561208_ภาคค่ำมัฆวานฯ โดยพ่อครู
เรื่อง ปฏิบัติการทวงคืนอำนาจ ถึงโค้งสุดท้ายวัดใจ ‘รบ.ปู’

       พ่อครูมาออกรายการที่เวที บนรถกระจายเสียง ที่เป็นเวทีเคลื่อนที่ สำหรับ ปฏิบัติการ “เป่านกหวีดครั้งสุดท้าย” ที่เป็นวันนัดหมายรวมพล มวลมหาประชาชน ในนาม กปปส. ในเวลา ๐๙.๓๙ น. วันที่ ๙ ธ.ค. ๕๖

       งานนี้เป็นการศึกษาที่ยิ่งใหญ่มาก สำหรับคนไทย เรียกว่า Phenomenology เป็นการศึกษา ที่มีปรากฏการณ์ชัดเจน ทั้งภายนอกและภายใน ภายนอกเห็นกายวิญญัติ เห็นการเคลื่อนไหว สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล ศาสนาพุทธ ละเอียดไปถึงสมุทัย

       การศึกษาในโลกนี้ ยังไม่ถึงขั้นปรากฏการณ์วิทยา แต่เกิดได้ยาก เพราะเขาหยั่ง ไม่ถึงจิต ที่ลึกถึงจิตไร้สำนึก หรือใต้สำนึก จิตไร้สำนึกคืออนุสัย นอนเนื่อง คนเราไม่สามารถ ดึงจิตเหล่านี้ มาใช้ได้

       เมื่อเราสามารถเรียนรู้ ด้วยปรากฏการณ์วิทยา ปรากฏการณ์ใหม่ ที่เกิดนี้ เป็นเรื่อง ของจิตวิญญาณ เช่นเราบอกว่า ความสงบ สยบความเคลื่อนไหว คนเขาไม่เชื่อ อาตมา ก็พยายามพาทำ คนเราหากสงบ พอสมควร สองอย่าง มีเหตุผลหลักฐาน มัดไม้มัดมือ อย่างที่คนเราทุกวันนี้ที่ “ง่านโด้” คือคำว่าโง่ ผนวกกับคำว่าด้าน ง่านคือ ความโง่ ยกกำลังด้าน ส่วนโด้คือ ด้านยกกำลังโง่ พวกดื้อตาใส นี่ล่ะคือโง่ยกกำลังด้าน คือง่าน

       เราต่อสู้ด้วย อุตสาหอดทน ใจเย็น ขนาดนั้น ก็มียั้งไม่อยู่บ้าง เป็นไปตามธรรมชาติ พอเราทำ มาถึงทุกวันนี้ ก็มีผู้รู้เพิ่มขึ้น แต่ก่อน อาตมาก็เสนอ มาตรา ๓ มาตรา ๗ แต่มัน เป็นความจริง จนเกิดปรากฏการณ์ ทุกวันนี้ นักรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ก็เริ่มรู้ว่า เป็นไปได้นะ เป็นปรากฏการณ์ใหม่ Neo politics

       เรื่องประชาชนปฏิวัติ โดยไม่มีอาวุธ แต่ใช้ปุญญาวุธ ใช้อาวุธ ที่ลึกซึ้ง คนก็จำนน ต่อความจริง แม้เป็นนามธรรม จึงเกิดการพัฒนาการ มาถึงบัดนี้ ฝ่ายที่เขาละเมิดหยาบ หยาม เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้ครบองค์ประกอบ เงื่อนไข เห็นชัดเจน

       เมื่อประชาชน มาทวงอำนาจคืน ในมาตรา ๓ (อำนาจอธิปไตย) อำนาจอธิปไตย เป็นของ ปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้น ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้

       ดูข้อมูลจากสื่อสาร ที่เป็นนักคิด นักเขียนบทความ ต่างๆแล้ว แต่ละคน ก็แสดงออก แพร่หลายไปเร็ว ขอยกตัวอย่าง ของไทยโพสต์
...คอลัมน์: ทรรศนะ: เมื่อมีมืด...ย่อมมีสว่าง!!!
ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์

(1) อาจด้วยเหตุที่ล้างมือ จากวงการยุทธจักร มานานแล้ว ได้แต่สังเกตการณ์ ทางการเมือ งอยู่ห่างๆ เลยแทบไม่ได้สนใจว่า ใครจะแพ้ ใครจะชนะ ในยกนั้น ยกนี้ หรือยกไหนๆ ระหว่าง รัฐบาลดื้อตาใส กับมวลมหาประชาชน นับล้านๆ ที่ยื้อกันไป ยื้อกันมา ร่วมเดือน เข้าไปแล้ว...

