_ 570214_ธรรมะมาฆบูชา โดยพ่อครู ที่ผ่านฟ้า

 

เรื่อง อาหาร ๔ อย่างพิสดาร ตอน ๒

 

       " มาฆะบูชา...รำลึก "

วันมาฆะบูชาเวียนมาถึง
ประเสริฐสุดซาบซึ้งพระศาสนา
เป็นครั้งเดียวแห่งองค์พระศาสดา
ณ มหาพระวิหารเวฬุวัน

ทรงประทานโอวาทะปาฎิโมกข์
แด่ภิกษุทั่วโลกระลึกมั่น
คือหัวใจพระธรรมอย่างสำคัญ
คำสอนนั้นยังคงอยู่คู่ชาติไทย

ชาวพุทธควรสำนึกระลึกน้อม
กาย ใจพร้อมบูชาอย่างยิ่งใหญ่
บำเพ็ญพรตถือศีลเข้าถึงใจ
ทำจิตให้สุขสงบ พบนิพพาน

วันมาฆะบูชาในปีนี้
มาบรรจบพอดีกับวันหวาน
วาเลนไทน์ใจฝรั่งต่างเบิกบาน
เป็นตำนานชาวคริสต์ฤทธิ์รักแรง

อยากมีคู่สู่สมอัสสาทะ
เสพรูปรสผัสสะอันซ่อนแฝง
ความสุขทุกข์ทั้งมวลล้วนเปลี่ยนแปลง
คนยังแย่งแสวงหามายากาม

กามคุณทั้งห้าพาหลงไหล
อุปาทานท่วมใจก้าวไม่ข้าม
มองไม่เห็นตามตรงหลงว่างาม
คุณแห่งกามซ่อนเร้นสิ่งเป็นภัย

เมื่อมีรักก็มีทุกข์มิใช่หรือ
ห่วงหวงหวังยึดถืออยู่ใช่ไหม
หวาดระแวงกังวลจนอาลัย
ต้องพลัดพรากห่างไกลไปจากเรา

รักพระพุทธศาสนาดีกว่าไหม
วาเลนไทน์เป็นของฝรั่งเขา
หลงกระแสหลงแฟชั่นอันมอมเมา
กิเลสเผาร้อนรนไปจนตาย

รักทั้งที รักให้ดี ต้องรักศีล
ลดกิเลสให้สิ้นคือเป้าหมาย
ใจสงบใจสว่างไม่วุ่นวาย
สุขสบายชีวี ดีจุงเบย...
       
     โดย ชนะผี สิ้นป่าโลกีย์

       พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึง สิ่งอาศัย ๔ แต่คนไปเข้าใจผิด เอาไปบำเรอกิเลส ทั้งที่มันเป็น กามโทษ เป็นภาระ เป็นทุกข์ มันเปลี่ยนแปลงไป ไม่เหมือนเดิม ไม่เที่ยง เป็นภาระเป็นทุกข์ แล้วไปหลงเสพ เป็นสุข เป็นสุขบำเรอ ความพอใจ เป็นเรื่องหลง ชวนให้ติด แล้วก็หลงติดอยู่ ชั่วนาตาปี ในสังสารวัฏ แล้วไม่เที่ยง สุขๆทุกข์

       มีคนค้นพบจาก พระไตรปิฎก ดีๆมาให้ ก็ขอบคุณที่ได้ใช้ จากพระไตรฯล.๒๗ ข้อ ๒๒๓ ซึ่ง ตัณหา ซึ่งเป็นสมุทัยอาริยสัจ เราจะได้อธิบาย เรื่องกาม ที่เขาหลง เป็นกามคุณ ทั้งที่มันเป็น กามาทีนวะ จนดับเหตุ กำจัดเหตุให้ตายสิ้น ไม่มีกาม

       เรียนรู้กาม ต้องอาศัยผัสสะ ต้องมีจิตรู้ว่า เรามุ่งหมายอะไร มุ่งหมายเสพกาม เสพโลกธรรม ใคร่อยาก ได้ลาภ มาเสพ เป็นสุขขัลลิกะ ได้ยศ ได้สรรเสริญ ได้กาม ได้อัตตา ก็เป็นสิ่งที่ ใคร่อยาก แล้วแสวงหามาได้ ก็บำเรอ แล้วหลงว่า เป็นสิ่งยอดเยี่ยม ตามที่เรายึด
       ก็เพราะอาศัยการแสวงหา อาศัยตัณหาเป็นเหตุ
เพราะอาศัยความทะยานอยาก จึงมีการแสวงหา
. อาศัยการแสวงหา จึงมีลาภ
. อาศัยการมีลาภ จึงมีการวินิจฉัย
. อาศัยการวินิจฉัย จึงมีความกำหนัดพอใจเป็นอำนาจ
. อาศัยกำหนัดพอใจเป็นอำนาจ จึงมีการฝังใจ
.อาศัยการฝังใจ จึงมีการหวงแหน
. อาศัยการหวงแหน จึงมีความตระหนี่
. อาศัยการตระหนี่ จึงมีการอารักขา
. อาศัยการอารักขาเป็นต้นเหตุ จึงมีการจับท่อนไม้ จับศาสตรา มีการทะเลาะ แตกแยก กล่าวขัดแย้งกัน การชี้หน้าด่ากัน การพูดส่อเสียด การพูดปด และเกิดอกุศลธรรม อื่นอีกเป็นอเนก

