570417_พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ที่ป้อมมหากาฬ
เรื่อง อธิปไตยประชาชนไทยที่สุดวิเศษ ตอน ๒

        อ.กฤษฎาว่า...ที่ผ่านมา พ่อครูได้สำเสนอความเห็น ในเรื่องรัฐศาสตร์ โดยนำเอาหลักธรรม มาบูรณาการเข้าไป เอาธรรมะ เป็นตัวชี้วัดเสมอ เช่น หลักมหาปเทส ๔ เป็นต้น
       
        พ่อครูว่า... ที่กำลังถกกันในสังคม และที่เราต้อง ออกมาประท้วง ก็คือ เรื่องของอำนาจ มีอยู่ในภายนอก ก็เป็นอำนาจ เป็นพลัง แต่พอมาอยู่ในคน ก็แสดงออกมา เป็นเบาเป็นแรง มันแรง จนมันร้าย พระพุทธเจ้า ท่านสอนหมด เรื่องแรง เรื่องอำนาจนี้

        พลังงานต้นทางนี้คือ มโนปุพพังคมา  ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา

        มันปรุงแต่ง ประชุมสังเคราะห์สังขาร เป็นพลังงานออกมา เคลื่อนไหว เป็นพลังงาน เสาะแสวงหา ต้องการ ไม่ต้องการ ก็ทำมาจน วิจิตร พิศดาร พอมันเลยเถิด จากการต้องการ ก็เรียกว่า ความโลภ เป็น โทสะ มันเกินต้องการ ก็ไม่พอ ต้องการมาเป็นของตัว แล้วไม่พอ ก็ปรุงแต่ง เสพสมมุติว่า อันนี้เป็น อัสสาทะ เป็นรสที่ชื่นใจ ชอบใจ เป็นอิฏฐารมย์ แล้วก็ถ่ายทอด มาเป็นกิเลส ตระกูลต่อๆมา

        ก็เป็นกิเลสหนัก  โลภะเอามาเป็นของกู ราคะก็เอามาเสพรส โทสะก็คือ เมื่อไม่ได้มาเสพรส หรือ เอามา เป็นของเราไม่ได้ ก็เป็นโทสะ ส่วนผู้ที่ไม่ชัดเจน สับสนไม่รู้ ก็คือโมหะ

        นี่เป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่าย

        เมื่อเป็นพลังงาน แสงเสียงแม่เหล็กไฟฟ้า นี่ทำลายสลาย เปลี่ยนรูปไปอีกมาก เป็นพลังงาน สามัญ พระพุทธเจ้าจัดไว้ใน อุตุนิยาม แล้วมาสังเคราะห์ต่อไป เป็นพีชะ จิต กรรม ธรรมะ

        ธรรมะคือสิ่งทรงไว้ อย่างรู้แล้วก็ไม่ยึด กับทรงไว้ อย่างไม่รู้ แล้วยึด มันมีสองอย่าง แค่นั้น

        ส่วนมาทรงไว้แล้วยึด เรียกอุปาทาน ตัวไหน ควรยึดหรือไม่ควร ก็ไม่รู้ แม้ว่าควรยึด ก็ควร เป็นแค่อาศัย เป็นพลังงาน ที่ยึดได้แน่น วางได้เร็ว ผู้ฝึกจะฝึก คุณลักษณะอย่างนี้ ฝึกโดยเรายึด อย่างไม่รู้ จนเรารู้ แล้วหัดวาง วางๆๆ

        วางแล้วก็ต้องรู้ว่า ยึดไว้อาศัยตามฐานะ มันก็มีแค่เราวาง หรือยึดแค่นั้นเอง

        เมื่อวางเป็นแล้ว ยึดเมื่อไหร่ก็ได้ วางเมื่อไหร่ก็ได้

        คนเป็นอาริยบุคคล เป็นอรหันต์แล้ว ก็อาศัยได้ เมื่อจะวางอย่างสมบูรณ์ เป็นปรินิพพาน เป็นปริโยสาน ไม่เหลืออัตภาพ ตกค้างที่ไหนอีก ก็ทำได้

        อาตมาได้อธิบายถึงแรง อำนาจ หรืออธิปไตย ตอนนี้มาค้างคาที่ รัฏฐาธิปัตย์ ก็ตีความไปกันนี่

        อาตมาก็อธิบาย จนตั้งศัพท์มาใหม่ว่า รัฐาบาลาธิปไตย หรือ รัฐบาลาธิไตย ซึ่งไม่ใช่อำนาจ ที่เป็น รัฏฐาธิปัตย์ และ รัฐบาลาธิปไตย มีอำนาจแต่ละที ไม่เกิน ๔ ปี ส่วนอำนาจ ของประชาชน ที่เป็น รัฎฐาธิปัตย์ นั้นไม่มีวันหมดไป อาจจะถูกลดถูกริบ ไปชั่วคราว แต่ก็ต้อง กลับคืนมา เป็นของ ประชาชน ในที่สุด ส่วนรัฐบาลาธิปัตย์นั้น ได้เพียงชั่วคราว แต่ก็หลงกัน เหลือเกิน ไล่ก็ไม่ออกอีก จะบอกว่า ตายคาประชาธิปไตยอีก พูดเสียเก๋เลย แต่พูดอย่างคนโง่ ตนเองจะตายคา รัฏฐาธิปัตย์ คุณไม่พูด ก็ต้องตายคาอยู่แล้ว

        แต่ที่คุณพูดนี้ คุณกำหนดหมายผิด วิปลาสไป

        ซึ่งอำนาจนั้น แบ่ง เป็นสองอย่าง คือ Force คือแรงแบบบังคับ ไม่ชอบธรรม และ อีกแรงหนึ่ง คือ Authority คือแรงไม่บังคับ เป็นความชอบธรรม เป็นอำนาจที่มี ในคนประเสริฐ หรือ อาริยะ

        คนก็ชนะกันด้วย Force การกดขี่บังคับมา ตั้งแต่เป็น เดรัจฉาน แต่ผู้ประเสริฐ จะใช้ความดีงาม ทำให้เขายอมแพ้ ยอมยกให้ ยอมเพราะคุณงามความดี

        แต่โลกนี้ก็ยอม เพราะตกอยู่ใต้อำนาจ กาม โลกธรรม อัตตา ผู้ใดไม่รู้ ก็มีพลังแฝง ส่วนนี้ แต่เมื่อ มาเรียนรู้แล้ว ก็ไม่ต้องง้องอน อำนาจโลก เอาอำนาจโลก มาบังคับไม่ได้ ผู้นี้จะอิสรเสรีภาพ จะเป็นไปได้ ต้องเป็นอาริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบัน เป็นต้นไป จะมีอำนาจ ที่อยู่เหนือ อำนาจโลกีย์ ได้มากขึ้นๆ จนเป็นอรหันต์ ก็สุดยอดเลย อิสรเสรีภาพสูงสุด ใครเห็นด้วย ก็นำไปปฏิบัติ

