570504_พ่อครูที่ป้อมมหากาฬ
เรื่อง มนุษย์เกิดมาทำไม
?

        อาตมาขยันพูดอยู่ แต่ทำไมลูกๆหลานๆ ไม่ขยันฟัง แต่เรามีหน้าที่พูด ไม่ฟังก็พูดฟรี รับรองว่าไม่น้อยใจ

       พรุ่งนี้เป็นวันสำคัญ อาตมาว่า ใน ๕๐๐ ปี จะมีครั้งหนึ่ง จะมีอะไรพิเศษ ก็คอยดู พรุ่งนี้กัน และจะมีสัปดาห์ วิสาขบูชาที่จะมี ขอให้องค์กร ทุกหน่วยงาน ของชาวอโศก ขอให้หยุดงาน Shutdown มาร่วมกัน ในครั้งนี้ แล้วก็วันที่ ๖ – ๑๒ จะเป็นงานสัปดาห์ วิสาชบูชาวิชิตชัย จะมีการ “ปักหลักเปิดโลก”

๑. ทำอย่างไรจะพ้นความเป็นสัตว์
๒. อธิบายความเป็นโลกนรก เทวดา ทั้ง ๖ ภูมิ พรหมอีก ๒๐ ชั้น

มีรายการทำวัตรเย็น โดยพ่อครูทุกวัน
มีรายการก่อนฉัน และภาคบ่าย มีบำเพ็ญคุณ บำเพ็ญธรรม เก็บเต็นท์ กางเต๊นท์ …

       อาตมาเอง มีเรื่องที่อยากจะพูดอยู่คือ เรื่องของมนุษย์ ... สรุปว่า มนุษย์เกิดมาทำไม? ....มนุษย์เกิดมาทำไม? …เกิดมาเพื่อสะสมธรรมะ แต่เพราะมนุษย์โง่ จึงไม่รู้ว่า ตนเกิดมา สะสมธรรมะ กลับไปสะสม อธรรม 

       ธรรมะแปลว่า สิ่งทรงไว้ ขณะมีชีวิต ก็มีกาย เป็นองค์ประชุม ที่มีร่างและจิต ร่างนี้จึงเป็นร่างกาย คำนี้ คำว่าร่างกายนี้ เป็นนามธรรม แต่ว่าคนไปเข้าใจ คำว่ากาย เป็นรูปธรรม จึงไม่พาบรรลุธรรม

       คำว่า กายนี้ เป็นนามธรรม เป็นองค์ประชุม พอประชุมแล้ว มีร่าง รวมกันเข้า สังเคราะห์กัน ในทางชีววิทยา เป็นร่างกาย ...คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม และ ใจ คำว่า กาย นี้คือ ใจ

       คำว่า กาย นี้จะต้องมี ดินน้ำไฟลม จึงเรียกว่า กาย ถ้าไม่มีดินน้ำไฟลม จะไม่เรียกว่าใจนี้ว่า กาย
       คนเกิดมามีร่าง ประกอบด้วย มหาภูตรูป (ดินน้ำไฟลม) ปรุงแต่งรวมกัน ทางชีววิทยา เป็นแท่งก้อน รูปร่างคน คอหยักๆ สักแต่ว่าคน เกิดมาเป็นร่างกาย มีทั้งร่างและใจ
       ใจนั้นมีร่าง ร่วมรับรู้ เรียกว่า มีร่างกาย แต่พอตายไป ก็มีแต่ร่าง ไม่มีใจ พอไม่มีใจ ... กายก็ไม่มี

       เราเคยเข้าใจว่า กายนี่คือร่าง แต่เป็นความเข้าใจผิด เพราะคำว่า กายนี้ หมายถึงใจ เป็นหลัก ขณะที่เรามีร่าง แต่ใจไม่ได้ทำงาน ไม่รับรู้สัมผัสนอก แต่ก็อาศัยร่างนี้อยู่ ใจนั้นก็ยังมีร่าง ไม่ได้ขาดจากกัน ใจก็มีกายได้ เฉพาะใจนะ เรียกว่า นามกาย เป็นลักษณะของธาตุรู้ ในกายเรา แล้วประชุมกัน เรียกว่า นามกาย

       กายอันนี้แหละ ยิ่งใหญ่ องค์ประชุมอันนี้ เรียกว่า ปรมัตถธรรม เรียกว่า ทรงไว้อยู่ คนที่เกิดมา มีสิ่งที่ทรงไว้ ครบร่างกาย แล้ว ทีนี้ตายลง ทิ้งร่างกาย เหลือแต่ธรรมะ ที่ทรงอยู่ สิ่งที่ทรงอยู่ คือธรรมะ ถ้ายังไม่ปรินิพพาน เป็นปริโยสาน

