560524_2 รายการเทศน์ก่อนฉัน วันวิสาขบูชา โดยพ่อครู_
เรื่อง

          วันเวลาเวียนวนมาครบ ๑๕ ค่ำเดือน ๖ อีกครั้งหนึ่ง สำหรับ วัฏจักรของเวลา เรายังไม่ตาย ยังรับรู้อะไรได้ คนทางโลก เขาไม่ประสีประสา ว่าคนเรา รับรู้อะไรได้ ยังไม่ตาย ยังไม่อสัญญี (คือไม่รับรู้สึกอะไร) ซึ่งถ้าอสัญญี เขาจะทำอะไรกับร่างกาย ก็ไม่รู้สึกเจ็บ รู้สึกกลัวอะไร อาจเรียก อสัญญี หรือวิสัญญี ก็ได้ ในขณะที่วิสัญญี จะไม่รับรู้อะไร

แต่ถ้าเรายังรับรู้ได้ ตากระทบรูป หูกระทบเสียง.... แม้แต่ในใจ มีการปรุงแต่ง กำหนดรู้ ภายในได้อยู่ แต่ไม่ได้ศึกษาธรรมะ จะเป็นคนที่อยู่กับ กิเลสของตนเอง แล้วกิเลสก็ พอไปตามฤทธิ์แรงกิเลส และเราก็ปล่อย ให้กิเลส ออกมาทำการ อย่างไม่บันยะ บันยัง แม้จะมีมารยาท ก็ยั้งไว้บ้าง ตามกฎหมาย กลัวคนว่าไม่ดีบ้าง หรือกลัวจะถูกทำร้ายบ้าง เช่นอยากได้ของเขา ก็กลัวเขาฆ่า อยากด่าเขา ก็กลัวเขาด่าตอบ ก็รู้ว่าไม่ดี ถ้าแสดงออกอย่างนี้ไป ก็สะกดได้ระงับไว้ ตามมารยาทสังคม

แต่ถ้ามันสู้กิเลสไม่ได้ มันก็ออกมา อย่างไม่อาย ไม่เกรงกลัวแล้ว มนุษย์ไม่ได้ศึกษา ก็บำเรอกิเลสตนตลอด นอกจากจะมีเว้นบ้าง ถ้าไม่เว้น ก็ปรุงไปจัดจ้าน แรงขึ้นๆ นี่คือคนโง่ หนักหนาสาหัส เขาก็ทำ พวกเราก็เคยทำ พ่อครูก็เคยทำเคยโง่ เรามีกิเลส เราก็โลภให้มากขึ้น โกรธให้มากขึ้นอีก เพิ่มแรงโกรธแรงราคะ แก่ตัวอีก นึกว่ามันดี นี่คือคนอวิชชา คนโลกๆ ที่ไม่รู้ตัว

ทีนี้มีคนก็คิดว่ากิเลสนี้ไม่ดี ก็หาวิธี กดข่มเราก็ทำตามมารยาทแล้ว นักปฏิบัติธรรม ก็กดข่มอย่างเก่า ให้ดีขึ้นๆ ไม่เหมือน พุทธที่ไม่กดข่ม แต่กดข่มก็ช่วยเป็นอุปการะได้  ให้เราคุมไว้เพื่อศึกษาว่า  โลภะเป็นอย่างนี้  ถ้าไปดับมัน แล้วก็ไม่เห็นลีลา บทบาท มันหรอก อย่างฤาษี นั่งสะกดจิตดับ ก็อ่านอะไรไม่ได้ ศาสนาพุทธ จึงปฏิเสธ อสัญญี นอกจากจะ วิกขัมภนะบ้าง แล้วก็เหลือไว้ศึกษา

ลีลากายวาจา จะชัด ที่แสดงความโกรธ-โลภ-ราคะ-หลง พระพุทธเจ้า ท่านให้เรียนรู้ ราคะ กับโทสะก่อน เรียนรู้ทางกายกับวาจา ซึ่งเกิดจากใจที่เป็นเหตุ มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา แล้วดับเหตุในใจ เมื่อจัดการใจ มันก็ไม่ออกทางกาย กับวาจาหรอก มันถูกเรา ดูแลจัดการอยู่ พลังนี้ก็ไม่ออกมาทำงาน แล้วเราก็จัดการซะ เมื่อจัดการได้ มันก็ไม่ออกมาทำงาน ทางกาย-วาจา