       พระพุทธเจ้าสอน ใบไม้กำมือเดียว คืออรหันต์ของแต่ละคน มีความสะอาด ในขันธ์ ในอุปาทาน ขันธ์ ๕ อุปาทานคือ การยึดแล้วฝังในจิต วิธีการจัดการของ พระพุทธเจ้า คือให้มัน เคลื่อนตัวออกมา เป็นตัณหา จะแสวงหาได้ ก็ต้องมีผัสสะ จะต้องการ กาม ลาภ ยศ สรรเสริญ ต้องการผู้ร่วมสังวาส หรือสังขาร เมื่อได้ร่วมสังขาร สังวาส ก็เกิดปฏิกิริยา แล้วก็สัมผัส อย่างนั้น อย่างนี้ จนกระทั่ง พอใจ แรงบ้างเบาบ้าง ช้าบ้างเร็วบ้าง ก็แล้วแต่ แล้วแต่ชนิด หลากหลาย ในการผัสสะ สิ่งเหล่านี้ ปุถุชนไม่รู้ได้ง่ายๆ จึงเรียกธรรมะ พระพุทธเจ้าว่า
.    คัมภีรา (ลึกซึ้ง)
.    ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก)
.    ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก)
.    สันตา (สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่) .
.    ปณีตา (สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น)
.    อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้)
.    นิปุณา (ละเอียดลึกถึงขั้นนิพพาน)
.    ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะ ผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริง เท่านั้น)  (พตปฎ. เล่ม ๙ ข้อ ๓๔)

       พระพุทธเจ้าท่านได้ไปเรียนรู้ ทำแบบผิดๆ มาตั้ง ๖ ปี ก่อนที่ท่านจะได้ถึงเวลา จะเป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้ทำเตวิชโช ท่านมี พุทธการกธรรม  คือ ธรรมที่ทำให้เป็น พระพุทธเจ้า มีอยู่แล้ว ครบถ้วน พุทธุปปาทกาละ ยุคสมัยที่ พระมหาโพธิสัตว์ สมควร ประกาศตนเป็น พระพุทธเจ้า ก่อตั้งพระพุทธศาสนา โดยมีปัจจัยพอเพียง ครบพร้อม เช่น มีผู้ร่วมพระบารมี มาเกิด อย่างครบพร้อมแล้ว ฯลฯ
       ท่านเรียนรู้มาจาก พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ท่านได้พบพระพุทธเจ้า มาแล้ว กว่า  ห้าแสนหนึ่งหมื่นสองพัน พระองค์

       เหมือนอาตมาเกิดมา ก็มีพุทธธรรม มาก่อนแล้ว เล่าโดยสาระสัจจะ ที่เป็นจริง... สรุปแล้ว พระพุทธเจ้า ก็ระลึกชาติ ซึ่งระลึกชาติ แบบไม่ใช่โลกีย์ หมุนเวียน ไม่ใช่แค่เวียนเกิดตาย ทางร่างกาย ท่านมีความเป็น อาริยบุคคลอย่างไร ก็ระลึกไป ท่านผ่านจริง ของจริง เป็นปัจจัตตัง

       พระพุทธเจ้าเกิดมานั้น ศาสนาพุทธ ยังไม่อุบัติ เพราะสูญหายไปแล้ว ท่านก็ต้อง มาประกาศ ศาสนาพุทธ เป็นของท่านเอง พอระลึกได้ ก็อ๋อ ของเราเอง ท่านจึงมาเปิดเผย ศาสนาพุทธ ว่าเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงโปรดปัญจวัคคีย์ ได้อัญญาโกณทัญญะ มาเป็นสงฆ์ รูปแรก

       เมื่อเช้าได้อธิบายถึง อนุปุพิกกถา
ทาน ซึ่งทานเขาก็ไม่ได้ถึงการสละกิเลส
ศีล
สัคคะ (สวรรค์) ก็เป็นสวรรค์ลวง
กามาทีนวะ โทษของกาม
เนกขัมมะ การออกจากกาม

       ละเอียดในจิต ก็ต้องอ่าน ความอยากได้สมใจ ในตัณหา ในภพนอกเป็นกาม ถ้าหยาบ ก็เป็นอบาย ถ้าล้างอบายก็เป็น สกิทาฯ ก็จะล้างกาม เมื่อล้างกามได้ ก็เป็นอนาคามี แล้วล้าง รูปภพ อรูปภพต่อ ก็เป็นคนหลุดพ้น ไม่มีภพชาติแล้ว จิตวิญญาณสะอาด บริสุทธิ์ รู้เท่าทันโลก ไม่ได้หนีโลก มีผัสสะเป็นปัจจัย ตัว ทวาร ๕ นี่แหละ เป็นสัมผัส รู้ว่าการวนเวียน เป็นสัตว์ โลกียะ แล้วคนก็อาศัย แม้อรหันต์ก็ต้องอาศัยอาหาร เป็นสิ่งยังชีพ เพราะฉะนั้น เรียนรู้อาหาร นี่แหละ อยู่ในความเป็นมนุษย์ เป็นรูปราคะ อรูปราคะ ก็อยู่ในผัสสาหาร มีผัสสะแล้วจะเกิด

