570222_พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ที่ป้อมมหากาฬ
เรื่อง อำนาจรัฐบาลไม่ใช่อำนาจรัฐชาติ ตอน ๒

        พ่อครูว่า....สิ่งที่เกิด เป็นปรากฎการณ์จริง ที่เป็นประวัติศาสตร์ ให้นักรัฐศาสตร์ ได้เล่าเรียนศึกษา ที่เกิดจากของจริง เราลงทุนแพง ถึงขั้นเสียชีวิต บาดเจ็บ เป็นเรื่องจริง เรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า ประชาธิปไตย คืออะไร สิ่งที่เกิด อาตมาเห็นเด่นชัด คือ ศาลแพ่งได้ตัดสินออกมา เป็นการยืนยัน อำนาจอธิปไตย เป็นของประชาชน ผู้เป็นรัฐาธิปัตย์จริงๆ คือประชาชน ไม่ใช่รัฐบาล ซึ่งรัฐบาล ได้ใช้อำนาจหน้าที่ ออกพรก.ฉุกเฉิน ซึ่งศาลก็ให้เกียรติ ให้ออกพรก.ฉุกเฉินได้ ท่านไม่ล่วงเกิน แต่หน้าที่ของท่าน ก็ชี้ชัดเลยว่า ไม่เพิกถอนพรก.ฉุกเฉิน แต่มีคำสั่ง คุ้มครอง จึงสั่งห้าม จำเลย 9 ข้อ

1. ห้ามจำเลย มีคำสั่ง ให้เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม
2. ห้ามจำเลยยึดอายัด สินค้า อุปโภค บริโภค ที่ใช้ในการสนับสนุน การชุมนุม ของโจทก์ และผู้ชุมนุม
3. ห้ามจำเลย ตรวจค้น รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ของผู้ชุมนุม
4. ห้ามจำเลย ห้าม ผู้ชุมนุมซื้อขายสินค้า เครื่องอุปโภค บริโภค ที่ใช้ในการชุมนุม
5. ห้ามจำเลย ปิดการจราจรเส้นทางคมนาคม
6. ห้ามจำเลย สั่งห้ามบุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
7. ห้ามจำเลย สั่งห้ามใช้เส้นทางคมนาคม ตามที่จำเลยกำหนดไว้ ในประกาศ
8. ห้ามจำเลย สั่งผู้ชุมนุมห้ามใช้อาคาร
9. ห้ามจำเลย มีคำสั่งห้ามบุคคล เข้า และ ออก พื้นที่การชุมนุม
ส่วน ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ศาลแพ่ง ไม่มีคำสั่ง เพิกถอน แต่อย่างใด

        ซึ่งศาลรธน. ก็ได้ออกมาชี้ว่า การชุมนุมของ กปปส. ถูกต้องตามรธน. แล้วศรส. ที่มีดร.ทางกฎหมาย ทั้งผบ.ตร. อธิบดี DSI ก็เป็นคน รู้กฎหมาย ทั้งนั้น เรียกว่า อ่านกฎหมายรู้ ดูกฎหมายเป็น แต่เสร็จแล้ว ก็กลับถามศาล กลับไปอีก แทนที่จะเจี๋ยมเจี้ยมว่า ตนทำผิดไปแล้ว นี่แสดงว่า เขาไม่รู้ อ่านกฎหมายไม่รู้ ดูกฎหมายไม่เป็น

        อำนาจของรัฐบาล เขาจะออกมาอย่างไรก็ตาม ถ้าไม่สอดคล้อง กับกฎหมาย ที่ห้ามไว้ แต่ถ้าท่านไม่ห้าม และไม่อนุญาต หน้าที่ของประชาชน ก็ทำได้เต็มที่ ตราบใด ไม่ผิดรธน. แต่ที่ศาล ท่านชี้บ่ง ก็คือแสดงว่า อำนาจประชาชน นี่ใหญ่กว่ารัฐบาล เพราะประชาชน มีอำนาจชุมนุมได้

        คนเขาทำชั่ว เพราะเขาโง่ คือคนอวิชชา ทำผิดแล้ว ก็มาโวยวายอีก เขาตัดสินผิด ก็ยังโอหัง ตะโกนอีกว่า จะทำอีก ก็ทำชั่ว ซ้อนชั่วอีก