        และก็สามารถทำได้ จนเป็นหมู่กลุ่ม เป็นกลุ่มอโศก ออกมาทำงาน ร่วมกับสังคม เป็นธรรมฤทธิ์ ที่ทำให้เขา แพ้ยะย่าย พ่ายจะแจไป เป็นพลังแห่ง คุณงามความดีจริงๆ เป็นธรรมะ ชนะอธรรม จริงๆ เป็นประสิทธิผล ที่ยืนยันพิสูจน์ได้

        เป็นธรรมาธรรมะสงคราม ระหว่าง ธรรมะกับอธรรม เราก็มาทำให้ธรรมะ ชนะไปเรื่อยๆ ส่วนทางโน้น เขาก็ครอบงำคน ให้มาเห็นด้วย แต่เราไม่ครอบงำ ไม่บังคับ อาตมาไม่ขอร้อง แต่คุณสุเทพ ทำมากกว่าอาตมา ไปขอร้อง ให้ข้าราชการ มาช่วยด้วย เพื่อให้เกิด สุญญากาศ

อธิปไตยประชาชนไทยที่สุดวิเศษ

สรุป ประเด็นสำคัญของปัญหา ที่ทำให้จัดการกับ วิกฤติการเมือง ที่เกิดอยู่ในปัจจุบันนี้ ของไทย ยังไม่สำเร็จ เสร็จจบลงได้ ก็เพราะว่า

(๑) ยังเข้าใจความเป็น"รัฏฐาธิปัตย์ หรือ รัฏฐาธิปไตย"ของความเป็น ประชาชน ตามมาตรา ๓ ไม่ถูกต้อง ตรงเต็มสภาพสัมบูรณ์ ซึ่งความเป็น"รัฏฐาธิปัตย์ หรือ รัฏฐาธิปไตย" ของความเป็น ประชาชน นั้น เป็นความมีอำนาจ เต็มสูงสุด (supreme) ที่แท้จริง ในระบอบ ประชาธิปไตย ซึ่งไม่มีอะไร เปลี่ยนแปลงเป็นอื่น ไปจากประชาชน ได้จนนิรันดร ตราบที่รัฐนั้น ปกครองด้วย ระบอบ ประชาธิปไตย ไม่ว่า ประชาธิปไตย ๒ ขา หรือ ขาเดียว

(๒) ยังเข้าใจความเป็น "รัฐบาลาธิปัตย์ หรือ รัฐบาลธิปไตย" ที่มีหน้าที่บริหาร ราชการแผ่นดิน ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ตรงตาม สิทธิและหน้าที่ ของสภาพความเป็น นายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรี เท่าที่ตนมี 

(๓) ยังหลงผิด ไปเข้าใจความเป็น"รัฏฐาธิปัตย์ หรือ รัฏฐาธิปไตย"ของประชาชน ว่าเป็น อันเดียวกันกับ "รัฐบาลาธิปัตย์ หรือ รัฐบาลาธิปไตย"ของรัฐบาล การใช้อำนาจ จึงผิดไป เพราะการยึดถือ ที่ผิดนี้ และเมืองไทย ได้ปล่อยให้ใช้อำนาจ เกินขอบเขตของอำนาจ ตามสิทธิ และหน้าที่ บริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ จนเคยตัว และชินตา จึงพาลพา ให้หลงผิดไปจากสัจธรรม ความเป็นจริง ทำให้คนเกือบทั้งประเทศ หลงเข้าใจผิดตาม ว่า "รัฐบาลาธิปไตย หรือ รัฐบาลาธิปัตย์"ของรัฐบาล ซึ่งมีอำนาจ ในหน้าที่ บริหาร ราชการแผ่นดิน ตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน ที่มาตรา ๑๗๑ และตาม บทบัญญัติอื่นอีก ระบุไว้ เท่าที่มี นั้น ว่า เหมือนกัน เป็นอันเดียวกันกับ "รัฏฐาธิปไตย หรือ รัฏฐาธิปัตย์" ของประชาชน ซึ่งมีอำนาจอธิปไตยเต็ม ตามที่มาตรา ๓ ระบุไว้  สำคัญผิด ในนัยะ ของอำนาจ จึงยึดถือความเป็นอำนาจ ที่ตนได้ผิดไป จึงได้ยื้อยุด ยุติยาก กันอยู่อย่างนี้

(๔) ยังแยกอำนาจ ที่ปฏิบัติกัน อย่างไม่ชอบธรรม ไม่เป็นอาริยะ (ยังอนาริยะอยู่) และไม่เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ (force) กับอำนาจที่ปฏิบัติกัน อย่างชอบธรรม เป็นอาริยะ และเป็นไป ตามวิถีทางที่ บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ (authority) ไม่ได้ จึงแยกอำนาจ ปฏิบัติของบุคคลใด หรือประชาชน กลุ่มไหน ว่า ประพฤติปฏิบัติ ไม่ชอบธรรม และไม่เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ (force) ออกจากบุคคลใด หรือ ประชาชน กลุ่มไหน ว่า ประพฤติปฏิบัติชอบธรรม และเป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ (authority) ไม่ได้ จึงทำให้ไม่เข้าใจ และปฏิบัติไม่ถูก หรือปฏิบัติไม่ได้ ไม่ว่าตาม มาตรา ๖๓ ก็ดี มาตรา ๖๘ ก็ดี มาตรา ๖๙ ก็ดี หรือมาตรา ๗๐ ก็ดี เป็นต้น หรือแม้จะปฏิบัติถูก และประชาชน ทำได้ดีแท้ๆแล้ว ก็ไม่ยกย่อง ตามสัจจะ ไม่ยินดีร่วมมือ อย่างชื่นชม แล้วระดมแรง ร่วมกันให้เต็มที่ ผลสำเร็จ ในการจัดการกับ วิกฤติการเมือง จึงเกิดไม่ได้

