สัมมาพัฒนา : สันติอโศก ขบวนการพุทธปฏิรูปแห่งประเทศไทย
จูลิอานา เอสเซน เขียน

บทที่ ๓
 พุทธสถานศีรษะอโศก

สถานที่ที่คนอาศัยอยู่ ไม่ว่าคนจะถูกบังคับให้อยู่ หรืออะไรก็ตาม ย่อมบอกลักษณะนิสัยใจคอ ของผู้ที่อาศัยอยู่ ว่าเป็นคนเช่นใด พุทธสถานศีรษะอโศก เป็นสังคมนานาชาติ ที่คนซึ่งมีหลักการ และความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน มาอยู่ร่วมกัน (ต่างกับ หมู่บ้านทั่วไป ที่ลูกบ้านเป็นคนเกิดที่นั่น) ดังนั้น ชื่อพุทธสถานศีรษะอโศก น่าจะบอกคุณลักษณะของคน ที่อาศัยอยู่ที่นั่น ได้ดีพอสมควร

อีสาน

ศีรษะอโศก ตั้งอยู่ในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ของประเทศไทย และอยู่ห่างจาก พรมแดนกัมพูชา ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร อีสาน เป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุด และมีคนจนมากที่สุด วัฒนธรรมของคนอีสาน คล้ายคลึงกับ วัฒนธรรมของลาวและเขมร ภาษาลาวของคนอีสาน คล้ายคลึงกับภาษาที่ใช้กันอยู่ ในประเทศลาว ชาวอีสานส่วนใหญ่ เป็นชาวนา ซึ่งยังชีพด้วยการกสิกรรม กับการปลูกพืช ที่ทำรายได้ เช่นอ้อย และมันสัมปะหลัง ชาวนาส่วนใหญ่ ใช้ควายไถนา เพราะว่ารถไถราคาแพง และบำรุงรักษายาก หมู่บ้านในชนบทภาคอีสาน เช่นเดียวกับ หมู่บ้านทั่วไปในประเทศไทย คือเป็นหมู่บ้านเล็กๆ และห่างไกลจากทุ่งนา หลายกิโลเมตร ชาวนาเดินทางไปทำนา โดยการเดิน ขี่รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถอีแต๋น และน้อยคนที่โชคดี มีรถบรรทุก ปิกอัพใช้

พื้นดินในภาคอีสานแห้งแล้ง และมีปุ๋ยน้อยกว่าพื้นดิน ในภาคอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ คนอีสานจึงมักเร่ร่อน เป็นกรรมกรขายแรง หรือมิฉะนั้น ก็มีหนี้สินรุงรัง การโค่นป่า เป็นสาเหตุหนึ่งของความแห้งแล้ง และดินเซาะ ตั้งแต่พวกก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ทะลักเข้ามา จากประเทศเวียดนามและลาว และเข้าใจกันว่า พวกนี้ หลบซ่อนอยู่ตามป่า รัฐบาลอนุญาตให้ประชาชน ถือกรรมสิทธิ์ในป่าสงวน ถ้าหากว่าเจ้าของที่ ถางป่า แล้วทำไร่ทำนาแทน การหักร้างถางป่า จึงเกิดขึ้นเป็นการใหญ่ ถนนสายใหม่ และระบบคมนาคม ถูกสร้างขึ้น เพื่อเชื่อมนครหลวง กับเมืองต่างๆในจังหวัด ซึ่งเมื่อก่อน ถูกทอดทิ้ง ให้อยู่โดดเดี่ยว การหักร้างถางพง คงดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้ง ตราบเท่าที่ ความต้องการพืชทำเงิน ยังมีอยู่ แต่เมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลกลับมาเริ่มโครงการ อีสานเขียว เพื่อกระตุ้นการกู้ป่าตามธรรมชาติ ให้คืนสู่สภาพเดิม ด้วยความหวังที่จะฟื้นฟู สภาพดินฟ้าอากาศ และคุณภาพของดิน ขึ้นมาใหม่

แม้ว่าชีวิตในภาคอีสาน จะแสนลำบาก วัฒนธรรมอีสาน และชีวิตแบบชนบท ช่วยลดความตึงเครียดลงไม่น้อย สิ่งแรกคือ พุทธศาสนา มีวัดวาอาราม เป็นศูนย์กลาง ที่พึ่งทางจิตใจ และวัตถุ (และพิธีกรรม ที่เกี่ยวกับทางโลกด้วย) คนไทยชอบสนุก ทั้งในเวลาทำงาน และเลิกงาน คนอีสานชอบร้องเพลง ฟ้อนรำ และเล่นดนตรี แต่โชคไม่ดี ที่เหล้า มักเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่กับ ความสนุกสนานด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระหว่างผู้ชาย และนี่ก็เป็นผลร้ายต่อสังคม และการเลี้ยงชีพ

การมีน้ำใจ เป็นอุปนิสัยดีงามของคนไทย ซึ่งพบเห็นดาษดื่นในภาคอีสาน ตั้งแต่การต้อนรับ แขกเหรื่อที่มาเยี่ยม ไปจนถึงการลงแรง ช่วยเหลือกันและกัน ในฤดูเก็บเกี่ยว ถึงแม้ว่า พุทธสถานศีรษะอโศก จะไม่ใช่หมู่บ้านตัวอย่าง ที่พบเห็นทั่วไป ในภาคอีสาน แต่ชุมชนนี้ ก็พยายามปรับปรุงตัว ให้มีคุณภาพชีวิตชนบท ที่ดีที่สุด


 

Chapter 3
Setting: Srisa Asoke Buddhist Center

The places people live, whether by choice or circumstance, can offer clues as to who those people are. The Srisa Asoke Buddhist Center is an “intentional community” where people with common principles and a common purpose gather (rather than a typical village into which people are born). As such, this place speaks volumes about its residents. This chapter introduces Srisa Asoke and the people who live there.

Isan

Srisa Asoske is located roughly fifty kilometers from the Cambodian border in Kantaralak District, Srisaket Province, Isan, the northeast region of Thailand (map 3.1). Isan is the poorest and most populous region in the country, and it shares cultural attributes with its neighbors. Laos and Combodia. The Isan language, lao, is a dialect of Thai very similar to the language spoken is Laos (though I have been told that people from Laos can understand Isan speakers, but not the other way around). Most Isan people are farmers, combining subsistence agriculture with cash crop cultivation such as sugar cane and cassava. Water buffalo are commonly used to plow as tractors are quite expensive and are more difficult to maintain. Like elsewhere in Thailand, Isan villages are arranged as hamlets with fields often several kilometers away. To get to these fields. Farmers may walk or take bicycles, motorcycles. Slow but innovative vehicles made of a large exposed engine pulling a long wooden trailer, or, for the lucky few, a pickup truck.

The land is much drier and less fertile in Isan than in other regions, which Crafts produced in the community, and ana area dedicated to the life history of Pau Than Bodhirak. Upstairs is a shrine housing sacred relics where visitors may pay their respects. Just behind the museum stands the most frequently used building in the community, the Common Hall, where both secular and religious activities take place. Fifteen or twenty kuti (monks’ sleeping huts of about five by eight feet) are tucked away in the wooded area behind the Common Hall, and a dozen slightly larger huts for khon wat (“temple people” who take eight precepts) line an approaching walkway. Surrounding this domain- in the community proper- are tree-lined lanes of wooden houses on stilts; facilities for cultivating mushrooms, weaving cloth, and recycling trash; organic vegetable and herb gardens in every available space. Forested areas with quiet paths; and a clinic, a library, an art studio, a cremation site, a rice mill, a smithy, and much more. It is astounding that just thirty years ago, this carefully crafted settlement was a bare cemetery.

There are about eighty regular residents at Srisa Asoke including seven monks as well as 200 boarding school students. Most residents are Isan natives, born and raised there in Srisaket or nearby provinces, however, several have relocated from Bangkok, and a handful have come from faraway places such as Chiang Mai. These residents do not fit the agrarian Isan norm: in a demographic survey of the community, 57 percent of the respondents said they came from a rural area (as opposed to town) but only 19 percent identified themselves as farmers. A roughly equal percent of the population had been teachers, students, or involved with sales (shopkeepers and street vendors) before coming to Srisa Asoke. There were also various other occupational backgrounds including an engineer, a driver, an artist, and a soldier. Overall, the educational level of Srisa Asoke residents is quite high: only three respondents had less than the national required level of education, a third completed what was required at the time (fourth grade or sixth grade), several more had at least some secondary school, and a whopping 43 percent has an associate’s degree or higher (including two with master’s degrees). Though the demographic survey did not ask the respondent to identify ethnicity, I would classify roughly 60 percent of the residents as ethnic Lao, 20 percent as Central or Northern Thai, and 20 percent as Chinese-Thai. These differences in background are not apparent at first glance due to the Asoke “uniform”: their unadorned, traditional rural dress comprising indigo-dyed Thai mahom farmer shirts and pants or phathung (wrap skirt) over bare feet.