       อยู่ในสังคม เหมือนก้อนน้ำแข็ง ท่ามกลาง เตาหลอมเหล็ก แม้จะร้อน กี่ดีกรีก็ตาม น้ำแข็ง ก็ไม่หลอมละลาย เรียกว่า จิตมีโลกวิทู เราไม่หนีโลก แบบโลกันต์ พระพุทธเจ้า เรียกว่า เป็นเรื่องผิด เป็นนรกลึก โลกันต์ มันต้องเผชิญ ต้องสัมผัส แล้วก็รู้ เกิดจริง กิเลสเกิดบัดนี้ เป็นกามสัตว์​ เป็นรูปสัตว์  เป็นอรูปสัตว์ แล้วดับความเป็นสัตว์ สัตว์เทวดาสมมุติ

ซึ่งวิญญาณนั้น
อนิทัสสนัง   ไม่อาจมองเห็นได้ ไม่อาจชี้บอกได้
อนันตัง       ไม่มีขอบเขต ไม่มีที่สุด
สัพพโต ปภัง แจ่มใส, แผ่กระจายไปโดยทั้งปวง
ทูรังคมัง      ไปได้ไกล (เดินทางไวกว่าแสง)
เอกจรัง       ไปแต่เพียงผู้เดียวไม่เกี่ยวกับใคร
อสรีรัง        ไม่มีรูปร่าง หน้าตา หรือรูปทรง
คูหาสยัง      อาศัยกายเป็นขอบเขตคูหากำบังอยู่

ต้องมีความรู้ ในวิโมกข์ ๘ รู้กาย ในสัตตาวาส ๙ ซึ่ง แม้มีกายสักขี แต่ว่าไม่ได้มี การสัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แม้มีกายสักขี เหมือนอรหันต์เลย นิ่ง อายุยืน อาจเป็น ๑๐๐ ปี ท่านไม่แคร์ โลกธรรม มักน้อยสันโดษ แต่คนเหล่านี้ ไม่มีภูมิรู้ วิโมกข์ ๘ และไม่รู้แม้คำว่า กาย ถ้าไม่รู้กาย อย่างสัมมาทิฏฐิแล้ว อาสวะไม่สิ้น

       ถ้าใช้คำว่ากายแล้ว ต้องมีนาม ร่วมด้วยเสมอ ต้องเห็นด้วยการสัมผัส วิโมกข์ ๘
๑. ผู้มีรูป (รูปฌาน) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย  (รูปี รูปานิ ปัสสติ) จิตจะต้องรู้จักรูป (รูปคือสิ่งที่ถูกรู้)
๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (๑๐/๖๖) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธารูปานิ ปัสสติ) . (พ่อครูแปลว่า มีสัญญาใส่ใจในอรูป คือรู้ทั้ง รูปภายนอก ไปจนถึง รูปภายใน ต้องเห็นทุกเวลา แม้ขั้นอรูป ก็ต้องใส่ใจกำหนด)
๓. ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต . โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ  (พ่อครูแปลว่า เป็นโชคอันดีงาม ที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุ หลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น)
 พตปฎ. ล.๑๐ ข.๖๖ / ล.๒๓ ข.๑๖๓

       แล้วทำไมไม่เปรียบกับ ฌาน อรูปฌาน แต่ว่าที่จริง พระพุทธเจ้าอธิบาย เรื่องคุณสมบัติ ในการเข้าถึง วิโมกข์ แล้วก็มีอุเบกขา เป็นฐานนิพพาน เป็นคุณสมบัติพื้นฐาน ของนิพพาน เป็นแกน แล้วก็ทำซ้ำ เมื่อคุณปล่อยวางได้ ก็เป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ มีญาณ
.    (๔)อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ . ต่อเนื่องมาจาก การเห็นภัย
๘.    (๕)นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณเห็นความน่าเบื่อ-หน่ายในกิเลส เพราะสำนึกเห็น ทั้งโทษและภัย . .
๙.    (๖)มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณรู้เห็นการเปลื้องปล่อย ไปเสียจาก โทษ-ภัยเหล่านั้น . (อตัมมยตา) .

