ทำวัตรเช้า งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ ๓๗ โดยพ่อครู
 560412_ เรื่อง ตอบกันด้วยวิญญาณพุทธ ตอน ๖

     
                วันนี้เป็นวันสุดท้าย ของปลุกเสกฯ ครั้งที่ ๓๗ แต่เป็นวันสุกดิบ ของงาน ตลาดอาริยะ ๒๕๕๖ พ่อครูก็จะต้อง พูดสองเรื่อง คือธรรมะปลุกเสกฯ กับเรื่องตลาดอาริยะ

เทวดามาบอกว่า ให้ชี้แจ้งให้พวกเราได้รู้เรื่อง อดีต กับ อนาคต เป็นเรื่องรู้ยาก แต่รู้ได้ ถ้าสัมมาทิฏฐิชัด จิตเข้ากระแส ก็จะรู้ว่าอนาคต เราเที่ยงแท้หรือไม่ ในโลกโลกียะ ไม่มีอะไรเที่ยงแท้  (อนิจจัง) วนเวียนสุขทุกข์ตลอดกาล เป็นสิ่งไร้สาระ ไม่ใช่แก่นสาร วนเวียน ใช้เวลาไม่รู้กี่กัปป์ แต่ละคน เกิดแล้วเกิดเล่า วนเวียนไม่จบ

เรื่อง อดีต กับ อนาคต นั้นเป็นเรื่องที่ทุกคน ได้อัตภาพมาแล้ว ก็ต้องจัดการชีวิต ปัจจุบันเป็นตัวสร้างหรือทำลาย เป็นตัวจัดสรร หรือสังขาร ให้เป็น สุกฏทุกฺกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก คือกรรมที่ทำจะชั่วดี ก็สั่งสมเป็นผลวิบากของเรา

ถ้าโลกีย์ก็เรียนรู้แค่สมมุติ ดีหรือชั่วตามสมมุติสัจจะ ก็สั่งสมกรรมโลกีย์ ยังไม่เข้ากระแส โลกุตระ ไม่ข้ามภพชาติ ก็ไม่สามารถ ข้ามภพชาติได้ เมื่อไม่มีความรู้ ในการ มนสิการ ทำใจในใจไม่เป็น คือทำใจในใจ ไม่สัมมาทิฏฐิ ส่วนผู้รู้สัมมาทิฏฐิแล้ว แต่ยังปฏิบัติ ล้มเหลว ยังทำแบบโลกียะธรรมดา อย่างเก่งก็ได้แค่ ลักษณะความดี เป็นกัลยาณธรรม ขั้นโลกียะ เป็นสุกตทางโลกียะ ไม่ได้สูงส่งอะไร ก็วนอยู่ ตลอดกาลนาน ไม่สามารถ เจริญขึ้นได้ จนกว่าจะรู้ช่องทาง ก็จะรู้จักกรรม

ถ้าเราสามารถเข้าใจ จากการคบสัตบุรุษบริบูรณ์ ฟังธรรม  มีสติสัมปชัญญะ มีสำรวมอินทรีย์ สุจริตกรรม ๓ ได้มีสติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ และก็จะได้ทำโพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ เป็นสติที่พาสู่ การตรัสรู้ จะมีอธิปัญญาสิกขา มีปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ทุกมัคคังคะ เราก็จะมีสติสัมโพชฌงค์ เป็นตัวต้น จะมีธัมวิจัยเป็นสัมโพชฌงค์ ทำงานเต็มที่ นั่นคือมนสิการที่ทำ เป็นทุกกรรมกิริยา ก็ทำกรรมหายใจเข้าออก เอี้ยวแขนไกวขา สำเร็จอิริยาบถอยู่ ทุกกรรมที่เรามีสติสัปชัญญะบริบูรณ์ สติก็จะมี สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ มีการพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ได้ถูก