While Srisa Asoke is not a typical Isan village, neither does it fit the stereotype of a Buddhist center. The common image of Buddhist practice is sitting still with eyes closed, monitoring the breath, but this is only one method of meditation. Asoke members practice meditation continuously through their work and social interactions. Lest one picture life at Srisa Asoke as contemplative navel gazing, consider a typical day. Residents are roused by a gong at 3:30 a.m. for chanting and sermons in the Common Hass or, one morning a week, a community meeting. Two hours later, the practitioners part company and set to their community work. At 10:00 a.m. residents and guests return to the Common Hall for a communal meal. This meal may last until noon because it is the only meal of the day for stricter practitioners as well as a time to relax. Community work then continues throughout the afternoon and early evening with time out for personal business. At night, residents may chat with neighbors , practice sitting meditation, watch a movie, attend committee meetings, or read quietly until “lights out” at 9:00 p.m. None of these activities is mandatory, and work often takes precedence. Add the daily activities of 200 schoolchildren as well as hundreds of visitors each month, and Srisa Asoke is a veritable beehive. ........

            


 

ความเห็นของนักมานุษยวิทยาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม

พุทธสถานศีรษะอโศก ล้อมรอบด้วยนาข้าว ต้นมะพร้าว ต้นกล้วย และไม้ยืนต้น เป็นหย่อมๆ บางที ก็มีชาวนา นั่งพัก อยู่บนแคร่ไม้ไผ่ ใต้ร่มไม้ ผู้เขียนเล่าว่า วันที่เธอไปถึง เธอเห็นควายอุ้ยอ้ายตัวหนึ่ง เล็มตอซังข้าวอยู่ในนา

ศีรษะอโศก ตั้งอยู่ริมถนนดินแดง ห่างจากทางหลวงสายเหนือ-ใต้ ที่วิ่งระหว่าง ตัวเมืองศรีสะเกษ กับอำเภอกันทรลักษ์ ประมาณ ๒ กิโลเมตร ชุมชนอโศก ไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว แต่ร่วมถนนขี้ฝุ่น กับชาวบ้านกระแซง และหมู่บ้านอื่นๆ ในละแวกนั้น ในอดีต ผู้คนไม่กล้าใช้ถนนสายนี้ เพราะกลัว พวกคอมมิวนิสต์ แต่ ๓๐ ปีให้หลัง หรือปัจจุบันนี้ ชาวบ้านในละแวกนั้น แวะเติมน้ำมัน รถจักรยานยนต์ ที่ปั้มศีรษะอโศก และซื้อของใช้ไม้สอย เครื่องเขียน แบบเรียน ข้าวกล้อง เมล็ดพันธุ์ผัก และของราคาถูก ที่ร้าน “น้ำใจ” ของศีรษะอโศก

ศีรษะอโศก มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๐๐ เอเคอร์ (๕๐๐ ไร่) เป็นสวนผลไม้ นาข้าว แปลงผัก และไร่ธัญพืช แต่ศูนย์กลางชุมชน อยู่ที่บ้าน วัด และโรงเรียน บริเวณนี้กินเนื้อที่ ๓.๒ เอเคอร์ (๘ไร่ ) ถ้าเดินเข้าไปในหมู่บ้านอโศก จะเห็นลักษณะ การวางแผนที่รัดกุมมาก จากทางเข้าที่ร้าน “น้ำใจ” จะเห็นพิพิธภัณฑ์ ศีรษะอโศก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นเรือนไทย ที่สง่างามมาก แสดงจิตกรรมฝาผนัง ภาพถ่าย ชีวิตในอโศก สิ่งประดิษฐ์ด้วยมือ วัฒนธรรมของมอญ ในสมัยโบราณ สินค้าและหัตถกรรม ที่ผลิตในชุมชน และบริเวณที่แสดงชีวประวัติ ของพ่อท่านโพธิรักษ์ ชั้นบนเป็นสถูปบรรจุพระธาตุ และที่บูชา ข้างหลังพิพิธภัณฑ์ เป็นศาลาธรรม ซึ่งทั้งพระและฆราวาส ใช้เป็นที่ประชุม มีกุฏิ (กระท่อม ขนาด ๕ x ๕ ฟุต) สำหรับสมณะ ประมาณ ๑๕-๒๐ หลัง แอบอยู่ในป่า หลังศาลาธรรม และมีกระท่อม ขนาดโตหน่อย ๑๒ หลัง สำหรับคนวัด (คนถือศีล ๘) เรียงรายอยู่ริมทาง รอบๆบริเวณนี้ มีบ้านไม้เสาตั้ง (บ้านตั้งอยู่บนเสา) หลายหลัง เรียงกันไปตามถนน ที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่เป็นแนว นอกจากนี้ ยังมีโรงเพาะเห็ด โรงทอผ้า ที่แปรรูปขยะ สวนครัว และ สวนสมุนไพร มีทางเท้า ในบริเวณป่าที่เงียบสงัด มีคลินิก ห้องสมุด ห้องศิลป์ ที่เผาศพ โรงสี โรงตีเหล็ก เรือนทอ และอื่นๆอีกมากมาย ไม่น่าเชื่อว่า ที่ตั้งถิ่นฐานแห่งนี้ ซึ่งมีแผนดำเนินงาน อย่างมีระเบียบ เคยเป็นป่าช้า มาก่อน เมื่อ ๓๐ ปีล่วงมาแล้ว

สมาชิกอาศัยประจำ อยู่ในชุมชนศีรษะอโศก ประมาณ ๘๐ คน รวมทั้ง สมณะ ๗ รูป และนักเรียน ที่อยู่ประจำอีก ๒๐๐ คน สมาชิกส่วนใหญ่ เป็นชาวอีสานโดยกำเนิด คือ เกิดและเติบโตที่ศรีสะเกษ หรือจังหวัดใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม สมาชิกหลายคน ย้ายมาจากกรุงเทพฯ และจำนวนหนึ่ง มาจากแดนไกล เช่น เชียงใหม่ สมาชิกเหล่านี้ ไม่เหมือนชาวนาทั่วไปในภาคอีสาน คือ ๕๗% เป็นคนที่เคยอยู่ นชนบท แต่ ๑๙ % เท่านั้นที่เคยทำนา ประมาณครึ่งหนึ่ง ของสมาชิกที่อยู่ประจำ เคยเป็นครู นักศึกษา หรือค้าขาย (ร้านค้า หรือแผงลอย) อาชีพอื่น เช่น วิศวกร จิตรกร พนักงานขับรถ และทหาร ส่วนระดับการศึกษา ของสมาชิก ศีรษะอโศก ค่อนข้างสูง ๔๓% ได้รับอนุปริญญา หรือสูงกว่า (๒ คนได้ปริญญาโท) ส่วนมาก จบมัธยมศึกษา ประมาณ ๑ ใน ๓ จบประถม ๔ หรือประถม ๖ และเพียง ๓ คน เท่านั้น ที่ไม่จบ การศึกษาภาคบังคับ ผู้เขียนไม่ได้สำรวจ เชื้อชาติเดิมของสมาชิก แต่สังเกตว่า ๖๐% มีเชื้อสายลาว ๒๐% เป็นคนไทยภาคกลาง หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ๒๐%  เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ความแตกต่าง ทางเชื้อชาติ มักมองไม่ออก ในระยะแรกที่พบกัน เพราะเครื่องแบบของอโศก:  เหมือนเครื่องแต่งกาย ของชาวนา เสื้อหม้อฮ่อม กางเกง หรือผ้าถุงสีน้ำเงิน หรือสีดำ ทำให้ดูเหมือนกันไปหมด

ศีรษะอโศก ไม่เหมือนกับหมู่บ้านอีสานทั่ว ๆไป และก็ไม่ใช่ศูนย์พุทธศาสนาแบบเก่า การที่นักปฏิบัติธรรม นั่งหลับตา และพยายามรักษาสติ ให้อยู่ที่ลมหายใจ ไม่ใช่วิธีของอโศก สมาชิกชุมชนอโศก เอาสติไว้ที่การทำงาน และการติดต่อกัน ทางสังคม จึงเป็นการควบคุมสติ ที่ต่อเนื่องกันตลอดวัน ตามปกติ ชีวิตที่ศีรษะอโศก เริ่มตอนเช้าตรู่ เวลา ๓.๓๐ นาฬิกา ระฆัง ปลุกสมาชิกทั้งหมู่บ้าน ไปสวดมนต์และฟังธรรม ในศาลาธารรม หรือประชุมหมู่บ้าน อาทิตย์ละครั้ง  ๕.๓๐ นาฬิกา สมาชิกแยกย้ายกันไปทำงาน ตามหน่วยงานที่สังกัด  ๑๐.๐๐ นาฬิกา สมาชิกและผู้มาเยี่ยม กลับไปศาลาธรรม เพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน เวลาอาหาร นานถึงเที่ยง เพราะว่า นักปฏิบัติธรรมบางคน รับประทานอาหาร วันละมื้อเดียว เสร็จจากอาหาร สมาชิกกลับไปทำงานต่อ จนบ่ายหรือเย็น บางคนอาจขอเวลานอก เพื่อทำธุระส่วนตัว กลางคืน สมาชิกอาจสนทนากับเพื่อนบ้าน ฝึกนั่งภาวนา ดูโทรทัศน์ ฟังการประชุม อ่านหนังสือเงียบๆ จน ๒๑ นาฬิกา ถึงเวลาปิดไฟ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ ไม่เป็นการบังคับ สมาชิกส่วนใหญ่ถือว่า งานสำคัญกว่าสิ่งอื่น เมื่อรวมกิจกรรมประจำวัน ของนักเรียน ๒๐๐ คน และผู้เยี่ยมเยียน อีกเดือนละหลายร้อย ผู้เขียนเปรียบเทียบ ศีรษะอโศก เหมือนกับรังผึ้ง ที่จอแจทีเดียว

ศีรษะอโศก เป็นระบบทางสังคม ที่มีทั้งรวบรวม และร่วมมือ ตามอุดมคติ สมาชิกทุกคน อาสาสมัครทำงาน ตามที่ตนสนใจและถนัด ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชน ได้รับสิ่งที่ดีเลิศ เช่น ชาวนาทำนา ครูสอนนักเรียน แต่บางที ไม่เป็นเช่นนั้น ชาวนาบางคนได้งานใหม่ เป็นหัวหน้าในโรงครัว เป็นคนดูแลผู้สูงอายุ เป็นช่างเย็บผ้า ให้คนทั้งหมู่บ้าน ยิ่งกว่านั้น หลายคนไม่เคยทำนา แต่อยากหาประสบการณ์ ในการเพาะปลูก เพราะว่า เป็นอาชีพธรรมชาติที่สุด ตามความเป็นจริง สมาชิกส่วนใหญ่ รับผิดชอบในงานหลายอย่าง รวมทั้ง การดูแลนักเรียนที่อยู่ประจำ งานเหล่านี้ ไม่มีค่าจ้าง แต่ไม่ใช่จะไม่ได้อะไรเลย สิ่งตอบแทน ที่นอกเหนือไปจากปัจจัย ๔ (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และ ยารักษาโรค) ก็มีการแนะแนว ทางจิตวิญญาณ และความสุขทางใจ ครอบครัวที่มีลูก เด็กจะได้รับการศึกษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และยังได้สิ่งแวดล้อมที่ดี สมาชิกบางคน ยังเก็บบ้าน เงิน และยานยนต์ ไว้เป็นส่วนตัว แต่ส่วนใหญ่ โอนสิ่งเหล่านี้ ให้ส่วนรวม แล้วร่วมใช้สิ่งต่างๆ เท่าๆกัน เป็นที่น่าสังเกตว่า ชุมชนอโศกก่อตั้งขึ้น ขณะที่พวกคอมมิวนิสต์ ในประเทศไทย ถูกฆ่า เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ แต่สมาชิกศีรษะอโศก แถลงว่า เขาไม่ใช่คอมมิวนิสต์ สมาชิกทุกคน มีเสรีภาพ ที่จะอยู่หรือไป เลือกทำงาน หรือเปลี่ยนงาน และร่วมในการตัดสินใจ โดยการออกเสียง ตามระบอบประชาธิปไตย

ผู้เขียนอ้างคำอธิบาย ระบบอโศก ของครูคนหนึ่ง (อาไพรศีล) ซึ่งทำงานในศาลาธรรม ห้องสมุด โรงครัว และสวนครัว ดังนี้

เรากินอาหารจากครัว ของส่วนกลาง เวลาฟังธรรม เราใช้ศาลาของส่วนกลาง เราใช้เงินของส่วนกลาง เวลาฉันซื้อไม้กวาด หรือของจำเป็น สำหรับวัด ฉันใช้เงินส่วนกลาง เวลาฉันขายของ ได้เงินมา ฉันเอาเงินใส่ส่วนกลาง มันเป็นสมบัติสาธารณะ ที่พระพุทธเจ้าสอน ทำให้มันเป็นส่วนกลางให้หมด และไม่มีสิ่งที่เป็นสมบัติของ คนหนึ่งคนใด ทุกคนทำงาน แล้วเอาใส่ส่วนกลาง ไม่เก็บไว้เป็นสมบัติของตัวเอง ถ้ามันเป็นของเรา เราอยากได้มันมากๆ และไม่อยากแบ่งให้ใคร แต่ถ้าเราเก็บมันไว้ เป็นส่วนกลาง เราเสียสละ –ใครอยากได้ เอาไป ใช้มันไป แต่นี่เป็นการฝึกธรรม มันทำให้เราละกิเลส เวลาเรา ทำงานร่วมกัน เรามีความขัดแย้ง -เรามีความเห็นไม่ลงรอยกัน - เราต้องพยายามปรับปรุงหัวใจของเรา เราจึงจะสามารถลดความโกรธ ความเห็นแก่ตัวได้ และเราต้องมีความอดทน เมื่อเรารู้ว่า เราแตกต่างจากคนอื่น

คำอธิบายของ อาไพรศีล แสดงให้เห็นว่า ระบบอโศก มุ่งประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า ความสะดวกสบาย ของสมาชิก หรือการพึ่งตนเอง ของชุมชน

อโศกได้สร้างแบบจำลองขึ้น ในชุมชนอโศก เพื่อแสดงกระบวนการ ของการผลิตวัตถุ และ การถ่ายทอดทางสังคม ที่ดำเนินไป ไม่หยุดยั้ง เรียกว่า บวร  หรือ บ้าน-วัด-โรงเรียน ผู้นำศีรษะอโศก อธิบายว่า “องค์ประกอบทั้งสามนี้ ถูกหลอมเข้าด้วยกัน โดยพุทธศาสนา เป็นแก่นแท้ อันเดียว ที่เป็นหัวใจ ของความศรัทธา และแนวทาง... กล่าวคือ สังคมที่ดำเนินต่อเนื่องกันไป ต้องมีกฎหมาย และระเบียบ ข้อบังคับ ซึ่งได้มาจากศาสนา โรงเรียนดำเนินการเรียนการสอนให้นักเรียน เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ และบ้านเป็นรากฐานของอาชีพ” นักเรียนคนหนึ่ง ที่ศีรษะอโศก แสดงความประทับใจ ด้วยคำกล่าวว่า

“พระสงฆ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศาสนา หมายถึงรากฐาน ทิศทาง และกรอบ บ้านหรือผู้ใหญ่ หรือครอบครัว หมายถึงแบบ การสร้างสรรค์ และโครงการ เด็กหรือโรงเรียน หมายถึง แรงงาน อนาคต พลัง และศักยภาพ หรือความเป็นไปได้ ที่ยังซ่อนแฝงอยู่”

ผู้เขียนยอมรับว่า ชีวิตที่ศีรษะอโศก มีเค้าโครงอย่างนี้จริง ๆ เพราะว่า กิจกรรมที่สำคัญ ก็คือ การปฏิบัติธรรม การทำงาน เพื่อยังชีพ และการศึกษาของนักเรียน ๒๐๐ คน แม้ว่าการให้การศึกษา สายสามัญ จะไม่ใช่วัตถุประสงค์หลัก ของชุมชนนี้ แต่พลังงาน เวลา และทรัพยากร ที่ใช้ไปในการดูแลนักเรียน ซึ่งทวีจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ เพิ่มความตึงเครียด ให้ศีรษะอโศก ไม่น้อยเหมือนกัน