       ไม่ใช่ทำอย่างหลับตา แต่ทำอย่างรู้ๆตื่นอยู่ เป็น จักขุมา ปรินิพพุโพติ นิพพานอย่างลืมตา เป็น จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง นิโรธของพระพุทธเจ้า เป็น ผู้ที่บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วง เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง (สัพพโส เนวสัญญานาสัญญายตนัง สมติกกัมมะ สัญญาเวทยิตัง นิโรธัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ)  หรือพ้น อวิชชาสังโยชน์ อันผู้เข้าถึงแล้ว พึงทบทวน ตรวจสอบ อย่างอนุโลมบ้าง อย่างปฏิโลมบ้าง ทั้งอนุโลม และปฏิโลมบ้าง หรือบางขณะ ก็อยู่ในอารมณ์ บางขณะ ก็ไม่อยู่ในอารมณ์ แห่งวิโมกข์๘  อยู่บ้าง-ไม่อยู่บ้าง ตามคราวที่ต้องการ ตามที่ปรารถนา และตามกำหนด ที่ประสงค์  จึงบรรลุเจโตวิมุติ -ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า อุภโตภาควิมุติ

       ไม่ได้ไปนั่งหลับตาปี๋ เป็น เนวสัญญานาสัญญยตนสัตว์ หรือ อากิญจัญญายตนสัตว์ อย่างอาฬารดาบส หรือ อุทกดาบส

       สรุปแล้วต้องรู้ กายกับสัญญา ที่เป็นสภาวธรรม แล้วคุณต้องตรวจกาย ถ้าเข้าใจกายไม่ได้ จะเป็นอรหันต์ไม่ได้ อย่างโสดาฯ สกิทาฯ ก็พอได้ แต่ถ้าเป็น ธัมานุสารี จะเรียนรู้เป็น ทิฏฐิปัตตะ

สายศรัทธา
๑. สัทธานุสารี . >
๓. สัทธาวิมุติ . >
๕. กายสักขี . >
(ต้องอาศัยวิโมกข์ ๘)
สายปัญญา
๒. ธัมมานุสารี .
๔. ทิฏฐิปัตตะ .
๖. ปัญญาวิมุติ . .
(มีวิโมกข์ ๘ มาตลอด)

       สายพุทธนี้ แม้ไม่ไปนั่งสมาธิ ก็เป็นปัญญาวิมุติได้ ท่านจึงเรียกว่า สุขวิปัสสโก คือ ประเภทไม่มี เจโตสมถะ ท่านจะไม่มีอิทธิ และอาเทสนาปาฏิหาริย์ ซึ่งการเตวิชโช จะมีประโยชน์อยู่ สี่อย่าง
.ได้พักผ่อนแบบสงบจิต
.ศึกษาเพิ่มทักษะในเจโตสมถะ และใช้ตรวจอ่าน ภาวะจิตต่างๆ ในภวังค์
. เอื้อให้ปฏิบัติเตวิชโช (ทบทวน) ได้อย่างดี .
. สร้างพลังทางจิต ที่จะนำไปทำฤทธิ์ต่างๆ (แต่ฤทธิ์ในพุทธศาสนา หมายถึง ฤทธิ์ที่ระงับ ดับกิเลส เพื่อไปสู่ นิโรธ-วิมุติ-วิโมกข์-นิพพาน) ท่านก็ไม่ต้องไปใช้ ข้อที่สี่นี้เลยได้

       ถ้ากำหนดรู้กามได้ เข้าใจสัมมาทิฏฐิ คุณจะปฏิบัติอย่างรู้จัก อาหารรูป เป็นเครื่องอาศัย แล้วจะพิจารณาจาก อาหารรูปนี้คือ กาย เพราะมันต้องเสพ ตั้งแต่อบายภูมิ เป็นกามภูมิ จนถึง รูปราคะ อรูปราคะ มานะ (ไม่ใช้คำว่าใคร่อยาก แต่ไม่หนักหนาเหมือน กามราคะ มันยึดดีถือดี แล้วเสพสุขว่าดีนัก เหลือละอองธุลี คืออุทธัจจะ ก็ตรวจด้วย อรูปฌาน สำหรับ มานะอุทธัจจะ แต่รูปราคะ อรูปราคะ ก็อาศัยฌาน อาศัยภายนอกตรวจ แต่ไม่ออกมาข้างนอก เหลือแต่ข้างใน มีมานะ อุทธัจจะ ต้องล้างด้วยอรูปฌาน จนพ้นอวิชชสวะ ก็จบ

       ในเรื่องกาม จึงเป็นคำรวมที่ครบหมด อธิบายไปเมื่อเช้า พระพุทธเจ้าอธิบายว่า เหมือนคนเดินๆๆๆ จังเลย เป็นทางกันดาร เพราะไม่รู้อวิชชา วนไปมา ไม่รู้ว่า คืออะไรเป็นเหตุ ว่าต้นเหตุคือกาม ต้องออกจากกาม ต้องรู้ทวาร ๕ สัมผัสแล้วเกิดกาย

       กายขององค์ประชุม ถ้ายังมุ่นอยู่ข้างนอก ก็อยู่ข้างนอก พหิทา รูปานิ ปัสสติ แล้วเห็น แล้วเลื่อนมาสู่ในจิต เป็นกายในกายแล้ว เมื่อไม่เรียนรู้ มันก็ปรุงแต่งสังขาร ได้สมใจ ก็วางไป อุเบกขาเฉย ไม่ได้สมใจก็ทุกข์ แต่ไม่ได้ ก็จำนนไป มันไม่ได้ก็ยอม จนทุกข์อยู่ แต่ฝังใจ สั่งสม เป็นอาสวะกิเลส สุขก็ฝังใจ เป็นกิเลส ทุกข์ก็ฝังใจ เป็นกิเลส เหมือนผัวเมีย ที่เดินทางไกล ชาวโลกีย์ ก็ปุถุไปด้วยโลกีย์ โตใหญ่หนา สุขหรือทุกข์ กิเลสก็หนาอ้วน จึงสั่งสมนรก หลงสวรรค์ สั่งสมเป็นกิเลส อนุสัยอาสวะ

