570302_พ่อครูที่ป้อมมหากาฬ
เรื่อง ประชาชนปฏิวัติ โดยธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตอน ๔

        อาตมาอยากจะขอย้ำ ประเด็นที่รัฐบาล เป็นผู้มีหน้าที่รักษา ความมั่นคงของรัฐ ของประเทศ แต่แล้ว รัฐบาลเอง เป็นผู้ประกาศ แบ่งแยกประเทศ เสียเอง ถามว่า รัฐบาลนี้ เป็นกบฏหรือยัง และเป็นกรรม อันทำสำเร็จแล้ว จะมาแก้ขวย แก้เก้อ อะไรก็ตามแต่ ก็แก้ไม่ตกหรอก เพราะเขาทำ สำเร็จแล้ว และไม่ได้ทำแต่ภาษา แต่มีตัวหนังสือ เขียนยืนยัน เป็นภาษาชัดเจน ไม่ใช่เผลอพูด แต่มีการตกลงกัน เป็นขบวนการเต็มรูป เพราะไม่ใช่ มีแค่คนเดียว มีหลักฐาน แผ่นป้าย สปป.ลานนาเลย

        ทวนมาตรา ๖๙ อีกที

มาตรา ๖๙ (การต่อต้านโดยสันติวิธี) บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้าน โดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็น ไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

        คำว่า วิถี อาตมาก็นึกถึงคำว่า convergence  ซึ่งวิถีแนวทางนั้น มิได้บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ สรุปแล้ว คือปฏิเสธ มิได้เป็นไป ในวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ อย่างนี้แหละ บุคคลย่อมมีสิทธิ์ต่อต้าน โดยสันติวิธี

        ซึ่งอำนาจนี้ ประชาชนมีอำนาจปกครองประเทศ เป็นอำนาจลำดับ ๑ ประชาชนชาวไทย มีอำนาจเต็ม รัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ด้วย

        และการที่จะได้มา ซึ่งอำนาจบริหาร มี หลายวิธี อย่างที่เขาทำมา ก็มีทั้งการเลือกตั้ง มีทั้งการปฏิวัติ รัฐประหาร ที่เป็นเรื่องที่ผิด

        มาตรา๖๙ นี่ซ่อนนัยลึกซึ้งไว้ ให้ประชาชนปฏิวัติได้ ผู้ใดตีความเพียงแค่ว่า รัฐบาลได้อำนาจ ปกครองแล้ว ถ้าปฏิบัติ ผิดไปจากบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญ ไม่ตรงกับ จุดมุ่งหมาย ของรัฐธรรมนูญ ซึ่ง คือ อำนาจนั้น เป็นอำนาจของบุคคล คือบุคคล ย่อมมีสิทธิ์ ต่อต้านโดยสันติวิธี นี่คือแนวลึกของ มาตรา ๖๙​ แต่คนไปเข้าใจแค่ว่า รักษาสิทธิของ ประชาชนไว้ เมื่อรัฐบาล บริหารปกครอง ผิดไปจาก ความมุ่งหมาย ในรัฐธรรมนูญ บุคคลย่อมสามารถ ประท้วงต่อต้าน โดยสันติวิธีได้ เช่นเดียวกัน เราก็ทำอยู่ แต่แนวลึกคือ การได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ ไม่ได้มีแค่การเลือกตั้ง  

        มีการปฏิวัติรัฐประหารอย่าง coup d' Etat ด้วย ในการยึดอำนาจ มีมาทุกประเทศกระมัง ในประเทศประชาธิปไตย เป็นการได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ ซึ่งผิดไปจากวิถีทาง ในรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องการแน่ ปฏิวัติแบบด้วยอาวุธกองทัพ หรือเลือดนอง ไม่ใช่วิถีทาง ในรัฐธรรมนูญแน่

        แต่ถ้าไม่ใช้อาวุธ ไม่รุนแรงนี่คือเยี่ยมยอด ให้รักษาอำนาจของ ปวงชนชาวไทย ที่มีคุณธรรม อย่างเราปฏิวัตินี่ มาขออำนาจคืนมา และสอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญด้วย มีแนวทางได้มาสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญด้วย

        เราทำอย่างสันติ อหิงสา แม้มีคนมาช่วยเรา เพราะเขาเห็นว่า เราถูกรังแก เราสงบ เราถูกต้อง เขาอดใจ ไม่ช่วยไม่ได้ ไม่ช่วยก็ตายเปล่า พวกนี้อำมหิตมาก

        การได้มาซึ่งอำนาจในการบริหารประเทศนั้น ของไทยมี
        . อำนาจเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
        . อำนาจรัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้ง
        . อำนาจคณะรัฐประหารที่ได้มาจากการเลือกตั้ง
        . อำนาจประชาชนที่ปฏิวัติอย่างไม่สงบ มีอาวุธ รุนแรง
        . อำนาจประชาชนที่ปฏิวัติอย่างสงบ ไม่มีอาวุธ ไม่รุนแรง
       
