ธรรมพุทธสุดลึก
พุทธสิกขา หมวด ๕

กรรม ๕

     กรรม (การกระทำ) เป็นเหตุแยกแยะคนให้ดีและเลว
๑. กัมมัสสโกมหิ (มีกรรมเป็นสมบัติแท้ของตน)
๒. กัมมทายาโท (มีกรรมเป็นทายาทรับมรดกของตน)
๓. กัมมโยนิ (มีกรรมเป็นแดนเกิด-หรือพากำเนิด)
๔. กัมมพันธุ (มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์, พันธุ์เทพ,พันธุ์มาร)
๕. กัมมปฏิสรโณ (มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยแท้ๆ)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ “จูฬกัมมวิภังคสูตร” ข้อ ๕๘๑)

กามคุณ ๕

       คือสิ่งที่น่าใคร่น่าพอใจ ๕ อย่าง
๑. รูป (รูปะ) ที่น่าพอใจ รู้ด้วยตา (จักขุ)
๒. เสียง (สัททะ) ที่น่าพอใจ รู้ด้วยหู (โสตะ)
๓. กลิ่น (คันธะ) ที่น่าพอใจ รู้ด้วยจมูก (ฆานะ)
๔. รส (รสะ) ที่น่าพอใจ รู้ด้วยลิ้น (ชิวหา)
๕. สัมผัส (โผฏฐัพพะ) ที่น่าพอใจ รู้ด้วยกาย (กายะ)

   (พระไตรปิฎก เล่ม ๙ “เตวิชชสูตร” ข้อ ๓๗๗)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
กามคุณ ๕ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดี หรือส่วนอร่อยของกาม)
๑. รูปะ (รูป)
๒. สัททะ (เสียง)
๓. คันธะ (กลิ่น)
๔. รสะ (รส)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)
๕ อย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เรียกว่า กามคุณ

การฟ้องร้อง

ผู้ฟ้องร้องปรารถนาจะกล่าวหาผู้อื่น พึงตั้งความดี ๕ ประการนี้ไว้ในตน
๑. จะกล่าวหาในเวลาอันเหมาะควร
๒. จะกล่าวหาด้วยคำจริง
๓. จะกล่าวหาด้วยคำสุภาพ
๔. จะกล่าวหาด้วยคำมีประโยชน์
๕. จะกล่าวหาด้วยเมตตาจิต

  (พระไตรปิฎก เล่ม ๗ “ปาติโมกขฐปนขันธกะ” ข้อ ๕๐๕)

ขันธ์ ๕ และอุปมาแห่งขันธ์ ๕

     ขันธ์ ๕ คือ องค์ประชุมของตัวรูป(ตัวที่ถูกรู้) และตัวนาม(ตัวที่เข้าไปรู้) ที่รวมตัวกันเข้าเป็นชีวิต ได้แก่
๑. รูป(ตัวร่างกาย)  อุปมาด้วยกองฟองน้ำซึ่งแม่น้ำนำมา ฯ เป็นของว่างเปล่า
๒. เวทนา(ตัวความรู้สึก)  อุปมาด้วยฟองน้ำซึ่งฝนตกนำมา ฯ เป็นของว่างเปล่า
๓. สัญญา(ตัวความจำ ความกำหนดหมาย)  อุปมาด้วย
พยับแดดเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน  ย่อมเป็นของว่างเปล่า
๔. สังขาร(ตัวปรุงแต่งจิต)  อุปมาด้วยหยวกกล้วย ปอกกาบใบออกไม่พึงได้แม้แต่กระพี้  ไม่พึงได้แก่น  ย่อมเป็นของว่างเปล่า 
๕. วิญญาณ(ตัวรู้แจ้งอารมณ์)  อุปมาดั่งมายากล หาสาระมิได้ เป็นของว่างเปล่า

       (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๗ “เผณปีณฑสูตร” ข้อ ๒๔๒)

คติ ๕

        คือทางไปของจิต
๑. นิรยะ (จิตนรก เร่าร้อน มีทุกข์สาหัสมาก)
๒. ติรัจฉานโยนิ (ภูมิจิตเดรัจฉาน  ความโง่เขลา ไม่เจริญขึ้น)
๓. ปิตติวิสัย (ภูมิแห่งเปรต-จิตละโมบใคร่อยาก)
๔. มนุสสะ (ภูมิจิตมนุษย์ คือความมีใจสูง ใจประเสริฐ)
๕. เทวะ (ภูมิจิตสูงส่งอย่างเทวดา, อุบัติเทพ)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ “คติสูตร” ข้อ ๒๗๒ , เล่ม ๑๑ ข้อ ๒๘๑)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
นิรยะ (นรก)
ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉาน)
ปิตติวิสัย (แดนเปรต)
มนุษย์ (ชาวมนุษย์)

คุณสมบัติของธรรมกถึก ๕

    คือนักเทศน์ผู้จะแสดงธรรมต้องมีคุณสมบัติ
๑. แสดงธรรมไปตามลำดับ (อนุปุพพิกถัง)
๒. แสดงธรรมอ้างเหตุผล (ปริยายทัสสาวี)
๓. แสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู (อนุททยตัง ปฏิจจะ)
๔. แสดงธรรมไม่เพ่งอามิส (น อามิสันตโร)
๕. แสดงธรรมไม่ให้กระทบ(ทำลาย)ตน และผู้อื่น (อนุปหัจจะ)

          (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อุทายิสูตร” ข้อ ๑๕๙)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ธรรมเทสกธรรม ๕ (ธรรมของนักเทศก์, องค์แห่งธรรมกถึก, ธรรมที่ผู้แสดงธรรม หรือสั่งสอนคนอื่น ควรตั้งไว้ในใจ)
๑. อนุปุพฺพิกถํ (กล่าวความไปตามลำดับ คือ แสดงหลักธรรม หรือเนื้อหาวิชา ตามลำดับ ความง่ายยาก ลุ่มลึก มีเหตุผลสัมพันธ์ ต่อเนื่องกันไป โดยลำดับ)
๒. ปริยายทสฺสาวี (ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัด ในแต่ละแง่ แต่ละประเด็น โดยอธิบาย ขยายความ ยักเยื้องไปต่างๆ ตามแนวเหตุผล)
๓. อนุทยตํ ปฏิจฺจ (แสดงธรรมด้วยอาศัยเมตตา คือ สอนเขาด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่เขา)
๔. น อามิสนฺตโร (ไม่แสดงธรรมด้วยเห็นแก่อามิส คือ สอนเขามิใช่เพราะมุ่งที่ตนจะได้ลาภ หรือ ผลประโยชน์ ตอบแทน)
๕. อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ (แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือ สอนตามหลัก ตามเนื้อหา มุ่งแสดงธรรม แสดงธรรม ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น)

คุณสมบัติของพหูสูต (พาหุสัจจะ) ๕

    คือคุณสมบัติของผู้รู้มากศึกษามาก จะต้อง.....
๑. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก (พหุสสุตา)
๒. ทรงจำไว้ได้มาก (ธตา)
๓. ท่องคล่องปาก (วจสา ปริจิตา)
๔. ขึ้นใจแม่นยำ (มนสานุเปกขิตา)
๕. มีความรู้แจ้งแทงตลอดอย่างดีด้วยทฤษฎี หรือด้วยความเข้าใจ (ทิฏฐิยา สุปปฏิวิทธา)

           (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “สีลสูตร” ข้อ ๘๗)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
พหูสูตมีองค์ ๕ (คุณสมบัติที่ทำให้ควรได้รับชื่อว่าเป็นพหูสูต คือ ผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน)
๑. พหุสสุตา (ฟังมาก คือ ได้เล่าเรียนสดับฟังไว้มาก)
๒. ธตา (จำได้ คือ จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำ)
๓. วจสา ปริจิตา (คล่องปาก คือ ท่องบ่นหรือใช้พูดอยู่เสมอจนแคล่วคล่อง จัดเจน)
๔. มนสานุเปกขิตา (เพ่งขึ้นใจ คือ ใส่ใจนึกคิดพิจารณาจนเจนใจ นึกถึงครั้งใด ก็ปรากฏ เนื้อความ สว่างชัด)
๕. ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา (ขบได้ด้วยทฤษฎี หรือ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ คือ ความเข้าใจลึกซึ้ง มองเห็น ประจักษ์แจ้ง ด้วยปัญญา ทั้งในแง่ความหมาย และเหตุผล)

ชาติ ๕

๑. ชาติ (ความเกิด)
๒. สัญชาติ (ความเป็นขึ้น)
๓. โอกกันติ (ความหยั่งลง)
๔. นิพพัตติ (ความอุบัติขึ้น , บังเกิดขึ้น)
๕. อภินิพัตติ (ความอุบัติเฉพาะ , บังเกิดเฉพาะ)

     (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ “สัมมาทิฏฐิสูตร” ข้อ ๑๑๘)

ฐานะ ๕

    คือสภาพที่ทุกๆคนในโลกเลี่ยงไม่พ้นฐานะเหล่านี้
๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา
๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา
๔. เรามีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. เรามีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสโกมหิ)
เป็นทายาทแห่งกรรม (กัมมทายาโท)
มีกรรมเป็นกำเนิด (กัมมโยนิ)
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ (กัมมพันธุ)     
มีกรรมเป็นที่พึ่ง (กัมมปฏิสรโน)
ทำดี ทำชั่ว เราเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

      (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “ฐานสูตร” ข้อ ๕๗)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ (ข้อที่สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ควรพิจารณา เนืองๆ)
๑. ชราธัมมตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้)
๒. พยาธิธัมมตา ค(วรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไมล่วงพ้น ความเจ็บป่วยไปได้)
๓. มรณธัมมตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้)
๔. ปิยวินาภาวตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจักต้องมีความพลัดพราก จากของรัก ของชอบใจ ทั้งสิ้น)
๕. กัมมัสสกตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็น ทายาท ของกรรมนั้น)

ทำบุญแต่ได้บาป ๕ ลำดับ
(ย่อมประสบบาป มิใช่บุญ)

๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา”
(อุทิศ, อุททิสสะ คือ เจาะจง มุ่งหมายไปที่สัตว์ชื่อนั้น)
๒. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา  ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส
๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า  “ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้”
๔. สัตว์นั้น เมื่อกำลังถูกเขาฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส
๕. ผู้นั้นยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีไปด้วยเนื้อ ย่อมประสพบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก (ตถาคตํ วา ตถาคตสาวกํ วา อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภติ โส อิเมหิ ปญฺจหิ ฐาเนหิ พหุง อปุญฺญํ ปสวตีติ)

         พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ “ชีวกสูตร” ข้อ ๖๐

ทุกข์ ๕ ของสตรี

๑. สตรีเมื่อเป็นสาวไปสู่สกุลแห่งสามี ย่อมทุกข์ เพราะพลัดพรากจากญาติทั้งหลาย
๒. สตรีย่อมทุกข์เมื่อมีระดู (ประจำเดือน)
๓. สตรีย่อมทุกข์เมื่อมีครรภ์
๔. สตรีย่อมทุกข์เมื่อคลอดบุตร
๕. สตรีย่อมทุกข์เมื่อทำหน้าที่บำรุงบำเรอบุรุษ