        และก็มีคนมีน้ำใจ มาช่วยคนมีคุณธรรม เราก็ทำไปเถอะ คนไม่เห็น ฟ้าก็เห็น เป็นสำนวน

        เราไปหยุดอกุศลกรรมของเขา เขาทำไม่ถูก เป็นทุจริต เป็นกรรมบาป ด้วยเราปรารถนาดี เขาทำไม่ถูกต้อง แล้วเป็นกรรมของเขา

        ผู้ที่ทำกรรมไม่ดี ซับซ้อน ต่อสู้กัน เป็นธรรมาธรรมะสงคราม เราไปด้วยจิตเมตตา ก็ยิ่งเป็นบุญกุศลที่สูง เป็นคุณธรรม เป็นกุศล ที่ยิ่งขึ้น มีน้ำหนักของ คุณธรรม ปรารถนาดี

        อยากขยายความต่อว่า อำนาจของประชาชน กับอำนาจของรัฐบาล มาฟังกวีอีกที

                       อำนาจรัฐบาล มิใช่อำนาจรัฐประเทศ

                        (๑) มหัศจรรย์ลั่นฟ้า         ปฏิวัติ
                        ขนบใหม่ไทยโชว์ชัด          ฉีกหล้า
                        สันติภิวัฒน์ขจัด               อำนาจเก่า
                        มวลมหาชนกล้า               แกร่งด้วยอธิปไตย
               
                        (๒) คนไทยได้ตื่นรู้          สิทธิ์ตน                      
                        อำนาจอธิปัตย์คน             ทุกผู้                                 
                        เป็นของประชาชน            เหนือรัฐ- บาลแฮ
                        แต่รัฐบาลด้านสู้               บ่รู้สึกตัว

                        (๓) ตนชั่วทุจริตก้อ          ดันทุรัง       
                        หน้าที่รัฐบาลพัง              หมดแล้ว
                        เพราะทำผิดถึงฝัง             ตายหมด สิทธิ์เฮย
                        ขืนอยู่ป่นไป่แคล้ว            ถูกต้านไล่กระเจิง

                        (๔) แต่เหลิงหลงยึดบ้า      อาเพศ 
                        เพราะโง่ไป่รู้เลศ               ลึกแล้ 
                        รัฐบาลรัฐประเทศ             เทียมเท่า กันฤา 
                        อำนาจแค่ใดแท้                 บ่รู้แม่นคม

                        (๕) ยึดงมงายอำนาจข้า      ล้นเหลือ
                        เพี้ยนอธิปไตยเฝือ-             ฟั่นเพ้อ
                        หลงเลอะเทอะคลุมเครือ     บาล-ประเทศ
                        จึ่งผิดพาเพ้อเจ้อ                 เหนี่ยวฟ้าลงบาดาล

                        (๖) "รัฐบาล"มีหน้าที่      งานรัฐ       
                        ตามกฎหมายกำหนดชัด   ระบุไว้
                        มิใช่รัฐาธิปัตย์                   เทียบอำนาจ ประชาเลย
                        แค่รับใช้ประชาให้            สงบได้สุขดี

                        (๗) "รัฐ"นี้"ประเทศ"    แท้ใช่รัฐบาล
                        มีอำนาจเกินกว่าการ         รับใช้
                        "รัฐชาติ"ใช่แค่งาน          กุลีรัฐ
                        แต่ยิ่งกว่าอย่าได้               ผิดเพี้ยนเผยอผยอง.

                                                      "สไมย์ จำปาแพง"                 
                                                       ๑๑ ก.พ. ๒๕๕๗

                [นัยปก "เราคิดอะไร" ฉบับ ๒๘๔ ประจำเดือน มีนาคม ๒๕๕๗]
       
        คำว่าอธิปไตย เราต้องศึกษาว่า มีแค่ไหน แล้วเราจะใช้ได้ ถ้าไม่เข้าใจ จะใช้ผิด ก็อยู่ไม่เป็นสุข อธิปไตย เป็นแรงพลัง ศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์แรง ทำให้กลัวหรือเกรงได้

