ธรรมปัจเวกขณ์
วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๒๕

การเรียนรู้และการกระทำ ให้เกิดจิตที่สบาย หรือจิตที่เป็นฐานสูง จุดมุ่งหมาย ก็เพื่อที่จะให้ จิตนั้นสะอาด จิตนั้นสบาย จิตนั้นเป็นจิต สำราญใจ เบิกบาน ปราโมทย์อยู่ ไม่ได้หนัก ไม่ได้หน่วง ไม่ได้กังวลกังวาน ไม่ได้วุ่นวายอะไร เป็นจิตโปร่ง โล่ง สะอาด ในสภาพ ที่เราวุ่นวาย สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม เรียกว่า กายยะ เพราะฉะนั้น เมื่อมีอะไรอยู่ เกี่ยวข้องอยู่กับภายนอก ที่สัมผัส แตะต้อง วุ่นวายอยู่ เราก็เป็นผู้ที่ไม่เดือดร้อน ไม่ลำบาก ในการที่จะเป็นอยู่ ร่วมกับสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องไปปรารภอะไร ให้ลำบาก ไม่ต้องปรารภอะไร ให้วุ่นวาย แข็งแรง อยู่ด้วยได้ ประสานได้สนิท เรียกว่า เป็นผู้ที่ไม่ต้องมีกาย อันปรารภ อย่างแรงกล้า เรียกว่า ไม่ต้องมีกาย อันปรารภอันแรงกล้า สารัตถะ กาโย คือเป็นผู้ที่อยู่กับ ความประชุม กาโย ความประชุมได้ โดยไม่ต้องไป ปรารภอะไร อย่างแรงกล้า อะไรเลย เป็นความง่ายๆ ไม่ต้องแรง ไม่ต้องจัด ไม่ต้องจ้าน อยู่กับ ความประชุมนั้น ได้อย่างง่ายๆ ไม่ต้องไปทำอะไร แข็งขืน ขัดขวาง หรือว่า ต้องต่อสู้ ต้องลำบากอะไร อยู่ได้อย่างคล่องๆ อยู่ได้อย่างง่ายๆ อย่างนี้ก็เป็น ผู้ที่สบาย เป็นผู้ที่เบา เป็นผู้ที่โปร่ง โล่งแล้ว เราจะเก่งอย่างไร ที่จะอยู่กับ สิ่งแวดล้อมได้ อย่างไม่ต้องปรารภ อย่างแรงกล้า ดังกล่าวแล้ว ก็ต้องฝึกฝนตน ต้องพยายาม หัดรู้ต่อผัสสะ หัดรู้ต่อการเป็นอยู่ ประสาน สมาน แล้วก็ปลดปลงที่จิตใจ สามารถขจัด สิ่งที่มันเป็นเรื่องเป็นราว ต้องต่อสู้ต่อต้าน ที่ทำปฏิกิริยาอะไรต่างๆ นานา ให้เราลำบากใจ ออกไปได้ จริงๆ---

ถ้าเป็นคนที่ได้ฝึกหัดฝึกปรือแล้วเสร็จ จนกระทั่ง สามารถไม่ต้องปรารภกาย อันแรงกล้าน่ะ ปรารภสิ่งที่ ประชุมกันอยู่ ร่วมกันอยู่ อย่างแรงกล้านี้ ไม่ต้องไป ต้องได้วุ่นวายอะไร ผู้นั้นก็อยู่ได้ สบายไป อย่างหนึ่ง ---

อีกอย่างหนึ่ง ก็อยู่กับสภาพที่มันเงียบ ไม่มีอะไรมาก เช่น เราอยู่ในวันพุทธัง เช่นนี้ ก็ดูอะไรมันก็ เงียบๆ ดูอะไร มันก็ไม่ปะทะ ปะทัง ผู้ที่อยู่กับอย่างสิ่งเงียบๆ อยู่กับบรรยากาศเงียบๆ ไม่มีอะไรแรงกล้า ไม่มีอะไรกระทบ กระแทกกระเทือน อะไรมาก ถ้าผู้วางใจไม่เป็น ทำจิตสบาย ทำจิตโปร่งโล่ง สะอาด คล่องแคล่ว สดชื่น เบิกบานไม่เป็น ก็อยู่ยากอีก นี่มุมหนึ่ง เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่า การปฏิบัติธรรม ไม่รู้เท่าทัน สิ่งที่มันเงียบสงบ สิ่งที่มันง่ายๆ สิ่งที่มันไม่มีอะไรมาก มันก็เป็นความสบาย อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมันก็สบายดี แต่ผู้ที่ติด ในสภาพ ที่จะต้องมีอะไรปะทะ สัมผัส สัมพันธ์ มีบทบาท มีอะไรต่ออะไร ที่จะต้องดำเนิน ดำเนินไป ไม่ใช่เรื่องน้อยๆ จะต้องเป็นเรื่องที่ มีบทบาท พอสมควรทีเดียว จึงจะรู้สึกว่า เป็นปกติ ก็จะรู้สึกอึดอัด ในการที่มันเงียบ มันน้อย มันว่าง มันเบาไป แต่ความรู้สึกอันนี้ ก็จะต้องทำความรู้ ทำความเข้าใจ และ เห็นจริงว่า นี่มันเป็นความง่าย ชนิดหนึ่ง เป็นความที่ ก็สบายดี โปร่ง โล่ง สะอาด ง่ายเกินกว่า ที่จะมีเรื่อง หลายๆอย่าง หลายๆอัน ที่เราจะต้องวาง ต้องปลด ต้องปลง เสียด้วยซ้ำ แต่ผู้ที่ยังไม่เคยชิน ก็จะรู้สึกอึดอัด รู้สึกลำบากใจ รู้สึกว่ายากน่ะ เป็นทุกข์ อยู่เช่นเดียวกัน ---

เพราะฉะนั้น การอ่านสองมุม การที่จะมี การเรียนรู้ ทั้งสองสภาพ ทั้งสิ่งที่จะถูก สัมผัสแวดล้อม วุ่นวาย อยู่ด้วย สิ่งแวดล้อม ประชุม ทั้งสิ่งที่ ทั้งสภาพที่ ไม่มีอะไรวุ่นวาย ค่อนข้างจะน้อยไปด้วยซ้ำ ก็จะต้องเรียนรู้ และ กระทำตน ให้เป็นผู้ปราโมทย์ เป็นผู้เบิกบาน ร่าเริง เป็นผู้สบาย รู้เท่าทันสภาพ แห่งสภาพ ไม่ว่าจะวุ่นวาย หรือ ไม่ว่าจะน้อยไป ไม่ว่าจะมากไป ก็เป็นผู้ที่เข้าใจ เท่าทันต่อสภาพ สถานการณ์ ที่เป็นอย่างนั้นๆ แล้วก็เป็นผู้อยู่ อย่างเบิกบาน ร่าเริงได้น่ะ ---

สิ่งเหล่านี้ เรามีบทฝึกหัด เรามีสภาพธรรมต่างๆ เพื่อให้เห็นจริง เป็นจริงเกิดจริง แล้วก็เรียนรู้ ปรับปรุงจิตใจของเรา ปรับปรุงความเห็น กระทำตน เป็นผู้ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ มีอะไรได้ อย่างเหมาะอย่างสม กับเหตุการณ์ สถานการณ์ทุกอย่าง ไม่เป็นไป โดยไปเที่ยว ทำให้คนอื่น กระเทือนเกินไปนัก แล้วตนเอง ก็อยู่กันอย่าง มีคุณค่า มีประโยชน์ และสบาย ไม่ว่าจะเป็น สภาพมาก สภาพน้อย อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นจุด ที่เป็น ที่จะชี้แนะ ให้พวกเราได้จับมาศึกษา แล้วก็มาประพฤติปฏิบัติ กันจริงๆ ไม่ใช่ว่า เรานั่งเอาแต่คิด นั่งเอาแต่คะเน คำนวณเอา ตามเหตุ ตามผลเฉยๆ แต่มีสภาพจริงที่ เราจะต้องเรียนรู้ ทุกเวลาวาระ แล้วเราก็เป็น ผู้อยู่สบายเสมอ ในโลกนี้ ไม่ว่าจะร้อน ไม่ว่าจะหนาว ไม่ว่าจะหิว ไม่ว่าจะกระหาย ไม่ว่าจะมีอะไร หนักหนาอย่างไร หรือ เบาบางอย่างไร เราก็เป็นผู้ที่เป็นอยู่สุข เบิกบานร่าเริง ได้ตลอดทุกอิริยาบถ ทุกสิ่ง ที่สัมผัส แวดล้อม ผู้นั้นก็ไม่ได้ขึ้นลง ต่อทุกสิ่ง ทุกอย่าง แต่เป็นผู้ที่มีความมั่นคง แน่นอน แข็งแรงของตนเอง สมบูรณ์ นั่นแล

 

สาธุ.