(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๘ “อาเวณิกสูตร” ข้อ ๔๖๒ - ๔๖๖)

ธรรมะให้พร ๕

   ผู้ประพฤติธรรมย่อมได้รับพร (สิ่งประเสริฐ) ๕ ประการ
๑. อายุ (มีอายุหะ) คือ มีอิทธิบาท เป็นเครื่องแสดง
๒. วรรณะ คือ มีศีลผุดผ่อง เป็นเครื่องแสดง
๓. สุข  คือ มีฌาน ๔ เป็นเครื่องแสดง
๔. โภคะ คือ มีพรหมวิหาร ๔เป็นเครื่องแสดง
๕. พละ  คือ มีวิมุติหลุดพ้น เป็นพลังแสดง

(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ “จักกวัตติสูตร” ข้อ ๕๐)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
๑.อายุ คือ พลังที่หล่อเลี้ยงทรงชีวิตให้สืบต่ออยู่ได้ยาวนาน ได้แก่อิทธิบาท ๔
๒.วรรณะ คือ ความงามเอิบอิ่มผ่องใสน่าเจริญตาเจริญใจ ได้แก่ ศีล
๓.สุขะ คือความสุข ได้แก่ ฌาน ๔
๔.โภคะ คือ ความพรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สินและอุปกรณ์ต่าง ๆ อันอำนวยความสุข ความสะดวกสบาย ได้แก่ อัปปมัญญา หรือ
พรหมวิหาร ๔
๕.พละ คือ กำลังแรงความเข้มแข็งที่ทำให้ข่มขจัดได้แม้แต่กำลังแห่งมาร ทำให้สามารถดำเนินชีวิตที่ดีงามปลอดโปร่งเป็นสุข บำเพ็ญกิจด้วยบริสุทธิ์และเต็มที่ ไม่มีกิเลสหรือความทุกข์ใดใดจะสามารถบีบคั้นครอบงำ ได้แก่ วิมุตติ ความหลุดพ้น หมดสิ้นอาสวะ หรืออรหัตตผล

ทำบุญแต่ได้บาป ๕ ลำดับ

    ผู้ใดฆ่าสัตว์อุทิศแก่ภิกษุสงฆ์ผู้นั้นย่อมได้บาป มิใช่บุญเป็นอันมาก คือ
๑. ได้บาป เพราะผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา”
     (อุทิศ, อุททิสสะ คือ เจาะจง มุ่งหมายไปที่ สัตว์ชื่อนั้น)
๒. ได้บาป เพราะสัตว์นั้น เมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ย่อมได้เสวย ทุกข์โทมนัส
๓. ได้บาป เพราะผู้นั้น พูดอย่างนี้ว่า  “ท่านทั้งหลาย จงไปฆ่าสัตว์นี้”
๔. ได้บาป เพราะสัตว์นั้น เมื่อกำลังถูกเขาฆ่า ย่อมเสวย ทุกข์โทมนัส
๕. ได้บาป เพราะผู้นั้น ยังตถาคต และสาวกตถาคต ให้ยินดีไปด้วยเนื้อ
     ย่อมประสพบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก
     (ตถาคตํ วา ตถาคตสาวกํ วา อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภติ โส อิเมหิ ปญฺจหิ ฐาเนหิ พหุง อปุญฺญํ ปสวตีติ)

             (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ “ชีวกสูตร” ข้อ ๖๐)

ทุกข์ของหญิง ๕

    ทุกข์ของหญิง ๕ อย่างที่จะได้รับ คือ
๑. หญิงสาวไปสู่ตระกูลสามี ย่อมพรากจากญาติของตน
๒. หญิงย่อมมีระดู (ประจำเดือน)
๓. หญิงย่อมมีครรภ์
๔. หญิงย่อมคลอดบุตร
๕. หญิงย่อมบำเรอชาย

  (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๘ “อาเวณิกสูตร” ข้อ ๔๖๒- ๔๖๖)

ธรรมทำให้อยู่ผาสุก ๕

    เหตุ ๕ อย่างนี้ทำให้เป็นอยู่ผาสุกร่วมกัน
๑. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่ติเตียนผู้อื่นด้วยอธิศีล (ศีลชั้นสูง)
๒. เป็นผู้เพ่งดูตน ไม่เพ่งโทษผู้อื่น
๓. เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความไม่มีชื่อเสียงนั้น
๔. เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌาน่ทั้ง ๔
๕. เป็นผู้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ (กิเลสที่หมักหมม ในสันดาน) มิได้

             (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อานันทสูตร” ข้อ ๑๐๖)

นิยาม ๕ แห่งพลังงาน

    คือการกำหนดธรรมชาติของสรรพสิ่ง
๑. อุตุนิยาม (ส่วนที่เป็นพลังงานวัตถุ ฟิสิกส์ ฯลฯ)
๒. พีชนิยาม (ส่วนที่เป็นพลังงานชีวะ พืชพันธุ์)
๓. จิตตนิยาม (ส่วนที่เป็นจิต เวไนย-อเวไนยสัตว์ ให้เกิดกรรมตาม โอปปาติกะ พาเป็น)
๔. กรรมนิยาม (บทบาท หรืออาการแห่งกิริยาของคน - ของโอปปาติกะสัตว์)
๕. ธรรมนิยาม (สภาพทั้งหมด ของทุกสรรพสิ่ง)

(อรรถกถาแปลเล่ม ๗๖ “จิตตุปปาทกัณฑ์” หน้า ๘๑-๘๒)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
นิยาม ๕ (กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไป อันมีระเบียบแน่นอน ของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ)
๑. อุตุนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะ ดินน้ำอากาศ และฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อม สำหรับมนุษย์)
๒. พีชนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับ การทำงานของจิต)
๓. จิตตนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผล ของการกระทำ)
๔. กรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผล ของการกระทำ)
๕. ธรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ และอาการที่เป็นเหตุ เป็นผลแก่กัน แห่งสิ่งทั้งหลาย)