(๕) ปุถุชนคนทั่วไป ยังไม่เชื่อความเป็นไปได้ ของอำนาจพิเศษ ที่มหัศจรรย์ เกินสามัญ (อุตตริมนุสสธรรม ขั้นโลกุตระ) คือ ความดีงาม ความถูกต้อง สุภาพ ไม่รุนแรง ความชอบธรรม นั้นมีอำนาจ วิเศษวิสุทธิ์วิศิษฐ์ สามารถชนะ ความไม่ดีไม่งาม ความไม่ถูกต้องชอบธรรม ความรุนแรง ได้จริงๆ เพราะเท่าที่คนทั้งโลก ปฏิบัติกันมา ใช้กันมา ตามสัญชาตญาณสามัญ ก็คือ ใช้อำนาจปฏิวัติ หรือ รัฐประหาร ด้วยอำนาจทหาร หรือชนะกันด้วย ความรุนแรง และใช้อาวุธ ประหัต ประหารกัน เป็นต้น หรือใช้อำนาจบาตรใหญ่ ที่อาศัยโลกธรรม (ลาภยศ สรรเสริญ โลกียสุข) เป็นเครื่องมือ สามารถครอบงำ กดขี่ หรือ สามารถเบ่งข่มกัน (force) เป็นผลสำเร็จ มาตลอด  ยังไม่สามารถ ใช้อำนาจที่สูงกว่าสัญชาตญาณสามัญ ได้จริงๆ คือ ใช้อำนาจ โดยชอบธรรม (authority) ตรงตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้  เป็นอำนาจปฏิวัติ หรือแม้จะถึงกับ เรียกว่า รัฐประหารด้วย อำนาจของประชาชน ที่มากพอ จนเรียกได้ว่า มวลมหาประชาชน ซึ่งสามารถปฏิบัติ ความสงบสันติ อหิงสา อย่างมีความดีงาม ความถูกต้อง สุภาพ ไม่รุนแรง เป็นความชอบธรรม จนมีอำนาจ วิเศษวิสุทธิ์วิศิษฐ์ กระทั่ง ชนะความไม่สงบ ความไม่ชอบธรรม ความไม่ดีไม่งาม ความไม่ถูกต้อง ไม่สุภาพ รุนแรง ให้เป็นที่ปรากฏมาก่อน เมื่อมีคนจริง มวลมหาประชาชนจริง ปฏิบัติกันได้ มีผลสำเร็จ ปรากฏขึ้น ในโลกจริง ในสังคมคน จริงๆ จึงงงๆ ไม่รู้ว่าคืออะไร จะเป็นอย่างไร ดังนั้น แม้จะเป็นกันได้แล้ว มีแล้ว เกิดขึ้นให้เห็นแล้วโต้งๆ ก็ไม่รู้ เพราะเข้าใจ ยังไม่ได้ เพราะยังเข้าใจผิดอยู่ ยังยึดความเข้าใจเดิม ที่ไม่สัมมาทิฏฐิ ตามที่หลงผิดนั้นอยู่ ไม่เปิดจิต ไม่มีปรโตโฆสะ จิตใจยังไม่มีภาวะ ความรู้ใหม่ ไม่มีความเข้าใจอื่น จากเดิมเพิ่มขึ้น ยังยึดอยู่แต่ความรู้ ความเชื่อเก่า เข้าใจความรู้ใหม่ไม่ได้ ความเป็นสิ่งประเสริฐ ที่เกิดขึ้นให้เห็นโทนโท่หลัดๆ ก็ไม่รู้ว่า คือ อาริยธรรม คือความดีงาม ที่เป็นจริง คือความถูกต้อง ที่เป็นจริง ความชอบธรรมที่เป็นจริง จึงเห็นความดีงาม ที่เป็น อำนาจพิเศษ ที่เกิดอยู่โต้งๆ หลัดๆนี้ไม่ได้ จึงยังไม่เชื่อ ว่า ความดีงาม ที่เป็นอำนาจพิเศษ มีจริง เพราะไม่รู้จัก ความดีงามจริงๆ ที่เป็นอำนาจพิเศษนี้ไง

(๖) คนยังเข้าใจความเป็น "สุญญากาศ" ทางการเมือง (void) ไม่ได้ หรือไม่ถูกต้อง บางคนมีแต่ "มโน" เอาว่า สุญญากาศ ทางการเมืองไม่มี เกิดขึ้นไม่ได้ จึงเถียงกันด้วยตรรกะ ไม่มีจบลงได้ เพราะไม่รู้จริง ว่า สุญญากาศ คืออะไร เป็นอย่างไร หรือเอาแต่ยึด ความเป็น สุญญากาศ ของตน อยู่นั่นแหละ ไม่เคลื่อน ไม่คลายอันใดกันเลย ทั้งๆที่ความจริงนั้น สุญญากาศ หรือ void คือ ปรากฏการณ์จริง แห่งความเป็นโมฆะ แห่งความไม่มี ความสูญเปล่า จากที่มีไปแล้ว หรือว่างจาก เนื้อหาทางการเมือง ที่ควรจะเป็น จะมีนั้น แล้วต้องย้ำนะว่า ทางการเมือง เพราะสุญญากาศนั้น จะเป็นสุญญากาศ ของอะไร ก็มีได้ ตามเหตุปัจจัยนั้นๆ ของภาวะใด ภาวะนั้น แต่นี่เราหมายถึง สุญญากาศ ทางการเมือง ต้องกำหนดให้ตรงกันนะ อย่าเพี้ยนไปจาก เนื้อแท้ที่สำคัญ เป็นอันขาด เมื่อเกิดสุญญากาศ ทางการเมือง ก็คือ โมฆะหรือสูญเปล่า หรือไม่มี หรือว่างจาก สาระทางการเมือง นั้นไปจริงๆแล้ว มิหนำซ้ำ มีแต่โทษเอาด้วย มันไร้สาระ ทางการเมืองสิ้นแล้ว มันมีแต่ ความเสียหาย หรือฉิบหายกันจริงๆต่างหาก เหมือนดังที่พระพุทธเจ้า ตรัสบริภาษ คนที่ไม่มีผล ทางธรรมเกิด แม้แต่ในขณะหนึ่ง ขณะใดว่า โมฆะบุรุษ นั่นคือ คำว่าโมฆะนี้ หมายถึง ว่างเปล่าจาก การเจริญทางธรรม ในขณะนั้น ปานนั้นทีเดียว หากปล่อยให้ช้าไป กิเลส ก็จะเข้าสู่จิตใจ ทดแทนเอาด้วย คำว่าว่างเปล่า หรือสูญเปล่า จึงพาลจะตกต่ำ เสียหาย แล้วเราจะปล่อย ให้เกิดภาวะ เช่นนี้ต่อไปกัน กระนั้นหรือ?

เอาล่ะ ถ้าจะหมายถึง การขาดสูญ หรือการว่างเปล่าจาก "อำนาจผู้บริหาร ทางการเมือง โดยเฉพาะ คณะผู้บริหาร การปกครองประเทศ" ไปแล้วจริงๆ เด็ดขาดแล้ว ก็น่าจะมองลึก เข้าไปอีกว่า ถ้าปล่อยให้ คณะผู้บริหาร ที่ขาดสูญ หรือว่างเปล่า จากอำนาจ หน้าที่แล้วนี้ ยังอยู่ต่อไป ก็จะมีแต่ โทษภัย หนักหนาสาหัส ในการปฏิบัติ ทางการเมือง ไปเรื่อยๆ มันไม่คุ้มกันเลย ที่จะมีพฤติกรรม ทางการเมือง ที่เป็นอยู่นั้นต่อไป นี่ต่างหากคือ สุญญากาศ ทางการเมืองตัวแท้ ที่ควรจะยุติ หรือ เปลี่ยนแปลงอำนาจ ที่เป็นโทษนั้น ไปเสียทันที

        แต่กระนั้นก็เถอะ ภาวะทางการเมืองจริงๆ ของไทย ณ ลมหายใจเฮือกนี้นั้น มันไม่สุญญากาศ จากภาวะเลวร้าย มันหนักหนาสาหัส กับสภาวะเลวร้าย สุดๆเลย ด้วยซ้ำ