       ตายไปแล้วไม่มีกามคุณ ๕ ก็ดิ้นอยากเสพ คุณก็ต้องอยากดิ้น ดิ้นก็ไม่มีให้ ลืมตา ก็ไปแสวงหา บำเรอ คุณก็ได้สุขตอนเป็นๆ แต่ตายแล้วไม่มี อย่างเก่ง ก็สมมุติมาเอง เป็นมโนมยอัตตา เป็นของปลอม ไม่มีรูปจริง ไม่มีเสียงจริง อยู่ในภพของจิตไม่มี คุณก็ได้แต่ ของลมๆแล้งๆ จึงฝันเป็นสุข เพราะปรุงแต่งมาเสพ ไม่เรียนรู้ ไม่ได้ก็อาฆาตต่อ สรุปแล้ว มีแต่ทุกข์กับทุกข์ มากกว่า สุขนั้นของปลอม แม้คุณปรุงแต่ง ในสัญญา ก็ชั่วคราว แล้วพักยก กิเลสคือทุกข์ เป็นสัจจะ สุขนั้นคือ สุขขัลลิกะ พระพุทธเจ้า จึงบอกว่า ตายไปแล้ว มีแต่ตกนรก เสียมาก เท่ากับแผ่นดินทั้งหมด แต่ขึ้นสวรรค์มีน้อย เพียงแค่เท่าขี้เล็บ

       คุณได้ยศ ได้ลาภ ได้สรรเสริญมาเสพ คุณก็ว่ายากจริงๆ ยิ่งอยากได้มาก ได้ใหญ่ ก็ต้อง แสวงหา แม้ชั่วก็ทำ โกหกก็ต้องทำ เพื่อได้ลาภยศ เสพสมสุขสม ในสรรเสริญ คุณทำตัวเอง ให้ชั่ว ตนเองก็ไม่รู้ ฆ่าลูกน้อยมากิน ทำเป็นเนื้อแห้งเนื้อย่าง โดยไม่รู้จักที่หมาย แย่งกาม แย่งอัตตาลำบาก แต่ไม่รู้ทุกข์ ที่จริงทุกข์เป็น กิลมถะ เป็นอัตตา ๓ ทั้งนั้น ก็เลยไม่ สัมมาทิฏฐิ ก็เดินในทาง ทุรกันดาร ถึงฆ่าลูกตัวเองกิน นึกว่า ตนเดินทางประเสริฐ แต่ได้นรกกับนรก น่าสังเวชใจ

       มาถึงเรื่องผัสสาหาร

       [๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร เหมือนอย่างว่า แม่โคนม ที่ไม่มีหนังหุ้ม ถ้ายืนพิงฝาอยู่ ก็จะถูกพวกตัวสัตว์ อาศัยฝาเจาะกิน ถ้ายืนพิงต้นไม้อยู่ ก็จะถูก พวกสัตว์ ชนิดอาศัยต้นไม้ ไชกิน หากลงไปยืนแช่น้ำอยู่ ก็จะถูกพวกสัตว์ ที่อาศัยน้ำ ตอดและกัดกิน ถ้ายืนอาศัย อยู่ในที่ว่าง ก็ถูกมวลสัตว์ ที่อาศัยอยู่ในอากาศ เกาะกัดและจิกกิน เป็นอันว่า แม่โคนมตัวนั้น ที่ไร้หนังหุ้ม จะไปอาศัยอยู่ ในสถานที่ใดๆ ก็ถูกจำพวกสัตว์ ที่อาศัยอยู่ ในสถานที่นั้นๆ กัดกินอยู่ร่ำไป ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่า พึงเห็นผัสสาหาร ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่ออริยสาวก กำหนดรู้ ผัสสาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ เวทนาทั้งสามได้ เมื่ออริยสาวก กำหนดรู้ เวทนาทั้งสามได้แล้ว เรากล่าวว่า ไม่มีสิ่งใดที่ อริยสาวก พึงทำให้ยิ่งขึ้น ไปกว่านี้อีกแล้ว ฯ

       อารมณ์สุขทุกข์ เป็นโลกีย์ทั้งนั้น เรื่องลำบากลำบน เป็นกิลมถะทั้งนั้น เหมือนแม่พ่อ ที่ฆ่าลูกกิน เพื่อเดินทาง โดยไม่รู้เป้าหมาย ต้องมาเรียนรู้ ผัสสะ ๓ ในเวทนา สัญญา สังขาร โดยสัญญา เป็นตัวเพ่งรู้ สังขาร สังขารแปลว่า จัดการ หรือปรุงแต่ง หรือทำให้สำเร็จ เราสังขาร อย่างมีเหตุปัจจัย ที่ต้องกำจัด

       ทำอย่างรู้มีสังกัปปะ ๗
.ความตรึก-แรกเริ่มนึกคิด (ตักกะ) .
. ความตรอง-คิดวิตกยิ่งขึ้น (วิตักกะ) .
. ความดำริ-มีความคิดปรุง (สังกัปปะ)
. ความแน่วแน่     (อัปปนา) . .
. ความแนบแน่น   (พยัปปนา)
. ความปักใจมั่น    (เจตโส อภินิโรปนา) .
. วจีสังขารเตรียมจะพูด (วจีสังขาโร) . .