ผู้เขียนแสดงแผนผัง ความเกี่ยวพันของชีวิต ที่ศีรษะอโศกไว้ ดังนี้

                             พุทธศาสนา
                       หลักการดำเนินชีวิต

    (ขยัน กล้าจน ทนเสียดสี หนีสะสม นิยมสร้างสรรค์ สวรรค์-นิพพาน)
             __________________________
          บ้าน                วัด                   โรงเรียน
ชุมชนบุญนิยม    พุทธสถาน    การศึกษาบุญนิยม

 

 

ประวัติ

ข้อความที่เกี่ยวกับประวัติ ของศีรษะอโศกได้มาจาก บันทึกของผู้นำของชุมชน ที่ได้บันทึกเอาไว้ ติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี  บันทึกนั้น ให้ความกระจ่าง ถึงการเริ่มต้นการพัฒนา และความสำคัญของศีรษะอโศก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา และให้โอกาสสมาชิก ของศีรษะอโศกเอง ได้ทราบถึงนาทีที่สำคัญ ในประวัติศาสตร์ของชุมชนของเขา

ชุมชนศีรษะอโศก เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ ๓๐ ปีล่วงมาแล้ว ณ ป่าช้าร้างแห่งหนึ่ง ในระยะแรก คนภายนอกเข้าใจว่า สมาชิกของชุมชนนี้ เป็นพวกคอมมิวนิสต์ จึงไม่มีใครกล้าย่างกรายเข้าไป ในบริเวณนั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ระหว่างเวลานั้น จนถึงปัจจุบันนี้ เปลี่ยนความคิดและทัศนคติ ของคนเหล่านั้นโดยสิ้นเชิง

บันทึกส่วนหนึ่ง กล่าวไว้ดังนี้

ก่อนที่จะเป็นศีรษะอโศก
จุดเริ่มต้นคือป่าช้า ใน พ.ศ. ๒๕๑๗ พระสงฆ์จากสันติอโศกได้ปักกลดที่ป่าช้า ซึ่งคนนำศพมาเผาหรือฝัง... ครั้งแรก ชาวบ้านในละแวกนั้น มาหาพระ เพื่อขอเลขดี ๆ จะได้เอาไปซื้อหวยใต้ดิน เพราะเขาเชื่อว่า พระบางรูป สามารถมองเห็น เหตุการณ์ข้างหน้า พระเลยถือโอกาสนี้ สอนธรรมของพระพุทธเจ้า ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่ชาวบ้าน กำลังแสวงหา พระขอให้เขา ถือศีลห้าหรือศีลแปด เพื่อลดสิ่งที่เขาทำลายตัวเอง เป็นประจำ... เขาเรียนการแผ่เมตตา และหยุดกินเนื้อสัตว์ ชาวบ้านหลายคน เริ่มมีความเชื่อมั่นในตัวเอง และค่อยๆ เปลี่ยนนิสัย

การพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ คนจากศรีสะเกษ และจังหวัดใกล้เคียง มาปฏิบัติมากขึ้น... ในระหว่างนี้ คนเหล่านั้น ร่วมกันปลูกต้นไม้ สร้างโบสถ์ และศาลาธรรมแบบพื้นๆ เขาสร้างกุฏิหลายหลัง พร้อมทั้งห้องน้ำ และปรับปรุงทางเท้า เพื่อใช้ในการเดินจงกรม

ถูกตราหน้าว่าพวกเพี้ยน
ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๙ สมาชิกทั้งหมด ของศีรษะอโศก ปฏิบัติหนัก ในการพัฒนาจิตวิญญาณ เขาถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ละทิ้งอบายมุข ไม่กินเนื้อสัตว์  ผู้ใหญ่ไปวัดเพื่อฟังธรรม แล้วกลับมาปฏิบัติที่บ้าน เขาตัดรายจ่าย โดยการกินอาหารเพียงมื้อเดียว ไม่แต่งหน้าหรือทาปาก แต่งตัวอย่างธรรมดา เหมือนชาวนา ไม่สรวมรองเท้า เขาทำหลายอย่าง เพื่อฝึกตัวจิตให้เป็นอิสระ จากการยึดติด ในกามตัณหา โกรธ หลง ชีวิตทางโลก และความทะนงตน ดูเหมือนว่า การปฏิบัติของเขา สวนทางกันกับ สังคมส่วนใหญ่  จึงเป็นการยาก ที่สังคมไทยจะเข้าใจ และยอมรับชุมชนใหม่ ที่มีเอกลักษณ์อย่างนั้น คนภายนอก ที่ไม่คุ้นเคยกับอโศก จะเห็นว่า สมาชิกอโศก เป็นคนประหลาด เพื่อนบ้านบางคนค่อนแคะ และตั้งสมญาให้ชาวอโศก แปลกๆ เช่น บ้า เพี้ยน ทั้งที่ความจริง พฤติกรรมเหล่านั้น สอดคล้องกับขั้นตอน ในหลักธรรม

หมู่บ้านพุทธธรรม
ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ ญาติธรรมในศรีสะเกษ และจังหวัดใกล้เคียง สนใจในการปฏิบัติเพิ่มขึ้น เขาร่วมกันก่อตั้งชุมชน ในเนื้อที่ ๘ ไร่ และตั้งชื่อว่า “หมู่บ้านพุทธธรรม” ครั้งแรก หมู่บ้านนี้ มีพลเมืองเพียง ๑๐ คน ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ เขาสร้างเรือนไทย เสาตั้ง ๖ หลัง แต่ตอนปลายพรรษา ๒๕๓๐ จำนวนบ้านเพิ่มขึ้นเป็น ๑๘ หลัง และสมาชิก ทะยานขึ้นเป็น ๔๐... รายได้ของหมู่บ้าน มาจาก การบริจาคของญาติธรรม อาหารเสบียง เช่น ผักดอง ของกระป๋อง และอาหารแห้ง มาจากสันติอโศก กรุงเทพฯ เมื่อมีคน ๑๐ คนในหมู่บ้าน อาหารไม่เคยขาดแคลน ของที่เหลือในบาตร ที่พระบิณฑบาตได้ ในตอนเช้า รวมทั้งที่ญาติธรรม อนุโมทนา ก็เพียงพอ แต่เมื่อมีสมาชิกเพิ่มขึ้น และบางคนมามือเปล่า เราก็ต้องพบกับความยากจน เราต้องกินตามส่วนแบ่ง กล้วยลูกหนึ่ง ต้องแบ่งสี่ และเห็ด ๑ กก. ต้องยืดให้กินได้ ๒ วัน เราไม่มีไฟฟ้าใช้ และน้ำ ก็ต้องไปตัก เอาจากในบ่อ

กสิกรรมธรรมชาติ พืชผลปลอดยาฆ่าแมลง
ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ ญาติธรรมจากกรุงเทพ ฯ ซื้อที่ ๒๐ ไร่ แล้วมอบให้ศีรษะอโศก วัดเริ่มนโยบาย พึ่งตนเองทันที  พระสงฆ์ประกาศ จะไม่ฉันผักจากตลาด นี่เป็นจุดเริ่มต้น ของการทำนา ที่ศีรษะอโศก ชุมชนวางแผนการหลายอย่าง ที่จะเพาะปลูกอาหาร แต่ในฐานะ สมาชิกองค์การชาวพุทธ ซึ่งได้ให้คำมั่นสัญญาว่า จะไม่ฆ่าหรือทำร้ายสัตว์ เราจึงเริ่มการกสิกรรมธรรมชาติ ที่ปลอดยาฆ่าแมลง เราปลูกพืช โดยไม่ใช้สารเคมี เพื่อบริโภค ในหมู่บ้านของเรา ไม่ได้ปลูกสำหรับขาย

ลบล้างความยากจนในหมู่ชาวพุทธ
ด้วยการปฏิบัติธรรม จะไม่มีความยากจน ในหมู่ชาวพุทธเรา ชาวศีรษะอโศก ผลิตทุกอย่างที่เรากิน และใช้ในชุมชนของเรา เราต้องพึ่งตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะขยายความช่วยเหลือ ไปสู่ผู้อื่น ในระยะนี้ เราเน้นการปลูกข้าว พันธุ์ไม้ที่ให้ผล สวนครัว เห็ด เราปลูกไม้ยืนต้น เพื่อรักษาป่า เราทำปุ๋ยอินทรีย์ และอื่นๆ เรากินด้วยกัน และใช้ของร่วมกัน เหมือนกับที่เราอยู่ ในครอบครัวเดียวกัน... ในเวลา ๕ ปี เราก็สามารถพึ่งตัวเองได้ คนภายนอก เริ่มมองเราด้วยความชื่นชม และขอคำแนะนำจากเรา ผู้มาเยี่ยมหลายคน ซึ่งทำตามที่เราบอก สามารถปลดหนี้ได้ เราได้ช่วยคนหลายคน ให้พ้นจากอบายมุข และพบชีวิตใหม่ ในระยะเวลานี้ มีคนกระตือรือร้น จะสมัครเป็นสมาชิกชุมชนของเรา มากมาย และพยายามป้องกัน ไม่ให้สังคมของเราล้ม

การศึกษาของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน
ในปี ๒๕๓๓ จำนวนนักเรียนที่ศีรษะอโศก เพิ่มขึ้นเป็น ๒๐ คน ชุมชนอนุญาตให้นักเรียน ชั้นมัธยม ๑๓ คน ไปเรียนที่โรงเรียน ประจำจังหวัด ศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ในตัวเมือง แต่ปรากฏว่า ความประพฤติของนักเรียนเหล่านั้น เลวลง เขาสร้างปัญหา เช่นกลับบ้านไม่ตรงเวลา เกียจคร้าน ทำการบ้านไม่เสร็จ และเที่ยวไถล โดยไม่มีจุดหมาย สมาชิกชุมชนของเรา ที่เคยเป็น ครูบาอาจารย์ ประชุมกัน และเสนอให้ชุมชน จัดการเรื่องการศึกษาของเราเอง คณะกรรมการของเรา เขียนหลักสูตรขึ้น ๘๐% อีก ๒๐% เราใช้หลักสูตร การศึกษานอกโรงเรียน ของกระทรวงศึกษาธิการ

ธุรกิจของชุมชน            
ในปี ๒๕๓๕ เราตั้งองค์การธุรกิจขึ้น ในชุมชนศีรษะอโศก เราตั้งโรงสีขนาดย่อม เพื่อสีข้าวกล้อง เอาไว้บริโภค ภายในชุมชนของเรา แต่ถ้าเหลือใช้ เราก็ขายไปในราคาถูก ยังมีธุรกิจรายกลุ่ม ภายในชุมชนของเรา เช่น กลุ่มผลิต น้ำยาสระผม และสบู่สมุนไพร กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มผลิตยาแผนโบราณ กลุ่มผลิตอาหาร และการครัว กลุ่มร้านค้า เราเปิดร้าน ขายของสะดวก สำหรับประชาชน

การปรับปรุงชุมชน
ในปี ๒๕๔๐ ศีรษะอโศก เริ่มเข้าสู่ระบบครบวงจร ที่เกือบจะสมบูรณ์แบบ ของการพึ่งตนเอง ชุมชนได้จดทะเบียน เป็นหมู่บ้าน อย่างเป็นทางการในกระทรวงมหาดไทย มีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน โดยการอาสาสมัคร จากข่าวเล่าลือ ของคนที่เคยมาเยี่ยม ศีรษะอโศก ทำให้คนทั่วไป สนใจในชุมชนของเรามากขึ้น เราต้องสร้างอาคารใหม่ และปรับปรุงสถานที่ เพื่อต้อนรับ ผู้มาเยี่ยม ด้วยเหตุที่งานของเรา เป็นที่ต้องการของสาธารณะ  เราจึงต้องรับความช่วยเหลือ จากรัฐบาล และองค์กรเอกชน

สถานการณ์ในปัจจุบัน (๒๕๔๓)
ปัจจุบันนี้เรามีสมาชิก ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ศีรษะอโศก ๓๑๕ คน มีผู้มาเยี่ยม และคนที่มาอบรม อีกเดือนละ ประมาณ ๑,๐๐๐ คน สมาชิกทุกคน จึงต้องทำงานแข่งกับเวลา เพราะว่าชุมชนของเรา ต้องการรักษามาตรฐานการผลิต และแรงงานบางส่วน เสียไปในการอบรม และให้การศึกษาแก่ผู้มาเยี่ยม แม้ว่าทุกคน ต้องทำงานหนัก โดยไม่ได้รับสิ่งตอบแทน เราก็มีความพอใจในบุญ เรายินดีเสียสละ ความสุขส่วนตัว เพื่อสังคม และประเทศชาติของเรา

ผู้เขียนกล่าวว่า ไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องวินิจฉัยหรือวิจารณ์ เรื่องที่สมาชิกเล่า แต่อยากเน้นคำพูดที่ว่า “กล้วยลูกหนึ่งแบ่งสี่” ว่าเป็นภาพพจน์ในอดีต ที่เด่นมาก และเป็นสัญลักษณ์ว่า ชุมชนนี้ มีความเป็นมาอย่างไร

วัตถุประสงค์ของชุมชน

ศีรษะอโศกเป็นชุมชนที่ตั้งขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมาย แต่ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า สมาชิกเข้าใจ ความมุ่งหมาย ของชุมชนหรือไม่ จึงสัมภาษณ์ สมาชิกบางคน และได้คำตอบ ที่แตกต่างกัน ดังนี้

ยายสา: อายุ ๗๔ ปี อาศัยอยู่ในศีรษะอโศกมา เป็นเวลานานถึง ๑๔ ปี บอกว่า
วัตถุประสงค์ ก็คือ มีคนมาปฏิบัติด้วยกัน ถือศีล กินมังสวิรัติ ทำงาน และเสียสละ

อาพลีขวัญ: แม่ลูกติดและคนวัด อธิบายถึงจุดหมายปลายทาง ที่สูงส่งว่า
เพื่อสร้างทุกคน ให้เป็นอรหันต์ คนเราต้องการก้าวไปข้างหน้า บนทางที่สูงขึ้น สูงขึ้น และสูงยิ่งขึ้น
นี่เป็นเป้าหมาย ที่สูงที่สุดของทุกคน แต่การเดินทางนี้ ลำบากมาก

อาจันทิมา: ค่อนข้างใหม่ต่ออโศก ยืนยันว่า การพัฒนาจิตวิญญาณ ของแต่ละคน เป็นวัตถุประสงค์ ประการแรก
เท่าที่ฉันเข้าใจ ชุมชนนี้มีเป้าหมาย ที่จะพัฒนาคน แต่ก่อนที่เราจะพัฒนาคนอื่น เราต้องพัฒนาตัวเอง เป็นคนแรก... นี่เป็นจุดมุ่งหมาย ที่สูงที่สุดของอโศก เป็นเรื่องลึกมาก เรื่องที่จะเข้าถึงจิตวิญญาณ ว่าเราจะพัฒนาตัวเราเองอย่างไร และระดับไหน แต่ละคน จะถืออะไร ศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ หรือจะเอาให้ถึงระดับพระ คือบวช ถือศีล ๒๒๗ ข้อ นี่ขึ้นอยู่กับ ความสามารถ ของแต่ละคน

สมาชิกอีก ๒ คน เน้นการปฏิบัติเป็นกลุ่ม

อาทางบุญ:
วัตถุประสงค์ของที่นี่ก็คือว่า ทุกคนมาเพื่อจะถือศีล และอยู่ใกล้กับคนที่ถือศีล เพื่อเป็นกลุ่ม จะได้มีแรงดี ในการทำงาน เพื่อมีพลัง คนดีร่วมพลังกัน และนั่นเป็นสิ่งประเสริฐ เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ทำอะไรก็ตาม เป็นกลุ่มใหญ่ และได้ผล

อาไพรศีล:
การรวมกันของกลุ่มคน ผู้ซึ่งปฏิบัติ ผู้ซึ่งมาทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม ดังนั้น เขาสามารถสร้าง และทำให้เกิดผล ถ้าเรากระจัดกระจาย พลังที่จะทำงานก็น้อย เมื่อเรารวมกัน เราใช้ความคิด สมอง ทำงานด้วยกัน และดูแลซึ่งกันและกัน ทำให้เรา มีความสัมพันธ์กัน

ต่อไปนี้เป็นคำนิยาม วัตถุประสงค์ ที่อยู่เหนือระดับ การพัฒนาคนแต่ละคน และเหนือขอบเขตชุมชน

มั๊วะ: นักศึกษามหาลัยอโศก เริ่มประโยคทางการ “วัตถุประสงค์หลัก ของชุมชนนี้ คือการปฏิบัติธรรม”
ปฏิบัติจนกระทั่ง บางสิ่งบางอย่าง ที่จะสนับสนุนชุมชนเกิดขึ้น เมื่อเราสามารถสนับสนุน ชุมชนของเรา เราก็อภิปรายปัญหา กับชุมชนอื่น ให้ความรู้แก่เขา และเชื้อเชิญเขาปฏิบัติ วัตถุประสงค์ที่สำคัญของเรา คือการเป็นสังคมต้นแบบ และในเวลาเดียวกัน ก็พัฒนาตัวเราเอง

