560613_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู
เรื่อง รู้กายและสัญญาอย่างสัมมาพาวิชชาเกิด


                พ่อครูออกอากาศที่ห้องกันเกรา สันติฯ ซึ่งได้ทำพื้นห้องใหม่ มีกลิ่นของ การขัดมันพื้นอยู่เลย (มีญาติธรรม อาสามาทำให้ฟรี ในช่วงที่พ่อครู ไปงานอโศกรำลึก ที่บ้านราชฯ)

                ตอนนี้ยังไง ต้องขออธิบาย ธรรมะแนวลึก ก็ยากหน่อย ถ้าผู้ที่ไม่มีภูมิ ก็อาจยากหน่อย แต่ถ้าผู้ที่มีภูมิ จะซาบซึ้ง ถ้าไม่มีภูมิอาจไม่เข้าใจ และบางคน อาจเพ่งโทส หาว่าพ่อครู แสดงธรรมไม่ได้เรื่อง เอาอันนั้นอันนี้ มาชนกัน ซึ่งพ่อครู แสดงธรรมตอนนี้ จะอธิบายถึงกัน ได้ทุกจุด เพราะทุกอย่าง เป็นเหตุปัจจัย กันและกัน เป็น อิทัปปัจยตา           
                บางอย่างอยู่ไกลกัน บางท่านก็ต่อไม่ได้ แต่ถ้าผู้รู้ ก็จะเชื่อมโยงกันได้ ตอนนี้ เน้นประเด็นสำคัญว่า การจะรู้สภาวะจริง ของปรมัตถธรรม (ละเอียดลึกซึ้งขั้นสูง) แม้จะเรียกคำว่า รูป คำว่า นาม
                ก็ต้องรู้ทั้ง รูป และ นาม คำว่ารูป หรือ รูปํ มีสองนัย คือ ๑. การแสดงสภาวะ ของ มหาภูตรูป คือดินน้ำไฟลม ที่มีอยู่นอกกายเรา แม้ร่างกายเรา ก็เป็นธาตุ ๔ เป็นองค์ประกอบ ของสังขาร เป็นสิ่งที่เรียกว่า รูปนอก สิ่งที่มีรูป เห็นได้ คนจะมี จิตวิญญาณที่เห็น (ปัสสติ)
                ข้างนอกเรารู้ได้ด้วย ตาหูจมูกลิ้นกาย กระทบ ทาง ๕ ทวาร เรียกว่า มหาภูตรูป ส่วนรูปอีกคำ คือ รูปรูป ซึ่งรูปคำหนึ่งคือ เป็นตัวถูกรู้ด้วยญาณ หรือวิญญาณธาตุ ที่ไปสัมผัสรู้ ซึ่งรูปรูปนั้น ไม่รู้ตัวเองหรอก มันเป็นตัวถูกรู้
                เมื่อรูปถูกรู้ ก็จะเป็น รูปกาย พอเป็นรูปกาย ก็คือรูปที่เป็น องค์ประชุม เรียกว่า กาย คำว่ารูปกายนั้น รวมความ โดยปริยายว่าคือ รูปรูป และ รูปกาย (องค์ประชุมของรูป)
                คำว่า รูปกาย คือ ทวาร ๕ และมีจิตไปร่วมด้วย เป็น ๖ ทวาร แล้วก็จะเกิด รูปกาย
                ส่วน รูปรูป ก็คือธาตุ ๔ อยู่นั่นเอง ผู้จะไปรู้มัน คือสัตว์ หรือจิตวิญญาณ การรู้ขึ้นมา ก็เรียกว่ารูปกาย และรูปกาย ก็จะละเอียดไปสู่ นามธรรม อีกที
                รูปัง รูปานิ ปัสสติ คือต้องมีการเห็นด้วย ดังนั้น ผู้มีธาตุวิญญาณ เท่านั้น จึงเกิดการเห็น ต้นไม้หรืออุตุ ไม่มีวิญญาณ จึงไม่เห็นได้ ต้องจิตนิยามขึ้นไป จึงสามารถเห็น
                ในวิโมกข์ ๘ ข้อที่ ๑ ต้องมีการสัมผัส จึงจะเห็น
                คำว่า นามรูป ก็คือในความเป็นนามธรรม ซึ่งต่างจากคำว่า รูปรูป
                ในขันธ์ ๕ คำว่ารูปคือรูปนอก ส่วนอีก ๔ ขันธ์ คือองค์รวมของนาม ถ้าเราสามารถ สัมผัสรู้เวทนา ด้วยญาณปัญญา เวทนาก็ถูกรู้ เวทนาก็คือ "นามรูป" พอเป็นจิตถูกรู้อีก จิตก็เป็น "นามรูป" ซึ่งธรรมะที่ทรงไว้ในใจ ถ้าทรงไว้ภายนอก ก็เป็นรูปธรรม เป็นธาตุ ๔ แม้แต่ต้นไม้ ก็ไม่มีวิญญาณ มันก็ถูกรู้ เป็นรูปธรรม
                นามกาย คือองค์ประชุมของจิตข้างใน เราเรียกว่า องค์ประชุมภายในได้ แต่ถ้ารูปกาย คือรวมหมดเลย ทั้งนอกและใน พระพุทธเจ้าจึงตรัส แต่คำว่า กาย คำเดียว เช่น ผู้จะสามารถ ดับอวิชชาได้หมด ก็ต้องมีความรู้ ในวิโมกข์ ต้องสัมผัสวิโมกข์ ๘ จนถึงนิโรธเลย
                ส่วนวิโมกข์ข้อที่ ๔-๗ นั้นละเอียดถึง อรูปภายในเลย เป็นอรูปฌาน ข้อที่ ๘ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ จะต้องสัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย คำว่ากายนี้ คือองค์ประชุม นี่คือตัวชี้บ่งเลยว่า จะต้องมีอย่างนี้ จะต้องสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ทั้งรูปฌาน และอรูปฌาน
                สรุป นามกาย คือองค์ประชุมที่หมายถึงข้างใน นี่คือที่ต้องการย้ำ เป็นเรื่องไม่ง่าย ที่จะรู้ได้
                ผู้บรรลุอนาคามีเป็นต้นไป เมื่อผัสสะภายนอกแล้ว ท่านได้แล้ว มั่นคง เด็ดขาดเที่ยงแท้ ในเรื่องข้างนอก ท่านก็ไม่ต้องพิจารณา เหตุปัจจัยที่ กระทบภายนอก แต่ก็กระทบ อยู่นั่นแหละ แต่ท่านไม่เกิดกิเลส ถอนอนุสัยได้ อย่างเด็ดขาด ก็ดูแต่นามกายที่เหลือ เป็นสังโยชน์ของ อนาคามี เป็นต้นไป ก็กล่าวกัน ตามภูมิของ อนาคามี ก็จะไม่ลักลั่นสับสน
                ผู้ปฏิบัติต้องเรียนรู้ ตั้งแต่หยาบมาก่อน ซึ่งเขาไปปฏิบัติ นั่งหลับตาสมาธิ วิปัสสนาข้างใน ไม่เอาภาระข้างนอก ที่เป็นเบื้องต้น ซึ่งจะเอาแต่ข้างใน ให้บรรลุ ซึ่งมันไม่ใช่ ใครจะยึดมั่นถือมั่น ก็ไม่เถียงเอาชนะ
                แม้ผู้บรรลุสูงสุด ท่านก็ต้องกระทบสัมผัส แต่ท่านทำได้ อย่างสมบูรณ์ เป็นอัตโนมัติแล้ว
                คำว่า กาย ที่พ่อครูได้หยิบเอา วิญญาณฐิติ ๗ (คือความตั้งอยู่ ของวิญญาณ) และสัตตาวาส ๙ มาใช้เรียนกัน วิญญาณคือธาตุรู้ ต้องกระทบรู้ ไม่ใช่ดับมัน ผู้ใด อยู่ในองค์ประกอบ ที่มีดินน้ำไฟลม และก็มีองค์ประชุมของ ทวาร ๖ เมื่อกระทบแล้ว มันก็จะเกิด การสังขาร ปรุงปุ๊ปด้วยอวิชชาเลย เป็นเวทนา ตัณหามาร่วมปรุงเลย ไม่สามารถห้ามกั้น จัดแจงได้แลย ไม่สามารถทำให้มัน เป็นการปรุงแต่งที่ดี
                มันจะปรุงแต่งกันอยู่ แล้วมันมีเหตุ ที่พาเสื่อม พาไม่เจริญ เราก็ต้องสามารถ จับเหตุ แห่งตัวเสื่อมได้ แต่มันมีถาวะ ให้เรารู้ได้ พระพุทธเจ้าว่า จะรู้นามธรรม ได้นั้น ส่วนข้างนอก เราสามารถพราก ห่างมันด้วยทาง ฟิสิกส์ แต่ปฏิบัติธรรม ต้องผัสสะ แล้วเกิดการปรุงแต่งภายใน ซึ่งเป็นของจริง ที่พาเราตกต่ำ เช่นหลงสุข ถ้าไม่ได้ ตามเหตุนั้น ก็ทุกข์ เมื่อดับเหตุทุกข์ สุขก็หมดไป มีแต่เหตุแห่งทุกข์ที่ดับ แล้วสุขก็ดับไปด้วย โดยปริยาย
                คำว่ากาย คือการสังขารปรุงปุ๊บ แล้วเราก็หลงว่า มันเป็นสุข คนธรรมดา ก็หลงว่าสุข ยิ่งเดรัจฉาน ยิ่งแท้แล้ว มีแต่มนุษย์ที่อาริยะ ที่มีสัมมาทิฏฐิ จึงรู้เหตุ แล้วดับเหตุได้ถูก
                เมื่อมันประชุม เราก็อ่านองค์รวม ไม่ใช่ลืมมันไป เราต้องวิเคราะห์วิจัย ในนามธรรม ให้เกิดปัญญารู้ ในนามธรรม จึงเป็นของจริง
                พระพุทธเจ้าสรุปใน วิญญาณฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ ยืนยันเรื่องกาย คือ
๑. สัตว์บางพวก กายต่างกัน (นานัตกายา) สัญญาต่างกัน (นานัตสัญญิโน) วิญญาณฐิติ คือต้องรู้ ขณะวิญญาณคนผู้หนึ่ง ที่สามารถเรียนได้ เมื่อมีรูป ก็ต้องรู้รูป รู้อย่างปัสสติ รู้อย่างเห็นๆ ไม่ใช่รู้อย่างสะเปะสะปะ เช่น พวกมนุษย์  เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า
        สัญญาคือการกำหนดหมายรู้ แล้วมันก็จำรู้ แล้วมันก็เก็บไว้ทรงไว้ ถ้าสัญญา มั่นหมายชัด มันก็เก็บเลย ถ้าสัญญาพริ้วแผ่ว มันก็เก็บรางๆ ถ้าสำคัญมั่นหมาย ก็เก็บไว้ดี ลืมได้ แต่มันก็เก็บไว้ อยู่อย่างนั้นแหละ เหมือนใน ฮาร์ดดิสก์ เราไม่สามารถ กดคอมพ์ เอาออกมาดูได้ ก็เช่นเดียวกันกับสัญญา
                ซึ่ง มนุษย์ เทวดา พรหม ก็ต่างกันไป คำว่าต่าง คือผู้จะเห็นกาย ก็มีสัญญา กำหนดรู้กาย ก็ต้องมีความรู้ ถ้ารู้ไม่ถูกต้อง มิจฉาทิฏฐิ ก็จะรู้ต่างกับ สัมมาทิฏฐิ ซึ่งธรรมดา มันก็ต่างกันอยู่แล้ว ปุถุชนก็เห็นกายอย่างเดียวกัน สัญญาอย่างเดียวกันได้ หรือต่างกันก็ได้ ไม่แปลก แต่ถ้าเป็นปุถุชน กับอาริยชน ก็ต้องต่างกันแน่
                ปุถุชนกับอาริยชน ต้องสัญญาต่างกันแน่ การกำหนดหมาย ก็ต้องต่างกันแน่ เช่น มนุษย์คือ ผู้มีจิตสูง ถ้าหมายถึง คนทั้งหมดเลย ทั้งร่างกาย และพฤติกรรมสูง คนนี้ก็กำหนดว่า คนมีเงินทอง มีโลกธรรมมาก พรั่งพร้อมด้วย เบญจกามคุณ รูปรสกลิ่น เสียงบริบูรณ์ มีอัตตา สามารถมีอำนาจบาทใหญ่ ถ้าสัญญาอย่างนั้น คุณก็ต้องเห็นต่าง กับอาริยชนแน่ เพราะอาริยชน จะไม่เอาใคร มีโลกธรรมมาก มาตัดสิน ว่าเป็นผู้มีใจสูงหรอก
                ผู้มีภูมิอาริยะก็จะรู้ เห็นเมื่อไหร่ก็แม่น แต่ไม่ได้ไปข่มเขา ก็สงสารเขา เขายังไม่เจริญ ซึ่งองค์ประชุมภายนอกก็ต่างกัน อย่างหนึ่งเต็มไปด้วยกาม,โลกธรรม, อัตตา แสดงออกอย่างเห็นๆ ถ้าคนเห็นว่า อย่างนี้คือสูง ก็จะยอมรับ ว่าเป็นคนชั้นสูง ก็มีกาย ที่เห็นต่างกันกับ คนโลกุตระ
                ส่วนเทวดา หรือเทพ ก็ต่างกัน ถ้าผู้ยังยึดถือว่า สภาพเทวนิยม เทวดาหมายถึง จิตวิญญาณ ไม่ใช่ร่างกาย ที่ไปชี้บ่ง ความเป็นเทวดา จะใส่ชฎาใส่สังวาลย์ รำป้อมาเลย มีแสงวับๆ ก็ตาม เทวดาอย่างรูปธรรมนั้นไม่ใช่เทวดา ถ้าพวกเทวนิยม เขาก็หมายถึงจิต
                เทวนิยมเขาก็ว่าจิตวิญญาณ เทวดาคือความสูง เขาก็จะเห็นเทวดา เป็นรูปร่าง ตัวตน มีสรีระ เขาว่าคนจะเห็นได้ ต้องมีตาทิพย์ ก็จะสัญญาอย่างนี้ เขาก็จะฝึก พลังจิต ฌาน สมาธิอย่างของเขา หลับตาปี๋ ก็เข้าไปเห็นเทวดา เห็นสัตว์นรก ผู้ที่เข้าใจไม่ดี จะเห็นเทวดา แบบลืมตา เห็นเทวดาเหาะมาเลย ซึ่งเพี้ยนหน่อย และยากด้วย ส่วนพวกเทวนิยม ที่เห็นผี จะเห็นมากกว่า
                ซึ่งนามธรรมหรือวิญญาณนั้น เห็นได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ ผู้ยังไม่สัมมาทิฏฐิ จะเห็นเป็นตัวตนรูปร่าง ยิ่งหลงหนัก ก็เห็นขณะลืมตาเลย ทั้งเทวดา และผี
                คนที่ไม่ติดยึดมาก ก็ไม่เห็นภายนอก แต่หลับตาเห็น ยิ่งไปฝึกมา มีของวิเศษ สามารถหลับตา เพ่งเข้าไปเห็นได้ หรือฝึกฌานสมาธิ ก็เห็นเป็นรูปร่างได้
                อาริยะของพระพุทธเจ้า   จะเห็นจิตวิญญาณหรือมโน ไม่มีสรีระ ต้องรู้เป็นอาการ แล้วเรากำหนดหมายได้ว่า นี่คือผี นี่คือเทวดา ต้องมีของใครของมัน ต้องมี วิชชา ๘   
๑.วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง – หรือรู้ความจริงในเหตุ ที่มีความจริงเกิด  รู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง)
๒.มโนมยิทธิญาณ (ความมีฤทธิ์ทางจิต ที่จิตสามารถ เนรมิต “ความเกิด” อย่างใหม่ขึ้นมาได้)  
๓.  อิทธิวิธญาณ (ความเก่งหลายอย่าง ในการที่จิตมีอานุภาพ เพราะปราศจาก กิเลสแล้ว)
๔. ทิพโสตญาณ (สามารถแยกแยะ การได้ยิน สิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น กิเลสปะปนมากับ คำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่า คนธรรมดา เขาจะรู้นัยยะได้) รู้ทิพย์คือรู้ว่า นี่คือผีร้าย หรือเห็น ความเป็นเทวดา (จิตสูง) เพราะเราฆ่า อกุศลจิตได้ จิตก็เจริญ เป็นอุบัติเทพได้ จิตตัวเดิมตาย ก็เกิดจิตใหม่ จนบริสุทธิ์ เป็นวิสุทธิเทพ โดยใช้ไฟฌาน ที่มีพลังานสูง ไปสลายพลังงานผี ให้ตายไปเด็ดขาด ทำอย่างพิสูจน์ได้ เป็นของจริงยืนยันได้เลย
๒.สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน   เช่น  เหล่าเทพ จำพวกพรหม  ผู้เกิดในภูมิ ปฐมฌาน เป็นต้น ถ้ากำหนดหมาย คำว่าฌาน หมายอย่างเดียวกันคือ ไม่มีนิวรณ์ แต่ถ้ามิจฉาทิฏฐิ เขาว่าฌาน ต้องไปอยู่ในภวังค์ หลับตา ก็ไม่ตรงกับ ของพระพุทธเจ้า  แต่ของพระพุทธเจ้านั้น ลืมตาอยู่กับโลก แต่เรียนรู้ ที่จะกำจัดกาม หรืออัตตา ที่จะเกิดเมื่อผัสสะ ไม่ใช่หนีลืมมันไป แล้วนึกว่าเราบรรลุ
                คำว่ากายต่างกัน ก็คือคุณปฏิบัติฌาน ก็มีองค์ประชุม ของฌานต่างกัน เช่นกำหนดว่า ฌานต้องนั่งหลับตา ก็จะได้ฌาน อย่างนั่งหลับตา ได้ผลเป็น ไม่มีนิวรณ์เหมือนกัน (สัญญาอย่างเดียวกัน) เขานั่งแล้วทำจิตให้ไร้นิวรณ์ เป็นฌาน ซึ่งตรงกันกับของพุทธ ก็ไม่มีนิวรณ์ แต่กายต่างกันนะ ของพุทธลืมตาเห็น ทางทวาร ๕ มากระทบ อยู่ตลอด แต่ไม่มีนิวรณ์ ของพุทธเป็นกาย ที่กว้างขวางรู้หมด แต่ของฤาษี ไม่มีรูปกาย เขาก็รู้อาการ ลิงค นิมิต กำหนดรู้ว่า ไม่มีนิวรณ์ได้เช่นกัน สัญญาตรงกัน แต่ได้กายต่างกัน เพราะคนละทิฏฐิ


ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

  • เพิ่งมาอยู่วัดแล้วเครียด ต้องนอนรวมกับคนอื่น จึงรู้สึกอึดอัดและเครียด จะทำอย่างไร

ตอบ  คนอยู่วัดเขาก็เครียด แต่เขารู้กิเลส แล้วมีวิธีปฏิบัติ ให้ลดความยึด ที่นี่ไม่มีห้องเดี่ยว มีรวม แต่ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาสังคม มีผัสสะเป็นปัจจัย ถ้าคุณยึด ทนไม่ได ้กับการสัมผัส กับกลิ่น ก็ยึดถือเยอะไป ก็ต้องพยายามเข้าใจ และศึกษา ว่าการยึดมั่น ถือมั่น เป็นความทุกข์ ความอึดอัด พ่อครูไม่รู้จัก อาการเครียด แต่เดาเอา ตั้งแต่เป็นหนุ่มจนแก่ ก็ไม่รู้จักเครียด  ก็เดาเอาว่า เป็นอาการตึงๆ ไม่โล่งโปร่ง ก็เกิดอาการ บีบบังคับกดดัน บางทีไม่รู้เรื่อง มีอะไรเต็มไปหมด ก็เครียด ก็เรียนรู้เหตุ เมื่อมานอน รวมกับหมู่กลุ่ม เพราะเราไม่มีห้องเดี่ยว นอกจากคนป่วย แต่มันมีน้อย ห้องหับ แต่ที่จริง นอนห้องรวม ก็ได้ถ้อยที ถ้อยอาศัย ได้ปรับตัว หัดฝึก ก็จะดีขึ้น เริ่มปฏิบัติ ก็ต้องศึกษาบ้าง

  • คำว่านรกคืออะไร?

ตอบ คำว่านรกคือ
        ๑. ความเดือดร้อนใจ ทุกข์ใจ คือมันโกรธโลภหลง ก็ไม่สมใจทั้งนั้น ก็ต้องมาเรียนรู้ อาการต่างๆ พอมันไม่สบายทุกข์ ใจไม่สบาย ท่านเรียกว่า ใจมี วิปฏิสาร คือไม่ปกติ ถ้าถือศีล ปฏิบัติได้ ก็จะมี อวิปฏิสาร ก็ต้องมาเรียนรู้ ทำศีลทีละข้อ มีกรอบให้ปฏิบัติ เช่นศีล ๕ ก็กำหนด ไม่ฆ่าสัตว์
        ๒.ที่ดิ้นไป ก็ดิ้นไปสู่ความเสื่อม ชัดๆคือไปบำเรอกาม บำเรอโลกธรรม บำเรออัตตา เช่นเรามีเงินมาก แล้วก็เอาเงินมาล่ากาม ล่าอัตตาเพิ่มอีก นั่นคือ พวกไม่รู้จัก ความเจริญ ซึ่งความเจริญที่แท้ คือการแบ่งปัน การมีเมตตา การไม่ไปเอากาม ไม่เอาโลกธรรม ไม่เอาอัตตาต่างหาก คือความเจริญ คืออาริยบุคคล มารวมกันสร้างสรร เป็นสังคมช่วยโลก
        สรุป นรกคือจิตวิญญาณ ที่ไม่เข้าใจว่า ประกอบด้วยกิเลส ที่พาทุกข์ร้อน

  • สติมั่น เกิดปัญญา wisdom สติมึน เกิดปัญหา problem ได้ฉันนั้น... พลเรือตรีมินทร์
  • การรับจำนำข้าวเปลือก ในราคาสูงกว่าความจริง ทำให้ทุกคนในไทย ต้องช่วยจ่ายคนละ ๕,๐๐๐ บาทครับ
  • กิเลสล้วนเริ่มที่ใจ การนั่งหลับตา ทำใจไม่ถูกหรือ

ตอบ ของพระพุทธเจ้าอย่างนั้นน้อยไป ดับกิเลสที่ใจถูก แต่ไม่ต้องดับกิเลส ขณะนั่งอย่างเดียว แต่ยืนเดินพูด ทำอาชีพ ก็ดับกิเลสได้ โดยมีผัสสะ เกิดกิเลสสดๆ ทำได้สดๆเลย อย่างวิปัสสนาวิธี และก็ต้องทำ สมถะด้วย ทำขณะมีกรรมกิริยา ทุกอย่าง ทั้งในอาชีพ

  • สัมปทานหมายถึงสิ่งใด

ตอบ  พ่อครูว่าในชีวิตนี้ ไม่เคยไปสัมปทานกับใครเลย ขอเดาว่า สัมปทานคือ เรามีสิทธิ์ได้สิ่งนี้ มาครอบครอง โดยกรรมสิทธิ์ เป็นของจากส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ฯ อนุมัติให้เราได้
หรือเขาอาจหมายถึง สัมมัปปธาน ๔ คือ ธรรมในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ข้อที่ ๒ คือ
๑.สังวรปธาน ต้องระวัง เราใช้กรอบศีลอะไร เพื่อเรียนรู้ลดละกิเลส เราต้องมีเขต มีขอบศีล และสังวรอินทรีย์ ๖ คือเมื่อมีกระทบทวาร ๖ เกิดวิญญาณ ก็สังวร ตามเกณฑ์ เราศีลเรา แล้วสังวรเพื่อรู้เหตุ ที่จะปหานในกรอบศีลเรา
๒.ปหานปธาน  เมื่อกิเลสเกิดอาการ จะมีตัวโทสะ จนกระทั่ง อยากฆ่า อยากทำลายล้าง ถ้ามันแรง เราก็ต้องรู้จิตเรา ว่าเราอยาก เราก็ไม่ต้องทำร้าย เราป้องกันตัว คือระวัง อย่ากระทบ อย่าให้ถูกทำร้าย แต่ไม่ไปฆ่าเขา หรือมีเหตุปัจจัยอื่นอีก เช่น โภชเนมัตตัญญุตา - ชาคริยานุโยคะ คือ สังวรปาน ต้องสังวร ในอาหาร ที่มากระทบ ก็ปหานกิเลส เรากินอาหารทุกวัน ก็ปฏิบัติได้ทุกวัน ส่วนอุปโภค ก็เรียนรู้ ว่ามันยั่วยวนเรา เราก็ไม่ต้องไปเสพ สุขทุกข์กับมัน เสร็จแล้ว เราก็จะเปลี่ยน จากคนหลับไหลในโลกีย์ แต่ตอนนี้ เรารู้เราตื่น เราเลิกมาแล้ว หลุดโลกอบาย โลกกาม โลกธรรมแล้ว
๓.ภาวนาปธาน เมื่อปหานกิเลสได้ผล นี่คือเพียรให้เกิดผล กิเลสดับนิโรธ แล้วทำทวน
๔.อนุรักขณาปธาน คือรักษาผล อาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง

  • อากาสานัญจายตนฌาน คืออะไร

ตอบ เป็นองค์ธรรม เป็นอรูปฌานขั้นเก็บละเอียด ถ้าปฏิบัติได้ฌานที่ ๔ เรามีอุเบกขาแล้ว ไม่ทุกข์สุขกับโลกีย์ แต่ก่อนหลงไปกับกาม กับโลกธรรม ได้มาก็ฟูใจ เรากำหนด ที่จัดจ้าน เราก็ไม่เอา เอาแค่นี้ก็พอ เรากำหนดของเราเอง พอล้างได้กิเลสดับ เราก็ไม่อยากได้มา ไม่ดูดไม่ผลักเมื่อสัมผัส ได้จิตว่าง แล้วเราก็ตรวจความว่าง อากาสา คือว่างโปร่ง เป็นการตรวจจิต ที่ลึกซึ้ง เป็นอุตริมนุสธรรม คนไม่มีสภาวะ จะอธิบายผิด อวดอุตริมนุสธรรม ผิดไปเยอะเลย บาปมาก พาศาสนาพุทธเพี้ยน

  • เพิ่งรู้จักอโศกตอนเป็น พธม. อยากทราบว่า พ่อครูมีนโยบายอย่างไร ในเรื่องคนคู่ เมื่อวัยรุ่น จบม.๖ หากเขาจะคบหากัน แล้วอยู่ในวัด หรือข้างวัด ดิฉันห่วงว่า เขาจะชิงสุกก่อนห่าม

ตอบ.. พ่อครูว่า คุณก็คงรู้โดยพอสมควร เรามีเกณฑ์ หากผิดในเรื่องคนคู่ ในนักเรียน เราให้ออกไปก็มี แม้ไม่ถึงออก ก็มีทัณฑ์ก็มี เป็นเรื่องสำคัญ เด็กเราก็ค่อยยังชั่ว กว่าข้างนอก เราถือเป็นเรื่องสำคัญ ทางเอเชียเราไม่ฟรีเซกส์ เราไม่ชิงสุกก่อนห่าม ดีกว่านั้น ก็ลดละกิเลส เราเป็นรร.สหศึกษา แม้แต่วัดเรา ก็สหศึกษา แม้แต่นักบวชเรา ก็สหศึกษา ซึ่งข้างนอกเขาไม่เชื่อ ว่าเราทำได้ แต่เรามีหลักเกณฑ์ว่า ถ้าสุดวิสัย จะถือศีล ๕ ก็ให้เป็นกิจลักษณะ เราก็ให้แต่งงาน แต่อย่าให้รุ่มร่าม ก็มีวัฒนธรรม อยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็น เด็กหรือผู้ใหญ่ อย่าไปชิงสุกก่อนห่าม หัดอดทนก็พอได้ กลุ่มเราตั้งมา ๓๐-๔๐ ปี  เราเริ่มแต่ พศ. ๒๕๑๖ ตั้งแต่แดนอโศก ต่อมาก็มาตั้ง รร.สัมมาสิกขา ก็มีผิดบ้าง แต่ก็ไม่เละเทะ เหมือนข้างนอก ของเรา ใครรุนแรงมาก ก็ขอให้อยู่ ข้างนอกก่อน จะเป็นเชื้อภัยไม่ดี ในสังคมเรา ก็ขออภัย เราก็รู้ตัว ว่าเราเกินมาตรฐาน คนที่รู้ตัวก็ออกไป เขารู้ว่าเราปรารถนาดี เราไม่โกรธเกลียดกัน ก็เข้าใจฐานะ ถ้าเกินแรง เราเรียกขั้นอบาย

  • ช่วยปรับแก้จิตใจหนูด้วย แล้วช่วยเพิ่มทางรอดประเทศด้วย ทำไมทราบข่าว คุณเอกยุทธ อัญชัญบุตร แล้วหดหู่ เหมือนวิญญาณคนตาย มาร่ำร้อง เห็นรูปคนตาย เปลือยออกสื่อ ซึ่งต้องรอผล ดีเอ็นเอต่อไป แล้วอย่างนี้ คนไทยจะอยู่อย่างไร

ตอบ.. พ่อครูทำงาน เอาทฤษฎี พระพุทธเจ้ามา ให้ลดความโหดร้าย ลดกาม พวกนี้ เกิดจาก กิเลสทั้งสิ้น พ่อครูทำ อย่างเหน็ดเหนื่อย เห็นว่าทางนี้ เป็นทางช่วย ถ้าจะแก้ทางโน้น เป็นการแก้ปลายทาง แต่แก้ต้นทางก็ยาก ต้องมีสัมมาทิฏฐิ ลดละกิเลส ก็ทำอย่างนี้ ตามสูตรพระพุทธเจ้า มาเรียนให้สัมมาทิฏฐิ เราก็รับข่าว เหมือนคนอื่น แต่เราปลง วางได้ เราไม่ดูดาย เรามาลดต้นทาง คือลดกิเลสเลย คนที่เขาไม่ยอมลด ก็มีวิบาก ที่จะเล่นงานเขาเอง เขาไม่ให้เราช่วย คนชั่วทำบาปได้ เขาไม่กลัวบาป ทำอย่างหลง เขาฆ่าเราได้เลย เราก็ทำของเรา แล้วเพิ่มมวล เป็นสนามแม่เหล็ก แห่งคุณธรรม ที่จะมีแรงสูง ถ้าธรรมะระดับโลกุตระ เป็นอาริยะที่มีพลังมากขึ้นๆ ไม่จำเป็นต้อง ครึ่งต่อครึ่งด้วย ถ้ามีคนดีรวมกัน ก็จะช่วยได้ ถ้าจะช่วย ก็สนใจธรรมะ เป็นแก่นสาร เป็นตัวแท้ต้นทาง นอกนั้นเราก็ทำ อย่างอนุโลมไป

  • อบายภูมิ คือกาม ในล. ๓๑ ข. ๒๖๓

[๒๖๓] คำว่า อาสวะ ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่านั้น คือ
                กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสว อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปเพราะ โสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ ย่อมสิ้นไป

  • เมื่อมีความโกรธ เราก็ถามว่า เราจะเอาความโกรธไว้ทำไม เราโง่หรือฉลาด ที่เราโกรธไว้ นี่คือการปฏิบัติธรรมไหม

ตอบ... ก็ใช่ เราหาเหตุผลเพื่อให้กิเลสลด พยายามอย่าไป ปล่อยมันง่ายๆ เราเอามัน คามือเลย พิจารณาว่า มันไม่ดีอย่างไร มันไม่เที่ยงอย่างไร มันมีตราบที่เรายึดมัน มันเป็นเหตุ แห่งทุกข์ พาเราเสื่อม เมื่อเห็นโทษภัยมาก ปัญญาเราก็จะสูง เป็นไฟฌาน ที่กำหราบ โทสัคคีย์ ได้จริงแล้ว แล้วมันก็ดับได้ จางคลายได้ แล้วพอเราทำได้ ความโกรธ ก็จะพัก เป็นคราวๆไป ถ้ากดข่ม ก็จะได้เป็นคราวๆ แต่ถ้าทำอย่าง มีปัญญา กิเลสมันแพ้ปัญญา