       เราไม่รู้จักผัสสะ ก็จะแสบเผ็ด เหมือนแม่โคไม่มีหนัง มันทุกข์ แต่คุณอวิชชา ก็ทนได้ ทุกผัสสะ คุณต้องรู้ เวทนา ๓ ในการเรียนรู้ ผัสสาหาร ผัสสะแล้ว เป็นองค์ประชุม เป็นเวทนาในเวทนา เรียนรู้ เจโตปริยญาณ ๑๖
       ต่อมาเราเรียนรู้ มโนสัญเจตนาหาร

ท่านว่า...[๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มโนสัญเจตนาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร เหมือนอย่างว่า มีหลุมถ่านเพลิง อยู่แห่งหนึ่ง ลึกมากกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยถ่านเพลิง ไม่มีเปลว ไม่มีควัน ครั้งนั้น มีบุรุษคนหนึ่ง อยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เดินมา บุรุษสองคน มีกำลัง จับเขาที่แขน ข้างละคน คร่าไปสู่หลุมถ่านเพลิง ทันใดนั้นเอง เขามีเจตนา ปรารถนา ตั้งใจ อยากจะให้ไกลจาก หลุมถ่านเพลิง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขารู้ว่า ถ้าเขาจักตกหลุม ถ่านเพลิงนี้ ก็จักต้องตาย หรือถึงทุกข์แทบตาย ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่า พึงเห็น มโนสัญเจตนาหาร ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออริยสาวก กำหนด มโนสัญเจตนาหาร ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ ตัณหาทั้งสามได้แล้ว เมื่ออริยสาวก กำหนดรู้ตัณหา ทั้งสามได้แล้ว เรากล่าวว่า ไม่มีสิ่งใดที่ อริยสาวก พึงทำให้ยิ่งขึ้น ไปกว่านี้อีกแล้ว ฯ

       พ่อครูว่า..ให้เราเรียนรู้ตัณหา ๓
ตัณหา ๓ . . ความต้องการ-ความอยาก
. กามตัณหา (ใคร่อยากในกามภพ อันอาศัยรูปภายนอก) มีตั้งแต่อบายภูมิ กามภูมิ ซึ่งเดี๋ยวนี้ เยอะมากเลย แม้พวกคุณ ก็พานพบมากเลย คุณไปไม่เหมือนเขา เพราะเขาจัดจ้านมากเลย
. ภวตัณหา (ความใคร่อยาก ได้รูปภพภายใน และอรูปภพ).
. วิภวตัณหา (อยากได้ความไม่มีภพ หรืออยากพ้นไปจากภพ, หรือปรารถนา สิ่งที่ไม่ใช่ ภพเพื่อตน เป็นตัณหาแห่ง อุดมการณ์ ที่อาศัยไว้เพื่อ ดำเนินความดีไป เช่นนั้นเอง) ศึกษาเป็นไปเพื่อ อาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ อันน้อมนำไปเพื่อ ความปลดปล่อย (วิเวกนิสฺสิตํ วิราคนิสฺสิตํ นิโรธนิสฺสิตํ โวสฺสคฺคปริณามึ เล่ม ๒๒ข้อ ๓๒๙ )
(พตปฎ. เล่ม ๒๒ ข้อ ๓๗๗)

       ลึกๆคนเราไม่อยากทุกข์ ถ้าตกในบ่อเพลิงนี่ ทุกข์แน่ๆ เหมือนสองคน ที่จะดึงไปสู่ทุกข์ คุณก็ดิ้นรนๆ แต่คุณจะดิ้นรนไหวไหม ถ้าคุณไม่รู้ กามตัณหา ภวตัณหา คุณไม่รู้ ก็ถูกหิ้วลง หลุมถ่านเพลิง แล้วใช้ วิภวตัณหา ไปล้าง กามตัณหาและภวตัณหา จนหมดภพ เรียกว่า วิภวตัณหา

       ตัณหาล้างภพ ต้องเรียนรู้ทฤษฏีที่สัมมา ให้หมดภพ จึงจะรอดหลุมถ่านเพลิง ไม่มีตัวหลอก ให้คุณตกหลุม เมื่อเป็นอรหันต์แล้ว รู้เหตุปัจจัยบ่อเกิดแห่งทุกข์

       ซึ่งกามภพนั้น มีตั้งแต่อบายภูมิ กามภูมิ ซึ่งเดี๋ยวนี้เยอะมากเลย แม้พวกคุณ ก็พานพบ มากเลย คุณไปไม่เหมือนเขา เพราะเขาจัดจ้านมากเลย มันมีแต่อัลลิกะ เป็นเท็จ