(2) แต่สิ่งที่กลายเป็นแรงดึงดูด ให้ต้องจับจ้อง ด้วยความตื่นเต้ลล์ล์ล์ น่าทึ่ง น่าประทับใจ เอามากๆ เห็นจะเป็น ปรากฏการณ์แปลกๆ ใหม่ๆ ที่อุบัติขึ้นมา ท่ามกลาง การเคลื่อนไหว ของมวลมหาประชาชน นับเป็นล้านๆ ซึ่งพร้อมใจกัน ลุกฮือขึ้นมา ในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าที่ถนนราชดำเนิน สะพานมัฆวาน กระทรวงการคลัง ถนนแจ้งวัฒนะ ตลอดไปจน ศาลากลางจังหวัด ทั่วทั้งประเทศ... ฯลฯ

(3) เพราะไม่เพียงแต่จำนวน ปริมาณ ที่ไม่ว่าจะนับคำนวณกันโดยสายตาคร่าวๆ หรือ กำหนด อัตราส่วน ระหว่างพื้นที่ กับจำนวนบุคคล ในความจุนับกันเป็น ตารางเมตรๆ ล้วนแล้วแต่ เกินล้าน ไปด้วยกันทั้งนั้น ส่วนจะเป็น 1 ล้าน กับอีก 9 แสนกว่าคน หรือ 2 ล้านขึ้นไป ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ถือเป็นการเปิด ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ของการชุมนุม ทางการเมือง ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยมีมา ในประวัติศาสตร์ ชาติไทยเอาเลย ก็ว่าได้ และที่น่าสนใจ ไปกว่านั้น ก็คือว่า บรรดาผู้คน นับล้านๆ ที่เข้ามา ร่วมสร้าง ประวัติศาสตร์ ครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นเพียง ผู้คนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง พรรคใด พรรคหนึ่ง หรือฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง เท่านั้น แต่มันเต็มไปด้วย ผู้คนหลากหลายชนิด แทบทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาวิชาชีพ จนอาจถือเป็น ภาพสะท้อนของ ปวงชนชาวไทย ได้ไม่ยากนัก...

(4) คือไม่ได้มีแต่เฉพาะ สตรีและคนชรา หน้าเก่าๆ หน้าเดิมๆ เหมือนอย่างที่เคยถูก ตำรวจไล่ทุบ ไล่กระทืบ มาโดยตลอด แต่เต็มไปด้วยนักเรียน นิสิต นักศึกษา ไล่มาตั้งแต่ ชั้นอนุบาล ชั้นประถม มัธยม อาชีวะ ไปยันถึง ครูบาอาจารย์ แทบทุกสถาบัน การศึกษา เต็มไปด้วยพ่อค้า นักธุรกิจ ข้าราชการ ทั้งที่เกษียณแล้ว และยังไม่เกษียณ ไปจนถึงดารา นักร้อง นักแสดง ศิลปิน ตัวตลก แถมด้วยชาวนา กรรมกร ฯลฯ หลั่งไหลมาสมทบ จนเนืองแน่นไปทั่ว ทั้งกรุงเทพมหานคร ไม่สามารถ แยกเพศ แยกวัย หรือแยก ชนชั้นใดๆ ได้เลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเรียกว่าไพร่ ว่าอำมาตย์ ว่าไฮโซ ไฮซ้อ ชนชั้นกลางเก่า หรือกลางใหม่ คนเหนือ คนใต้ คนอีสาน ฯลฯ ต่างไหลมารวมกัน เป็นมวลมหาประชาชน ได้อย่างน่าทึ่ง น่าประทับใจ เอามากๆ...

(5) แถมยังไม่ปรากฏภาพ การแจกเงินกันสดๆ แบบที่เห็น ในคลิปมวลชน ผู้ซึ่งถูกระดม ถูกกะเกณฑ์ มาที่ สนามกีฬา ราชมังคลากีฬาสถาน เอาเลยแม้แต่นิด เรียกว่า... มากันด้วยใจ ด้วยอารมณ์ความรู้สึกในแบบเดียวกัน ด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งในช่วงที่จะต้อง ฝ่าดงกระสุน แก๊สน้ำตา รถฉีดน้ำ ผสมสารเคมี ด้วยมือเปล่า เท้าเปล่า ถ้าหากไม่มี สิ่งที่เรียกว่า ใจ ซะอย่าง ป่านนี้... ไม่ว่าใครก็ใคร คงหนีไม่พ้น ต้องเก็บฉาก ยกระดับ การชุมนุม ไปสู่การกลับไป บ้านใคร-บ้านมัน ไปนานแล้ว และเมื่อมอง ให้ลึกลงไปอีก ว่า สิ่งที่เรียกว่า ใจ นั้นมันมีอะไร เป็นองค์ประกอบบ้าง ถ้าจะสรุปให้สั้นๆ ง่ายๆ ขึ้นมาหน่อย คงต้องตอบว่า แต่ละสิ่งแต่ละอย่าง มันล้วนเกี่ยวข้อง กับความดี ความงาม ความถูกต้อง ความเป็นธรรม ความมีคุณธรรม ความมีศีล มีธรรม ไปด้วยกันทั้งสิ้น...

(6) ยิ่งเมื่อบรรดา ใจ ที่ใฝ่หาสิ่งเหล่านี้... ต่างพร้อมที่จะไหล ไปรวมกัน ณ ที่ถนน ราชดำเนิน กระทรวงการคลัง และศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ ในช่วงวาระ การเฉลิม พระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา ชนิดแน่นขนัด ไปทุกๆ พื้นที่ ส่งผลให้ พื้นที่สนามหลวง อันเป็นสถานที่ ประกอบ พิธีกรรม ของรัฐบาล โหรงเหรง โล่งโจ้ง อย่างเห็นได้ชัดเจน ปรากฏการณ์ การยื้อกันไป ยื้อกันมา ระหว่าง มวลมหาประชาชน กับ รัฐบาลดื้อตาใส จึงแทบไม่ต่างอะไรไปจาก การเผชิญหน้า ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ กับ ฝ่ายอธรรม ยังไงยังงั้น...

(7) ด้วยเหตุนี้... จึงแทบไม่ต้องเสียเวลา ไปสนใจว่า ใครจะแพ้ ใครจะชนะ กันในตอนไหน เมื่อไหร่ เพราะเพียงแค่ได้เห็น ภาพผู้คน นับเป็นล้านๆ หันมาให้ ความสนใจ ต่อความดี ความมีคุณธรรม ความถูกต้อง เป็นธรรม กันอย่าง แน่นขนัด เนืองนอง เช่นนี้ ไม่ว่าใครแพ้ ใครชนะ คงต้องสรุปว่า... ประเทศไทย ชนะแล้ว!!! ชนะกิเลส อวิชชา ชนะความโกหก หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ชนะอำนาจเงิน อำนาจรัฐ ที่ไม่ถูกไม่ต้อง ไม่ต่างอะไรไปจาก ความสว่าง ที่กำลังเอาชนะ ความมืดลงไป ทุกทีๆ นั่นเอง ส่วนรัฐบาล หรือใครก็ตาม ที่สนับสนุนรัฐบาลนั้น น่าจะ กระจอก เกินไป กว่าที่จะพูดถึง เพราะเมื่อไหร่ ที่ความสว่าง ได้เข้ามาแทนที่ความมืด อย่างเบ็ดเสร็จ สมบูรณ์แล้ว มันคงแทบไม่ต้อง เสียเวลาไปอธิบายว่า อะไรน่าเกลียด น่าชัง น่าอัปลักษณ์ น่าทุเรศ ทุรัง เพราะความสว่าง มันจะสาดส่อง ให้เห็นว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไรจริง อะไรเท็จ ได้ด้วยตัว ของมันเอง... นั่นแล...

       อีกคอลัมน์หนึ่งเรื่อง....
ปฏิบัติการทวงคืนอำนาจ ถึงโค้งสุดท้ายวัดใจ ‘รบ
.ปู’
 แม้จะสามารถ รักษาอำนาจตัวเอง โดยอ้างความชอบธรรม ที่ผ่านกระบวนการ เลือกตั้ง ภายใต้การปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข เอาไว้ได้

แม้จะสามารถยืนหยัด ด้วยกลไก ในมือฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ ที่มีอยู่อย่างล้นพ้น เพื่อรักษา เสถียรภาพ ของรัฐบาล เอาไว้ได้

แม้จะใช้เครื่องมือ และสรรพกำลังต่างๆ เพื่อป้องกัน ไม่ให้ผู้ชุมนุม กลุ่มประชาชน เพื่อการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทย ให้เป็นประชาธิปไตย ที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข (กปปส.) บุกเข้ายึด สถานที่ราชการ และหน่วยงานต่างๆ เอาไว้ได้

และแม้จะใช้ “ยุทธศาสตร์” และ “ยุทธวิธี” ทางการเมือง แก้เกมของ ฝั่งตรงข้าม เพื่อประคองตัว ให้อยู่คานอำนาจ ให้นานที่สุด เอาไว้ได้

แต่ย่างก้าวของ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” ต่อจากนี้ จะเต็มไปด้วย ขวากหนาม สารพัด ที่ทำให้ การบริหารประเทศ ไม่สะดวกโยธิน ตามครรลอง ที่ควรจะเป็นอีกแล้ว เนื่องด้วยเพราะ ปรากฏการณ์ “มวลมหาประชาชน” วันนี้ ได้ขยายเป็นวงกว้าง ทุกหย่อมหญ้า และ ทุกภาคส่วน

ความไม่พอใจ ในการบริหารประเทศ ของรัฐบาล เลิกกระจุกตัว อยู่เพียงแค่กลุ่มคน ไม่กี่คน หรือ พรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่ง เท่านั้น แต่ลุกลามอยู่ ในทั่วทุกแห่ง ของประเทศไทย

ตามสภาพความเป็นจริง ที่ออกมา นับตั้งแต่ เกิดการรวมตัว คัดค้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย เรื่อยมา จนพัฒนาการ ไปตามลำดับมา เป็นเรื่อง การแก้ไข รัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว. การทุจริต โครงการต่างๆ และการใช้ อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ

ย่อมสะท้อนความเป็นไป บนสังคม ณ ขณะนี้ได้ชัดว่า มีประชาชน จำนวนมหาศาล ที่ไม่พอใจ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่มักอ้างตนว่า เป็นรัฐบาลที่มาจาก ระบอบประชาธิปไตย และ กล้าที่จะลุกออกมา ตะโกนถึงสิทธิ์ ในความเป็น ประชาชนคนไทย

ปฏิกิริยา “มวลมหาประชาชน” บนความอัดอั้น ต่อการบริหารประเทศ กำลังจะเป็น อาวุธ ให้ความชอบธรรม ที่รัฐบาลแอบอ้าง หมดความชอบธรรม ด้วยการปฏิวัติ ของสังคม

ดังจะเห็นได้จาก สิ่งที่เกิดขึ้น นับจากมี “กปปส.” ภายใต้การนำของ “กำนันสุเทพ” นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และแนวร่วม ก่อตัวขึ้นมา

“ข้าราชการ” ที่เคยถูกมองว่า โดนฝ่ายการเมือง แทรกแซงและครอบงำ อยู่ทุกอณู จนไม่สามารถ เป็นที่พึ่งพา ของประชาชน ได้อีกต่อไป กลับขยับเขยื้อนตัว ออกมา ให้เห็นว่า พวกเขาที่ไม่เอา “ระบอบทักษิณ” มีอีกจำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่ถูกกลืนกิน

เห็นได้จาก ภาพข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อย หลายคน ที่พร้อมใจกัน คล้องนกหวีด ชูธงชาติ อ้าแขนรับ “ม็อบ กปปส.” ทั้งที่กำลังจะยกพล ไปยึดสถานที่ทำงาน ของตัวเอง

เป็นการแสดงตัว ที่ไม่เกรงกลัวว่า จะมีผลกระทบอะไร ตามมา และทั้งที่ ไม่รู้เลยว่า หากปฏิบัติการ “ปฏิวัติประชาชน” รอบนี้ไม่สำเร็จ ข้าราชการน้ำดี เหล่านี้ จะต้องได้รับ การตอบสนองอย่างไร จากฝ่ายผู้ถืออำนาจ

แต่นั่นเป็นเรื่องของ อนาคตภายภาคหน้า ที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะสิ่งหนึ่ง ที่เกิดขึ้น แน่นอนแล้ว จากปรากฏการณ์ ข้าราชการ อันเป็นฟันเฟืองสำคัญ ของระบบราชการ ออกมาต่อสู้ ย่อมจะส่งผลให้ การบริหาร ราชการแผ่นดิน ของรัฐบาล ตามอำเภอใจ ไม่ง่ายอีกต่อไป

แม้จะยังไปต่อได้ แต่จะทำเหมือนเดิม คงลำบาก

       ขณะที่สังคมโดยรวม วันนี้แจ่มชัดแล้วว่า “ไทยไม่เฉย” ได้กระจายตัว อยู่ทั่วไป ในทุกๆ ที่ และพร้อมจะแสดงพลัง ให้รัฐบาลเห็นว่า พวกเขาเหล่านั้น ไม่พึงประสงค์ ฝ่ายบริหาร ที่หมดความชอบธรรม รวมทั้งพร้อมขัดขวาง และแสดงออก ในทุกครั้ง ที่มีโอกาส

เหมือนกับ สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา คนไทยจำนวนมาก เลือกที่ จะไป จุดเทียนชัย ถวายพระพร เนื่องในวันเฉลิม พระชนมพรรษา ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่เวทีอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย เวทีศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ และเวที กระทรวงการคลัง อย่างเนืองแน่น ต่างจาก ท้องสนามหลวง ที่มีรัฐบาล เป็นเจ้าภาพนั้น ดูบางตาไปเยอะ หากเทียบกับทุกๆ ปี

และเป็นการตอกย้ำภาพ “มวลมหาประชาชน” เรือนล้าน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาด้วยว่า ออกมาด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงพลัง ส่งถึงรัฐบาลโดยตรง มิได้ถูกจัดตั้ง อย่างที่มีการ ตั้งข้อสังเกต

เป็นอีกหนึ่งจุด ที่ทำให้เริ่มเห็นทิศทาง ต่อจากนี้ว่า รัฐบาลอาจไม่ได้รับ ความร่วมมือที่ดี อีกต่อไป

เพราะต้องอย่าลืมว่า วันนี้แม้รัฐบาล จะสามารถ บริหารประเทศ ต่อไปได้ โดยอาจอ้าง ความชอบธรรม ในการบริหารประเทศได้ ในทาง “นิตินัย” เนื่องจากคดีความต่างๆ ยังไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะปมแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว. ของ 312 ส.ส. และ ส.ว. ที่ถูกส่งต่อ ไปอยู่ในมือคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ยังอยู่ ระหว่างไต่สวน

แต่กับในทาง “พฤตินัย” แล้ว ดูเหมือนจะไม่ได้รับ การยอมรับ จากประชาชน ตั้งแต่วันที่ องคาพยพ ของรัฐบาล ประกาศไม่ยอมรับ คำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง เสาค้ำยัน ในอำนาจ 3 ฝ่าย ตามระบอบ ประชาธิปไตย

โดยตามหลักแล้ว การปฏิเสธ อำนาจดังกล่าว ถือเป็นการละเลย กติกาของประเทศ ที่แจ่มชัด ดังที่ “สภาทนายความ” ออกแถลงการณ์ ระบุว่า

“หลักการของระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และทรงใช้ พระราชอำนาจ ทั้งทางบริหาร ผ่านรัฐบาล ทางนิติบัญญัติ ผ่านรัฐสภา และทางตุลาการ ผ่านศาล นี้เป็นความสมดุล ที่สอดคล้องกัน การที่มีกลุ่มบุคคล สมาชิกพรรคการเมือง รัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา ทั้งจากสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ปฏิเสธ คำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นการไม่ชอบ ของการปฏิบัติหน้าที่ ของสมาชิก รัฐสภา หรือรัฐมนตรี ที่ต้องเป็นไป ตามหลักนิติธรรม การแสดงออก ต่อสาธารณะ ถึงการไม่ยอมรับ คำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญ เท่ากับ เป็นการปฏิเสธ พระราชอำนาจ ในทางตุลาการ ทั้งหากมีการกระทำ ดังกล่าวนี้ ปรากฏอยู่ โดยที่ผู้กระทำ ยังมิได้รู้สำนึก”