        อำนาจที่จะวินิจฉัย กรณีใด ไปตามประเพณีการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ประชาชนจึงต้องช่วยกันทำ อย่างยุติธรรม ที่สุด ดีงามที่สุดเสียก่อน แล้วจึงนำขึ้น กราบถวายบังคมทูล จะได้ไม่ระคาย พระยุคลบาท

        เพราะอำนาจของประชาชน ทุกคนย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ตามบทบัญญัติไว้ ใน รัฐธรรมนูญนี้ มาตรา๖๙ และมาตราอื่นๆอีกมาก ที่สนับสนุน สอดคล้อง สมคล้อย ที่ต้องวินิจฉัย แล้วตัดสินกันให้สัมบูรณ์

        ดังนั้น ในปรากฏการณ์ของประเทศไทยที่กำลังเกิด และดำเนินอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องวินิจฉัย ในกรณี “อำนาจประชาชนที่ปฏิวัติ อย่างสงบ ไม่มีอาวุธ ไม่รุนแรง” ตามธรรมเนียม ที่ได้กระทำกันมา ว่า จะเป็น “อำนาจประชาชนปฏิวัติ โดยชอบธรรม” หรือไม่

 

        และอาตมาได้วิเคราะห์อำนาจในการปกครองประเทศ ตาม มาตรา ๖๙ ไว้ ๑๔ ประเด็น

        กติกาประชาธิปไตย
    อำนาจในการปกครองประเทศ      
           
            บทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๙  มีว่า
            "บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี
            ซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ
            โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้"

            เราต้องพิจารณาดูว่า อำนาจที่ได้มา โดย"การกระทำของ
บุคคลหรือของกลุ่มหมู่บุคคล"ใด ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจใน
การปกครองประเทศนั้น ว่า ถูกต้องตามนิติรัฐ และหรือดีงามตาม
นิติธรรม ดีพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรม ถูกสัจธรรม  

            ซึ่งจะมีได้ทั้งที่มีบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้
            หรือมิได้บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้
            ว่า "การกระทำของบุคคลหรือของกลุ่มหมู่บุคคล"นั้น ที่จะต้องยกให้เป็นผู้ได้อำนาจ ในการปกครองประเทศไป

            การพิจารณา ก็พิจารณาและตัดสินได้จากประเด็นต่างๆ ดังนี้
            (๑) อำนาจฯที่ได้มาตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
            (๒) อำนาจฯที่ได้มาไม่ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
            (๓) อำนาจฯที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ และเป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
            (๔) อำนาจฯที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ แต่ไม่เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
            (๕) อำนาจฯที่ไม่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ แต่เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
            (๖) อำนาจฯที่ไม่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ และไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
            (๗) อำนาจที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ แต่ไม่เป็นไปตามสัจธรรม ไม่มีคุณธรรม ไม่ดีงาม ไม่สงบ ใช้อาวุธ รุนแรง ไม่สันติวิธี
            (๘) อำนาจที่ไม่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ แต่เป็นไปตามสัจธรรม มีคุณธรรม ดีงาม สงบ ไม่ใช้อาวุธ ไม่รุนแรง  สันติวิธี
            (๙) อำนาจที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ และเป็นไปตามสัจธรรม มีคุณธรรม ดีงาม สงบ ไม่ใช้อาวุธ ไม่รุนแรง สันติวิธี
            (๑๐) อำนาจที่ได้มาตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้แล้ว เป็นผู้กระทำไม่เที่ยงตรง กระทำขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ กระทำผิดรัฐธรรมนูญนี้ ผิดจริยธรรม กบฏ จึงไม่สมควรมีอำนาจแล้ว
            (๑๒) อำนาจที่ได้มาไม่ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ และ เป็นผู้กระทำไม่เที่ยงตรง กระทำขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ กระทำผิดรัฐธรรมนูญนี้ ผิดจริยธรรม กบฏ จึงไม่สมควรมีอำนาจเลย
            (๑๓)  อำนาจที่ได้มาโดยไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ แต่ เป็นผู้กระทำที่เที่ยงตรง กระทำไม่ขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ เป็นแต่เพียงรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ได้บัญญัติไว้ ไม่ผิดจริยธรรม ไม่กบฏ จึงสมควรมีอำนาจ
            (๑๔) ผู้นั้นหรือกลุ่มบุคคลนั้นควรเป็นผู้มีสิทธิในอำนาจ
การปกครอง ประเทศได้แล้ว เพราะถูกต้อง ดีงามบริบูรณ์สัมบูรณ์

        ตอนนี้เราทำมาจะถึงปีแล้ว มันควรได้อำนาจมาแล้ว แต่นี่คาราคาซังอยู่นี่ ทำงานทำการก็ไม่ได้ปกติ อาตมาว่าควรช่วยกัน ไม่ควรดูดาย ควรเอาภาระประเทศชาติประชาชนบ้าง ไม่อย่างนั้นก็ได้อย่างนี้ อยู่ในสังคมนี้ ก็เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ก็ใจจืดใจดำ มากไป

มาตรา ๗๐  บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

มาตรา ๗๑ บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศและรักษาผลประโยชน์ชาติและปฏิบัติตามกฎหมาย