       นิพพานมีสองอย่าง คือ นิพพานกิเลสตายสนิท เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน แต่การตายของกิเลส แต่ยังมีร่างกายอยู่ แต่พอตายอีกที เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน

       คนเราเกิดมา เพื่อใช้ร่างกาย สะสมธรรมะ แต่โง่สะสม อธรรมใส่จิต คำว่าอธรรม จะแปลว่า ไม่มีธรรมก็ได้ ถ้าแปลว่าธรรมะ คือสิ่งทรงไว้ เป็นความดีงาม อธรรมก็คือ ทรงไว้ ซึ่งความไม่ดีงาม หรือ ไม่ทรงไว้ในสิ่งดีงาม

       เมื่อได้ร่างกายมาแล้ว ไม่สะสมธรรมะ ก็โง่ๆๆๆๆ แต่คนที่ตื่นแล้ว ในชาตินี้ ไม่โง่แล้ว ก็จะมาสะสมธรรมะ ให้แก่จิต

       ทำให้ กาย วาจา ใจไม่ทำชั่ว นี่คือคำถาม?

       เมื่อทั้ง ๓ อย่างนี้ ไม่ทำชั่ว ก็ตัดรอบแล้ว
๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง (สัพพปาปัสสะ อกรณัง)
๒. บำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม (กุสลัสสูปสัมปทา)
๓. ความชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว (สจิตตปริโยทปนัง)
(พตปฎ. เล่ม ๒๕ ข้อ ๒๔)

       แล้วกรรมที่ทำไปแล้ว เอายางลบ ลบไม่ได้ เอาไฟเผา เอาอะไรมาล้างไม่ได้ ทำไปแล้ว เรามีสิทธิ์ ทำปัจจุบัน ถึงอนาคต ให้หยุดทำสิ่งชั่ว ต้องทำอย่างแข็งแรง มุ่งมั่นด้วย

       พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ทฤษฎี ที่จะกำจัดเหตุให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้.... รู้แล้วก็ไม่ง่าย
๑.    คัมภีรา (ลึกซึ้ง)
๒.    ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก)
๓.    ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก)
๔.    สันตา (สงบระงับ อย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่) สงบจากสิ่งที่ชั่ว เหตุร้าย ทำความไม่ดี แต่ไม่ได้สงบจาก พลังงานสร้างสรร กุสลัสสูปสัมปทา พลังงานที่ ไม่สันโดษในกุศล ไม่ได้หยุดนิ่ง ไม่ได้เงียบ แต่เรียกว่าสงบ สงบจากพลังชั่ว พลังเสื่อม ไม่เกิดสิ่งเจริญ สงบจากสิ่งนั้นเป็นเหตุ ไม่ใช่พาซื่อว่าสงบแล้ว ไม่ต้องทำอะไร ถ้าอย่างนั้น ก้อนหินก็นิพพานสิ
๕.    ปณีตา (สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น) ไม่ใช่ของหยาบหรือกลาง แต่เป็นสิ่ง ละเอียดยิ่ง
๖.    อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้)
๗.    นิปุณา (ละเอียดลึก ถึงขั้นนิพพาน) เป็นเชิงซ้อนของ ปณีตา ลึกละเอียดยิ่งกว่า ปณีตา
๘.    ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะ ผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริง เท่านั้น)
        (พตปฎ. เล่ม ๙ ข้อ ๓๔)

       ธรรมะของพระพุทธเจ้า จึงสุดลึกซึ้ง แล้วทำอย่างไรจะได้?....
       จะยังไม่พูดถึงได้อย่างไร ตอนนี้ แต่จะพูดในงานสัปดาห์ วิสาขบูชาวิชิตชัย
       จะพูดถึง สัตว์ทางจิตวิญญาณ เป็นสัตว์ทางนามธรรม แล้วจะระงับ กำจัดสัตว์ ได้อย่างไร?
       ความเป็นสัตว์ พระพุทธเจ้าแจกไว้ ๙ อย่าง ที่ถูกผูกไว้ หรือเป็นสังโยชน์ เมื่อเรากำจัดสัตว์ได้ จิตเราก็ ทรงไว้ซึ่งธรรม ไม่มีความเป็นสัตว์ เหลืออยู่อีก

       พรุ่งนี้วันที่ ๕ จะมีเหตุการณ์ เหลืองทั้งแผ่นดิน ต้องถ่ายทอด ให้โลกเห็น เหลืองทั้งแผ่นดิน วันนี้จะไม่พูดว่า จะมีธรรมะ บริสุทธิ์แท้ๆได้อย่างไร? แต่จะพูดว่า