นิวรณ์ ๕

    คือกิเลส ๕ อย่างที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุธรรม ทำให้ปัญญาทุรพล หรือ ปัญญาถอยกำลังลง
๑. กามฉันทะ (ความใคร่อยากในกามภพ) เปรียบเหมือนหนี้
๒. พยาบาท (การปองร้ายผู้อื่น) เปรียบเหมือนเป็นโรค
๓. ถีนมิทธะ (จิตหดหู่ หดแน่น เซื่องซึม ไม่แจ่มแจ้ง ไม่แววไว) เปรียบเหมือนเรือนจำ
๔. อุทธัจจะ กุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน กระจายกระเจิง) เปรียบเหมือน ความเป็นทาส
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในการหลุดพ้น ฯลฯ) เปรียบเหมือน ทางไกล -ทางกันดาร

  (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ “กายสูตร” ข้อ ๓๕๗ และ เล่ม ๙ ข้อ ๓๗๘)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
นิวรณ์ ๕ (สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม, ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี, อกุศลธรรม ที่ทำจิต ให้เศร้าหมอง และทำปัญญา ให้อ่อนกำลัง)
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ)
๓.ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวาย กลุ้มกังวล)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)

ปหาน ๕

     คือการละกิเลสให้หมดสิ้นไป
๑. วิกขัมภนปหาน (ละด้วยการข่มฝืนกิเลส การข่มใจ-ใช้เจโตนำหน้า)
๒. ตทังคปหาน (ละกิเลสได้เป็นครั้งคราว-ใช้ปัญญาอบรมจิต)
๓. สมุจเฉทปหาน (ละด้วยการตัดขาดกิเลส สลัดออกได้เก่ง)
๔. ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยการสงบระงับกิเลส  ทวนไปมา)
๕. นิสสรณปหาน (ละด้วยการสลัดกิเลสออกได้เองทิ้งทันที เก่งจนเป็นปกติ)

  (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๑ “มหาวรรค ญาณกถา” ข้อ ๖๕)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ปหาน ๕ (การละกิเลส) มีนัยยะเดียวกับนิโรธ ๕
นิโรธ ๕ (ความดับกิเลส, ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น)
๑. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลส ของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลา ที่อยู่ในฌานนั้น)
๒. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรม ที่เป็นคู่ปรับ หรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิ ด้วยความรู้ที่กำหนด แยกนามรูป ออกได้ เป็นการดับชั่วคราว ในกรณีนั้นๆ)
๓. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลส เสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อ สมุจเฉทนิโรธ)
๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรค ดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวาย เพื่อดับอีก ในขณะ แห่งผลนั้นชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ)
๕. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลส เสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะ ที่กิเลสดับแล้วนั้น ยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อ นิสสรณนิโรธ ได้แก่ อมตธาตุ คือ นิพพาน)

ประโยชน์การกินมื้อเดียว ๕

    กินมื้อเดียว (เอกาสนโภชนัง) มีอานิสงส์ คือ
๑. ร่างกายไม่เจ็บป่วย หรือมีความเจ็บป่วยน้อย (อัปปาพาธัง)
๒. มีความลำบากกายน้อย ไม่มีอะไรบกพร่อง (อัปปาตังกัง)
๓. มีความกระปรี้กระเปร่า เบากายเบาใจ (ลหุฏฐานัง)
๔. มีพละกำลังเหลือใช้ (พลัง)
๕. อยู่อย่างผาสุก จิตใจผาสุก (ผาสุวิหารัง)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ “กกจูปมสูตร” ข้อ ๒๖๕ ,ภัททาลิสูตร เล่ม ๑๓ ข้อ ๑๖๐)

ประโยชน์ของการจงกรม ๕

จงกรม คือ การเดินไปมาโดยมีสติกำกับ ไม่ให้กิเลสครอบงำได้
มีประโยชน์.....
๑. อดทนต่อการเดินทางไกล
๒. อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร
๓. มีความเจ็บป่วยน้อย
๔. อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้ว ย่อยได้ดี
๕. สมาธิที่ได้เพราะการเดิน ตั้งอยู่ได้นาน

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “จังกมสูตร” ข้อ ๒๙)

ปีติ ๕ (ได้ดี รู้ดี ยินดี)

  คือความปลาบปลื้มยินดีอิ่มใจในฌาน อันมีได้ ๕ อาการ
๑. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย)
๒. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ)
๓. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นพัก ๆ)
๔. อุพเพงคาปีติ (ปีติแรงกล้า โลดลอย)
๕. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน)

  (อรรถกถาแปล เล่ม ๗๕ “จิตตุปปาทกัณฑ์” หน้า ๓๒๑)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ปีติ ๕ (ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำ)
๑. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล)
๒. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ)
๓. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง)
๔. อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรง ให้รู้สึกใจฟู แสดงอาการ หรือ ทำการบางอย่าง โดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไป ในอากาศ)
๕. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่าน แผ่เอิบอาบ ไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับ สมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้)

ผู้ต้องการแก่นธรรม ๕

    ความต้องการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ (นิพพาน) อุปมาเหมือนผู้ต้องการ แก่นไม้ ๕ จำพวก
๑. ผู้ยินดีในลาภ สักการะ สรรเสริญ อุปมาเหมือนผู้ตัดเอา กิ่งไม้ใบไม้ไป
๒. ผู้ยกตนในความถึงพร้อมแห่งศีล อุปมาเหมือนผู้ถากเอา สะเก็ดไม้ถือไป
๓. ผู้ยกตนในความถึงพร้อมแห่งสมาธิ อุปมาเหมือนผู้ถากเอา เปลือกไม้ไป
๔. ผู้ยกตนข่มผู้อื่นด้วยญาณทัสนะ อุปมาเหมือนผู้ถากเอา กะพี้ไม้ไป
๕. ผู้มีเจโตวิมุติ อันไม่กำเริบ อุปมาเหมือน ผู้ตัดเอา แก่นไม้ไปได้

             (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ “จูฬสาโรปมสูตร” ข้อ ๓๕๕)

ผู้ป่วยที่พยาบาลง่าย ๕

๑. ย่อมทำความสบาย (ไม่เบียดเบียนตน)
๒. รู้จักประมาณในสิ่งสบาย (พอดี)
๓. กินยา
๔. บอกอาการป่วยตามความเป็นจริงแก่ผู้พยาบาลที่ปรารถนาประโยชน์
๕. เป็นผู้อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น

     (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อุปัฏฐากสูตร ที่ ๑ ” ข้อ ๑๒๓)

ผู้พยาบาลที่ดี ๕

๑. ย่อมเป็นผู้สามารถเพื่อจัดยา
๒. ทราบสิ่งสบาย และไม่สบาย นำสิ่งไม่สบายออกไป นำสิ่งสบาย เข้ามาให้
๓. มีเมตตาจิตพยาบาล ไม่เพ่งอามิสพยาบาล
๔. ไม่รังเกียจเพื่อนำออกซึ่งอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน หรือน้ำลาย
๕. สามารถเพื่อชี้แจงให้ผู้ป่วยสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา โดยกาลอันสมควร

   (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อุปัฏฐากสูตร ที่ ๒ ” ข้อ ๑๒๔)

ภิกษุอยู่ป่า ๕

    ภิกษุ ๕ จำพวกที่ถือการอยู่ป่า คือ
๑. พวกโง่เขลา หลงงมงาย (มันทัตตา โมมูหัตตา)
๒. พวกปรารถนาลามก (เลวทราม) ถูกความปรารถนา ลามก ครอบงำ (ปาปิจโฉ)
๓. พวกวิกลจริตจิตฟุ้งซ่าน (อุมมาทา)
๔. พวกเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าและสาวกสรรเสริญ (วัณณิโต)
๕. พวกอาศัยความมักน้อย (อัปปิจฉะ) ความสันโดษ (สันตุฏฐิ) ความขัดเกลา (สัลเลขะ) ความเงียบสงัด (ปวิเวกะ) ความมีประโยชน์ แห่งการอยู่ป่า (อิทมัฏฐิตา)

             (พระไตรปิฎก เล่ม ๘ “อุปาลิปัญจกะ” ข้อ ๑๑๙๑)

มัจฉริยะ ๕

     คือความตระหนี่ หวงไม่อยากให้
๑. ตระหนี่ที่อยู่ (อาวาสมัจฉริยะ)
๒. ตระหนี่ตระกูล (กุลมัจฉริยะ)
๓. ตระหนี่ลาภ (ลาภมัจฉริยะ)
๔. ตระหนี่วรรณะ (วัณณมัจฉริยะ)
๕. ตระหนี่ธรรม (ธัมมมัจฉริยะ)

   (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ “มัจฉริยสูตร” ข้อ ๒๗๓)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
มัจฉริยะ ๕ (ความตระหนี่, ความหวง, ความคิดกีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้ดี หรือมีส่วนร่วม)
๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่, หวงที่อาศัย เช่น ภิกษุหวงเสนาสนะ กีดกันผู้อื่น หรือผู้มิใช่ พวกของตน ไม่ให้เข้าอยู่ เป็นต้น)
๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล, หวงสกุล เช่น ภิกษุหวงสกุลอุปฐาก คอยกีดกันภิกษุอื่น ไม่ให้เกี่ยวข้อง ได้รับการบำรุงด้วย เป็นต้น)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ, หวงผลประโยชน์ เช่น ภิกษุหาทางกีดกัน ไม่ให้ลาภเกิดขึ้น แก่ภิกษุอื่น)
๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ, หวงสรีรวัณณะ คือผิวพรรณของร่างกาย ไม่พอใจ ให้ผู้อื่นสวยงาม ก็ดี หวงคุณวัณณะ คือ คำสรรเสริญคุณ ไม่อยากให้ใคร มีคุณความดี มาแข่งตน หรือไม่พอใจ ได้ยินคำสรรเสริญ คุณความดีของผู้อื่น ก็ดี)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม, หวงวิชาความรู้ และคุณพิเศษที่ได้บรรลุ ไม่ยอมสอน ไม่ยอมบอกผู้อื่น กลัวเขาจะรู้เทียมเท่า หรือเกินตน)

มาร ๕

    คือตัวการที่เป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้ทำดี
๑. กิเลสมาร (กิเลสทั้งปวงล้วนเป็นมาร)
๒. ขันธมาร (ขันธ์ ๕ ทุกข์เจ็บป่วยเป็นมาร)
๓. อภิสังขารมาร (จิตปรุงแต่งชั่ว ให้เกิดความหลงผิด ฯลฯ เป็นมาร)
๔. เทวปุตตมาร (เทพบุตรลวงโลก ทำทีเป็นผู้มีจิตใจสูง ที่แท้เป็นมาร)
๕. มัจจุมาร (ความตายทำให้หมดโอกาสทำดี เป็นมาร)

             (อรรถกถาแปลเล่ม ๒๑ “เสลสูตร” หน้า ๓๐๑)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
มาร ๕ (สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดี หรือจากผลที่หมาย อันประเสริฐ, สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี, ตัวการที่กำจัด หรือขัดขวางบุคคล มิให้บรรลุ ผลสำเร็จ อันดีงาม)
๑. กิเลสมาร (มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมาร เพราะเป็นตัวกำจัด และขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ ประสบความพินาศ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต)
๒. ขันธมาร (มารคือเบญจขันธ์, ขันธ์ ๕ เป็นมาร เพราะเป็นสภาพ อันปัจจัยปรุงแต่ง มีความขัดแย้งกันเอง อยู่ภายใน ไม่มั่นคงทนนาน เป็นภาระ ในการบริหาร ทั้งแปรปรวน เสื่อมโทรมไป เพราะชราพยาธิ เป็นต้น ล้วนรอนโอกาส มิให้บุคคล ทำกิจหน้าที่ หรือบำเพ็ญ คุณความดี ได้เต็มปรารถนา อย่างแรง อาจถึงกับ พรากโอกาสนั้น โดยสิ้นเชิง)
๓. อภิสังขารมาร (มารคืออภิสังขาร, อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัว ปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา เป็นต้น ขัดขวาง มิให้หลุดพ้นไปจาก สังขารทุกข์)
๔. เทวปุตตมาร (มารคือเทพบุตร, เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุด แห่งชั้นกามาวจร ตนหนึ่ง ชื่อว่ามาร เพราะเป็นนิมิต แห่งความขัดข้อง คอยขัดขวาง เหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้น จากแดน อำนาจครอบงำของตน โดยชักให้ห่วงพะวง ในกามสุข ไม่หาญ เสียสละออกไป บำเพ็ญคุณความดี ยิ่งใหญ่ได้)
๕. มัจจุมาร (มารคือความตาย, ความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวการตัดโอกาส ที่จะก้าวหน้าต่อไป ในคุณความดี ทั้งหลาย)

มิจฉาวณิชชา ๕

    คือการค้าขายที่ผิด  ชาวพุทธไม่ควรกระทำ
๑. ค้าขายอาวุธ (สัตถวณิชชา)
๒. ค้าขายสัตว์มีชีวิต (สัตตวณิชชา)
๓. ค้าขายเนื้อสัตว์ (มังสวณิชชา)
๔. ค้าขายของเมา สิ่งมอมเมา (มัชชวณิชชา)
๕. ค้าขายสิ่งที่เป็นพิษ (วิสวณิชชา)

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “วณิชชสูตร” ข้อ ๑๗๗)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
วณิชชา ๕ (การค้าขาย ๕ อย่าง ในที่นี้หมายถึง การค้าขายที่เป็นอกรณียะ สำหรับอุบาสก คือ อุบาสก ไม่ควรประกอบ)
๑. สัตถวณิชชา (ค้าขายอาวุธ)
๒. สัตตวณิชชา (ค้าขายมนุษย์)
๓. มังสวณิชชา (ค้าขายเนื้อสัตว์ -อรรถกถาแก้ว่า เลี้ยงสัตว์ไว้ขาย)
๔. มัชชวณิชชา (ค้าขายน้ำเมา)
๕. วิสวณิชชา (ค้าขายยาพิษ)

มิจฉาอาชีวะ ๕

คือการทำมาหากินที่ผิด(ลำดับความทุจริตในอาชีพ) ๕ อย่าง
๑. การโกง ทุจริต คอร์รัปชั่น (กุหนา)
๒. การล่อลวง หลอกลวง (ลปนา)
๓. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา)
๔. การยอมมอบตนในทางผิด อยู่คณะผิด (นิปเปสิกตา)
๕. การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา)

             (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ ๒๗๕)

ไม่ควรอยู่ผู้เดียว ๕

    ภิกษุผู้ไม่ควรหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว คือ
๑. ผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร ตามมีตามได้
๒. ผู้ไม่สันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้
๓. ผู้ไม่สันโดษด้วยเสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) ตามมีตามได้
๔. ผู้ไม่สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร (ยารักษาโรค) ตามมีตามได้
๕. ผู้มากด้วยความคิดในกาม

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อวัปปกาสสูตร” ข้อ ๑๒๗)

ลักษณะของอนัตตา ๕

    เป็นสภาวะของความว่าง หมดตัวตนแล้ว คือ
๑. ปรโต (เป็นอื่น แปรปรวนไปทุกขณะ)
๒. อนัตตโต (ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา)
๓. วิวิตตโต (สงัดกิเลสทั้งปวง)
๔. ตุจฉโต (สิ้นแก่นสารจบประโยชน์)
๕. สุญญโต (สูญว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย)

    (พระวิสุทธิมัคค์ “ปัญญานิเทศ” หน้า ๖๒๘- ๖๒๙)

วสี ๕

    คือ ความเชี่ยวชาญชำนาญ ๕ ประการ
๑. อาวัชชนาวสี(ชำนาญในการคำนึงถึง) เช่น ฌาน
๒. สมาปัชชนาวสี (ชำนาญในการเข้าถึง)
๓. อธิฏฐานวสี (ชำนาญในการอธิษฐาน)
๔. วุฏฐานวสี (ชำนาญในการออกจาก)
๕. ปัจจเวกขณวสี (ชำนาญในการพิจารณา)

  (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๑ “มหาวรรค ญาณกถา” ข้อ ๒๒๕)

วัตถุ ๕

    พระเทวทัตต้องการทำสังฆเภท (สงฆ์แตกแยก)
แสร้งทูลขอวัตถุ ๕ กับพระพุทธเจ้าเพราะวัตถุ ๕ เป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา กำจัดกิเลส เป็นอาการน่าเลื่อมใส ไม่สะสม และปรารภความเพียร คือ
๑. ให้ถือปฏิบัติอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ ต้องมีโทษ
๒. ให้ถือปฏิบัติเที่ยวบิณฑบาต ตลอดชีวิต  ภิกษุใด ยินดีกิจนิมนต์ ต้องมีโทษ
๓. ให้ถือปฏิบัติใช้ผ้าบังสุกุล (ผ้าทิ้งแล้ว) ตลอดชีวิต  ภิกษุใดยินดีคหบดีจีวร(ผ้าที่โยมถวาย) ต้องมีโทษ
๔. ให้ถือปฎิบัติ อยู่โคนไม้ ตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยที่มุงบัง ต้องมีโทษ
๕. ให้ถือปฏิบัติ ไม่ฉันปลาและเนื้อ ตลอดชีวิต ภิกษุใด ฉันปลาและเนื้อ ต้องมีโทษ
แต่พระพุทธเจ้า ไม่ทรงอนุญาต รับสั่งว่า
๑. จะอยู่ป่าก็ได้ อยู่บ้านก็ได้
๒. เที่ยวบิณฑบาตก็ได้ ยินดีกิจนิมนต์ก็ได้
๓. ใช้ผ้าบังสุกุลก็ได้ ยินดีคหบดีจีวรก็ได้
๔. อนุญาตอยู่โคนไม้ ๘ เดือนเท่านั้น
๕. อนุญาตให้ฉัน ปลาและเนื้อ ที่บริสุทธิ์ ๓ อย่างคือ
 ไม่ได้เห็น (อทิฏฐัง) ว่าเขาฆ่ามา, ไม่ได้ยิน (อัสสุตัง) ว่าเขาฆ่ามา,
ไม่รังเกียจ (อปริสังกิตันติ) ว่าเขาฆ่ามา

     (พระไตรปิฎก เล่ม ๗ “สังฆเภทขันธกะ” ข้อ ๓๘๔)

วิธีระงับความอาฆาต ๕

    ธรรมอันเป็นที่ระงับความอาฆาต (ผูกใจเจ็บ) คือ
๑. พึงเจริญเมตตา (คิดช่วยเหลือ) ในบุคคลนั้น
๒. พึงเจริญกรุณา (ลงมือช่วยเหลือ) ในบุคคลนั้น
๓. พึงเจริญอุเบกขา (วางใจเที่ยงธรรมเป็นกลาง) ในบุคคลนั้น
๔. พึงไม่ระลึกถึง (อสติ) ไม่ใส่ใจ (อมนสิกาโร) ในบุคคลนั้น
๕. พึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรม เป็นของ ๆ ตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมดี หรือชั่วก็ตาม จะเป็นทายาท ของกรรมนั้น

  (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อาฆาตวินยสูตรที่ ๑” ข้อ ๑๖๑)

วิสาสะ ๕

    คือการถือความเป็นกันเองได้ กับผู้มีองค์ ๕ นี้
๑. เคยเห็นกันมา
๒. เคยคบกันมา
๓. เคยบอกอนุญาตกันไว้
๔. เขายังมีชีวิตอยู่
๕. รู้ว่าเมื่อเราถือเอาแล้ว เขาจะพอใจ

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๕ “จีวรขันธกะ” ข้อ ๑๕๙)

เสนาสนะ ๕

    คือที่อยู่อันมีลักษณะ ๕ ประการ ซึ่งภิกษุ(มีองค์ ๕)
อยู่อาศัยแล้วประพฤติธรรม จะบรรลุได้ในเวลาไม่นานนัก
๑. ที่อยู่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก ทางไปมาสะดวก กลางวันไม่เกลื่อนกล่น ด้วยผู้คน กลางคืน เงียบเสียง ปราศจาก เสียงอึกทึก มีลม แดด เหลือบ ยุง และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลานน้อย
๒. ได้จีวร (เครื่องนุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) เภสัขบริขาร (ยาและของใช้) อันเป็นปัจจัย ของคนไข้ ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ฝืดเคือง
๓. มีภิกษุเถระ (พระผู้ใหญ่) เป็นพหูสูต ชำนาญคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (หัวข้อ) อยู่ที่นั้น
๔. เข้าไปหาพระเถระได้ตามเวลาอันควร  แล้วสอบถาม ไต่ถาม ข้อที่ยังสงสัย
๕. พระเถระย่อมเปิดเผย ในข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่าย ในข้อที่ ยังไม่ได้ทำให้ง่าย บรรเทา ความสงสัย ในธรรมที่ยังสงสัย

             (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “เสนาสนสูตร” ข้อ ๑๑)

เหตุทำให้อายุยืน ๕

๑. เป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง
๒. รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย (สปายะ)
๓. บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย
๔. มีศีล (หรือเป็นที่ผู้เที่ยว ในกาลสมควร)
๕. มีมิตรดีงาม (หรือประพฤติพรหมจรรย์)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อนายุสสสูตร ที่ ๑ ข้อ ๑๒๕-๑๒๖)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อายุสสธรรม หรือ อายุวัฒนธรรม ๕ (ธรรมที่เกื้อกูลแก่อายุ หรือ ธรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ, ธรรมที่ ช่วยให้อายุยืน)
๑. สัปปายการี (รู้จักทำความสบายแก่ตนเอง)
๒. สัปปาเย มัตตัญญู (รู้จักประมาณ ในสิ่งที่สบาย)
๓. ปริณตโภชี (บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย เช่น เคี้ยวให้ละเอียด)
๔. กาลจารี (ประพฤติเหมาะในเรื่องเวลา เช่น รู้จักเวลา ทำถูกเวลา ทำเป็นเวลา ทำพอเหมาะ แก่เวลา เป็นต้น)
๕. พรหมจารี (ถือพรหมจรรย์ ผู้เป็นคฤหัสถ์ รู้จักควบคุมกามารมณ์ เว้นเมถุนบ้าง)
  อายุวัฒนธรรมนี้ มีอีกหมวดหนึ่ง สามข้อแรก เหมือนกัน แปลกแต่ข้อ ๔ และ ๕ เป็น
สีลวา (มีศีล ประพฤติดีงาม ไม่ทำความผิด)
๕. กัลยาณมิตตะ (มีกัลยาณมิตร)