        เป็นบทบัญญัติให้ประชาชนรักษาสิทธิ ให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ในมาตรา๖๙ แม้คุณจะได้มาซึ่งอำนาจ อย่างถูกต้องตาม รัฐธรรมนูญ แต่คุณได้ทำผิด ปฏิบัติผิดไปจาก เจตนารมย์ของ รัฐธรรมนูญนี้ ประชาชนก็มีสิทธิ์ ในการประท้วง คืนอำนาจได้

        สรุปเอาเนื้อหา มาตรา ๖๙ นี้ ก็คือ
- คณะ กปปส. ย่อมมีสิทธิต่อต้าน โดยสันติวิธี และทำได้ถูกต้อง ตามรัฐธรรมนูญนี้ ยิ่งกว่า คณะอื่นๆ ที่เคยมีขนบ ทำการต่อต้าน ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ หรือ ยึดอำนาจ ในการปกครองประเทศ
-ส่วนคณะรัฐบาล และคณะนิติบัญญัติหรือรัฐสภา นั้น โมฆะ ไปแล้ว ตาม มาตรา ๖๘ เป็นต้น และมาตราอื่น ต่างกรรมต่างวาระ จึงไม่ชอบธรรม ที่จะอยู่ในอำนาจ ในการปกครองประเทศ ต่อไปอีกแล้ว

            เพราะฉะนั้น “สิทธิ” ของมวลมหาชนที่รวมตัวกันเป็นคณะ กปปส. ต่อต้านโดยสันติวิธี จึงเป็นการกระทำ ที่เป็นไป เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ ที่ชอบธรรมที่สุด กว่า การกระทำใดๆ ของคณะใดๆ  แม้คณะรัฐบาล และคณะรัฐสภา จะมาด้วยการเลือกตั้ง ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ แต่ก็ โมฆะแล้ว เพราะได้ทำความไม่ชอบธรรม มามากเกินไปแล้ว
           
            ส่วนคณะมวลมหาประชาชน กปปส. คือผู้ดำเนินการกระทำ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจในการปกครอง (ใหม่) โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

            แต่ก็ต่อต้านด้วยสันติวิธี อันเป็น Supreme ที่สุดกว่าคณะใด
            เป็น Supreme right power สูงสุดกว่าคณะใดๆ แล้ว
            เท่าที่มีการกระทำ อันเป็นขนบประเพณีที่เคยมีมา
            จึงเป็นคณะผู้เป็นเจ้าของอำนาจ ตาม มาตรา ๓ ย่อมมีสิทธิต่อต้าน โดยชอบธรรม ตามมาตรา ๖๙ เพราะกระทำถูกต้องตาม มาตรา ๖๓ มาตรา ๗๐
            ที่มีวิธีการอัน สันติ อหิงสา ได้ดีที่สุด กว่าที่เคยมีการกระทำ ของคณะใดๆ เป็นปฐมฤกษ์ อันเป็นวิถีทาง ที่จะเป็นขนบประเพณี ในการปฏิบัติ
            แม้ไม่ได้บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้
            เช่นบัญญัติให้ประชาชนปฏิวัติได้ เป็นต้น คณะกปปส. ก็ได้กระทำดีที่สุด ชอบธรรมที่สุดแล้ว
            เท่าที่ได้อุตสาหะพยายามกระทำมาถึงวินาทีนี้
            ซึ่งเป็นการกระทำของมวลมหาประชาชนคนไทย ที่ วิเศษ วิสุทธิ์ วิศิฏฐ์ ยิ่งแล้ว เท่าที่เคยมีมา
        จงพากันภาคภูมิใจในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยถ้วนหน้าเทอญ.

ต่อไปเป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ

    . สับสนว่า ถ้าพระจะมาโปรดสัตว์ใดอื่น ทั้งสวรรค์ชั้นต่างๆ ทั้งในนรกต่างๆ ตามตำราว่า โปรดไม่ได้ นอกจากมาเกิดในภพภูมิ เป็นมนุษย์เท่านั้น ใช่หรือไม่?

ตอบ...ใช่แล้ว ถ้าสัตว์สวรรค์นรก คือตอนตายไปแล้ว ไปเป็นสัตว์นรกสวรรค์ อย่างนี้โปรดไม่ได้ ไม่มีใครไปโปรดได้ อย่างที่เขาว่า พระพุทธเจ้า ไปโปรดพุทธมารดา ในดาวดึงส์ นั้นไปไม่ได้ เพราะภพภูมิ เหล่านั้นไม่ใช่กามาวจร แม้รูปภพ อรูปภพ ก็ต้องมีตาหูจมูกลิ้นกาย เปิดรับวิถี แต่ผู้นั้น แม้สัมผัสภายนอก กิเลสไม่เกิด จะมีแต่กิเลสรูปภพ อรูปภาพ อนาคามี มีนิโรธถาวรแล้ว

