FMTV
560328_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดย พ่อครู
เรื่อง อภิสังขารชำระจิตสันดานสู่นิพพานพุทธ ตอน ๓

พ่อครูจัดรายการที่บ้านราชฯ

...มีคุณ 8705 ตั้งหลักส่ง sms มามากเลย เมื่อมาเรียงแล้ว ได้เกือบ ๙ หน้าทีเดียว เป็นตรรกะที่เป็นเหตุเป็นผล ขยันยกมา มีทั้งสมัยใหม่วิทยาศาสตร์ และของอาจารย์ต่างๆ มายกอ้าง พ่อครูก็อ่านแล้ว สรุปออกมา เป็นความเห็น ที่ต่างจาก 8705 พ่อครูก็สรุปอย่างสั้นๆมาว่า

เท่าที่คุณ 8705 แสดงภูมิมา นั้น คุณ 8705 ก็น่าจะรู้ว่า ทุกสรรพสิ่ง ก็มีแต่รูปกับนาม เท่านั้น ยึดรูปกับนามล้วนเป็นอัตตา อย่าหลงผิด ว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่อัตตา (ยึดความเห็นเช่นนี้ ) ถ้ายึดอย่างนึ้ ก็ไม่มีสิทธิ์จะปฏิบัติ จนสิ้นตัณหาอุปาทาน ผู้จะเห็นอาการสภาวะ ของการยึดรูป ยึดนาม ไม่ว่ารูปขันธ์ หรือนามขันธ์ ในขันธ์ ๕ หากไม่รู้แจ้งเห็นจริง อย่างสัมผัสของจริง ครบถ้วน ว่า รูปคืออย่างไร การยึดรูปเป็นของตน คืออย่างไร การยึดนาม เป็นของตนเป็นอย่างไร เมื่อกำจัดความยึดได้หมด ก็เรียกว่า ความไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน หรือไม่เป็นตัวตน ก็มีนัยะเดียวกัน ผู้ใดไม่สามารถเห็น ความมีอัตตา แล้วล้างความเป็นอัตตา จนหมด แล้วเรายังยึดความว่าง หรือยึดอนัตตา เป็นเราอีกก็ไม่หมด ต้องทำให้ชัดเจน ในการไม่ยึด ทั้งอัตตาและอนัตตา คนตาดีจึงสามารถเห็น ความมืดและสว่าง เห็นทั้งอัตตา และอนัตตา ก็เสร็จจบแล้ว นิพพานแล้ว (นัตถิอุปมา) ไม่มีอะไรจะเปรียบ

มาเข้าสู่เรื่อง "โลก" ที่เรียกว่า "โลกุตระ" นี้ เป็น "โลก" ซึ่งหมายถึง " แดนที่จิตใจอาศัยอยู่" เหมือนกัน ตราบที่ยังไม่ดับขันธ์ สุดสิ้นปรินิพพาน ก็อาศัย "จิตใจที่ได้ชำระจิตสันดาน จนหมดจด หมดสิ้นอนุสัย" นั้นแล เป็นอยู่ ดำเนินชีวิตไป เป็นอรหันต์ที่ยังมีชีวิต

เพราะได้ศึกษา "ปฏิบัติ ปุญญาภิสังขาร" จนกระทั่งบรรลุ "อปุญญาภิสังขาร"
ดังนั้น "อภิสังขาร" ตัวต่อมา ที่ว่า อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน

ตามพระไตรปิฎก ท่านก็แปลไว้ว่า "อกุศลเจตนา เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร"

อภิสังขาร บทนี้ คำตรัสมีสั้นนิดเดียวเท่านี้ แต่ลึกซึ้งสุดวิเศษ เป็นโลกุตระ ที่ต้องมีสภาวะ ของปรมัตถธรรม กันอย่างสำคัญ จึงจะแยกโลกียะ แยกโลกุตระได้จริง

ผู้ยังไม่มีปรมัตถ์ ก็เข้าใจอยู่แต่ในมิติโลกีย์ คือ ยังวนอยู่ใน โลกเดิม คือ โลกของปุถุชน วนใน กุศล กับ อกุศล ซึ่งวนไปวนมา สุขๆ-ทุกข์ๆ ทุกข์ๆ-สุขๆ ต่ำแล้วก็สูง สูงแล้วก็ต่ำ อยู่ในโลกีย์เดิม เช่น เป็นอบายชน หรือ ปุถุชน แล้วเมื่อทำกุศลก็ดี ก็ได้แค่ กุศลที่เป็นกัลยาณชน ซึ่งก็ไม่พ้นภาวะไตรลักษณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป แล้วก็วนมา เกิดขึ้น – ตั้งอยู่ - ดับไป อีก ตาม สามัญลักษณ์

เพราะยังไม่สามารถมี ปัจจัตตลักษณ์ ตามทฤษฎีของ โลกุตระ

ดังนั้น ในโลกียะ จึงต้องตกต่ำกลับไปสู่อบายอีก อยู่ในโลกของ ปุถุชนโลกีย์ วนไปวนมา ไม่ด้านใด ก็ด้านหนึ่ง วนแล้ววนเล่า สูงแล้วก็ต่ำ ต่ำแล้วก็สูงอยู่เท่านั้น เป็น ความวน อยู่ในโลกโลกีย์สามัญ ที่เป็นโลก ปุถุชน

เรื่องของความเป็น โลก พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่อง โลก ครบพร้อม ทั้งโลกที่เรียกว่า โลกีย์ และโลกที่เรียกว่า โลกุตระ จึงเรียกว่า เป็นผู้รู้แจ้ง โลก คือ โลกวิทู

ผู้ไม่เข้าใจหรือไม่รู้จัก ความเป็น ภูมิโลกุตระ ย่อมไม่มีทาง ที่จะเดินเข้าสู่โลก ที่เป็น โลกุตรภูมิ ได้แน่ๆ

ไม่สามารถสูงขึ้นสู่ โลกใหม่-โลกอื่น (ปรโลก) อัน คงวนเวียนอยู่ใน โลกเก่า (อยังโลก) ออกนอกโลกเก่าไปไม่ได้