        หรือแม้แต่ความเป็นจริง ทางกฎหมายก็ตาม ทางพฤติกรรมก็ตาม มันจบลงแล้ว มันโมฆะแล้ว หรือมันว่างเปล่า จากคุณค่า ทางการเมือง สิ้นแล้ว มันมีแต่โทษ แต่ภัยร้าย อย่างแท้จริง

        อย่าหลงแต่วาทะคารม กันอยู่นักเลย จะเอาความจริง ทางหลักเกณฑ์จริง กันก็ได้ ณ ปัจจุบันนี้ คณะบริหาร หรือคณะรัฐบาล ที่ยังมีเยื่อเหลืออยู่นี่ มีสาระอะไร

        เห็นมีก็แต่การใช้ อำนาจบาตรใหญ่ เบ่งแอ็ดๆ ที่เหลืออยู่ อย่างหน้าด้านนี้ หาทาง เพื่อที่จะดึงดัน เอาชนะคะคาน ทางการเมือง กันไปเท่านั้น ทำความอิดหนา ระอาใจ สุดอึดอัด จะระเบิดอยู่แล้ว ให้แก่สังคม ผลาญพล่า ทรัพย์สินของรัฐ ไปอย่างไม่เคย บันยะบันยัง อยู่โต้งๆ แหลกเหลว บรรลัยอยู่เท่านั้น ใช่มั้ย?

        แล้วยังจะควรนับว่า เศษกากของวัตถุ ทางการเมือง ที่เป็นพิษนี้ มีอยู่อีกต่อไปทำไม มันควร จะกวาดล้างออกไป ให้สะอาด แก่ประเทศ ให้เร็วสุดต่างหาก การจะแก้ไข ปัญหาวิกฤติ สาหัส ที่เป็นอยู่ ณ คราปัจจุบันกาลนี้ จะต้องใช้ "มหาปเทส ๔" ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น จึงจะสำเร็จ เสร็จจบลงได้

มหาปเทส ๔ นั้นเป็นธรรมาวุธ ที่ตุลาการภิวัตน์ ก็ต้องใช้ ประชาภิวัตน์ ก็ต้องใช้ โดยเฉพาะ กัมมาภิวัตน์ แท้จริง จะเกิดได้จริง ที่ว่าจะต้องใช้ ก็เพราะตรงกับ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๗  ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗ มีเจตนารมณ์ ตรงกับ มหาปเทส ๔ โดยแท้ เป็นต้นว่า เนื้อความของ มาตรา ๗ คือ "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณี การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข"

ซึ่งมหาปเทส ๔ นั้นก็มีว่า
(๑) สิ่งใดไม่ห้าม ว่า ไม่ควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งไม่ควร ขัดกับสิ่งควร สิ่งนั้นจึงไม่ควร
(๒) สิ่งใดไม่ห้าม ว่า ไม่ควร แต่สิ่งนั้น เข้ากับสิ่งควร ขัดกับสิ่งไม่ควร สิ่งนั้นจึงควร 
(๓) สิ่งใดไม่อนุญาต ว่า ควร แต่สิ่งนั้น เข้ากับสิ่งไม่ควร ขัดกับสิ่งควร สิ่งนั้นจึงไม่ควร
(๔) สิ่งใดไม่อนุญาต ว่า ควร แต่สิ่งนั้น เข้ากับสิ่งควร ขัดกับสิ่งไม่ควร สิ่งนั้นจึงควร
(พระไตรปิฎก เล่ม ๕ ข้อ ๙๒)

        เพราะฉะนั้น ในเมื่อไม่มีทั้ง บทบัญญัติห้าม และไม่มีทั้ง บทบัญญัติอนุญาต เห็นไหมว่า มันตรงกันกับ สาระของ มาตรา ๗ ชัดๆเลย คือ "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับแก่กรณีใด" ซึ่งเหตุการณ์จริง ของบ้านเมือง ที่มันสุดวิกฤติ แสนสาหัส ณ ลมหายใจเฮือกนี้ ประชาชน เดือดร้อนสุดทน จนออกมา ประท้วง และได้ยกระดับ การประท้วงขึ้นไป เป็นต่อต้าน จนกระทั่ง ถึงขั้นขออำนาจคืน หรือ ขอปฏิวัต ยึดอำนาจคืน ดังที่คณะทหาร เคยปฏิวัตินั่นเอง

        คำว่า"ปฏิวัติ" นี่เอง ที่มันไม่มีในบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญนี้ เป็นต้น ภาษาหรือคำบัญญัติ ที่ว่านี้ไม่มี นี่คือ ไม่มีบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับแก่กรณีใด ซึ่งมันก็คือ มันไม่มีทั้ง บทบัญญัติที่ห้าม และไม่มีทั้ง บทบัญญัติที่อนุญาต ไง มหาปเทส ๔ จึงมีเนื้อหา ตรงกันกับ มาตรา ๗ แล้ว มันจึงเป็นภาวะแห่ง สุญญากาศ ตามสัจจะ ของความเป็นจริง
       
        กล่าวคือ รัฐบาลได้ปฏิบัติผิด นิติรัฐนิติธรรม ประชาชน จึงออกมาประท้วงตาม มาตรา ๖๓-๖๙-๗๐ และขออำนาจ ที่ได้ให้ไป ปฏิบัติหน้าที่คืนมา จัดการหา คณะบริหารใหม่ ตามสิทธิ และหน้าที่ ของเจ้าของอำนาจ อันเป็นสิทธิเต็ม ของประชาชน ตามมาตรา ๓ และในเมื่อไม่มี บทบัญญัติแห่ง  รัฐธรรมนูญนี้บังคับ เป็นภาษาระบุ เต็มๆตรงๆ จึงตรงตาม มาตรา ๗ นี้   ก็ต้องวินิจฉัย กรณีที่เป็น สุญญากาศนี้ ไปตามประเพณี การปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

นั่นก็คือ ให้วินิจฉัย ไปตามประเพณี ที่เคยมีมาแล้ว ซึ่งประเพณี ก็มีแต่ การได้อำนาจมา ด้วยวิธี ใช้อำนาจ ที่ไม่เป็นไปตาม วิถีทางแห่งบทบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญนี้ เป็นต้นว่า การปฏิวัติ โดยทหาร หรือรัฐประหาร ด้วยอำนาจที่ปฏิบัติกัน อย่างไม่ชอบธรรม ไม่เป็นอาริยะ (ยังอนาริยะอยู่) ซึ่งไม่เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ (force) แต่ก็ได้ยอมรับ ให้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมนั้น แก่คณะปฏิวัติ ได้อำนาจ แล้วก็จัดการบริหารกันมา เป็นประเพณี กันอยู่ทั่วโลก ประเพณีเช่นนี้ มีมากี่ครั้งกี่คราแล้วล่ะ สำหรับประเทศไทย นี่แหละ หรือ ประเทศอื่นๆ เขาก็มีประเพณีนี้ ที่ทำกัน ปฏิบัติกัน จึงถือว่า เป็นประเพณี แห่งการสืบทอดอำนาจ แม้จะเป็นการ ได้อำนาจมา อย่างไม่ชอบธรรม เป็นอำนาจที่ไม่สง่างาม แต่ก็จำนนกัน

ครั้นมาถึงวันนี้ เหตุการณ์ที่เกิด ในปัจจุบันนี้ แม้จะเรียกว่า เป็นการปฏิวัติ การปฏิวัตินี้ ก็ไม่เหมือน การปฏิวัติ อย่างที่เคยผ่านมา ซึ่งเป็นการปฏิวัติ โดยประชาชน ที่ถูกต้องตาม รัฐธรรมนูญนี้ อันเป็นการปฏิวัติ อย่างชอบธรรม เป็นอำนาจ ที่สง่างาม ทำไมไม่จำนนบ้างเล่า? 