อันตรธาน ๕ มีผู้ค้นมา อยู่ในอรรถกถาจารย์
อันตรธานมี อย่างคือ
๑. อธิคมอันตรธาน อันตรธานแห่งการบรรลุ ในยุคนี้ไม่มี หายไปแล้ว
๒. ปฏิปัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งการปฏิบัติ พุทธในเมืองไทยเป็นกัน ๙๕ % แต่ว่า ปฏิบัติกันกี่คน ผู้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ ก็ไม่บรรลุ ไม่เจริญในอธิศีล -สมาธิ -ปัญญา -วิมุติ ไม่เป็นไปตามธรรม (อธิคม) ของพระพุทธเจ้า มันไม่สัมมาทิฏฐิ ปฏิบัติก็มิจฉาปฏิบัติ
๓. ปริยัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งปริยัติ พระพุทธเจ้าท่านได้พยากรณ์ไว้ ในเรื่องของ กลองอานกะ คือเหลือแต่ชื่อว่า กลองอานกะ แต่เนื้อกลองเพี้ยนไปหมดแล้ว เช่นเดียวกันกับ ที่เขายึดถือในปรมัติ แต่ไม่มีเนื้อโลกุตรธรรมแล้ว ของปลอม จะดูสวยดีด้วย เหมือนกลองอานกะ กลายเป็นปริยัติที่เพี้ยน แต่ก็ยังดี ที่มีเหลืออยู่ ที่พ่อครูอธิบาย จึงไม่ตรงกับ ที่เขาอธิบายมา เพราะที่ถูกต้อง อันตรธานไปแล้ว
๔. ลิงคอันตรธาน  อันตรธานแห่งเพศ  คือสมณะเพศก็เพี้ยนอีก คือกลายเป็น สมณะเพศที่ปลอม มาอาศัยทำมาหากิน มาบวชทำลายศาสนา มาทำเดรัจฉานวิชา มาหลอกลวงคน หาเงินบำเรอใจตน อยากใหญ่โต อยากร่ำรวย หาวิธีการ ประเล้าประโลม กันมากมาย มีสำนักที่เป็นตัวอย่างชัดเจน เลวร้าย ทั้งสายศรัทธา และสายเจโต สายศรัทธาก็หลอกเอาเงิน สายเจโตก็หลอกให้หลง มีเท่าไหร่ เทเงินให้หมด แล้วเอาไปผลาญสร้างใหญ่โต เป็นไปเพื่อความมักมากใหญ่โต มอมเมาด้วยโลกียรส โลกียารมณ์

ดังนั้น ปริยัติที่เพี้ยนไปหมด ทั้งสายศรัทธาหรือเจโต จึงไม่เข้าใจลิงค หรือความแตกต่าง ก็เลยมีแต่นักบวชที่ไม่ใช่สมณะเพศ ยิ่งกว่าหีนเพศ (ฆราวาส) ผู้ตั้งใจบวช กลับกลายเป็น พวกลักเพศ (มาปลอมบวชมาขโมยเพศ) แล้วคนก็ให้เอกสิทธิ์ ที่คนยกให้หลายอย่าง เชื่อถือเคารพ ให้เกียรติเคารพ ให้ของทาน ลุกรับ อัญชลี แล้วใช้สิ่งเหล่านั้น เป็นอุปกรณ์ทำเลว แล้วซับซ้อน หลอกคนให้เลื่อมใส เพื่อได้สิ่งที่ต้องการ กอบโกย จนหลงตนว่า ตนมีบารมี แล้วก็ทำใหญ่ ทำด้วยสิ่งที่หลงผิด เขาไม่รู้ตัว แต่ที่ทำทั้งรู้ก็มี แต่จริงๆรู้ตัวเหมือนกันว่าตน มีสสังขาร (การประกอบปรุงแต่งอย่างบาป) และเลวร้าย

ดังนั้น เพศสมณะก็อันตรธาน ยิ่งมาใช้รูปเป็นนักบวช แล้วมาทำพฤติกรรมบาป บาปก็ยิ่งแพง ยิ่งสูง

๕. ธาตุอันตรธาน  อันตรธานแห่งธาตุ คือธาตุตั้งแต่วัตถุ จนถึงมโนธาตุ จิตธาตุ หรือวิญญาณธาตุ

ธาตุวัตถุที่ดี อย่างพระบรมสารีริกธาตุ ที่แท้จริงก็อันตรธาน มีแต่ของปลอมเสียเยอะ เป็นยุคที่อันตรธานเกือบหมด เราก็มากู้กลับ อย่างเรื่องพระบรมสารีริกธาตุ พ่อครู ก็มีผู้เอามาให้ ไม่ขาดมือ จริงหรือไม่จริง ก็ไม่คิดที่จะพิสูจน์ ถือว่าเป็นเครื่องอาศัย อย่างพระพุทธรูป ที่เราสร้างมานั้น คือของไม่จริง คือของสมมุติทั้งสิ้น เราก็เคารพได้ สนิทใจ เป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า

พ่อครูก็ทำพระพุทธรูปมาใช้ ซึ่งอาจมีปางที่สอง ของพระพุทธรูปชาวอโศก ก็มีคนมา สเก็ตให้มา เรียกว่าปาง วิชิตอวิชชา มีพายุสลาตัน พัดกระหน่ำ อย่างแรงเลย ผ้าจีวร ปลิวเลย ถือว่าเป็นผู้ห้ามลม วิชิตอวิชชา คือผู้ชนะอวิชชา มันก็เกิดตามที่ พ่อครูจินตนาการ ก็ไม่ได้คิดฟุ้งฝัน ก็เกิดตามเหตุปัจจัย จะเกิดหรือไม่ก็ไม่รู้ ตอนนี้ ผู้ที่รู้เรื่อง ก็อย่าเพิ่งไป ขยายผลอะไรมากมาย