        อำนาจในระบอบประชาธิปไตย อันมีประมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ๘ ลำดับขั้น
อำนาจลำดับที่ ๑ คือ อำนาจของประชาชน ออกมาประท้วงยืนยัน คะแนนเสียง ๑ คน ๑ เสียง
อำนาจลำดับที่ ๒ คือ พระมหากษัตริย์ ผู้เป็นรัฐาธิปัตย์ตาม Supreme law
(อำนาจลำดับที่ ๑ร่วมกับอำนาจลำดับที่ ๒ เป็นราชประชาสมาสัย)
อำนาจลำดับที่ ๓ คือ พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจนั้นผ่าน ๓ สถาบันคือ สถาบัน

        นิติบัญญัติ (รัฐสภา) บริหาร (ครม.) และ ตุลาการ (ศาล) อันนี้เป็นลัทธิตะวันตก ซึ่งถือว่า อำนาจแต่ละอำนาจ ต้องแยกกัน และถ่วงกัน ของไทยปนเปกันหมด สักแต่อ้างกษัตริย์  แต่อำนาจกษัตริย์ ตามทฤษฎี และประเพณี ประชาธิปไตยตะวันตก รัฐบาลและกฎหมาย กับลิดรอนอำนาจกษัตริย์ ไปเสียอย่างชิ้นเชิง

        ซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น ไหนว่าทุกคน ต้องทำตาม อยู่ใต้รธน. ซึ่งจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อ ประชาชนได้เขียน รธน. ขึ้นมาแล้ว นั่นเอง อย่างประเทศอังกฤษ ไม่ต้องมีรธน.เลย เพราะเขามีคน ที่มีประชาธิปไตยแล้ว อยู่ในสายเลือด ในดีเอ็นเอแล้ว ก็ไม่ต้องร่างรธน. ​แต่ว่าประเทศ ที่ยังมีเผด็จการอยู่ ก็เลยต้องร่างรธน.

        สรุปคือ ถ้าไม่มีประชาชน รธน.ก็ไม่เกิด แล้วประชาชน ก็ยกให้พระมหากษัตริย์ เป็นประมุข เป็นอำนาจ ลำดับที่ ๒ ซึ่งในอังกฤษ เขาไม่มี

        ถ้าเป็นจอมจักพรรดิ์ ที่มีทศพิธราชธรรม สมบูรณ์เลย ก็ลึกซึ้งสุดยอด อยู่เพื่อประชาชน ซึ่งในยุคหลัง ก็มีผู้ที่เป็น ฆราวาส แต่มีคุณสมบัติ เทียบเท่า อรหันต์ หรือ อนาคามี

        ซึ่งในหลวงพระองค์นี้ ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ เราต้อง ยกคนที่ควรยก ข่มคนที่ควรข่ม ซึ่งสิ่งที่ท่านสอน เป็นสิ่งที่ ทวนกระแส ลึกซึ้ง อย่างท่านสอน ขาดทุนของเร าคือกำไรของเรา  คุณเรียนได้ด็อกเตอร์ แต่ทำงาน ไม่ได้ดีเท่ากับ คนที่เรียน ก็ต้องให้ค่าตอบแทน น้อยกว่า คนที่ทำงานได้มากกว่า ถึงแม้เขาจะไม่ได้เรียน หรือเรียนน้อยกว่าสิ

        อย่างนักธรรมะ เขาทำงาน อย่างไม่ได้ถูกหลอก ให้ไปบำเรอ ในอบาย ในกาม ในโลกธรรม ในอัตตา เขารู้สาระแก่นสาร ใช้อย่างพอเพียง ประหยัด เขายิ่งทำ ยิ่งชำนาญ ยิ่งเก่ง ก็ยิ่งได้เงินสูง แต่ยิ่งปฏิบัติธรรม ก็ลดกิเลส ยิ่งใช้ของน้อยลง ถูกลง อย่างไม่สูญเสีย สุขภาพ ยิ่งรวมกันเป็นหมู่มาก ก็ยิ่งมีพลังงานสูง มีส่วนเหลือสูงมาก ไปช่วยสังคมได้อีก ซึ่งเป็นเศรษฐศาสตร์ ที่คนต้องมา ศึกษาต่อไป

   

www.asoke.info