ไม่สามารถสูงเลื่อนชั้น ขึ้นสู่ชั้นภูมิที่สูงยิ่งขึ้น ที่เป็นสภาพหมุนรอบเชิงซ้อน (คัมภีราวภาโส) ที่ซับซ้อน สูงขึ้นๆจริง ไม่ใช่วนไปมา ต่ำ-สูงอยู่ ไม่อาจล่วงพ้น (สมติกฺกม ชั้นโลกีย์ ที่หมุนวนไปได้ จึงเป็นเรื่องที่ เห็นตามได้ยาก (ทุทฺทส) รู้ตามได้ยาก (ทุรนุโพธา) จริงๆ

อกุศลเจตนา เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร

ซึ่งพระบาลีก็คือ อกุสลา เจตนา กามาวจรา อยํ วุจฺจติ อปุญฺญาภิสงฺขาโร

ก็อีกแหละ ตามภูมิอาตมาซึ่งจะเอาสภาวะธรรมที่อาตมามีเป็นหลัก ก็เข้าใจได้ว่า อกุศล นั้นคำหนึ่ง เจตนา นั้นอีกคำหนึ่ง ที่มีในประโยคนี้ ให้ความหมายอยู่ชัด

ดังนั้น อปุญญาภิสังขาร จึงหมายความว่า ความจงใจ (เจตนา) ปฏิบัติตนให้เกิด ความดีงามถูกต้อง (กุศล) ที่ท่องเที่ยวไปในแดนกามภพ (กามาวจร) และแน่นอน ต้องสำเร็จได้ด้วยทาน สำเร็จได้ด้วยศีล สำเร็จได้ด้วยภาวนา ซึ่งต้องเข้าใจ ทาน-ศีล-ภาวนา อย่างสัมมาทิฏฐิ แท้จริงเป็นสำคัญ จึงจะสามารถ ได้บุญ คือ ได้ ชำระจิตสันดาน หรือ ชำระกิเลส สะอาดผ่องใส จนกระทั่ง ไม่ต้องชำระ จิตสันดานนั้นอีกแล้ว เพราะ อกุศล เป็น เจตนา หรือ ตามที่จงใจหรือมุ่งหมาย ได้ทำสำเร็จลง อภิสังขาร นี้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้อง ทำบุญ อีก เป็น อปุญญ แล้ว

ใน ามาวจร หรือ ท่องเที่ยวไปในแดนกามภพ (กามาวจร) นั้นเอง บัดนี้เป็น อปุญญาภิสังขาร แล้ว ไม่ต้องชำระกิเลสกันอีกแล้ว (อปุญญา)

อปุญญาภิสังขาร จึงเป็น อภิสังขาร ที่ อบุญหรืออปุญญ แล้ว..ไง!

" อ" คือ ไม่ จะแปล อบุญหรืออปุญญ ว่า ไม่ใช่บุญแล้ว –ไม่เป็นบุญแล้ว -ไม่มีบุญแล้ว ก็ได้ทั้งนั้น ภาวะแห่งสัจจะ เป็นอย่างเดียวกัน

แต่ถ้าท่านใดจะแปล อบุญหรืออปุญญ นี้ว่า บาป

เพราะเมื่อมันไม่ใช่ "บุญ" มันก็ต้องวนกลับไปเป็น "บาป" เท่านั้นอย่างนั้น

แม้แต่ในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๖ นี้ในข้อ ๑๙๑ ท่านก็แปลด้วยความเห็น ของท่านผู้แปลเองเลยว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลตกอยู่ในอวิชชา
ถ้าสังขารที่เป็นบุญปรุงแต่ง (ปุญฺญญฺเจ สงฺขารํ อภิสงฺขโรติ)
วิญญาณก็เข้าถึงบุญ (ปุญฺญูปค
ํ โหติ วิญฺญาณํ)

ถ้าสังขารที่เป็น"บาป" ปรุงแต่ง (อปุญฺญญฺเจ สงฺขารํ อภิสงฺขโรติ)
วิญญาณก็เข้าถึง
"บาป" (อปุญฺญูปคํ โหติ วิญฺญาณํ) ฯลฯ

เห็นไหมว่า ท่านแปลคำว่า บาป จากบาลีที่ว่า อปุญญ กันเลย

ก็ตามที่อาตมาเข้าใจอยู่แล้ว ว่า ท่านเข้าใจอย่างนี้ ในวงการพุทธทุกวันนี้ อยู่ในภูมิโลกียะ อย่างนี้กัน เกือบจะทั้งหมดแล้ว

นั่นคือ การแปลวนอยู่ในความวน บาป-บุญ อยู่ ในโลกเดิม หรือวงวนเดิม วนไป-วนมา ก็อยู่ใน โลกเก่า-ภพเดิม ก็อยู่ในโลกเดิมคงเดิม ไม่ได้ออกไปจาก โลกหรือภพ นั้น ไปสู่ โลกใหม่ คือ อยู่ใน โลกียภูมิ ตามเดิม

ก็ไม่มีปัญหานี่ อาตมาก็เข้าใจ ตามที่ท่านหมาย (สัญญา) หรือ มุ่งหมาย (เจตนา)

แต่อาตมาหมาย (สัญญา) หรือ มุ่งหมาย (เจตนา) นั้น ท่านก็คงเข้าใจ ความมุ่งหมาย (เจตนา) หรือการสำคัญมั่นหมาย (สัญญา) ของอาตมา..นะ

อาตมาเห็นจริงอย่างนี้และทำได้อย่างนี้ จึงแปลตามที่ มีจริงเป็นจริง ของอาตมา
ส่วนท่านก็เห็นจริงเป็นจริง ตามที่ท่านเป็น และมุ่งหมาย ก็แตกต่างกันตรงนี้

ดังนั้น อภิสังขาร ตัวต่อมา ที่ว่า อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน ก็มาศึกษากันต่อ
ตามพระไตรปิฎก ท่านก็แปลไว้ว่า อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร
คำตรัสนี้มีคำว่า อกุศล และ กามาวจร ชัดๆ (ไม่ใช่คำว่า กามภพ นะ)

คำ ๒ คำนี้ จะบ่งชี้ได้ว่า ความเข้าใจของใคร จะอยู่ในภูมิไหน? ภพไหน? ก็จะอธิบายความจริงของตน อย่างใดอย่างนั้น ตั้งใจศึกษาดีๆ

อภิสังขาร บทนี้ คำตรัสมีสั้นนิดเดียว แต่ลึกซึ้งสุดวิเศษ เป็นโลกุตระ ที่ต้องมีสภาวะของ ปรมัตถธรรม กันอย่างสำคัญ จึงจะแยกโลกียะ แยกโลกุตระได้จริง

ผู้ยังไม่มีปรมัตถ์ ก็เข้าใจอยู่แต่ในมิติโลกีย์ คือ ยังวนอยู่ใน โลกเดิม คือ โลกของปุถุชน วนใน บุญ-บาป หรือ กุศล-อกุศล ซึ่งวนไปวนมา สุข-ทุกข์...ทุกข์-สุข ต่ำแล้วก็สูง สูงแล้วก็ต่ำ อยู่ในโลกีย์เดิม เช่น เป็นคนขึ้นสูง แล้วก็วนมาตกต่ำ จากเป็นคนต่ำ แล้วก็วนขึ้นสูงได้อีก ก็วนอยู่อย่างนี้ ชั่วกัปป์ชั่วกัลป์

ก็อยู่ในโลกเดิม คือ โลกีย์ เมื่อทำกุศลก็ดี ก็ได้แค่ กุศลที่เป็นกัลยาณชน ซึ่งก็ไม่พ้นภาวะ ไตรลักษณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป แล้วก็วนมาเกิดขึ้น – ตั้งอยู่ - ดับไป อีก ตาม สามัญลักษณ์ (ลักษณะที่เป็นของ ปุถุชนสามัญคนทั่วไป)

เพราะยังไม่สามารถมี ปัจจัตตลักษณ์ (ลักษณะที่ได้บรรลุเฉพาะตน เป็นวิสามัญ เป็นของพุทธ โดยเฉพาะ) ตามทฤษฎีของ โลกุตระ

 ปัจจัตตลักษณ์ นั้นคือ คนผู้นั้นสามารถ ชำระจิตสันดานให้หมดจด (สันตานัง ปุนาติ วิโสเธติ)ได้สำเร็จ ซึ่งชำระจิตอกุศล ของตนเฉพาะตน ด้วยตนเอง ตามทฤษฎีของ โลกุตระ ที่เป็นทฤษฎีลึกซึ้ง ละเอียดแม่นคม ชัดกว่า โลกียะ หลายนัย

เพราะ ปัจจัตตลักษณ์ นี้ ไม่ใช่แค่เห็น ความเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ที่วนอยู่ แล้วๆเล่าๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นความรู้ แค่เห็นแจ้งธรรมชาติแห่ง ความวน ไม่รู้จบเท่านั้น แต่ไม่สามารถทำให้ ความวน นั้น จบลง สิ้นสุดลง เลิกวน เลิก เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป อีกเด็ดขาดได้สำเร็จ ตลอดไป ไม่เกิดมามี ความวน นั้นอีกเลย

ปัจจัตตลักษณ์ เป็นความสามารถที่ทำให้ จิตสันดานอันเป็นอกุศล เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป นั้นหยุดวน เด็ดขาดลงได้ จึงหมดความวนของ ความเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป เด็ดขาด ความเป็น โลกเก่า หรือ โลกียะ นั้นดับไปจากจิตใจของตน

จึงเป็นไตรลักษณ์ ที่ ไม่มีอกุศลจิตเกิดขึ้น แล้ว เมื่อยังมี จิตที่ยังเหลือ (เสส) คือ กุศลจิต อัน อปุญญ แล้วนี้อยู่ ก็อยู่อย่าง อาเนญชา คือ ตั้งอยู่ อย่างพิเศษ เป็น ความตั้งอยู่ ที่ไม่หวั่นไหว ต่อโลกธรรม (ผุฏฐัสสะ โลกธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ น กัมปติ) ซึ่งเป็นโลกเก่า นั้นได้ และอยู่ได้อย่างถาวร, มั่นคง, ยั่งยืน ฯลฯ ด้วย

แม้ ความดับไป คือ อกุศลจิตนั้นๆดับไป ก็ดับไปอย่าง ถาวร, ยั่งยืน, ตลอดไป ไม่วนไปวนมา เกิดขึ้นใหม่ อีก ดับไปแล้วไปเลย พ้นไปสู่ที่สูง แล้วก็มีแต่จะสูงขึ้นๆ ไม่วนลงมาหาต่ำอีกแล้ว

ซึ่งต่างจากโลกียะ ยังต้องมีการตกต่ำ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ยังวนไปวนมา ไม่ด้านใด ก็ด้านหนึ่ง วนแล้ววนเล่า สูงแล้วก็ต่ำ ต่ำแล้วก็สูงอยู่ ไม่จบสิ้นเด็ดขาด เป็น ความวน อยู่ในโลกแห่งโลกีย์สามัญ ที่เป็นโลก ปุถุชน

เรื่องของความเป็น โลก พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่อง โลก ครบพร้อมทั้งโลก ที่เรียกว่าโลกีย์ และโลก ที่เรียกว่าโลกุตระ จึงเรียกว่าเป็น ผู้รู้แจ้ง โลก คือ โลกวิทู

ผู้รู้แจ้งโลก โลกียะ โลก โลกุตระ ฉะนี้ ชื่อว่า ผู้รู้โลก โลกวิทู รู้จักรู้แจ้งรู้จริง เทวดา มาร พรหม รู้โลกทั้ง ๒ โลก ทั้งโลกนี้ (อยังโลก) และทั้งโลกหน้า (ปรโลก)