ถือว่าเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า คนเราต้องอาศัยศรัทธานำ คนตีทิ้งศรัทธาก็ผิด คนหลงศรัทธา ทิ้งปัญญา ก็ผิดทั้งคู่ ต้องอาศัยทั้งสองอย่างคู่กัน

พูดถึงนามธรรมในวิญญาณธาตุ ที่เราต้องรู้ และทำความเกิด ของธาตุจิต ที่เราได้เอา ปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าตรัส ในวิภังคสูตร ล.๑๖ ข้อ ๒ เป็นต้นไป พ่อครูอ่านข้อที่ ๗

 [๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด (ชาติ) ความบังเกิด (สัญชาติ) ความหยั่งลง เกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ

                ชาติ คือ การเกิดรวมๆ เป็นคำกลางๆ
                สัญชาติ คือ คำว่าสัญ เป็นรากฐานของสัญญา คือการกำหนดหมาย เมื่อกำหนดแล้ว ก็จะมีการเกิด (อย่างวิชชา หรืออวิชชา) ก็จะกำหนด ให้มีการเกิดต่อไป แล้วแต่วิชชา หรืออวิชชา จะสั่งสมเป็นสัญชาติญาณ เป็นต้นทางที่มีพลัง สั่งสม พาเราเป็นไป โดยอัตโนมัติ ถ้าเรามีสติมากพอ เราก็เลือกเฟ้นได้ ถ้าชั่วหนัก ก็จะมีสติ พาชั่วหนักเลย เพราะมันหลงความชั่วว่าดี ควรทำสิ่งชั่ว อย่างนี้คือพวก ดำตฤษณา (อ่านว่าดำ-ริด-สะ-หนา) ถ้าสั่งสมชั่วมาก ก็เป็นสัญชาตญานเลวมาก

                สัญชายติ =(ก) เกิด, กิริยาอาการของการเกิด
                โอกฺกันติ =(อิต) การเข้าไป, การปฏิสันธิ, ความหยั่งลง, การปรากฏ
                โอกฺกันติก=(คุณ) เกิดขึ้นบ่อยๆ, เกิดขึ้นอีก  ถ้าเกิด”ความยินดี” (ปีติ) ต่อ ก็จะทำให้ทำเกิด ความต่อกันขึ้น จึงเกิดยาวต่ออีก เป็นระยะๆ ยังไม่ขาดตอน เกิด-เกิด-เกิด ต่อๆกันไป ไม่มีขาดการเกิด จึงชื่อว่า โอกฺกันติก เราต้องควบคุมการเกิด ให้เป็นโพชฌงค์ อย่างต่อเนื่อง เป็นสัญชายติ ที่เป็นโพชฌงค์ ต่อเนื่อง ไม่ให้ขาดกระแส โลกุตระ ไม่ให้กระแสโลกียะมาแทรก ก็จะเข้าไปสู่การเกิด อย่างนิพพัตติ

นิพพัตติ คือ เข้ากระแส สั่งสมโลกุตระไปเรื่อยๆ จิตเราต้องสั่งสม โสตาปันนะ สั่งสม อวินิปาตธรรม คือเข้ากระแสอย่างน้อย หนึ่งในสี่ส่วน (ส่วนแรก ๒๕ % คือโสตาปันนะ - ส่วนสอง ๕๐% คืออวินิปาตธรรม - ส่วนสาม ๗๕% คือนิยตะ - ส่วนสี่ ๑๐๐% คือ สัมโพธิปรายนะ) จะสั่งสมเป็น นิพพัตติ ก็สั่งสมความเกิด ที่เข้ากระแสไปเรื่อยๆ ถ้าเต็ม ๕๐ ถือว่าเข้าขีด ถ้าเลย ๗๕ แปลว่าเที่ยงแน่นอน จะเจริญถาวรมั่นคง ไปเรื่อยๆ เป็นนิยตะ ถ้าถึง ๗๕ ก็คือถึง สัมโพธิปรายนะ คือไม่มีตกต่ำ ไปสู่นิพพานแน่นอน นี่คือ การสั่งสมธาตุจิต ให้เป็นธาตุเจริญสุดท้าย ไปถึงอภินิพพัตติ

อภินิพพัตติ คือ การเกิดที่เลิศยอดที่สุด ถือว่าเป็นอรหัตมรรค อรหัตผลได้เลย

การจะให้จิตปฏิสนธิ อย่างโอกกันติ หรือเข้าไปในทิศทางที่ควรเป็น จะทำอย่างไร ต้องมีภูมิปัญญารู้ สุกฏทุกฺกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก แล้วพากเพียรปฏิบัติ จะต้องทำ ปัจุบัน เท่านั้น ที่เป็นตัวแปร ให้ไปสู่โลกียะ หรือโลกุตระ จะเจริญหรือเสื่อม อย่างหมู่กลุ่มเราพาทำ

จะให้เจริญได้ ต้องรู้ทุกกรรมกิริยา โดยเฉพาะ ในจิตที่เป็นประธาน ให้จิตสั่งสมปัจจุบัน สั่งสมเป็นอดีต และปัจจุบัน ถ้าเราอยากทำให้ชาติหน้า เที่ยงแท้ให้ได้ ทำให้อนาคตเที่ยง ด้วยการศึกษา ด้วยความจริง ที่เราจะพยากรณ์ อนาคตตัวเองได้ เรื่องอดีตเป็นตัวสั่งสม แต่ปัจจุบัน คือการเกิด เมื่อเราได้ชัดเจน ได้สังวรระวังกรรม ตามบารมี อย่าตะกละตะกราม ต้องทำตัวแปรในปัจจุบัน

อ่านเวทนาให้เป็น ทำเวทนาในเวทนา รู้จักสราคะ สโทสะ สโมหะ เราอ่านตักกะ วิตักกะ ว่ามีกามหรือพยาบาท มาร่วมปรุงหรือไม่ เป็นอาการโลภะหรือโทสะ แล้วก็จัดการมัน ทุกปัจจุบัน สั่งสมเป็นอดีต ที่เข้ากระแสโลกุตระ เป็นหน่วยกิจ ที่ทำได้จริงๆ

ทำได้ในโลกอบาย ในโสดาบัน ก็ต้องรู้ฐานะของเรา อ่านจิตของเรา จะทำเรื่องนี้ให้ชนะ จนยิ่งมั่นใจว่า คุณปิดอบายได้เลย ศีลของคุณปกติ

ไม่อยากฆ่าสัตว์จริงๆ เมื่อก่อน อยากได้มาเลี้ยง มากินมาฆ่า ด้วยพยาบาทก็ตาม ด้วยรักก็ตาม ในศีลข้อ ๑ ในการอยู่กับสัตวโลก เพื่อนมนุษย์ เราก็มีจิตที่เป็นจริง มีเมตตา รู้สึกจริงๆเลยว่า เป็นอย่างนั้น จะมีปัญญาตัดสิน ว่าสัตว์มันเป็นเพื่อนทุกข์ มันก็เกิดมา รับวิบากทุกตัว มันก็แย่เต็มที เราจะไปฆ่ามันอีกทำไม ถ้ามันจะอยู่ทรมาน ก็ได้ใช้วิบาก แต่ถ้ามันจะมีวิบากดี ก็ส่งเสริม แต่อย่าทำให้มันเสีย สัญชาติญาณ อย่างเอามาเลี้ยงนั้น เป็นวิบาก

เมื่อคุณทำอดีต สั่งสมโลกุตรธรรม เป็นอาริยทรัพย์ จนมั่นใจ ตามกรอบศีลของคุณ ทำให้ได้ อย่างมีปัญญารู้แจ้ง เห็นจริง ตามเห็นตามรู้ ว่าเราได้สั่งสม โลกุตรธรรม มั่นใจว่า ศีล ๕ เราผ่านแน่นอน

เมื่อคืนวาน พ่อครูพาไปดู ที่ท่าเรือกรมเจ้าท่า มีเด็กๆตั้งเต๊นท์ ก็มีอุปสรรค ให้เราพากเพียร อย่าท้อแท้ เหนื่อยหนัก เต็นท์ที่เอาไปกาง ก็ใหญ่คับถนน ใส่เสาไม่ได้ ต้องใช้ปัญญา ในการทำ เสาก็หนักมาก แบกกันหลายคน เราดูเรือเรา เราว่าใหญ่ แต่เอาไปลงท่าเรือ กรมเจ้าท่า เห็นแต่หลังคาเรือ แล้วเรือลงน้ำใหม่ ไปเบียดกัน หลังคาบี้อีก เป็นรอยนิดหนึ่ง ก็ดูแล้ว มันจะครื้นเครงไหมนี่ ดูชาวบ้าน ก็ไม่รู้เรื่อง ว่ามาทำอะไรกัน แต่ไม่เป็นไร เราก็บุกเบิกไปก่อน แล้วตรวจดูว่า เราจะให้ประชาชน มาสนใจ ทิศทางนี้ มันดีไหม อาจจะไม่ครื้นเครง ได้นิดหน่อย ก็ดีใจเราแล้ว ตามประสาเรา ปีนี้ได้เท่านี้ ปีหน้าก็ตั้งใจ ให้ดีกว่าเดิม ส่วนกระแสทางโลก เขาก็เพลาลง ในระดับผู้ว่าฯ ก็รับปาก แต่เอาเข้าจริง ก็ให้รองผู้ว่าฯมา เพราะผู้ว่าฯติดงาน แต่เราก็ยิ่ง ต้องเต็มที่ เพราะอีกทางลดทอน เรายิ่งต้องเพิ่ม เมื่อเราแน่ใจ ว่าเป็นสิ่งดี ตอนแรกเราไป มีเศษแก้วมากมาย แต่พวกเรา ก็ทำให้สะอาดเอี่ยมดี เราทำเต็มที่ สินค้าก็ดู กระจิบกระจ้อย น้อยเดียว แล้วคนจะรู้สึกว่า น่าได้น่ามีน่าเป็นหรือไม่ สินค้าเรา ไม่ใช่สินค้า มอมเมา เป็นสินค้าจำเป็น มีคุณค่า ของเราไม่แบรนเนม แต่คนย่านนั้น มีหลายกลุ่ม มีพวกสลัมด้วย เขาอาจตื่นตัว ของเราเป็นสาระ เป็นประโยชน์ เขายังไม่ทิ้งฐานราก เป็นฐานของดินอยู่

เราตรวจดูว่า เราได้ทำสั่งสม ให้อดีตเราเที่ยงแท้ แน่นอนหรือไม่ จนกระทั่งว่า เกิดมา เราก็ยังมีภูมิ โสดาบัน ขึ้นไป อยู่หรือไม่ ถ้าทำได้ อย่างไม่มีตกต่ำ ก็ไม่ต้องให้ใคร มาดูหมอ หรือพยากรณ์หรอก

ในอวิชชา ๘
ใน ๔ ข้อแรก คือไม่รู้ในอริยสัจ ๔
ในข้อที่ ๕ คือไม่รู้ในอดีต ถ้าเรารู้ เราก็สั่งสมอดีตที่เป็นโลกุตระ
ในข้อ ๖ เมื่ออดีตและปัจจุบัน เป็นโลกุตระ อนาคตก็ต้องเป็นโลกุตระ แน่นอน
ในข้อที่ ๗ คือไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต ถ้าสั่งสมหน่วยกิจ ของจิตในจิต จนเป็น สอุตรจิตที่ดี ไม่ตกต่ำ เอาสูตรของโสดาบัน ไปใช้ในสกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ได้ ในแต่ละเหตุปัจจัย ยิ่งเป็นอเสขบุคคล ในโพธิสัตวภูมิ เช่น เข้ากระแส อปุญญาภิสังขาร คุณก็มีหน้าที่ทำ อเนญชาภิสังขาร เรื่อยไป คือทำความตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ให้แน่นหนา ไปเรื่อยๆ โดยการกระทำ ทั้งกาย วาจา ใจ โดยเฉพาะใจ ส่วนเสขบุคคล ก็ทำให้เที่ยงได้ ตั้งแต่อนาคามี ยิ่งอรหันต์ยิ่งเที่ยง ยิ่งตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เป็นนิจจัง ธุวัง สัสสตัง อวิปริณามธัมมัง อสังหิรัง อสังกุปปัง
 มีข้อที่ ๘ คือไม่รู้ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ต้องทำให้ชัดเจน

ตัวปัจจุบันคือ ตัวสร้างให้อดีตเป็นอนาคต เรามีผัสสะเป็นปัจจัย ทุกปัจจุบัน เราก็อ่าน วิญญาณ ทางทวาร ๖ แล้วรู้เวทนาในเวทนา ๑๐๘ ต่อเนื่องไป ในมโนปวิจาร ๑๘ ซึ่งมีส่วนแยกสำคัญคือ เนกขัมสิตเวทนา หรือ เคหสิตเวทนา ในพระไตรปิฏก แปล เวทนาที่เป็นเคหสิตะว่า ทุกข์หรือสุขที่อาศัยเรือน ซึ่งแปลไม่ถูกสภาวะ ที่จริงเคหสิตะ คือ อารมณ์อย่างชาวโลก อย่างผู้ครองเรือนทั่วไป ส่วนเนกขัมมะคือ ผู้ที่ทำออกจากกิเลส เราอ่านออกหรือไม่ ว่าขณะสัมผัส เราได้ทำเนกขัมสิตะ อยู่ตลอด ทุกปัจจุบันหรือไม่ มีการปรับสังขาร (ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ สั่งสมเป็น อัปปนา พยัปปนา เจตโส ปภินิโรปนา) แม้ทำไม่ได้ตลอด แต่ว่าทำได้เท่าไหร่ ถ้า๗๐-๘๐ % เจ็ดวันก็บรรลุอรหันต์ หรือได้อนาคามีเลยทีเดียว เราสามารถสั่งสมอดีต อย่างที่เรียกว่า ในอนาคต ไม่ไปในทุคคติ แน่นอน เราจัดสรรกรรมเราเองเลย

หลายคนมาปลุกเสกฯ และก็ทำเตรียมงาน ตลาดอาริยะไปด้วย มันก็หนักขึ้น แต่เรามีปํญญารู้ว่า เราทำเพื่อใคร เราได้ปฏิบัติธรรมหรือไม่ ทุกกรรมกิริยา เราได้พากเพียร ฝึกฝน ดังนั้นในอนาคต เราจะเป็นอย่างไร การพยากรณ์คือ การรู้ด้วย ภูมิปัญญา มีหลักฐานอ้างอิง สิ่งโยงใยพร้อม นี่คือการหยั่งรู้อนาคต และอดีต ก็ตั้งใจพัฒนาตนเอง เป็นธรรมะในวันส่งท้าย งานปลุกเสกฯ ครั้งนี้

ขอบคุณพวกเราที่เป็นลูกหลาน มาช่วยกันจัดงาน ยิ่งกว่าขอบคุณอีก เรายังจะมีงาน ที่เราจะทำอีก วันนี้เราก็จะพยายาม จัดแจงเรือลำสุดท้ายออกไป ส่วนเรือสองลำ ที่ไป กรมเจ้าท่าแล้ว ก็เป็นเรืออาหาร และเรือสินค้า ก็มาช่วยกันทำ

เราไปแสดงธรรมของความเสียสละ เป็นพฤติภาพที่หายาก จะบอกว่าแสดงก็ด้วย มีกิเลส นิดๆหน่อย ก็เป็นการแสดงสิ่งดี ถ้าจะฝืนบ้างแต่ดี ก็ควรทำได้ลดกิเลส ใครจะมีความยินดี ชื่นใจ ก็อย่าให้มันหลง ให้มันเป็นอุพเพงคาปีติ พอประมาณ จะไม่ให้มันมีความยินดี พอใจเลยไม่ได้ จะมี ทรถ คือความกระวนกระวายใจ กังวล ว่าเราทำดี จะไม่ได้ดีนั้น เป็นธรรมชาติ อย่าไปกังวลมาก นี่คือทุกข์สุดท้าย ของอาริยะ คือทำดีแล้ว กลัวจะทำได้ไม่ดี อย่างอรหันต์ใหม่ จะกังวลเป็นอนุพุทธะ ไม่ใช้ทุกข์โลกียะ เป็นทุกข์ระดับโลกุตระ เป็นทุกข์ที่จะไม่มีใคร อธิบายให้คุณหรอก ทุกข์อย่างนี้ เรียกว่า ทรถ แปลว่า ความทุกข์ความลำบาก ความกังวล ความกระวน กระวายใจ แม้พระขีณาสพก็เป็นได้ เพราะเป็นกรรม การงานที่ไปช่วยเขา ไม่ได้หวังอะไรได้มาหรอก แต่เป็นสภาวะที่กังวลว่า จะทำได้ไม่ดี แต่อยู่ในฐาน เจโตสมาธิ ของอเสขบุคคล

มาถึงงานที่เราจะทำ เป็นงานวันสุกดิบ จะทดลองงาน เราเตรียมงานมาเกิน ๖ วัน
                ๑. วินิจฉัยบุคคล คือพวกเราว่าจะทำงานได้แค่ไหน
                ๒. วัตถุ
                ๓.จิตวิญญาณว่า จะมีเรี่ยวแรง ความฉลาดได้แค่ไหน

เมื่อปฏิบัติไปสู่สังคม แล้วจะมีผลอย่างไร สืบต่ออย่างไร ก็จะได้ดูต่อไป เราทำงาน เพื่อสร้างสรร เพื่อให้ก้าวหน้า พัฒนาไป เราไม่ได้ทำงานทำลายโลก เราทำงานช่วยโลก (โลกานุกัมปา) ไม่ใช่พูดแต่ปาก

มีความซับซ้อนว่า พวกเรามามักน้อยสันโดษ จะไม่มีมากหรอก แต่จะมีน้ำใจมาก เราจะสะสม กำลังได้มาก เป็นพลังวิมุติ และพลัง ๔ ที่มีจริงเป็นจริง

เมื่อคืนท่านหนักแน่นอุทาน ว่า ผมเพิ่งรู้สึกว่า เมื่อก่อนเห็นคนนั่งกินเหล้า ริมแม่น้ำ รู้สึกว่า มันไร้สาระเหลือเกิน พ่อครูว่า จิตท่านเจริญ มีภูมิปัญญาขึ้น ซึ่งแต่ก่อน ดูเราก็ไม่รู้สึกอะไร แต่ตอนนี้เห็นว่า เป็นเรื่องไร้สาระ นี่คือจิตจริง ที่มันเกิดจริง รู้สึกจริง เป็นเวทนา เป็นสำนึก เป็นปัญญา ที่เข้าใจจริงๆ รู้สึกจริง เราดูโลก อย่างไม่รังเกียจ หรือข่มเขา เขาทำไม่ดี ก็น่าสงสารแล้ว เราต้องเห็นสงสาร คืออยู่ในความวนเวียน ในวัฏฏะ เราก็รู้สึกสงสารเขา คือคนตกต่ำคนไม่ดี คนไม่ดีไม่ใช่คนน่าด่า น่าถล่มทลาย แต่เป็นคนน่าสงสาร