        ผู้ที่ตายไปแล้ว ไม่มีนรกสวรรค์ ผู้ปฏิบัติธรรม ที่เขาสะกดจิต อย่างอาฬารดาบส อุทกดาบส ก็สะกดได้นานมา ไม่มีนรกสวรรค์ ไม่มีอะไร มากระตุ้นสัมผัส เป็นนามขันธ์ ที่ลึก ไม่อยากออก เป็นสุขน่ง เวลานั้นนับไม่ได้ ไม่ขึ้นกับพระอาทิตย์ โคจรเลยนะ ถ้าเขามีพลังอำนาจสะกด เป็นอัปปนา ควบแน่น คนที่นั่งสมาธินิโรธ ในขณะมีร่างกายนั้น สะกดได้ไม่นานเกิน ๑๐๐ วันหรอก มีคนเคยเล่าว่า ไปฝังดินได้ ๒๐ วัน แล้วก็ต้องฟื้นคืนมา แต่ตอนตายไปแล้ว ไม่มีประสาทเลย จมอยู่ในนั้น ไม่มีร้อนเย็น อ่อนแข็งเลย เสียเวลานาน พระพุทธเจ้า จึงอุทานว่า ฉิบหายแล้วหนอ ที่อาฬารดาบส และอุทกดาบส ไปมีจิตที่ตกใน อรูปฌานฤาษี

        คนตายไปนั้น จะยึดว่านรกเป็นจริงๆ อย่างตอนที่คุณเป็นๆ คุณได้ปฏิบัติธรรม รสอร่อย สนุกสนานหายไป บางคนก็จืดจางไป ไม่เหมือนก่อน ปฏิบัติจริง เกิดจริง จางคลาย จนดับสนิท รู้ได้ด้วยตน ตถตา เป็นเช่นนี้เอง ถ้าใครไม่ประสพ เข้าถึงได้เอง ก็ไม่รู้ อย่างพระพุทธเจ้านั้น ไปเป็นมาหมด ที่มนุษย์พึงมี ท่านเข้าใจหมดแล้วว่า มันสุขทุกข์อย่างไร ส่วนสำหรับเรา ก็ล้างเท่าที่เราเคยติดมา ก็พอแล้ว ส่วนพระพุทธเจ้า จะต้องไปเป็นอย่างเขา ให้รู้ว่า เขาเป็นอย่างไร จะได้ช่วยเขาได้ เป็นใบไม้ทั้งป่า

        ตกลงโปรดไม่ได้ นอกจากเกิดมาเป็นมนุษย์ มีขันธ์ ๕ นี่แหละ จะโปรดได้ สวรรคนั้นลวง แต่นรกจริงกว่า จิตเราตอนเป็นอย่างไร ตายไป ก็จริงอย่างนั้น ต้องปฏิบัติให้รู้สวรรค์นรก ตอนเป็นๆ เท่านั้น

 

ตอบ...ก็พยายามช่วย แต่เขาฟังไม่เข้าใจ เพราะกิเลสหนา กลบมืดมิดเลย จึงไม่เข้าใจไม่รู้เรื่อง บางคน ฉลาดโลกีย์ แย่งชิง อำนาจเงินทองเก่งฉิบหาย คนอื่นฉิบหายหมดเลย แต่ไม่มีความรู้ ทางธรรม พูดไม่เข้าใจ ไม่ซาบซึ้ง นี่คือ กิเลสมนุษย์ น่าสงสาร พอรู้โดยปฏิภาณ เอามาพูดได้ด้วย แต่จิตตน ไม่รู้ซึ้งไม่เชื่อ ไม่มีศรัทธา เชื่อดายๆไป

        มนุษย์เชื่อว่า นรกสวรรค์มีจริง แต่เขาไม่มีศรัทธาลึกๆ เขาไม่เชื่อ ไม่มีกำลังของความเชื่อ ไม่มีศรัทธินทรีย์ ทำให้เขาไม่มารับฟัง ไม่แก้ไขตัวเอง ยากหนาด้าน ยิ่งกว่าส้นตีน ของสัตว์เดรัจฉาน ทั้งป่า