เพราะรู้จักรู้แจ้งจิตวิญญาณ ที่เป็น มาร ในตน แล้วกำจัด จิตวิญญาณที่เป็นมาร ของตน มารตาย จิตวิญญาณของผู้นั้น ก็เกิดใหม่เป็น เทวดา (อุบัติเทพ) ถ้าชำระจิตสันดาน ของตน (ทำบุญ) จนกระทั่ง สะอาดหมดจด จึงเป็น พรหม (วิสุทธิเทพ)

พรหม แบบทฤษฎีพุทธ หมดตัวตน เพราะ ตัวตน ถูกชำระกำจัดไปหมดสิ้น ไม่มีตัวตน ตัวตนหมดสิ้น สะอาด การยึดตัวพรหม จึงไม่มีตัวตนให้ยึด

พรหม แบบทฤษฎีที่ไม่ใช่พุทธ หรือพุทธที่มิจฉาทิฏฐิ ยังมีความเป็น เทวนิยม จึงเป็น อัตตวาทุปาทาน คือ เข้าใจ อัตตา แค่ยึดได้เพียง ที่พูดๆไปเท่านั้น โดยญาณปัญญาแท้ ยังไม่สามารถได้ สัมผัส ความเป็น อัตตา จริง ไม่ว่าจะเป็นคนนอกพุทธ หรือ ชาวพุทธที่ยังมิจฉาทิฏฐิอยู่  

เพราะ พรหม ตามทฤษฎีที่ไม่ใช่พุทธ หรือแม้เป็นพุทธ แต่ยังมิจฉาทิฏฐิ ก็จะยังยึดตัว พรหม อยู่อย่างมิจฉาทิฏฐิ ทั้งในมรรควิธี มี ผล จึงมีผลธรรมผิดๆ

ผู้ไม่เข้าใจหรือไม่รู้จักความเป็น ภูมิโลกุตระ ย่อมไม่มีทางที่จะเดินเข้าสู่โลก ที่เป็น โลกุตรภูมิ ได้แน่ๆ

เพราะยังศึกษา ไม่สัมมาทิฏฐิ (ยังมิจฉาทิฏฐิ) นี่แหละ เป็นเรื่องหลักเรื่องใหญ่

พุทธจึงเป็นศาสนาที่ รู้จักรู้แจ้งรู้จริง ความเป็น เทวดา-มาร-พรหม อันเป็น เทวดา-มาร-พรหม ที่สามารถรู้ได้ด้วย อาการ – ลิงคะ – นิมิต - อุเทศ ของความเป็น จิต - เจตสิก – รูป - นิพพาน อย่างเป็นปรมัตถธรม โดยมี ธรรมจักษุ ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า วิชชา ๘ จึงสามารถรู้ รูปกาย รู้ นามกาย สัมบูรณ์แท้จริง

จึงสามารถ พ้นโลกเก่า เลื่อนขึ้นสูงสู่ โลกใหม่-โลกอื่น (ปรโลก) ได้ เรียกว่า พ้นแล้ว (วิมุตต) ไม่วนเวียนอยู่ใน โลกเก่า (อยังโลก) อีกแล้ว ออกนอกโลกเก่า ไปได้แล้ว ล่วงพ้น (สมติกฺกม) ไปจากโลกีย์-โลกเก่า จึงไม่ต้อง ทำบาป-ทำบุญ วนอยู่ใน โลกเก่า กันอีกแล้ว

เลื่อนชั้นขึ้นสู่ โลกอื่น อันเป็น โลกใหม่ (ปรโลก) คือ โลกุตระได้แท้จริง

จึงแตกต่างจากความรู้ความเข้าใจของ ผู้ยังยึด ความวนของโลกีย์ อยู่ ไม่สามารถสูง เลื่อนชั้น ขึ้นสู่ชั้นภูมิที่สูงยิ่งขึ้น ซึ่งความเป็น โลก แบบโลกุตระ นี้เป็นสภาพหมุนรอบ เชิงซ้อน (คัมภีราวภาโส) ที่ซับซ้อน สูงขึ้นๆจริง ไม่ใช่วนไปวนมา ต่ำๆ-สูงๆอยู่ ไม่อาจล่วงพ้น (สมติกฺกม) ชั้นโลกีย์ที่หมุนวนไปได้ จึงเป็นเรื่องที่ เห็นตามได้ยาก (ทุทฺทส) รู้ตามได้ยาก (ทุรนุโพธา) สงบพิเศษ (สันตา) ฯลฯ จริงๆ

เอาล่ะ..ทีนี้ มาแจกแจงจากคำตรัสของ พระพุทธเจ้าดูให้ชัด ยิ่งๆขึ้นอีกที

อปุญญาภิสังขาร มีพระพุทธวัจนะว่า

อกุศลเจตนา เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร

ซึ่งพระบาลีก็คือ อกุสลา เจตนา กามาวจรา อยํ วุจฺจติ อปุญฺญาภิสงฺขาโร

ก็อีกแหละ ตามภูมิอาตมา ซึ่งจะเอาสภาวะธรรม ที่อาตมามีเป็นหลัก ก็เข้าใจได้ว่า อกุศล นั้นคำหนึ่ง เจตนา นั้นอีกคำหนึ่ง ที่มีในประโยคนี้ ให้ความหมายอยู่ชัด

ดังนั้น อปุญญาภิสังขาร จึงหมายความว่า ความจงใจ (เจตนา) ความมุ่งหมาย (เจตนา) ปฏิบัติตนให้เกิด ความดีงามถูกต้อง (กุศล) ที่ท่องเที่ยวไปใน แดนกามภพ (กามาวจร) นั้นได้ทำมาแล้วด้วย ปุญญาภิสังขาร ได้ทำ กุศล ที่เป็น บุญ จริงแล้ว

กระทั่งสามารถ ได้บุญ คือ ได้ ชำระจิตสันดาน หรือ ชำระกิเลสสะอาดผ่องใส แล้ว จนถึงขั้น ล่วงพ้น (สมติกฺกมติ) หรือพ้นแล้ว (วิมุตต) ถึงขั้น อปุญญาภิสังขาร ก็ไม่ต้องชำระจิตสันดาน นั้นอีกแล้ว

เพราะ อกุศล เป็น เจตนา คือจงใจ หรือ มุ่งหมายชำระ ก็ได้ชำระสำเร็จลงแล้ว "อภิสังขาร" (การจัดแจงอย่างสัมมา, การปรุงแต่งอย่างสัมมา) นี้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้อง ทำบุญ อีก เป็น อปุญญ แล้ว ไม่ชำระ กันอีกแล้ว เสร็จกิจแล้ว

และมีคำว่า กามาวจร นี้แหละที่ยืนยันชัดแท้ว่า ปฏิบัติในขณะที่ ท่องเที่ยวอยู่ใน แดนกามภพ แท้ๆ ไม่ได้หลับตาปฏิบัติ เข้าไปอยู่ใน ภพภายใน ใน ภวังค์ เลย

เพราะคำตรัสที่ว่า กามาวจร นั้น ระบุอยู่ชัดๆโต้งๆทั้งใน ปุญญาภิสังขาร และมีทั้งใน อปุญญาภิสังขาร ยิ่งใน ปุญญาภิสังขาร ยังมี รูปาวจร อีกด้วย ซึ่งชี้บ่งชัดเจนว่า ในภาค ปุญญาภิสังขาร นั้นต้องชำระจิตสันดาน ทั้งส่วนที่ ท่องเที่ยวอยู่ใน กามภพ และทั้งส่วนที่ ท่องเที่ยวอยู่ใน รูปภพ  

ส่วน อปุญญาภิสังขาร นั้น ไม่จำเป็นต้องพูดถึงคำว่า รูปาวจร อีก เพราะท่านผู้เข้าสู่ภูมิ อปุญญาภิสังขาร นี้ ดับกิเลสใน รูปาวจร มาแล้ว แม้แต่กิเลสใน อรูปาวจร ด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงเป็น ผู้ปกติมีชีวิต ท่องเที่ยวอยู่ใน กามภพ สามัญ

เมื่อบรรลุแล้วจึงมี ความทรงอยู่อย่างเป็นใหญ่ ในภพนั้นภูมินั้น (อภิธรรม)

เป็น ผู้อยู่เหนือโลกนั้น (โลกุตระ) จึงไม่ได้หนีไปไหน ก็ยังอยู่ที่ กามภพ และมีกามาวจร อยู่ตามเดิม แต่ จิตใจสูงขึ้น หลุดพ้นจากความเป็นคน ในภพเก่า นั้นแล้ว

จึงดำเนินชีวิต หรือ ท่องเที่ยวอยู่ใน กามภพ นั้นเองคงเดิม ที่เรียกด้วยภาษาว่า กามาวจร คือ ท่องเที่ยวไปใน แดนกามภพ (กามาวจร) นั้นเอง และบัดนี้ มีชีวิตปรุงแต่ง เป็น อปุญญาภิสังขาร แล้ว ไม่ต้องชำระกิเลสกันอีกแล้ว (อปุญญ)

ทีนี้คำว่า อกุศล ที่เป็นคำตรัส คำนี้แหละ ที่ทำให้ผู้มีภูมิโลกียะ เดาเอาไม่ได้ ยิ่งคนผู้มีภูมิรู้อยู่ แค่พยัญชนะ ไม่รู้สภาวธรรม แม้จะพยายามจินตนาการตาม ก็ไม่ง่ายนัก

ก็พยายามฟังดีๆ ฟังด้วยดี จะได้ปัญญานะ สุสฺสูสัง ลภเต ปัญญัง
คำตรัสของพระพุทธเจ้า มีว่า
อกุศล เจตนา กามาวจรา นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร เท่านี้เท่านั้น

อกุศล ในภูมิ อปุญญาภิสังขาร นี้ หมายถึง ผู้ที่ยังมีชีวิต กามาวจร ตามที่พระพุทธเจ้า ทรงยืนยันไว้

คือ คนที่ยังดำเนินชีวิต ท่องเที่ยวอยู่กับกามภพ นี่เอง

ไม่ใช่หมายเอา คนที่เอาจิตเข้าไปจมอยู่กับ ภวภพ โดยไม่รับรู้ กามภ

ภวภพ ก็คือ รูปภพ และอรูปภพ ซึ่งผู้ที่อยู่กับ กามภพ ก็คือ ชีวิตผู้อยู่กับภาวะ เปิด ทวาร ๕ และมีสติรู้รอบ ด้วยทวารใจครบอยู่ ตามสามัญของคนตื่น ทุกทวารทำงานปกติ รู้จักรู้แจ้งรู้จริง (คือใจรู้) ทุกอย่างที่ สัมผัส ด้วยทวารนั้นๆ อันมี ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย

ส่วนผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธเจ้า คือ ไม่ได้ปฏิบัติไปจาก เบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องปลาย เป็นลำดับ ก็จะไม่เริ่มจากเบื้องต้นคือ กามภพ จึงตัดลัดเข้าไป ปฏิบัติอยู่กับ ภวภพ เป็นชีวิตผู้อยู่กับภาวะ ปิด ทวาร ๕ สนิท ไม่รู้อะไรจากทวาร ๕ ภายนอกแล้ว มีรู้อยู่แต่กับทวารใจ อยู่กับภพของใจ เท่านั้น

ซึ่งได้แก่ ผู้ที่ปฏิบัติเอาแต่หลับตา นั่งทำสมาธิ หรือ ทำฌานแบบอยู่ในภวังค์

คือได้กายอย่างเดียวกัน กายอย่างเดียวกัน (คือไม่มีนิวรณ์) แต่มีสัญญาต่างกัน (แบบพุทธกับฤาษีก็ต่างกัน)

ของพุทธนั้น ถอนเชื้อของความเป็นสัตว์ออกไป ไม่ใช้วิธีกดข่ม หรือ ลืมทิ้งไป

คือ ภวภพ นั่นแหละ เป็นหลักปฏิบัติที่มั่นใจว่า เป็นทางเอก ไม่เชื่อว่า สัมมาสมาธิ ของพระพุทธเจ้า นั้นเกิดจาก การปฏิบัติลืมตาด้วย มรรค ๗ องค์ เป็นทางเอ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๕๒-๒๘๑  

ผู้ที่ปฏิบัติเอาแต่หลับตา นั่งทำสมาธิ หรือ ทำฌานแบบอยู่ในภวังค์ จึงปฏิบัติไม่ใช่ทำ สัมมาสมาธิ ในขณะมีชีวิต ลืมตาสามัญ คนมีงานมีการ มีอาชีพปกติ

 

ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

ผมตัดกิเลสได้บ้างในเรื่องโลภะ โทสะ โมหะ อยากเห็นไม่อยากเห็น อยากได้ ไม่อยากได้ อยากมี ไม่อยากมี ศีล ๕ ยังทำได้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมดคันไฟ จะถือศีล ๘ ได้ไหม?
ตอบ... ก็คุณก็ต้องพยายาม มดคันไฟ มันมีอยู่ตลอดที่ไหน ทำเท่าที่เราจะทำได้ การปฏิบัติธรรม เราอาศัยศีล ในการปฏิบัติลดกิเลส ผิดศีลได้ไหม?...ได้ แต่มีวิบาก มันสุดวิสัย ก็ต้องยอมรับวิบาก ยังดีกว่าคุณเจตนา เลอะเทอะไปหมด ไม่ได้กำหนด แต่บางครั้ง ก็ต้องยอมเสียสละ สิ่งน้อยเพื่อสิ่งมาก เสียสละบาปน้อยหนึ่ง เพื่อทำสิ่งหนึ่ง ที่ได้มากกว่า แต่ไม่ใช่สอนให้เลี่ยงหลบ ถ้าเราไม่เจตนา ก็ไม่ครบองค์ ๕ ปาณาติบาต ( ๑.รู้ว่าสัตว์มีชีวิต ๒.สัตว์นั้นมีชีวิต ๓.เจตนาฆ่า ๔.พยายามฆ่า ๕.สัตว์ตาย)

ถ้าจะแปลกุศลว่า ตัดให้เตียน และจะแปลอกุศลว่า ไม่ต้องตัดแล้ว ได้หรือไม่?

ตอบ... ได้ ใช้ภาษาให้ตรงสภาวะ ใช้ได้ เหมือนกับคำว่าบุญ คือการชำระกิเลส อปุญญะก็คือไม่ต้องชำระกิเลสแล้ว

บุญเป็นปัญญา กุศลเป็นเจโตได้หรือไม่?

ตอบ... จะแยกไปทำไม กุศลก็แปลว่าความฉลาดได้ด้วย กุศลมันตัวกว้าง บุญคือ การชำระกิเลส พ่อครูก็ตอบไม่ได้ตอนนี้

ขอวิจารณ์การเมือง... ตอนนี้จะมีการกู้เงิน ๒.๒ ล้านๆบาท มากที่สุด เท่าที่เมืองไทย จะกู้ต่างชาติ รัฐบาลกู้เงินม าเพื่อบริหารบ้านเมือง ก็มันเหมือนกับ พ่อบ้านดูแลบ้าน บริหารบ้านของตน สิ้นท่า ไม่มีทางทำมาหากิน ก็ต้องไปกู้เงิน มาเลี้ยงดูบ้าน แสดงว่า คนดูแลบ้าน ไม่มีทาง ไม่มีท่า ว่าจะดูแลคนในบ้าน ไม่ให้เป็นหนี้ เพราะกู้หนี้ ก็เป็นหนี้ทั้งบ้าน คนกู้เดี๋ยวก็ตายไป แต่คนรับแบกภาระหนี้ คือคนในบ้านต่อไป เป็นบาปเวร เมื่อไม่มีความสามารถ ก็ให้คนอื่นมาทำแทน แล้วก็ทำอย่าง ตะกรุมตะกราม ไม่เกรงใจใคร เมื่อคำนวณแล้ว ดอกมันจะไปทบกันอีก ไม่รู้จักเท่าไหร่ แล้วก็บอกว่า ๕๐ ปีจะใช้หมด แต่ว่าดอกจะทบต้น ไปอีกเท่าไหร่ ไม่รู้ คือแม้เรา ไม่จบเศรษฐศาสตร์ ไม่มีปัญญามากมาย ก็ยังดูออก แล้วก็ดันทุรังทำ ซึ่งในหลวง ท่านให้ทำเศรษฐกิจพอเพียง ก็ไม่เชื่อ แม้แต่ครูบาอาจารย์คนไหน สอนให้ทำ เศรษฐกิจพอเพียง ให้ไปรอดได้ ก็ไม่มี

ประชาชนที่เฉยๆ เห็นอยู่รู้อยู่ ก็ไม่ออกมารณรงค์ช่วยกัน แม้จะเห็นรูปรอยว่า รัฐบาลนี้ จะมีแนวโน้ม จะให้เสียดินแดน หรือว่าเรื่องพลังงานก็ตาม ถ้ารัฐบาล หรือนายทุนถูก ก็ต้องฟ้องร้องเขา แต่นี่ไม่กล้าฟ้องร้อง เพราะกลัวถูกแฉหลักฐาน ประเทศไทย มีประชาชน ไม่เอาตาดูหูแล ที่จะไปต้าน หรือล้มพวกนี้ลง มันจะไปไหวหรือ มันเดือดร้อนสาหัสแล้ว แล้วเขาก็มอมเมา คนระดับล่าง ครอบงำคนไม่รู้เรื่อง ใช้จิตวิทยาเก่ง ครอบงำความคิดเก่ง ประเทศชาติทุกวันนี้ มันอุดมสมบูรณ์ แม้คนจนคนยาก เขาก็มีกินอยู่ ไม่เดือดร้อนถึงขั้น ตีรันฟันแทง ก็ปล่อยให้โกงไป คนจนมันไม่มีให้โกง และคนที่โกงอย่างซับซ้อน มันก็ยังมีให้โกง เพราะมีภาษี ไปหมุนเวียนอยู่ต่อไป อัตราการโกงนั้น มีมากกว่าภาษีที่ได้มา ก็ช็อต ไม่ทันกิน ต้องไปกู้

อโศกหลุดจากวงจรพวกนั้น แต่ก็ไม่พ้น ถ้าประเทศเป็นหนี้ เราก็ต้องแบกภาระไปด้วย เราไม่เสียภาษีเงินได้ เพราะแต่ละคน ไม่มีเงินได้ แต่เราก็ต้องเสียภาษีการค้า ภาษีแว็ต หนัก และเราไม่ได้ทำมาหาเงิน เพื่อส่วนตัว แต่เราภาษีแว็ต ให้ส่วนรวม แต่ถ้าเป็น แต่ละคน จะไม่เสียภาษีรายได้ส่วนบุคคล เราเสียแต่ภาษีก้อนโต ที่ส่วนกลาง เราได้รายรับมา เราเสียในอัตราก้าวหน้าด้วย เราเสียให้รัฐอยู่

อโศกเราทำอย่างพึ่งตนเองได้ มีเหลือเฟือ เพื่อจุนเจือสังคมด้วย อโศกมีหลักคือ ๑.ไม่เป็นหนี้ ๒.ทำงานเลี้ยงตนให้รอด ๓.มีส่วนเหลือส่วนเกิน เพื่อจุนเจือสังคม

พระพุทธเจ้าสอนให้เราไม่ไปเสีย เวลา ทุนรอน แรงงาน ไปกับกิเลส เช่นโลกอบาย เราพ้นมา เราก็ได้คืนมา เอาเวลา ทุนรอน แรงงาน มาทำสิ่งดี นี่คือเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ คนกินเหล้า เสียเวลากินเหล้า กินแล้วเสียเวลา ฟื้นมาเป็นคนอีก เงินก็เสีย ดีไม่ดี ทำชั่วอื่นอีกได้ เราก็มาเลิกอบาย ถ้าประเทศไทย เข้าใจธรรมะพระพุทธเจ้า แล้วมาเลิกอบายได้ อย่างอโศก มีศีล ๕ กันอย่างนี้ แถมไม่กินเนื้อสัตว์ด้วยก็ดี สังคมไปรอด ขอยืนยันว่า สังคมไปรอด เราออกเป็นกฏหมายก็ได้ ศีล ๕ นี่ จับปราบกันให้จริง กฏหมาย เอาแค่ศีล ๕ นี่ก็พอ รับรองว่า ประเทศไทยฟื้นทันที แต่อย่างว่า พูดไปก็เป็นไปไม่ได้ แต่คนไหนเห็นดีด้วยก็ทำ แล้วมารวมกัน เพื่อยืนยันธรรมพระพุทธเจ้า ว่าคนบรรลุศีลธรรม ของพระพุทธเจ้า เป็นอย่างนี้

เป็นสุขไหม สุขสงบจากการรำงับกิเลส ตัวกิเลสตายจึงสงบ มันไม่วุ่นวายแล้ว นี่คือ ผู้ที่อยู่ผู้เดียวไม่มีเพื่อนสอง แม้จะคลุกคลีเกี่ยวข้อง มีการงานกับสังคม

แม้จะอยู่ปะปนกับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของ พระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ในที่สุด-บ้านก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว (เอกวิหารีติ) มิคชาลสูตร ล.๑๘ ข.๖๗

อยู่แต่ผู้เดียวของพระพุทธเจ้า ไม่นานก็บรรลุอรหันต์ ไม่ใช่เอาตัวหนี ออกจากสังคม เขาพาซื่ออย่างนั้น แบบนั้น มันไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย เขาเข้าใจ การอยู่ผู้เดียวไม่ได้ ศาสนาก็ตกต่ำ

ตอนนี้ เขาจะทำพุทธศาสนาสากล กลายเป็นเรื่องครึกครื้น ได้หน้าได้ตา เป็นเรื่อง มหัปปิจฉะไป แล้วก็จะให้แพร่หลาย ถ้าแพร่หลายแล้วยิ่งไม่เข้าท่า เอาของปลอมไปเผยแพร่ มันเสื่อมเสียนะ เราทำของปลอม ให้เป็นของจริง ให้สะอาดก่อนดีกว่า

วิสุทธิเทพเท่ากับพรหมไม่มีรูปร่างแล้ว อุบัติเทพยังมีรูปร่างใช่ไหม?

ตอบ... จิตวิญญาณไม่มีรูปร่าง การเรียกว่า รูปพรหม นั้นก็คือ ผู้สะอาด ระดับหนึ่งแล้ว เช่น พระอนาคามี ก็คือผู้เหลือเศษภายใน แต่สะอาดภายนอกแล้ว ไม่ได้เป็นเทวดา โลกกามอยู่ (เทวดาเสพกามมี ๖ ชั้น) แม้เป็นเทวดาอุบัติเทพ ก็เป็นพรหม ต้องล้างกิเลสไปอีก

พ่อท่านช่วยการเมืองเป็นอัตตาหรือไม่ ถ้าไม่ ทำไมไม่วาง ทั้งที่เป็นเหตุ ให้ขวางคนมาลดกิเลส คนนอก เห็นภาพอโศกเป็นพธม. จึงไม่อยากมาอโศก ถ้าวางการเมือง มนุษย์จะเข้าใจ แสงสว่างอีกมาก

ตอบ... การบ้านคือเรื่องส่วนตัว การเมืองคือเรื่องของส่วนรวม งานการเมือง คืองานศาสนา คืองานส่วนรวม ถ้างานการบ้านนั้นสร้างอัตตา งานการเมือง เป็นงานอนัตตา เพื่อมวลมนุษยชาติ ไม่ได้เพื่อตัวเอง หรือครอบครัว ถ้าไม่ทำไมไม่วาง ตอบ...วางแล้ว จึงไปทำงานอนัตตาได้ คุณมั่นใจถามว่า การเมืองเป็นอัตตา แต่จั่วหัวมาว่า ต้องเป็นอัตตา แล้วทำไมไม่วาง ก็มันไม่เป็นอัตตา จะไปวางทำไม มันเป็นอนัตตา แล้วจะไปวางอะไรอีก คุณสับสนภาษา แล้วบอกว่า เป็นเหตุขัดขวาง คนมาวัด มาขัดกิเลส แต่ว่านี่คือ ทางตรงชัดเลย ใครมาทำงานนี้ ก็มาลดตัวตน ศาสนาที่เอาแต่ตัวเอง ไม่เกี่ยวกับใคร ไม่เอาภาระบ้านเมืองนั้น เป็นศาสนาฤาษี แล้วคุณก็ไปยึดเอา ศาสนาฤาษีเป็นพุทธ คุณยึดแบบผิดๆ ก็มาไม่ได้อยู่แล้ว มันกลับกัน อย่างนี้แหละ

พ่อแม่รักลูกเท่ากันหรือเปล่า หลวงพ่อเด่นบอกว่า ไม่เท่ากัน เราพิเศษไม่เท่ากันใช่ไหม?

ตอบ.. อาจเป็นได้กิเลสยังมีอยู่ แม้ว่าพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน แม้ว่าพ่อแม่เรา จะรักเรา น้อยกว่า เราก็ไม่น่าจะรักพ่อแม่น้อยลง เพราะพ่อแม่ไม่รักเรามาก ความเห็นแก่ตัว เรียกร้อง อยากให้คนรักเรานั้น เป็นกิเลส ให้เราทำความดีงาม เขาก็จะเห็นเอง คนไม่เห็น คนมีความดีงาม ไม่สวยไม่หล่อ ไม่ประจบเอาใจ อย่างทางโน้น ก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องไปหลง ให้ทำเรื่องดีงามต่อไป

หนูฟังธรรมหลวงปู่ไม่เข้าใจ เพราะฟังภาษาบาลีไม่เข้าใจ จะทำอย่างไร?

ตอบ.. ค่อยๆฟังไปทำไป จะค่อยๆเข้าใจ

พระโพธิสัตว์บรรลุธรรมหรือไม่

ตอบ... โพธิ คือความตรัสรู้ แปลว่า สัตว์ผู้มีความตรัสรู้ อย่าไปแปลว่า สัตว์ใต้ต้นโพธิ์ ท่านมีความบรรลุธรรม เป็นธรรมกถึก จึงสอนคนอื่นได้ อย่างโสดาบัน ท่านก็สอนได้ เป็นโสดาบันโพธิสัตว์  .....โพธิสัตว์มี ๙ ขั้น ในเถรวาทไทย ไปเข้าใจว่า โพธิสัตว์ บรรลุธรรมไม่ได้ ถ้าบรรลุธรรม จะไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า โพธิสัตว์ปุถุชน มีความมุ่งหมายว่า จะเป็นพระพุทธเจ้า ก็ไม่นับเป็นโพธิสัตว์ ต้องนับไปตั้งแต่ เป็นโสดาบัน

ดิฉันประมูลที่มาได้ ๔๕ ไร่ที่ชะอำ จะขอถวายพ่อครู เพื่อสร้างชุมชนคนดี เมืองเพชรบ้าง พ่อครูรับไหม จะโอนที่ดินให้เลยค่ะ

ตอบ.. เรามีเงื่อนไขว่า ถ้าถวายที่ดินแล้ว ต้องไม่มีเงื่อนไข ว่าจะเอาไปทำอะไร แต่ถ้ามีเงื่อนไข เราไม่รับซักราย ถ้าใครจะถวายที่ ก็มีเงื่อนไขนี้เป็นหลัก แล้วบางที ก็ไม่รับ เพราะไม่รู้จะเอาไปทำอะไร ขายก็ไม่ออก แต่ถ้าพอทำงานได้ พอขายได้ ก็รับเอาไปทำงานต่อ เราต้องให้กรรมการ ไปดูก่อนรับ ตอนนี้ที่ดินอโศกมีมาก แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ หรือคนไปดูแล มันไม่มีคนพอ จะไปทำ อโศกมีงานตกคน ถ้าสังคมใด คนตกงาน สังคมนั้นเสื่อม คนทำงานมาก จนทำงานไม่ทัน อย่างนี้เจริญ

ทำอย่างไรถึงจะไม่มีความรัก ความรู้สึกนึกชอบ....

ตอบ... มาปฏิบัติธรรม ต้องทำจริงเรียนรู้เลย มันเป็นเรื่องสัญชาติญาณ สัตว์โลกมันมีเพศ ทั้งโลก แม้สัตว์เล็ก จนสัตว์ใหญ่ จนมนุษย์ ก็พัฒนามา จนเป็นคน ที่จริงคนในภาวะ ระดับหนึ่ง เขาไม่มีความรักหรอก เขามีแต่การต่อเผาสืบพันธุ์ เขาก็ไม่มีการปรุงแต่ง ดูดดึงหวงแหน แต่คนถูกครอบงำ มอมเมาความคิด จนมีแต่ของปลอม เสียเวลา แรงงาน ทุนรอน พระพุทธเจ้าท่านพยายาม มาคุมกำเนิด ยิ่งเดี๋ยวนี้ ไม่จำเป็นต้องสืบพันธุ์ ขนาดทุกวันนี้ มีการคุมกำเนิด ก็ยังมีการเอาทารกไปทิ้งกัน เมืองจีน มีการกำหนดเลยว่า ให้มีลูกได้ ไม่เกินกี่คน ต้องมาฝึกปฏิบัติ เรื่องลดละกามจริงๆ จนเข้าใจว่า คนเราไม่ต้อง ไปมีกามก็ได้ เป็นสุขสงบกว่า อารมณ์ที่เคยไปหลงโลก ที่เคยมี ให้หมดไป เห็นได้ด้วยตนเอง ลดละได้จริง แล้วจะเห็น ความเบาสบาย...

จบ