และยังรวมถึง การนำร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว. ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ทั้งที่มีการท้วงติง และอยู่ระหว่าง การพิจารณา ของศาล

นอกจากนี้ ยังมีการผลักดันกฎหมาย ที่ทำลายหลักนิติรัฐ และนิติธรรม อย่างร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ฉบับทะลุซอย จนสุดท้าย ต้องถอยร่นออกไป แต่กลับไม่แสดง ความรับผิดชอบ ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเลย

จุดนี้เอง ที่จะส่งผลกระทบโดยตรง ในการทำงาน เพราะเมื่อไม่ได้รับ การตอบรับ และ ความร่วมมือที่ดี จากประชาชน ย่อมนำมาสู่ ปลายทางของ “รัฐที่ล้มเหลว” ในเวลา อันใกล้

เมื่อสัญญาณ ถูกถ่ายทอดออกมา ในลักษณะนี้ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” จึงมีส่วนสำคัญ อย่างยิ่ง ที่จะต้องดำเนินการ ทำอะไรสักอย่าง เพื่อปลดชนวน ความขัดแย้ง

และทางออกของเรื่องนี้ มีมากกว่าหนึ่งทาง หากตั้งใจ จะทำจริงๆ มากกว่า ประวิงเวลา และ ประวิงอำนาจ

ส่วนเรื่อง “นายกฯ ม.7” หรือ “สภาประชาชน” ที่รัฐบาลอ้างว่า เป็นสิ่งที่ ไม่สามารถ เกิดขึ้นได้ ภายใต้ รัฐธรรมนูญไทย พร้อมด้วย สารพัดเหตุผล และแหล่งอ้างอิงนั้น เอาเข้าจริง สิ่งเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นปัญหา เชิงเทคนิค ทั้งสิ้น

ปัญหาคือ รัฐบาลพร้อมจะให้ความร่วมมือ และเต็มใจทำหรือไม่ ต่างหาก

       โดยเฉพาะวันที่ 9 ธันวาคมนี้ที่ “กปปส.” ประกาศ จะต่อสู้ หมดหน้าตัก ให้รู้แพ้-ชนะ โดยขอให้ประชาชน ออกมาเป็นล้านๆ เคลื่อนไหวทั่วประเทศ เพื่อแสดงพลัง ทวงคืนอำนาจ จากรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่การปฏิวัติ โดยใช้กำลังทหาร

จึงเป็นครั้งสำคัญ ที่รัฐบาล จำเป็นจะต้องสดับ และควรจะต้อง มีท่าที อย่างใด อย่างหนึ่ง ต่อเสียงดังกล่าว เพราะเป็นเสมือน เจตจำนงของ ประชาชน ที่ลุกขึ้นมาแล้ว

   แต่ในตรงกันข้าม หากรัฐบาล ยังดันทุรัง บริหารประเทศ ทั้งที่สภาพสังคม เป็นอย่างนี้ โดยเอาตัวเอง เป็นศูนย์กลาง ก็รังแต่จะสร้าง ความเสียหาย และความสูญเสีย ต่อไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ.

       อีกอันหนึ่ง คือคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับคดีพรบ. ที่มาของ สส.สว. บางส่วนว่าไว้ว่า...

       อย่างไรก็ดี ภายใต้การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย แม้จะให้ถือเอามติ ฝ่ายเสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ก็ตาม แต่หากละเลย หรือใช้อำนาจ อำเภอใจ กดขี่ ข่มเหง ฝ่ายเสียงข้างน้อย โดยไม่ฟังเหตุผล และขาดหลักประกัน จนทำให้ฝ่ายเสียงข้างน้อย ไม่มีที่อยู่ที่ยืน ตามสมควรแล้วไซร้ จะถือว่าเป็นการปกครอง ในระบอบ ประชาธิปไตย ได้อย่างไร หากแต่จะกลับกลายเป็น ระบอบเผด็จการ ฝ่ายข้างมาก ขัดแย้งต่อ ระบอบ การปกครอง ของประเทศ อย่างชัดแจ้ง ซึ่งหลักการพื้นฐาน สำคัญนี้ ได้รับการยืนยัน มาโดยตลอดว่า กรณีต้องมีมาตรการ ในการป้องกัน การใช้อำนาจบิดเบือน หรืออำนาจ อำเภอใจ ของบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่เข้ามาใช้ อำนาจอธิปไตย ของประชาชน โดยให้ตั้งมั่น อยู่บนหลักการ แบ่งการแยกการใช้ อำนาจอธิปไตย อันเป็น อำนาจของ ปวงชนชาวไทย เพื่อให้แต่ละองค์กร หรือสถาบันการเมือง ที่ใช้อำนาจ ดังกล่าวอยู่ อยู่ในสถานะ ที่จะตรวจสอบ และถ่วงดุล เพื่อทัดทาน และ คานอำนาจ ซึ่งกันและกัน ได้อย่างเหมาะสม มิใช่แบ่งแยก ให้เป็นพื้นที่อิสระ ของแต่ละฝ่าย ที่จะใช้อำนาจ ตามอำเภอใจ อย่างไรก็ได้ เพราะหากปล่อยให้ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง มีอำนาจ เบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยปราศจาก การตรวจสอบ และถ่วงดุลแล้ว ย่อมเป็น ความเสี่ยง อย่างยิ่ง ที่จะทำให้เกิด ความเสียหาย และนำพา ประเทศชาติ ให้เกิด เสื่อมโทรมลง เพราะความผิดหลง และมัวเมา ในอำนาจ ของผู้ถือ อำนาจรัฐ ซึ่งในการนี้ อาจกล่าวได้ว่า องค์กรที่ใช้ อำนาจอธิปไตย ไม่ว่าจะเป็น ประมุขของรัฐ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือศาล ล้วนถูกจัดตั้งขึ้น หรือได้รับมอบอำนาจ มาจากรัฐธรรมนูญ ทั้งสิ้น

