ธรรมปัจเวกขณ์
วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๒๕

ผู้ปฏิบัติธรรม ที่ปฏิบัติมาแล้ว เป็นผู้เก่า ต้องพิจารณา ถึงรายละเอียด ฐานสูงเพิ่มให้มาก ต้องสำนึกให้มากว่า ฐานที่เป็น ฐานที่เคยเรียก ใช้ศัพท์เรียกว่า "ได้แป้น" ถ้าเราได้แป้นแล้ว แล้วก็หลงแป้น เหมือนลิง ได้แป้นแล้ว นั่งอยู่ที่นี่ ไม่เพิ่มฐาน มันก็ได้อาศัยจริง มีฐานอาศัยของเราจริง

เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่า เราไม่พิจารณาเพิ่ม หาภูมิเพิ่ม มีกรรมฐานเพิ่ม มีเครื่องที่จะพา เป็นพาหะ มีศีล มีหลักเกณฑ์ มีตบะ มีเครื่องที่จะกระทำ ให้เราได้ ละเอียดลออขึ้น อดทนข่มฝืน มากขึ้น อุตสาหะ วิริยะ ยิ่งขึ้น เป็นอุบายวิธี หรือเป็นกรรมฐาน วิธีการ หรือศีล หรือวินัยก็ตามใจเรียก สูงขึ้นไปได้ทั้งสิ้น ถ้าเราไม่มี เครื่องที่จะมาทำ ให้เราสูงขึ้น ไปอีกจริงๆ แล้ว เราก็เป็นลิงนั่งแป้น อยู่ตรงนั้นแหละ ดีไม่ดี จะเสื่อมถอยเอา เราคิดง่ายๆ ว่า สมมุติว่า เรานั่งแป้นอยู่ที่เก่า เราอยู่กับหมู่ฝูง หมู่ฝูงนี่ ก็เหมือนกับจักรวาล เราอยู่ในสังคม หมู่ฝูง หมู่ฝูงคนอื่นๆ เขาเลื่อนขึ้น เลื่อนขึ้น เลื่อนขึ้นๆ แต่เราเอง เป็นดาวดวงนั่งแป้น เป็นส่วนหนึ่ง เป็นมวลชิ้นหนึ่ง ที่เป็นลิงนั่งแป้น อยู่กับที่ ในเมื่อในจักรวาลนี้ หมู่ฝูงเขาเลื่อน ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ แต่เรานั่งแป้น อยู่ที่เก่า เท่ากับ เราเสื่อมลงๆ ในวงจักรวาลนี้ ในวงหมู่สังคมนี้ ฟังดีๆ เราถือว่า เรายึดมั่นแหละ เราอยู่ในแป้น ไม่ตกต่ำ แต่เท่ากันกับ เราลดลงต่ำ เมื่อเพื่อนเขาเลื่อนขึ้น ฐานของจักรวาลสูงขึ้น เราเอง เป็นคนบ๊วย อีกหน่อย เราก็หลุดจาก จักรวาลนี้ได้ ฟังให้ดี เมื่อทุกคน เขาเลื่อนขึ้นไป เลื่อนขึ้นไป ในหมู่จักรวาลนี้ แต่เราเอง เป็นตัวลิงนั่งแป้น หรือเป็นดาวดวงที่ อยู่กับที่ เราก็จะกลายเป็น ดวงที่ต่ำลงๆ แม้เราจะไม่เลื่อน ลดต่ำฐานของเราเลย ทีเดียวก็ตาม เราจะเป็นผู้ตกต่ำได้ โดยนัยนี้

สุดท้าย ดีไม่ดี เราจะหลุดออก จากจักรวาลนี้ หลุดออกจากหมู่นี้ หมู่นี้ก็จะอุ้มเอาจักรวาล หรือ ดูดเอาจักรวาล หรือเป็น ตัวดวงจักรวาล ที่มีรัศมีแข็ง มีแรงดึงดูดจัด มีความหนาแน่นสูง แล้วมันก็จะ พากันขึ้นไป แล้วเขาก็จะ ทิ้งเราไว้ อย่างไม่ดูแลเรา ได้เลยทีเดียว ไม่ดูดำดูดีเราได้ เพราะเราไม่พยายาม พากเพียร ติดกลุ่ม จะเป็นแกะน้อยหลุดฝูง จะเป็นดาวที่ จักรวาลทิ้ง จักรวาลอันนี้ทิ้ง เป็นอย่างนั้นจริงๆ

นี่ใช้ภาษาสื่อแทนให้คุณฟัง จะใช้ภาษาจักรวาล จะใช้ภาษา แกะฝูง จะใช้ภาษาสังคม จะใช้ภาษากลุ่มหมู่ จะใช้ภาษาอะไรอีก ก็ได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ขอให้พวกเราพิจารณา วิเคราะห์วิจัย ฐานของตนเองเพิ่ม เท่าที่พอเป็นไปได้ เราต้องมีอุตสาหะ วิริยะ เจริญยิ่งอยู่ เจริญยิ่งอยู่ หรือเป็นผู้ที่มีวุฑฒิ วุฑฒิๆ พระพุทธเจ้า ท่านไม่สรรเสริญ คนหยุดอยู่ คนทรงอยู่กับที่ หรือป่วยการ กล่าวไปใย ถึงความเสื่อม เสื่อมน่ะ เราไม่เอาแน่ แม้แต่ทรงอยู่ พระพุทธเจ้า ก็ไม่สรรเสริญ โดยนัยอย่างนี้ ไม่เช่นนั้น เราก็จะไม่เจริญก้าวหน้า

บอกแล้วว่า การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น เที่ยงตรง แต่ไม่ใช่หยุดนิ่ง เที่ยงตรงแน่นอน มั่นคง เจริญยิ่งอยู่ เคยทำรูปที่มือให้ดู ว่าสภาพที่มันสูง สภาวะที่เดินก้าวหน้านั้น มันไม่มีหยุดอยู่หรอก พระพุทธเจ้า ท่านเจริญยิ่งอยู่ พระอรหันต์เจ้า ท่านเจริญยิ่งอยู่ ท่านหมดทุกข์ ในตัวเองจริง แล้วท่านก็ ไม่ได้ตกต่ำ พระอรหันต์เจ้านั่น ท่านหมดทุกข์ แล้วท่านก็จะเจริญยิ่งอยู่ ต่อไป แม้ท่านจะตาย สลายไป ก็เลิกกัน ก็จริง แม้ยังไม่ตาย ทุกวินาที ท่านเป็นคนเจริญ เป็นคนประเสริฐ จึงเรียกว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าเราไม่เรียก พระอรหันต์ ว่าท่านผู้เจริญ เราจะเรียกใคร ว่าเป็นผู้เจริญ พระอรหันต์ ก็ไม่นั่งแป้น ถ้ายิ่งนั่งแป้นอยู่ บอกแล้วว่า ยังไม่ใช่พระอรหันต์ ยังทรงอยู่ หยุดอยู่นั้น แม้แต่กฏทุกกฏนี่ หลักฐีติสูตร ที่ พระพุทธเจ้า ท่านว่า ท่านไม่สรรเสริญ คนหยุดอยู่ ท่านสรรเสริญคนเจริญยิ่ง เจริญยิ่งอยู่ แม้กฎนี้ เราก็ทุกกฎ อยู่อย่างนั้น ทำไมพระอรหันต์เข้าใจไม่ได้ ต้องเข้าใจได้ และต้องสอดคล้องกัน ในนัยคำสอน พระพุทธเจ้า ไม่ค้านแย้ง เป็นไปจริงตามธรรม บทธรรม ตามพระคาถา ตามทฤษฎี ตามคำสอน ของพระพุทธเจ้า ทุกอันสอดคล้อง เมื่อเป็นผู้ที่ยิ่งยอด เป็นอรหันต์ ก็ต้องสอดคล้องกัน สูตรอย่างนี้ ไม่ใช่สูตรยิ่งใหญ่อะไร ไม่ใช่สูตรของ พระโพธิสัตว์ อะไรซักหน่อย เป็นสูตรธรรมดา สูตร ฐีติสูตร สูตรรากฐานธรรมดา

- เพราะฉะนั้น เราก็จะต้องรู้ เข้าใจใน นัยแห่งคำสอน นัยแห่งการเจริญก้าวหน้า ให้ชัดเจน แล้วกระทำให้ถูกตรง ถ้าเราจะอยู่ในฐานะ ที่เราเป็นคนสูง ธรรมดาๆ มีแป้นนั่ง แน่นอน ถ้าเรามองไปหา ปุถุชน มองไปหาคนต่ำ เราก็สูงกว่าเขา เราก็ เสวยบุญแค่นี้ เราก็ทำได้ แต่เราไม่สอดคล้องกับ ทฤษฎีพระพุทธเจ้า เราไม่ใช่ผู้เจริญ เรายังเป็นผู้ติดยึด หรือผู้ทรงอยู่ ในนัยของความว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็นัยอันนี้ เราไม่ยึดมั่น ถือมั่น แต่เราจะเลื่อนขึ้นสูง มี ตถาคโต มี สุคโต เราจะเป็นผู้ที่ เป็นไปอยู่เรื่อย โคจร แต่โคจรขึ้นทิศสูง เคยทำมือให้ดูว่า เราเอง เราพุ่งขึ้นไป ตั้งทิศสูงขึ้นไปเลย แต่เลื่อนอยู่ ตรง เลื่อนอยู่ไม่ให้เป๋ไป๋ ไม่ให้เอนเอียงออกไป ในทิศทางที่ล้มเหลว ในทางที่เอนเอียง ให้ซื่อ ให้ตรง ให้เที่ยง เป็นไปด้วยดี อยู่อย่างเจริญ เจริญยิ่ง นี่เป็นความหมาย เข้าใจความหมายให้ชัด แล้วเราก็ ทำให้ถูกตรง จึงจะเป็นผู้เจริญ

เพราะฉะนั้น ในนัยที่จะพิจารณาตัวเอง อยู่เสมอนั้น เป็นความเข้าใจที่จะต้อง เข้าใจได้ลึกซึ้ง เราพิจารณาตัวเอง อยู่เสมอ เราพยายามดูตน พยายามช่วยเหลือตน อยู่เสมอ ทุกข์ร้อนของเราน้อยลง เราก็ดูตน อยู่นั่นแหละ

แม้เป็นพระอรหันต์เจ้าแล้ว ท่านก็ยังดูตน เช่น พระสารีบุตร ท่านเอง วาสนา บารมีของท่าน ยังไม่ดี ในบางส่วน กายกรรม แต่ท่านพ้นทุกข์แล้ว ท่านถอนอาสวะแล้วด้วย แต่กายกรรม วจีกรรม ที่ดีกว่านี้ ยังมีอีก ท่านจะต้อง ปรับปรุง ปรับปรุงกายกรรม วจีกรรม ของท่านจริงๆ ในอภิณหปัจเวกขณ์ ข้อที่ ๓ ตั้งข้อสังเกต เคยตั้งให้ฟังแล้วว่า กายกรรม วจีกรรม ที่ดีกว่านี้ ยังมีอีก ไม่มีคำว่า จิตนะ เพราะฉะนั้น อันนี้ท่านสอน พระอรหันต์ ทีเดียวนะ จะบอกให้ กายกรรม วจีกรรม ดีกว่านี้ ยังมีอีกนะ เป็นคำสอน ที่ลัดสั้นไว้ สำหรับ พระอรหันต์ทีเดียวนะ อภิณหปัจเวกขณ์ นี่ไม่ใช่เรื่อง ตื้นเขินทีเดียว แต่เอามาใช้กันหยาบๆ ได้ ปุถุชน ก็ต้องดู กายกรรม วจีกรรม ของตนเช่นกัน พอเป็น พระอรหันต์สมบูรณ์ ในเรื่องของจิตแล้ว เรื่องของ กายกรรม วจีกรรม ก็ต้องปรับปรุง ไม่ใช่ว่าไม่ปรับปรุง พัฒนาอยู่อย่างยิ่ง เพราะเรามีชีวิต เนื่องกับผู้อื่น เพราะเราเอง เราจะต้องอยู่ในโลก เหนือโลก แม้เราจะไม่ใช่คฤหัสถ์แล้ว ก็จริง แต่เราก็ เนื่องอยู่ เพราะฉะนั้น กายกรรม วจีกรรม ที่ดีกว่านี้ ยังมีอีก จริงแสนจริง แม้เราจะเป็นผู้ ที่ตู่ท้วงด้วยศีลโดยตน ตำหนิตนด้วยศีล ไม่ได้แล้ว ก็ยังมีศีลที่สูงขึ้น ยิ่งๆขึ้น ศีลโพธิสัตว์ ศีลของผู้ที่ยิ่งๆขึ้น ของพระอรหันต์เจ้า ท่านจะเข้าใจ มียิ่งกว่า

เพราะฉะนั้น ผู้รู้จะตำหนิเราด้วยศีล ได้หรือไม่ ท่านไตร่ตรองแล้ว ท่านจะตำหนิได้ ผู้ที่มีปัญญายิ่ง ท่านจะตำหนิได้ เราก็จะต้องพิจารณาสูงขึ้น ดังกล่าวนี้ให้จริง เราถึงจะสู่สูงยิ่งๆ นิรันดร์ หรือใช้คำว่า อนันตัง ไม่มีที่สิ้นสุด คือเราจะเป็นผู้เจริญ เจริญยิ่งอยู่ อย่างเป็นอนันตัง หรืออย่าง ไม่มีที่สิ้นสุด เราจะไปสิ้นสุด ตรงที่ จะตัดสินรอบว่า เป็นพระพุทธเจ้า หรือเป็นพระอรหันต์ ก็จะต้องเข้าใจโพธิกิจ โพธิกิจ หรือ โพธิสัตว์ อันแยกกันไม่ได้ อรหันต์กับโพธิสัตว์ อย่าแยกกัน นี่ขอกำชับ ไม่เช่นนั้น เราจะแตก เป็นสังฆเภท หรือ เป็นนิกาย ๒ นิกาย ผู้ใดรวม อรหันต์กับโพธิสัตว์ ได้ด้วยปัญญา และ มีสภาวธรรม มีพฤติกรรม อันตรงจริง ผู้นั้นแล คือ ผู้สำเร็จอรหันต์ที่แท้ และคือ ผู้เป็นโพธิสัตว์ที่จริง

 

อ่านต่อ..

 

FILE: 2851A.TAP