เราจะรู้สาระ อย่างท่านหนักแน่นอุทาน จิตเราจะเห็นจริง เป็นจริงเลย แต่ก่อนเราไม่รู้ ยิ่งพวกล่า ลาภยศ สรรเสริญ ยิ่งชัดเจน ยิ่งเขาหลงใหลทุจริตไป เรายิ่งเห็นว่า เขาน่าสงสาร เขาดำตฤษณามาก ไม่มีทางให้แสงสว่างเขาเลย ดังนั้น เราต้องหันมา ทางธรรมให้มาก เราเอาไม้สั้น ไปรันขี้มาแล้ว เหม็นมาก เพราะเราตัวเอง แค่ไม้สั้น ก็รู้ว่า ขี้มันเหม็นจริงๆ แตกหึ่งเลย เราก็คิดว่า เราจะลดบทบาทลงมา เราจะปรับท่าทีหน่อย บอกให้รู้ ให้สัญญาณ ได้ข้อสรุป ในสัดส่วน ที่จะประมาณแล้ว จะมาทำงาน ด้านธรรมะให้มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า หยุดเลย

พวกเราจัดตลาดอาริยะ จะรู้ประมาณว่า ของสิ่งไหนจำเป็น สิ่งไหนจะขายให้ใคร และพวกเรา ที่มีความรู้มาก มาช่วยกันจัด ก็อย่าเอาแต่ใจ ไปทะเลาะกัน เพราะคนรู้มาก ก็มักอยากให้เอา อย่างที่ตนเห็นว่าดี ก็ให้สามัคคี อย่าทะเลาะกัน

พระพุทธเจ้าท่านไม่นั่งรถที่ใช้สัตว์ลากจูง แต่พ่อครู มาในยุคนี้ จำเป็นต้องอนุโลม ใช้รถ พ่อครูประมาณตามภูมิ

สิ่งหนึ่งที่จะวานช่วยกันดูแล คือที่นี่เป็นเมืองพุทธ เวลาเราจัดงาน จะมีคนแอบ เอาเนื้อสัตว์ หรืออย่างอื่น ที่เราห้าม มากินมาเสพ แต่เราอย่าไปจัดการ รุนแรง เราต้องใช้ศิลปะ ในการบอก คนจะมาจีบกัน ก็จะมี เราก็ต้องใช้ศิลปะ ในการห้าม การบอก ใครทนไม่ไหว จะหลุด ก็ให้บอกคนอื่นไปบอก

สรุปแล้วอบายมุข แม้แต่เนื้อสัตว์ พวกเราก็ช่วยกันดู และกำชับอีกว่า อย่าไปเคร่ง กับเขามาก อนุโลมได้ก็ทำ ให้ใช้ศิลปะในการบอก ถ้ามือหนึ่ง ในการประมาณ เราบอกก็ยังไม่ได้ ก็ต้องยอมเขา

เราก็ช่วยกันทุกอย่าง กล่าวโดยอ้อมแล้ว พวกเราก็ประมาณทำกัน อย่าไปเคร่งครัด มากไป เราก็เก็งกันไปก่อน อาจไม่ถึงขนาดนั้น เพราะแดดเราก็จัดจ้าน ที่จอดรถเราก็ไกล ต้องเดินมาไกล มาซื้อของ คนเราทุกวัน อินทรีย์พละอ่อน มอเตอร์ไซค์ปากซอยจึงรวย เพราะคนอ่อนแอ ไม่ยอมเดิน แต่ของเรา ทางก็ไกล แดดก็ร้อน แล้วถ้าตามรายทาง เราจะมีร้านรวงตลอด คนก็จะรู้สึกว่า ระยะทางมันสั้น แต่นี่ร้านรวงเรา ก็ห่างกันมากเลย ก็เพราะพวกเรา ไม่มาช่วยกัน ก็ปล่อยให้ทำกัน ตามประสีประสา ก็ไม่ว่ากัน (ที่จริงก็ว่าไปนิดหนึ่ง) ถ้ามาช่วยกัน ก็จะเป็นพลังสร้างสรร ใครมีทุนรอน แรงงาน ก็มาช่วยกัน แม้เป็นคนนอก ก็มาช่วยกัน

ปีนี้อาจไม่สมบูรณ์ ปีหน้าก็ตั้งใจใหม่ เราเดินมาถูกทางแล้ว เอากสิกรรมเป็นหลัก ปีนี้ก็ยังไม่เต็มที่ แม้แต่ทานตะวัน ก็ออกดอกพอดี วันนี้เราจะเอา แพทานตะวันไปโชว์  มีที่ปลูก ด้านตะวันออก ของหาดแนมตะเว็นด้วย แต่ปีหน้า เราจะปลูก ต้นแก่นตะวัน แทน สวยน้อยกว่า ทานตะวันนิดหน่อย แต่แก่นตะวัน มีหัวกินได้ ออกดอกนาน ๖๐ วัน เพราะฉะนั้น ปีหน้าเราใช้ แก่นตะวันแทน ปลูกแพแก่นตะวัน ทำไร่แก่นตะวัน

เราปรุงแต่งให้ได้สัดส่วน ชักจูงให้เขามาสู่ สัปปายะ ๔ ( เสนาสนะ อาหาร บุคคล ธรรมะ) เราก็จะช่วยคน ได้มากขึ้น

ในการพาณิชย์บุญนิยม คือเครื่องอุปโภค แม้แต่สถานที่ ที่เราจะตกแต่ง เราไม่ทำเป็น สถานที่ท่องเที่ยว ไม่เหมือนดิสนีย์แลนด์ หรือลาสเวกัส แต่สถานที่ เราจะทำให้เขาอยาก เขามา เป็นนักศึกษา ให้มี convergent นำไปสู่นิพพาน จะมีองค์ประกอบอย่างนี้ จะมีส่วนจูงนำชี้นำ (convergent)ไปสู่จุดมุ่งหมาย ที่แท้จริง  เราสร้างหิน สร้างต้นไม้ เราสร้างห้องส้วมกางเกงยีน ซึ่งยีนนี่ ที่จริงเป็นกางเกงชาวนา แต่ทุกวันนี้ มีร้านขาย กางเกงยีน ที่เก่าขาดปะ ถือว่าสุดยอด โก่งราคาให้แพงๆ เขาเอายีนมาดู แต่เรา เอามาทำส้วม ซึ่งเขามีแนวโน้มดี ไปสู่ความเก่า ความปะ ขาด ชุน แสดงถึงความมัธยัส เป็นลักษณะชาวนา ดีกว่าไปเอา เวอซาเช่ วิตตอง อะไรพวกนั้น

เราจะมีหินน่าทึ่ง อย่างท่านคมคิด เนรมิต monolith จำลองเป็นหินก้อนเดียว ซึ่งเราก็จะสร้าง Monolith sanctuary เราจะทำขึ้นมา ใหญ่กว่านี้ ส่วนผาแหงน ที่ทำขึ้นมา คนมา เห็นก็จะว่า เอาหินก้อนใหญ่ ไปอยู่บนนั้นได้อย่างไร อย่างต้น พิลึกพิลั่น ก็เอาราก มาชี้ขึ้น ก็จะเป็นสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรม จิตกรรม ซึ่งพ่อครูเป็นศิลปิน ก็จะจัดองค์ประกอบ ให้คนมาชม ก็จะไม่เหมือนกับ ของทางโลกเขา ของเรามีคอมเพล็กซ์ ก็จะไม่เหมือนของเขา

อีกอันที่มีคนให้พ่อครูบอก คือเรื่องที่ทางบ้านราชฯ คือพ่อครูขอแลกเอาบ้าน ปฐมอโศก มาทำเป็น ศาลาสุขภาพ และให้ปฐมอโศก เอาบ้าน ชนะกุล แทน มันเป็นดำริของพ่อครู แต่ชาวปฐมอโศก มีบางคนติดใจว่า ถ้าเป็นความคิดของพ่อครู จะไม่ติดใจ แต่ถ้าเป็น ความคิดอื่น ไม่เห็นด้วย พ่อครูว่า ให้อ่านจิตดีๆ จิตอย่างนี้ ไม่ควรให้มีในใจเรา ให้ล้างออกไป ถ้าเป็นความคิดที่ดี ที่เหมาะสม ก็ควรอนุโมทนา ไม่ว่าจะเป็น ความคิดใครก็ตาม ถ้าเหมาะสมดี ก็ควรอนุโมทนา ก็ให้ลดตะปูตรึงใจ อันนี้เสีย

ขอจบด้วย โศลกที่ว่า
"ไม่กังวลกับความร่ำรวย
ไม่หิวโหยกับความบันเทิง
ไม่ปราถนาความเป็นใหญ่เป็นโต
ไม่มีปัญหากับความเครียด
ชีวิตจึงไม่ขาดแคลนความเบิกบาน"
 
ขอให้ประสบผล อย่างที่ว่าทุกคน เจริญธรรม

 ...............จบ

 

 
12 เมษายน 2556 ที่พุทธสถานราชธานีอโศก