ดังนั้น การใช้อำนาจขององค์กรเหล่านี้ จึงต้องถูกจำกัด การใช้อำนาจ ทั้งในด้านรูปแบบ และเนื้อหา จึงมีผลให้ การใช้อำนาจ ขององค์กร ทั้งหลายเหล่านี้ ไม่สามารถที่จะ ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญได้ โดยเหตุนี้ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักร พ.ศ.2550 จึงได้นำ หลักนิติธรรม มากำกับ การใช้อำนาจ ของทุกฝ่าย ทุกองค์กร และทุกหน่วยงาน ของรัฐบาล ภายใต้หลักการที่ว่า นอกจาก การใช้อำนาจ ตามบทกฎหมาย ที่มีอยู่ ทั่วไปแล้ว ยังจะต้อง ใช้อำนาจ และปฏิบัติหน้าที่ ให้ถูกต้อง ตามหลักนิติธรรม กรณีนี้ จึงใช้การปฏิบัติ ตามบทกฎหมาย ที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือหลักเสียงข้างมาก แต่เพียงเท่านั้น หากจะต้องคำนึงถึง หลักนิติธรรม ควบคู่กันไปด้วย

การอ้างหลักเสียงข้างมาก โดยที่มิได้คำนึงถึง เสียงข้างน้อย เพื่อหยิบยก มาใช้อำนาจ อำเภอใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ ของผู้ใช้อำนาจ ท่ามกลาง ความซับซ้อน ระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนตน หรือกลุ่มบุคคล กับผลประโยชน์ ของประเทศชาติ และความสงบสุข ของประชาชนโดยรวม และการใดก็ตาม ที่จะนำมา ซึ่งนำไปสู่ ความเสียหาย และความเสื่อมโทรม ของประเทศชาติ หรือ การวิวาท บาดหมาง แยกแตก สามัคคีกัน อย่างรุนแรง ระหว่าง ประชาชน การนั้นย่อมขัดต่อ หลักนิติธรรม ตามมาตรา 3 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ซึ่งหมายถึง รัฐธรรมนูญนี้ ตามนัย มาตรา 68 นั่นเอง การใช้กฎหมาย และการใช้อำนาจ ทุกกรณี ต้องเป็นไป โดยสุจริต จะใช้โดยทุจริต ฉ้อฉล มีประโยชน์ทับซ้อน หรือ วาระซ่อนเร้นมิได้ เพราะมิฉะนั้น จะทำให้บรรดา สุจริตชน คนส่วนใหญ่ ของประเทศ อาจสูญเสีย ประโยชน์ อันพึงมีพึงได้ ให้ไปตกอยู่แก่บุคคล หรือคณะบุคคล ผู้ใช้อำนาจ โดยปราศจาก ความชอบธรรม หลักนิติธรรม หรือเป็นแนวทาง ในการปกครอง ที่มาจาก หลักความยุติธรรม ตามธรรมชาติ อันเป็นความเป็นธรรม ที่บริสุทธิ์ ปราศจากอคติ โดยไม่มี ผลประโยชน์ส่วนตน เข้ามาเกี่ยวข้อง และแอบแฝง หลักนิติธรรม จึงเป็นหลักการ พื้นฐานสำคัญ ของกฎหมาย ที่อยู่เหนือบทบัญญัติ ที่เป็นลายลักษณ์ อักษร ซึ่งรัฐสภาก็ดี คณะรัฐมนตรีก็ดี ศาลก็ดี รวมทั้งองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ และ หน่วยงานต่างๆ ของรัฐก็ดี จะต้องยึดถือ เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติ

       พ่อครูว่า.... ถ้าไม่มีบัญญัติไว้ ในรธน.นี้ทำไม่ได้ แต่ถ้าเป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ใน รธน. ก็ย่อมทำได้ เช่นต่อต้าน โดยสันติวิธี ในมาตรา ๖๙ (การต่อต้าน โดยสันติวิธี) บุคคลย่อมมีสิทธิ ต่อต้าน โดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อ ให้ได้มา ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

       อีกอันหนึ่งของ .ธานินทร์ กรัยวิเชียร แสดงปาฐกถาพิเศษ ว่าจงยึดมั่น ในความยุติธรรม โดยกล่าวถึง พระราชดำรัส ที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ได้ตรัสไว้ว่า ... ความยุติธรรมนี่คือ ทำอะไรที่ให้ถูกต้อง ตามธรรมะ คือยุติธรรม ถ้าฟังดู ก็ยุติในธรรม ยุติในความดี ความถูกต้อง ของผู้พิพากษา  โดยเฉพาะ ผู้พิพากษาสูงสุด ต้องรักษาความดี ความถูกต้อง ถ้าท่านได้รักษาไว้ ตามปฏิญาณตนนี้ ก็เชื่อว่า ความสุขสงบ ก็จะเกิดขึ้น ถ้าผู้รักษา ความยุติธรรม ไม่รักษาความยุติธรรม ประเทศชาติ ก็จะวุ่นวาย ความยุติธรรม คือมีเหตุผล มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม เป็นว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ในสังคม ทรงชี้แนะว่า ในกรณีที่กฏหมาย ขัดแย้งกับ ความยุติธรรม นั้น ความยุติธรรม ต้องมาก่อน กฏหมายเป็นเพียงเครื่องมือ ในการรักาษา ความยุติธรรม จึงไม่มีความสำคัญ ไปยิ่งกว่า ความยุติธรรม จะถือว่า ความยุติธรรมนั้น มาก่อนกฏหมาย และ อยู่เหนือกฏหมาย เรื่องนี้พระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน แก่ผู้มีหน้าที่ ในกระบวนการ ยุติธรรม กฏหมายเป็นเพียงปัจจัย ในการรักษา ความยุติธรรม ซึ่งสอดคล้อง กับหลัก กฏหมายธรรมชาติ

       พ่อครูว่า... ประเทศไทยเราทุกวันนี้ เราใช้การตัดสิน ลึกถึง ยุติธรรม และนิติธรรม ซึ่งคำว่าธรรมะ ไม่มีในภาษาอังกฤษ เขาก็ใช้คำทับศัพท์ว่า Dharma ธรรมะที่เป็น โลกุตรธรรม มีจิตสงบนั้น ไม่ใช่แค่สงบนิ่ง ไม่คิด ไม่ไหวติง แต่ว่าคือ จิตหมดกิเลส และมีสมรรถนะ รู้ทันโลก เพราะจิตตนสะอาดใส รู้ว่ามีกิเลส ร่วมหรือไม่ จึงทำงาน กับสังคม อย่างอนุโลม ปฏิโลมได้ มีโลกุตระ โลกวิทู โลกานุกัมปายะ หรือว่า พหุชนหิตายะ (เพื่อหมู่ชน เป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุข ของหมู่ชน เป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก) โดยไม่เห็นแก่ตัว ลดละตัวตน ไม่มีกิเลส ที่จะนำมา บำเรอตนเลย มีปัจจัย ๔ และบริขาร ที่จะทำงาน ทำงานได้มาก ก็ไม่หอบหาม หวงแหน ทำให้แก่ส่วนกลาง เพื่อให้สังคม ไม่ได้ทำเพื่อสะสม กอบโกย แก่ตนเอง เรามีสมรรถนะมา ก็ทำงานมาก มันดีกว่าทำน้อยนะ ทำดีมาก ก็ดีกว่า ทำดีน้อย แล้วทำไป ก็จะมีความสามารถ เพิ่มขึ้นอีก อย่างทำส้วม ก็ทำไป แล้วก็ต้อง มาเก็บขี้อีก   

       การมาประท้วงนี่ เรื่องกินไม่ค่อยลำบาก ช่วยกันได้ง่ายกว่าเรื่องขี้ เป็นเรื่องยากกว่า แต่คนของเรา ก็เก่งขึ้น ค่อยรู้วิธี แนบเนียน ขึ้นเรื่อยๆ เป็นความเจริญ เราไม่ได้ทำ เอาเงินทองด้วย อย่างเต๊นท์นี่ช่วยกันทำ หนักหนา ก็ทำไป เราไม่มีตังค์ด้วย เราก็เลย ต้องทำเอง ระบบของเรา เป็นระบบคนจน อาตมา ไม่สอนให้ไปรวย พระพุทธเจ้า ก็สอน ไม่ให้ไปรวย เราเอาความรู้สามารถ กับขยันสร้าง เรามีสมรรถนะ กับความขยัน ไม่มีวัน อดตาย ไม่เกี่ยง ไม่เห็นแก่ตัว การเสียสละ คือคุณค่าของมนุษย์ คุณรังเกียจอะไร กับตนเอง ที่มีคุณค่าต่อ มนุษยชาติ เป็นกุศล สั่งสมใส่อัตภาพไป

       ทุกศาสนา มีอัตภาพ พุทธก็อยู่กับ คุณงามความดี และสุดท้าย พุทธสลายอัตภาพได้ ปรินิพพาน เป็นปริโยสานได้ หรือจะไม่ปรินิพพาน เป็นอรหันต์โพธิสัตว์ ก็ได้

       น้ำนี่คือ H2O แต่คนที่มี ความสามารถ แตกสลายธาตุน้ำ ก็จะกลายเป็น H กับ O คือ ไฮโดรเจน กับออกซิเจนไม่มีน้ำเลย นี่เปรียบกับจิตนะ ผู้เป็นอรหันต์แล้ว สลาย ธาตุกิเลสได้ แต่จิตก็ยังอยู่ มีโลกุตรจิต (อยู่เหนือโลก) มีโลกวิทู (รู้ทันโลก) โลกานุกัมปายะ (ช่วยเหลือโลก)

       คุณธรรมของมนุษย์ ที่เรียกว่า อาริยธรรม พุทธสอนให้มีคุณธรรม แล้วอยู่กับโลก รู้จักโลก เลิกจากความติดยึด ในโลกได้ สูงขึ้นไป ตามลำดับ แต่ละระดับ กินเวลา นานมาก เพราะชีวิต ของคนเรา ๑๐๐ ปีนี้สั้นมาก สวรรค์หรือ ความสุขนั้น เร็วมาก แวบเดียว แต่นรกนั้น ยาวนานมาก หนึ่งนาทีของนรกนี้ นานมาก เมื่อเทียบกับสวรรค์

       คุณธรรมของเทวดา หรือ อาริยธรรมมี ๗ ข้อคือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พหูสูตร จาคะ ปัญญา

       ในทศพิศราชธรรม ก็มีศีลด้วย ในข้อที่ ๒ ศีลเบื้องต้น คือศีล ๕ เป็นฆราวาส มีผัวเมียได้ กิเลสก็ปฏิบัติ ไปตามภูมิ ศีลก็มีระดับ จากต่ำไปสูงเรื่อยๆ

       คนที่ทำผิดแล้ว ไม่ละอายต่อความผิดบาป ไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่สัตว์ประเสริฐ แต่เป็นคนชั่ว

       ศรัทธาในธรรมะ ศรัทธาในศีล ศีลเบื้องต้นของพุทธ คือศีล ๕ จิตวิญญาณไม่ฆ่าสัตว์ จิตวิญญาณไม่เอาของใคร ข้อ๓ ก็มีกามในกามคุณ มีผัวเดียวเมียเดียว ไม่นอกใจ ข้อ ๔ ไม่พูดปด อาจมีพูดแรงบ้าง หยาบบ้าง แต่ไม่ปด ข้อ ๕ ไม่เสพติดหยาบต่ำ เช่น อบายมุข กามจัดจ้าน ลาภใหญ่โต ไม่เอาแล้ว โสดาบัน มีศีล ๕ บริสุทธิ์ ไม่มัวเมาในสุรา (เมาหยาบ)

       หิริ คือรู้ว่า อะไรผิด อะไรชั่ว จะเกรงต่อ ความผิดบาป ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น มีความจำเป็น จะต้องโลภ ต้องเอาสิ่งนี้ มาให้แก่ตน บางทีก็ต้องจำเป็น แต่คนที่ ไม่มีความจำเป็นแล้ว จิตมันเห็นว่า ไปทำอย่างนั้น มันผิดมันบาป เขาก็จะไม่ทำ ส่วนโอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อบาป จะไม่ทำจริงๆ เป็นคุณธรรม สูงกว่าหิริ อย่างหิรินี่ อาจทำชั่ว ลับหลังได้ เพราะอาย แต่ถ้าถึงโอตตัปปะนั้น ลับหลังก็ไม่ทำ เพราะทำแล้ว สั่งสมเป็นวิบาก กิเลสอ้วน ถ้ารู้สัจจะแล้ว ต่อหน้าลับหลัง ก็ไม่ทำ คนทำความจริง เหล่านี้ได้ ถึงเป็นพหูสูตร ไม่ใช่ว่าพหูสูตร คือผู้รู้มาก เรียนมาก แต่ไม่ได้มรรคผล

       ในศรัทธา ๑๐ จะมี
๑.    ศรัทธา (เชื่อถือเลื่อมใส ในอริยสัจเป็นต้น)
๒.    ศีล (ในบริบทที่สูงไปสู่ สีลสัมปทา แห่ง จรณะ ๑๕)
๓.    พหูสูต / พาหุสัจจะ (รู้สัจจะบรรลุจริง จนรู้มากขึ้น)
๔.    เป็นพระธรรมกถิกะ (อธิบายสัจธรรม สอนความจริง)
๕.    เข้าสู่บริษัท (สู่หมู่กลุ่มอื่น)
๖.    แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท
๗.    ทรงวินัย
๘.    อยู่ป่าเป็นวัตร ยินดีในเสนาสนะอันสงัด (คืออุเบกขา)
๙.    ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔
๑๐.   ได้ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ - ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้

       โสดาบัน ก็เป็นพหูสูตร ระดับต้น สกิทาฯ ก็คือพหูสูตร ระดับสอง แล้วสูงไปเรื่อยๆ ตามลำดับ ทำคุณอันสมควรก่อน ค่อยพร่ำสอนผู้อื่น จึงไม่มัวหมอง เมื่อมีความจริง ก็จะแกล้วกล้า อาจหาญขึ้น แสดงธรรมแก่บริษัท แล้วจะทรงวินัย ….

จบ

 
๘ ธันวาคม ๒๕๕๖ ที่ เวทีสะพานมัฆวานรังสรรค์ กทม.