ให้เรียนรู้สังกัปปะ ๗ ส่วนทางโลกีย์ เขาเข้าใจผิด เขาทำสังกัปปะ ๗ ไม่ได้ เขาอ่าน อาการจิตไม่ออก อ่านสุขทุกข์ไม่ค่อยออก ซึ่งมันมีเหตุให้เกิดสุขเกิดทุกข์ ที่จริงตัวทุกข์ ก็คือตัวเหตุ ไม่ให้มัน มันก็ดิ้น ไม่บำเรอราคะ มันก็ดิ้น มันก็ตัวมัน นั่นแหละ ถ้าโทสะ แล้วเราไม่ให้มัน หรือให้มัน เช่น อยากตบซักทีก็ตบซักที ก็หายโกรธ หรือราคะ ก็เสพราคะ ก็หายได้ ก็ได้บำบัดบำเรอบ้าง ก็หายโกรธหายราคะ ก็พักยกบ้าง แต่ถ้ายิ่งบำเรอ ยิ่งราคะจัด ยิ่งบำเรอ ยิ่งโกรธจัด คนอย่างนี้ นรกหนักมาก

พระพุทธเจ้าอุบัติในวิสาขบูชา ก็มาสอนสิ่งที่พ่อครูได้บอก มาก่อนหน้านี้แหละ อย่างเด็กๆ แม้ถูกจับยัดมา ได้ฟังก็ดีแล้ว ให้ตั้งใจฟัง คนในโลก ไม่ได้ฟังธรรม มีอีกมากมาย หลายพันล้านคน แม้เรามีทีวี เขาก็ไม่ฟังซะมาก ไปฟังสิ่งบำเรอกิเลส เสียมาก หรือปฏิบัติผิดๆ มีแต่สื่อที่หา ลาภยศสรรเสริญไป ก็กล่าวความจริง ให้ศึกษา ไม่ได้โกรธเคืองใครหรอก

พวกเราพยายามควบคุมกัน ไม่ได้เป็นไปเพื่อลาภยศ สรรเสริญกัน ไม่ว่าจะบวช หรือไม่บวช ก็เนกขัมมะ กันทั้งนั้น และก็พยายาม เปลี่ยนแปลงลดละ จนมันหมด แล้วเราก็มีปัญญา รู้ว่ามันหมด จนตกผลึก ให้เกิดความแน่น เรียกว่า "ตายตอกฝาโลง" อย่าให้ผีเกิดอีก นั่นคือ การควบแน่น เป็นสมาธิ ตั้งมั่นแข็งแรง นิจจัง ธุวัง สัสสตัง อวิปริณามธัมมัง อสังหิรัง อสังกุปปัง

พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พ่อครูพาทำ ก็เป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง (คัมภีรา) สำหรับธรรมะ พระพุทธเจ้า ติดตามฟังให้ดี จะยิ่งเห็น ความละเอียดลึกซึ้ง เก็บรายละเอียด มากขึ้นๆ ให้อุตสาหะ พากเพียร มากขึ้นๆ และไม่ได้พรากออก จากการทำงาน อาชีพ ปฏิบัติธรรม ในทุกอิริยาบถ หรือในการนึกคิดอยู่ เราอยู่ไหน ก็คิดนึกได้ ประกอบสังกัปปะ ๗ อยู่ตลอด ทำงานทุกอาชีพ ก็มีสังกัปปะ มีความนึกคิด ปรุงแต่งอยู่ ตลอดเวลา ผู้ใดมีญาณรู้ ก็จะเห็นได้ รู้ตัวผีที่มาแทรก และกำจัดผีได้ นี่คือความสามารถ อย่างพระพุทธเจ้า เมื่อเราดับได้ ให้มันตาย อย่างไม่กลับกำเริบ

การตายทางจิต ดับสนิท เรียกว่า นิโรธ คือดับกิเลส แต่ถ้ามิจฉาทิฏฐิ จะไปดับความรับรู้ ดับสัญญา หรือดับเวทนา จนไม่มีความรับรู้สึกอะไร จนสำเร็จ เขาก็หลงว่า นี่คือ ความสำเร็จ ดับเวทนานี่ลึกซึ้ง ซึ่งในเวทนา มีอาการของจิต อย่างอาการปรุงแต่ง อย่างโลกีย์ คือ สุขทุกข์อุเบกขา เราดับเวทนานั้นละเอียด แต่ถ้าดับสัญญา จะไม่ทำงาน อะไรเลย กดข่มให้มันมืดไปเลย จะไม่รู้เวทนา สัญญา สังขารอะไรเลย เรียกว่า อเวทนียะ หรือ อสัญญี แต่เวทนานั้น เป็นการรับรู้ เราต้องแยกแยะเหตุ ที่ทำให้เรา สุขทุกข์โลกีย์ นั่นแหละคือ อรหันต์ที่ไม่มี สุขทุกข์โลกีย์ จิตสัมผัสอะไรก็สงบ แต่ก็เห็นหมด ว่านี่ไทย จีนแขก หรือรูปร่างอย่างไร สีสันอย่างไร ก็รู้เหมือนกันหมด แต่จะเรียก ภาษาต่างกัน ก็แล้วแต่ แต่ที่รู้นั้น เหมือนกันหมด ตาสัมผัสรู้ หูสัมผัสเสียง ก็รับรู้เหมือนกันหมด จะเหม็นหรือหอม ก็ว่ากันตามภาษา จะตั้งชื่อว่า เหม็นหรือหอม ก็เป็นภาษา ที่ไปตั้งชื่อ สภาวะ เป็นฝรั่งไทยจีน ก็เหมือนกัน ตรงสภาวะ กระทบแล้ว รับรู้ได้ เหมือนกันหมด นั่นเรียกว่า "ความจริงตามความเป็นจริง" ใจก็รับรู้ทางทวาร

ส่วนความรู้สึกปรุงแต่ง จะต่างกันไปตามสมมุติ แต่ก็คล้ายกันได้ อาจไม่คล้ายกัน ทีเดียว อย่างนิโกร เขาก็ยึดว่า อย่างนี้สวย แต่ถ้าอย่างนี้ไม่สวย แต่ถ้าจะเปลี่ยนรสนิยม ก็ไปนิยม ขาวได้ ฝรั่งก็มาอาบแดด ให้ผิวมีสี แต่ถ้าดำเกินก็ไม่ชอบอีก แต่บางพวก ก็ชอบดำ เป็นไปตามสมมุติ ที่เราตั้งค่าไว้ตาม สเปค  specification บางที ก็คล้ายกัน บางที ก็คนละขั้ว (ไม่แย่งกันเลย) แต่ถ้าสเปคคล้ายกัน เช่นมีเงินมากดี ก็แย่งกันรวย หรือสวย ก็แข่งกันสวยอีก

สรุปแล้ว ที่ไปกำหนดสเปคนี่แหละ คือคุณโง่ ถ้าไม่ได้อย่างนี้ๆ กูก็โง่คือทุกข์ ถ้าได้อย่างนี้ๆ กูก็สุขก็คือโง่  ใครไม่ต้องไปทำตามสเปคได้ ก็อรหันต์จ้อย.... ใครทำได้บ้าง....

ก็พากเพียรพยายามกันไป ให้ตื่น พระพุทธเจ้า เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ อายุตั้ง ๓๕ จึงตื่น ระลึกของเก่ามา ก็รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า ไม่มีใครบอกท่าน ท่านใช้เตวิชโช ในยามหนึ่ง ยามสอง ยามสามก็บรรลุ เป็นพระพุทธเจ้า ของเก่าท่านเก็บไว้ในคลังข้อมูล ไปรื้อมา แต่ก่อน ไม่เป็นแฮคเกอร์ พอนั่งสมาธิ ผีแฮคเกอร์เข้าสิง ก็ค้นเจอ จึงรู้ว่าตนมี เป็นสยัมภู พ่อครูก็มี ของตนเองบ้าง ก็เอามาใช้ ก็เรียนรู้มาจาก พระพุทธเจ้ามา ไม่รู้กี่ต่อ พระพุทธเจ้า ก็ระลึกไม่ได้ ว่ามีพระพุทธเจ้าองค์แรก คือใคร มีมากมาย อย่างมหายาน เขาว่าพระพุทธเจ้า อุบัติมาแล้ว นับไม่ถ้วน เป็นเม็ดกรวด เม็ดทราย ในมหานที อย่างไปนึกที่เกิดเลย ให้ศึกษาจนได้มรรคผล ตามวิธีพระพุทธเจ้า ที่กำจัดแล้ว เด็ดขาด อย่างถูกตัวถูกตน มีปัญญาสำทับว่า มันเป็นโทษไม่ใช่คุณ จึงทำได้ อย่างมีปัญญาชัด ว่าเราไปหลงบ้าอะไร และจิตก็ทำได้จริง มันจึงถาวรไม่เปลี่ยน คนที่ทำได้ แต่ไม่รู้ ไม่มีปัญญา ใช้เจโตดับได้ แต่ไม่เข้าใจ ก็เวียนกลับได้ เพราะไม่รู้คุณโทษ อย่างชัดเจน หรือผู้รู้ คุณโทษชัด แต่ไม่สามารถทำจิต ให้หมดกิเลส สนิทถาวรไม่ได้ ก็ขาดเจโต

ศาสนาพุทธ จึงให้รู้ ใช้ปัญญานำ กำจัดได้ก็รู้ ไม่เวียนกลับ พระพุทธเจ้าสายปัญญา จะบรรลุเร็วกว่า สายเจโต ๒ เท่า ส่วนสายวิริยาธิกะ ก็นานช้ากว่าอีก ที่เร็วคือ สายปัญญา มีสัมมาทิฏฐิ เป็นธัมมานุสารี คนที่รู้ว่า ตนสายปัญญา ก็ตั้งใจศึกษาปริยัติ คนสายปัญญา ก็อย่าหยิ่งผยอง ตั้งใจทำ ไม่ประมาท ก็ทำได้ไวได้ดี ได้ถูกต้อง

พ่อครูทำงานมา ๔๐ กว่าปี จนตั้งราชธานีอโศกว่า บ้านราชเมืองเรือ บ้านไม้เมืองหิน บ้านดินเมืองน้ำ บ้านงามเมืองพุทธ บ้านพิสุทธิ์เมืองอมตะ

พิสุทธิ์แปลว่า สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ คือผู้มีอมตะ คือไม่เกิดไม่ตาย จะอยู่ก็ได้ จะสูญก็ได้ จะอยู่ก็อยู่อย่าง ไม่เป็นโทษเป็นภัยแก่ใคร ถึงมีชีวิตอยู่ ก็มีแต่คุณค่า ประโยชน์ เป็นหลักประกันรับรอง พ่อครูจึงมั่นใจ ในชาวอโศก เพราะถ่ายทอดวรยุทธ ทฤษฏี วิธีปฏิบัติทุกวัน ผู้ใดศึกษาก็ได้ ผู้ใดไม่ศึกษาก็ไม่เอาถ่าน ขี้เถ้าก็ไม่เอา แล้วไปเอาอะไร เลอะเทอะ ผู้ใดใส่ใจพวกเพียรก็ได้ เมื่อได้แล้ว ก็เกิดความจริง ก็มาร่วมกัน เป็นคุณสมบัติอาริยะ เป็นพุทธ

ก็เพราะจิตเป็นประธาน เมื่อกิเลสราคะ-โทสะ-โมหะลดลง ก็จะมีพฤติกรรม กาย-วาจา ที่ออกมา จากมโน ก็เป็นภาพ ของการประกอบการงาน ก็ออกมาจาก ใจที่สุจริต ก็มีกาย-วาจา ที่สุจริต ประกอบการงานอาชีพ ก็สุจริต ไม่มีกุหนา ลปนา เนมิตกตา นิปเปสิกตา ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา มาเป็นขั้นตอนไป ก็เว้นขาดจาก ทุจริตหยาบโกง ลปนา แปลว่า คำพูดที่โกหกทุจริตหลอกลวง จนถึงขั้น มีหยาบส่อเสียด มีเล่เหลี่ยมอยู่ ก็ต้องเรียนรู้ ไปตามลำดับ แต่อย่าง ลปนา โกหก ขี้โกงไม่มีแล้ว ไม่มีพูดปด ไม่ส่อเสียด หยาบๆแล้ว อย่างกลาง อย่างละเอียด

กายกรรมก็เป็นพฤติภาพ ที่เป็นพฤติกรรมรวม เป็นพฤติภาวะ ที่คนเห็นภาพรวมได้ว่า คนอโศก ทำอะไร ไม่เหมือนชาวโลกว่า ไม่แสดงโลภ-โกรธ เหมือนชาวโลก เช่น ไม่ไปดีดดิ้น เต้นแร้งเต้นกา สนุกสนาน ครื้นเครง ก็ไม่ไปกับเขา พวกเราก็ไม่แสวงหา ลาถยศ เหมือนเขา ก็เชิญมาพิสูจน์ได้ (เอหิปัสสิโก) หรือท้าทายให้มาพิสูจน์ได้ มาดูความจริงได้

หลายสิบปีมาแล้ว อโศกเรามีพฤติภาพ พ่อครูว่าเจริญ แต่มีภาวะซับซ้อน เราไม่ได้ทำ เพื่อตัวเองแล้ว แต่เราค้าขาย เรามีผลผลิต ได้มากขึ้น แต่เราไม่ได้เอาเปรียบ เอารัด เราก็ลดลงได้อีก ถ้าเราได้ส่วนเกิน คุ้มกินใช้มากขึ้น เราก็ยิ่งสละ ให้แก่สังคม ได้เพิ่มขึ้น เป็นปฏิภาคทวี เป็นสัดส่วนซับซ้อน

เราอนุโลมกับโลกเขา แต่เราไม่ได้ทำ เพื่อตัวเรา คนนึกว่า เราไม่สงบ เราต้องทำมาหากิน แต่ที่จริง เราไม่ได้ทำมาหากิน แต่เราก็ทำไป ตามสมมุติโลก เช่นปลูกผัก ให้มากขึ้น แต่ก่อน เราปลูกได้น้อย เราก็แจกได้น้อย ใจเราไม่กล้าแจกมาก แต่งานตลาดอาริยะ เราปลูก ได้มากมาย เราก็ไม่กลัว ที่จะแจกเขา หรือเขาจะมาเอาไป เราก็ไม่กลัว แต่ถ้าเราไม่พอ เราก็ต้องระวัง เราต้องช่วยตนเอง ให้พอกิน จะเหลือ จนเชื่อได้ว่า ไม่ขาดตอน เราจึงช่วยสังคมได้

อันอื่นก็เหมือนกัน ถ้าเราสร้างได้ อย่างปุ๋ย เราก็หมุนเวียนได้ พอสมควร อย่างปุ๋ย เราก็ขาย ของดีราคาถูก และเป็นความจำเป็น ที่สังคมต้องใช้ เราไม่สร้างของมอมเมา เราสร้างสาระ เช่นปุ๋ย เราของดีราคาถูก ซื่อสัตย์มีน้ำใจ ไม่มีเล่เหลี่ยม ซื่อตรง ขายสด งดเชื่อ (เงินเชื่อทำลายสังคม) เราทำเงินสดนี่ ไม่ยุ่งเลย แก้ปัญหาได้          

พวกเราจะพยายามปฏิบัติอย่างนี้ ให้มันเจริญ ทับทวีมากขึ้น อย่างบ้านราชฯ ไม่ซับซ้อน กว่าสันติอโศก บ้านราชฯมีลักษณะ ที่เป็นประโยชน์ ต่อโลกต่อสังคม เป็นโลกุตระ -โลกวิทู  - โลกานุกัมปายะ อย่างแท้จริง

สรุป...พ่อครูก็ขอยืนยันว่า ธรรมะพระพุทธเจ้า คือสิ่งประเสริฐที่แท้จริง เป็นประโยชน์ ที่แท้จริง เรามาลดละ สิ่งที่ควรลดละ และเราก็ไม่ได้เสียอะไร เราไม่ต้อง กินอร่อย แต่ร่างกายเรา ก็ดีกว่าเก่า ไม่มีพิษภัย ของใช้ที่เขาหลอกกัน มากมาย กระเป๋าถือ ใบละ ๔ ล้าน ก็โง่ได้ที่ พวกเรารู้ทันแล้ว ไม่ตกเป็นเหยื่อ ก็ดีแล้ว

ให้ศึกษาด้วยปัญญาว่าถูกทาง แล้วเอาให้ได้ จะเรียกว่า อรหันต์หรือไม่ ก็แล้วแต่ ถ้าเราลดละได้ ก็คือ อุตริมนุสธรรม ที่คนได้ยาก อย่างแท้จริง อย่างพ่อครูพาทำ หลายคน ก็ไม่ค่อยรู้เท่าไหร่ ก็ทำกันไป เชื่อว่าพาทำ ถูกทางแน่นอน แต่บางคน ก็ระมัดระวัง ก็ดีช่วยกัน พ่อครูไม่คิดว่า ตนต้องถูกตลอด

อีกไม่กี่วัน พ่อครูก็อายุครบ ๗๙ ย่าง ๘๐ พ่อครูจะอยู่ไปอีก ๗๒ ปี ใครจะอยู่ตาม พ่อครูไป หรือจะอยู่ เกินนั้นก็ได้ ยกมือ... ยกกันพรึ่บเลย ถ้าอยู่ไม่พลาดไปจาก ที่พ่อครูพาทำ ก็จะพาทำ อย่างนี้แหละ ไปด้วยกัน เลือดบ้านราชฯ นี่คือสิ่งที่ พ่อครูพูดเทศน์ ใช้เวลา เท่าที่กำหนดให้ ๑ ชม. ก็พากเพียรทำกัน อย่างเคร่งครัด แต่ไม่เคร่งเครียด ... มีไฟดับด้วยแป๊บหนึ่ง

ให้ทุกคนเอาไปปฏิบัติประพฤติ ให้ได้มรรคผล ตามธรรมสมควรแก่ธรรม เทอญ....

จบ

           

 
๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานราชธานีอโศก