560620_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู
เรื่อง วิปัสสนารู้กายให้ลึกซึ้ง


            พ่อครูจัดรายการที่ห้องกันเกราสันติฯ....

รายการนี้มีธรรมะเป็นหลัก นอกนั้นก็มีสงครามสังคม และการเมืองอยู่ด้วย ก็มีทั้งช่วง บรรยายคนเดียว และตอบประเด็น จากทางบ้าน ได้ทุกประเด็น
            วันนี้ตั้งใจพูดประเด็นธรรมะที่คุณ 8705 ส่งมา  แต่ก็อ่านของคนอื่นก่อน
       0850242xxx กำลังโกรธคนอยู่ ได้เข้าใจทุกขอริยสัจ เปลี่ยนจิตเลย ขอบคุณอย่างมาก
            พ่อครูว่า แสดงว่าอ่านจิตเป็น เข้าใจทุกข์อาริยสัจจ์ อ่านโกรธเป็น แล้วเราก็รีบ เปลี่ยนจิต ซึ่งเป็นวิกขัมภนปหาน ที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ อย่าให้มัน ออกมาข้างนอก แล้วจัดการให้มันหมดพลังก่อน แม้จะกำจัดไม่ได้ด้วยปัญญา ด้วยวิปัสสนาญาณ
            ถ้าไม่วิปัสสนากิเลส จะไม่ถูกกำจัด ไม่ถูกสำรอกออกไป แต่ถ้าปฏิบัติ ตามหลัก พระพุทธเจ้า ก็จะสำรอกกิเลสได้ อย่างแท้จริง สะอาดบริสุทธิ์ได้เลย แต่ถ้าไม่ลงถึง วิปัสสนา ก็ไม่สามารถเข้าถึงได้

            0867081xxx วันอาทิตย์นิ้จะไปเจอกลุ่มเพื่อนหน้ากากขาวทิ่หน้าเมืองพัทยา 4โมงเย์นครับ
       0824039xxx เราอ่านดูฟังรู้ คำอริยสัจ4ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค แต่เรารู้จักแต่ตัวอักษร แต่ตัวทุกข์จริงๆ ของมัน บางทีก็จับบ่ได้ ไล่บ่ทัน! เอวังน้อ!

            ก็เข้าใจแล้วก็ฝึกไป คือจับรู้อาการ อารมณ์ทุกข์ เช่นอารมณ์โกรธ นี่คืออาริยสัจข้อแรก ทุกข์อยู่ที่จิต คนที่อ่านจิตเป็น แล้วพยายามหาเหตุที่พาทุกข์ แล้วกำจัดมันด้วย อริยสัจ ข้อที่ ๕ มีการปหาน ๕ เพื่อถึงนิโรธ คือทำให้กิเลสหาย สูญไปได้เลย ผู้ที่สามารถเข้าถึง และกำจัดกิเลส อย่างรู้ๆเห็นๆ เรียกว่า มีวิปัสสนาญาณ

            0861025xxx ฟังท่านสมณะอธิบายธรรมะวันนี้โดนกิเลสม๊าก
            0888705xxx If anyone can get the wrong Dhamma out of Asoke! We will give him the Prize 20 milliuns BahtOK

       พ่อครูว่า ถ้าใครสามารถหยิบเอาธรรมะผิดๆ ของอโศกออกไปได้ ก็คือจับโจร พร้อมของกลาง คือธรรมะ เอาออกไปให้ได้ เราจะให้รางวัลคุณ ๒๐ ล้านบาทเลย นี่เลียนแบบ โอ๊คเลยนะ

            0888705xxx Dhamma of Asoke is Vi-pas-sa-kid or Vi-pas-sa-nug... But is not Vi-pas-sa-na !!! OK
            0857308xxx 8705 วันนี้แปลงกาย เป็นฝาหรั่งหรือ
       0888705xxx ฟังธรรมพธรให้รู้.. ต้องปีนบันไดฟังเท่านั้น =ปีนบันใด ลงไปฟัง ที่ก้นเหวลึก!
       การปีนเขาว่าปีนบันได ลงไปเหวลึก ก็ฟังเขาว่า ก็ไม่ได้เกิดจิตโกรธเคือง หวั่นไหว แต่ก็เข้าใจ ยิ่งคบหากันมานาน ก็ยิ่งเข้าใจ

       0888705xxx สิกขมาตคนนี้นิสัยเสีย เพราะจะชอบพูดสอดคนอื่น ที่กำลังพูดอยู่ ตลอดรายการ!
       ก็ฟังไว้ เขาว่าสอด ที่จริงผู้ดำเนินรายการ เขาก็ต้องพูดอย่างนี้แหละ พ่อครูสังเกตว่า ตัวหนังสือของเขา สะกดคำว่า สิกขมาต ไม่มีสระอุ จึงตั้งข้อสังเกตว่า คนนี้เป็นคนเก่า จะเก่าอย่างไร ก็ติดตามพวกเราดี
            ก็ขอขยายความคำว่า "วิปัสสนา" ซึ่งเราปฏิบัติมาจริง ทั้งนักบวช และฆราวาส และก็มีพฤติภาพ ที่สัมผัสได้ แต่คุณ 8705 ก็ว่านี่แค่วิปัสสนึก ไม่ใช่วิปัสสนา แต่เราก็ขอ ขยายความว่า
            วิปัสสนาเป็นวิชาของศาสนาพุทธ ศาสนาเดียว ศาสนาอื่นไม่มี เป็นวิชชา ข้อที่ ๑ ของวิชชา ๘ ถ้ามีก็เรียก วิปัสสนาญาณ ต้องเรียนรู้มา ตั้งแต่ จรณะ ๑๕
๑.ถึงพร้อมด้วยศีล . .
๒.คุ้มครองทวารอินทรีย์
๓.ประมาณในโภชนา
๔.ประกอบความตื่น
๕.ศรัทธา (เชื่อมั่น)
๖.หิริ (ละอายต่อบาป)
๗. โอตตัปปะ. (สะดุ้งบาป)
๘. แทงตลอดในพหูสูต
๐๙. ปรารภความเพียร

๑๐. สติอันเป็นอาริยะ.
๑๑. ปัญญา
๑๒. ปฐมฌาน
๑๓. ทุติยฌาน
๑๔. ตติยฌาน
๑๕. จตุตถฌาน

            ในจรณะข้อที่ ๕-๑๑ เรียกสัทธรรม ๗ ส่วนที่เหลือเป็นผล คือฌาน ๑-๔ ซึ่งเกิดจาก การปฏิบัติ ในสี่ข้อแรก ของจรณะ ซึ่งมีการปฏิบัติที่ไม่ผิด อยู่สามข้อ (อปัณก ปฏิปทา) คือ สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ
            ผู้ที่ไม่เข้าใจ ก็ปฏิบัติสังวรอินทรีย์ ไม่ครบทุกทวาร คือไปเอาแต่ในใจ เมื่อปิดทวารปฏิบัติ ก็ปฏิบัติ โภชเนมัตตัญญุตาไม่ได้ เพราะเป็นเรื่อง เกี่ยวข้องกับ บริโภคนอก บริโภคใน เราก็เรียนรู้กิเลส ที่เกิดจากการผัสสะ แล้วเราลดละกิเลสได้ ก็จะเป็นผู้ตื่น คือ ชาคริยานุโยคะ คือ ตื่นเริ่มจาก ตื่นจากความหลับใหล และมีนัยลึกซึ้ง คือตื่นจากโลกีย์ มาสู่โลกุตระ รู้เรื่องรู้ราว มีปัญญา
            เมื่อปฏิบัติจรณะ ก็จะเกิดวิชชา ๘ ซึ่งวิชชานี่ ก็จะเกิดไปพร้อมกัน เป็นสมังคี ช่วยกัน เหมือนล้างมือด้วยมือ ล้างเท้าด้วยเท้า ศีลกับปัญญาช่วยกัน ช่วยจิตให้เกิด เรียกว่า ลูกเป็นโอปปาติกะสัตว์
            การเกิดก็คือ สัทธรรม ๗ และฌาน ๔ ก็คือจิตเจโต และมีญาณปัญญา มีวิชชา ประกอบไป ในขณะปฏิบัติ อปัณกปฏิปทา แล้วก็เกิดฌาน ๑-๔ ภาษาว่าฌาน แต่สภาวธรรม คือ ความสำรอกกิเลส ละหน่ายกิเลส และมี วิชชา ๘ เกิดเป็นผล ขั้นสุดยอด
๑.วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง – หรือรู้ความจริง ในเหตุที่มีความจริงเกิด .. รู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง) คือต้องสัมผัส สภาวะนามธรรม ไม่ใช่แค่นึกคิด เอาแต่ภาษา ตรรกะ อย่างที่ว่า เอาแต่วิปัสสนึก วิปัสสคิด
๒.มโนมยิทธิญาณ (ความมีฤทธิ์ทางจิต ที่จิตสามารถ เนรมิต “ความเกิด” อย่างใหม่ ขึ้นมาได้)
คือมีฤทธิ์ ที่สำเร็จด้วยใจ ไม่ใช่ว่า ใจมีฤทธิ์ ไปหยั่งรู้ใจคน หรือมีอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ
๓. อิทธิวิธญาณ (ความเก่งหลายอย่าง ในการที่จิตมีอานุภาพ เพราะปราศจาก กิเลสแล้ว) คือมีความหลากหลาย ลึกซึ้งในวิธีการ
๔. ทิพโสตญาณ (สามารถแยกแยะ การได้ยิน สิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น กิเลสปะปนมากับ คำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่า คนธรรมดา เขาจะรู้นัยยะได้) เป็นญาณวิเศษ ขั้นทิพย์ ขั้นละเอียด เก่งขึ้น
๕. เจโตปริยญาณ (กำหนดรู้ความแตกต่างในจิตขั้นอื่นๆ ของตนได้รอบถ้วน) ก็เป็นการ ตรวจสอบจิตตน ที่ทำให้กิเลส ลดได้เก่งขึ้น
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (การย้อนระลึกถึง การเกิดกิเลสเก่าก่อน  มารู้อาริยสัจจะ จนหายโง่ จากอวิชชา) ตรวจสอบระลึกถึง สิ่งที่ทำมาแล้ว ว่าเราได้ทำอย่างมีเหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัย แล้วเราได้รู้ว่า เราได้จัดการกิเลสอย่างไร แพ้หรือชนะ
๗. จุตูปปาตญาณ (รู้เห็นการเกิด-การดับของจิต ที่ดับเชื้อกิเลส แล้วเกิดเป็น สัตว์เทวดา หรือสัตว์อริยะ) เห็นว่า เราดับกิเลส จะเรียกว่า ดับจิตก็ได้ แต่ไม่ดับทื่อๆ คือดับแต่ อกุศลเหตุ  
๘. อาสวักขยญาณ (ญาณที่รู้การหมดสิ้นอาสวะของตน) ดับอาสวะ จนตั้งมั่นถึง อนุตรจิต หลุดพ้น ไปถึงขั้นปลาย
            ความหมายของ วิปัสสนา ไม่ใช่แค่รู้ แค่นึกคิด แต่ว่าผู้ปฏิบัติ ต้องมีปัสสนา หรือปัสสี คือเกิดรู้ จากการผัสสะ เห็นจากของจริง ไม่ว่ารูปธรรม หรือนามธรรม เห็นความจริง ตามความเป็นจริง รู้อริยสัจ ๔
            คือรู้ทั้งรูปและนาม รู้ถึงทุกข์สมุทัยนิโรธ ผู้รู้อย่างนี้เรียกว่า วิปัสสนาญาณ เป็นทั้งต้น กลาง ปลาย เป็นญาณปัญญาความรู้ ของพระพุทธเจ้า
            ท่านอธิบายถึง วิปัสสนาญาณ ๙ (ในญาณ ๑๖) คือความเกิดความดับ แห่งนามรูป
๔. (๑)อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิด - ความเสื่อมไป ของกิเลส ของชาติ เวทนา สุขทุกข์ต่างๆ เป็นญาณเบื้องต้น กิเลสยังไม่หาย เห็นอนิจจานุปัสสี คือเห็นในนามธรรม ที่ไม่เที่ยง ไม่คงที่ มันไม่อยู่กับเราถาวร กิเลสตัวนี้ มันไม่อยู่ถาวร มันหายไป
๕.(๒)ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลายไป ของสังขารธรรม -ตัณหาปรุงแต่ง ทั้งหลาย เห็นกิเลสดับ และมันดับ เพราะมันดับตามธรรมชาติ ต่อจากนั้น จึงเห็นความไม่เที่ยง เพราะความสามารถ เพราะภาคปฏิบัติของเรา เป็นความไม่เที่ยง ที่จริงกว่า แล้วกิเลส มันอยู่กับเราอยู่ แต่มันอยู่ในอนุสัย ที่เป็นอุปาทาน แต่มันเกิดดับ ในภาวะ ที่มันมาเป็นคราว และจะเห็นมันดับ ได้ชัดขึ้น 
๖.(๓)ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันเพ่งเห็น กิเลสสังขาร  เป็นภัยอันน่ากลัว.. เพราะล้วนแต่ ต้องสลายไป  คือชัด จะมีญาณปัญญาเห็นว่า มันเป็นของ ไม่น่ายึดมั่น มันน่ากลัวนะ ที่เราไป หลงยึดมัน ชักไม่ไว้ใจ ซึ่งแต่ก่อน เราหลงติดยึด ผูกมันเป็นเรา เป็นของเราเลย แต่ตอนนี้ ชักไม่ค่อยแน่แล้ว มันจะเป็นตัวจริง ของญาณเลย
๗.(๔)อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ . ต่อเนื่องมาจาก การเห็นภัย เห็นเลย ว่ามันมีอยู่ ก็เป็นภัยต่อเราและท่าน เป็นความเจริญของ อธิปัญญาสิกขา ไม่ใช่บังคับ ให้มันเกิด แต่ทำไป มันจะเกิดตามปัจจัย และเมื่อปัญญาเจริญ ก็เป็นไฟฌาน ล้างกิเลส สลายกิเลสได้ อย่างมีวสี แล้วจะเกิด
๘.(๕) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณเห็นความน่าเบื่อ-หน่ายในกิเลส  เพราะสำนึก เห็นทั้ง โทษและภัย เราหลงคบหากันมานาน เหมือนมีคู่รัก แต่ก่อนรักกัน ไม่พรากเลย แต่ตอนนี้ ชักหนัก จะไปไหนก็ไป ไม่ดูดดึงแล้ว เกิดนิพพิทาญาณ จะถอย มันเบื่อหน่าย จนกระทั่ง ได้ปล่อยคือ
๙.(๖)มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณรู้เห็นการเปลื้องปล่อยไปเสีย จากโทษ-ภัยเหล่านั้น . (อตัมมยตา) คือมันไม่มีอาการนั้น อยู่ในจิตเรา มันก็จะโล่งเบา นี่คือความเจริญ ของญาณปัญญา  เมื่อปล่อยก็สำเร็จ หลุดพ้นได้จริง ไม่ได้อยู่ในจิตเรา อย่างไม่ได้ข่ม มีปัญญา พรากจากกัน ด้วยดีเลย กิเลสเขาก็ไปของเขา พูดโดยโวหารว่า ฆ่ากิเลสตาย ส่วนใครจะรับไป ก็ไม่ยัดเยียดไป ใครจะรับช่วง ก็แล้วแต่ หนูไม่รู้ เมื่อทำได้ถึงขั้นนี้แล้ว
๑๐.(๗)ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณพิจารณาทบทวนถึง .  การปฏิบัติ ที่ปลดปล่อยได้  ก็ทำซ้ำอีก จนสำเร็จยิ่งขึ้น จะชัดว่าปฏิบัติ แม้กิเลสตัวเดิม ก็จะเร็วขึ้น เราต้องรักษาผลไว้ ใช่แล้ว เห็นเลยว่า ไม่ได้กดข่ม แต่มีปัญญา ทำให้กิเลสหมดได้จริง แล้วก็ทำซ้ำ อาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง หรือ อนุรักขนาปธาน ทำซ้ำ ทำให้แข็งแรง เป็นฌาน เป็นนิโรธ สั่งสมเป็นสมาธิ คือจิตตั้งมั่น เกิดทีหลัง เป็นอเนญชา เป็นอัปปนาสมาธิ
๑๑.(๘)สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไป โดยความเป็นกลาง วางเฉยต่อสังขาร ปรุงแต่ง ทั้งหลาย อุเบกขาคือ ธาตุจิตที่เราทำได้ อย่างวิเศษ เป็นฐานนิพพาน คือจิตดับเหตุ ดับกิเลสได้ ก็หมดทุกข์ หมดสุข สั่งสมไป รักษาผลไป เราก็จะรู้จักสังขาร และอุเบกขา ก็จะเกิดที่จิตเรา แม้เราจะสังขาร เป็นอภิสังขาร จะปรุงแต่ง ด้วยเราเจตนา เป็นคนปรุงแต่ง แต่ไม่ได้มีกิเลส มาปรุงร่วม เราสามารถทำกิเลส ให้ออกจากจิต
            เรารู้จักโครงสร้างของ สังกัปปะ ๗ รู้จักวจีสังขาร ที่ยังไม่ออกมาเป็น กาย-วจีกรรม  และสามารถ ควบคุมสังขารได้ จึงเรียกว่า อภิสังขาร หรือวิสังขาร ถ้าของพระพุทธเจ้า เรียนอิทธาภิสังขาร คือสุดยอด แล้วปรุงแต่งยิ่งกว่า อภิสังขาร หรือ วิสังขาร ก็คือไม่มีกิเลส มาปรุงแต่งร่วมด้วย
            ในอภิสังขาร ๓ คือปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และ อเนญชาภิสังขาร คือรู้จักปฏิบัติ ชำระกิเลสได้ เรียกปุญญาภิสังขาร
            สังขารคือการจัดแจงปรุงแต่ง ทำหน้าที่ หรือมนสิการ คือการทำโดยเจตนา ไม่ใช่ทำ อย่างธรรมชาติ เฉยเป็นไตรลักษณ์แบบสามัญลักษณ์ แต่อันนี้ เป็นปัจจัตตลักษณ์ คือทำให้กิเลสดับ จนไม่เกิดอีก ไม่ตั้งอยู่ ถึงปานนั้นเลย ชำระไปเรื่อยๆ
            พออปุญญาภิสังขารคือ อเสขบุคคล คือไม่ต้องชำระกิเลสอีกแล้ว ทำได้แล้ว ก็สั่งสมผล เป็นอเนญชาภิสังขาร ให้เก่งขึ้น ให้ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เจริญขึ้นเรื่อยๆ ตกผลึกไปเรื่อยๆ ตามความเป็นจริง ผู้สั่งสมสภาพนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะปฏิบัติจิต ในสังขารุเปกขาญาณ มีอุเบกขา คือวางเฉย ที่มีคุณสมบัติ ๕ อย่าง ของอุเบกขา มีทั้งกัมมัญญา หรือคือ กายกัมมัญญตา คือจิต เป็นจิตที่คล่องแคล่ว หรือความคล่อง แห่งกาย แต่กายนี้คือ กองเวทนา สัญญา สังขาร
            ต้องถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ถ้าไม่ครบ พระพุทธเจ้า ก็ไม่เซ็นให้ผ่าน Thesis เป็นป.โท ป.เอกหรอก
            ในคำว่ากาย ซึ่งมีบาลีของพระพุทธเจ้าหลายคำ
            กายกลิ คือหมายความว่า กายนี้เป็นโทษ หรือสิ่งชั่วช้า ที่อยู่ในกาย คุณต้องเห็นว่า อะไรเป็น กลิ คือกิเลสนั่นเอง คำว่ากาย ไม่ใช่คำว่าสรีระ
            คำว่ากาย ในมหาสติปัฏฐาน (คือมีสติในฐานแห่งการปฏิบัติ) เราต้องอ่านให้ดี แม้แต่ใน อานาปานสติสูตร ท่านก็รวมในมหาสติปัฏฐาน ก็อธิบายกายใน แต่ท่านก็ไม่ได้ ทิ้งกายนอก คนเขาว่า มหาสติปัฏฐาน ให้ตัดทิ้งกายนอก ซึ่งเป็นการปฏิบัติผิด เป็นสัญญาวิปลาส คือนั่งสะกดจิต เอาแต่ลมหายใจ เข้าออก ทำได้แต่ต้อง มีการเตวิชโช
            ถ้าไม่มีเตวิชโชในมหาสติปัฏฐาน ก็ต้องอยู่อย่างลืมตา ซึ่งเริ่มด้วย กายคตาสติ
            กายคตา คือสิ่งที่เป็นไป ในกายของเรานี่แหละ กายคตาสติ คือมีสติรู้องค์ประชุมของ สิ่งที่เป็นไป ท่านแยกไว้ว่า ให้พิจารณาทั้งอิริยาบถ ทั้งการเปลี่ยนแปลง ของกายภายนอก เรียกว่า รูปกาย แล้วพิจารณา ต่อไปถึง นามกาย
            กายานุปัสสนา คือให้มีสติพิจารณารู้กาย คือองค์ประชุม ที่มันเกิดสังขารกัน ตั้งแต่ภายนอก ปรุงแต่งกันอยู่ ของรูปนาม คุณก็ปฏิบัติกายานุปัสสนา หรือกายานุปัสสี จะเห็นกาย ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แล้วกำหนดรู้ ตามความเป็นจริง ไปเรื่อยๆ ตามลำดับ
            กายภาวนา คือเกิดผลในการอบรมกาย ไม่ใช่เอาแต่นั่งภาวนา ตัดกายนอกเลย
            กายสักขี ก็จะมีสภาพให้เรารู้เห็น อย่างไม่ใช่แค่คิดเอา แต่มีญาณรู้ อย่างมีตน อันเป็นพยาน เป็นตน หรือเรียกว่าอัตตา (คือสิ่งที่ยกขึ้นมา หรือสมมุติขึ้นมา) กายสักขีคือ มีหลักฐานความจริง เราจับหลักฐานได้ เหมือนเขา ก็กำลังค้นหลักฐาน กรณีคุณเอกยุทธ เราก็รู้แจ้ง เห็นจริงใน
            กายายตนะ คือเมื่อสัมผัสก็ จะเกิดรู้ในญาณของเรา คือเป็นสิ่งเชื่อม ให้เรารับรู้ได้
            เมื่อปฏิบัติ เราก็จะรู้สภาวะที่เป็นทุกข์ คือ กายฑหะ คือความเร่าร้อนแห่งกาย คือตัวที่พา เร่าร้อน ทำให้กายเราเร่าร้อน อีกอันหนึ่งคือ กายตปนะ เราก็จะรู้ตัวเหล่านี้ คือ กายกลิ คือตัวโทษ ตัวชั่วช้า
            เรามีวิธีปฏิบัติกำจัดไปเรื่อยๆ จนเกิดผลอุเบกขา แล้วก็ทำซ้ำ จนเกิด สังขารุเปกขาญาณ ก็จะเกิด คุณสมบัติ ของอุเบกขา ๕ คือมี กายกัมมัญญตา อีกคำหนึ่ง คือ กายปาคุญญตา คือมีนัยคล้ายกัน คือเป็นของ ควรแห่งการงานของ กองเวทนา สัญญา สังขาร คือทำการงาน ที่เหมาะควร ไปได้เรื่อยๆ เพราะทำงาน อย่างไม่มีกิเลส ปรุงแต่งด้วย เป็นการงาน ที่ทำประโยชน์ ไม่ใช่เพื่อตน แต่เป็นประโยชน์ ต่อผู้อื่น อันเหมาะควร ไปเรื่อยๆ จิตก็ปริโยทาตา ปริสุทธา ไปเรื่อยๆ
            ปริสุทธา และปริโยทาตา นั้นก็บริสุทธิ์ มีนัยต่างกันไป แม้จะสัมผัสอยู่ จิตก็จะมี ความตั้งมั่น แข็งแรงแน่วแน่ แนบแน่น ยิ่งเพิ่มสมรรถภาพ สูงไปเรื่อยๆ อย่างห้ามไม่ได้ ถ้าเราทำถูก ก็จะได้ผลเป็น สังขารุเปกขาญาณ คือสังขาร อย่างเราจะปรุงแต่ง กับคนอื่น ก็อนุโลม ยืดหยุ่น กับคนอื่นได้ แล้วก็จะมี
๑๒.(๙)สัจจานุโลมิกญาณ  หรืออนุโลมญาณ ญาณอันเป็น ไปโดยอนุโลม ต่อชาวโลก  ต่อสมมุติสัจจะ ทั้งหลาย โดยใช้ สัปปุริสธรรม ๗.  ที่รู้จักประมาณ สัดส่วนต่างๆ  ท่านจะไม่ประมาท เพราะรู้โทษภัย เราทำงาน ไม่ได้อยากได้ตอบแทน แล้วเราจะโลภไปทำไม ไม่ทำเกินเพื่ออวดอ้าง อย่างโลกียะ นอกจาก คนไม่จริง ก็จะมีแฝงอยู่ ยิ่งทำปริโยทาตา ยิ่งทำงาน ยิ่งสะอาด สามารถทนต่อสังขาร ปรุงแต่ง อนุโลมได้เก่งขึ้น อุเบกขาก็ยิ่งสั่งสม ทวีคูณ จิตก็ยิ่งแคล่วคล่อง เป็นกายกัมมันยตา หรือ กายปาคุณยตา เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีสภาพจิตสงบ ก็เป็น กายปัสสัทธิ จิตก็แววไว มีมุทุภูตธาตุ แววไวแคล่วคล่องขึ้น
          เมื่อสมบูรณ์ ก็จะเป็น กายวิเวก แม้ควงจักรผันก็วิเวก คนตาดีก็จะเห็น แต่คนตาไม่ดี ก็เห็นตื้นๆ เราภาพการควงจักรผันมาว่า ไม่สงบ กายนี้คือ องค์ประชุมทั้งหมดของ กาย วาจา ใจ ซึ่งแม้จะดูเผ็ดร้อน ก็มีกายวิเวก
          เมื่อทำเก่งขึ้น ก็มี กายวิชัมภนะ คือความว่องไวของกาย (เวทนา สัญญา สังขาร) หรือวิญญาณ ก็จะรวเร็ว เป็นวิญญาณพรหม เป็นวิญญาณพระเจ้า
          ซึ่งสภาพพวกนี้เป็น  กายสมังคี ไม่แยกกัน ทั้งเวทนา สัญญา สังขาร แม้จะมีรูปกาย (รูปคือ สิ่งที่ถูกรู้) และต้องมีธาตุรู้ไปรู้ ถ้าไม่มีธาตุรู้ ถูกให้ตาย หรือสัมผัสให้ตาย ก็ไม่รู้ เช่น คุณนอนขี้เซา สัมผัสอย่างไรก็ไม่รู้ ไม่ว่าจะเป็นรูป เสียงกลิ่นรส เพราะธาตุรู้ ไม่ทำงาน หรือยิ่งตายไปแล้ว จะไปรู้อะไร

          ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

  • หลายวันมานี้ ฟังธรรมเรื่องคำว่า "กาย" ขอสรุปความเข้าใจ ที่มีต่อคำว่า กาย ดังนี้... รูปรูป คือรูปที่ถูกรู้ เช่น คน สัตว์สิ่งของ หรือ มหาภูตรูป

ตอบ... ถูกต้องในตัวมันเอง แต่คุณจะว่า รูปี รูปานิ ปัสสติ มันก็จะเป็น รูปรูป เพราะถ้าไม่มีใครไปรู้ มันก็ไม่รู้ตัวมันเอง มันไม่มีนาม หรือแม้จะเป็นคน ถ้าเขาไม่ดูตัวเอง แต่ไปรู้คนอื่น หรือสิ่งอื่น ก็เป็นรูปรูป ต้องครบองค์ ๓ (รูป-นาม-กระทบกัน) จึงจะเกิดรูปรูป คืออันแรก ที่กระทบ ถ้าจะเรียกว่า รูปกาย ก็ได้ มันเป็นองค์รวม มันเป็นสิ่งเดียวเท่านั้น ยังไม่มีสิ่งอื่น

  • นามรูป คือนามธรรมที่ถูกรู้ เช่น จิตเจตสิก เป็นต้น

ตอบ... คือเราไปมีญาณปัญญา ไปรู้นามธรรมของเรา เช่นในสติปัฏฐาน ๔ ท่านมีกายนอก แล้วเราก็กำหนด รู้สติปัฏฐาน รู้กายนอก แล้วเข้าไปหาใน พอเริ่มกระทบเข้าไปใน ก็เป็นอุปาทายรูป จากกายใน ก็ลึกเข้าในถึง กายในกาย เข้าไปอีก กายในกาย ก็เป็นนามขึ้นมา เราก็ไปรู้นามกาย ในกายอีกทีหนึ่ง
      นามก็คือธาตุรู้ ตอนนี้ธาตุรู้ ที่ถูกรู้ตัวแรก ที่จะถูกรู้คือ สังขารและเวทนา เรากำหนดรู้ ปัจจุบันธรรม ขณะผัสสะสดๆ แต่ไม่ใช่อรูป ที่สำเร็จด้วยสัญญา แต่นี่คือ ตัวที่เราผัสสะสดๆ
      นามตัวแรกที่รู้ กายในกาย ก็คือนามแล้ว มันรวมเป็นองค์ประชุม ทั้งสังขาร และเวทนา โดยสังขาร คือการปรุงแต่ง แต่ว่าเวทนา คือลักษณะอารมณ์ ในกายในกายนี่แหละ ตัวที่ถูกรู้ จึงเรียกว่า "นามรูป"หรือเรียกว่า "รูปกาย" คือมันต่อมาจาก ข้างนอกแล้ว มาถูกรู้แล้ว
      ถ้านามกาย ก็คือ คุณทิ้งตัวรูป ถ้าคุณยังไม่อยู่เหนือมัน คุณก็ทิ้งมันไม่ได้ คุณก็ต้องเรียนไป จนคุณเฉยว่างได้ ในภายนอก คุณจึงพิจารณาแต่ นามกาย คือเฉพาะนาม เพราะกิเลส ที่เกิดจากข้างนอก หมดแล้ว คือโอฬาริกอัตตา หรือ มโนมยอัตตา หมดแล้ว เหลือแต่อรูปอัตตา คุณก็พิจารณา โดยไม่เกี่ยวกับ ข้างนอกได้ คืออยู่ แต่เหมือนเราไม่อยู่ เรามีเหมือนกับเราไม่มี
      รูปรูป คือที่เรากำหนดรู้จากภายนอก  นามรูป คือสิ่งที่ถูกรู้ อยู่ภายในจิต รูปกายคือองค์รวม ส่วน        นามกาย คือคุณหมดกิจ ที่จะต้องศึกษา จากภายนอกแล้ว

  • ส่วนอีกความหมายขององค์รวม ทั้งรูปและนาม เรียกนามกาย

ตอบ อันนี้สับสนอยู่ นามกายคือ ไม่ต้องเกี่ยวเนื่อง กับรูปนอกแล้ว แต่องค์รวมของ นอกและใน เรียก รูปกาย หรือ นามรูป

  • รูปราคะอ่านจากกายใน แล้วกำจัดมัน ในขณะทำการงานอยู่ มีผัสสะอยู่ แต่อรุป นั้น เกิดตอนไม่มีผัสสะ ใช่ไหม

ตอบ..  อรูปก็ต้องมีผัสสะ แม้อรูปก็คือ กามกับรูป คุณผ่านแล้วจะไปทำอรูป และต้องถึง ฐานะของเรา เช่นอนาคาฯ เป็นต้น แต่ว่าฐานโสดาฯ สกิทาฯ ให้ผ่านไปก่อน เพราะเป็น เรื่องละเอียด รู้ได้ยาก ถ้าเป็นอนาคามี ก็จะรู้ ที่จริงเป็นภาษาเท่านั้น ที่เรียก อรูปราคะ อย่างอนาคามี แม้อยู่ในรูปาวจร เมื่อผัสสะแล้ว กามก็เกิด คือมีอรูป คืออนาคามี เมื่อกระทบสัมผัสอย่างไร กิเลสก็ไม่เกิด ในเรื่องกามกับรูป มีแต่อรูป เท่านั้นที่เหลือ โดยไม่ต้องสะกดจิต เข้าไปหา จิตใต้สำนึก อย่างนั้นไม่ชัด ของพระพุทธเจ้า ให้สัมผัสชัดๆ แล้วมีญาณปัญญา เห็นแต่พฤติกรรม ไม่แสดงออก ภายนอกแล้ว ไม่เป็นพิษภัย กับใครแล้ว
      รูปราคะคือ เมื่อผัสสะอยู่แล้วมันเกิด ก็กำจัดอยู่ แล้วอรูปราคะ เกิดในขั้นตอนต่อไป รูปราคะ มันต้องหยาบ แรงกว่า ก็ปล่อยอรูปราคะก่อน  ซึ่งอรูปคืออาสวะ แม้ไม่ผัสสะ มันก็ทำงานอยู่ มันก็แตกตัวอยู่ เหมือนเชื้อยีสต์ ทำงานอยู่ แต่อย่าไปกังวล เอาระดับรูปราคะก่อน

  • สำหรับคนธรรมดาไม่ได้ปฏิบัติธรรม และไม่ได้ทำแบบฤาษี เวลามันฟุ้ง แล้วหลงติด ในความรู้ จิตนี้เรียกว่า วิญญานัญจายตนสัตว์หรือไม่

ตอบ.. .คำว่าสัตว์วิญญานัญจายตนะ คือสัตว์ขั้น อรูปพรหม ก็จริงๆ คุณต้องไปถึงขั้นอรูป มันจึงเกิด วิญญานัญจายตนสัตว์ ซึ่งภาษามันเหมือนใช่ ว่ามีสัตว์ต่างๆ ออกมาเพ่นพ่าน ไปหมด แต่ว่าท่านกำหนด ในขั้นอรูป คือวิญญาณสะอาด แล้วข้ามอากาสาฯ แล้วคือว่างแล้ว แล้วก็ไปกำหนดธาตุรู้ ที่สะอาด คืออย่างไร คือวิญญานัญจาฯ ส่วนอากิญจัญฯ คือให้ไม่เหลือ แม้เศษธุลีหมอง ธุลีเริง (รูป) ส่วนเนวสัญญานาสัญญาฯ (นาม) ก็รู้จนไม่มีอะไรไม่รู้อีก เป็น สัญญาเวทยิตนิโรธ สมบูรณ์

  • ชาวนากำลังเดือดร้อน กินข้าวแพง เมื่อไหร่ชาวอโศก จะเอาข้าวมาขาย ให้คลายเดือดร้อน

ตอบ..ถ้ามีโอกาสก็จะทำ เราไปขายที่ ลานพระบรมรูปฯ มาในปีก่อน

  • ผมเป็นโรคจิตชนิดหนึ่งคือ ไบโพล่า คือคนรุนแรง อารมณ์ แปรปรวนสองขั้ว ผมอายุ ๓๕ ปีแล้ว จะบรรลุธรรม ได้ไหม

ตอบ... ปฏิบัติธรรมไปเองก่อน อย่าเพิ่งเข้ามาในนี้ ปฏิบัติได้ไม่ปิดบัง แต่ขอไว้ก่อน ให้ทำเอง ไปก่อน แต่มาบ้างก็ได้ แต่อย่าคลุกคลีเกินกาล ขอบคุณ คุณบอกความจริงมา

  • ฟังธรรมพ่อครู เห็นชัดเจนกิเลสตน ขอบพระคุณครับ

ตอบ... ดีมาก

  • การนอนกลางวัน ผิดศีลหากผิดข้อใด

ตอบ ก็ผิดข้อนอนไง ชาวอโศกเรากำหนด เราไม่ไปเที่ยวกลางคืน เราก็มีเวลาพัก เวลาเพียร เรานอนหลับ แต่หัวค่ำ ไม่นอนดึกดื่น หรอก

  • โดยส่วนตัวไม่ชอบ ถ้ามีคนยุ่งเรื่องส่วนตัว ผิดศีลไหม เป็นอุปสรรค การปฏิบัติธรรมหรือไม่ จะมีวิธีปฏิบัติ ลดละอย่างไร

ตอบ.. คุณก็ตั้งมาสิ เราต้องอยู่กับสังคม ยิ่งมาอยู่กับพวกเรา สาธารณโภคี ถ้าคุณจะมาอยู่ อย่างส่วนตัว ก็ยาก เพราะต้องละตัวตน เป็นอุปสรรคการปฏิบัติธรรม แน่นอน จะมีวิธีปฏิบัติ ต้องมาเรียนรู้ว่า ของข้าใครอย่าแตะ และเลิกยึด ว่าเป็นของข้า

  • มีความเชื่อว่าหากมีสัตว์เลื้อยคลานเข้าบ้าน ถือว่าบ้านมีเคราะห์ ต้องทำบุญ สะเดาะเคราะห์

ตอบ..จะมีเคราะห์เพราะมันเข้ามา ต้องเอาออกไป พุทธเราไม่ทำบุญ สะเดาะเคราะห์หรอก อย่าให้ถูกหลอก

  • คำว่าวิญญานัญจายตนะ คำว่าวิญญาณหมายถึง วิญญาณทั่วไปไหม เป็นวิญญาณ ๖ หรือไม่ มีที่สิ้นสุดหรือไม่

ตอบ... วิญญาณคือธาตุรู้ คำว่าวิญญานัญจายตนฌาน คือยังเป็นอรูปสัตว์ ที่หมายถึง วิญญาณ สะอาดแล้ว ผ่านรูปฌานแล้ว เหลือแต่ตรวจสอบกิเลส คำว่าวิญญาณ คือวิญญาณทั่วไป วิญญาณเป็นอรูปแล้ว เป็นวิญญาณทั้ง ๖ แล้วที่สะอาดจาก กาม-รูป-อรูป แล้ว เมื่อกระทบ สัมผัส จะมีจิตแน่วแน่ ไม่หวั่นไหว อเนญชา แน่ไหม นิจจัง ทุวัง สัสตัง ไหม ก็ค่อยๆเรียนไป จะค่อยๆเข้าใจ

  • ฟังลุงมาพูดให้ฟังว่า ทำไมพ่อครู ไม่สอนให้ใช้จิตนำ เป็นหลัก ใช้คำว่าใจ มันไม่ลึกซึ้ง คนจะไม่เข้าใจ ดิฉันเข้าใจว่า พ่อครูสอนให้ปฏิบัติ ตามขั้นตอน ก็จะรู้ไปเอง แต่ลุงมาเตือน ทั้งบอก ให้ปฏิบัติได้ด้วยดี คุณลุงทานมังฯมา ๔๐ กว่าปีแล้ว เอาก๋วยเตี๋ยว มาเลี้ยงบ่อยๆ ลุงว่าชอบทำบุญ กับคนมีศีล ก็ขอบคุณท่าน

ตอบ ...ใจกับจิต มันคนละตัว แต่มันสภาวะเดียวกัน  เขาก็เจตนาให้เข้าถึงคำว่า จิตและใจ คำว่าใจ ดูห่าง แต่จิตดูลึก ก็ไม่ต้องแย้งหรอก ใช้คำว่าจิต ก็ดี

  • บ่อยครั้งที่ฟุ้งซ่าน ก็คิดถึงคนที่ฟุ้งซ่าน พูดไปเรื่อยๆ ที่เขามักพูดไปเรื่อย เปิดไปหมด ทำรู้ไปหมด แต่อยู่ใกล้ แล้วปวดหัว ชอบสาวไส้ให้คนอื่นรู้ แสดงเหมือน ชาล้นถ้วย

ตอบ...ก็บอกผู้ใหญ่ บอกด้วยเมตตา อย่าบอกด้วยส่อเสียด ก็บอกข้อมูลกัน อย่าใส่ไข่ อย่าชิงชัง ให้รายงานผู้ใหญ่

  • อธิบายศีลพตปรามาสให้หน่อยครับ

ตอบ... ศีลพตปรามาส เป็นสังโยชน์ข้อ ๓ ต่างจากศีลพตุปาทาน ซึ่งก็ปฏิบัต ไม่ได้ผล ทั้งคู่ แต่ว่าศีลพตุปาทาน ยังไม่มีสัมมาทิฏฐิ ปฏิบัติตามโลก หรือหมู่พาทำ แต่ว่า ศีลพตปรามาส ผ่านสังโยชน์สองแล้ว รู้จัดตัวตนกิเลสแล้ว พ้นวิจิกิจฉาสังโยชน์ แต่ยังลูบคลำกิเลสอยู่ ไอ้หนูอยู่กับข้า ไม่เอาจริงเอาจัง จัดการมันเสียที ถ้าไม่เอาจริง จนมันลดละได้ ถ้าคุณทำให้กิเลส ตัวที่คุณรู้แล้ว รู้สักกายะแล้ว ก็ทำให้มันลดได้ ก็คือพ้น ศีลพตปรามาส ก็เข้าเขตโสดาบัน ไปเรื่อยๆ

  • คนตายแล้วจะไม่รู้ตัวหรือรู้ตัว

ตอบ... คนตายไม่รู้ตัวหรอก มีแต่จะรับทุกข์ มีสุขได้แวบหนึ่ง เสร็จแล้ว วิบากจริง มันจะแสวงหา แต่มันแสวงหาไม่ได้ ดังอุปาทาน แล้วคุณก็นึกว่าคุณมี คุณไม่รู้ตัว จึงตกในนรก ที่แสวงหา ถ้าคุณรู้ว่าคุณตาย คุณก็ไม่ต้องแสวงหา แต่ความจริงไม่ใช่ ขนาดนอนหลับ คุณก็ไม่รู้ตัว แต่ถ้านอนหลับๆตื่นๆ ก็พอรู้ตัว แต่ว่านอนหลับลึก ไม่รู้หรอก อย่าเดา อย่าเล่าเพี้ยนไปมากมาย  แต่ก่อนมีนิยาย ที่ฝรั่งเขียน มาแปลเป็นไทย ชื่อเรื่อง กายทิพย์ ว่าตายแล้ว ไปอยู่ในเมืองทิพย์ มากมาย แต่ทุกวันนี้รู้แล้ว ว่าโลก เขามีนิทาน มากมาย

  • สัญญาจัดเข้าในปฏิจจสมุปบาทหรือไม่

ตอบ.. ในปฏิจจสมุปบาท ท่านแจกไว้ในเรื่อง นาม จะมี เวทนา สัญญ เจตนา ผัสสะ มนสิการ  ส่วนรูปคือ มหาภูตรูป และรูปที่อาศัย มหาภูตรูป ๔ คือ อุปาทายรูป

  • เป็นคนขี้ตกใจ ตกใจง่าย และมักอุทานคำว่า ลูก.... จะเลิกอย่างไร

ตอบ....ก็ตั้งใจเลิก แต่ก่อนพ่อครูเป็นฆราวาส ฝึกจามให้มีเสียงว่า Happiness เวลาจามทีไร ก็มีคน มองหน้าทุกที บางคนก็ชอบ หรือไม่ชอบก็มี พอฝึกมันก็เป็น คุณอย่าไปฝึกเลย ตกใจทีไร ก็อุทานอย่างนี้ให้มีสติ หยุด อย่าให้มันออกมาก...

จบ

              

 
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานสันติอโศก