“ชุมชนบุญนิยมสันติอโศก”

๖๕/๑ ซอยนวมินทร์ ๔๔ ถนนนวมินทร์
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐   
โทร. ๐ ๒๓๗๔ ๕๒๓๐ โทรสาร ๐ ๒๓๗๕ ๔๕๐๓

" Santi Asoke Boonniyom Community "
65/1 Soi Nawamin 44, Nawamin Rd.
Kwaeng Klong Kum,Khet Bueng Kum,
Bangkok 10240.
Tel. 0 2374 5230 Fax: 0 2375 4503

1. History of “Santi Asoke Buddhist Temple”
It is not by chance that the term Asoke came to be used to refer to the propagation of the dhamma by a group of ordained monks and female dhamma scholars as well as laypersons who teach and practise the dhamma according to Lord Buddha’s authentic teachings. Among the reasons for the choice of this are the many different associations with the word Asoke such as follows. Firstly Samana Bhodirak was ordained at Asokaram temple. Secondly he regularly gave dhamma talks at “Larn  Asoke” or Asoke Place inside Wat Mahathat Yuwarach Rungsarit temple until he became known as "the striking axe". Thirdly the dhamma periodicals that came out since the early days were called Rewadee Rungaroon Asoke Issue . And fourthly all the authors who wrote the articles in the periodicals use the same pseudonym namely “Asoke”.

The early Asokan dhamma practitioners jointly built and donated a centre for the Dhamma practice called "Suan Asoke” to Samana Bhodirak. This location in Bang Yai, Nonthaburi province was lacking in many ways. So the centre was later moved to Dhamma Sathan Daen Asoke, Tambon Toong Look Nok, Amphoe Kamphaengsaen, Nakhon Pathom province on February 22, 1973. It was at this place that the Asokans had been practising the Dhamma for sometime with constant disturbances from the mainstream monks until finally Samana Bhodhirak and the sangha under his leadership were compelled to declare independence from the rule of the Sangha Association of Thailand and declare state of Nanasangwasa according to the Vinaya on August 6, 1975 at Wat Nong Kratum, Amphur Kamphaengsaen, Nakhon Pathom.

From there Samana Bhodirak led his followers to Bhuddha-sathan Santi Asoke , Kwaeng Klong Kum, Khet Bung Kum which originally was a big traditional Thai style house which the owner, Khun Santiya (Kittiya) Veeraphand had previously donated to Samana Bhodirak in 1972. This Thai house was the origin of the present ‘the Millennial Vihara - Bhuddha’s Relics Chedi.’ The term Bhuddha-sathan means the Asokan temples which adjoin the Boonniyom communities of the laypeople ( presently there are nine in total all over the country ) and ‘Santi’ means peace.

๑. ประวัติ “พุทธสถานสันติอโศก”

โดยเหตุที่ ‘สมณะโพธิรักษ์’ บวชที่วัดอโศการาม และไปบรรยายธรรม บริเวณ ‘ลานอโศก’ ภายในวัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษดิ์ อยู่เนืองๆ จนได้สมญานามว่า ‘ขวานจักตอก’ ทั้งเมื่อทำหนังสือ ออกเผยแพร่ ตั้งแต่ยุคแรกๆ ได้ใช้ชื่อว่า ‘เรวดียุครุ่งอรุณ ฉบับอโศก’ ส่วนนามปากกา ก็ใช้เป็นอย่างเดียวกันว่า ‘อโศก’ ไม่ว่าใครเขียนก็ตาม

ความที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับคำว่า ‘อโศก’ หลายสถานะ หลายเหตุการณ์ ดังกล่าว เราจึงได้ จับเอาคำว่า ‘อโศก’ มาเป็นชื่อเรียก ในการร่วมเผยแพร่ธรรมะ ตั้งแต่บัดนั้น จนเกิดกลุ่ม ผู้ปฏิบัติธรรม อันประกอบด้วย นักบวช และ ฆราวาสขึ้นมา

‘ญาติธรรมรุ่นแรก’ ได้ร่วมกันก่อตั้ง สถานที่ปฏิบัติธรรม ชื่อว่า ‘สวนอโศก’ ที่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ถวาย ‘สมณะโพธิรักษ์’ แต่ก็ยัง ไม่เข้ารูปเข้ารอย และไม่ลงตัว ด้วยเหตุหลายประการ

ต่อมาจึงย้ายไปที่แห่งใหม่ เรียกชื่อว่า ‘ธรรมสถานแดนอโศก’ ตั้งอยู่ที่ ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ และได้ใช้สถานที่นี้ อบรม บำเพ็ญธรรม จนกระทั่ง เกิดเหตุการณ์ ที่บีบคั้นมากมาย ทำให้ลำบาก ในการเผยแพร่ธรรมะ

สุดท้าย ‘สมณะโพธิรักษ์’ และ ‘หมู่สงฆ์’ จึงต้องตัดสินใจ ประกาศตนเป็น “นานาสังวาส” ตามพระธรรมวินัย เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๑๘ ที่ วัดหนองกระทุ่ม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

จากนั้น ‘สมณะโพธิรักษ์’ ได้นำพาหมู่กลุ่มมาที่ ‘พุทธสถานสันติอโศก’ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ซึ่งเดิมเป็น “เรือนทรงไทย” หลังใหญ่ ที่คุณสันติยา (กิติยา) วีระพันธุ์ ผู้เป็นเจ้าของ ได้ถวาย ‘สมณะโพธิรักษ์’ ไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๑๕ และ “เรือนทรงไทย” หลังนี้เอง คือ จุดกำเนิดของ “วิหารพันปี เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ” ในปัจจุบัน

ส่วนคำว่า “พุทธสถาน” หมายถึง วัดของชาวอโศก ซึ่งมีอาณาเขต ติดกับเขต ‘ชุมชนบุญนิยม’ ของฝ่ายฆราวาส (ปัจจุบันมี ๙ แห่ง) และคำว่า “สันติ” หมายถึง ความสงบ

“เรือนทรงไทย” ที่คุณสันติยา (กิติยา)  วีระพันธุ์ ได้ถวายแด่ ‘สมณะโพธิรักษ์’
คุณสันติยา (กิติยา)  วีระพันธุ์ 
ผู้บริจาคที่ดินพร้อม “เรือนทรงไทย”
เมื่อ ปี ๒๕๑๕
(เสียชีวิตเมื่อ ๑ ต.ค. ๒๕๔๐.
สิริรวมอายุได้ ๗๐ ปี)

 

According to Khun Santiya the reason behind this donation was that during the time of her life when she was experiencing much emotional distress she went to listen to the dhamma talks at Wat Awuthwikasitaram and as a result became very inspired and devoted to the dhamma teachings and at that same time she was having a traditional Thai house built for her and her children. So she express a wish to offer the house to Samana Bhodhirak to be used for a wider publicrather than just by her small family. She and her children moved to live in the smaller house at the entrance of the compound which was used by the construction workers while building the big Thai style house.

In the early days most of the surrounding area was a swamp and grassy marshland, especially in front of the Buddhasathan and several necessary land improvements were done on several occasions. Among these were the filling of the land to build the monks ‘kuthis’ (small cabins for monks) according to the Vinaya (the Bhudda’s constitution for monks).  The measurement of the kuthis asstipulated in the Vinayais 7x 12 palm span or approximately 1.5 x 2.5 metres. Other improvements were reparation and extenstion of the house itself in order to maximise working space. The second floor was used as an ubosot (chapel) and workplace to distribute dhamma publications and audio tapes. The ground floor was used for the dhamma teachings, dining hall and the folding of the books pages (the latter activity was done by hand at that time and not by machinery like the present) and so-called use. 'Landmark' in the assembly routines and activities. So the ground floor was ‘the temple’s main area of activity’.

"Bhuddha-sathan Santi Asoke" was established on August 7, 1976, and from then various related organisations were formed one after another. To date there are eight different organizations including groups, community networks as all round ‘self-sufficient communities’ which adopt a ‘Boonniyom’ way of life which is an eco-socio system of production and consumption by the people and network within the communities .  Output of each network are distributed first to consumers living within the communities and surplus is released to the general public outside the communities
( Loganukampa  - the system as described by Bhuddha of helping the world)

 

The sign in front of Santi Asoke entrance in 1976   ทางเข้าด้านหน้าพุทธสถานสันติอโศกสมัยแรก (พ.ศ. ๒๕๑๙)           

 

มูลเหตุที่ทำให้คุณสันติยา (กิติยา) วีระพันธุ์ ถวายที่ดิน พร้อม‘เรือนทรงไทย’ แด่ ‘สมณะโพธิรักษ์’ นั้น คุณสันติยา เคยบอกเล่าไว้ว่า เมื่อคราวที่ชีวิต ประสบความทุกข์ใจ อย่างมาก ได้ลองติดตาม ไปฟังธรรม ที่วัดอาวุธวิกสิตาราม และเกิดศรัทธาเลื่อมใส ประจวบกับ เป็นช่วงที่ กำลังสร้าง ‘เรือนทรงไทย’ หลังนี้ อยู่พอดี จึงแจ้งความประสงค์ ถวายแด่ท่าน เพื่อใช้สอย ให้เกิดประโยชน์ อย่างกว้างขวาง ดีกว่าอาศัยอยู่กันเพียง ไม่กี่คน แล้วคุณสันติยา กับลูกๆ ก็ย้ายไปอยู่ ‘เรือนหลังเล็ก’ ที่เคยเป็นที่พัก ของคนงานก่อสร้าง ‘เรือนทรงไทย’ นั่นเอง

สมัยแรกๆ พื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่ ยังเป็นแอ่งน้ำ และกอหญ้า โดยเฉพาะบริเวณ ด้านหน้า พุทธสถานฯ ต้องปรับปรุง กันเรื่อยมา อาทิ ถมพื้นที่ เพื่อปลูกกุฏิ (ตามที่พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาต คือ ขนาด ๗ x ๑๒ คืบพระสุคต หรือราว ๑.๕ x ๒.๕ เมตร), ซ่อมแซม และ ต่อเติม ตัวเรือน เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น โดยชั้นบน ใช้เป็นโบสถ์ และสถานที่ทำงาน เผยแพร่ธรรมะ ส่วนชั้นล่าง เป็นที่แสดงธรรม, ที่ฉันอาหาร, ที่เก็บเล่ม พับกระดาษ เพื่อทำหนังสือ (สมัยนั้น ยังไม่ใช้ เครื่องจักรมาก เหมือนปัจจุบัน) เป็นต้น เรียกว่าใช้เป็น ‘สถานที่หลัก’ ในการประกอบ กิจวัตร และกิจกรรม

 

The earlier kuthis in 1976 
    กุฏิสมัยแรก (พ.ศ. ๒๕๑๙)

 

    

Present days kuthis
   กุฏิปัจจุบัน

นับเป็นการถืออุบัติของ “พุทธสถานสันติอโศก” เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๑๙ จากนั้น จึงทยอยเกิด “องค์กร” ต่างๆ นับถึงปัจจุบัน รวม ๘ องค์กร, เกิดกลุ่ม, เกิดชุมชน เครือข่าย เป็น‘ชุมชนพึ่งตนเอง แบบครบวงจร’ ที่มีวิถีชีวิตตาม ‘ระบบบุญนิยม’ มีผลผลิต ของแต่ละ เครือข่าย บริโภคและใช้สอย ภายในชุมชน ผลผลิตส่วนเกิน ก็ได้นำออก เกื้อกูล ต่อสังคม (โลกานุกัมปา)

 

The Millennial Vihara - Buddha’s Relics Chedi (1993).

วิหารพันปีเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ (พ.ศ. ๒๕๓๖) 

1.1 The Millennial Vihara - Buddha’s Relics Chedi.
All things deteriorate according to natural law. The big traditional ‘Thai house’ which had been used extensively to serve mankind for a long time had deteriorated. And when Khun Tawan Siriworavit did a survey he found that the house pillars had been under attack by termites and were so eroded from the inside that the risk of collapsing in the near future was great thus bringing the whole house down. A meeting took place and the decision taken was to demolish the whole of the 'Thai house'. The demolition of the house began in February 1993 and it was replaced by "The Millennial Vihara - Buddha’s Relics Chedi", designed by Khun Apisin  Sivayathorn. The first foundation pillar was laid to the ground on Tuesday, February 23, 1993 and construction continues to this day (May 2015).

In determining the objectives for the construction of the multifunctional “Millennial Vihara - Buddha’s Relics Chedi”, Samana Bhodhirak considered various important aspects. These aspects include the following.
1. To be used as a strong and durable multifunctional vihara .
2. To be used for any appropriate social event.
3. To be used as an office.
4. To be a chedi, a place for worship.
5. To be a work of art in architecture.
6. To have a suitable relationship to the natural environment.
7.To enhancespirituality and promote emotional integrity.

๑.๑ วิหารพันปีเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ

ทุกอย่างย่อมเสื่อมไปตามสภาพธรรม ‘เรือนทรงไทย’ หลังใหญ่ ที่ได้รับการใช้ประโยชน์ อย่างมากมาย เพื่อมวลมนุษยชาติ มานาน จึงชำรุดทรุดโทรม และเมื่อ คุณตะวัน สิริวรวิทย์ มาสำรวจ ก็ได้พบว่า เสาเรือน ถูกปลวกกัดกิน จนกร่อน น่ากลัวว่า จะพังลงมา จึงได้ประชุมกัน และมีมติ ให้รื้อถอน ‘เรือนทรงไทย’ ออกทั้งหลัง โดยได้เริ่มรื้อถอน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ และก่อสร้าง “วิหารพันปี เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ” ซึ่งออกแบบ โดย คุณอภิสิน ศิวยาธร ขึ้นมาแทนที่ (ตอกเสาเข็ม ลงต้นแรก เมื่อวันอังคารที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ และยังคง ดำเนินการ ก่อสร้างอยู่ จนทุกวันนี้)

The waterfall atmosphere on the lowest level
of the Millennial Vihara

บรรยากาศ “น้ำตก” ชั้นล่างสุดของวิหารพันปีฯ

‘สมณะโพธิรักษ์’ ได้กำหนดประเด็น อันเป็นเป้าหมายสำคัญ ในการก่อสร้าง “วิหารพันปี เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ” ไว้เพื่อใช้สอย ให้เป็นประโยชน์ อย่างกว้างขวาง หลายประการ โดยมีแนวคิดว่า
๑. เป็นวิหารเอนกประสงค์ ที่แข็งแรงอยู่ยืนนาน
๒. ใช้ในงานกิจกรรมทางสังคมทั่วไปที่สมควรได้ด้วย
๓. เป็นที่ทำการ (office)
๔. เป็นพระเจดีย์ที่เคารพบูชา
๕. เป็นสถาปัตยกรรมที่มีศิลปะ
๖. มีธรรมชาติสัมพันธ์อย่างเหมาะสม
๗. กล่อมเกลาจิตวิญญาณบูรณาการอารมณ์

 

“The Golden Chedi atop the Dome of the
“Millennial Vihara ”
On the day of the Golden Jubilee (9 june 1996)

พระเจดีย์ทองคำ บนยอดโดมของพระวิหารพันปีฯ
เมื่อวันกาญจนาภิเษก (๙ มิถุนายน ๒๕๓๙)

Year 1996 was the year King Bhumibhol Adulyadej celebrated his Golden Jubilee as the King of Thailand.

Samana Bhodhirak and all the Asokan practitioners joined in the celebration of this Golden Jubilee with the celebration of the group’s most respected “Millennial Vihara - Buddha’s Relics Chedi.”

The ceremony began on May 30, 1996 by Samana Bhodirak leading the monks and lay followers in placing the Buddha’s relics and then Buddha’s images from various periods in the golden chedi which was then placed on top of the dome which is the highest point of the Vihara ready for the celebration.

On June 9, 1996, the day of the Golden Jubilee Samana Bhodirakled the Asokan group in the celebration ceremony which included morning prayers, dhamma teachings and dhamma discussion and other activities.

Many followers jointly offered free “Vegetarian Food for merit making ” on both sides of the road in Soi Nawamintra 44 which is the entrance to the templeas part of the celebration of this memorable event .

"Santi Asoke Buddhist Temple" houses a shrine containing many of the most venerable worshipping artifacts which inspire people to become and develop interest in and dedication to Buddhism. This is in keeping with the intention of the late Khun Santiya Veeraphan, the person who donated the land and who passed away on October 1, 2007.

As time passed those who are interested in the dhamma gradually increased in number. Many left their income paying jobs to come and live and work as volunteers without receiving any form of payment in the temples or in the communities as part of the right form of livelihood as taught by Buddha in ‘ariyo atฺtฺhanํgiko maggo’ariya magga  (the Eightfold Path). This led to the development of many organisations which operates by using the 'boonniyom principle' as you Samana Bhodhirak taught and practiced.

In 2003 Samana Bhodirak and the Asokan sangha together with Santi Asoke lay community unanimously agreed to buy land in front of Santi Asoke temple extending from the townhouses in front of the temple to the commercial building on the Nawamin Road which consists of The Vegetarian Restaurant, Goo Din Fah Shop, Din Oom Dao Shop, Dae Cheevit Company Ltd., Dhamma Dassana Association Book Store from Khun Manas Limkhyan, the only son of Khun Malee Limkhyan, who had recently passed away. The total area was approximately 3 rais or 1,177 sq.wah. The project was named “Bhuddha Pattapee Millennial Vihara - Buudha Relics Chedi”
And the dhamma relatives joined in the donation according to their ability and the project was achieved. At present Santi Asoke Temple has approximately a total area of 13 rai.

 

อนึ่ง ปี ๒๕๓๙ เป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงครองสิริราชสมบัติ เป็นปีที่ ๕๐

‘สมณะโพธิรักษ์’ และชาวอโศกทั้งมวล จึงได้ถือเอา “วิหารพันปีเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ” อันเป็นที่เคารพ สักการบูชาสูงสุดนี้ เป็นราชสักการะ แด่องค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว

โดยเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ซึ่งตรงกับ วันวิสาขบูชา ‘สมณะโพธิรักษ์’ ได้นำพา หมู่สงฆ์ ตลอดทั้งญาติธรรม กระทำพิธี อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ, พระธาตุ และ พระพุทธรูป ปางต่างๆ หลายสมัย รวม ๑๐ องค์ ประดิษฐาน ไว้ในพระเจดีย์ทองคำ จากนั้น ได้อัญเชิญ พระเจดีย์ทองคำ ขึ้นสู่ยอดโดมสูงสุดของ “วิหารพันปีฯ” เพื่อเตรียมเฉลิมฉลอง

Part of the Buddha’s relics and Buddha’s images from various periods in the golden chedi

ส่วนหนึ่งของ พระบรมสารีริกธาตุ, พระธาตุ และพระพุทธรูปปางต่างๆ
ที่ประดิษฐาน อยู่ในพระเจดีย์ทองคำ

เมื่อถึงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ อันเป็นวันกาญจนาภิเษก ‘สมณะโพธิรักษ์’ จึงได้พาหมู่กลุ่ม ประกอบพิธี เฉลิมฉลอง มีการสวดมนต์ ทำวัตรเช้า, การแสดงธรรม, การอภิปราย และ กิจกรรมต่างๆ

ญาติธรรม ก็ได้ร่วมใจกันเปิด ‘โรงบุญมังสวิรัติ’ หลายร้าน ตลอดทางเข้า ด้านหน้า พุทธสถานฯ และตลอดแนว ในซอย นวมินทร์ ๔๔ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวาระ อันเป็น มิ่งมหามงคล ครั้งนี้ด้วย

“พุทธสถานสันติอโศก” จึงเป็นที่ประดิษฐาน ของสิ่งสักการบูชา อันสูงสุด เป็นส่วนน้อมนำ ให้เกิดจิตศรัทธา เลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา สมดังเจตจำนง ของผู้ถวาย ที่ดินแปลงนี้ คือ คุณสันติยา (กิติยา) วีระพันธุ์ ซึ่งได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๐

กาลเวลาผ่านไป ผู้สนใจใฝ่ธรรม ก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ ทั้งลาออกจากงาน มาปฏิบัติธรรม อยู่ประจำที่ พุทธสถานฯ และในชุมชน ต่างช่วยกันทำงาน ที่เป็น “สัมมาอาชีพ” ตามหลัก “อาริยมรรคมีองค์ ๘” จนเกิดหน่วยงานต่างๆ ขึ้นหลายหน่วยงาน ซึ่งดำเนินงาน โดยใช้หลัก ‘บุญนิยม’ ตามที่ท่าน ‘สมณะโพธิรักษ์’ ได้อบรมและพาทำ

ปี ๒๕๔๖ ‘สมณะโพธิรักษ์’ พร้อมหมู่สงฆ์ และชาวชุมชนฯ มีมติเห็นสมควร ให้ซื้อที่ดิน ด้านหน้า พุทธสถาน สันติอโศก ตั้งแต่ทาวน์เฮาส์ หน้าพุทธสถานฯ ไปจนถึง อาคารพาณิชย์ ริมถนน นวมินทร์ ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์มังสวิรัติ, ร้านกู้ดินฟ้า, ร้านดินอุ้มดาว, บจ.แด่ชีวิต, ร้านธรรมทัศน์สมาคม จากคุณมนัส หลิมขยัน (บุตรชายคนเดียว ของคุณมาลี หลิมขยัน เจ้าของที่ดิน ที่เพิ่งเสียชีวิตไป) มีเนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่ (๑,๑๗๗ ตารางวา) ภายใต้ “โครงการ ร่วมบุญ ปฐพีพุทธ วิหารพันปี เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ” ซึ่งญาติธรรม ต่างร่วมบุญ ร่วมใจกัน บริจาคตามกำลัง จนในที่สุด โครงการนี้ ก็บรรลุเป้าประสงค์

ปัจจุบันพุทธสถานสันติอโศก มีพื้นที่ประมาณ ๑๓ ไร่เศษ.

Phra Buddha Bhithamnimit at Rajathani Asoke
พระพุทธาภิธรรมนิมิต ที่พุทธสถานราชธานีอโศก

 

1.2 "Phra Buddha Bhithamnimit," is the Asokans’ first Budhha statue which Samana Bhodirak
defined as 'Trilakkhana Posture’. The statue body is carved from sandstone, 7.12 meters high, 6.31 meters wide and 3.57 meters thick, weighs more than 150 tons enshrined on the altar of sandstone, 6.30 meters wide, 7.20 meters long and weighs 126 tons. Samana Bhodirak presided over the ceremony bringing this statue to be enshrined at Rajathani Asoke on December 28, 2006 at 7:07 pm.

"Buddha Bhithamnimit" means a great mark of Buddhadhamma or the great mark of the dhamma or teachings of Lord Buddha.

Regarding the enshrinement of this statue, Samana Bhodirak said “at first we did not promote the possession of Buddha statue because at the beginning we ourselves needed to concentrate on our own strict disciplinary practice, to reduce the kilesa and to become pure. Thus we were not in a position to extend our work to have any influence on society at large. We focused on practicing the dhamma the way Buddha had orginally taught and on strictly observing the precepts. At the beginning I wanted to “first remove the wood which is soaked in resin from the water” ( this is a referral to the words by Budhha quoted in the Tripitaka) meaning I wanted to first ensure that we are strong enough, are sufficiently immuned in the heart and have sufficient understanding of how to rightly respect and worship the Buddha in a nondeity like way. Then we can reverse the process and go back to worshipping Buddha statues in order to teach and lead others to respect the Buddha in a nondeity manner.

This "Phra Buddha Bhithamnimit," was designed by Khun Saengsilpa Duanngai

The main difference in the design of our Buddha image and other existing images  is in the hair. The hair on our Buddha image is not put up in a rounded or pointed bun at the top of the head as most other images. But the top of the head has an ordinary flat appearance. The hair like symbol in the middle of forehead between the eyebrows is made into a small cavity into which 151 buddha’s relics are placed.

The Asokan lay people has joined in the building of smaller versions of Phra Buddha Bhithamnimit to be enshrined at each of the Asokan temple.

‘The trilakhana pose’ means three chracteristics.

1.Supramundane state of mind is the enlightened state of mind, that has liberated itself from  being a slave to the sensual pleasures which include acquisitions, ranks and praises and to both desire and the self or ego.

2. “Lokaviddhu” Real knowledge and understanding of the sensual pleasures to which one has been enslaved and with that knowledge to strife to be free of those sensual pleasures and to reach the supramundane state of mind and rise above the things to which one has once been enslaved.

3. Lokanukampa , kindness and sympathy with the world of men, wishing to help fellow human beings to be free from the dukkha ariyasacca or sufferings of the world.

 

๑.๒ พระพุทธาภิธรรมนิมิต

“พระพุทธาภิธรรมนิมิต” เป็นพระพุทธรูปองค์แรก ของชาวอโศก ซึ่ง ‘สมณะโพธิรักษ์’ กำหนดว่าเป็น ‘ปางตรีลักษณ์’ องค์พระพุทธรูป แกะสลักจากหินทราย สูง ๗.๑๒ เมตร กว้าง ๖.๓๑ เมตร หนา ๓.๕๗ เมตร หนักกว่า ๑๕๐ ตัน ประดิษฐาน อยู่บนแท่นหินทราย ขนาดกว้าง ๖.๓๐ เมตร ยาว ๗.๒๐ เมตร หนัก ๑๒๖ ตัน ซึ่ง ‘สมณะโพธิรักษ์’ ได้เป็นประธาน นำพาชาวอโศก ทั้งมวล กระทำพิธีอัญเชิญ เคลื่อนองค์พระพุทธรูป มาประดิษฐาน ณ พุทธสถาน ราชธานีอโศก เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ เวลา ๐๗.๐๗ น.

“พุทธาภิธรรมนิมิต” แปลว่า เครื่องหมายยอดเยี่ยม แห่งพุทธธรรม หรือเป็นเครื่องหมาย อันยอดเยี่ยม แห่งธรรมะ ของพระพุทธเจ้า

‘สมณะโพธิรักษ์’ ได้กล่าวถึงการประดิษฐาน พระพุทธรูปองค์นี้ว่า

“แต่แรกเราไม่ส่งเสริม การมีพระพุทธรูป เพราะว่าเราเอง แรกเริ่มขึ้นมา เราจะต้องเคร่งครัด จะต้องอยู่ในข้อจำกัด ที่สะอาดให้มากๆ ยังไม่ไปเชื่อมโยงกว้าง ที่เราจะต้อง เข้าไปจัดการ แก้ไข ไปเปลี่ยนแปลง อะไรต่ออะไร เราจะต้อง อยู่ในระบบ ของศีลของธรรม หรือ ระบบดั้งเดิม ของพุทธ ที่สำคัญ คือ ตอนแรก อาตมาต้องพาเรา ‘พรากไม้ที่ชุ่มด้วยยาง’ ออกจากน้ำ เสียก่อน จนสอนพวกเรา ให้มีทั้งความรู้ ในการเคารพ ในความเป็น พระพุทธรูป เพียงพอแล้ว เราแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันแล้ว ในจิตใจ เราจึง ‘ ปฏินิสสัคคะ’ ทวนกลับ ไปมีพระพุทธรูป เพื่อเป็นตัวอย่าง เพื่อสอน และนำพาคนอื่นๆ ให้เคารพ พระพุทธรูป ให้ถูกต้อง เคารพชนิดที่เป็น ‘อเทวนิยม’ (ไม่ใช่เคารพอย่างเป็น ‘เทวนิยม’ )...

พระพุทธรูป ‘ปางตรีลักษณ์’ นี้ เป็นความคิดของ ‘คุณแสงศิลป์ เดือนหงาย’ ...

ลักษณะพระพุทธรูปของเรา ไม่ได้ทำมุ่นผมเป็นจุก อยู่บนพระเศียร หรือมุ่นยกแหลม อย่างที่เขาทำๆ กันมา เราทำศีรษะโล้นธรรมดา...... ‘พระอุณาโลม’ จะเป็นร่องลึก เข้าไปในพระนลาฏ (หน้าผาก) ข้างในก็จะบรรจุ ‘พระบรมสารีริกธาตุ’ ซึ่งมี ๑๕๑ องค์....” ( สารอโศก. ลำดับที่ ๓๐๐. “สิบห้านาทีกับพ่อท่าน.” ธ.ค.’๔๙ - ม,ค.’๕๐ )

จากนั้นญาติธรรม ก็ได้ร่วมบุญกันสร้างองค์ “พระพุทธาภิธรรมนิมิตจำลอง” ขนาดเล็ก ไว้ประจำ แต่ละพุทธสถานด้วย

“ปางตรีลักษณ์” หมายถึง ลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. โลกุตระ คือ จิตบรรลุธรรม อยู่เหนือโลกีย์ จิตนั้นหลุดพ้น ความเป็นทาสลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ทั้งด้าน “กาม” ทั้งด้าน “อัตตา”
๒. โลกวิทู คือ รู้เท่าทันโลกีย์ รู้แจ้งจริงในความเป็นโลกีย์ ที่ตนเคยเป็นทาส และปฏิบัติจนสามารถ บรรลุธรรม มีจิตโลกุตระ อยู่เหนือ สิ่งที่ตนเคยเป็นทาส ได้ถาวร
๓. โลกานุกัมปา คือ ความเอ็นดูต่อสัตวโลก มีจิตเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ความเกื้อกูลต่อ มวลมนุษยโลก ช่วยคนให้พ้น ทุกข์อริยสัจ

 

1.3 Procedures for the Asokan ordination.
For those wishing to be ordained as samana or sikhamart in the Asoke tradition, certain requirements have to be fulfilled. Procedures together with minimum time requirements are set down in order to determine if the applicant is seriously dedicated and suitable to partake a live of simplicity and spiritual development according to Buddha’s dhamma and vinaya. That he or she is ready to completely give up the live of a householder and enter the live ad an ordained samana or sikhamart and not just use this as some sort of escape from personal problem. The applicant has to prove that he or she is a true follower of Buddha’s teachings and is conducting himself or herself appropriately according to such teachings. Most importantly he or she has to learn the way of life within the Asoke community and is ready to listen to criticism in order to develop himself or herself spiritually until he or she is unanimously voted by the sangha that he or she can be ordained.

Requirements for applicants wishing to become ordained with Asoke.

1. Application to become live-in lay person called an aramig for a man and an aramiga for a woman and live in the temple for at least 1 year observing the 8 precepts. At the end of this year comes the application for promotion to the level of practitioner. This has to be approved in writing by 5 samanas who from then on will be responsible for the conduct of this practitioner.

2. “ Practitioner” stage. Male practitioners wear brown trousers and women practitioners wear brown respectable blouses and brown sarongs. They do not shave their head. Male practitioners have to stay at this stage for at least 4 months and women 6 months .

3. “Naga” and “Krak Stage. When practitioners have completed their minimum time requirement at the practitioner stage they then ask the preceptor to submit their name to the sangha for consideration to be allowed to become “nagas” or a “kraks” . Only when the sangha unanimously agrees to allow practitioners to become nagas in case of men and kraks in case of women can these practitioners do so. However if any one person in the sangha does not consider it suitable then that practitioner must remain in the same status for a further period of time the assembly deems suitable.

“Nagas” shave their head and wear a round neck brown top with light brown edge band.

“ Kraks” shave their head and wear similar top as Nagas with a folded brown piece of cloth on one side of the shoulder. Women must remain at this stage for at least one year and six months before they can apply to procede to the next level which is to become sikkha mata (female samanฺeri) and observing 10 precepts as samanera

4. “Samanera” or novice is a person who has practiced as a naga for at least 4 months before being eligible for application to move up to the next level as a samanera and observing the ten precepts.

A newly ordained samanera must thoroughly study the objectives of walking the alms round in the book “ The Science and Art of Walking the Alms Round” before being allowed to go on such a round.

5 “ Samana” is the person who has practiced as a samanera at least for 4 months before being eligible for consideration by the sangha to become ordained as Samana. The approval has to be a unanimous decision by the assembly or the sangha. Samana is the term given to the ordained person after the naga stage and observing Julasila , Machimasila and Mahasila and the 227 Vinaya.The newly ordained Samana must study the Vinaya from the Tripitaka and must complete the reading of The Tripitaka at least vol 1 and 2 within 5 years after ordination as Samana.

 

 

๑.๓ ขั้นตอนการบวชของชาวอโศก

การบวชหรือการเข้าสู่สถานะ “นักบวช” นั้น มีขั้นตอน และระยะเวลา ทดสอบความพร้อม คือ ต้องมีการกลั่นกรองว่า ผู้บวชมีความตั้งใจจริง ที่จะใช้ชีวิต ตามพระธรรมวินัย มีศักยภาพ ของความเป็น ผู้สละบ้านเรือน เข้าสู่ชีวิตนักบวชได้ มีความพร้อม ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ มิใช่อาศัย ความเป็นนักบวช เพื่อหลบหนี ปัญหาส่วนตัว บางประการ และปฏิบัติตน ได้เหมาะสมกับ ฐานะพุทธทายาท และพุทธสาวก ที่สำคัญ คือ ต้องเป็นผู้ที่เรียนรู้ ชีวิตในชุมชนชาวอโศก และ ปฏิบัติขัดเกลา จนได้รับการรับรอง จากหมู่สงฆ์แล้ว มิใช่บุคคลทั่วไป ที่นึกอยากจะบวช ก็เข้าไปขอบวชได้เลย หรือมิใช่อาศัย ความเป็นนักบวช เพื่อหลบหนี ปัญหาส่วนตัว บางประการ

ผู้ที่จะสมัครเข้าเป็น นักบวชชาวอโศก มีข้อปฏิบัติดังนี้

๑. สมาทานรักษาศีล ๘ โดยสมัครเป็นอารามิก (คนวัดชาย) หรืออารามิกา (คนวัดหญิง) อยู่ภายใน ขอบเขต การดูแลของ พุทธสถาน ๑ ปี จากนั้น จึงขอ เลื่อนฐานะเป็น “ปะ” คือ ผู้ปฏิบัติธรรม โดยมีสมณะ ๕ รูป รับรอง เป็นลายลักษณ์อักษร และดูแลรับผิดชอบ

๒. “ปะ” หรือผู้ปฏิบัติ โดยปะชาย นุ่งกางเกงสีน้ำตาล ส่วนปะหญิง นุ่งผ้าถุง สีน้ำตาล สวมเสื้อ สีน้ำตาล แบบสุภาพ ตามที่มีอยู่แล้ว ไม่โกนศีรษะ และต้องอยู่ ปฏิบัติธรรม อย่างน้อย ๔ เดือน สำหรับฝ่ายชาย และ ๖ เดือน สำหรับฝ่ายหญิง

๓. “นาค” และ “กรัก” คือ ผู้ที่ปฏิบัติครบกำหนด ในฐานะของ “ปะ” แล้ว ก็มีสิทธิ์เตรียมตัวบวช โดยแจ้งความจำนง ต่ออุปัชฌาย์ เพื่อให้อุปัชฌาย์ นำเรื่อง เข้าพิจารณา ในหมู่สงฆ์ เมื่อที่ประชุม มีมติเห็นชอบเป็น “เอกฉันท์” แล้วจึงเลื่อนฐานะ เป็น “นาค” สำหรับฝ่ายชาย และ “กรัก” สำหรับฝ่ายหญิง แต่หากหมู่สงฆ์ พิจารณาแล้ว ยังไม่เห็นชอบ ก็ต้องอยู่ในฐานะเดิม ต่อไป ตามระยะเวลา ที่มติในที่ประชุม เห็นสมควร

“นาค” โกนผม สวมเสื้อคอกลม สีน้ำตาล มีขลิบที่คอเสื้อ สีน้ำตาลอ่อน

“กรัก” โกนผม สวมเสื้อแบบเดียวกับ “นาค” และมีสไบสีกรัก และฝ่ายหญิง ต้องอยู่ในฐานะ “กรัก” อย่างน้อย ๑ ปี ๖ เดือน จึงมีสิทธิ์ขอบวช เลื่อนฐานะเป็น “สิกขมาตุ” ถือศีล ๑๐ เช่นเดียวกับ “สามเณร” ได้

๔. “สามเณร” คือ ผู้ที่ปฏิบัติในฐานะ “นาค” มาได้อย่างน้อย ๔ เดือน ก็จะมีสิทธิ์ ขอเลื่อนฐานะ จากที่ประชุมสงฆ์ อย่างมีมติเป็น “เอกฉันท์” จึงสามารถ เลื่อนฐานะเป็น “สามเณร” ถือศีล ๑๐ ได้

“สามเณร” ที่บวชใหม่ จะต้องศึกษาเป้าหมาย ของการบิณฑบาต จากหนังสือ “ศาสตร์และศิลป์ ของบิณฑบาต” ให้ชัดเจนก่อน มิฉะนั้น จะไม่มีสิทธิ์ ออกบิณฑบาต

๕. “สมณะ” คือผู้ที่ปฏิบัติในฐานะ “สามเณร” อย่างน้อย ๔ เดือนแล้ว ก็จะมีสิทธิ์ ขอเลื่อนฐานะ จากที่ประชุมสงฆ์ อย่างมีมติ เป็น “เอกฉันท์” จึงสามารถ เลื่อนฐานะเป็น “สมณะ” ที่สมบูรณ์ได้ (สมณะ หมายถึง ผู้ถือปฏิบัติจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล และวินัย ๒๒๗ ข้อ)

“สมณะ” ที่บวชใหม่ จะต้องศึกษาพระวินัยจาก “พระไตรปิฎก” โดยต้องอ่าน “พระไตรปิฎก” เล่ม ๑-๒ ให้จบ เป็นอย่างน้อย ภายใน ๕ ปี

ธรรมสาระของการ “บิณฑบาต”
๑. เป็นการไปแสดงธรรมเป็นทานโปรดสัตว์ (คน) ของพระ
๒. เป็นสัมมากัมมันโตของผู้มีศีล-สมาธิ-ปัญญาแท้
๓. เป็นสัมมาอาชีวะของพระโดยตรงอย่างเอก
๔. เป็นมนุษยสัมพันธ์อันลึกซึ้ง
๕. เป็นพุทธประเพณีทุกกัปทุกกัลป์ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
๖. เป็นศิลปะที่ “อันติมะ” (สูงสุดที่ยากแก่การอธิบาย)
๗. เป็นการพิสูจน์สัจธรรมแท้ว่าคนอยู่ได้ด้วยคุณธรรมความดี
๘. เป็นสหกรณ์ตัวสำคัญยิ่ง
๙. เป็นของทำได้ยาก ต้องพากเพียรเรียนรู้และอุตสาหะอย่างยิ่ง
๑๐. เป็น “ประธาน” ก่อให้เห็น “การให้ การเสียสละ” เกิด-มี อยู่ในโลก อย่างสำคัญ

เพราะโลก จะขาด “การให้ การเสียสละ” ไม่ได้! โดยเฉพาะ การให้ด้วยศรัทธา ด้วยบูชา เคารพ, การให้โดย ไม่มีการบังคับ, การให้อย่างยินดี เต็มใจ และให้ชนิด ไม่หวัง อะไรตอบแทน

(จาก “ศาสตร์และศิลป์ของบิณฑบาต.” โดย สมณะโพธิรักษ์. หน้า ๑๘-๑๙.)

 

๒. องค์กร ในชุมชนบุญนิยมสันติอโศก

๒.๑ มูลนิธิธรรมสันติ (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐)
๒.๒ กองทัพธรรมมูลนิธิ (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔)
๒.๓ สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗)
๒.๔ ธรรมทัศน์สมาคม (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑)
๒.๕ มูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อน (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗)
๒.๖ สมาคมศิษญ์เก่าสัมมาสิกขา (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗)
๒.๗ สมาคมนักศึกษาผู้ปฏิบัติธรรม (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗)
๒.๘ มูลนิธิบุญนิยม (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙)

๒.๑ มูลนิธิธรรมสันติ

วัตถุประสงค์
๑. ช่วยธำรงรักษา บำรุงส่งเสริมการเผยแพร่สัจธรรม ของพระพุทธศาสนา
๒. ส่งเสริมการศึกษาปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา
๓. ดำเนินงานและสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงาน เพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ บุญนิยมต่างๆ (ไม่แสวงหากำไร แบบบุญนิยม) เช่น การศึกษาบุญนิยม, สุขภาพบุญนิยม, อุตสาหกิจบุญนิยม, สื่อสารบุญนิยม พาณิชย์บุญนิยม, กสิกรรมบุญนิยม, บริโภคบุญนิยม, ศิลปบุญนิยม, การเงินการคลังบุญนิยม, ชุมชนบุญนิยม, ศาสนาบุญนิยม และ ด้านขยะวิทยา เป็นต้น
๔. นับสนุนส่งเสริมการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ด้วยความเป็นกลาง และ ไม่ให้การสนับสนุน ด้านการเงิน หรือทรัพย์สิน แก่นักการเมือง หรือ พรรคการเมืองใด   
๕. ดำเนินการและ ร่วมมือกับองค์กรอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสาธารณประโยชน์

กิจกรรมสำคัญ
ได้แก่ พิมพ์หนังสือธรรมะ และวารสารรายเดือน “สารอโศก” เพื่อเผยแพร่ เป็นธรรมทาน เป็นหลัก,
โครงการโรงเรียนสัมมาสิกขาฯ อันมีปรัชญาว่า “ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา”,
โครงการปฐมอโศก ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม,
โครงการ สามอาชีพกู้ชาติ (วงจรของกสิกรรมไร้สารพิษ -ปุ๋ยสะอาด -ขยะวิทยา) เป็นต้น

สถานที่ติดต่อ “มูลนิธิธรรมสันติ”
๖๗/๑ หมู่ ๕ ซ.นวมินทร์ ๔๘ (ประสาทสิน) ถ.นวมินทร์
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
โทร. ๐-๒๓๗๔-๕๒๓๐

๒.๒ กองทัพธรรมมูลนิธิ

วัตถุประสงค์
๑. ส่งเสริมการศึกษา ปฏิบัติและเผยแพร่สัจธรรมในพระพุทธศาสนา
๒. สนับสนุนให้ประชาชนรักษาศีล ในพระพุทธศาสนา
๓. ร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
๔. จัดการศึกษาเพื่อการกุศลให้แก่ผู้ด้อย และบุคคลทั่วไป
๕. เพื่อส่งเสริมการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ด้วยความเป็นกลาง และไม่ให้ การสนับสนุน ด้านการเงิน หรือทรัพย์สิน แก่นักการเมือง หรือ พรรคการเมืองใด

กิจกรรมสำคัญ
อบรมคุณภาพชีวิตแก่ข้าราชการ และประชาชน,
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ,
โครงการชุมชน ราชธานีอโศก อยู่ที่ริมฝั่ง แม่น้ำมูล ต.บุ่งไหม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เป็นต้น

สถานที่ติดต่อ “กองทัพธรรมมูลนิธิ”
๖๕/๕ ซ.นวมินทร์ ๔๖ ถ.นวมินทร์
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
โทร. ๐-๒๓๗๔-๕๒๓๐

๒.๓ สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม

วัตถุประสงค์
๑. ธำรงรักษา บำรุงส่งเสริมและเผยแพร่สัจธรรม ของพระพุทธศาสนา
๒. ส่งเสริมการศึกษาปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา
๓. ส่งเสริมการพิมพ์หนังสือธรรมะ เทปธรรมะ และอุปกรณ์ ในการเผยแพร่ธรรมะ ออกสู่สาธารณะ
๔. บำรุงสาธารณประโยชน์ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

กิจกรรมสำคัญ
- จัดทำวารสาร “ดอกหญ้า” และวารสาร “ดอกบัวน้อย” ราย ๒ เดือน แจกแก่สมาชิก (ตั้งแต่ปี ๒๕๒๘)
- เผยแพร่อาหารมังสวิรัติโดย “ชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย” (ชมร.)
ปัจจุบันมี ๓ สาขา คือ ศูนย์มังสวิรัติ หน้าสันติอโศก กรุงเทพฯ, ร้านชมรมมังสวิรัติฯ จ.เชียงใหม่, ร้านชมรมมังสวิรัติฯ จ.นครราชสีมา

- โรงสี สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม จ.ขอนแก่น สีเฉพาะข้าวกล้อง
- ห้องสมุดสมาคมผู้ปฏิบัติธรรม บริการประชาชนทั่วไป
- ชมรมนักศึกษาผู้ปฏิบัติธรรม [นศ.ปธ.] จัดกิจกรรม เช่น โรงบุญ ๕ ธันวามหาราช, จัดอบรม ‘พุทธทายาท’ ในช่วง ปิดภาคเรียน เป็นต้น
- ชมรมสัมมาสิกขาพุทธธรรม
- โรงเจสมาคม จ.จันทบุรี

สถานที่ติดต่อ “สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม”
๖๗/๓๐ หมู่ ๕ ซ.นวมินทร์ ๔๖ ถ.นวมินทร์
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
โทร. ๐-๒๓๗๔-๕๒๓๐


๒.๔ ธรรมทัศน์สมาคม

วัตถุประสงค์และกิจกรรมสำคัญ
๑. ส่งเสริมการศึกษาปฏิบัติจริยธรรมของสมาชิก และสาธุชนทั่วไป ตามหลักสัจธรรม อันเป็นแก่นแท้ของ พระพุทธศาสนา
๒. ส่งเสริมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ โดยไม่มุ่งผลทางการเมือง
๓. ส่งเสริมเผยแพร่พุทธธรรม ด้วยสื่อสาระสัจจะ ทุกประเภท เช่น หนังสือเล่ม หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เทปเสียง วิทยุ โทรทัศน์ วิดีโอ สไลด์ จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม สถาปัตยกรรม นาฏกรรม เพลง ดนตรี แผ่นภาพ โปสเตอร์ และสื่อสาร เผยแพร่ใดๆ
๔. ไม่มีนโยบายหรือเจตนา จัดตั้งโต๊ะบิลเลียด เพื่อเล่นการพนัน พนันเอาทรัพย์สินกัน และ ไม่มีเจตนาหา ผลกำไร

สถานที่ติดต่อ “ธรรมทัศน์สมาคม”
๖๗/๗-๘ หมู่ ๕ ถนนนวมินทร์ (ซอย ๔๘)
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
โทร. ๐-๒๓๗๕-๔๕๐๖

๒.๕ มูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อน

วัตถุประสงค์
๑. ส่งเสริมจริยธรรมในการแก้ปัญหาโรคเอดส์ ตลอดจนปัญหาต่างๆ ทางสังคม
๒. ส่งเสริมให้คนในสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน โดยการใช้สื่อ เผยแพร่ต่างๆ รวมทั้ง การฝึกอบรม
๓. ส่งเสริมและสนับสนุนแบบวิถีชีวิตที่ช่วยรักษาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
๔. ดำเนินการเพ่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองค์กร การกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
๕. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ประการใด

กิจกรรมสำคัญ
เช่น โครงการจัดรายการวิทยุทั้งภาค AM และ FM ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เป็นเพื่อนทางจิต มิตรทางใจ, รายการโทรทัศน์, โครงการบริจาค และเผยแพร่ สื่อธรรมะ ในโอกาสต่างๆ เป็นต้น

สถานที่ติดต่อ “มูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อน”
๖๗/๑๕๔ ซ.นวมินทร์ ๔๘ ถนนนวมินทร์
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
โทร. ๐-๒๗๓๓-๔๐๐๐

๒.๖ สมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา (สศส.)

วัตถุประสงค์และกิจกรรมสำคัญ
๑. ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และสนับสนุนกิจกรรม ทุกประเภท ที่เป็นการ เอื้อเฟื้อเกื้อกูล ยังผลประโยชน์ แก่มวลสมาชิก โดยรวม โดยไม่ขัดต่อ ศีลธรรมอันดี และ กฎหมายบ้านเมือง
๒. แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประสานสัมพันธ์พี่น้อง ให้รักมั่น กลมเกลียวกันยิ่งๆ ขึ้น
๓. มุ่งส่งเสริมการสร้างอาชีพที่เป็นสัมมาอาชีพ แก่มวลสมาชิก
๔. การดำเนินการทั้งปวงด้วยวิถีทางแห่ง พุทธศาสนา

ส่วนกิจกรรมสำคัญ อาทิ โครงการจัดงาน “คืนสู่เหย้าเข้าคืนถ้ำ สัมมาสิกขา” และโครงการจัด โรงบุญมังสวิรัติ ในโอกาสต่างๆ เป็นต้น

สถานที่ติดต่อ “สมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา” (สศส.)
๖๔๔ หมู่ ๕ ซ.นวมินทร์ ๔๔ ถ.นวมินทร์
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
โทร. ๐-๒๓๗๕-๖๔๐๑, ๐-๒๓๗๔-๕๒๓๐

๒.๗ สมาคมนักศึกษาผู้ปฏิบัติธรรม (นศ.ปธ.)

วัตถุประสงค์และกิจกรรมสำคัญ
๑. ผนึกรวมตัวรวมแรงรวมใจกันของผู้ใฝ่ธรรม ให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยไม่แบ่งแยกสี หมู่กลุ่มหรือสถาบัน มวลสมาขิก มีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำกิจวัตร กิจกรรม กิจการ พึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน
๒. เชื่อมร้อยเครือข่ายประสานสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ต่างๆ ทั้งทางโลก และ ทางธรรม
๓. สนับสนุนส่งเสริม สัมมาอาชีพ ทักษะการดำรงชีวิต คุณภาพชีวิต จริยธรรม คุณธรรม ตามทฤษฏี บุญนิยม และ เศรษฐกิจพอเพียง
๔. จัดหาจัดการทุนทรัพย์ อุปกรณ์ สถานที่ เพื่อสนับสนุนส่งเสริม งานด้านการศาสนา การสื่อสาร เศรษฐกิจพาณิชย์ การศึกษา การเงินการคลัง อุตสาหกิจชุมชน สุขภาวะ การบริโภค กสิกรรม ชุมชนสังคมสิ่งแวดล้อม การเมืองในส่วนที่เหมาะสม โดยไม่มุ่งหวัง หาผลกำไร หรือรายได้ มาแบ่งปันกัน
๕. สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรม ที่เป็นการกุศล สาธารณประโยชน์ ซึ่งไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม อันดีงาม ของประชาชน และ บทบัญญัติของกฎหมาย
๖. การดำเนินกิจวัตรกิจกรรมกิจการทั้งปวง ไม่ขัดกับหลักธรรม ในพระพุทธศาสนา

อนึ่ง สมาคมฯ มีกิจกรรมสำคัญ อาทิ โครงการจัดงาน “คืนสู่เหย้าเข้าคืนรัง นศ.ปธ.” และโครงการจัด โรงบุญมังสวิรัติ ในโอกาสต่างๆ เป็นต้น

สถานที่ติดต่อ “สมาคมนักศึกษาผู้ปฏิบัติธรรม” (นศ.ปธ.)
๖๔๔ หมู่ ๕ ซ.นวมินทร์ ๔๔ ถ.นวมินทร์
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
โทร. ๐-๒๓๗๕-๖๔๐๑, ๐-๒๓๗๔-๕๒๓๐

๒.๘ มูลนิธิบุญนิยม

วัตถุประสงค์และกิจกรรมสำคัญ
๑. เพื่อสนับสนุนการทำงานเผยแพร่อุดมการณ์บุญนิยม
๒. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ขององค์กรบุญนิยม และหรือ สถาบันบุญนิยม ที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อทำงาน ตามอุดมการณ์ บุญนิยม
๓. ดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น เพื่อสาธารณประโยชน์
๔. ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ด้วยความเป็นกลาง และไม่ให้ การสนับสนุน ด้านการเงิน หรือทรัพย์สิน แก่นักการเมือง หรือ พรรคการเมืองใด
๕. สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นการกุศล สาธารณประโยชน์ ซึ่งไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม อันดีงาม ของประชาชน และบทบัญญัติ ของกฎหมาย
๖. การดำเนินกิจวัตร กิจกรรม กิจการทั้งปวง ไม่ขัดกับหลักธรรม ในพระพุทธศาสนา

สถานที่ติดต่อ “มูลนิธิบุญนิยม”
๖๕/๔๕ หมู่ ๕ ซ.นวมินทร์ ๔๔ ถ.นวมินทร์
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
โทร. ๐-๒๗๓๓-๖๐๖๓

 

๓. วิถีชีวิตในสังคมบุญนิยม

“ระบบบุญนิยม” เริ่มต้นจากการ “สร้างคนดีมีศีล” ให้ได้ก่อน

“คนดี” ที่ว่านี้ คือ บุคคลผู้ถือ “ศีล ๕ ละอบายมุข” เป็นอย่างน้อย และจะต้องฝึกฝนตน สู่ทิศทางแห่ง“โลกุตระ” คือ ลดละ การบำเรอตน ปฏิบัติให้เข้าถึง อริยสัจธรรม ไปตามลำดับ จนเกิด “โลกุตรจิต” ซึ่งเป็นผลจาก การปฏิบัติได้จริง ไม่หลบหลีก ปลีกเดี่ยว อยู่ตามป่า, เขา, ถ้ำ

แต่ยังคงอยู่กับโลก อย่างรู้เท่าทันโลก (โลกวิทู) คือ รู้เท่าทันความทุกข์, รู้เท่าทัน ความเป็นไปของโลก โดยเห็นชัด ในกิเลสของตน ที่ยังมัวเมา ลุ่มหลงกับลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข อันเป็นเหตุแห่ง การแก่งแย่ง เบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบกัน อยู่ในสังคม

ดังนั้น คนดี จึงเข้าไปขวนขวายอนุเคราะห์สังคม อนุเคราะห์โลก (โลกานุกัมปายะ) ช่วยเหลือสังคม อย่างเสียสละ จริงใจ ตรงตาม ลักษณะของ พุทธศาสนาที่ว่า เป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล แก่ปวงชน ทั้งหลาย (พหุชนหิตายะ) และเพื่อความเจริญสุข แก่ปวงชนทั้งหลาย (พนุชนสุขายะ)

เป้าหมายของการทำงานใน “ระบบบุญนิยม” จึงไม่ได้มุ่งค่าตอบแทน ที่เม็ดเงิน ยิ่งไปกว่า การได้ "รู้จักตนเอง" ด้วยอาวุธแห่ง "ไตรสิกขา" และ "ตรวจตน มองตน มีสัญชาติแห่งคนตรง" ไม่ย่อท้อ ต่อกิเลสตัวใด

เพราะถ้าเราไม่เห็นกิเลส ไม่รู้จักตัวเอง เราจะถูกกิเลสทำลาย ไม่สามารถพัฒนาตนเอง ให้พ้นกิเลสได้ และนี่คือ ค่าตอบแทน ที่สูงค่า ของผู้ทำงานทุกคน

 

“บุญนิยม” สามารถจัดแบ่งลักษณะ ให้เห็นชัด ในการค้าขาย ๔ เป็นระดับ

ขั้นที่ ๑ ขายให้ต่ำกว่าราคาท้องตลาด มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ (ยังไม่ถือว่า เป็นบุญนิยม) เพียงแต่พอเป็น เครื่องอาศัย ตามความจำเป็น ของชีวิต ซึ่งมีระดับ ความสันโดษ ไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน แต่ก็ยังไม่ถือว่า เป็นบุญนิยมทีเดียว
ขั้นที่ ๒ ขายเท่าทุน (เริ่มต้นบุญนิยมขั้นแรก) ยังไม่มีบุญ แต่ก็ไม่มีบาป ให้พออาศัยต่อทุน ทำงานต่อไป ถือว่าเป็นการ เริ่มต้นบุญนิยม ขั้นแรก
ขั้นที่ ๓ ขายต่ำกว่าทุนที่ลงไป โดยอาจไม่รวมค่าแรง ค่าโสหุ้ยต่างๆ ค่าวัตถุดิบ ซึ่งผลิตเอง หรือเก็บจาก ธรรมชาติ ขายต่ำลง ได้มากเท่าไร ก็เป็นบุญมาก เท่านั้น
ขั้นที่ ๔ แจกฟรี เป็นการสังเคราะห์เกื้อกูลกันไป

 

บริษัท พลังบุญ จำกัด เปิดดำเนินงาน อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๐ ด้วยทุน จดทะเบียน ๕ ล้านบาท ถือเป็น “แม่แบบ” สากลของการค้าขาย ใน “ระบบบุญนิยม” ซึ่งปรากฏ ให้เห็นได้ ทั้งด้านรูปธรรม และด้าน "นามธรรม"

ด้าน รู ป ธ ร ร ม คือ การดำเนินกิจการค้า โดยมีเป้าหมาย เพื่อรับใช้สังคมทั่วไป อย่างเปิดกว้าง ไม่เลือกตัวบุคคล ผลประโยชน์ ที่สังคม จะได้รับ คือ การได้ซื้อสินค้า ในราคาถูก และยุติธรรม ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจาก ความสำเร็จ ในการพัฒนาบุคลากร ของบริษัท

ด้าน น า ม ธ ร ร ม คือ การพัฒนาปรับปรุงแก้ไขตัวตน ให้เกิดญาณปัญญา ในการ "ฝึกหัดตน" ให้มีความเสียสละ ซื่อสัตย์ ลดละกิเลสโลภ ขยัน สร้างสรร มีความประณีต และประหยัด โดยเน้นการฝึกกินอยู่ อย่างเรียบง่าย กินน้อย ใช้น้อย ไม่จำเป็นต้อง มีรายได้สูง หรือ “ไม่มีรายได้เลย” โดยสละรายได้ เข้า "กองบุญนิยม" ซึ่งจะเป็นส่วนสร้าง “ระบบสวัสดิการ” ดูแลพนักงาน ภายในบริษัท

ต่อมาได้ก่อเกิด บริษัท (บุญนิยม) ตามมาอีก คือ บจ.แด่ชีวิต, บจ.ขอบคุณ ซึ่งปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๗) ได้ควบรวมทั้ง ๓ บริษัท (บจ.พลังบุญ, บจ.แด่ชีวิต, บจ.ขอบคุณ) แล้วจดทะเบียน จัดตั้ง บริษัทขึ้นใหม่ ใช้ชื่อว่า บริษัท พลังบุญ (บุญนิยม) จำกัด เพื่อความเป็น ปึกแผ่นของ “ระบบบุญนิยม”

“ระบบบุญนิยม” จึงคือการประกอบกิจการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ค้ากำไรเกินควร ผลประโยชน์ ทางการค้า จะต้องหมุนเวียน กลับคืนมาสู่ลูกค้า เป็นระบบ ที่จะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อ 'มนุษย์ มีความเจริญ ทางปัญญาสูงสุด ตามทฤษฎีของ พระพุทธเจ้า' คือ จะต้องลดละกิเลสโลภ โกรธ หลง และรู้จัก ‘เสียสละ’ เป็น ‘มนุษย์พัฒนา’ หรือเรียกว่า ‘มนุษย์วรรณะ ๙’ ที่มีความขยัน หมั่นเพียร มักน้อย สันโดษ ไม่สะสม ซึ่งจะพัฒนาได้ มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับ คุณภาพ และคุณธรรม ของบุคคล

‘สมณะโพธิรักษ์’ และชาวอโศก เชื่อมั่นว่า คุณค่าที่มนุษย์ ควรจะได้รับ เป็นทรัพย์ติดตัวไป อย่างแท้จริง คือ "อาริยทรัพย์" ที่ต้องเสียสละ ให้ได้จริงๆ ลดละกิเลส ให้มากที่สุด ด้วยการทาน บริจาคออกไป ช่วยเหลือ เกื้อกูล โดยมีหลักว่า

ผลได้ น้อยกว่าต้นทุน เรียกว่า กำไรอาริยทรัพย์
ผลได้ เท่ากับต้นทุน เรียกว่า เสมอทุน
ผลได้ มากกว่าต้นทุน เรียกว่า ขาดทุน, เป็นหนี้

 

        ๏ ลักษณะ “บุญนิยม” ที่สมบูรณ์ ๑๑ ประการ คือ
๑. ทวนกระแส (คนละทิศกับ ‘ทุนนิยม’)
๒. ต้องเข้าเขตโลกุตระ
๓. ทำได้ยาก (ยกเว้นผู้มีบารมีจริง) แม้ยากก็ต้องทำ
๔. เป็นไปได้ (ไม่ใช่ฝันเฟื่อง)
๕. เป็นสัจธรรม (ของจริงแท้สำหรับ มนุษย์และสังคม)
๖. “กำไร” ของชาวบุญนิยมที่เรียกว่า ‘รายได้’ หรือ ‘ผลประโยชน์’ ก็คือ สิ่งที่ให้ออกไปคุณค่าที่ได้ “สละจริง” เพื่อผู้อื่น เพื่อมวลมนุษย์และสัตวโลก ทั้งหลาย จึงเรียกว่า “บุญ”
๗. สร้าง “คน” ให้ประสบผลสำเร็จเป็นหลัก
๘. ต้องศึกษาฝึกฝนกันจน “จิตเกิด-จิตเป็น” เรียกว่า “บรรลุธรรม” ตามลำดับ จึงชื่อว่า เป็น “ผลสำเร็จจริง”
๙. ความร่ำรวยอุดมสมบูรณ์ ไม่อยู่ที่ส่วนบุคคล แต่อยู่ที่ “ส่วนรวม” หรือ “ส่วนกลาง”
๑๐. เชิญชวนให้มาดูได้ หรือพิสูจน์ได้ ดุจเดียวกับ พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
๑๑. จุดสัมบูรณ์ คือ อิสรเสรีภาพ ภราดรภาพ สันติภาพ สมรรถภาพ บูรณภาพ
                                สมณะโพธิรักษ์

      (จาก “สรรค่าสร้างคน” โดย ‘อโศก’ ผลงานอันดับที่ ๒๕ ของกลุ่มสุดฝั่งฝัน. น. ๑๖-๑๗)

 

๓.๑ อุดมคติแห่งบุญนิยม

“บุญนิยม” เป็นอุดมคติที่ ‘สมณะโพธิรักษ์’ ต้องการปลูกฝัง หยั่งลงในสังคม เพื่อสร้างให้เป็น วัฒนธรรม ประเพณี เหมือนชาวอินเดีย ที่ไว้หนวดเครา ไว้ผมยาว กันมาตลอด ทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าสังคม จะเปลี่ยนแปลงทางแฟชั่น เป็นอย่างใด ชาวอินเดีย ก็ยังรักษา หนวดเครา และ ผ้าโพกผมยาว อยู่บนศีรษะ มาโดยตลอด

ระบบ “บุญนิยม” มี "ฐานะ๔" คือ นักบวช นักบริหาร นักบริการ และนักผลิต เป็นองค์ประกอบสำคัญ

นักผลิต เป็นฐานะที่ ‘สมณะโพธิรักษ์’ ให้ความสำคัญ อันดับแรก เพราะชาวไร่ชาวนา เป็นผู้สร้าง อาหารเลี้ยงโลก แม้พระศาสดา ยังได้ตรัสไว้ว่า “อาหารเป็นหนึ่งในโลก” นอกจากนี้ ท่านยังมีเจตนารมณ์ นำพาชาวอโศก มาเป็น ชาวไร่ชาวนา ในระบบ กสิกรรมธรรมชาติ เพราะเป็น ง า น บุ ญ มากกว่า อาชีพอื่นๆ

ดังนั้น “ค่านิยม” ที่ยิ่งเหยียดหยาม ชาวไร่ชาวนา, กรรมกร ต่ำลงๆ เท่าใด “ค่าแท้” ของชาวไร่ ชาวนา, กรรมกร ยิ่งสูงจริงขึ้นๆ มากเท่านั้น

นักบริการ หรือผู้ทำการค้า ‘สมณะโพธิรักษ์’ ได้ให้หลักการค้าใน “ระบบบุญนิยม” ไว้ว่า
๑. ต้องพยายามขายให้ต่ำกว่าราคาตลาด ให้ได้มากยิ่งขึ้นๆ ที่สุด
๒. หากสามารถขายได้เท่าทุนยิ่งดี
๓. ถ้าสามารถขายได้ต่ำกว่าราคาทุน ก็จะได้บุญ เป็นกำไรอริยะเพิ่มขึ้น
๔. ยิ่งสามารถให้ฟรีได้เลย! โดยที่ตัวเอง ก็สามารถอยู่ได้ ก็ยิ่งเป็นความยอดเยี่ยม สูงสุด ของมนุษย์ ใน ‘ระบบบุญนิยม’ เลยทีเดียว

นักบริหาร หรือนักปกครอง, นักการเมือง ‘สมณะโพธิรักษ์’ แบ่งไว้เป็น ๓ ระดับ คือ 

๑. การเมืองปุถุชน
๒. การเมืองกัลยาณชน
๓. การเมืองอาริยชน

การเมืองระดับอาริยชน คือ การเมืองที่เป็นโลกุตระ
นักการเมือง ต้องมีคุณธรรมถึงขั้น “อริยบุคคล” ไม่เป็นทาส
ของโลกธรรม (ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข) อย่างมั่นคงจริงใจ
ตามฐานะ แห่งความเป็น “อริยะ” จริงนั้นๆ (ทำได้มากได้น้อย
ตามฐานะแห่งภูมิธรรม ของนักการเมือง แต่ละคน) ซึ่งจะต้องมี
ความเป็นอยู่ ที่ยากจนกว่า ‘นักบริหาร’ และ ‘นักผลิต’         

นักบวช นั้น ‘สมณะโพธิรักษ์’ เตือนให้ระวัง อันตรายจาก เสือ ๒ ตัว คือ สตรี และ สตางค์ ทึ่ต้องบริสุทธิ์ สะอาด จาก ๒ สิ่งนี้ และ มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม ไม่อยู่แบบ ฤๅษีหนีโลก นักบวชในพุทธศาสนา จะต้องมี “มรรคองค์ ๘” เป็นเครื่องดำเนินชีวิต เพื่อยังประโยชน์ตน - ประโยชน์ท่าน ให้สมบูรณ์ โดยมีสัมมากัมมันตะ และ สัมมาอาชีวะ (มีการงานที่เป็น “สัมมาทิฏฐิ” คุ้มค่าข้าวค่าน้ำ ของผู้ถวาย)

(สรุปจาก “สารอโศก” อันดับที่ ๑๕๕. บันทึกจากปัจฉาสมณะ มิ.ย.-ก.ค. ๒๕๓๕. หน้า ๒๒-๒๓)

๓.๒ กิจการงานแห่งบุญนิยม

กิจการงานใน "ระบบบุญนิยม" มีลักษณะ "พึ่งตนเอง" ตามทฤษฎี เศรษกิจพอเพียง จนเป็นศูนย์ศึกษา เรียนรู้ ด้าน ชุมชนเข้มแข็ง (ไม่เป็นทาส บริโภคนิยม และ ทุนนิยม) โดยมี กิจกรรมหลักของ "บุญนิยม ๑๒ ประการ" คือ

๓.๒.๑ ศาสนาบุญนิยม
ประกอบด้วย ๘ องค์กร คือ มูลนิธิธรรมสันติ, กองทัพธรรมมูลนิธิ, สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม, ธรรมทัศน์สมาคม, มูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อ, สมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา, สมาคมนักศึกษา ผู้ปฏิบัติธรรม (นศ.ปธ.) และมูลนิธิบุญนิยม

๓.๒.๒ ชุมชนบุญนิยม
ประกอบด้วย พุทธสถาน, ชุมชน, องค์กรต่างๆ และกิจการงานใน “ระบบบุญนิยม”

๓.๒.๓ การศึกษาบุญนิยม
มีปรัชญาการศึกษาว่า “ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา” ประกอบด้วย
- โรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก (สส.สอ)
- โรงเรียนสันติบาล (ระดับอนุบาล- ประถมศึกษา) ขึ้นอยู่กับโรงเรียน สัมมาสิกขาศีรษะอโศก (สส.ศ.)

มีปรัชญาการศึกษาว่า “ศีลเต็ม เข้มงาน สืบสานวิชชา” ประกอบด้วย
- วิชชาลัยบรรดาบัณฑิตบุญนิยม (ว.บบบ.)

นักเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศกกับกิจกรรมการเรียนการสอน

๓.๒.๔ การบริโภคบุญนิยม ประกอบด้วย
- ชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย สาขาจตุจักร (ชมร.กทม.)
- ชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย สาขาหน้าสันติอโศก (ชมร.สตอ.)

๓.๒.๕ พาณิชย์บุญนิยม ประกอบด้วย
- บริษัท พลังบุญ (บุญนิยม) จำกัด ผลิตและจำหน่ายสินค้าชาวอโศก รวมทั้งสินค้าจาก วิสาหกิจชุมชน ทุกภาคทั่วประเทศ โดยส่งเสริมสนับสนุน สินค้าพืชไร่ไร้สารพิษ -ปลอดสารพิษ
- ร้านกู้ดินฟ้า ๑ จำหน่ายพืชผัก และผลไม้ ไร้สารพิษ จากเครือแห กสิกรรมไร้สารพิษ
- สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาอโศก

 บริษัท พลังบุญ (บุญนิยม) จำกัด

ภายในร้านของบริษัท พลังบุญ (บุญนิยม) จำกัด ฝ่ายขายปลีก

บริษัท พลังบุญ (บุญนิยม) จำกัด ฝ่ายขายส่ง  

ภายในร้านของบริษัท พลังบุญ (บุญนิยม) จำกัด
ฝ่ายขายปลีก

ร้านชมรมมังสวิรัติหน้าสันติอโศก

๓.๒.๖ กสิกรรมบุญนิยม ประกอบด้วย

‘สมณะโพธิรักษ์’ ให้ความสำคัญในเรื่อง “กสิกรรม” อย่างยิ่ง ท่านได้กล่าวไว้ว่า มีเพียง ๓ อาชีพ นี้เท่านั้นที่จะ กอบกู้มวลมนุษยชาติได้ คือ
กสิกรรมธรรมชาติ / ขยะวิทยา / ปุ๋ยสะอาด
ซึ่งเขียนเป็นภาพวงจรได้ ดังนี้

วงจรที่สมบูรณ์ของ "สามอาชีพ เพื่อมนุษยชาติ"

โดยเฉพาะประเทศไทย เป็นประเทศที่มีภูมิอากาศ เหมาะอย่างยิ่ง ในการทำกสิกรรม ท่านจึงเน้นย้ำ ให้ชาวอโศก ต้องเป็นหลัก ในเรื่องของ ‘กสิกรรมธรรมชาติ’ (ไร้สารพิษ) เพราะ ‘อาหารเป็นหนึ่ง ในโลก’ ซึ่งมีหลักอยู่ ๓ ประการ คือ
๑. ไม่ไถพรวนดิน
๒. ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี
๓. ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง

“หัวใจ” ของการทำกสิกรรมธรรมชาติ คือ การบำรุงดิน ให้อุดมสมบูรณ์ก่อน เพราะดิน ที่ไม่ดีนั้น คือ ดินป่วย ผลผลิตที่ได้มา ก็ไม่สมบูรณ์ ผู้บริโภค ก็จะป่วยด้วย เรียกว่า sick soil – sick plant – sick people ดินป่วย- ผักป่วย – คนก็ป่วย ดังนั้น ความอุดม สมบูรณ์ของ ‘ดิน’ ก็คือ ‘ความอุดมสมบูรณ์ ของธรรมชาติ’ และท่านได้ชี้ ให้เข้าใจถึง “ปรัชญาธรรมชาติ” ว่า “พึ่งตนเอง ไม่ทำลาย สิ่งแวดล้อม สร้างสิ่งแวดล้อม เอื้อเฟื้อพี่น้อง”

๓.๒.๗ อุตสาหกิจชุมชนบุญนิยม ประกอบด้วย
- บริษัท พลังบุญ (บุญนิยม) จำกัด สำนักงานสาขาที่ ๓ ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำยา ทำความสะอาด และยาสมุนไพร ใช้ทาภายนอก เพื่อใช้ภายในชุมชนเป็นหลัก ต่อมาได้ผลิตจำหน่าย (ในราคาบุญนิยม) ตามความต้องการ ของผู้บริโภคด้วย

๓.๒.๘ การเมืองบุญนิยม
มีคำขวัญว่า “เศรษฐกิจพึ่งตน ชุมชนเข้มแข็ง ประชามีธรรม ประเทศมีไท”
ประกอบด้วย “พรรคเพื่อฟ้าดิน”

๓.๒.๙ ศิลปวัฒนธรรมบุญนิยม
ความหมายของ “ศิลปะ” ในวัฒนธรรมของชาวอโศก คือ ส่งเสริม ให้เกิดความเข้าใจ ศิลปะ ว่าเป็น “มงคลอันอุดม” เป็นเหตุ ที่ก่อให้เกิด ความประเสริฐ แก่มนุษย์ นำพามนุษย์ไปสู่ ความเจริญอันสูงสุด ซึ่งมีทั้ง “สุนทรียศิลป์” และ “แก่นศิลป์” โดยใช้ “ศิลปะ” เพื่อสร้างสรร

“สุนทรียศิลป์” หมายถึง สิ่งที่สร้างที่ประกอบขึ้น เพื่อชี้ชวนให้คนสนใจ เพื่อไปเอา “แก่นศิลป์” หรือเอา 'สาระ' ไม่ว่าจะเป็น การวาด การเขียน การปั้น วรรณกรรม ท่าทาง ลีลาฯ จะชี้ชวน เพื่อนำไปสู่ สารประโยชน์ อันเป็นคุณค่า ที่แท้จริง แก่มนุษย์ ไม่ใช่เป็น มหรสพมอมเมา หรือ เป็นอนาจาร เช่น ภาพเขียนโป๊เปลือย ที่คนดูภาพแล้ว เกิดการลดราคะได้ ก็เป็นศิลปะ แต่หากดูแล้ว เกิดราคะ ก็เป็น อ น า จ า ร

งานศิลปะดังกล่าว สามารถมองเห็น เป็นรูปธรรมได้จาก “วิหารพันปี เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ”

๓.๒.๑๐ การสื่อสารบุญนิยม
มีคำขวัญว่า “สื่อสร้างสรร ขยันช่วยสังคม ระดมบุญคุณธรรม” ประกอบด้วย

- บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด, สำนักพิมพ์กลั่นแก่น, กลุ่มสุดฝั่งฝัน เป็นแหล่งผลิต หนังสือธรรมะ เพื่อเผยแพร่เป็นหลัก มีสโลแกนว่า "เราจะพิมพ์ หนังสือธรรมะ ให้ท่วมโลก" โดย "สมณะโพธิรักษ์" มีความเห็นว่า โลกขาดแคลนธรรมะ ทั้งที่ธรรมะ เป็นอาหารอันวิเศษ สำหรับมนุษย์ แต่คนกลับไม่เห็นคุณค่า ไม่ตั้งใจแสวงหา5

- ธรรมปฏิกรรม, แผนกธรรมโสต, แผนกธรรมรูป, แผนกธรรมปฏิสันถาร, แผนกธรรมปฏิสัมพันธ์

- ห้องสมุดสำหรับประชาชน สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม (ห้องสมุดสันติอโศก) แม้จะมี หนังสือธรรมะเป็นหลัก เพราะพุทธศาสนา สอนให้เรา เป็นผู้อยู่เหนืออำนาจโลกีย์ (โลกุตระ) รู้เท่าทันโลก (โลกวิทู) พร้อมเกื้อกูลโลก (โลกานุกัมปายะ) จึงเป็นแห่งศึกษาธรรมะ และสนับสนุน งานผลิตหนังสือธรรมะ แต่ก็มีหนังสือ วิชาการอื่นๆ ที่ไม่ไกลตัวมากๆด้วย ดังที่สมณะโพธิรักษ์ ได้อธิบายว่า ห้องสมุดต้อง มีหนังสือศาสนา และวิชาการอื่นๆ ผู้ที่เห็นว่า ห้องสมุดวัด ควรมีแต่หนังสือศาสนา เท่านั้น เป็นคนมีความคิดแคบ ไม่เกิดประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน สมบูรณ์ ศาสนาพุทธ ต้องเป็นโลกวิทู รู้โลก ไม่ใช่ปิดโลก หนีโลก ถ้าเป็นวิทยาการ ไกลตัวมากๆ เราก็รู้ แต่ไม่ต้อง สนใจมาก เท่าเรื่องใกล้ตัว6

- คลังเสียง, อินเทอร์เน็ตอโศก

- สถานีโทรทัศน์ "บุญนิยมทีวี" (Boonniyom TV) ดำเนินงานโดย "มูลนิธิบุญนิยม"

มีคำขวัญว่า ทุกบรรยากาศ รายงานความจริง (Truth Media)

เริ่มทดลองแพร่ภาพ ส่งสัญญาณ ผ่านดาวเทียม ไทยคม เมื่อ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๗7 ออกอากาศ ๒๔ ชั่วโมง มีรถ OB พร้อมถ่ายทอดสด เคลื่อนที่ บริการ “สื่อบุญนิยม” เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยไม่มีการโฆษณา สินค้าใดๆ

ดำเนินงาน ด้วยทุนสนับสนุน จาก สถาบัน ขยะวิทยาด้วยหัวใจ (สขจ.) และ จากการบริจาคผ่าน “มูลนิธิบุญนิยม” พร้อมด้วย “แรงงานฟรี” จากจิตอาสา ทุกท่าน

อนึ่ง "บุญนิยม ทีวี (Boonniyom TV)" นี้เดิมคือ สถานีโทรทัศน์ เพื่อแผ่นดิน FE.TV (For The Earth) ดำเนินงานโดย บริษัทถอยหลังเข้าครรลอง จำกัด ซึ่งออกอากาศ เมื่อ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๐8 ต่อมามีกลุ่มการเมือง นำไปตั้งชื่อพรรค (พรรคเพื่อแผ่นดิน) ประจวบกับเป็นจังหวะ ที่จะปรับปรุง สถานีใหม่ ทั้งหมด จึงไปเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ เพื่อมนุษยชาติ FMTV (For Mankind Television) และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัทเดินหน้า ฝ่ามหาสมุทร จำกัด ออกอากาศเมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐9

ต่อมาในปี ๒๕๕๗ ก็ได้ยกเลิกบริษัทนี้ไป เป็นการดำเนินงานโดย มูลนิธิบุญนิยม ดังกล่าว

๓.๒.๑๑ สุขภาพบุญนิยม ประกอบด้วย

๓.๒.๑๒ สถาบันขยะวิทยาด้วยหัวใจ
สถาบัน ขยะวิทยาด้วยหัวใจ (สขจ.) : Institute of Ethical Waste Management เป็นองค์กร ทางเศรษกิจ สังคม ศาสนา ภายใต้การกำกับดูแล ของมูลนิธิบุญนิยม ก่อเกิดพร้อมกับ การเปิดตัวของ โทรทัศน์เพื่อมนุษยชาติ FMTV (For Mankind Television) เมื่อเดือน เมษายน ๒๕๕๐ ซึ่งขณะนั้น ใช้ชื่อว่า โทรทัศน์เพื่อแผ่นดิน FETV (For The Earth) และปัจจุบันคือ บุญนิยม ทีวี (Boonniyom TV) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำรายได้ ที่เกิดจากกิจกรรม ไปเป็นทุน ในการดำเนินงาน

จากรากเหง้าเดิมที่ ‘สมณะโพธิรักษ์’ ได้กำหนด แนวทางสำคัญ สำหรับ ชาวอโศก คือ “๓ อาชีพเพื่อมนุษยชาติ” (กสิกรรมไร้สารพิษ, ปุ๋ยสะอาด, ขยะวิทยา) ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น

"สถาบันขยะวิทยาด้วยหัวใจ" จึงมีการจัดการอย่างเป็นระบบ ระเบียบ เพื่อสร้างรายได้ โอบอุ้มกิจกรรมของ โทรทัศน์ เพื่อมนุษยชาติ FMTV (For Mankind Television) และ เพื่อปลุกฟื้น จิตวิญญาณ มนุษยชาติ สู่เป้าหมายหลัก "ขยะวิทยา"

เป้าหมายหลัก ๕ ประการของ “ขยะวิทยา” คือ

๑. เพื่อกำจัดขยะทางวัตถุ และ ขยะทางจิตวิญญาณ
๒. เพื่อจัดสรรสิ่งที่เหลือใช้ส่วนเกิน ให้เกิดประโยชน์สูง ประหยัดสุด
๓. เพื่อส่งเสริมให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมีคุณค่า
๔. เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้สมดุล
๕. เพื่อส่งสริมอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาให้ยิ่งๆ ขึ้น10

การดำเนินกิจกรรม
๑. รับบริจาคของเก่าที่ไม่ใช้ ของใหม่ที่เกินจำเป็น นำมาแปรเป็นทุน สนับสนุน Boonniyom TV โดยจัดจำหน่ายที่ “ร้านดินอุ้มดาว” เป็นการขายปลีก และ ที่โกดังของ “สถาบันขยะวิทยา ด้วยหัวใจ (สขจ.)” เป็นการขายส่ง

๒. ส่งเสริมและเผยแพร่กิจกรรมของ สถาบันขยะวิทยา ด้วยหัวใจ (สขจ.) ผ่านสื่อ Boonniyom TV ในรายการ “ดินอุ้มดาว” และบทความ ผ่านสื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ของชาวอโศก (วารสารสารอโศก, ดอกหญ้า, ดอกบัวน้อย, นสพ. เราคิดอะไร)

๓.๓ หลักการแห่งบุญนิยม

นโยบายการค้า
๑. ขายถูก ๒. ไม่ฉวยโอกาส ๓. ขยัน อุตสาหะ ๔. ประณีต ประหยัด
หลักการตลาด
๑. ขายของที่ดี ๒. ราคาถูก ๓. ซื่อสัตย์ ๔. มีน้ำใจ ๕. ขายสด งดเชื่อ (เครดิตเหนือเครดิต)
อุดมคติ
๑. ขายถูกกว่าตลาด ๒. ขายเท่าทุน ๓. ขายต่ำกว่าทุน ๔. แจกฟรี
อุดมการณ์
๑. แรงงานฟรี ๒. ปลอดหนี้ ๓. ไม่มีดอกเบี้ย ๔. เฉลี่ยทรัพย์เข้ากองบุญ

 

๔. ประวัติ “ชุมชนบุญนิยมสันติอโศก”

เมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๔๐ ชาวชุมชนฯ และผู้ที่ปฏิบัติธรรม อยู่ประจำ พุทธสถานฯ ในฐานะต่างๆ คือ อาคันตุกะจร (ผู้มาปฏิบัติพักค้าง เป็นครั้งคราว), อาคันตุกะประจำ (ผู้มาปฏิบัติพักค้าง เป็นประจำ), อารามิก (ผู้สมัครอยู่วัดฝ่ายชาย), อารามิกา (ผู้สมัครอยู่วัดฝ่ายหญิง) ได้ประชุมร่วมกัน ณ ศาลาส่วนกลาง ของพุทธสถานฯ รวม ๕๘ คน โดยมีนักบวช ๕ รูปเป็นประธาน

นับเป็นการเริ่มต้น ของการรวมกลุ่ม เพื่อความสมานสามัคคี สร้างความเข้าใจ อันดีต่อกัน ทำให้ได้ทราบทุกข์สุข ตลอดจนปัญหา ความเป็นไปของ การทำงาน ในหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ อันเป็นกิจการใน “ระบบบุญนิยม” ดังได้กล่าวมาแล้ว รวมถึงชาวชุมชนฯ ผู้พักอาศัย อยู่ใกล้พุทธสถานฯ ด้วย

ตั้งแต่นั้นมา ก็มีการประชุมชุมชนฯ เป็นประจำทุกเดือน โดยมี ‘สมณะโพธิรักษ์’ เป็นประธาน

ต่อมา ปี ๒๕๔๔ จึงได้จัดตั้งเป็น “ชุมชน” ขึ้นอย่างเต็มรูป และเนื่องจาก เรามีวิถีชีวิตอย่าง “ระบบบุญนิยม” ดังกล่าว เราจึงเรียกชื่อว่า “ชุมชนบุญนิยม สันติอโศก” เช่นเดียวกับ ชุมชนบุญนิยมอื่นๆ ของชาวอโศก อาทิ ชุมชนบุญนิยม ปฐมอโศก, ชุมชนบุญนิยม ศีรษะอโศก,  ชุมชนบุญนิยม ราชธานีอโศก เป็นต้น แม้ปัจจุบัน มักเรียกขานกัน เพียงสั้นๆ ว่าชุมชนสันติอโศก, ชุมชนศีรษะอโศก ฯลฯ ก็ตาม

ชาวชุมชนบุญนิยมสันติอโศก มิได้จำกัดขอบเขตเฉพาะ ผู้ปฏิบัติธรรม ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง พุทธสถานฯ เท่านั้น แม้ญาติธรรม ในกรุงเทพฯ ที่มาฟังธรรม มาร่วมกิจวัตร กิจกรรม ตามแนวคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (อาริยมรรค มีองค์ ๘) ซึ่งมาพักค้าง เป็นครั้งคราว และมีความตั้งใจจริง ในการวิรัติตน ด้วยการ ถือศีล ๕ ละอบายมุข รับประทาน อาหารมังสวิรัติ ก็ถือเป็นสมาชิก ของชุมชนบุญนิยม สันติอโศก ด้วยเช่นกัน

๔.๑ สาธารณโภคี : เป้าหมายและนโยบายของ ชุมชนบุญนิยม สันติอโศก

ชาวชุมชนฯ อยู่กันอย่างเอื้อเฟื้อเกื้อกูล โดยมีระบบส่วนกลาง เรียกว่า “สาธารณโภคี” คือ เฉลี่ยแบ่งปัน ตามหลัก ‘สาราณียธรรม ๖’ คือมี เมตตากายกรรม. เมตตาวจีกรรม, เมตตามโนกรรม, สาธารณโภคี, ศีลสามัญญตา (มีศีลเสมอกัน โดยผู้มีคุณธรรมสูง ย่อมมีความเข้าใจ และเมตตาต่อ ผู้มีคุณธรรมต่ำกว่า ส่วนผู้มีคุณธรรมต่ำกว่า ก็พึงเคารพรัก ผู้มีคุณธรรมสูงกว่า) และ ทิฏฐิสามัญญตา (มีความเห็น สอดคล้องกัน เป็นหนึ่งเดียว) อันเป็นคุณธรรม ของการอยู่ร่วมกัน สร้างความเป็น พ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลาน (ญาติธรรม) ที่พึ่งเกิด พึ่งแก่ พึ่งเจ็บ พึ่งตายกันได้

ชาวอโศก จึงมีหลักปรัชญาว่า : -

การอยู่กันด้วย ‘สาราณียธรรม ๖’ ทำให้เกิดอานิสงส์ หรือเกิดผลตาม ‘พุทธพจน์ ๗’ คือ มีความระลึกถึงกัน, รักกัน, เคารพกัน, สงเคราะห์กัน, ไม่วิวาทกัน, สมานสามัคคีกัน เป็นเอกีภาวะ หรือความเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน (พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อ ๒๘๒-๒๘๓)

จึงเปรียบเสมือน ครอบครัวใหญ่ พึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือ ดูแลกัน ยามเจ็บป่วย แม้ไม่มีทรัพย์สมบัติ และเงินเดือน ที่เป็นรายได้ ส่วนตัวเลย

ธุรกิจการค้า ภายในชุมชนฯ อันเป็น “บุญนิยม” มีจุดมุ่งหมายเพื่อ บริการสมาชิก ในชุมชนฯ เป็นหลัก แต่ก็ได้รับความนิยม จากประชาชน ในสังคมเสมอมา ทั้งเพิ่มขึ้น เจริญขึ้นเรื่อยๆ เพราะเราไม่เอาเปรียบ ผู้บริโภค และ มิได้มุ่งเอากำไรสูงสุด เป็นเป้าหมาย

อนึ่ง ชุมชนบุญนิยมสันติอโศกมี “หน่วยคัดกรองสินค้า” เพื่อให้สินค้าที่ผลิต มีคุณภาพดี ไม่เป็นพิษ ไม่เป็นภัย ทำให้ประชาชน เชื่อถือไว้วางใจ

ด้วยเหตุนี้ชาวชุมชนฯ จึงมีเศรษฐกิจสัมพันธ์กับสังคม อย่างเจริญดี อย่างมีคุณภาพ

                กิจวัตรประจำวัน ของชาวชุมชนบุญนิยม สันติอโศก

๐๓.๓๐ น.- ๐๕.๐๐ น.     ทำวัตรเช้า สวดมนต์และฟังธรรม จากสมณะ
                                      ผู้เป็นประธาน ในแต่ละวัน
๐๕.๐๐ น.- ๐๕.๓๐ น.    นักเรียนสัมมาสิกขาฯ มาทำวัตรเช้า
๐๕.๐๐ น.- ๐๘.๔๕ น.    แยกย้ายกันไปทำงานในฐานงาน ที่รับผิดชอบ
๐๕.๕๐ น.- ๐๗.๓๐ น.    สมณะ สามเณร และสิกขมาตุ ออกบิณฑบาต
๐๘.๓๐ น.- ๑๑.๐๐ น.     ฟังธรรม แล้วรับประทานอาหารร่วมกัน ระหว่างนี้
                                      มีวิดีทัศน์ รายการที่น่าสนใจให้ชม หรือมีการแจ้ง
                                      เรื่องราว ที่ต้องรับทราบร่วมกัน
                                     
๑๑.๐๐ น.- ๑๖.๓๐ น.       แยกย้ายกันไปทำงาน ในฐานงานที่รับผิดชอบ
๑๘.๐๐ น.- ๒๐.๐๐ น.       ศีกษาธรรมะจากรายการ “สงครามสังคม ธรรมะการเมือง”
                                       ‘สมณะโพธิรักษ์’ และคณะ
๑๘.๐๐ น.- ๑๙.๓๐ น.       เฉพาะวันอาทิตย์ วิปัสสนาจอแก้ว (ชมวีดิทัศน์
                                       ที่ผ่านการตรวจสอบจาก สมณะแล้ว)
                                       โดยมีหลักการดู ๔ ประการคือ
                                      ๑. เกิดอริยญาณ ๒. ทำการปฏิบัติ ๓. อัดพลังกุศล
                                      ๔. ฝึกฝนโลกวิทู เพิ่มพหูสูต
๒๑.๐๐ น.                      เข้านอนไม่เกิน ๓ ทุ่ม

 

๔.๒ งานประจำปีของชาวอโศก

๔.๒.๑ งานวันโพชฌังคาริยสัจจายุ วิชชาลัยบรรดาบัณฑิตบุญนิยม (ว.บบบ)
ณ ชุมชนบุญนิยมราชธานีอโศก จัดช่วง ปลายเดือนธันวาคม ถึงต้นเดือน มกราคม รวม ๗ วัน

๔.๒.๒ งานฉลองหนาวธรรมชาติอโศก
ณ ชุมชนบุญนิยม ภูผาฟ้าน้ำ จัดช่วงปลายเดือนมกราคม รวม ๒ วัน มีจุดมุ่งหมาย ให้ชาวอโศก ได้ไปพักผ่อน เที่ยวชมธรรมชาติ ได้ผ่อนคลาย หลังจาก ทำการงานมา ตลอดทั้งปี และมีโอกาสพบปะ คบคุ้นกันมากยิ่งขึ้น

ในงานมีการแข่งขัน “กีฬาอาริยะ’ เช่น แข่งเก็บผักป่า, สีข้าวด้วยมือ (ตำข้าว), ผ่าฟืน เป็นต้น

๔.๒.๓ งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์
ณ พุทธสถานศาลีอโศก จัดช่วงวันมาฆบูชา ราวเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม รวม ๗ วัน เพื่ออบรม บำเพ็ญธรรม "สติปัฏฐาน ๔"

๔.๒.๔ งานปลุกเสกพระแท้ๆ ของพุทธ
ณ พุทธสถานราชธานีอโศก จัดช่วงต้นเดือนเมษายน รวม ๗ วัน เพื่ออบรมบำเพ็ญธรรม "สติปัฏฐาน ๔" เช่นเดียวกับ งานพุทธาภิเษกฯ

๔.๒.๕ งานตลาดอาริยะปีใหม่อโศก
ณ ชุมชนบุญนิยมราชธานีอโศก จัดช่วงกลางเดือน เมษายน ซึ่งตรงกับ ‘ปีใหม่ไทย’ หรือ ‘สงกรานต์’

· วัตถุประสงค์ของการจัดงาน “ตลาดอาริยะ” คือ
๑. รักษาประเพณีการบิณฑบาต
๒. ช่วยกันสร้างตลาดอาริยะ (ขายต่ำกว่าทุน)
๓. ฟังสัจจะสาระจากปฏิบัติกร
๔. ฝึกตื่นนอนแต่เช้า
๕. ชาวเราได้ร่วมสังสรรค์
๖. ช่วยกันทำงาน
๗. เบิกบานใจและผ่อนคลาย

· อุดมการณ์ของ ต ล า ด อ า ริ ย ะ
๑. กำไรของชีวิต คือ การให้ และการเสียสละ
๒. สินค้าที่ขาย ต้องขายต่ำกว่าทุน (ตั้งใจขาดทุน นั่นคือ ‘เสียสละ’)
๓. เจตนาให้ผู้ซื้อสินค้า ได้แสดงน้ำใจ เปิดโอกาสให้ผู้อื่น ซื้ออย่างแบ่งปัน ไม่โลภ

“อาริยะ” หมายถึง วัฒนธรรมของผู้เจริญ, ผู้ประเสริฐ อันเป็นความเจริญทาง “จิตวิญญาณ”

   “ตลาดอาริยะ” จึงเป็นที่จำหน่ายสินค้า ของผู้ที่ตั้งใจผลิต เพื่อจำหน่าย จ่ายแจกอย่าง “เสียสละ” จริงๆ เท่าที่สามารถทำได้ ตามฐานานุฐานะ ของแต่ละบุคคล (ยิ่งขายต่ำกว่าทุน ได้มากเท่าไร ก็ยิ่งได้ ‘กำไรอาริยะ’ มากเท่านั้น) จึงต้องเป็น ผู้มีเลือดแห่ง การเสียสละ อย่างแท้จริง และมีเลือดแห่ง การสร้างสรร ที่แข็งแรงพอ การเอาผลผลิต ของคนอื่น มาเสียสละนั้น ไม่ได้ผลเต็มที่ เท่าผลิตจาก แรงกาย และหยาดเหงื่อ ของเราเอง โดยหัดเป็น ผู้มักน้อย สันโดษ ไม่สะสม ไม่เกียจคร้าน สะพัดส่วนที่เหลือออกไป อย่างตั้งใจเสียสละ อย่างมั่นใจ ในความขยัน หมั่นเพียร และ ในสมรรถนะของเรา

๔.๒.๖ งานโฮมไทวัง

ณ ชุมชนหมู่บ้านราชธานีอโศก หรือ ชุมชนบุญนิยมสันติอโศก ตามความเหมาะสม ขณะนั้น โดยจัดวันที่ ๖-๗ มิถุนายน เป็นงานที่มี ความสำคัญ ดังนี้
๑. ครบรอบวันเกิดของพ่อครู สมณะโพธิรักษ์ (๕ มิถุนายน ๒๔๗๗)
๒. เป็นวันน้อมรำลึกถึงพระคุณ ของพระโพธิสัตว์
๓. เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก

๔.๒.๗ งานบัณฑิตศิษย์เก่า

ณ ชุมชนหมู่บ้านราชธานีอโศก หรือ ชุมชนบุญนิยม สันติอโศก หรือชุมชนของ ชาวอโศก แห่งใด แห่งหนึ่ง ตามความเหมาะสม ในขณะนั้นๆ จัดวันที่ ๘ มิถุนายน เป็นวันที่บรรดา ศิษย์เก่า จากมหาวิทยาลัย ต่างๆ มาพบปะ และรับธรรมะจาก ‘สมณะโพธิรักษ์’

ภาพบน บูชาพระบรมสารีริกธาตุ    
ภาพล่าง  งานอโศกรำลึก  
 
        

๔.๒.๘ งานอโศกรำลึก บูชาพระบรมสารีริกธาตุ

ณ ชุมชนบุญนิยมสันติอโศก หรือชุมชนหมู่บ้าน ราชธานีอโศก ตามความเหมาะสม ในขณะนั้นๆ จัดวันที่ ๙-๑๐ มิถุนายน เป็นวันที่ ชาวอโศก ทุกแห่ง มาร่วมรำลึก ด้วยการปฏิบัติบูชา และสักการะ ‘พระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุฯ ที่บรรจุอยู่ใน พระเจดีย์ทองคำ บนยอดโดมของ ‘วิหารพันปี เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ’

เนื่องจากปี ๒๕๓๙ นี้เป็นปีที่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ ทรงครอง สิริราชสมบัติ เป็นปีที่ ๕๐ และ ในมหามงคลนี้ ‘สมณะโพธิรักษ์’ พร้อมด้วย ชาวอโศกทั้งมวล จึงร่วมฉลอง “วันกาญจนาภิเษก” ด้วยการถือเอา ‘พระเจดีย์ทองคำ’ นี้ เป็นราชสักการะ แด่องค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว

โดยเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ ‘สมณะโพธิรักษ์’ ได้พาหมู่สงฆ ์และญาติธรรม ประกอบพิธี เฉลิมฉลอง พระบรมสารีริกธาตุฯ ที่บรรจุอยู่ใน พระเจดีย์ทองคำ บนยอดโดม ดังกล่าว วันที่ ๙ มิถุนายน ของปีต่อๆ มา จึงถือเป็น “วันบูชาพระบรมสารีริกธาตุ”

วันรุ่งขึ้นคือ ๑๐ มิถุนายน ก็จะเป็น “วันอโศกรำลึก” ซึ่งเป็นวัน ผนึกคุณธรรมสำคัญ ของชาวอโศก ทั้งมวล ที่ตั้งใจปฏิบัติ ให้เกิดจริงเป็นจริง ตามความหมายของ ‘วันอโศกรำลึก’

‘วันอโศกรำลึก’ มีความหมาย ๑๗ ประการ คือ เป็น
๑. วันส่วนตัว
๒. วันเล็กๆ น้อยๆ
๓. วันสะอาด
๔. วันเงียบ
๕. วันอบอุ่น
๖. วันสูญ
๗. วันอิ่ม
๘. วันอิสระ
๙. วันให้
๑๐. วันง่ายๆ
๑๑. วันจริงใจ
๑๒. วันกตัญญู
๑๓. วันสดชื่น
๑๔. วันรัก
๑๕. วันระลึกถึงพระคุณของบรรพชน
๑๖. วันรวมแก่น
๑๗. วันลึก

๔.๒.๙ งานคืนสู่เหย้าเข้าคืนรัง
จัดโดยนักศึกษาผู้ปฏิบัติธรรม (นศ.ปธ.)

ณ ชุมชนสันติอโศก ช่วงปลายเดือน มิถุนายน รวม ๒ วัน

๔.๒.๑๐ งานบูชาบุพการี
ณ ชุมชนอโศกทั่วทุกแห่ง จัดในวันที่ ๑๒ สิงหาคม หรือวันที่ใกล้เคียง เพื่อรำลึกถึง พระคุณของ บุพการี เนื่องในโอกาส “วันแม่แห่งชาติ”

๔.๒.๑๑ งานมหาปวารณา
ณ พุทธสถานปฐมอโศก ซึ่งผนวกเอางานวันเกิด ชุมชนบุญนิยม ปฐมอโศกไว้ด้วย จัดในช่วงต้นเดือน พฤศจิกายน รวม ๔ วัน โดย ๒ วันแรก เป็นวัน “ประชุมปวารณา” ของ หมู่สงฆ์  และ ๒ วันหลัง เป็นวัน “ตักบาตรเทโว” และวันฉลอง “วันเกิดชุมชน บุญนิยม ปฐมอโศก”

“มหาปวารณา” คือการที่ หมู่สงฆ์ชาวอโศก มาร่วมประชุม ชี้ข้อบกพร่อง ซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิด ความบริสุทธิ์บริบูรณ์ ได้ทบทวนการงาน ของปีที่ผ่านมา ทั้งกำหนด วางหลักเกณฑ์ และเป้าหมาย การทำงาน ในปีต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับ สภาวะความเป็นจริง ของสังคม เป็นปัจจุบัน

โรงบุญมังสวิรัติ ๕ ธันวามหาราช 
ซึ่ง “โรงบุญมังสวิรัติ “ นี้จะจัดในโอกาสพิเศษต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

๔.๒.๑๒ โรงบุญ ๕ ธันวามหาราช

ณ ชุมชนชาวอโศกทั่วทุกแห่ง โดยญาติธรรม ทั่วทุกภาค ทุกชมชน ร่วมกันจัดขึ้น ในวันที่สะดวก ตลอดเดือน ธันวาคม เพื่อถวาย เป็นพระราชกุศล ในวโรกาส วันเฉลิม พระชนมพรรษา ๕ ธันวา มหาราช

๏ หลักการจัดโรงบุญฯ ของชาวอโศก
๑. เป็นอาหารมังสวิรัติเท่านั้น
๒. ไม่เรี่ยไรใดๆ ในวันจัดโรงบุญ นอกจาก นำผลไม้ หรือวัตถุดิบ หรืออาหารมังสวิรัติมาร่วมแจก
๓. ไม่มีการซื้อขายใดๆ ในบริเวณโรงบุญ
๔. ผู้ให้พึงไหว้ผู้รับ

๔.๒.๑๓ งานคืนสู่เหย้าเข้าคืนถ้ำสัมมาสิกขา
ณ ชุมชนหมู่บ้านราชธานีอโศก จัดช่วงปลายเดือน ธันวาคม รวม ๓ วัน เป็นการคืนสู่เหย้า ของศิษย์เก่า สัมมาสิกขา ทุกพุทธสถาน ได้กลับมา รวมตัวกันอีก เพื่อรื้อฟื้นความหลัง, ดึงคุณธรรม, ดึงจิตวิญญาณเก่าๆ คืนมา, ได้สนทนากับ สมณะ สิกขมาตุ, พบปะพูดคุย ทักทายถามไถ่ ขัดเกลากิเลส กันบ้าง อันจะเป็น “ทรัพย์แท้” ติดตัวตลอดไป

๔.๓ สภาวะ ๕ ประการ
: ลักษณะของชาวอโศก, สภาพสัจธรรม ที่เหมาะที่สุดของมนุษย์

ด้วยวัฒนธรรม ดังกล่าว ชาวชุมชนสันติอโศก จึงมีวิถีชีวิตที่เป็นไป ตาม "สภาวะ ๕ ประการ" คือ
๑. อิสรเสรีภาพ (independence)
๒. ภราดรภาพ (fraternity)
๓. สันติภาพ (peace)
๔. สมรรถภาพ (efficiency)
๕. บูรณภาพ (integrity)

อิสรเสรีภาพ (Independence)
หมายถึง ความไม่เป็นทาสผู้อื่น ไม่เป็นทาสค่านิยมของสังคม และไม่เป็นทาสกิเลส ของตนเองด้วย จะรับใช้ผู้อื่น ก็รับใช้ ด้วยความยินดีเอง รับใช้ในทางที่ดี และพาทำด้วย

ภราดรภาพ (Fratarnity)
คือ ความเป็นญาติพี่น้องทางธรรม ต่างมารวมเป็นกลุ่มหมู่ ที่แข็งแรง เหนียวแน่น แข็งแกร่งเหมือนหิน

สันติภาพ (Peace)
เป็นผลของอิสรเสรีภาพและสมรรถภาพ ของแต่ละบุคคล จึงเกิดภราดรภาพขึ้นมา ซ้อนเข้าไป ยิ่งเกิดอิสรภาพ สมรรถภาพ จึงเกิด บูรณภาพ ขึ้นมาเรื่อยๆ จนเกิดความเต็ม ความเจริญ เต็มแล้วโตๆๆ

สมรรถภาพ (Efficiency)
หมายถึง ความสามารถ สมรรถนะ คนที่มีความรู้ ความสามารถสูง ลักษณะที่จำเป็นสำคัญ สามารถสร้างงาน ให้วิจิตร

บูรณภาพ (Integrity)
คือ เต็ม ทำให้เต็ม ทำให้เจริญมั่นคง ทำให้ได้สมบูรณ์ ทำทั้งปัจจัยสี่ และสิ่งประกอบ ธรรมะทั้งปวง

สภาวะ ๕ ประการ ดังกล่าว หมายถึง ความไม่ติดยึด ความเป็นอิสระ เหนือวัตถุ ทรัพย์ศฤงคาร ไม่หอบ ไม่หวง ทุกคนต่างมี อิสรเสรีภาพ (independence) ในการแบ่งปันกัน จนเกิดความ เป็นพี่เป็นน้อง

นั่นคือเป็น ภราดรภาพ (fraternity) และเมื่ออยู่กัน อย่างพี่น้อง จึงเกิดความสงบสุข เป็น สันติภาพ (peace) ไม่แย่งชิงทรัพยากร ซึ่งความสงบสุขนี้ ทำให้เรา มีเวลาเพียงพอ ที่จะมาสร้าง สมรรถภาพ ให้กับตนเอง ด้วยความขยัน ขันแข็ง โดยชาวอโศก จะเป็นผู้ที่ กินน้อยใช้น้อย ที่เหลือ จุนเจือสังคมอยู่แล้ว

จึงเป็นผู้มี สมรรถภาพ (efficiency) ที่ดี สามารถสร้างสรร กิจการงาน โดยไม่เข้าพก เข้าห่อ ของตนเอง แต่นำไปสู่ส่วนรวม ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และ มวลมนุษยชาติ จนเกิดเป็น บูรณภาพ (integrity)

๔.๔ โครงการเข้าวัดปฏิบัติศีล ๘

“โครงการเข้าวัดปฏิบัติศีล ๘” จัดครั้งแรก เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๖ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๔๔ โดยคณะสงฆ์ ชาวอโศก เป็นผู้ดูแลอบรม

เป้าหมาย
๑. เพื่อพุทธศาสนิกชน ได้รู้จัก เข้าใจ คุ้นเคยพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น
๒. เพื่อปลูกฝังสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นเบื้องต้นของ มรรคองค์ ๘
๓. เพื่อฟื้นฟูสมาธิและการปฏิบัติธรรม ในระบบมรรคมีองค์ ๘ ให้แจ่มแจ้ง ชัดเจนมากขึ้น
๔. เพื่อเรียนรู้อยู่ร่วมกับมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี ซึ่งเป็นสังคม พุทธบริษัท
๕. เพื่อสร้างจารีตประเพณี แนวทางอันดีไว้ให้เครือญาติ บุตรหลาน และอนุชน
๖. เพื่อผนึกพลังคนดีมีศีล ร่วมสร้างสังคมพุทธ สังคมเพื่อน หรือ สังคมกัลยาณมิตรสืบไป

แนวทางฝึกอบรม

๑. เน้นฟื้นฟูสุขภาพและองค์ความรู้ดูแลตนเอง
๒. เน้นเสริมสร้างสุขภาพใจ ด้วยแนวธรรมคำสอน ของพระพุทธองค์
๓. ภาคปฏิบัติถือศีล ๘ ตื่นตีสาม กินอาหารมังสวิรัติ หนึ่งมื้อ เดินเท้าเปล่า ฝึกสติ
๔. ปฏิบัติกิจกรรมในงานสัมมาอาชีพของชุมชน คุ้นเคยกับสังคมศาสนา
๕. พบพระเกจิฯ ถามตอบข้อสงสัยทุกประเด็น, สนทนาธรรมเป็นกลุ่ม

ระยะเวลา
สามคืนสองวัน ตั้งแต่เย็นวันศุกร์ถึงย็นวันอาทิตย์
โดยเริ่มลงทะเบียน เวลา ๑๖.๓๐ น. ทั้งหมด พักที่สันติอโศก
เตรียมเครื่องนอน เช่น ผ้าห่มกันหนาว และกางเกงวอร์ม (สำหรับฝึกโยคะ) มาด้วย

ผู้เข้าอบรม และผู้สนใจปฏิบัติธรรม สามารถร่วมกิจกรรมได้ตลอด (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

ผู้ประสานงาน และรับผิดชอบโครงการ คือ สมณะกล้าจริง ตถภาโว

ผู้ดูแลและอนุมัติ โครงการ คือ คณะสงฆ์ พุทธสถานสันติอโศก

การสมัครเข้ารับการอบรม
สอบถามได้จากคณะทำงาน โครงการอุโบสถศีล หรือมาสมัคร เย็นวันศุกร์ เวลา ๑๖.๓๐ - ๑๘.๓๐ น. บริเวณใต้โบสถ์ สันติอโศก (เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ของกิจกรรม และได้ประโยชน์ ในธรรม แบบเต็มๆ ทีมงาน จะรับสมัครเฉพาะ ผู้ตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรม ทุกโปรแกรม, การแต่งกาย เน้นสุภาพ เรียบร้อย)

เอกสารที่ใช้สมัคร
บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนา หากรูปในบัตรไม่ชัด กรุณาส่งรูป ๑-๒ นิ้ว มาด้วย ๑ รูป

สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ ๐-๒๓๗๔-๕๒๓๐

กิจกรรมเขาค่ายของ “กลุ่มอุโบสถศีล”
ซึ่งจัดทุกสัปดาห์ที่ ๓ ของเดือน ที่ชุมชนบุญนิยมสันติอโศก

 

๕. การเข้าพักค้างที่สันติอโศก

ผู้ประสงค์จะมาพักในฐานะ “อาคันตุกะ” เพื่อศึกษาปฏิบัติ ทั้งชายและหญิง ต้องถือศีล ๘ เป็นอย่างต่ำ มีความสำรวมสังวร ให้ดูเหมาะสม พักค้างได้ไม่เกิน ๗ วัน

หากจะอยู่เกิน ๗ วัน ต้องแจ้งต่อ หมู่สงฆ์ ในช่วงทำวัตรเช้า เรียกว่า “วิกัปป์” เพื่อให้หมู่สงฆ์ พิจารณาว่า สมควรให้อยู่ต่อไป ได้หรือไม่ หากเห็นสมควร ก็อยู่ศึกษาปฏิบัติ ได้ตามกฎระเบียบ และสามารถ ขอเลื่อนจาก อาคันตุกะจร เป็น อาคันตุกะประจำ เมื่อพร้อม และต้องการ จะอยู่ศึกษา ปฏิบัติให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น

๕.๑ ผู้ที่ตั้งใจมาศึกษาปฏิบัติธรรม และอยู่เป็นประจำ

ผู้เข้าพักค้าง จะต้องถือศีล ๘ ให้ได้เป็นอย่างต่ำ ฝ่ายชายจะต้องได้รับอนุญาตจาก “สมณะ” ผู้รับหน้าที่ดูแล ส่วนฝ่ายหญิง ต้องได้รับ อนุญาตจาก “สิกขมาตุ” ผู้รับหน้าที่ดูแล ผู้เข้าพักค้าง ในเขตพุทธสถานฯ ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของพุทธสถานฯ อย่างเคร่งครัด

ฝ่ายชาย สถานที่พักค้างของฝ่ายชาย

  1. ชั้น ๒ ของวิหารพันปีฯ
  2. บ้านพักฝ่ายชาย (สูงอายุ) ข้างตึกฟ้าอภัยใหม่
  3. อาคารโรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก

ฝ่ายหญิง สถานที่พักค้างของฝ่ายหญิง คือ ที่ตึกขาวและตึกนวล (ฝ่ายหญิง ต้องแต่งกายสุภาพ เช่น ไม่สวมเสื้อยืด กางเกงรัดรูป เป็นต้น)

๕.๒ ชาวชุมชน

คือ ผู้ถือศีล ๕ ละอบายมุข รับประทาน อาหารมังสวิรัติ มีสถานที่พำนัก คือ
๑.  “อาคารตะวันงาย ๑”  ซอยนวมินทร์ ๔๔
๒.  “อาคารตะวันงาย ๒”  ซอยนวมินทร์ ๔๘
๓.  “อาคารตะวันงาย ๓”  ซอยนวมินทร์ ๔๘

ผู้พักอาศัยที่ “อาคารตะวันงาย” ทั้งสามแห่งนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการ อาคารตะวันงาย ในที่ประชุม ‘ชุมชนบุญนิยม สันติอโศก’ ก่อน
๔.  ทาวน์เฮาส์  ซอยนวมินทร์ ๔๖ (ซอยกลาง) ด้านหน้า พุทธสถาน สันติอโศก

พุทธสถานสันติอโศก จึงเกิดจาก การร่วมรวมพลัง ทั้งแรงกายแรงใจ สร้างสรร ด้วยความเสียสละ อย่างเต็มใจ และด้วย แรงศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ของกลุ่ม พุทธบริษัท ชาวอโศก อันประกอบด้วย นักบวช อุบาสก อุบาสิกา

เป็นการพิสูจน์และยืนหยัดยืนยัน ความเป็นไปได้ของ การอยู่ร่วมกัน เป็นสังคม ทวนกระแส โดยมีรากฐาน ความคิด ความเชื่อมั่น ในทฤษฎี “มรรคองค์ ๘” (มีความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจา ทำการงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ มีใจตั้งมั่นชอบ) ของสมเด็จ พระสัมมา สัมพุทธเจ้า อย่างเป็นรูปธรรม โดยมี ‘สมณะโพธิรักษ์’ เป็นผู้นำพา

‘สมณะโพธิรักษ์’ และชาวอโศก เชื่อว่า แนวคิดและการประพฤติปฏิบัติ ใน “ระบบบุญนิยม” จะนำพาสังคม ไปสู่ความสงบสุข ร่มเย็น เป็นทางรอด อย่างแน่นอน

ชาวอโศก มีจุดมุ่งหมาย สร้างสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี เต็มใจเสียสละ เพื่อสร้างสรร ทำประโยชน์ แก่สังคม อย่างมี ‘พลังร่วม’ ซึ่งสามารถ พิสูจน์ได้ จากวิกฤตเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน ที่มิได้กระทบ กระเทือน เศรษฐกิจ ระบบบุญนิยม ในชุมชนฯเลย ชาวชุมชนฯ สามารถดำรงอยู่ ท่ามกลางสังคม ที่กำลังประสบปัญหาต่างๆ ได้อย่างแข็งแรง ทั้งยังเป็นที่พึ่งพิง ของสังคมด้วย

ชุมชนบุญนิยมสันติอโศก จึงสามารถยืนหยัด อยู่ในสังคมเมือง เพื่อพิสูจน์สัจธรรม ในพุทธศาสนาว่า มีผลทำได้จริง ในยุคปัจจุบัน แม้จะอยู่ท่ามกลาง กระแสของราคะ โทสะ โมหะ เบียดเบียนกัน ด้วยความโลภ โกรธ หลง และเอารัด เอาเปรียบ อันเป็นความ “หลง-วน” อยู่ในวัฏฏะ อย่างไม่รู้จบสิ้น.

 

“ทาวน์เฮาส์”  ของชาวชุมชนบริเวณด้านหน้าพุทธสถานสันติอโศก

คำว่า “สงบ” ของพุทธศาสนาที่แท้จริง
มิใช่ความโดดเดี่ยว เดียวดาย ว้าเหว่
หรือหลบไปมุด หยุดว่างๆ นิ่งๆ กบดานอยู่
แล้วไม่ต้องรู้อะไร ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องสร้างอะไร
อย่างไร้คุณ-ไร้ค่า เช่นนั้น ไม่หรอก!
แต่คือ ความสร้างสรรจรรโลง ที่เจริญงอกงาม
ตั้งแต่คนหนึ่ง ไปจนถึงกลุ่มหมู่มนุษย์
ที่ยิ่งขยายโต ขยายใหญ่มากขึ้นๆ ไปได้อย่างดี
อย่างเรียบร้อย ราบรื่น สุขเย็น เบิกบานใจ
ไม่เดือดร้อน ไม่วุ่นวายเลย นั่นต่างหาก
จึงจะชื่อว่าถูกต้อง ตรงตามพระพุทธพจน์ที่ว่า
พหุชนหิตายะ ปฏิปันโน โหติ พหุชน สุขายะ

  สมณะโพธิรักษ์
๗ มี.ค. ๒๕๒๒

 

ภาคผนวก

ก. พุทธสถานและชุมชนบุญนิยมในปัจจุบัน

- พุทธสถานสันติอโศก (เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ) โทร. ๐–๒๓๗๔–๕๒๓๐
- พุทธสถานปฐมอโศก (อ.เมือง จ.นครปฐม) โทร. ๐-๓๔๒๕-๘๔๗๐ ถึง ๑
- พุทธสถานศีรษะอโศก (อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ) โทร. ๐-๔๕๖๓-๕๗๖๗
- พุทธสถานศาลีอโศก (อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์) โทร. ๐–๕๖๒๕-๙๒๑๗
- พุทธสถานสีมาอโศก (อ.เมือง จ.นครราชสีมา) โทร. ๐-๔๔๒๑-๒๗๙๗
- พุทธสถานราชธานีอโศก (อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี) โทร. ๐๘-๘๕๘๕-๙๑๑๔
- พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ (อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่) โทร. ๐๘-๑๗๗๙-๒๑๓๘
- สังฆสถานทะเลธรรม (อ.เมือง จ.ตรัง) โทร. ๐-๗๕๒๒-๖๑๙๖
- สังฆสถานหินผาฟ้าน้ำ (อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ) โทร. ๐-๔๔๘๑-๐๐๙๕

ข. สิ่งพิมพ์ที่ออกเป็นประจำ

- สารอโศก วารสารรายงานกิจกรรมของชาวบุญนิยม (รายเดือน )
- ข่าวอโศก น.ส.พ. ข่าวสารในแวดวงชาวบุญนิยมฯ (รายปักษ์)
- ดอกหญ้า วารสารสำหรับบุคคลทั่วไป ที่สนใจสัจธรรมของชีวิต (ราย ๒ เดือน)
- ดอกบัวน้อย วารสารสำหรับเยาวชน ผู้สนใจการใช้ชีวิตที่ดี (ราย ๒ เดือน)
สิ่งพิมพ์ดังกล่าวข้างต้น สามารถรับแจกได้ที่ แผนกธรรมปฏิสันถาร

- เราคิดอะไร น.ส.พ. สำหรับนักอ่าน และผู้แสวงหา (รายเดือน)

สำหรับ น.ส.พ. เราคิดอะไร สามารถสมัครเป็นสมาชิกที่ คุณศีลสนิท น้อยอินต๊ะ
‘สำนักพิมพ์กลั่นแก่น’ ชั้น ๒ ตึกฟ้าอภัยเก่า โทร. ๐-๒๗๓๓-๖๒๔๕

นอกจากนี้ยังมีสิ่งพิมพ์, VCD, DVD ที่น่าสนใจ จำหน่ายในราคา บุญนิยม
ที่ร้าน ‘ธรรมทัศน์สมาคม’

 

ค. ลักษณะของชาวอโศก...นักข่าวสัมภาษณ์ 'สมณะโพธิรักษ์'

ถาม : พอจะบอกลักษณะของชาวอโศกได้ไหมว่า ชาวอโศกมีบุคลิก มีการยึดถืออย่างไรบ้าง ที่เป็นประเด็น สำคัญๆ

สมณะโพธิรักษ์ : แหม.. ไม่รู้จะบอกตายตัวอย่างไร หลักสำคัญที่สุดก็คือ ละกิเลส ละความเห็นแก่ตัว เสียสละให้จริงใจ และความเสียสละนี่ ก็จะต้องล้างความ 'ติด' ของตัวเอง เรา 'ติด' อะไรต้องล้างออก เมื่อล้างออกได้จริง เราจึงจะไม่บำเรอตน ไม่ซัพพอร์ทตนด้วยกิเบส ตนเองก็ไม่ต้องเปลืองขึ้น เมื่อตนเอง ไม่ต้องเปลือง ก็ไม่จำเป็นต้องไปโลภโมโทสัน กอบโกยมา ให้แก่ตัวเองมากมาย เสร็จแล้ว แรงงานเรามี ความสามารถเรามี เราก็ช่วยกันสร้างสรร เกื้อกูลกัน เรามีวิธีการ ในการที่จะหมุนเวียน อาศัยซึ่งกันและกัน พึ่งเกิด พึ่งแก่ พึ่งเจ็บ พึ่งตายกันได้ โดยไม่ต้องมีรายได้ ส่วนตัวสักบาท เราก็มีชีวิตอยู่ได้ ในสังคมพวกเรา อย่างนี้ เป็นการดำเนินชีวิต ที่เป็น "บุญนิยม"กันจริงๆ ซึ่งไม่เหมือนสังคมทั่วไป แต่มันมีระบบจริงๆ

ถาม : อย่างนี้จะทำให้ ถูกมองหรือเปล่าว่า นอกจากการเป็นอยู่ เฉพาะในกลุ่มเท่านั้น ถึงจะสามารถ ใช้ระบบนี้ได้ การนำไปใช้กับ สังคมภายนอก ไม่สามารถที่จะใช้ ระบบนี้ได้

สมณะโพธิรักษ์ : จะพูดอย่างนั้นก็ถูก แต่ก็เฉพาะ ช่วงแรกนี้ เท่านั้นนะ เพราะการที่จะเป็นระบบ อย่างที่เราเป็นนี้ คนที่จะเป็น อย่างนี้ได้ก็ดี จนกระทั่ง เกิดเป็นระบบได้ก็ดี ก็ไม่ได้หมายความว่า เราอยู่โดดเดี่ยว โดยไม่มีประโยชน์ กับคนอื่น หรือ ไม่สัมพันธ์กับคนอื่นๆ เพราะเราอยู่อย่างเรา ที่เป็นคนอย่างนี้นั้น ก็คือ คนที่มาฝึกตน ไม่เห็นแก่ตัว เสียสละ สร้างสรรค์กันจริงๆ เมื่อเราสร้างสรรค์ได้มาก แต่เรากินน้อยใช้น้อย เราก็จะมีส่วนที่ เหลือเกินอยู่เสมอ

ส่วนเหลือส่วนเกิน ของแต่ละคน เราก็เอามารังสรรค์ ทั้งธรรมชาติ ทั้งสังคม บ้านเมือง สะพัดออกไป ต่อไป มันก็ไม่อยู่ เฉพาะกลุ่ม คนอื่นๆ เห็นความจริงเห็นดี ก็แพร่ไป

เป็นต้นว่า เราขายสินค้าราคา "บุญนิม" คือ ถูกกว่าราคาตลาด หรือถ้ากิจการเจริญขึ้น ก็ขายเท่าทุน และ เจริญขึ้นไปอีก ก็ขายต่ำว่าทุน หรือเจริญยิ่งๆขึ้น ก็แจกฟรี ซึ่งเป็นบุญสูงสุด อย่างหนังสือ นิตยสาร หลังสือหลายเล่ม ที่เราทำ ส่วนมาก ก็แจกมาตลอด นี่เป็นการจำหน่าย ระบบ "บุญนิยม" ระดับสุด คือ แจกฟรี

ระบบแแจกฟรี ถือว่าได้บุญสูงสุด ขายต่ำกว่าทุน นี่ก็เรียกว่า ยังสู้แจกฟรีไม่ได้ ขายเท่าทุน ก็เรียกว่า สู้ขาย ต่ำกว่าทุน ไม่ได้ "บุญนิยม" ขั้นต่ำที่สุด ก็คือ ขายเกินทุน ขึ้นมาหน่อย ขั้นนี้ก็คล้ายๆ "บุญนิยม"บ้าง แต่พยายาม ให้เกินทุน น้อยที่สุด เท่าที่จะสามารถน้อยได้ บวกราคาเกินจากทุน ให้ต่ำกว่าราคาตลาด ให้ได้มากๆ นี่เป็น กฎหลัก ของวิธีขาย หรือวิธีกระจาย สู่มือผู้บริโภค เป็นหลักการของ "บุญนิยม"

ระบบการค้าของ "บุญนิยม" มีเนื้อหาสำคัญ อยู่ที่เราได้ "ให้"

เราได้"ให้" นี่คือ เรา"ได้" เรา"ให้แก่คนอื่น" นี่คือเรา "ได้แก่ตัวเรา" คุณพอเข้าใจมั้ย? เราได้"ให้" นี่เราเป็นผู้ชนะ นะ!

เราได้อะไร? ก็เราเป็นคนมีประโยชน์ไง เพราะเราเป็นคนได้"ให้" ใช่ไหม? เราก็เป็นคน มีคุณค่า แต่ถ้าเรา ไม่ได้"ให้" แก่ใครเขา ก็คือเราเป็นคนไม่มีประโยชน์นะ ใช่มั้ย? โดยสัจจะ จึงเป็นคนไม่มีคุณค่า ไม่มีประโยชน์แก่ใคร และตามจริงก็คือ คนไม่มีบุญ

เพราะฉะนั้น ความเป็นสัจจะ ตรงนี้แหละ เป็นสัจจะ "บุญนิยม" ซึ่งตรงข้ามกับ "ทุนนิยม" ของโลกทุกวันนี้ ที่แก้ไขปัญหา สังคมทั้งโลก ไม่สำเร็จ ใช้ระบบ "ทุนนิยม" มาแก้ไขปัญหาสังคม ไม่สำเร็จ ขอยืนยัน จะดูเหมือน แก้ไขได้ชั่วระยะหนึ่ง แต่ไปไม่ได้ตลอดสำเร็จ สมบูรณ์สุดยอด...

(จาก "การเมืองกับศาสนายังเป็นปัญหาที่ต้องตอบ"
ผลงานอันดับ ๕ กลุ่มสุดฝั่งฝัน ธ.ค.'๓๗. หน้า ๗-๑๐

 

ง. ‘สาธารณโภคี’ ต่างกับ ‘กงสี’

“....แต่ละ‘กงสี’ เขาไม่ได้อยู่ใน ‘ระบบบุญนิยม’ เขาอยู่ใน ‘ระบบทุนนิยม’.... กอบโกย จากคนอื่น มาให้ตัวเอง เพราะฉะนั้น ‘กงสี’ ก็จะทำเฉพาะ ครอบครัวของตนเอง คณะของตนเอง ให้ร่ำรวย เท่าไหร่ ก็ไม่มีพอ ตามโลกีย์

แต่ลักษณะของกินของใช้ ร่วมใช้ร่วมกิน เป็น ‘สาธารณะกองกลาง ของตระกูล’ นั้น เขาเป็น ‘สาธารณโภคีของ ตระกูล’ แต่ออกจาก ตระกูลไป เขาไม่เผื่อแผ่ เขาไม่เกื้อกูล เขาไม่เสียสละ เหมือนอย่างกับแบบ ‘สาธารณโภคี’

‘สาธารณโภคี’ นั้นเราเผื่อแผ่ออกไป สู่คนข้างนอก ที่แม้ไม่ใช่เครือญาติ ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ ของเราเลย เราก็เอื้อเฟื้อ เจือจาน แจกจ่าย เสียสละ ให้อย่าง มีเจตนารมณ์ อย่างมีความมุ่งมั่น เท่าที่เราจะสามารถ เอื้อมเอื้อ เกื้อกว้าง กับเขาได้ เท่าที่ทำได้ เราจะไม่ทำแบบ เตี้ยอุ้มค่อม ทั้งๆ ที่เราเอง เราไม่พอ เราก็ยังอุตส่าห์ ไปช่วยคนอื่น ไม่ใช่! เรามีเราพอกิน พอใช้ของเรา แล้วเราก็ไปช่วยคนอื่นได้ และที่สำคัญ ก็คือ ‘กงสี’ นี่เขามุ่งสะสม ให้ครอบครัว ของเขา ให้ร่ำรวย ให้มากให้มาย แต่ ‘กงสีของ สาธารณโภคี’ ไม่สะสมให้รวยขึ้นๆ มากมายไม่มีที่สิ้นสุด

จะมีการใช้สอย มีส่วนกลาง มีส่วนที่จะมีพอประมาณ จะไม่มุ่งสะสมให้รวย ทับทวีขึ้น ไม่มีที่สิ้นสุด อันนี้เป็นข้อสำคัญ ที่ความแตกต่าง ระหว่าง ‘สาธารณโภคี’ ที่เป็น ‘ระบบบุญนิยม’ นี่มันจะเชื่อมโยง เป็นเครือแห ออกไปกับข้างนอกเขาไป ตามลำดับๆ  หลักเกณฑ์สำคัญของ ‘สาธารณโภคี’ คือ

  1. ไม่เป็นหนี้
  2. พึ่งตนเองให้รอด
  3. สร้างให้มากเกินกว่า ที่เรากินเราใช้ ขึ้นไปเรื่อยๆ มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี
  4. แจกจ่ายเจือจานคนอื่น ‘ขาดทุนของเรา คือ กำไรของเรา’ หรือเราอยู่ ‘แบบคนจน’ ตามหลักของ ‘ในหลวง’ ที่ท่านตรัสเลย

‘คนจน’ นี้ คือ เราไม่สะสมความร่ำรวย ให้แก่ตนเอง แต่เราก็ไม่ขัดสน เราอุดมสมบูรณ์ แต่เราไม่สะสมเพิ่ม อย่างที่เรียกว่า ร่ำรวยอย่าง ไม่มีที่สิ้นสุด มากเท่าไหร่ เราก็กอบโกย เอาของคนอื่นเขามา เป็นของตัวเอง มากยิ่งขึ้นๆ อย่างนั้นไม่ใช่! .... มันมีความวิเศษ กว่ากันตรงนี้......”

(สมณะโพธิรักษ์. แสดงธรรมในรายการ เรียนอิสระฯ. วันที่ ๙ ก.ค. ๒๕๕๕. ณ ราชธานีอโศก / สารอโศก. ลำดับที่ ๓๒๖. ก.ค. – ส.ค. ๒๕๕๕. หน้า ๖๗)

สังคมหรือหมู่มวลมนุษย์ที่มี “เศรษฐกิจชนิดสาธารณโภคี” นี้ จะอยู่ร่วมกัน อย่างเป็นหมู่กลุ่ม ชุมชนที่มี “เมตตาจริงๆ” อย่างเพียงพอ.... แต่ต้องเป็น “เมตตา” แท้ๆ ที่มีคุณสมบัติของ จิตวิญญาณ จนกระทั่งเป็น “เหตุ” ก่อให้เกิด “คุณธรรม” ทั้ง ๗ อย่างแท้จริง ได้แก่

  1. เป็นชุมชนที่มีความระลึกถึงกัน (สาราณียะ)
  2. เป็นชุมชนที่มีความรักกัน (ปิยกรณะ)
  3. เป็นชุมชนที่มีความเคารพกัน (ครุกรณะ)
  4. เป็นชุมชนที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (สังคหะ)
  5. เป็นชุมชนที่ไม่วิวาทกัน (อวิวาทะ)
  6. เป็นชุมชนที่พร้อมเพรียงกัน (สามัคคียะ)
  7. เป็นชุมชนที่มีเอกภาพ มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (เอกี ภาวะ)

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่า สังคมที่มี “เมตตา” ทั้งกายกรรม ทั้งวจีกรรม อันเกิดมาจาก “จิตวิญญาณ” ที่เป็น“เมตตา” จริงๆ นั้น เพราะความมีคุณธรรม มีคุณสมบัติ ทั้ง ๗ นี้ มีคุณภาพสูง และมีคุณค่า เพียงพออีกด้วย จึงเกิด ‘สาธารณโภคี’ ในสังคมชุมชน กลุ่มมนุษย์กลุ่มนั้น ได้อย่างแท้จริง ตามสัจจะ

(จาก “สาธารณโภคี เศรษฐกิจชนิดใหม่.” โดย สมณะโพธิรักษ์. หน้า ๑๑)

 

จ. ‘สมณะโพธิรักษ์’ ผู้นำชาวอโศก

‘สมณะโพธิรักษ์’ (มงคล รักพงษ์) เกิดที่ จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๗๗  บิดาเสียชีวิต ตั้งแต่ท่านยังเล็ก มารดา ได้มาประกอบอาชีพ ค้าขาย ที่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นรกรากเดิม ของบรรพบุรุษ มารดาขยัน และค้าขายเก่ง จึงมีฐานะดี แต่ต่อมา ถูกโกงและป่วย ฐานะทางการเงิน จึงทรุดลง ด.ช. มงคล เป็นผู้ขยัน หมั่นเพียร อดทน ช่วยเหลือมารดา ค้าขาย ตลอดมา ต่อมา ได้รับความช่วยเหลือ จากคุณลุง คือ นายแพทย์ สุรินทร์ พรหมพิทักษ์

เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมปลาย ในกรุงเทพฯ แล้ว ได้เข้าศึกษาต่อที่ ‘โรงเรียนเพาะช่าง’ แผนกวิจิตรศิลป์ และเปลี่ยนชื่อเป็น ‘รัก รักพงษ์’ ขณะที่เรียนอยู่ ณ ที่นี้

ต่อมาท่านได้เข้าทำงานที่ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (พ.ศ. ๒๕๐๑) โดยเป็นผู้จัดรายการเด็ก และรายการ วิชาการต่างๆ จนมีชื่อเสียง ในสมัยนั้น ทั้งยังเป็น ครูพิเศษ สอนศิลปะ ในโรงเรียนต่างๆ ด้วย ซึ่งมีรายได้รวมกัน ถึงเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท (ขณะที่เงินเดือนของ นายกรัฐมนตรี สมัยนั้น เดือนละ ๑๒,๐๐๐ บาท) และเมื่อมารดา ถึงแก่กรรม ก็ได้รับภาระ เลี้ยงดูน้องๆ ทั้ง ๖ คน ให้ศึกษาเล่าเรียน จนจบ ตามความต้องการ ของน้องแต่ละคน

‘รัก รักพงษ์’ มีความสามารถ ในศิลปะการประพันธ์ ทั้งเรื่องสั้น สารคดี บทกวี บทเพลง ฯ โดยเฉพาะ เมื่อเรียนอยู่ที่ ‘โรงเรียนเพาะช่าง’ ก็ได้แต่งเพลง ‘ผู้แพ้’ ซึ่งได้รับ ความนิยมอย่างสูง ในสมัยนั้น (พ.ศ.๒๔๙๗ - พ.ศ.๒๔๙๘) รวมทั้ง เพลงประกอบ ภาพยนตร์ เรื่อง ‘โทน’ เช่น เพลงฟ้าต่ำ-แผ่นดินสูง, เพลงชื่นรัก, เพลงกระต่ายเพ้อ เป็นต้น ก็ได้รับความนิยม อย่างสูง เช่นกัน

‘รัก รักพงษ์’ เคยศึกษาเรื่องไสยศาสตร์ อยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งมีผู้คนนิยมกันมาก จนกระทั่ง ท่านได้หันมาศึกษา ‘พุทธศาสนา’ อย่างเอาจริงเอาจัง จนเกิด ความซาบซึ้ง และเห็นคุณค่า จึงได้ปฏิบัติธรรม อย่างเคร่งครัด ตลอดมา จนสามารถเลิกละ อบายมุข ละโลกธรรม รับประทานอาหาร มังสวิรัติ ๑ มื้อ จนเกิด ความมั่นใจ แล้วจึงอุปสมบทที่ ‘วัดอโศการาม’ จ.สมุทรปราการ ในคณะธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ ได้รับฉายาว่า “พระโพธิรักขิโต” โดยมี พระราชวรคุณ เป็นอุปัชฌาย์ และเข้ารับ การสวดญัตติฯ ในคณะมหานิกาย อีกคณะหนึ่ง โดยมีพระครูสถิตวุฒิคุณ เป็นอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๑๖

การปฏิบัติที่เคร่งครัดของท่าน และคณะ เช่น การฉันอาหาร มังสวิรัติ วันละ ๑ มื้อ, ไม่ใช้เงินทอง, นุ่งห่มผ้าย้อมสีกรัก, ไม่มีการเรี่ยไร, ไม่รดน้ำมนต์-พรมน้ำมนต์, ไม่ใช้การบูชา ด้วยดอกไม้-ธูปเทียน, ไม่มีไสยศาสตร์ เป็นต้น ทั้งท่านไม่รังเกียจ นิกายใดๆ มุ่งทำงาน เผยแพร่พุทธศาสนา เพื่อประโยชน์ ส่วนรวม โดยไม่ให้ผิด พระธรรมวินัย เป็นสำคัญ เหล่านี้ ทำให้ถูก วิพากษ์วิจารณ์ว่า “นอกรีต” อันเป็นอุปสรรค ในการทำงานศาสนา ตลอดมา ท่านและคณะ จึงประกาศ ลาออกจาก มหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๑๘ เป็น “นานาสังวาส” ตามพระธรรมวินัย มีสิทธิ ที่จะได้รับ ความคุ้มครอง ตามมาตรา ๒๕ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย

อย่างไรก็ตาม พระโพธิรักษ์และคณะ ก็ได้รับการพิพากษา ว่าเป็น ‘ผู้แพ้’ ไม่สามารถ เรียกตนเองว่า ‘พระ’ ได้ จึงเรียกตนเองว่า ‘สมณะ’ แทน และ ยังคงปฏิบัติ เคร่งครัด เช่นเดิม ท่านได้นำพา หมู่กลุ่มชาวอโศก สร้าง “ชุมชนบุญนิยม”

ตามปรัชญาแห่งศาสนาพุทธที่เชื่อมั่นว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’ เป็นแกนสำคัญของมนุษย์และสังคม โดย มีความเป็นอยู่เรียบง่าย
พึ่งตนเองได้
ไม่เอาเปรียบใคร
ตั้งใจเสียสละ
“ถือศีล ๕ ละอบายมุข”
เป็นพื้นฐาน  จนได้รับ การขนานนามว่า “ชุมชนคนพอเพียง”
(X-cite ไทยโพสต์ ๑๓-๑๔ มี.ค.'๕๑. ปกหน้า )

ฉ. แผนที่เดินทางมา “พุทธสถานสันติอโศก”

๖๕/๑ ถนน นวมินทร์ ซอย ๔๔ (เทียมพร)
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ๑๐๒๔๐

 

ช. วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนบุญนิยมสันติอโศก

พุทธศาสนา

 
หลักการดำเนินชีวิต
ลดละ ขยัน กล้าจน ทนเสียดสี หนีสะสม
นิยมสร้างสรร สวรรค์นิพพาน

บ้าน (บ) วัด (ว) โรงเรียน(ร)

 

บ้าน (บ)
ชุมชนบุญนิยมสันติอโศก
-  อาคารตะวันงาย ๑
-  อาคารตะวันงาย ๒
-  อาคารตะวันงาย ๓
-  ที่อยู่อาศัย,ร้านค้าบริเวณใกล้เคียง
    (ในซอยนวมินทร์ ๔๔, ๔๖, ๔๘)
- บริษัทและฐานงานต่างๆ
-  ร้านธรรมทัศน์สมาคม
- ศูนย์มังสวิรัติหน้าพุทธสถานฯ
-  พรรคเพื่อฟ้าดิน
-สถาบันขยะวิทยาด้วยหัวใจ (สขจ.)

 

วัด (ว)
       สังคมบุญนิยม
-  พุทธสถานสันติอโศก
-  สมณะ สามเณร สิกขมาตุ
-  อารามิก อารามิกา อาคันตุกะฯ
-  มูลนิธิธรรมสันติ
-  กองทัพธรรมมูลนิธิ
- สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม
-  ธรรมทัศน์สมาคม
- มูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อน
- สมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา
-สมาคมนักศึกษาผู้ปฏิบัติธรรม
-  มูลนิธิบุญนิยม

 

 โรงเรียน (ร)
      การศึกษาบุญนิยม
- รร. สัมมาสิกขาสันติอโศก (สส.สอ.)
- สัมมาสิกขาลัยวังชีวิต วิชชาเขต สันติอโศก (ม.วช.)
- ชมรมสัมมาสิกขาพุทธธรรม               
- ชมรมนักศึกษา ผู้ปฏิบัติธรรม (นศ.ปธ.)
-วิชชาลัยบรรดาบัณฑิตบุญนิยม (ว.บบบ.)

ปรัชญาชุมชนบุญนิยม

พึ่งตนเองได้  สร้างสรร  ขยัน อดทน  ไม่เอาเปรียบใคร  ตั้งใจเสียสละ

จุดหมายปลายทางของเราคือ

- เบิกบานแจ่มใส 
- มัธยัสถ์ 
- สุภาพ 
- สงบ 
- หมดความอยาก 
- สิ้นความเสพ

- จบ -