ผู้เขียนกล่าวว่า ความเห็นของนักศึกษาคนนี้ สอดคล้องกับ อุดมการของอโศก ในการพัฒนาชุมชนตัวอย่าง เพราะเท่าที่สังเกต เขาเห็นว่า อโศกมุ่งหมาย จะสร้างคนแต่ละคน สร้างชุมชน และสังคม

สมาชิกศีรษะอโศก อีก ๕ คน เอาคติพจน์ของอโศก ระดับชาติ “อโศกเพื่อมนุษยชาติ” มากล่าว
รื่น: ตามที่พ่อท่านพูด อโศกเพื่อมนุษยชาติ ทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อมนุษยชาติ เพราะว่า ทุกคนมาที่นี่ เพื่อเสียสละ

อาเจนจบ: วัตถุประสงค์คือ เพื่อมนุษยชาติ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ช่วยนำเขาให้พ้นทุกข์ ให้เขารื่นเริง และมัธยัสถ

แม่ปรานี: เพื่อสร้างมวลมนุษยชาติ ให้เป็นคนดี ซึ่งมีศีล อุตสาหะ มัธยัสถ์ ซื่อตรง และเสียสละ

เอม: ชุมชนนี้มีคำพูดว่า “อโศกเพื่อมนุษยชาติ” นั่นหมายความว่า วัตถุประสงค์หลัก ของชุมชนนี้ คือการช่วยเหลือชุมชนอื่น ซึ่งยังมีความรู้น้อย – ช่วยให้เขามีอาชีพ รวมทั้ง ความเข้าใจที่จะละบาป
               
ท่านดินธรรม:
เขาพูดกันว่า “อโศกเพื่อมนุษยชาติ” นั่นคือ เพื่อช่วยเหลือ และสนับสนุนโลกทั้งโลก เมื่อเรามีอาหาร และที่อยู่อาศัย เราก็สมบูรณ์ แต่สังคมภายนอก วิตกกังวล เขาวิตกกังวล ด้วยเรื่องอะไร ? เขาคิดว่า ทุกวันนี้ ไม่มีคำตอบ เราจะเอาระบบนี้ (บุญนิยม) เป็นคำตอบ เอาเขาเข้ามาร่วมด้วย ครั้นแล้ว ถ้าเขาไม่สามารถ ตามเราทัน เราจะช่วยเขา เพราะเราคิดว่า เราเป็นพี่น้อง ในครอบครัวเดียวกัน นี่เป็นเป้าหมายของ ชุมชนศีรษะอโศก เราจะสร้างชุมนุมที่สมบูรณ์ก่อน เมื่อเราสมบูรณ์แล้ว – ไม่ใช่เพียงอาศัย อยู่ในสังคมเล็กๆ นี้เท่านั้น เราต้องอาศัยอยู่ในประเทศชาติ ร่วมกับคนอื่นรอบตัวเรา เพราะฉะนั้น สมมุติว่า เราอยู่ที่นี่ แล้วเกิดอะไรขึ้น เราจะไม่สามารถอยู่ได้ ดังนั้น เราต้องช่วยสังคม

สมาชิกอีกหลายคนกล่าวว่า เป้าหมายของชุมชนนี้ ก็เพื่อช่วยสังคมไทย แม้ว่าสังคมนั้น จะแตกต่างออกไป จากศีรษะอโศก ในบางอย่างก็ตาม

อารัตนา:
เป้าหมายคือ ช่วยเหลือสังคมไทย ให้ปลอดภัย ไม่ตกไปเป็นทาสของประเทศอื่น เพื่อช่วยสังคมไทย ช่วยเขาให้พ้นทุกข์ ช่วยเขาให้สามารถ ประกอบอาชีพ ๓ อย่างได้ เพื่อจะรักษาประเทศชาติเอาไว้

อารัตนา เคยบวชชี มา ๑๕ ปี ก่อนที่จะมาเป็นสมาชิก ศีรษะอโศก จึงเห็นการปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม ความเห็น ที่พาดพิงถึงการเมือง อาจจะเป็นเพราะว่า ท่านสนใจกับข่าว ที่กำลังมีความขัดแย้งกัน อยู่ในประเทศ เช่น การกู้เงินจากไอเอ็มเอฟ และ กรณีย์ จีเอ็มโอ

อาอ้าย: นับถือศาสนาคริสต์ นิกายมอร์มอน มาเรียนวิธีทำฟาร์ม ตามธรรมชาติ และเข้าใจวัตถุประสงค์ ของศีรษะอโศก ดังนี้
สิ่งที่เขาพูดกันเสมอก็คือ เขาอยากจะฟื้นฟูประเทศชาติ – ไม่ให้เหมือนอเมริกา- ไม่ให้อยู่ใต้อิทธิพลของชาติอื่น เพราะเขาพูดว่า นี่คือ ชุมชนวัฒนธรรม... ดังนั้น ชุมชนของเขา จึงมี ๓ ภาค คือ บ้าน วัด และโรงเรียน ใช่ไหม ? ดังนั้น วัดเพื่อที่จะทำให้คนบรรลุ บ้านและโรงเรียน เพื่อฟื้นฟูประเทศ และรักษาวัฒนธรรม คุณเห็นไหมว่า สามภาคนี้ ทำหน้าที่ของมันเอง ชัดเจนดีมาก

สำเนียงของอาอ้าย แสดงว่า เขาเป็นคนนอก ไม่ใช่เพราะ เขาเป็นคนต่างศาสนา แต่อาจเนื่องจาก เขาไม่เห็นด้วย กับความคิดที่ว่า อะไรที่เป็นอเมริกัน ก็เลวไปหมด อาอ้าย มีปริญญาโททางพละศึกษา และมีเพื่อนอเมริกันหลายคน ที่สอนการออกกำลังกาย ที่โรงเรียนนานาชาติ และตามคลับ ในกรุงเทพฯ

อาสัมพันธ์: ผู้ช่วยหัวหน้าหมู่บ้าน ให้ความเห็นดังนี้
วัตถุประสงค์ที่สำคัญของเรา คือการสร้างชุมชนนี้ ให้เป็นชุมชนตัวอย่าง และขยายตัวอย่างที่ดี ไปสู่ชุมชนอื่น ที่ต้องการพัฒนา คุณภาพของชีวิต –เป็นตัวอย่าง ที่จะขยายไปสู่ระดับอำเภอ จังหวัด ประเทศ และต่อๆไป เพราะว่า ถ้าจะให้สังคม มีความสงบ ร่มเย็นเป็นสุขที่สุด จะต้องเป็นสังคมบุญนิยม จะต้องเป็นสังคมพุทธ เราอาจเชื่อว่า ประเทศไทยของเรา เป็นประเทศพุทธศาสนา แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป ในรายละเอียด จะเห็นว่าไม่ใช่ เพราะประเทศพุทธศาสนา ที่แท้จริง จะต้องเป็นประเทศที่มี พลเมือง คล้ายคนอโศก ดังนั้น ประเทศไทย ต้องขยายสิ่งนี้ออกไป ไม่ใช่ขยายออกไป เพื่อจะมีอำนาจบุญ อำนาจของกรรมดีในอดีต แต่เพื่อสันติสุข อย่างยอดเยี่ยม ของมนุษยชาติ

อาอ้อย: หัวหน้าหมู่บ้าน เห็นว่าศีรษะอโศก มีจุดมุ่งหมายที่จะเป็น ชุมชนต้นแบบ เธอมุ่งความสนใจไปที่เด็ก และเยาวชน
วัตถุประสงค์ของชุมชน ก็เพื่อสร้างวัฒนธรรม ของคนอโศก ฝังรากฐานที่มั่นคง เพื่อคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน และคนหนุ่มสาว ที่จะตามมาในอนาคต เขาจะได้มีตัวอย่างที่ถูกต้อง นั่นคือ หมู่บ้านอื่น ดำเนินรอยตาม กระแสวัฒนธรรมของเรา –แต่การศึกษา สอนอย่างหนึ่ง การเมือง สอนอีกอย่างหนึ่ง เราไม่สามารถจับได้ว่า ประเทศไทย เป็นประเทศแบบไหน เขาสอนหลายสิ่ง หลายอย่าง— คนอโศกคิดว่า เราควรมีวัฒนธรรม ที่เป็นรากฐาน วัฒนธรรมที่แทรกซ้อนเข้าไป และสอดคล้อง ประเทศไทย ขณะนี้ มีอยู่เพียงชุมชนเดียว ที่สร้างกระแส ซึ่งเห็นความสำคัญของศาสนา และการศึกษา ชนิดที่จะสร้างคน ให้สร้างอาชีพ –ไม่ใช่สร้างคน ให้เป็นนักปกครอง หรือเจ้านาย อย่างการศึกษาที่เป็นอยู่ นี่คือ วัตถุประสงค์ ของชุมชนของเรา มันเป็นอย่างนี้ แต่มันยาก และล่าช้า

ผู้เขียนชมว่า ความเห็นของหัวหน้า และรองหัวหน้าหมู่บ้าน เป็นความเห็น ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ ของอโศกระดับชาติ และมีวิสัยทัศน์ สำหรับอนาคต

 

ค่าของชุมชน

ผู้เขียนตั้งคำถาม “อะไรสำคัญที่สุด สำหรับชุมชนนี้?” แล้วให้สมาชิกศีรษะอโศก ตอบคำถาม โดยเลือก ถ่ายรูป ๓ รูป ด้วยกล้องโพลารอย และ เขียนคำอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับ ความสำคัญของภาพที่เขาถ่าย, ต่อไปนี้ เป็นคำอธิบายภาพ ที่ได้รับการคัดเลือก

สมาชิกส่วนใหญ่เลือก “ศาสนา” เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

อาทางบุญ ซึ่งมีความมุ่งหมาย พระอรหันต์ ถ่ายรูปพระ กุฏิพระ และศาลาธรรม คนอื่นอีกหลายคน ก็เห็นว่า พระเป็น “ตัวอย่างของความดี” “หนทางชีวิตที่มีคุณค่า และเป็นแกนนำ”

อาอ้อย หัวหน้าครอบครัวอโศก และบุคคลสำคัญ ในการบริหารชุมชน เลือกรูปกุฏิพระ เธออธิบายว่า
เป็นการแสดง ความมักน้อยของพระ ซึ่งสละชีวิตทางโลก เพื่อศาสนา เป็นการแสดงตัวอย่างชีวิต ควรจะศึกษา ฉันเห็นพระ ปฏิบัติที่นี่ และได้ความรู้อย่างมาก ว่าในชีวิตของคนเรา เราควรพอใจกับความมักน้อย

ท่านดินธรรม สรรเสริญ สมณะโพธิรักษ์ และการแสดงธรรมของท่าน

การเลือกภาพ ที่เกี่ยวกับศาสนา ว่าเป็นสิ่งสำคัญ สะท้อนให้เห็นว่า ชุมชนนี้ ตั้งอยู่บนรากฐาน และหลักการ ทางพุทธศาสนา

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ พิพิธภัณฑ์ ผู้เขียนประหลาดใจ ที่เห็นสมาชิก เลือกสถานที่นี้

คนหนึ่ง ให้เหตุผลว่า “เป็นสถานที่ ซึ่งเราเรียนวิถีชีวิตของคนอโศก พิพิธภัณฑ์ เน้นสัญลักษณ์ ของความเป็นไทย และ การร่วมมือกัน”

อีกคนหนึ่ง “เป็นสัญลักษณ์ ของความเป็นไทย”

อีกคนหนึ่ง บรรยายว่า
เมื่อไรก็ตาม ที่คุณอยู่ในสถานที่นี้ คุณจะรู้สึกว่า มีความเชื่อมั่น ในประวัติศาสตร์ ที่คนต่างๆ นำมาสร้างสรรค์ จนสำเร็จเป็นแบบอย่าง และวัฒนธรรม ที่แสดงออก ถึงความยิ่งใหญ่ของบุญนิยม ของแต่ละคน

สวนครัว เป็นสิ่งหนึ่ง ที่ได้รับความสนใจ เนื่องจาก ผู้ที่อาศัยอยู่ในศีรษะอโศก เป็นมังสวิรัติ และอาศัยผลผลิตของเขาเอง เพื่อการยังชีพ กสิกรรม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง สมาชิก บรรยายถึง ความสำคัญของสวนครัว ต่างๆ กัน

อาอ้อย ให้ความนิยมสวนครัว ดังนี้
เมื่อฉันเดินไปในสวนผัก ฉันรู้สึกสดชื่น รื่นเริง สะอาด โล่ง สว่าง และสบาย แน่นอน ต้องเป็นสวน ที่ปลอดสารพิษ เพราะว่า เราต้องได้รับอาหาร ที่มีสารเคมีน้อยที่สุด หรือไม่มีเลย มันจะทำให้ชีวิตยืนยาว เจ็บไข้ได้ป่วยน้อย เพียงแต่เดินชมสวน เราก็สบายใจแล้ว แต่ถ้าเราดูแลสวนด้วย เราจะเป็นสุขมากขึ้น ดังนั้น ทุกบ้าน ควรมีสวนครัว ซึ่งเป็นสิ่งที่น่านิยม นอกจาก ความสวยงาม ความน่ารื่นรมย์ของมันแล้ว เรายังได้อาหาร ที่ปลอดภัยด้วย

รื่น: แม่ลูกติด จากชนบทอีสาน บอกว่า สวนครัว และ ปุ๋ยจุลินทรีย์ มีความสำคัญต่อเธอมาก
ฉันชอบการกสิกรรม เพราะว่า... เราปลูกผักของเราเอง กินของเราเอง ใช้ของเราเอง เราไม่ต้องซื้อ ประหยัด และปลอดภัย จากสารพิษ
ฉันชอบปุ๋ยอินทรีย์ เพราะว่า เราทำมันเองได้ และใช้รดผัก เราไม่ต้องซื้อจากตลาด ให้เสียเงิน
ฉันชอบจุลินทรีย์ เพราะว่า เราไม่ต้องซื้อสารจากภายนอก มาเร่งดอกไม้ และผลไม้ สิ่งนั้น ทำให้ดินเสีย ดีที่สุดก็คือ ทำเองใช้เอง สบายมาก

กสิกรรมธรรมชาติ มีความสำคัญต่อ ศีรษะอโศกมาก เพราะว่า ไม่เพียงแต่ประหยัด และปลอดภัยจากสารพิษ เท่านั้น ยังเป็นการดำเนิน ตามคติพุทธที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน

สมาชิกอีกคนหนึ่ง ที่เลือกสวนครัว คือ อาชวน อาชวนอายุ ๕๐ ปี เป็นคนพูดค่อย มาจากครอบครัวคนจีน ที่ทำมาค้าขาย ในกรุงเทพฯ อาชวน เพิ่งเข้ามาเป็นสมาชิกศีรษะอโศก เพื่อเรียนกสิกรรมธรรมชาติ และปฏิบัติธรรม ภาพสวนครัวของเขา ได้รับเลือก ไปประกอบ “กิจกรรม ๓ ประการ ที่สร้างชุมชน” ซึ่งประกอบด้วย

  1. เสริมสร้างคนดี ที่มีศีลธรรมและความรู้
  2. พบปะระหว่างชุมชน วัด และโรงเรียน
  3. สร้างปัจจัยสี่ ที่จำเป็น เพื่อใช้ในชุมชน (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค)

อาชวน ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาจิตวิญญาณ และวัตถุ เป็นกิจกรรมที่สำคัญของชีวิต ในศีรษะอโศก พอๆกับ การอภิปราย ปัญหาต่าง ๆ และการตัดสินใจ ที่ทำให้กลุ่มชน ในที่นี้ทำงาน และอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข

อนึ่ง สมาชิกหลายคน มีความภาคภูมิใจในป่าไม้ ที่ครอบคลุมพื้นที่ ศีรษะอโศก ป่าไม้นี้ สมาชิกได้ปลูกขึ้น เมื่อหลายปีล่วงมาแล้ว ซึ่งขณะนั้น ที่ตรงนี้เป็นป่าช้า ที่เตียนโล่ง

ท่านดินธรรม ให้รายละเอียดดังนี้
คนอโศก พยายามสร้าง และพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้เกิดความสมบูรณ์ และมวลภาวะที่ดี เพื่อทำให้ดินงาม น้ำใส ไม้ร่ม ลมพริ้ว วิวสวย รวยน้ำใจ มีไฟทำงาน เบิกบานในธรรม เข้าใจลึกซึ้งในกรรม และการกระทำชั่ว เห็นขันธ์ ๕ (ทุกข์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) และการกระทำ ที่เป็นธรรมชาติ สมบูรณ์แบบ พอดิบพอดี สนับสนุนคนทั้งผองด้วยกัน – ให้ที่พำนัก อาหาร และธรรม

ท่านดินธรรม มีความคิด แนวเดียวกับชาวพุทธอีกหลายคน เช่น ท่านพุทธทาส ซึ่งสนับสนุนว่า ธรรมชาติมีส่วนช่วย ในการปฏิบัติธรรม และการเข้าใจธรรม ท่านดินธรรม ยังแสดงความรู้สึก ร่วมกับคนอีสานว่า ป่าไม้ช่วยบรรเทาความร้อน จากดวงอาทิตย์

สมาชิกหลายคนกล่าวว่า “คน” สำคัญที่สุดในศีรษะอโศก

อาอ้าย และท่านดินไท เลือกภาพผู้ใหญ่ พระ และนักเรียน เป็นตัวแทนของ บ้าน-วัด-โรงเรียน
เอม นักศึกษามหาวิทยาลัย เลือกถ่ายรูป คนกำลังทำงานด้วยกัน เช่น นักศึกษากำลัง “ตรวจศีล” มีพระเป็นประธาน พระกำลังฉันอาหาร และ ชาวบ้านรับประทานร่วมกัน การประชุมประจำสัปดาห์ มีพระเป็นประธาน

อาอ้อย ถ่ายรูปเด็ก กำลังวิ่งเล่น และเขียนคำบรรยายว่า
เด็กไม่ว่าจะมาจากชาติไหน ความไร้เดียงสา เป็นสมบัติอันล้ำค่า ซึ่งฉายแสงออกมา ที่แววตา –ยิ้มอย่างเปิดเผย เล่นอย่างสนุกสนาน ลิงโลด เปรียบเหมือนดอกไม้ ที่กำลังแรกแย้ม ย่อมต้องการน้ำ ปุ๋ย และการตบแต่งจากผู้ใหญ่ จึงจะเบ่งบาน อยู่ได้นาน เนื่องจาก ผู้ใหญ่ทั้งหลาย คือตัวอย่าง ให้เด็กเลียนแบบ เราจะประพฤติอย่างไร จึงจะให้เด็ก เป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ โปรดอย่าทำชีวิต ให้ด้อยความฉลาดในทางโลก อย่างที่เราไม่ต้องการ ให้เด็กของเราเป็น

ผู้เขียนกล่าวว่า ความสามัคคี ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความรู้สึกว่า เป็นกลุ่ม หรือครอบครัวเดียวกัน ซึ่งเป็นค่านิยม ในสังคมไทย แสดงออกมาอย่างเห็นได้ชัด ในชุมชนศีรษะอโศก

อาจันทิมา: เลือกภาพ คนหลายคนกำลังทำงานในโรงครัว เพื่อแสดงการอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกันอย่างเต็มใจ ไม่มีการบังคับ และภาพ กลุ่มคนกำลังรับประทานอาหาร ในศาลาธรรม เพื่อแสดงว่า สมาชิกในครอบครัวใหญ่ กำลังรับประทานอาหาร ร่วมกัน

อา กลั่นพร: ศิลปินจากจังหวัดสุรินทร์ ถ่ายภาพ พระกำลังสอนนักเรียน และ เขียนคำอธิบายว่า
เราอยู่อย่าง คนในครอบครัวเดียวกัน เราเป็นพี่น้องกัน เราเป็นพ่อแม่ พระเหมือนพ่อ ที่กำลังสอนลูก ให้มีจิตใจดี และคิดดี

นักเรียนคนหนึ่ง แสดงความรู้สึกของคนไทย ที่ไม่ชอบอยู่โดดเดี่ยว ทำงานด้วยกันเป็นกลุ่ม ทำให้เรารู้สึกใกล้ชิดกัน สามัคคีกัน และไม่ละทิ้งกัน แต่ถ้าอยู่ตามลำพัง ทำงานตามลำพัง ไม่สนุกเลย เพราะคำว่า “อยู่” หมายถึง อยู่ในโลก ผมชอบอยู่เป็นหมู่ เช่น เวลาเข้าแถว

ยายสา: อยู่ในศีรษะอโศก มาเป็นเวลา ๑๔ ปี เพราะว่า ท่านพบสันติสุข ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความพอใจ

โรจน์: นักศึกษามหาวิทยาลัย เลือกภาพดลใจ ๓ ภาพ และ เขียนคำบรรยาย ดังนี้
ภาพที่ ๑  งานหนักไม่เคยฆ่าใคร
หญิงสาว ๒ คน กำลังใช้สาก สลับกันตำข้าว ตามแบบประเพณี ภาพนี้แสดงให้เห็นว่า คนมีค่า สำหรับสังคมโลก เป็นภาพ ที่ไม่เสแสร้ง... หมายความว่า ใครทำงานมากขึ้นเท่าไร ความสามารถ และความชำนิชำนาญ ก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น นี่เป็นคำสอนของบัณฑิต ผู้ให้ความรู้ที่แท้จริง ความรู้ที่เกี่ยวกับ คุณค่าของสัตว์ ที่รู้จักกันดี... สัตว์ที่มีคุณค่า คือมนุษย์
ภาพที่ ๒ ทะเยอทะยานไปสู่ความสำเร็จ
คนหนุ่ม สองมือถือจอบ ดวงตาทั้งสอง มองสวรรค์ สมองเดียวคิดและฝัน สองเท้า ก้าวไปข้างหน้า สู่ความฝัน ที่จะกลายเป็นความจริง กล้าคิด กล้าทำ กล้าริเริ่ม กล้าเปลี่ยนแปลง ยึดมั่นในอุดมคติ
ภาพที่ ๓ นับถือ ถ่อมตน รู้บุญคุณคน
นักเรียนกำลังกราบพระ รู้น้อย รู้มาก รู้จักสังคม รู้จักชุมชน รู้ว่าอะไรควรจะเล็ก อะไรควรจะโต รู้จักที่สูง รู้จักที่ต่ำ รู้จักตัวเอง รู้จักคนอื่น

ผู้เขียนอธิบายเพิ่มเติมภาพสุดท้ายว่า คนไทยเน้นฐานะทางสังคม การพึ่งพาอาศัยกันและกัน และความสัมพันธ์ ตามลำดับ (พ่อแม่-ลูก, ผู้สูงอายุ-ผู้อ่อนวัย, นายจ้าง-ลูกจ้าง, พระ-ฆราวาส) ผู้ใหญ่มีหน้าที่คุ้มครอง และดูแลผู้น้อย ผู้น้อยมีหนี้สิน ที่จะต้องชำระ ด้วยการให้ความเคารพ นับถือผู้ใหญ่

นักเรียนคนหนึ่ง จากจังหวัดเชียงใหม่ ถ่ายรูปห้องน้ำ “รูปสวยกลิ่นสะอาด” และเขียนคำอธิบาย “การปฏิบัติธรรม เปรียบประดุจ การใช้ห้องน้ำ” (ปลดปล่อยกิเลส)

หมูเฒ่า ศิษย์เก่า อายุ ๒๔ ปี นักบัญชีของศีรษะอโศก เลือกถ่ายภาพสถานที่ ซึ่งเด็กๆ ชอบไปหลอกผีกัน ในเวลาค่ำคืน คือที่เผาศพ หมูเฒ่าเห็นว่า สถานที่นี้ มีความสำคัญ เขาบรรยายว่า
ความชั่ว เกิดขึ้นก็จริง แต่ไร้ความหมาย คนคว้าเอาสิ่งต่าง ๆ เพียงเพื่อสนองตัณหา ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจ ว่าสิ่งที่เขาคว้ามานั้น มีจุดจบ... เดินตามทางอโศก ทำให้เกิดความรู้สึกในหัวใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เราสร้างขึ้น เมื่อเราตาย เราเอาอะไรไปไม่ได้ นอกจาก กรรมดี และกรรมชั่ว

 

สรุป

ผู้เขียน ใช้วิธีการหลายอย่าง ในการแนะนำผู้อ่าน ให้รู้จัก พุทธสถานศีรษะอโศก เช่น เอกสาร ที่ผู้นำศีรษะอโศก เล่าถึงความเป็นมาของชุมชน การอภิปราย ความมุ่งหมายของชุมชน ภาพถ่าย สถานที่ในชุมชน ซึ่งสมาชิกเห็นว่า มีความหมาย สำหรับเขา พร้อมทั้ง คำอธิบาย ความหมายของสถานที่ เหล่านั้น 

 

อ่านต่อ บทที่ ๔ การสร้างปัจเจกชน

สัมมาพัฒนา : สันติอโศก
ขบวนการพุทธปฏิรูปแห่งประเทศไทย