       ขณะปัจจุบันนี้ แม้พระพุทธเจ้า ประกาศทฤษฎีพุทธ ไว้นานกว่า ๒๕๐๐ ปี หลายคนบอกว่าศาสนาพุทธเสื่อม ซึ่งเป็นคำพูดผิด ที่จริงนั้น คนเสื่อมต่างหาก

       ศาสนาเสื่อมเพราะคน แต่ธรรมะ ไม่มีวันเสื่อม

       ศาสนาเสื่อมเพราะคน เพราะศาสนา เกิดจากคน ส่วนคนนั้น เสื่อมเพราะตนเอง ทำให้ตนเสื่อม ดีไม่ดี ทำให้คนอื่น และศาสนาเสื่อมด้วย คนนี่ชั่วหลายอย่าง

       ส่วนธรรมะนั้นคือธรรม และอธรรมคืออธรรม สิ่งที่ทรงไว้ มันเป็นตัวของมันเอง ใครไปทำให้มันเสื่อมไม่ได้ ธรรมะมีอยู่ตลอดกาล คนสามารถทำ ให้มีธรรมะได้ เป็นสิ่งที่ นิรันดร ตลอดกาล สำหรับธรรมะ ไม่เกิดไม่ดับ ทรงอยู่ตลอดกาล คนไปทำให้ธรรมะเสื่อม ก็ไม่ได้ แต่คนต่างหาก เสื่อมจากธรรมะ

       คนเกิดมาควรมีธรรมะ สังคมควรได้ธรรม จึงเป็นสุข ปกติคนสามัญทุกคนก็อยากมีธรรมะกันทั้งนั้น ยกเว้นคนจิตวิปริต ก็จะไม่เอาธรรม ถ้าคนสามัญปกติ ก็อยากจะมี จะได้ธรรมะ กันทั้งนั้น
       ธรรมะของศาสนาพุทธ มีทฤษฎีที่ สมบูรณ์ยิ่ง ผู้ใดที่ศึกษาอย่าง สัมมาทิฏฐิ แล้วปฏิบัติอย่าง สัมมาปฏิบัติ จนทำใจในใจ ให้ถ่องแท้ได้ (โยนิโสมนสิการ) ผู้โยนิโสฯ ได้ก็จะได้ธรรมะ ตามธรรม สมควรแก่ธรรม (ธัมมานุธัมมปฏิปฏิ)

       ก็ถามกันว่า สัมมาทิฏฐิคืออะไร ? จะเริ่มปฏิบัติธรรม จากตรงไหน บอกได้เลยว่า ศาสนาพุทธ ปฏิบัติอยู่ ทุกอิริยาบท ของตนเอง ปฏิบัติได้ทุกเมื่อ ไม่ต้องไปหาสถานที่ พิเศษเลย ทำความเข้าใจ ให้ชัดเจน

       ทำแล้ว ถ้าทำใจในใจเป็น ใจก็สะสม เหตุปัจจัยที่มีผล หยั่งลงตั้งมั่น เรียกว่าสมาธิ หรือใจที่ตั้งมั่น เป็นจิต ปราศจากกิเลส ที่ทำให้ไม่ดี ชั่วหรือก่อทุกข์ สมาธิของพระพุทธเจ้า คือทำให้ทุกขณะที่มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอยู่

       จะเกิดสมาธิ คือสั่งสมผลตั้งมั่น ส่วนการทำใจในใจ ให้กิเลสออกนั้น ทำให้กาย วาจา ใจ เพราะมีเหตุ ก็กำจัดเหตุ การกำจัดกิเลส หรือเหตุไม่ดี เราเรียกว่า ทำฌาน

       ฌานเป็นพลังพิเศษ เหมือนธาตุไฟกองใหญ่ พิเศษ มีฤทธิ์ ทำลายกิเลสได้จริง มีประสิทธิภาพสำเร็จ หากเป็นฌาน ที่ถูกต้อง

       เมื่อเผาทำลายกิเลสได้ ก็สั่งสมเป็นสมาธิ ทำได้ทุกลมหายใจ เข้าออก ทุกอานาปานะ ขอให้มีสติ ระลึกรู้สึกตัว ทุกเมื่อ สิ่งที่ควรรู้ ทุกเมื่อ ใน ทวาร ๖ ทำงานสัมผัสก็รู้ทัน มันจะปรุงแต่ง ก็รู้ทัน มีการสังเคราะห์สังขาร เราก็ทัน

       กิเลสมันไม่ใช่เรา เราโง่ ที่ให้มัน พาเราสุขทุกข์ พิจารณาเข้าใจ จนเรารู้ว่า ไปสะสมไปทำไม เราเห็นว่า มันไม่ดี มันจะเห็นว่า มันคลายได้ ไม่มีบทบาท ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ถาวร เปลี่ยนแปลงได้ หมดไปได้ สูญไปได้ ไม่มีอาการนี้ได้ด้วย ทำบ่อยๆ จนมันไม่มี มันก็สงบ เมื่อไม่มีพลังงานชั่ว ก็จะมีแต่พลังงานดี สงบที่วิเศษ

       พระพุทธเจ้าตรัสว่า สิ่งที่แสดงถึงวิมุติ คือพลัง .. พลังนี้สะอาด บริสุทธิ์ประเสริฐ ไม่มีโทษภัยเลย ชีวิตคน ควรทรงไว้ ในพลังงานนี้
๑. มีอายุหะ คือ มีอิทธิบาท เป็นเครื่องแสดง
๒. มีวรรณะ คือ มีศีลผุดผ่อง           ”
๓. มีสุขะ คือ มีฌาน ๔                      ”
๔. มีโภคะ คือ มีพรหมวิหาร ๔        ”
๕. มีพละ คือ มีวิมุติหลุดพ้น เป็นพลังแสดง
พตปฎ. เล่ม ๑๑  ข้อ ๕๐

       เป็นสภาพที่ควรสร้างควรเป็น แต่คนเรา เกิดมาโง่ ที่ไปใช้ร่างกายนี้ เกิดการสะสม อธรรมในจิต แทนที่ ควรได้ธรรมะ กลับไปสะสมอธรรม แล้วคนสะสม อธรรม นี่เสื่อมนะ

       คนที่เกิดมา ไม่ได้สะสมธรรม เกิดมาชาติหนึ่ง มีร่างกาย เป็นมนุษย์ มีสุรภาโว สติมันโต อิธ พรหมจริยวาโส แล้วไม่ได้ สะสมธรรม ก็เรียกว่า โมฆบุรุษ

       แต่ก่อนนี้ คุณเป็นคนเสื่อม แต่ตอนนี้ คุณตอบได้อย่าง ไม่กระมิด กระเมี้ยนเลยว่า เจริญขึ้น

       คนเรา หากไม่ได้รู้จักทฤษฎี ในการจัดการกับกาย วาจา ใจเราให้ดี ก็อยู่อย่างแสวง โลกธรรม แข่งขัน แก่งแย่ง ดีไม่ดี ทุจริตไม่ละอาย ก็จะเจริญได้อย่างไร มีแต่เสื่อมกับเสื่อม แต่ก่อน อาตมาก็เป็นเช่นนั้น

       และพระพุทธเจ้า ให้หลักในการตรวจว่า เราเสื่อมหรือไม่? ต่อให้เป็นนายกฯ หรือเป็นใหญ่ ขั้นไหน ก็แล้วแต่ หรือเป็นศาสตราจารย์ อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้ตามหลัก ๗ ข้อนี้ ก็ถือว่า เป็นคนเสื่อม

๑.    ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ (ภิกขุทัสสนัง หาเปติ)
๒.    ละเลยการฟังธรรม (สัทธัมมัสสวนัง ปมัชชติ)
๓.    ไม่ศึกษาในอธิศีล (อธิสีเล น สิกขติ)
๔.    ไม่มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุ ทั้งที่เป็นเถระ ผู้ใหม่ และปานกลาง
๕.    เพ่งโทษฟังธรรม (ธัมมัง สุณาติรันธคเวสี)
๖.    แสวงหาเขตบุญอื่น ภายนอกศาสนานี้ (พหิทธา ทักขิเณยยัง คเวสติ)
๗.    ทำสักการะก่อน ในเขตบุญนอกศาสนานี้ (ตัตถะ จ  ปุพพการัง กโรติ)
       (พตปฎ. เล่ม ๒๓  ข้อ ๒๗)

       ๗ ข้อนี้ ชี้วัดว่า ถ้าคุณไม่ครบ ๗ ข้อนี้ คุณไม่มีศาสนาพุทธเลย ออกนอกเขตเทศบาลพุทธเลย

       เริ่มแต่ข้อ ๑ ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ....ถามตัวเองว่า เกิดมาอายุปูนนี้แล้ว ได้เยี่ยมเยียนภิกษุหรือไม่ ...คุณอาจไป แต่ว่าไปตามสังคม ไม่ได้ตั้งจิตเยี่ยม เพราะคำว่าภิกษุ คือผู้สืบทอดธรรมะ ของพระพุทธเจ้า คือผู้รู้ที่เราเคารพนับถือ เป็นตัวแทน ศาสนาพุทธ ผู้สืบทอด พุทธรรม เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

       ข้อ ๒ ​คือละเลยการฟังธรรม ก็เมื่อไม่พบภิกษุ ก็จะได้ฟังธรรมได้อย่างไร? ทุกวันนี้ ก็มีเครื่องไอที หลายอย่าง เปิดฟังได้ตลอด แต่ยุคก่อน ไม่ได้มีเครื่องมือพวกนี้... เราจะได้ธรรมะ ก็ได้จากภิกษุ เป็นธัมกถึก เป็นผู้มีธรรมแท้ ต้องหาภิกษุเช่นนี้ ไม่ใช่ไปหาภิกษุ ขี้หลอก ต้องนับว่า ต้องไปเยี่ยมท่านเพื่อได้ฟังธรรมจากท่าน แม้ไปพบท่านแล้ว ก็ละเลย การฟังธรรม คุณก็เสื่อมอีก คุณต้องการ ไปเอาสิ่งดีๆ จากท่าน แต่ก็ละเลยฟังธรรม

       นอกจาก คุณจะเป็นปัจเจก หรือ สยังอภิญญาเอง ก็ปฏิบัติเองได้ แต่ผู้เป็นปัจเจก เมื่อมีผู้มีภูมิธรรม เหนือกว่าตน ก็จะต้องไปแสวงหา ไม่ละเลย

       ชาตินี้เกิดมา ควรได้ธรรมะ ไม่ใช่ไปหลงโลกธรรม ชีวิตถูกโลกธรรม ดึงไปหมด ไม่ว่าง เอาบุญ ไปฝากหน่อยนะ เป็นต้น ถ้ามันฝากกันได้ ก็ให้ซื้อเองเลย แต่ที่จริงซื้อไม่ได้ ฝากไม่ได้ ต้องทำเอง

       เพราะชีวิตเกิดมา ไม่รู้ว่า ควรได้ธรรมะ แต่ไปเข้าใจว่า โลกธรรม สรรเสริญ เพชรนิลจินดา ต่างหาก ที่ควรได้ คิดไปเช่นนั้นอีก

       ผู้มีธรรมต่างหาก ที่เราควรสักการะ เราไปเยี่ยมท่าน เพื่อฟังธรรม เพื่อได้หลักปฏิบัติ ต้องแสวงหาภิกษุ ที่ธรรมะจริง ไม่ใช่ธรรมะปลอม

       ในสัมมาทิฏฐิ ข้อที่ ๑๐ คุณต้องหาให้เจอ หากชาตินี้คุณไม่เจอ ก็ไม่ได้บรรลุธรรม เพราะในสัมมาทิฏฐิ ข้อที่ ๑๐. สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ -ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ -โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)      (พตปฎ. เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๕๗)

       หากผู้ใด หาไม่เจอ และคิดว่า ไม่มีอีก ก็สิ้นท่าเลย ภิกษุที่ควรเยี่ยมเยียน เป็นสัตบุรุษ ผู้ควรไปฟังธรรม ตามหลักหลายข้อ เช่น มงคล ๓๘ ก็ต้องมีการพบสมณะ

       หากไม่ได้พบสมณะ ก็โมฆบุรุษแท้ๆเลย ไม่ได้ฟังธรรม ก็ไม่ได้ศึกษาอธิศีล เพื่อพบสัตบุรุษ ท่านก็จะให้วิธี ปฏิบัติให้เจริญ แต่ถ้าไม่ได้ฟังเลย แม้แต่ศีล คืออย่างไร ปฏิบัติอย่างไร ก็จะปฏิบัติได้อย่างไร
      
       ได้อานิสงส์ ๑๐ ของศีล (กุสลานิ สีลานิ อนุปุพเพนะ อรหัตตายะ ปูเรนตีติ) ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตผล ให้บริบูรณ์ ไปตามลำดับ
๑. อวิปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อนใจ) 
๒. ปามุชชะ - ปราโมทย์ (มีความยินดี)         
๓. ปีติ (ความอิ่มเอมใจ)   
๔. ปัสสัทธิ (สงบระงับจากกิเลส)     
๕. สุข (แบบไม่บำเรอตน คือ วูปสมสุข)
๖. สมาธิ (จิตมั่นคง)
๗. ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้ยิ่งในความจริง)
๘. นิพพิทา (เบื่อหน่าย)
๙. วิราคะ (คลายกิเลส)
๑๐.วิมุติญาณทัสสนะ (ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในนิพพาน)
(กิมัตถิยสูตร พตฎ. เล่ม ๒๔ ข้อ ๑ , ๒๐๘)

       ไม่เคยมีคำสอน ของพระพุทธเจ้า ให้ไปนั่งหลับตา ทำสมาธิ
       เมื่อไม่เยี่ยมเยียนภิกษุ ก็จะไม่ได้ศึกษา ศีลอธิศีล ไม่รู้คุณค่า ก็ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส ในภิกษุ ผู้เป็นเถระ ใหม่ ปานกลาง ถือว่าเสื่อมหนัก หนักเข้า ก็ฟังธรรมเพ่งโทสเลย ยิ่งไปเรียนมา จบพุทธศาสตร์ หรือศึกษาเองเลย พระไตรฯก็มี มีตำรามากมาย  ยิ่งศึกษาก็ว่า เราก็รู้แล้ว ฟังภิกษุก็ว่า เทศน์ไม่เหมือน ที่เรารู้เลย ก็ไม่แค่เสื่อมแล้ว ลงนรกชัดๆ

       ถ้าข้อ ๑ ถึง ๕ ก็ไม่ได้ทำแล้ว ข้อ ๖ คุณก็แสวงบุญ นอกขอบเขตพุทธ แหงๆเลย แสวงบุญนอกขอบเขตพุทธคือ.. บุญคือ ชำระกิเลส คุณก็ทำบุญ นอกรีตพุทธ ได้ทำทาน ก็ได้รับ การยกย่อง เป็นมัคนายก ก็รวยได้ มีคนทำทาน อาจารย์ก็หลง เงินทอง คุณเป็นประธานใหญ่ คนเคารพนับถือ คุณก็ได้บุญแบบนั้น กับพระแบบนั้น พระแบบคนที่ยกย่อง แต่คนร่ำรวย หลงไปด้วยกัน ทั้งสองคน ทั้งพระและทายก ต่างคนต่างไม่รู้ ใครปอกลอกใคร ไม่รู้ว่า พระปอกลอกโยม หรือโยมปอกลอกพระ โยมไปทำบุญ นึกว่าได้บุญ แต่ว่าที่จริง ถูกปอกลอก (ที่พูดนี้ตำหนินะ นิคคัณเห นิคคหารหัง) ไม่ได้เจาะจงใคร พูดกว้างๆ

       ก็ทำบุญแบบหลงทาน ทำทานยังเป็น นัตถิ ทินนัง คือกิเลสเพิ่ม แทบทุกวัดเลย สอนทานแล้ว ไม่มีผล ไม่พาลดกิเลส มีแต่จะแต่งบาลี ให้ร่ำรวย ให้ตั้งจิตอีก ขอให้รวยๆ บุญใหญ่ ได้รวยมากๆ แล้วจะได้มาถวาย ท่านอาจารย์อีก แค่ไม่ตั้งจิต ก็จะเพิ่มกิเลสแล้ว แต่นี่ยิ่งตั้งจิตอีก มุ่งหมายขอ ให้ได้มามากกว่าเดิม ได้เร็วเท่าไหร่ มากเท่าไหร่ยิ่งดี ไม่ได้ตั้งจิต ให้เอาออก ไม่ได้ล้างกาม ไม่ได้ล้าง ความใคร่อยาก

       ทุกวันนี้ คนที่เขาว่าเป็น อรหันต์ ก็ยังสอนทาน ไม่ได้มีสัมมาทิฏฐิเลย คำว่า  แสวงบุญ นอกขอบเขตพุทธ นี้เขาเข้าใจคำว่า บุญไม่ได้ เข้าใจบุญ กับ ทาน ไม่ได้ เข้าใจว่า บุญคือ สิ่งที่จะได้ ส่วนทาน คือสิ่งที่จะให้

       บุญคือ ได้เอาออก ได้สละ ได้ลดกิเลส นี่คือได้บุญ แต่ที่จริง บุญไม่ใช่สิ่งที่จะได้ บุญคือการสละออก จึงไปแสวงบุญ ​คือ ให้เกิดการชำระจิต

       คนที่หลง คำสอนมิจฉาทิฏฐิ ก็จะแสวงบุญ นอกขอบเขตพุทธ

       ความเสื่อมของผู้แสวงหาอันผิดๆ    (อัมพัฏฐสูตร เล่ม ๙ ข้อ ๑๖๓) พระพุทธเจ้า ตรัสสูตรน ี้ตั้งแต่ ศาสนาพุทธไม่เสื่อม ท่านพยากรณ์ไว้แล้วกับ อัมพัฏฐมานพ ที่มีอาจารย์ชื่อ โปกขรสาติ
๑. ผู้ยังไม่มีวิชชาและจรณะ แต่ไปแสวงหา อาจารย์ในป่า โดยเก็บผลไม้หล่น กินบำรุงชีพ อย่างมักน้อยมากๆ (ข้อนี้อาจารย์ยังมีศีล มีวินัย ไม่ขุดดิน ไม่ปลูกต้นไม้) แต่เสื่อมแล้ว เพราะอาจารย์ของพุทธ ไม่ได้อยู่ในป่า

๒.ไม่เก็บผลไม้กิน แต่ถือเสียม ตะกร้า หาขุดเหง้าไม้   หาผลไม้กิน ระหว่าง ออกแสวงหา อาจารย์ในป่า (ข้อนี้ไม่มีวินัยแล้ว ถือเสียมเลย ขุดดินเลย ละเมิดศีล ไม่มีวินัยแล้ว ) ไปบำเรออาจารย์ ในป่า

๓. สร้างเรือนไฟไว้ใกล้หมู่บ้าน แล้วบำเรอไฟ รออาจารย์ (สร้างโรงเรือน บำเรออาจารย์ในป่า ) ปฏิบัติมีเรือนไฟ คือ มีอัคคียัญ จุดธูปเทียน ออกนอกรีต วินัย ไปหมดแล้ว เพื่อให้คนมา ทำบุญทำทาน หากินกับคน ใช้เรือนไฟ แบบศาสนาโบราณ ที่ใช้ไฟใช้น้ำ เป็นยัญพิธี

๔.สร้างเรือน มีประตูสี่ด้าน ไว้ที่หนทางใหญ่ สี่แพร่ง แล้วสำนัก รอท่านผู้ มีวิชชาและจรณะอยู่ ข้อนี้สร้างโรงเรือน โบสถ์วิหารใหญ่โต เพื่อเรียกคน อยู่ในทางสี่แพร่ง คือให้คนมาได้ง่าย ต้องการให้คนมาเป็นเหยื่อ นี่คือ เสื่อมสุดยอดแล้ว ตอนนี้ ไม่อยู่ในป่าแล้ว อยู่ในเมือง แต่ลึกๆ พระอยู่ในเมือง ก็ยังคิดว่า ปฏิบัติต้องออกป่า นี่ก็คิดผิดแล้ว แต่ก็อยู่ในเมือง แล้วก็ตบแต่ง ปรับปรุง มาลาคันธวิเลปนธารณ มัณฑนะ วิภูสนัฏฐานา เป็นข้าศึกแก่กุศล ทำอย่างไม่เข้าใจ ศีลธรรมเลย

       ที่พูดนี่ อยากให้ท่านได้สติ ได้สำนึก ปรับปรุงเสีย ท่านจะได้ ไม่มีบาปมีภัย เพิ่มขึ้น เจตนาดีเช่นนั้น แต่คิดว่า เขาไม่เชื่อหรอก อาตมาเดานะ แต่ถ้าเดาผิด ก็ขออภัยอย่างยิ่งเลย ที่อาตมาเดาผิด เป็นเชิงเหยียดหยาม

       สรุปแล้ว สังคมทุกวันนี้ เสื่อมกว่า ความเสื่อม ๗ ประการแล้ว เอาไปตรวจสอบดู ตั้งแต่ข้อที่ ๑ ไปเรื่อยๆ แต่ถ้ายังไม่ถึงข้อ ๗ ก็ค่อยยังชั่ว

       พระพุทธเจ้า ท่านสอนเราไว้หมด เตือนไว้ทุกแง่มุม หากเราไม่เอามา ตรวจสอบให้ดี ที่อาตมาพูดนี้ เขาก็เรียนกันนะ เข้าใจกัน แต่ไม่ได้เข้าถึง สัจจะพวกนี้เท่าไหร่ ไม่เอามา เตือนสำนึก แก่พุทธศาสนิกชนเลย ที่พูดนี่ เอามาเตือน พุทธศาสนิกชน ว่าเราได้เสื่อม ตามนัย ๗ ข้อนี้หรือไม่? หรือยังเหลืออยู่บ้าง มันเสื่อมจริงหรือเปล่า?

       อาตมาต้องพูดว่า มันเสื่อมจริงแล้ว ... ทุกวันนี้ในเมืองไทย คนไปเยี่ยมภิกษุ ไปขอหวย สะเดาะเคราะห์ ไปทำทาน แต่ไปหลงว่าได้บุญ เพื่อรวย โลกธรรม แทนที่จะได้ ลดกิเลส

       มีอยู่น้อยเหลือเกิน ที่จะแสวงหาความถูกต้อง จนไปเจอ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เพราะการพบ สัตบุรุษ เป็นอาหารของวิชชา หรือ ตัณหาสูตร
๑.    การไม่คบสัปบุรุษ เป็นอาหารของ การไม่ได้ฟังสัทธรรม ที่ถูกต้อง
๒.    การไม่ได้ฟังสัทธรรม เป็นอาหารของ ความไม่มีศรัทธา (หรือศรัทธาผิดๆ)
๓.    ความไม่มีศรัทธา (ศรัทธาไม่บริบูรณ์) เป็นอาหารของ การทำไว้ในใจ โดยไม่แยบคาย
๔.    การกระทำในใจ โดยไม่แยบคาย (หรือทำใจไม่เป็น) เป็นอาหารของ..  ความไม่มีสติสัมปชัญญะ
๕.    ความไม่มีสติสัมปชัญญะ (หรือทำสติไม่เป็น) เป็นอาหารของ.. ความไม่สำรวมอินทรีย์
๖.    การไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของ.. ทุจริต ๓ (กาย,วาจา,ใจ ทุจริต)
๗.    ทุจริต ๓ เป็นอาหารของ.. นิวรณ์ ๕
๘.    นิวรณ์ ๕ เป็นอาหารของ.. อวิชชา
๙.    อวิชชา เป็นอาหารของ ภวตัณหา
(พตปฎ. เล่ม ๒๔  ข้อ ๖๒)
      
       แม้คุณพบสัตบุรุณแล้ว ก็ต้องฟังธรรมให้บริบูรณ์​
อาหารสู่โพชฌงค์ (๑)
๑.    การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การฟัง สัทธรรม ที่บริบูรณ์
๒.    การฟังสัทธรรมบริบูรณ์ ย่อมทำศรัทธา ให้บริบูรณ์
๓.    ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำมนสิการโดยแยบคาย ให้บริบูรณ์
๔.    การมนสิการโดยแยบคาย ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ สติสัมปชัญญะ บริบูรณ์ ที่จะรู้ทันผัสสะ รู้ทันเวทนา
๕.    สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความสำรวมอินทรีย์ บริบูรณ์
๖.    ความสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สุจริต ๓ บริบูรณ์ คือ กาย วาจา ใจ เลิกทำการงานทุจริต
๗.    สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์
๘.    สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
๙.    โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ วิชชาและวิมุติ บริบูรณ์
         (อวิชชาสูตร พตปฎ. เล่ม ๒๔ ข้อ ๖๑)

       สรุปว่า ชีวิตคน ควรได้สิ่งที่ควรได้ คือธรรมะ ทุกวันนี้ อาตมาเทศน์ ได้สรรเสริญ มากกว่านินทา พอสมควร แต่ก่อนนี้ ทางมหาเถรสมาคม ปกาสนียกรรม อาตมาก็โดนหนัก คนก็ไม่เคารพยอมรับ ตามกระแสโลก เขาก็เชื่อ มหาเถรสมาคม อาตมาก็ได้รับ การลบหลู่ มากกว่าสรรเสริญ ​อาตมาเข้าใจ ไม่มีปัญหา ก็พยายาม ทำงานมา จนทุกวันนี้ ก็เปลี่ยนแปลง คลี่คลาย มีนินทาน้อยลง สรรเสริญเพิ่มขึ้น อาตมาวัดเอง ตามภูมินะ เพราะเข้าใจ ยิ่งยาวนาน ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน มันยาวนานมา ก็ได้รับการพิสูจน์ว่า ไม่ใช่คนที่ มาทำลาย ทำเสียหาย พอนานไป ก็ดูเหมือนถูก จนถึงเชื่อว่าถูก และถูกจริงๆแฮะ สุดท้าย ถึงขั้นยอมรับว่า ถูกจริงๆ ก็ใช้ได้ คนติเตียนมา อาตมาก็ตรวจสอบ โดยเฉพาะ ไตรปิฎก ที่มีอยู่ ก็ยังใช้ได้เลย ทั้งไทยและบาลี

       คนแปลฉบับหลวง สมบูรณ์แบบที่สุด ฉบับนี้เผยแพร่พศ.๒๕๐๐ ที่แพร่หลาย ตอนหลังก็มีอีกหลายฉบับ ก็มีเพิ่มเติม ล้วนแล้วแต่ ผู้ที่แปลพระไตรปิฎก ท่านทุกคน ยอมรับว่า ตนไม่ใช่อรหันต์ จึงได้มาตามนั้น ท่านก็พยายามยืนยัน ตามพยัญชนะ ต้องขอบคุณยิ่ง อาตมาก็ได้อาศัย แต่มีบางคำความ ที่อาตมาเห็นว่า ไม่ตรงตามภูมิอาตมา อาตมาตรวจสอบว่า ถูกอย่างไร ก็ยืนยันตามนั้น      

   www.asoke.info