง หรือ คนตกต่ำ

ก็อยู่ในโลกเดิม คือ โลกีย์ เมื่อทำกุศลก็ดี ก็ได้แค่ "กุศลที่เป็นกัลยาณชน”

ซึ่งก็ไม่พ้นภาวะไตรลักษณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป แล้วก็วนมา เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป อีก ตาม"สามัญลักษณ์" (ลักษณะที่เป็นของปุถุชน สามัญคนทั่วไป)

เพราะยังไม่สามารถมี "ปัจจัตตลักษณ์" (ลักษณะที่ได้บรรลุเฉพาะตน เป็นวิสามัญ เป็นของพุทธโดยเฉพาะ) ตามทฤษฎีของ “โลกุตระ" ที่เป็นไตรลักษณ์ “เกิดขึ้น"แล้ว ก็ตั้งอยู่อย่าง "อาเนญชา" หรือ "เกิดขึ้น" แล้วก็ "ตั้งอยู่" อย่างพิเศษ คือ“ความเกิดขึ้น"นั้นไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม และมีแต่ถาวร, มั่นคง, ยั่งยืน

ส่วน"ความดับ"ไป ก็ดับไปอย่าง "ถาวร, ยั่งยืน, ตลอดไป" ไม่วนไปวนมา “เกิดขึ้นใหม่" อีก ดับไปแล้วไปเลย พ้นไปสู่ที่สูง แล้วก็มีแต่จะสูงขึ้นๆ ไม่วนลงมาหาต่ำ

ดังนั้น ในโลกียะ จึงต้องมีการตกต่ำ กลับไปสู่อบายอีก อยู่ในโลกของปุถุชนโลกีย์ วนไปวนมา ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง วนแล้ววนเล่า สูงแล้วก็ต่ำ ต่ำแล้วก็สูง อยู่เท่านั้น เป็น "ความวน" อยู่ในโลกโลกีย์สามัญที่เป็นโลก "ปุถุชน"

เรื่องของความเป็น โลก พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่อง โลก ครบพร้อมทั้งโลก ที่เรียกว่า โลกีย์ และ โลกที่เรียกว่าโลกุตระ จึงเรียกว่า เป็นผู้รู้แจ้ง โลก คือ โลกวิทู

ผู้รู้แจ้งโลกโลกียะ โลกโลกุตระ ฉะนี้ ชื่อว่าผู้รู้โลก โลกวิทู รู้จักรู้แจ้งรู้จริง เทวดามารพรหม รู้โลกทั้ง ๒ โลก ทั้งโลกนี้ (อยังโลก) และทั้งโลกหน้า (ปรโลก)

เพราะรู้จักรู้แจ้งจิตวิญญาณ ที่เป็นมารในตน แล้วกำจัดจิตวิญญาณ ที่เป็นมารของตน มารตาย จิตวิญญาณของผู้นั้น ก็เกิดใหม่ เป็นเทวดา (อุบัติเทพ) ถ้าชำระจิตสันดาน ของตน (ทำบุญ) จนกระทั่ง สะอาดหมดจด จึงเป็นพรหม (วิสุทธิเทพ)

 "พรหม"แบบทฤษฎีพุทธ หมดตัวตน เพราะ "ตัวตน" ถูกชำระ กำจัดไปหมดสิ้น ไม่มี " ตัวตน" ตัวตนหมดสิ้นสะอาด การยึด "ตัวพรหม" จึงไม่มีตัวตนให้ยึด

ส่วน "พรหม"แบบทฤษฎีแบบไม่ใช่พุทธ หรือแม้ เป็นพุทธแต่ยัง มิจฉาทิฏฐิอยู่ ก็ยังยึดตัวพรหมอยู่ เพาะยังมิจฉาทิฏฐิ ทั้งในมรรควิธี มี ผลจึงเป็น"ผล"ผิด

ผู้ไม่เข้าใจหรือไม่รู้จักความเป็น "ภูมิโลกุตระ" ย่อมไม่มีทาง ที่จะเดินเข้าสู่"โลก" ที่เป็น "โลกุตรภูมิ" ได้แน่ๆ

เพราะยังศึกษา "ไม่สัมมาทิฏฐิ" (ยังมิจฉาทิฏฐิ) นี่แหละ เป็นเรื่องหลักเรื่องใหญ่

จึงไม่สามารถ"พ้นโลกเก่า" เลื่อนขึ้นสูงสู่ "โลกใหม่-โลกอื่น" (ปรโลก) ไม่ได้ คงวนเวียนอยู่ใน “โลกเก่า" (อยังโลก) ออกนอก โลกเก่าไปไม่ได้

ไม่สามารถสูงเลื่อนชั้น ขึ้นสู่ชั้นภูมิ ที่สูงยิ่งขึ้น ซึ่งความเป็น" โลก" แบบโลกุตระนี้ เป็นสภาพ หมุนรอบเชิงซ้อน (คัมภีราวภาโส) ที่ซับซ้อน สูงขึ้นๆจริง ไม่ใช่วนไปวนมา ต่ำๆ-สูงๆอยู่ ไม่อาจล่วงพ้น (สมติกฺกม) ชั้นโลกีย์ที่หมุนวนไปได้ จึงเป็นเรื่องที่ เห็นตามได้ยาก (ทุทฺทส) รู้ตามได้ยาก (ทุรนุโพธา) สงบพิเศษ (สันตา) ฯลฯ จริงๆ

เอาล่ะ..ทีนี้ มาแจกแจง จากคำตรัสของพระพุทธเจ้าดู
"อปุญญาภิสังขาร" ท่านตรัสว่า
"อกุศลเจตนา เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร"
ซึ่งพระบาลีก็คือ อกุสลา เจตนา กามาวจรา อยํ วุจฺจติ อปุญฺญาภิสงฺขาโร

ก็อีกแหละ ตามภูมิอาตมา ซึ่งจะเอาสภาวะธรรม ที่อาตมามีเป็นหลัก ก็เข้าใจได้ว่า อกุศล นั้นคำหนึ่ง เจตนา นั้นอีกคำหนึ่ง ที่มีในประโยคนี้ ให้ความหมายอยู่ชัด

ดังนั้น อปุญญาภิสังขาร จึงหมายความว่า ความจงใจ (เจตนา) ความมุ่งหมาย (เจตนา) ปฏิบัติตนให้เกิด ความดีงามถูกต้อง (กุศล) ที่ท่องเที่ยวไปใน แดนกามภพ (กามาวจร) นั้นได้ทำมาแล้วด้วย “ปุญญาภิสังขาร" ได้ทำ" กุศล" ที่เป็น "บุญ"จริง

กระทั่งสามารถ “ได้บุญ" คือ ได้ "ชำระจิตสันดาน หรือ ชำระกิเลส สะอาดผ่องใส" จนถึงขั้น “ล่วงพ้น (สมติกฺกมติ) หรือพ้นแล้ว (วิมุตต)" ถึงขั้น "อปุญญาภิสังขาร" ก็ไม่ต้องชำระ จิตสันดานนั้นอีกแล้ว

เพราะ" อกุศล" เป็น "เจตนา" คือจงใจ หรือ มุ่งหมายชำระ ก็ได้ชำระสำเร็จลงแล้ว "อภิสังขาร" (การจัดแจงอย่างสัมมา, การปรุงแต่งอย่างสัมมา) นี้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้อง" ทำบุญ"อีก เป็น "อปุญญ" แล้ว "ไม่ชำระ" กันอีกแล้ว เสร็จกิจแล้ว

และมีคำว่า "กามาวจร" นี้แหละ ที่ยืนยันชัดแท้ว่า ปฏิบัติในขณะที่ "ท่องเที่ยวอยู่ใน แดนกามภพ" แท้ๆ ไม่ได้หลับตา เข้าไปอยู่ใน "ภพภายใน" หรือใน “ภวังค์"เลย เพราะคำตรัสมีทั้งใน "ปุญญาภิสังขาร" และมีทั้งใน "อปุญญาภิสังขาร"

เมื่อบรรลุแล้วจึงมี" ความทรงอยู่เหนือ ภพนั้นภูมินั้น" (อภิธรรม) เป็น "ผู้อยู่เหนือโลกนั้น" (โลกุตระ) จึงไม่ได้หนีไปไหน ก็ยังอยู่ที่ "กามภพ" และมีกามาวจร อยู่ตามเดิม แต่ "จิตใจสูงขึ้น หลุดพ้นจาก ความเป็นคนในภพเก่า" นั้นแล้ว

จึงดำเนินชีวิต หรือ ท่องเที่ยวอยู่ใน "กามภพ" นั้นเองคงเดิม ที่เรียกด้วยภาษาว่า "กามาวจร" คือท่องเที่ยวไปในแดนกามภพ (กามาวจร) นั้นเอง และบัดนี้มีชีวิต ปรุงแต่งเป็น "อปุญญาภิสังขาร" แล้ว "ไม่ต้องชำระกิเลสกันอีกแล้ว" (อปุญญา)

ทีนี้คำว่า "อกุศล" ที่เป็นคำตรัส คำนี้แหละ ที่ทำให้ผู้มีภูมิโลกียะ เดาเอาไม่ได้ ยิ่งรู้อยู่แค่พยัญชนะ ไม่รู้สภาวธรรม แม้จะพยายาม จินตนาการตาม ก็ไม่ง่ายนัก

ก็พยายามฟังดีๆ ฟังด้วยดี จะได้ปัญญานะ สุสฺสูสัง ลภเต ปัญญัง
"อกุศล เจตนา กามาวจร" นี้เรียกว่า "อปุญญาภิสังขาร"
"อกุศล"ในภูมิ "อปุญญาภิสังขาร"นี้ หมายถึง ผู้ที่ยังมีชีวิต "กามาวจร" ตามที่พระพุทธเจ้า ทรงยืนยันไว้
คือ ยังดำเนินชีวิตท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ นี่เอง

ทีนี้ คำว่า อกุศลนี้ เป็นคำที่อยู่ในภูมิของ อปุญญาภิสังขาร โดยมีคำว่า เจตนา ที่แปลว่า ความมุ่งหมาย หรือความจงใจ เป็นคำสำคัญอีกคำหนึ่ง ที่ทำให้ ความจริง ชัดเจนยิ่งขึ้น ในความเป็นพุทธธรรม ที่ลึกซึ้งอย่างยิ่ง

ผู้มีภูมิ อปุญญาภิสังขารนี้ คือ ผู้ไม่ต้องทำ บุญและ บาปแล้ว ตามที่ได้อธิบาย มาตลอด แต่ยังมีชีวิต จึงทำกุศลได้ ดังโอวาทปาติโมกข์ที่ว่า ไม่ทำบาปทั้งปวงแล้ว - สัพพปาปัสสะ อกรณัง แต่ ยังกุศลให้ถึงพร้อม - กุสลัสสูปสัมปทา คือ ยังทำกุศล ให้ถึงพร้อมอยู่ สำหรับผู้ ทำจิตสะอาดผ่องใสแล้ว

ดังนั้น ทุกกรรม ทุกการกระทำของท่านผู้ที่ อปุญญแล้วนี้ เมื่อ อภิสังขาร คือ ปรุงแต่งใดๆ ตามฐานะของท่าน ก็ต้องคำนึง อย่างสำคัญ สังวร อกุศลเสมอ เพราะในโลกีย์ ไม่มีอะไรเที่ยง มันเกิดจากเหตุปัจจัย ซึ่งก็ไม่เที่ยง อยู่ตลอดเวลา มันเป็นเหตุแห่ง ทุกข์ มากเหลือเกิน

แม้ตัวท่านไม่ทุกข์แล้ว ก็แน่นอน แต่ท่านก็ต้อง ทำความสุข ให้แก่มวลชน เป็นอันมาก (พหุชนสุขายะ) ตามคุณธรรมแท้ ของพุทธอยู่ จึงต้องใช้ความระมัดระวัง อย่าให้เกิด อกุศล ให้ได้เสมอ กระนั้นในสังคมโลก ที่มีลาภสักการะ เสียงสรรเสริญ มันก็ยังเป็น อันตรายอันแสบเผ็ด แม้แต่กับพระอรหันต์ ในการดำเนินชีวิต อยู่กับแดนดงกาม (กามาวจร) นั่นแหละ จึงต้องระมัดระวัง อกุศลตัวนี้อยู่ อย่างสำคัญ

ตัวท่านเองไม่ใช่ตัวอันตราย แต่แม้เป็นอรหันต์แล้ว ทำการงาน ก็อาจจะเกิด อันตรายได้ ถึงขนาด อันตรายอันแสบเผ็ด ก็เป็นได้ พระพุทธเจ้าจึงต้อง ให้สังวรเสมอ

มีคนไม่รู้แจ้งสัจธรรม มักเดาเลยเถิดไปว่า อรหันต์ทำอะไรไม่ผิด หรือทำผิดไม่ได้ ซึ่งเป็นการเดาที่ผิด อรหันต์ก็ทำผิดได้ ตามภูมิตามฐานะ ซึ่งอรหันต์ย่อมมีภูมิ ในทางโลกีย์ มากน้อยได้ ไม่เท่ากัน

แต่ ผิดของพระอรหันต์ ไม่มี "อกุศลเจตนา"แน่ นี่คือ ข้อยกเว้นที่เรียกว่า "สติวินัย" ของพระอรหันต์ ไม่ให้ปรับอาบัติพระอรหันต์

และมันเป็น "สมมุติสัจจะ" ไม่ใช่ "ปรมัตถสัจจะ" จึงไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา

คนที่มีภูมิระดับ "อปุญญ" นี้ย่อมมี "เจตนา" มี "ความมุ่งหมาย" ที่จะไม่ให้ "อกุศล" เกิดในการกระทำ ของท่านแน่ๆ ใช่ไหม? ท่านจึงต้องคำนึงถึง "อกุศล" ที่ "ชาวกามภพ เขาสมมุติ" กัน ต้องใช้ "สัปปุริสสธรรม ๗ และ มหาปเทส ๔" ประมาณให้ดี ให้ได้ จึงต้อง" สำคัญมั่นหมาย" ใน "อกุศล" อย่าให้ผิดพลาดมีขึ้น

จึงจะเดาเอาง่ายๆ ตามพยัญชนะ แต่ละคำแค่นั้น ไม่ได้ จึงยากอยู่มิใช่น้อย สำหรับ ผู้ยังไม่มีภูมิ ที่พอจะรู้ หากไม่รู้มาก่อน จากท่านผู้รู้ ได้อธิบายสู่ฟัง ก็ย่อมประมาณ หรือ เดาเอาไม่ได้ว่า ในคำตรัสของ พระพุทธเจ้านี้ ในความเป็น "อปุญญาภิสังขาร"

ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

อ่านต่อหน้า ๒