       ต่อมาที่ วิญญาณาหาร
[๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร เหมือนอย่างว่า พวกเจ้าหน้าที่ จับโจรผู้กระทำผิดได้แล้ว แสดงแก่พระราชาว่า ขอเดชะด้วยโจรผู้นี้ กระทำผิด  ใต้ฝ่าละอองธุลี พระบาท จงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ลงโทษโจรผู้นี้ ตามที่ทรงเห็น สมควรเถิด จึงมีพระกระแสรับสั่ง อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถอะพ่อ จงประหารมันเสีย ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเช้านี้ เจ้าหน้าที่เหล่านั้น ก็ช่วยประหาร นักโทษคนนั้น ด้วยหอก ร้อยเล่ม ในเวลาเช้า ต่อมาเป็นเวลาเที่ยงวัน พระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เจ้านักโทษคนนั้น เป็นอย่างไรบ้าง เขาพากันกราบทูลว่า ขอเดชะ เขายังมีชีวิตอยู่ ตามเดิม จึงมีพระกระแสรับสั่ง อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถอะพ่อ จงช่วยกันประหารมันเสีย ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเที่ยงวัน เจ้าหน้าที่เหล่านั้น ก็ประหารนักโทษคนนั้น เสียด้วย หอกร้อยเล่ม ในเวลาเที่ยงวัน ต่อมาเป็นเวลาเย็น พระราชาทรงซักถาม เจ้าหน้าที่เหล่านั้น อีกอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เจ้านักโทษคนนั้น เป็นอย่างไรบ้าง เขาพากัน กราบทูลว่า ขอเดชะ เขายังมีชีวิตอยู่ ตามเดิม จึงมีพระกระแสรับสั่ง อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถอะพ่อ จงประหาร มันเสียด้วย หอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น เจ้าหน้าที่คนนั้น ก็ประหารนักโทษคนนั้น ด้วยหอก ร้อยเล่ม ในเวลาเย็น

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ยังเข้าใจความข้อนั้น เป็นไฉน คือว่าเมื่อเขากำลังถูกประหาร ด้วยหอกร้อยเล่ม ตลอดวันอยู่นั้น จะพึงได้เสวยแต่ทุกข์โทมนัส ซึ่งมีการประหาร นั้นเป็นเหตุเท่านั้น มิใช่หรือ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขากำลังถูกประหารอยู่ ด้วยหอกแม้เล่มเดียว ก็พึงเสวย ความทุกข์โทมนัส ซึ่งมีการประหารนั้น เป็นเหตุ แต่จะกล่าวไปไยถึง เมื่อเขากำลัง ถูกประหารอยู่ ด้วยหอกสามร้อยเล่มเล่า ข้อนี้ฉันใด  เรากล่าวว่า จะพึงเห็น วิญญาณาหาร ฉันนั้นเหมือนกัน

เมื่ออริยสาวก กำหนดรู้วิญญาณาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ นามรูปได้แล้ว เมื่ออริยสาวก มากำหนดรู้ นามรูปได้แล้ว เรากล่าวว่า ไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวก จะพึงทำให้ยิ่งขึ้น ไปกว่านี้อีกแล้ว ฯจบสูตรที่

       ขออภัยที่นั่งๆอยู่นี่ ถ้าไม่รู้เครื่องอาศัยแล้ว ก็คือนักโทษประหาร ที่พระราชสั่งประหาร ก็นั่งอยู่ยงคงกระพัน อยู่อย่างนี้ หน้าด้านหน้าทน อยู่อย่างนี้ ถูกประหารเช้า เที่ยง เย็น ก็ยังไม่ตาย

       เราอาศัยวิญญาณ ที่เหมือนโจรถูกฆ่าด้วยหอก วันละ ๓๐๐ เล่ม จะทุกข์ขนาดไหน แค่หอก เล่มเดียว ก็ทุกข์มากแล้ว นี่ตั้ง ๓๐๐ เล่ม

สรุปแล้ว
.    กวลิงการาหาร (อาหารคำข้าว ให้รู้กิเลสเบญจกาม)
.    ผัสสาหาร (อาหาร คือ ผัสสะกระทบให้เกิดเวทนา)
.    มโนสัญเจตนาหาร (อาหารใจที่เจตนามุ่งกับตัณหา)
.    วิญญาณาหาร (อาหารของวิญญาณ คือ  กำหนดรู้จักแยกแยะ นาม-รูป แล้วกำจัดเฉพาะ อาสวะ ให้จบสิ้น) .
(ปุตตมังสสูตร พตปฎ. เล่ม ๑๖  ข้อ ๒๔๑-๒๔๔)

       กิเลสกาม เกิดที่สัมผัส แล้วเกิดวิญญาณ ผี(ทุกข์) เกิด สมมุติเทพ (สุข) ก็อยู่สุขทุกข์ไป แม้พรหมโลกีย์ ก็ไปนั่งสมาธิ ไม่เอารูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส เหมือนโยคีในอินเดีย พระพุทธเจ้าไม่นับ แม้โสดาบัน มีคนถามมาว่า ผู้ที่ตายไปแล้ว เป็นพระที่กระดูก เป็นพระธาตุ แล้วเขาก็ว่าเป็น อรหันต์ ก็ขอยืนยันว่า ฤาษีนั้นกระดูกเป็นอรหันต์ เก่งกว่าของพุทธด้วยซ้ำ เพราะเป็น ธาตุวัตถุ เมื่อสังเคราะห์ออกมา ก็เป็นก้อนใส ไม่เหมือนแคลเซี่ยมธรรมดา

       สรุปการเรียนรู้อาหาร ต้องเรียนรู้ นาม รูป
       นามคือ ตัวรู้ ส่วนรูป คือสิ่งที่ถูกรู้
       สิ่งที่ถูกรู้อยู่ภายนอก รู้แล้วก็เลื่อนจาก รูปกาย มาเป็นนามกาย หรือเป็น นามรูป (สิ่งที่ถูกรู้ ที่เป็นนาม) แล้วก็ลึกขึ้นเรื่อยๆ ถ้าคุณรู้นามกาย ไม่สัมมาทิฏฐิ ก็ปฏิบัติไม่สัมมา ต้องเรียนรู้สัตว์ใน สัตตาวาส ๙
๑.    สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า ซึ่งเขาไปอธิบายว่า เปรตเป็นตัวตน ที่สมมุติปั้นเอา ของแต่ละคน แต่ละคน ก็ไม่เหมือนกัน เปรตที่ปั้นรูปปั้นไว้ แต่ละวัด ก็ไม่เหมือนกันเลย ยิ่งพวกเขียนการ์ตูน หรือ สร้างหนัง ก็ผีสารพัดเลย เป็นมนุษย์ ผี เทวดาก็ไม่เหมือนกัน แม้แฝดก็ไม่เหมือนกันด้วย ซึ่งปรมาณู สองอัน ก็ไม่เหมือนกันแล้ว
๒.    สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิ ปฐมฌาน เป็นต้น อันนี้ต้องเรียนรู้ฌานแล้ว แต่ถ้าทฤษฎีต่างกัน ก็ได้ผลต่างกัน เรียนรู้ต่างกัน ฌานโลกีย์ กับโลกุตระ นั้นต่างกันไปแน่

       สำหรับวันนี้ ก็ได้เท่านี้ ตั้งใจอธิบายมากไปไหม รุ่มร่ามมากไปไหม? เยอะไปไหม?...ดี.. ก็ค่อยยังชั่ว...

       พรุ่งนี้เป็นวันสุดท้ายแล้ว อาตมาเทศน์ ทวช.อีกสุดท้าย แล้วสรุปจบงาน ปรากฎว่า มียอด คนลงทะเบียน ตั้งแต่วันที่ ๙ ถึง ๑๕ ก.พ.นี้ ๑,๐๗๗ คน

       ก็ใช้ได้ นั่งฟังกันดี ไม่มีกีตาร์ซักตัว ไวโอลินซักอัน คุณก็นั่งฟังกันได้ ใครง่วงบ้าง อย่าอาย ยกมือซิ ก็ไม่น้อย ใครง่วงจนมึนเลย ยกมือ ก็มีอยู่... แสดงว่าไม่ค่อยไหวนะ แล้วใครฟังได้ดี พอสมควร ยกมือซิ.. ก็ใช้ได้ คุ้มค่าที่เทศน์มา ไม่ถึงสองชม.   

       พรุ่งนี้จะทบทวนอีกที เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าเข้าใจวิญญาณผิดไป จะไม่สัมมาทิฏฐิ แล้วจะกำหนดกามไม่ได้ ไปหลงว่าเป็นกามคุณ ทั้งที่เป็นกามโทษ แล้วจับอ่าน กามสัตว์ แล้วกำจัดกามสัตว์ จะรู้เจตนา มุ่งหมายของเรา ที่เป็นกาม อยากบำเรอกามคุณ อัตตา เมื่อล้างได้หมด ก็เป็นคนเบิกบาน ตื่นรู้ มีจิตเหนือโลกธรรม เหนือกาม เหนืออัตตา สบาย คนที่เดาว่า ไม่มีสุขก็ไม่อร่อย ได้โลกธรรม ก็ไม่ยินดียินร้าย เขาด่า ก็ไม่ยินดียินร้าย คนแบบนี้ จะจืดตายหรือ?... อย่าเดา พระพุทธเจ้าว่าเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้จืดชืด อาตมา ขอรับรองว่า ไม่จืดชืดหรอก อาตมาไม่ได้เดือดร้อนดิ้นรน แม้ไม่มีรสโลกีย์ ก็สบายๆ อย่าเดา จงพยายาม เรียนรู้ ให้ได้สิ่งที่ มนุษย์ควรได้พึงได้ อย่าเป็นโมฆบุรุษ โมฆสตรี ซึ่งเขาก็ไม่เรียก โมฆสตรี ท่านเรียก โมฆบุรุษทั้งนั้น เพราะหากบรรลุธรรม ผู้หญิงก็เป็นสัตบุรุษ ไปตามลำดับ.. จบ

๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ที่ เวทีพุทธาภิเษก ผ่านฟ้าลีลาศ กทม.