  • ดิฉันปฏิบัติธรรม จะเขียนจม.ไปให้กำลังใจสมณะ ที่ออกไปแล้ว จะเป็นอีแอบ หรือไม่

ตอบ ต้องอ่านใจ ว่าเรามีจิตแทรกอะไรไปไหม อยากได้ให้ท่านเห็นใจเรา ก็เป็นไอ้แอบ ถ้าเราจริงใจซื่อสัตย์ ก็ระมัดระวัง ในการเขียนการพูด ถ้ารู้ว่ามีกิเลส อย่าทำดีกว่า ถ้าเห็นว่า รู้ตัวอยู่ ทำอย่างมีประโยชน์ก็ดี

  • เห็นพระที่หน้าพ่อครู จีวรสวยมาก อยากได้ไปอยู่ที่บ้าน ทำยังไง

ตอบ เรียกว่าสมเด็จปู่วิชิตอวิชชา จีวรที่บอกว่าสวย คือลีลาเป็นศิลปะ บอกให้ทราบว่า จีวรถูกลมพัดกระหน่ำลู่ ต่อสู้สลาตันของวิกฤติรูป ก็เกิดความจริง จาก Realistic มาเป็น Idealistic ถามว่าอยากได้เอามาไว้บ้าน ก็ยังเริ่มทำ ไม่ได้ทำเผื่อใคร เราออกแบบมา เป็นต้นแบบ เราไม่คิดค้าเช่นนี้ เรากลัวบาป ก็ค่อยๆเป็นไป อยากได้จริงก็มาดู ก็มีการช่วยตัวเองบ้างก็ดี เพราะอวิชชา มันเยอะ ต้องมีสิ่งจึงออกบ้าง

  • ถ้ารู้ว่าคนที่เราศรัทธาโกหก จะทำอย่างไร

ตอบ ถ้ารู้ว่าเขาโกหกคือทุจริต พระพุทธเจ้าว่า คนโกหกทั้งๆที่รู้ คนนี้จะทำชั่ว ได้ทุกอย่าง เพราะไม่มีหิริโอตตัปปะ บางคนบอกว่า โกหกสีขาว มีที่ไหนโกหกจะดี ต้องรู้ว่า โกหกก็เลิกคบ ถ้าทำบ่อย จะได้เรื่องได้ราวอะไร

  • พูดหน้าประชุมชน เกิดตื่นเต้นเพราะอะไร

ตอบ  เพราะเราไม่มั่นใจว่า เราจะทำได้ เรารักหน้ากลัวขายหน้า แต่ถ้าเรารู้ว่า เราทำได้ดี เราก็ไม่ตื่นเต้น

  • ทำผิดเพราะอยาก แล้วทุกข์หมองใจ เพราะกิเลสใด

ตอบ ก็ดับตัวอยากเลย เรียนรู้ความอยาก แล้วลด ถ้าอยากแรงร้ายพาเสื่อม ก็ลด

  • เห็นรูปปุ๊ปชอบปั๊ป จะแก้อย่างไร รูปผ่านไปก็หายไป แล้วจะแก้ที่ไหน

ตอบ.. พ่อครูเคยเขียนว่า เห็นปุ๊ปรักปั๊ป นั่นแหละตัวเวร แต่ถ้าผ่านไปแล้วจบก็ดี แต่ถ้าเห็นแล้ว ติดตาตรึงใจ ก็ไปแสวงหา เป็นเวราณุเวร

  • ๑.ในฌานของสมถะ จะเจริญวิปัสสนาได้ไหม

ตอบ  ฌานสมถะคือได้เจโตสมถะ ถ้าฌานลืมตา ก็เจริญเจโตสมถะได้ อย่างเห็นๆ คือปัสสติ

  • ๒.อยากให้อธิบายรูปฌาน อรูปฌาน ให้ชัดเจน

ตอบ ติดตามดีๆไม่ง่าย เป็นอุตริมนุสธรรม

  • ๓. ฐานโสดาฯและสกิทาฯ ในชั้นของกาม จะเกิดฌานหรือยัง

ตอบ คำว่าฌาน คือเผาทำลายกิเลส ถ้าเผากิเลสได้ ก็คือฌาน ในแต่ละฐาน

  • ยิ่งปฏิบัติธรรม ก็ยิ่งเห็นสิ่งไม่ดีในอดีต ทำไม

ตอบ. .เพราะคุณตาดีเข้าใจ เกิดภูมิปัญญามากขึ้น อยู่ในหมู่ ที่ไม่เอากิเลส ใส่คุณด้วยยิ่งดี

  • เมื่อสองวันก่อน ในรายการสุขภาพดีด้วย ๗อ. มีเรื่องดี เรื่องอันตรายของสารเคมี อันตรายของผงชูรส อยากให้นำมา ออกอากาศอีก...

จบ
               

             

 
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานราชธานีอโศก