570507_พ่อครูเทศน์ในงานสัปดาห์วิสาขบูชาวิชิตชัย สะพานผ่านฟ้า
ปักหลักเปิดโลก ตอนที่ ๒

         อาตมาได้ปักหลักเปิดโลก และเป็นวันที่ ๒๗๔ วัน ของกองทัพธรรม อีก ๒๖ วันก็ ๓๐๐ วันแล้ว สถิตินี้ มันไม่มีใคร จะทำลายได้ง่ายๆนะ ที่ทำได้อย่างนี้ เพราะธรรมะ ไม่ใช่อย่างอื่นเลย

       อาตมาได้ขึ้นต้นไปแล้ว เกริ่นบอกถึงลักษณะของ ความเป็นสัตว์ ที่อยู่ในคน พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ว่าเป็นคนนี่ แล้วมี ความเป็นสัตว์อยู่ในคน ผู้ที่ยังอวิชชา ก็มีสัตว์อยู่ในตัว เราเรียกสัตว์นั้นว่า สัตตาโอปปาติกา อยู่ในพระไตรฯ ล.๒๓ ข้อ ๒๒๘

       ขอแก้ข้อมูล เรื่องพระพุทธเจ้า หลังจากได้รับการพยากรณ์ จากพระพุทธเจ้าแล้ว
๑.    ปัญญาธิกะ           ใช้เวลา       ๔ อสงไขย กับ แสน กัปป์
๒.    สัทธาธิกะ            ใช้เวลา       ๘ อสงไขย กับ แสน กัปป์
๓.    วิริยาธิกะ             ใช้เวลา       ๑๖ อสงไขย กับ แสน กัปป์
พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หลังจากได้รับการพยากรณ์ จากพระพุทธเจ้าแล้ว
๑.    ปัญญาธิกะ           ใช้เวลา       ๒ อสงไขย กับ แสน กัปป์
๒.    สัทธาธิกะ            ใช้เวลา       ๒ อสงไขย กับ แสน กัปป์
๓.    วิริยาธิกะ             ใช้เวลา       ๒ อสงไขย กับ แสน กัปป์

       ซึ่งปัจเจกพระพุทธเจ้า คือผู้ที่ตรัสรู้แล้ว แต่ไม่ได้สร้างศาสนา เท่านั้น

       พระปัจเจกพระพุทธเจ้า มีผู้ให้ความหมายว่า ได้เฉพาะตน สอนคนอื่นไม่ได้ อาตมาก็เห็นแย้ง อย่าว่าแต่ ปัจเจกเลย ทุกวันนี้ คนเลอะเทอะ ก็ยังสอนคนเลย แต่ที่จริงสอนได้ คำว่าได้เฉพาะตน นี้มีความหมาย กว้างว่า ท่านไม่ได้สร้างศาสนา ไม่ได้ประกาศศาสนา เป็นเจ้าแห่งศาสนา ได้เฉพาะท่าน เรียกว่าปัจเจก การไม่ได้ประกาศศาสนา มีสองนัย

       นัยหนึ่งคือ เป็นปัจเจก แต่ว่ามีวิบาก อนันตริยกรรม ร้ายแรงมาก อย่างพระเทวฑัต จึงไม่มีสิทธิ์ เป็นสัจจะ เหมือนกับผู้หญิง ไม่มีสิทธิ์ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นต้น มีสิ่งที่ตนไม่สามารถตรัสรู้

       อีกอันหนึ่ง ท่านตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า แต่ท่านไม่ประกาศศาสนาเอง ท่านปรินิพพานไปเอง

 ววัตถสัญญาสูตร
 [๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ชั้น ๙ ชั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก และ วินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เป็นสัตตาวาส ชั้นที่ ๑ ฯ
       สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดา ผู้อยู่ในชั้นพรหม ผู้เกิดในภูมิ ปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาส ชั้นที่ ๒ ฯ
       สัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนเทวดาชั้น อาภัสสระ นี้เป็น สัตตาวาส ชั้นที่ ๓ ฯ
       สัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดาชั้น สุภกิณหะ นี้เป็น สัตตาวาส ชั้นที่ ๔ ฯ
       สัตว์พวกหนึ่ง ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เหมือนเทวดาผู้เป็น อสัญญีสัตว์ นี้เป็น สัตตาวาส ชั้นที่ ๕ ฯ
       สัตว์พวกหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศหาที่สุด มิได้ เพราะล่วง รูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะดับ ปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา นี้เป็น สัตตาวาส ชั้นที่ ๖ ฯ
       สัตว์พวกหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้น วิญญาณัญจายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า วิญญาณ หาที่สุด มิได้ เพราะล่วง อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็น สัตตาวาส ชั้นที่ ๗ ฯ
       สัตว์พวกหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ โดยคำนึง เป็นอารมณ์ว่า อะไรหน่อยหนึ่ง ไม่มี เพราะล่วง วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาส ชั้นที่ ๘ ฯ
     สัตว์พวกหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วง อากิญจัญญายตนะ โดย ประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาส ชั้นที่ ๙ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ชั้นนี้แล ฯ
            จบสูตรที่ ๔          

       ซึ่งใน สัมมาทิฏฐิ ข้อที่ ๑๐. สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ -ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ -โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)  (พตปฎ. เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๕๗)

       ต้องขออภัยนะ ที่จะต้องบอกว่า อาตมาเป็น สยังอภิญญา ขออภัยที่ต้อง อวดอุตริมนุสธรรมนะ เขาอาจหมั่นไส้ แต่อาตมาจำเป็นต้อง ประกอบคำอธิบาย เพื่อให้รู้ว่า ยุคนี้ ศานาพุทธ ผ่านมา ๒๖๐๐ ปีแล้ว ศาสนาพุทธเสื่อม จนจะหาเชื้อ ไม่ได้แล้ว แม้ผู้ไม่เชื่อก็ตาม อาตมาก็ประกาศว่า ยังมีผู้ถึงขั้น สยังอภิญญา ขึ้นมาได้ ผู้ที่จะต้อง ฟังธรรมจากผู้รู้ ซึ่งเป็นสัตบุรุษ
            
       โสดาบัน มีภูมิเท่าโสดาบัน ถ่ายทอดให้คนได้ เท่าที่ตนเก่ง ก็คือโสดาบัน นั่นแหละ ส่วนมีอยู่ เหมือนกันว่า ผู้ที่สอนผู้อื่น เหมือนกับตัวเอง ไม่ค่อยบรรลุอะไร แต่ว่าไปสอนคนอื่น ผู้อื่นสามารถ บรรลุธรรมได้ อันนั้นเป็นเรื่อง ความซับซ้อน อจินไตย ผู้ที่ฟังธรรม ของพระพุทธเจ้า จากผู้ที่ได้ บัญญัติภาษา ที่ถูกต้อง ที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ตนเองรู้แต่ภาษา แต่สอนคนได้ แต่พอดี ลูกศิษย์คนนั้น เป็นผู้มี ภูมิธรรมอยู่แล้ว ท่านมีภูมิเก่า ก็เลยบรรลุ แต่ว่าไปเข้าใจผิด ว่าผู้ไม่บรรลุ ไปสอนให้คนอื่น บรรลุก็ได้ แต่ถ้าจะสอน ก็ต้องเอา คำสอนที่แท้ ไปสอน และผู้ที่รับฟัง ก็ต้องมีบารมี เป็นเรื่อง อจินไตย ที่ต้องอธิบาย

       สยังอภิญญา จึงเป็นคุณธรรม แม้ในเวลานี้ ชาตินี้ โพธิสัตว์ระดับ สยังอภิญญา ก็เจอได้ แต่คุณก็ยัง ไม่ศรัทธา ไม่เชื่อ แต่อาตมาพูดนี่ ไม่ได้บังคับ ให้คุณเชื่อนะ

       เพราะถ้าไม่เจอสมณะพราหมณ์ ที่สอนเราได้ ก็ไม่มีทางได้ สัมมาทิฏฐิ

       สัมมาทิฏฐิเป็นประธาน ในการปฏิบัติ มรรคองค์ ๘ เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิยา) ให้ผลวิบาก แก่ขันธ์ (อุปธิเวปักกา)
๑. ทานที่ให้แล้ว มีผล (ให้กิเลสลด) (อัตถิ ทินนัง)
๒. ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง)
๓. สังเวย(เสวย) ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง)
๔. ผลวิบากของกรรม ที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีแน่ (อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก)
๕. โลกนี้ มี (อัตถิ อยัง โลโก) วนอยู่ในโลกีย์เดิมๆ
๖. โลกหน้า มี (อัตถิ ปโร โลโก) หมายถึง โลกโลกุตระ
๗. มารดา มี (อัตถิ มาตา)
๘. บิดา มี (อัตถิ ปิตา)
๙. สัตว์ที่ผุดเกิดอุปปัติเอง มี (อัตถิ สัตตา โอปปาติกา)
๑๐. สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ -ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศ โลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่ง ด้วยตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)  (พตปฎ. เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๕๗)

       คุณอยู่ในขั้นไหนของ โลกุตรภูมิ ๙ (โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล อนาคามีมรรค อนาคามีผล อรหัตตมรรค อรหัตตผบ นิพพาน)
      
       รู้เหตุให้เกิดเป็นโสดาบัน สกิทาฯ … ก็เพราะว่ามี มาตา ปิตา ทำให้สัตว์ตาย สัตว์เกิด เพราะอกุศลเหตุตายไป ตายแล้ว จิตเราก็อุบัติขึ้น เกิดขึ้น เป็นการตาย อย่างผุดเกิด ไม่เหลือซากอะไร ไม่มีตัวตน พอจิตเราอันนี้ ตายสนิทแล้ว อย่างนิจจัง (เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง (ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง (ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง (ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง (ไม่กลับกำเริบ)

       การตายการเกิดนี้ คือการตาย ทางจิตวิญญาณ​ นิพพานนี้คือ การตายการเกิด ทางจิตวิญญาณ เป็นสัตว์ ทางจิตวิญญาณ เรารู้ความเป็น แม่และพ่อ ทางจิตวิญญาณ

       เช่น พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราเป็นแม่ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นแม่ พระสารีบุตร เป็นแม่เลี้ยง ส่วนพระโมคคัลลานะ เป็นแม่นม มีอยู่ในพระไตรปิฎก

       เช่นศีลเป็นแม่ ปัญญาเป็นพ่อ
ปัญญาอันศีลชำระ ให้บริสุทธิ์ (โสณทัณฑสูตร ศีลอันปัญญาชำระ ให้บริสุทธิ์ ล.๙ ข.๑๙๓)
       ศีลมีในบุคคลใด ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น
       ปัญญามีในบุคคลใด ศีลก็มีในบุคคลนั้น
ปัญญาเป็นของบุคคลผู้มีศีล และศีลก็เป็นของผู้มีปัญญา นักปราชญ์ย่อมกล่าว ศีลกับปัญญา ว่าเป็นยอดในโลก เหมือนบุคคล ล้างมือด้วยมือ หรือ ล้างเท้าด้วยเท้า ฉะนั้น

       การปฏิบัติ ที่ไม่มีหลักเลย เช่น ไปนั่งสมาธิ หลับตา ก็ไม่เข้าใจว่า ศีลขัดเกลาอย่างไร โพชฌงค์ ๗ สติปัฏฐาน ร่วมกันทำอย่างไร ก็ไม่รู้

       พวกไปนั่งหลับตา ทำสมาธินั้น ไม่ได้เรียนรู้ สัตว์กามภพ สัตว์อบาย อย่างไรเลย ไปเอาแต่เพ่งกสิณ แทนที่ จะเพ่งพินิจ แต่กลับไป เพ่งจดจ่อ อธิบายฌานผิดๆ มาหมดเลย ของพุทธ ต้องเพ่งรู้ เหตุปัจจัย แล้วกำจัด เหตุแห่งทุกข์

       ไปนั่งหลับตา ก็ไม่ได้เรียนรู้ สัตตาวาส ๙ เช่น สัตตาวาส ข้อที่ ๑
๑.    สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า
       แต่ฌานนั่งหลับตา เป็นอุปการะ คุณก็เอาแต่นิ่ง ทำจิต ไม่ให้มีนิวรณ์ คุณได้จิตนิ่ง แต่ไม่ได้รู้จัก ความเป็นสัตว์ ฌานชนิดนี้ คุณสัญญา กำหนดหมายไม่เป็น คุณได้ฌานเหมือน สัตตาวาส ข้อที่ ๒
๒.    สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพ จำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิ ปฐมฌาน เป็นต้น เครื่องหมายของฌาน คือจิตไม่มีนิวรณ์ ๕ ขณะที่คุณทำจิต ไม่ให้มีนิวรณ์ ๕ ได้เมื่อใด เมื่อนั้น จิตเป็นฌาน แต่คุณก็ได้ฌาน ที่มีองค์ประชุมของจิต หรือ กาย นี่ไม่เหมือน ของพุทธ เรียกว่า กายต่างกัน กายของพุทธนี่ลืมตา ไม่ใช่นิ่งแข็งแคบ อยู่ในภพ ในภวังค์ ไม่สามารถลืมตา มีผัสสะได้ เพราะนิวรณ์ ๕ จะเข้ามา คุณอาจกดข่มได้ ชำนาญ ฝึกเข้ามากๆ ลืมตามา ก็ไม่มีกิเลสเข้า แต่นานไปจะเข้า เพราะคุณไม่เคยได้ฝึก รับผัสสะ ตั้งแต่หยาบ กลาง ละเอียด เพราะฉะนั้น คนที่นั่งสมาธิหลับตา แล้วนึกว่า ตนเป็นอรหันต์ ก็ยังติดรส ในกามคุณ ๕ เพราะไม่ได้ฝึกฝน อย่างลดละกิเลส เมื่อมีผัสสะ เอาแต่ฝึกนั่งหลับตา แม้ฝึกบ้าง ก็ไม่สัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย เพราะไม่เข้าใจ คำว่า กาย

       ในสัตตาวาส ข้อที่ ๒ นี้ คุณปฏิบัติ มีฌานแล้วนะ ในขณะปฏิบัติ ไม่มีวิญญาณฐิติ ๖ มีแต่อายตนะใน ที่มีแต่มนายตนะ กับธรรมายตนะ ไม่ครบ กาย เพราะกายที่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในบุคคล ๗ หรือ สัมมาทิฏฐิ

       นิโรธของพุทธต้อง มีสัมผัสเป็นปัจจัย มีวิญญาณ ในขณะปฏิบัติ ต้องปฏิบัติในขณะ มีวิญญาณฐิติ ๗ และต้องมี กายที่มีผัสสะ ครบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

       แม้กายสักขี รู้จัก กาย แต่ก็ไม่ละเอียดพอ จะต้อง มีวิโมกข์ ๘ ๑. ผู้มีรูป (รูปฌาน) ย่อมเห็นรูป ทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ) จิตจะต้องรู้จักรูป (รูปคือสิ่งที่ถูกรู้)

๒. ผู้ไม่มีความสำคัญ ในรูปภายใน (๑๐/๖๖) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธารูปานิ ปัสสติ) (พค.แปลว่า มีสัญญาใส่ใจในอรูป คือรู้ทั้ง รูปภายนอก ไปจนถึง รูปภายใน ต้องเห็นทุกเวลา แม้ขั้นอรูป ก็ต้องใส่ใจกำหนด)

       ต้องรู้จัก วิญญาณฐิติ ๗ คือปฏิบัติขณะ เกิดวิญญาณ คือต้องมีผัสสะ แล้วรู้เหตุแห่ง การเกิดสุขทุกข์ แล้วจัดการ ปหาน ๕ ทำให้ชำนาญ สั่งสม เป็นอดีต ที่เที่ยงแท้ ทุกปัจจุบัน สั่งสมเป็นอนาคต ที่แน่นอนว่า กิเลสเป็นสูญแน่

       โสดาบันก็ลืมตาปฏิบัติ ได้ฌานนิโรธวิมุติ พอเป็นสกิทาฯ ก็ปฏิบัติ ลืมตาปฏิบัติ ในกามภพ เมื่อหมดกามภพ ก็เป็นอนาคามี แต่ก็ต้องลืมตา ปฏิบัติต่อไป ทุกเรื่องราว กำหนดรู้ เวทนา ๑๐๘ ในขณะผัสสะ ไม่ได้ดับผัสสะ ในขณะปฏิบัติ จึงต้องใช้สัญญา กำหนดรู้ เวทนา ที่เป็นเจตสิก

       เมื่อปฏิบัติไม่ถูก ก็กำหนดรู้ไม่ถูก แยก กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ก็ยากมาก แม้คำว่ากาย คำเดียวนี่ไม่รู้ แล้วจะปฏิบัติอะไรได้ล่ะ

       ทีนี้มาเข้าใจคำว่า กาย เสียบ้าง
       เริ่มต้นตั้งแต่คำว่า สักกาย
       สักกะคือของตน คุณก็อ่าน องค์รวมของจิต ที่ประชุมกันเป็นสัตว์ แต่คุณก็อ่านมัน ไม่ออก แล้วมัน โตขึ้นอย่างไร ก็ไม่รู้ แต่เมื่อไหร่ คุณจับได้ เมื่อมีผัสสะ คุณเกิดสัตว์ในจิต เช่น สัตว์นรก สัตว์เปรต คุณก็อ่านรู้ อ่านออก คุณรู้ว่า กูเป็นสัตว์ เปรต คุณรู้เข้าใจเห็น นั่นคือ คุณพ้นสักกายทิฏฐิ คุณฟัง ไปจากอาตมา แล้วก็ไปปฏิบัติ ก็รู้ก็เห็น ของตนเลย ขณะกำลังเกิดเลย มีผัสสะเป็นปัจจัย คุณไปนั่ง หลับตา ก็ไม่ได้กำหนดรู้ ไม่ได้เรียนรู้ อย่างที่อาตมาพูด ไม่ได้รู้เลยว่า มันเป็นอย่างไร ได้แต่เพ่งกสิณ จ้องอยู่อย่างนั้น คุณสัญญาก็ไม่เป็น สัญญาก็คนละเรื่อง คุณอาจสัญญาและทำ ไม่ให้มีนิวรณ์ได้ แต่ไม่ได้ ปฏิบัติล้างกิเลส คุณอาจระงับได้ ชั่วคราว แต่ไม่ได้วิปัสสนา ไม่ชัดเจนในฌาน อย่างพุทธ

       คุณหลับตา จะไปรู้ กายสัมผัส กายผัสสะ ได้อย่างไร กายสังขาร คุณก็ไม่รู้

       กายสังขาร คือองค์ประชุม ที่มีทั้งสัมผัสนอก และสัมผัสใน มีวัตถุสัมผัส แล้วก็สังขารจิต ปรุงแต่ง

       จิตสังขาร ก็ปรุงแต่จิต ไม่เกี่ยวกับภายนอก

       วจีสังขาร ไม่ใช่วจีกรรม แต่คือการปรุงแต่ง เป็นวจีในภายในจิต คนไทยก็เป็นภาษาไทย แต่ไม่ได้พูดออกมา เป็นวจีกรรม และไม่ใช่กายสังขารด้วย แต่มันปรุงในจิต อยู่ในสังกัปปะ ๗ ซึ่งจัดอยู่ใน จิตสังขาร

       กาย ต้องเกี่ยวข้องกับข้างนอก ถ้าไม่มีกายเลย มีแต่จิต คุณไม่รู้เรื่องกับมัน ต้องมีองค์ประชุม ตั้งแต่ภายนอก เรียกว่า รูปกาย ส่วน นามกายนั้น ไม่เกี่ยวกับภายนอก

       เช่นคุณลืมตามองเห็น วัตถุ แต่เมื่อหลับตา ก​็มีสัญญา เห็นวัตถุนั้นได้ ตามสัญญา ที่จำไว้ได้ แม้หลับตา ก็นึกได้ เรียกว่า นามกาย หรือกายในกาย เป็นองค์ประชุม ต้องเกี่ยวกับภายนอก ถ้าเป็นการระลึกถึง เสียง รส โผฏฐัพพะ แม้ระลึกเป็นตัวตน บุคคลเราเขา ก็นึกได้

       ในภาษาธรรมะ นึกขึ้นมาเอง เรียกว่า นิรมานกาย
       นริมาน แปลว่า สร้างขึ้นมา เขาเอาคำว่า นิรมานกาย ไปอธิบาย เสียงงเลย
       กายกัมมัญญตา คือองค์ประชุม ที่พาทำงานที่ควร
       กายปาคุญญตา คือจิตที่แคล่วคล่องชำนาญ ทำงานเร็วไว เป็นความคล่องแคล่ว ของ เวทนา สัญญา สังขาร สามอย่าง ทำงานอย่างคล่องแคล่ว

       กายกลิ คือสิ่งที่ชั่วช้า ที่อยู่ในกาย ที่ประชุมกันภายใน เป็นกายที่เป็นโทษ อกุศลจิต
       กายคต คือสิ่งที่เป็นไปในกาย
       กายยังคะ องค์ประชุมของอวัยวะต่างๆของกาย
       กายถามมะ พลังของกาย
       กายทรถะ คือความกระวนกระวายของกาย หรือ ความกระวนกระวายของ
       กายทุกข์
       กายทุจริต เป็นความประพฤติชั่วหยาบ
       กายทุถุลละ กายประพฤติชั่วหยาบ
       กายทวาร
       กายธาตุ คือ ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของกาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ดินน้ำไฟลม เป็น กายปสาทด้วย
       กายปโยคะ คือองค์ประกอบของกาย
       กายปัสสัทธิ ความสงบรำงับของกาย ขณะกระทบผัสสะอยู่ กายเราก็สงบได้ ไม่ใช่นั่งนิ่ง
       กายภาวนา คืออบรมกาย
       กายมุทุตา คือ ความอ่อนไว แววไวของร่างกาย เป็นคุณธรรมสูงส่ง มุทุตา คือวิการรูป รูปที่ได้ปฏิบัติ จนทำให้ แคล่วคล่อง ว่องไว มีเมตตา กรุณา มุฑิตา ในนั้นเลย
       กามโนมย ข้อปฏิบัติ ให้เป็นผู้นิ่งด้วยกาย
       กายลหุตา เป็นวิการรูป ข้อหนึ่ง เป็นความเบา แห่งนามธรรม คือ เจตสิก ๓
       กายวิการ คือองค์ประชุมของ นามธรรม ที่ไม่สมประกอบ ของเจตสิก ๓ (เวทนา สัญญาสังขาร)
       กายวิญญัติ
       กายวิญญาณ
       กายวูปกาส แปลว่า กายแยกออก ท่านไปแปลว่า การปลีกกายไปอยู่สงบ หรือที่จริงคือ ทำให้จิต มันแยก ปลีกออกมา ห่างจากสิ่งที่ทำให้ ไม่สงบ คืออกุศล
       กายสมังคี ความพร้อมแห่งกาย
       กายสังวร คือสังวรกาย
       กายสังสัคคะ การสัมผัส จับต้อง เกี่ยวข้องทางกาย ที่ต้องการเป็นสุข แล้วเป็นสวรรค์เท็จ หรือ จะปฏิบัติเป็น สวรรค์โลกุตระ ก็ต้องมีภูมิรู้ได้

       กายเป็นเรื่องสำคัญ หากเข้าใจผิดแต่ต้น ก็เจ๊ง วิธีปฏิบัติจะรู้ความเป็นสัตว์ ที่เป็นเวทนา สัญญา สังขาร ที่จะเรียนรู้ สัตว์ เทวดา มาร พรหม เมื่อคุณฟังแล้วไปปฏิบัติ ก็จะรู้ว่า นี่คือ สัตว์ชนิดไหน เป็นผี หรือเป็นเทวดา สมมุติเทพ หรือเป็นเทวดา อุปัตติเทพ หรือ วิสุทธิเทพ

       เมื่อไม่รู้กาย ก็ปฏิบัติกำจัดสัตว์ ๙ ชั้น (สัตตาวาส ๙ ) นี้ไม่ได้ ก็ไม่มีทางเป็น อรหันต์

       ส่วนธรรมกาย นี่คือกายที่เป็นองค์ประชุม ที่มีธรรมะ จิตที่ดีสูงสุด ก็คือพระพุทธเจ้า ถ้าเรียก ธรรมกาย ก็คือพระพุทธเจ้า หรือพรหมกาย เพราะฉะนั้น จึงอย่าบังอาจ ใช้คำว่าธรรมกาย ไปเรียกเล่น ถ้าผู้ใด ไม่มีธรรมะสูง เป็นองค์ประชุม ที่มีธรรมะสูงสุด แม้มีความไม่สะอาด มีอธรรมอยู่ เท่าที่กิเลสเหลือ แม้อรหัตตมรรค ก็ตาม อนาคามี ก็มีอธรรมอยู่

       ผู้มีธรรมะบริสุทธิ์ ก็มี อรหันต์ กับพระพุทธเจ้า เรียกว่า ผู้มีธรรมกาย ฉะนั้น อย่าไปพูดเล่น

       ผู้เอาธรรมกายไปทำ แล้วเป็นอบายมุข หลอกคน ทำให้ธรรมะ เพี้ยนเสื่อม ที่จริง ธรรมไม่เสื่อม แต่คนเสื่อม คนเอาความรู้ผิดไปทำ ทำให้ธรรม แปดเปื้อน ตนเองเสื่อมก่อน แล้วทำให้คนอื่น เสื่อมด้วย

       ผู้มีธรรมะ คือผู้มีความไม่เสื่อม ผู้ใดยังมีความเสื่อม ยังมีอธรรม มากหรือน้อย ก็แล้วแต่ ก็ไม่ใช้คำว่า ธรรมกายได้
              
       ธรรมคือสิ่งที่คนเกิดมา ต้องเอาให้ได้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมะ เรียกว่า ธรรมสามี เป็นเจ้าของ ธรรมะ เรียกว่าธรรมกาย ไม่มีอธรรมเลย เท่าที่ความเป็นมนุษย์ จะพึงมีได้ ถ้าอรหันต์ ก็มีธรรมเต็ม เฉพาะตน เป็นจิตสะอาดบริสุทธิ์ เป็นพรหมกาย เป็นธรรมกาย อย่าทำเป็นเล่น เอาไปใช้ ก็อย่าทำให้เสีย ขอร้องเลย อย่าเอามาลาคันธะวิเลปนะฯ นัจจะคีตะวาทิตะฯ แอ็คอาร์ท เช่น พระธุดงค์เต๊ะท่า ทำอวดอ้าง ทำโชว์ เรียกคะแนน หาเสียงหาบริวาร ท่านธุดงค์ก็ปฏิบัติ อย่าไปทำ มาลาคันธวิเลปน ธารณมัณฑน วิภูสนัฏฐานา ผิดศีลข้อที่ ๘ เลยนะ

       เขาไม่รู้ว่า ตนเองสร้าง นิรมานกาย ศัพท์สมัยใหม่ เรียกว่า มโน สร้างปรุงแต่งวิมาน ภายนอก ก็เยิ้มไปด้วย กามคุณ ๕ มากไปด้วย มหัปปิจฉะ หรูหราใหญ่โต อลังการ ธรรมใดวินัยใด เป็นไปเพื่อ ความมักมาก มักใหญ่ ก็ไม่ใช่ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า ขออภัย ที่ต้องตำหนิแรง เกรงใจจริงๆ แต่เป็นความจริง หลักวิชา ที่ต้องพูด ขออภัย

       การปฏิบัติธรรม ของพระพุทธเจ้า ต้องมีวิญญาณ ลืมตาปฏิบัติ มีวิญญาณฐีติ แต่ถ้าหลับตาทำ เป็นสัตว์ใน สัตตาวาส ๙ รูปฌาน ๔ คุณก็ดับได้แล้ว เป็นอสัญญีสัตว์แล้ว คุณก็ทำจิต ให้สว่างโล่ง แจ้ง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีท้องฟ้าเลยใสโล่งไปหมดเลย นี่คือสายธรรมกาย ที่ทำกัน สายธรรมกายนี้ คือเรียนรู้ อาภัสรา อย่างมิจฉา ไปติดอยู่ที่ สว่างใส คุณก็ได้แต่ใสๆๆ โสดาก็ใส สกิทาก็ใส เพิ่มขึ้น อนาคา ก็ใสยิ่งขึ้น อรหันต์ก็ใสสุด เป็นต้น นี่คือ มิจฉาทิฏฐิ

       ส่วนสัตว์ลำดับที่ ๔ มีกายอย่างเดียวกัน สัญญาอย่างเดียวกัน เขาดับไป อย่างมิจฉาทิฏฐิ สุภกิณหา (สุภ คือสิ่งที่งาม โชค สิ่งน่าพึงใจ) เขาก็ได้ความดำ เป็นภพอสัญญี เริ่มต้นอสัญญี เป็นมิจฉาทั้งนั้น ไม่ได้ถูกเลย
มิจฉาในสัตตาวาสทั้ง ๙
๑.    สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า
๒.    สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน เป็นต้น
๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพสว่าง อาภัสราพรหม (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง)
๔.    สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพมืด สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืด เป็นโชค)
๕.    สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ เช่น เทพจำพวก “อสัญญีสัตว์” (อุทกดาบส ทำนิโรธ สมาบัติดับ จนไม่รับรู้อะไร)
๖.    สัตว์บางพวก เข้าถึง..อากาสานัญจายตนะ (พ้นรูปสัญญา)
๗.    สัตว์บางพวก เข้าถึงชั้น.. วิญญาณัญจายตนะ (พ้นเสพความว่าง)
๘.    สัตว์บางพวก เข้าถึงชั้น.. อากิญจัญญายตนะ (ดับดิ่งไม่มีอะไร)
๙.    สัตว์บางพวก.เข้าถึงชั้น.. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ดับๆ รู้ๆ) (ววัตถุสัญญา พตปฎ. ล.๒๓ ข.๒๒๘) และ ๑๑/๓๕๓

   www.asoke.info