        แต่ไม่ประมาทเขา สักวัน เขาอาจเข้าใจ เราก็ทำอย่างไม่เมื่อย ไปเรื่อยๆ ทำนี้เชิง ตีงูให้กากิน ทำเหมือนตีงู แต่ตีแล้วไม่ตาย เหมือนพระราชาบอกว่า นี่เป็นโจร [๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร เหมือนอย่างว่า พวกเจ้าหน้าที่ จับโจรผู้กระทำผิดได้แล้ว แสดงแก่พระราชาว่า ขอเดชะ ด้วยโจรผู้นี้กระทำผิด ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ลงโทษโจรผู้นี้ ตามที่ทรงเห็นสมควรเถิด จึงมีพระกระแสรับสั่ง อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถอะพ่อ จงประหารมันเสีย ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเช้านี้ เจ้าหน้าที่เหล่านั้น ก็ช่วยประหารนักโทษคนนั้น ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเช้า ต่อมาเป็นเวลาเที่ยงวัน พระราชาทรงซักถาม เจ้าหน้าที่เหล่านั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เจ้านักโทษคนนั้น เป็นอย่างไรบ้าง เขาพากันกราบทูลว่า ขอเดชะ เขายังมีชีวิต อยู่ตามเดิม จึงมีพระกระแสรับสั่ง อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถอะพ่อ จงช่วยกัน ประหารมันเสียด้วย หอกร้อยเล่ม ในเวลาเที่ยงวัน เจ้าหน้าที่เหล่านั้น ก็ประหารนักโทษคนนั้น เสียด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเที่ยงวัน ต่อมาเป็นเวลาเย็น พระราชาทรงซักถาม เจ้าหน้าที่เหล่านั้นอีก อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เจ้านักโทษคนนั้น เป็นอย่างไรบ้าง เขาพากัน กราบทูลว่า ขอเดชะ เขายังมีชีวิตอยู่ตามเดิม จึงมีพระกระแสรับสั่ง อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถอะพ่อ จงประหารมันเสีย ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น เจ้าหน้าที่คนนั้น ก็ประหารนักโทษคนนั้น ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ยังเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน คือว่าเมื่อเขากำลังถูกประหาร ด้วยหอกร้อยเล่ม ตลอดวันอยู่นั้น จะพึงได้เสวยแต่ทุกข์โทมนัส ซึ่งมีการประหาร นั้นเป็นเหตุเท่านั้น มิใช่หรือ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขากำลังถูกประหารอยู่ ด้วยหอกแม้เล่มเดียว ก็พึงเสวยความทุกข์โทมนัส ซึ่งมีการประหารนั้น เป็นเหตุ แต่จะกล่าวไปไยถึง เมื่อเขากำลังถูกประหารอยู่ ด้วยหอกสามร้อยเล่มเล่า ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่า จะพึงเห็นวิญญาณาหาร ฉันนั้นเหมือนกัน

++++++++++

 

        ความด้านหนานั้น คุณชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ นั้น เรียกว่า... หนายิ่งกว่า ส้นตีนของ สัตว์เดรัจฉาน ทุกชนิด ไม่ใช่อย่างหนา ระดับ แรด เรียกพี่เท่านั้น กระทั่ง ไทแรนโนซอรัส ไดโนเสาร์ที่สูญพันธ์ จากโลกนี้ไปแล้ว เมื่อหลายหมื่นล้านปี ที่ผ่านมา ยังอาจต้อง เรียกพ่อ เรียกแม่ เอาเลย ถึงขั้นนั้น คือมันด้านชนิด ไม่คิดจะสนใจ อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น แม้แต่นิด เอาแต่อารมณ์ความรู้สึก ของตัวกู -ของกู เป็นสำคัญ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ โคตรจะเห็นแก่ตัว อย่างชนิด ไม่น่าเชื่อว่า จะเป็นไปได้ ทำไปได้ ถึงปานนั้น...

        พระพุทธเจ้านั้นสอน ดูกร เกวัฏฏะ  เราทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองแล้ว  จึงได้ประกาศให้รู้  
ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง  เป็นไฉน ?  คือ
        ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (แสดงฤทธิ์ทางใจ ไปซ้ำกับพวกคันธารี)
        ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (หยั่งรู้จิตคนอื่น ไปซ้ำกับมณิกา)
        ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (สอนวิชชา๘ เป็นปัญญาสัมปทา)

พระองค์ทรงเห็นโทษภัยจึง อึดอัด (อัฏฏิยามิ)   ระอา (หรายามิ) เกลียดชัง (ชิคุจฉามิ) ในอิทธิปาฏิหาริย์ และ อาเทสนาปาฏิหาริย์  แต่ทรงยกย่อง ให้สอน ให้ทำใจ ให้เข้าถึงอนุสาสนีปาฏิหาริย์ . 
(เกวัฏฏสูตร   พตปฎ. เล่ม ๙  ข้อ ๓๓๙-๓๔๑)

        ชีวิตมนุษย์ทุกคน ต้องเรียนรู้เรื่องทาน ให้ได้ก่อน ทานคือการเสียสละโลภ โกรธ หลง ถ้าคุณได้ให้สิ่งของ แต่ว่า ไม่ได้สละกิเลสออก นั่นก็ไม่ใช่ ทานที่สัมมาทิฏฐิ

                ทานคือ มนสิการในใจ ทำใจในใจ ทำอย่างไรทำไม่ถูก ตามสัมมาทิฏฐิ ๑๐  เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิยา) ให้ผลวิบากแก่ขันธ์ (อุปธิเวปักกา).

  1. ทานที่ให้แล้ว มีผล (ให้กิเลสลด)  (อัตถิ  ทินนัง)

        ต่อให้วอเรนบัฟเฟต์ ให้ทานเป็นเงิน แสนล้าน หมื่นล้าน แต่ว่าขอให้ได้กลับมา มากว่าเดิมอีก เหมือนธรรมกายสอนนี่ ก็ผิดหมด อย่างที่ให้ท่องกัน ทำทานก็ อิมินา สักกาเรนะ.... อย่างนี้เป็นคำท่องบ่น ที่แต่งเติมกันมา เพื่อล้วงตับกินไส้ ขออภัยที่ต้องพูดว่า ที่เขาทำกันมา โครมๆ เป็นร้อยปีนี่ผิด อาตมามั่นใจว่า เอาสิ่งถูกต้องเปิดเผย ไม่บังคับให้ใครเชื่อ ไม่มีสิทธิ์ ให้ใครเชื่อ เขาไม่เชื่อ ก็แล้วแต่เขาเอง ไปขอร้อง ให้เชื่อก็ไม่ได้ คุณเชื่อของคุณเอง

        ทาน ศีล ภาวนา ตั้งแต่ทาน หากสอนผิดๆ ก็ไม่ได้ผล ในการลดละกิเลส อย่างการทาน ที่เขาทำกัน ทำแล้วก็ต้องให้ได้มา หากไม่ให้ ก็โกรธ อย่างตนเองไม่ได้ ผู้อื่นก็ไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น

        ทุกอย่างสรุปจบที่ “ทาน” ทั้งกาย วจี มโน ให้วัตถุให้ความคิด ความรู้ สุดท้ายชีวิตนี้ มีแต่การให้ จะเอาก็คือ อาศัยเล็กๆน้อยๆ ชีวิตนี้ เนื่องด้วยผู้อื่น มีแรงกายแรงใจ ความรู้ก็ให้เขา ชีวิตก็สบาย ไม่ต้องไปคิดเอาอะไร จากใคร

        ที่ว่าเลวที่สุดในแผ่นดิน คือหากินบนคำว่า ช่วยเขา นี่สิ ถ้าจะช่วยเขา ก็ให้ช่วย อย่างจริงใจ บางคนเขาช่วย แต่ก็โกงกิน ซะมากกว่าที่ให้อีก อย่างการช่วยชาวนา โครงการจำนำข้าวนี่ เอากุ้งฝอย ตกปลากระพง หน้าหนายิ่งกว่า ส้นตีนของสัตว์ ทั้งหลายในป่า

        ยกตัวอย่าง รักษา ๓๐ บาทรักษาทุกโรค มีภาวะซับซ้อน คือความเห็นแก่ตัว ของรพ. ของผู้รักษาพยาบาล หายาถูกๆมา ถัวๆกัน ตกลงเป็นภัย แทนที่จะรักษาพยาบาลได้ดี คนหาย แต่ก็กลับตาย มากกว่าเก่า คนรอดก็ดี ดวงดี แต่โดยสัจจะ มันซ้อน องค์รวมของ คณะทำงาน คนขี้เหนียว ผู้ได้รับประโยชน์น้อย เห็นแก่ตัว เอาส่วนนี้ ไปกินเยอะ ก็ขัดแย้งทะเลาะกัน ในวงการ รักษาพยาบาล แตกแยกกัน

        ขออภัย คนมีกิเลส เช่น แพทย์บางคน ก็ไม่รักษา เพราะได้เงินไม่มาก คนก็แย่ มีผลข้างเคียงมากเลย ล้มเหลวนะ ๓๐ บาท รักษาทุกโรค แต่เขาก็หลอกกันอยู่

        คำว่า กาย นี้ ต้องประกอบด้วย ใจ เป็นหลัก

        คำว่า กายในกาย นี้จึงไม่ได้มีดินน้ำไฟลม เป็นนามล้วนๆ แม้จะจำรูปได้ ก็เป็นมโนมยอัตตา เป็นรูปที่สำเร็จด้วยจิต จิตเป็น นามธรรม รู้ได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ถ้าเข้าใจคำว่า กาย นี้ผิด ก็ปฏิบัติผิด เพราะไปกระทำ แต่ว่าภายนอก นึกว่าคำว่ากาย นี้คือแต่ภายนอก ก็ปฏิบัติผิด
       
        ภาวนา คือการเกิดผล เมื่อคุณทานไม่ถูกต้อง การเกิดผล ก็ไม่ถูกต้อง ผลที่จิตก็ผิด แทนที่จะได้ละกิเลส กิเลสกลับหนากว่าเดิม โลภมากกว่าเดิม นั้นเป็นความซวย ภาวนาคือผล คำว่า นัตถิ ทินนัง

        การทำทานนี่ต้องให้ผล ในการลดกิเลส ทั้งการทาน หรือการทำศีล ถ้าคุณทำศีล ๕ คุณไม่ฆ่าสัตว์ ด้วยกาย ก็บริสุทธิ์ วจีไม่บอกฆ่าก็บริสุทธิ์ แต่ไม่เคยอ่านใจ ไม่รู้เรื่องกายเลย ก็เลยมีแต่ศีล ของกายกับวาจา แต่ว่าใจนั้น คุณไม่เคยอ่านเป็นเลย เขาก็เลยว่า การทำศีล ก็มีกายกับวาจา เป็นผล ส่วนสมาธิ ก็แยกส่วนไปนั่งเอา ก็เลยแยกกัน ไม่เข้ากับสิ่งที่ พระพุทธเจ้าสอน ว่า ศีลทำให้เกิด สมาธิได้ เขาก็เลยไปนั่งสมาธิ ศีลก็บริสุทธิ์หมดเลย ไม่ได้ทำอะไรเลย ก็บริสุทธิ์ ดูว่าสูงส่ง แต่ความจริงไม่ใช่ คุณยังไม่ได้ปฏิบัติเลยว่า การทำจิต ขณะที่มีกิเลส ทำใจในใจ ได้หรือเปล่า ในการทำ ทาน ศีล ภาวนา

        ศีลข้อ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์ แล้วทำให้วจี และที่สำคัญ จิตคุณมีอาการไหม ที่จะไปฆ่าเขา ถ้าอ่านออกเลย ว่าจิตคุณ กดข่มไป ก็ยังดี วิขัมภนปหาน ไม่ให้ไปทำ เวลาปฏิบัติธรรม ส่วนมาก เขาก็กดข่ม จึงได้แค่ยึด ได้แค่ศีล แต่ใจไม่ได้ทำ ไม่ได้ทำให้กิเลสจางคลาย เห็นมันเกิด ตั้ง ดับไป ยามสัมผัส จิตมันอยากฆ่า แม้กาย วจีไม่ฆ่า แต่ใจอยากฆ่าก็ไม่รู้ ไม่เคยอ่านใจ หรือรู้ว่าอยากฆ่า แต่กดข่มไว้ ก็ได้แค่กดข่ม การสอนศีล ไม่สัมมาทิฏฐิ ทำโยนิโนฯไม่เป็นก็เป็น ศีลพตุปาทาน ยึดได้แค่ศีล ได้แค่กายกับวาจา ก็ได้ผลกดข่ม ใจไม่ได้ ล้างกิเลส ด้วยปัญญา

        แม้กิเลสเกิด จิตมันเองหลงผิด อวิชชา นึกว่าไปฆ่ามัน แต่เราก็เห็นว่า ไม่เที่ยง อนิจจัง เกิดญาณ ที่เห็นว่ามันไม่ดี เป็นโทษภัย เกิดปัญญาว่า สัตว์ก็เกิดตายเหมือนเรา มีชีวิตมารับวิบาก เหมือนเรา มันยิ่งกว่าเราอีก เราก็มีวิบากของเรา วิบากที่เป็นของเรา ก็ต้องรับ จนเกิดเห็นว่าไม่เที่ยง ที่เราไปทำมา ก็เกิดวิบาก รัก ชัง เห็นอาการมันชั่วคราว ไม่อยู่กับร่องรอย เดี๋ยวก็ไถลไป ถ้าเราไปรัก หรือ ชอบอะไร ก็อยากให้ สนุกนานๆ แต่ก็ยึดไว้ไม่ได้ เดี๋ยวก็เบื่อ เปลี่ยนไปเอง

        โง่ จะเติมอะไรข้างหน้าก็เติมเอาเอง
        ถ้าทำใจในใจไม่เป็น ตัวนี้แหละคือตัวสำคัญไม่ว่าจะเป็น สุริยเปยยาล  หรือ ปัญญาวุฒิ ๔
.      สัปปุริสสังเสวะ (รู้จักฟังบัณฑิต  คบหาสัตบุรุษ)
.     สัทธัมมัสสวนะ (ฟังสัทธรรม
.     โยนิโสมนสิการ (กระทำลงในใจโดยแยบคาย)
.     ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

        ถ้าไม่มีฉันทะนั้น จะเอาทรัพย์สินของทักษิณ มาจ้างเท่าไหร่ ก็ทำไม่ได้ เพราะคนเรา หวงกิเลส มากที่สุด หลงกิเลส มากที่สุด แม้คนเล่นไพ่ มันสุขมันอร่อยมัน ให้เลิกก็ทำไม่ได้ หรือคนติดเหล้า ก็ให้เลิกยาก ต้องฉันทะในการเลิก  จนเข้าใจ มนสิการให้เป็น แล้วทำใจในใจ เป็นอย่างนี้เอง แล้วก็ต้องมีผัสสะ เป็นปัจจัย ปฏิบัติพระพุทธเจ้า ไม่มีผัสสะไม่รู้จักเหตุ ในการปฏิบัติ ที่จะเห็น กิเลสหลัดๆ จะได้กำจัดกิเลส ในโทสะ ในศีลข้อ ๑ , โลภะมูลในศีลข้อ ๒ ,มีราคะมูลในศีลข้อ ๓ มันเกิดสดๆ เห็นหลัดๆ ก็ข่มมันได้ ยิ่งรู้ด้วยปัญญา มีญาณ ๑๖

        ซึ่งปัญญาปัญญินทรีย์ นั้นเกิดในการปฏิบัติ มรรคองค์ ๘

        ต้องมีผัสสะเป็นเหตุในการปฏิบัติ หากไปปิดตา นั่งสมาธิ นั้นผิดหลักพุทธ ในการปฏิบัติ ปฏิจจสมุปบาท ต้องมีเวทนา ๖ ผัสสะ ๖ ตัณหา ๖ (ไม่ใช่ตัณหา ๓)

        มูลสูตร ๑๐
๑.     มีฉันทะ เป็นมูล-รากเหง้า (มูลกา) 
๒.     มีมนสิการ เป็นแดนเกิด (สัมภวะ)
๓.     มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด (สมุทัย)
๔.     มีเวทนา เป็นที่ประชุมลง (สโมสรณา)
๕.     มีสมาธิ เป็นประมุข (ปมุขะ)
๖.     มีสติ เป็นใหญ่ (อธิปไตย = พลังอำนาจ)
๗.     มีปัญญา เป็นยิ่ง (อุตระ = เหนือ)  กัปตันยิ่ง
๘.     มีวิมุติ เป็นแก่น (สาระ)  สุดยอดที่จะรู้ยิ่ง
๙.     มีอมตะ เป็นที่หยั่งลง (โอคธา)
๑๐.    มีนิพพาน เป็นที่สุด (ปริโยสาน)

                สัมมาสังกัปปะ ๗ .
สังกัปปะ ๗ นี้เป็นสิ่งที่นักปฏิบัติธรรมต้องอ่านรู้
ที่เป็นอนาสวะเป็นมรรคของพระอาริยะ
ฝ่ายไตร่ตรอง-ริเริ่มเคลื่อนไหว (dynamic ขั้วลบ)
๑. ความตรึก-แรกเริ่มนึกคิด (ตักกะ) .
๒. ความตรอง-คิดวิตกยิ่งขึ้น  (วิตักกะ) .
๓. ความดำริ-มีความคิดปรุง  (สังกัปปะ) . . .
(ผลที่ดี ย่อมมีชำนาญ ในครรลองแห่งใจ จะคิด-ไม่คิด  ก็ย่อมทำได้ตามประสงค์  เพราะมี “เจโตวสิปัตตะ”)
ฝ่ายตั้งมั่น (static ขั้ว+ ที่สมบูรณ์) เป็นแกนกำลังให้ขับเคลื่อน
๔. ความแน่วแน่      (อัปปนา) . .
๕. ความแนบแน่น    (พยัปปนา)
๖. ความปักใจมั่น     (เจตโส อภินิโรปนา) .
๗. วจีสังขารเตรียมจะพูด (วจีสังขาโร

        อธิศีลสิกขา นี่ อย่างศีล ๕ นี่ก็ได้เกี่ยวข้องสัมผัสกับสัตว์ แล้วอยากฆ่าไหม? แล้วไม่ฆ่าก็ไม่ทำ แต่ว่าอยากทำร้ายไหม? ถ้าคุณไม่ฆ่า แต่จิตของคุณ มีชิงชังอาฆาต ก็ทำก่อน ทำหยาบก่อน แล้วทำกลาง และละเอียด

        หรืออยากได้ของเขา เจอเงินก้อนนี้ออกมา แสนล้าน ทำไมปากแห้ง เพราะน้ำลายมันไหล มากเกินไป มันมาในสิทธิ์ของเรา ที่จะได้จัดการ ก็น้ำลายไหลเลย

        ใครสามารถทำใจในใจ ให้มีศีลอย่างที่อาตมาอธิบาย ก็เป็น อัตถิ ยิตถัง คือการปฏิบัติที่มีผล ทำทาน ศีล ภาวนา แล้วเกิดผล ในการลดกิเลส ก็ได้ ทาน ยัญพิธี สังเวยที่ บวงสรวง เป็นผลวิบาก ที่ได้แล้ว เกิดจากการกระทำ ทางกาย วาจา ใจ ที่เป็นมิจฉา หรือสัมมา สัมมาคือกิเลสลดได้ ส่วนมิจฉา คือกิเลสเพิ่ม

        รู้ในปัจจุบันว่าทำให้กิเลสลดได้ ก็เข้าสู่โลกใหม่ ที่ต่างจากโลกเดิม ที่เต็มไปด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข แต่เป็นโลกหน้า ที่เป็นโลกุตระ ไม่ใช่ว่าเป็นโลกหน้า ตอนตายไปแล้ว อย่างนั้นปฏิบัติไม่ได้ ต้องปฏิบัติตอน มีกายขันธ์นี่แหละ ตอนเป็นๆ ในอิธะโลก นี้แหละ แล้วคุณก็จะได้ผล เพราะคุณมีแม่มีพ่อ ที่พาให้สัตว์นรกตาย สัตว์เปรต เดรัจฉาน อติวินิปาต ตายไป หรือ รู้ในความเป็น สัตตาวาส ๙ มีสัญญากำหนดรู้

        แล้วต้องปฏิบัติในเวลา มีวิญญาณฐีติ ไม่ใช่ไปทำอย่าง ไม่รับรู้ แต่ต้องปฏิบัติ ขณะมีวิญญาณ

        คำว่า กาย คำนี้คำเดียวนี้ลึกซึ้งมาก ถ้าเข้าใจคำว่า กายนี้ เป็นเพียงดิน น้ำ ไฟ ลม ภายนอก ก็ปฏิบัติผิด

        สำหรับอาตมาก็เป็นสมณพราหมณ์ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีสยังอภิญญา มาสอนให้รู้ได้ ไม่ได้อวดตัว ไม่เชื่อ ก็ไม่เป็นไร หากอาตมาผิด ก็เป็นบาปของ อาตมาเอง ถ้าอ่านผิด ก็เป็นผิดกรรม ของอาตมาเอง ไม่ได้อยากอวดด้วย

        อาตมาได้อธิบาย ทาน ศีล ภาวนา และศีล สมาธิ ปัญญา อย่างคร่าวๆแล้ว ฟังด้วยดี ย่อมเกิดปัญญา...จบ

 

   www.asoke.info