        คำว่าการปฏิวัติ โดยคณะทหาร หรือคณะราษฎร์ ที่ใช้อำนาจ อันไม่ชอบธรรม เพราะรุนแรง ไม่สงบ ใช้อาวุธ ผิดรัฐธรรมนูญนั้น ต่างก็ได้ยอมรับ กันมาแล้วทั้งสิ้น ส่วนคราวนี้ ประชาชน ชาวไทย ทำได้อย่างวิเศษ วิสุทธิ์วิศิษฐ์ ถูกต้อง ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ ทั้งมาตรา ๖๓ มาตรา ๖๙ มาตรา ๗๐ เป็นต้น แม้คณะมวลมหาประชาชน คือ กปปส.นี้ จะถูกรุกราน ถูกผู้ใช้อำนาจ ที่ผิดไปจาก รัฐธรรมนูญนี้ ย่ำยี คณะมวลมหาประชาชน ก็ยังรักษา ความสุจริต ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ ไว้ได้เหนียวแน่น ยืนนาน อย่างไม่เคยปรากฏ มาก่อนเลย ในประวัติศาสตร์ แห่งการปฏิวัติ ดีงามถูกต้องยิ่ง  จนกระทั่ง ศาลตุลาการ ได้ออกคำสั่ง คุ้มครอง การชุมนุมประท้วง ของมวลมหาประชาชน ครั้งนี้ทีเดียว

        กรณีนี้ เมื่อพิจารณาตาม มหาปเทศ ๔ แล้ว จึงเป็นสิ่งที่ควรอย่างยิ่ง ที่จะต้องตัดสินให้ ผู้ที่ชอบธรรม เป็นผู้ถูกต้อง เหมาะควร ที่จะปฏิบัติตามประเพณี ที่เคยผ่านมา ในประเด็นที่ เป็นผู้จัดการ ให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ ก็ในเมื่อการปฏิวัติ ได้อำนาจคืนมา จัดการตามที่ คณะทหาร เคยทำ เป็นประเพณีในอดีต ซึ่งไม่ชอบธรรมแท้ๆ ยังเป็นผู้มีสิทธิ ในการปฏิบัติ จัดการการปกครองประเทศได้

แล้วในเมื่อ มวลมหาประชาชน ปฏิวัติด้วยความสงบ ไม่ใช้อำนาจ รุนแรงเลย สุภาพเรียบร้อย ไม่มีอาวุธ สวยสด งดงาม สง่ายิ่ง วิเศษวิสุทธิ์วิสิฏฐ์ ปานฉะนี้ ทำไมไม่ยอมยกให้บ้าง หรือ ไม่ร่วมมือกัน ทำให้สิ่งประเสริฐนี้ ให้เกิดขึ้น ในประเทศไทยเล่า?

        อำนาจชนิดนี้มันเป็น"อำนาจขั้นโลกุตระ" มันทวนกระแสสามัญ ของสัตวโลกทั้งหลาย มันเป็นภาวะ ที่สูงส่งจริงๆ เป็นอาริยธรรมที่เกิดจริง จากประชาชน ที่เป็นคณะบุคคล ผู้มีคุณธรรมจริง จึงทนทานต่อ การประจญประจัญได้กับ ความกระทบ กระแทก กระทั่ง อย่างรุนแรง จากผู้ที่พยายามหาเรื่อง จะให้เกิดความรุนแรง  โดยไม่ทำความรุนแรงตอบ หรือไม่ได้โต้ตอบ จนทำให้เกิด การจลาจล อย่างที่เคยเกิดขึ้น กันมาแล้วในอดีต

ประเด็นแห่งปัญหา ก็คือ
๑) อำนาจอธิปไตย (sovereignty) ที่มีความเห็นแตกต่างกัน
๒) สุญญากาศทางการเมือง (void) ที่มีความเห็นแตกต่างกัน     
๓) ความผิด-ถูก หรือชั่ว-ดี อันเป็นคุณค่า ของคุณธรรม (virtue) ที่ต้องใช้ เป็นเครื่องวัดคุณค่า ของผู้เป็น นักการเมือง
๔) สถานภาพที่เป็นอยู่จริง มีอยู่จริง ในปัจจุบันนั้นๆ (satatus quo) ตามข้อ ๑) อำนาจ หรือแรง หรือความสามารถ หรือกำลัง หรือพลัง ที่ภาษาอังกฤษ เขาใช้คำกลางๆว่า power และยังมีคำ ภาษาอังกฤษ อื่นๆอีก ที่เขาจำกัดความ ของอำนาจ ลักษณะที่ละเอียดลึกซึ้งไป แตกต่างกัน

        ภาษาไทย ไม่มีคำที่ชี้บอก สภาวธรรมนั้นๆได้ จึงแยกอำนาจ ที่มีที่เป็น ตามที่เป็นจริง ไม่ค่อยได้เพียงพอ

        เช่น อำนาจ ที่เรียกว่า force คือ อำนาจที่มีลักษณะ ไปในทางครอบๆ งำๆ ข่มๆ ขี่ๆ กดๆ รุน ดัน ยัดเยียด บังคับ เบียดเบียน หนักๆแรงๆ ไปทางร้าย จนถึงอำนาจต่อสู้ เอาชนะด้วย การทำร้าย ห้ำหั่น ฟาดฟันกัน ฆ่ากัน เป็นต้นว่า  อำนาจทางทหาร นี่เขาจะใช้คำว่า force  อำนาจ ที่เรียกว่า authority คือ อำนาจที่เป็นธรรม อำนาจที่ถูกตรง ตามหน้าที่ อำนาจชอบธรรม อำนาจสมรรถนะ ที่เป็นตัวอย่าง อันประเสริฐ อำนาจที่เป็นหลักฐาน อันควรเชื่อถือ อำนาจที่ควรศรัทธา เคารพบูชา อำนาจ ที่มีลักษณะ ไปในทางคุณธรรม ดีๆ งามๆ ถูกต้อง ไม่ฆ่ากันนั้น แน่นอน ไม่ฟาดฟัน กันแล้ว ไม่ห้ำหั่น ไม่บังคับ ไม่เบียดเบียน ไม่หนักๆแรงๆ ไปทางร้าย ไม่ถึงอำนาจ ต่อสู้เอาชนะ ด้วยการทำร้าย  ไปจนกระทั่ง ไม่รุน ไม่ดัน ไม่ยัดเยียด ไม่เดียจฉัน ไม่กด ไม่ขี่ ไม่ข่ม ไม่ครอบงำ อำนาจ ที่เรียกว่า sovereignty อำนาจที่เรียกได้ตรง ถูกต้องแล้วว่า อธิปไตย อำนาจในการปกครองตัวเอง โดยอิสระ อำนาจสูงสุด ที่ชอบธรรม อำนาจคือสิทธิ์ ในความเป็น เจ้าของรัฐ เจ้าของประเทศ ที่เรียกว่ารัฏฐาธิปัตย์ อำนาจที่เป็นสิทธิ์เต็ม ในความเป็นคน ของประเทศ เท่ากับประชากรอื่นๆ ผู้ที่ไม่เข้าใจในความเป็นอำนาจ ตามลักษณะ ที่ละเอียดถูกตรง ดังกล่าวนี้ เป็นต้น ก็จะปฏิบัติ ประพฤติถูกตรง ในคุณลักษณะ ที่เป็นอธิปไตย (sovereignty) ให้เป็นจริง และยั่งยืนถาวรไม่ได้ ถ้าไม่เข้าใจอย่างถูกตรง อย่างบริบูรณ์ พอรู้บ้าง ก็อาจจะปฏิบัติได้บ้าง ชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งไม่นาน และจะไม่เป็นอธิปไตยสูงสุดได้เลย จึงไม่สามารถ จะมีอำนาจ ที่เรียกว่า sovereignty คือ อำนาจที่เรียกได้ตรง ถูกต้องแล้วว่า อธิปไตย ได้อย่างเป็นระบบ ที่ไปสู่ความสูงสุด ยั่งยืน ตราบนานเท่านาน  
     
        ผู้เข้าใจมีปัญญารู้แจ้ง ความเป็นอำนาจ ที่ชอบธรรม สัมมาทิฏฐิจริง ก็จะปฏิบัติตน มีการประพฤติ ถูกต้อง ตรงธรรม ได้ละเอียดมากสูง จนที่สุดได้จริง และเจริญพัฒนา ถึงที่สูงที่สุดได้ 

        ความเห็นความเข้าใจ ที่แตกต่างกัน ก็ย่อมขัดแย้งกัน และต้องอยู่ในสภาพ ต่อสู้กัน เป็นธรรมดา ถ้ายังไม่มีความเห็น ความเข้าใจ ที่สัมมาทิฏฐิจริง และเกิด ทิฏฐิสามัญญตา ก็จะผลัดกัน ได้อำนาจ ผลัดกัน ขึ้นครองอำนาจ วนเวียนสลับกันไป ถ้ามีทิฏฐิสามัญตา ในหมู่ชนใด แม้ทิฏฐินั้น จะไม่ใช่สัมมาทิฏฐิ ก็อาจจะอยู่ ได้นานขึ้นบ้าง แต่ไม่สัมบูรณ์ด้วย อิสระเสรีภาพ จะอาศัยอำนาจเชิง force เป็นอำนาจหลัก จึงจะทำให้อยู่ได้นาน หากมีอำนาจเชิง authority ผสมผสานช่วยด้วย ก็จะทำให้ได้นานขึ้น แต่ถ้ามีแต่ force จะรักษาอำนาจ บาตรใหญ่ไว้ได้ ไม่นาน จะถูกแย่ง ถูกชิงไป หมุนเวียน เป็นสมบัติผลัดกันชม อยู่อย่างนั้น    

ข้อ ๒) สุญญากาศทางการเมือง (void) ที่มีความเห็นแตกต่างกัน ก็เพราะเข้าใจ ความเป็น สุญญากาศ ที่ไม่ใช่สุญญากาศ ทางการเมือง อันเป็นประชาธิปไตย อย่างถูกตรง ที่เรียกว่า void 

        แต่จะเข้าใจความเป็นสุญญากาศ ที่เป็นเชิงอื่นๆ เช่น ความว่างเชิง vacancy บ้าง  เชิง zero บ้าง เชิง empty บ้าง เชิง leisure บ้าง

        สุญญากาศ เชิงหรือแบบ vacancy ก็คือ ความว่าง ที่ยังไม่มีความรู้ ที่มีความเป็น สุญญากาศ ทางการเมือง อันเป็นประชาธิปไตย อย่างถูกตรงแท้จริง ที่เรียกว่า void จึงปฏิบัติโดยเข้าใจ ความเป็น สุญญากาศ ที่เป็นความว่าง แบบขาดความคิด หรือปัญญา ซึ่งเป็นความว่างที่ อยู่เด๋อๆ อยู่เฉยๆ อยู่เปล่าๆ ไร้สาระ หรือไม่รู้อะไร เป็นอะไร กับใครเขา

        ซึ่งจะไปได้สุญญากาศ ที่เป็นความว่าง แบบทำจิตใจให้เป็นคน อยู่อย่างว่าง เหม่อๆ ลอยๆ กลายเป็นคนจิตใจ จะเข้าใจอะไร ก็สับสน เป็นต้น หรือเข้าใจอะไรก็ได้ อย่างคลุมเครือ

        นี่คือ ผู้ยึดได้ความว่างอย่าง vacancy 

        ส่วนสุญญากาศ เชิงหรือแบบ  zero ก็คือ ความว่าง ที่ยังไม่มีความรู้ ที่มีความเป็น สุญญากาศ ทางการเมือง อันเป็นประชาธิปไตย อย่างถูกตรงแท้จริง ที่เรียกว่า void เช่นกัน โดยเข้าใจไปว่า ความว่าง เป็นศูนย์ ชนิดที่ไม่มีอะไรเลย อันตรธาน ปลาสนาการไปหมด ไม่เหลืออะไร เป็นค่าเป็นประโยชน์ เป็นคนก็ไม่มีคุณค่า สิ่งของก็ไม่มีคุณค่า อะไรก็ไม่สลักสำคัญ อะไรเลย จึงยึดได้เพียง สุญญากาศ ที่ว่างเปล่าจากอะไร ไปหมด เอียงไปข้าง ไม่มีอะไรเลย

        นี่คือ ผู้ยึดได้ความว่างอย่าง zero

        สุญญากาศ เชิงหรือแบบ empty ก็คือ ยังเข้าใจความว่าง ที่ยังไม่มีความรู้ ที่มีความเป็น สุญญากาศ ทางการเมือง อันเป็นประชาธิปไตย อย่างถูกตรงแท้จริง ที่เรียกว่า void อยู่นั่นเอง โดยเข้าใจ สุญญากาศ ทางการเมืองนี้ว่า ว่างเปล่า ไม่มีอะไร ไม่มีความหมาย ไร้สาระ เปล่าประโยชน์ ไม่มีอะไรอยู่ในนั้น โง่ ไร้ความรู้ เปล่าเปลี่ยว เงียบเหงา

        จึงยึดได้เพียง สุญญากาศที่ว่างเปล่า อย่างไร้สาระ เปล่าประโยชน์ เอียงไปข้าง ไม่มีคุณค่า ไม่ได้ประโยชน์อะไร

        นี่คือ ผู้ยึดได้ความว่างอย่าง empty

        สุญญากาศ เชิงหรือแบบ leisure ก็คือ ยังเข้าใจความว่าง ที่ยังไม่มีความรู้ ที่มีความเป็น สุญญากาศ ทางการเมือง อันเป็นประชาธิปไตย อย่างถูกตรงแท้จริงเต็มที่ ที่เรียกว่า void อยู่นั่นแหละ โดยเข้าใจ สุญญากาศ ทางการเมืองนี้ว่า ว่าง มีเวลาว่าง ไม่มีงานทำ การว่างจากงาน ที่จริง การเกิดความว่าง ที่เกิด void ขึ้นนี้ มันเกิดอย่างมีปัญญา และประสงค์จงใจ ที่จะให้ คณะรัฐบาล ว่างไป หยุดไป ไม่ต้องทำงานนี้อีก  ไม่ใช่ ว่างอย่างขาดความคิดหรือปัญญา ซึ่งเป็นความว่าง ที่อยู่เด๋อๆ อยู่เฉยๆ อยู่เปล่าๆ ไร้สาระ อย่าง vacancy ไม่ใช่ ว่างอย่าง ไม่มีอะไรเลย อันตรธาน ปลาสนาการไปหมด แบบ zero ไม่ใช่ ว่างอย่างไม่มีความหมาย ไร้สาระ เปล่าประโยชน์ ไม่มีอะไรอยู่ในนั้น โง่ แบบ empty ไม่ใช่ ว่างอย่างมีเวลาว่าง ไม่มีงานทำ การว่างจากงาน แบบ  leisure เป็นต้น

        ซึ่ง void ในที่นี้ เป็นความว่าง อย่างมีนัยสำคัญ ทางการเมือง  ไม่ใช่การสูญ หรือ สภาวะ ความว่างเปล่า ที่เปล่าๆ ว่างๆ ที่ไม่มีอะไรเลย ไม่มีวัตถุ ไม่มีทั้งวัตถุ ทั้งนามธรรมในนั้น ชนิดที่เป็น เรื่องของอวกาศ หรือภาวะเวิ้งว้าง ว่างเปล่า โล่งเตียน ปราศจากสิ่งใดๆ อยู่ในนั้น

        แต่หมายถึง เรื่องการเมือง หน้าที่ทางการเมือง ที่มีลักษณะพฤติกรรม หรือแรงงาน ทางการเมือง อันมีเรื่องมีราว มีเหตุมีปัจจัย สุญญากาศ ทางการเมือง คือ ต้องการให้ว่างจากแรง หรือ พลังงานทางการเมือง ทางการบริหาร ปกครองใดๆ อันเป็นหน้าที่ของ นักการเมือง ผู้มีสิทธิหน้าที่ ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ให้ว่างลง คือ เกิดสุญญากาศ

        โดยเฉพาะหมายเอา หัวหน้าแรงงาน และพลังงานบริหารทั้งคณะ ที่เรียกว่า คณะรัฐมนตรี เท่านั้น ที่ว่างลง ยุติหน้าที่การงาน คณะบริหารทั้งคณะ หมดสิทธิ หรือหยุดทำหน้าที่ ของคณะ รัฐมนตรีได้แล้ว ตามหลักเกณฑ์ของ รัฐธรรมนูญนี้ เพราะเห็นแล้วว่า คณะบริหารทั้งคณะ ไร้ความสามารถ ที่จะทำให้เกิด ผลงานที่ดี เจริญ ถ้าขืนให้ทำต่อไป ก็จะมีแต่เสียหาย ดังนั้น จึงเกิดเหตุการณ์ อันควรจะเป็น ขึ้นในสังคมบ้านเมือง คือ

(๑) มวลมหาประชาชน เห็นร่วมกัน และออกมาต่อต้านให้หยุด ให้ออก ไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ เรียกว่า ประชาภิวัตน์ ที่ถูกต้องชอบธรรม ทั้งทางนิติรัฐ และนิติธรรม

(๒) ตุลาการ ทำหน้าที่ตัดสิน ว่า มีความผิด ความไม่ชอบธรรม ถึงขั้นต้อง หมดสิทธิ ทำหน้าที่ต่อไป ไม่ต้องทำหน้าที่ ทั้งหัวหน้าคณะ คือ นายกรัฐมนตรี และทั้งคณะรัฐมนตรี เรียกว่า ตุลาการภิวัตน์ ที่ถูกต้องชอบธรรม ทั้งทางนิติรัฐ และนิติธรรม

        นี้คือ สุญญากาศทางการเมือง ที่เกิดอย่างชอบธรรม อันมีประชาชน เจ้าของประเทศปฏิวัติ หรือจะเรียกว่า รัฐประหาร ก็ได้ ก็คือ การกระทำให้รัฐบาล พ้นจากสิทธิ และหน้าที่ไป นั่นเอง

        ซึ่งแตกต่างกันกับ การปฏิวัติของคณะทหาร หรือคณะราษฎร์ ที่เคยทำมา ก็ตรงที่ ใช้อำนาจผิด นิติรัฐ นิติธรรม   

        ประเทศไทย มีระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข มาถึง ๘๑-๘๒ ปีเข้านี่แล้ว เกิดการปฏิวัติ โดยประชาชน ที่ชอบธรรม ตามรัฐธรรมนูญนี้

        กล่าวคือ มวลมหาประชาชน ได้ร่วมกันแสดงออก ซึ่งการประท้วง ประกาศเจตนารมณ์ ต่อต้าน อย่างเปิดเผย บริสุทธิ์ กระทั่ง ยกระดับขึ้น ถึงขั้นล้มล้าง ตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ใช้อยู่ ในปัจจุบันนี้ อย่างชอบธรรม

        ศาลตุลาการ ก็ได้แสดงออกแล้วด้วยว่า การชุมนุมประท้วง ของมวลมหาประชาชน กลุ่มที่กำลัง ปฏิบัติการอยู่นี้ ชอบธรรม จึงให้การคุ้มครอง

        ซึ่งประสพผลสำเร็จ สงบ สันติ ปราศจากอาวุธ และเหนียวแน่น ยืนยาวมานาน อย่างไม่เคย ปรากฏ มาก่อนเลย ถือว่า ทำได้อย่างดียิ่ง

        การปฏิวัติของประชาชน ไม่เคยเกิด ไม่เคยเป็นได้อย่างนี้ มาก่อน

        แต่บัดนี้ เมืองไทย มีปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้ อย่างเหลือเชื่อ แต่ก็เป็นความจริง จนชื่อว่า ถึงขั้น "สุญญากาศทางการเมือง" แล้ว

        ยังเหลืออยู่ก็แต่ การดื้อด้านดึงดัน ตะแบง ของฝ่ายรัฐบาล กับคณะหมู่มวล ที่เห็นด้วยกับ รัฐบาล และคณะบุคคล กลุ่มหนึ่ง เท่านั้น

        ที่ควรจะเป็น ก็คือ สังคมประเทศ ปกติก็ไม่ควรจะขาดหน้าที่ การบริหาร ปกครอง แม้แต่เศษเสี้ยว ของวินาที แต่เมื่อเกิดกรณี จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องให้ คณะรัฐบาล ที่บริหาร ประเทศอยู่นั้น ยุติบทบาท ตามประเพณี ที่เคยทำกันมา เมื่อต้องการจะให้ คณะบริหารอยู่เดิม ยุติบทบาท ก็มีการยึดอำนาจ ที่เราเรียกกันว่า โดยคณะปฎิวัติ หรือโดยคณะรัฐประหาร ซึ่งใช้อำนาจบาตรใหญ่ (force) เข้ายึดอำนาจ ใช้อาวุธ หรืออำนาจที่ชื่อว่า รุนแรง มีอาวุธ ประกอบ การยึดอำนาจ อันถือว่า ไม่ถูกต้องชอบธรรม

        แต่ก็ทำกัน เป็นประเพณีกันมา และได้ยอมรับกัน อย่างจำนน จำยอม เกือบทุกประเทศ ก็ได้เคยใช้ ประเพณีนี้กัน ทั้งๆที่ไม่ชอบธรรม

        เมื่อได้สิทธิอำนาจอธิปไตย ชั่วคราวนั้น  ต่อจากนั้น คณะผู้ได้อำนาจ ก็ไปจัดการปรับ หรือจัดการกับ ระบบการบริหาร ตามแต่ละคณะปฏิวัตินั้นๆ พึงทำ ตามที่เคยเกิด เคยเป็นมา

        ดังนั้น ถึงวินาทีนี้ การปฏิวัติของ มวลมหาประชาชน ก็น่าจะได้รับ การยอมรับ ซึ่งไม่ใช่ การจำนน หรือจำยอมเลย เพราะเป็นการปฏิวัติ ที่ชอบธรรม อันเป็นการกระทำ โดยสันติวิธี และเป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูยนี้ อย่างพร้อม หมู่มวลมหาประชาชน เป็นเอกภาพ เหนียวแน่น ยืนนานต่อการพิสูจน์ พอที่จะใช้วินิจฉัยได้แล้ว

        สรุป สุญญากาศทางการเมือง ก็คือ

(๑) ประชาภิวัตน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว คือ มวลมหาประชาชน ร่วมกันตัดสินแล้วว่า ครม.ทั้งคณะ หมดสิทธิ์ในหน้าที่บริหาร ลงแล้ว หยุดได้แล้ว ใช้ภาษาชัดๆก็คือ ไม่ยอมให้เป็นครม.ต่อไป ไม่ให้บริหารต่อไป คือ ไล่ออก

(๒) ตุลาการภิวัตน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว คือ ศาลชี้มูลบ้าง ตัดสินบ้าง ซึ่งก็ถึงกาลสิ้นสุด ภาวะการบริหาร ของครม.ลง ตามกฎหมายแล้ว  

ส่วน ข้อ ๓) ความผิด-ถูก หรือชั่ว-ดี อันเป็นคุณค่าของ คุณธรรม (virtue) ที่ต้องใช้ เป็นเครื่องวัด คุณค่าของ ผู้เป็นนักการเมือง

        เรื่องนี้ บุคคลในคณะรัฐมนตรี ได้แสดงอาการ กระด้างกระเดื่อง หนักหนา สาหัสมาก ผิดต่อ กฎหมายบ้าง ไม่มีจริยธรรมบ้าง ชัดเจน อยู่โทนโท่
 
        ซึ่งได้แจกแจงกันมามาก ในที่นี้ และที่อื่น ผู้อื่นก็ประกาศออกมา ยืนยัน ทั้งหลักฐาน ทั้งหลักกฎหมาย และหลักธรรม ก็มากพอแล้ว

ข้อ ๔) สถานภาพที่เป็นอยู่จริง มีอยู่จริง ในปัจจุบันนั้นๆ (status quo) ก็แสนจะเห็น ในภาวะจริง ที่ปรากฏ มากพอ ครบถ้วน เกินกว่าจะตัดสิน ยืนยันอยู่ ทั้งที่ได้กระทำมาแล้ว ต่างกรรม ต่างวาระ  ผ่านมาแล้ว ตามที่ได้กระทำแล้ว ของคณะบริหาร ทั้งที่ยังดึงดัน กระทำให้เห็นอยู่ ในปัจจุบันนี้ ยังไม่ยอมปล่อยวาง มันก็เกินกว่า จะกล่าวใดๆแล้ว

        ไม่น่าจะมีอะไร เลวร้ายกว่านี้อีกแล้ว ในสังคมโลก

        แต่เพราะมันมีสันติวิธี ที่สุดวิเศษวิสุทธิ์ ของประชาชนปฏิวัติ จึงทำให้เข้าใจยาก  จงใช้ปัญญา อันลึกซึ้ง ไตร่ตรอง ให้เห็นกันเถิดเทอญ.

        ในรธน.มาตรา ๗๐ บุคคลมีหน้าที่ พิทักษ์รักษาไว้ ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

        มาตรา ๗๑ บุคคลมีหน้าที่ ป้องกันประเทศ และรักษาผลประโยชน์ชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย

        รธน. ก็ได้กำหนด ให้เป็นหน้าที่เลย แม้ไม่บังคับ แต่เป็นการยืนยัน หน้าที่ของประชาชน อย่างเป็นทางการ ประชาชนใดกระทำ ออกมาทำหน้าที่ประท้วง ก็เป็นการทำ มหาปเทส ๔ ทำตามคำสอน พระพุทธเจ้า เพราะลมหายใจ ประเทศไทยเฮือกนี้ มันวิกฤติหนัก จะได้ใช้ คะแนนเสียงสดๆ ทำด้วยประชาชน เพื่อประชาชน เพราะประชาชน เป็นเจ้าของประเทศ ก็ควรดูแล เอาใจใส่ แม้จะให้ผู้แทน ไปทำหน้าที่ แต่เมื่อเขาทำผิดพลาด เสียหายมาก เราก็ควร ออกมาไล่ออก ไม่อย่างนั้น เราเป็นประชาชน ก็ทำหน้าที่ผิด ดูดายใจดำ ไม่ทำตามรธน. ไม่ทำตามมหาปเทศ ที่พระพุทธเจ้าสอน

        อ.กฤษฎาว่า... การออกมาชุมนุม มีเหตุผล ที่เราต้องเอาธรรม มาจัดการกับอธรรม พ่อครูได้สรุป ว่าทำไม เราต้องออกมา กองทัพธรรม ต้องออกมา เพื่ออะไร พ่อครูอธิบาย ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ และธรรมะ เป็นเนื้อเดียวกันเลย       

   www.asoke.info