เหตุแห่งวิมุต ๕

   เหตุที่ทำให้บรรลุหลุดพ้นจากกิเลส (วิมุต) ได้
๑. หลุดพ้นด้วยการฟังธรรม
๒. หลุดพ้นด้วยการแสดงธรรม
๓. หลุดพ้นด้วยการสาธยายธรรม
๔. หลุดพ้นด้วยการตรึกตรองใคร่ครวญธรรม
๕. หลุดพ้นด้วยการตั้งจิตมั่นในนิมิต (สมาธินิมิต)

   (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “วิมุตติสูตร” ข้อ ๒๖)

องค์ของปาณาติบาต ๕

    ลักษณะของการทำผิดศีลข้อ ๑ การฆ่าสัตว์ คือ
๑. เป็นสัตว์มีชีวิต (ปาโณ)
๒. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต (ปาณสัญญิตา)
๓. มีจิตคิดฆ่า (วธกจิตตัง)
๔. มีความพยายามฆ่า (อุปักกโม)
๕. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น (เตน มรณัง)

   (อรรถกถาแปลเล่ม ๗๕ “จิตตุปปาทกัณฑ์” หน้า ๒๘๗)

องค์คุณอุเบกขา ๕

    คือสภาวะจิตวิญญาณบริสุทธิ์ไร้กิเลส (นิวรณ์ ๕)
๑. ปริสุทธา (จิตบริสุทธิ์หมดจด ปราศจากกิเลส นิวรณ์ ๕)
๒. ปริโยทาตา (จิตสะอาด ผุดผ่อง ขาวรอบ แข็งแรง แม้ผัสสะกระแทก)
๓. มุทุ (จิตหัวอ่อนดัดง่ายแววไว รู้แววไว อ่อน-ง่ายต่อการดัด ปรับปรุงให้เจริญ)
๔. กัมมัญญา (สละสลวย จิตควรแก่การงาน อันไร้อคติ)
๕. ปภัสสรา (จิตผ่องแผ้วแจ่มใส ถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ)

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ “ธาตุวิภังคสูตร” ข้อ ๖๙๐)

อนาคามี ๕

    คือผู้ละกิเลสสังโยชน์เบื้องต่ำ ทั้ง ๕ แล้วกำลังละสังโยชน์ เบื้องสูงอยู่ จะได้ปรินิพพาน ไม่เวียนกลับ มาเกิดอีก
๑. อันตราปรินิพพายี (ผู้เพียรทำปรินิพพาน ในระหว่างภพ)
๒. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้ทำปรินิพพาน ด้วยสามารถ)
๓. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพาน โดยไม่ต้องใช้ การปรุงแต่ง อภิสังขาร ให้มากนัก)
๔. สสังขารปรินิพพายี (ผู้ทำปรินิพพาน โดยต้องใช้ความเพียรมาก ประกอบ ปุญญาภิสังขาร ในภพตน ให้มาก ๆ)
๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (สภาวธรรม ไม่เป็นสองรองใคร หรือไม่เป็นน้องใครอีก แล้วปรินิพพานไว)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “อเวจจสูตร” ข้อ ๖๔ และเล่ม ๓๖ “เอกกนิทเทส” ข้อ ๕๑ –๕๖)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อนาคามี ๕ (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก)
๑. อันตราปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือ เกิดในสุทธาวาส ภพใดภพหนึ่งแล้ว อายุยังไม่ถึงกึ่ง ก็ปรินิพพาน โดยกิเลสปรินิพพาน)
๒. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้จวนจะถึงจึงปรินิพพาน คือ อายุพ้นกึ่งแล้ว จวนจะถึงสิ้นอายุ จึงปรินิพพาน)
๓. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยง่าย ไม่ต้องใช้ ความเพียรนัก)
๔. สสังขารปรินิพพายี
(ผู้ปรินิพพานโดยใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยต้องใช้ ความเพียรมาก)
๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบน ไปสู่อกนิฏฐภพ คือ เกิดในสุทธาวาส ภพใดภพหนึ่ง แล้วก็ตาม จะเกิดเลื่อน ต่อขึ้นไป จนถึง อกนิฏฐภพ แล้วจึงปรินิพพาน)

อนุปุพพิกถา ๕

    คือการแสดงธรรมไปตามลำดับ
๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
๒. สีลกถา (เรื่องศีล)
๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์-ความสุข ที่พรั่งพร้อมด้วยกาม)
๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษของกาม)
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์ ในการออกจากกาม)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๔ “มหาขันธกะ ยสกุลบุตร” ข้อ ๒๗)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อนุปุพพิกถา ๕ (เรื่องที่กล่าวถึงตามลำดับ, ธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความ ลุ่มลึกลงไป โดยลำดับ เพื่อขัดเกลา อัธยาศัย ของผู้ฟัง ให้ประณีตขึ้นไป เป็นชั้นๆ จนพร้อมที่จะทำความเข้าใจ ในธรรม ส่วนปรมัตถ์)
๑. ทานกถา (เรื่องทาน, กล่าวถึงการให้ การเสียสละเผื่อแผ่แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน)
๒. สีลกถา (เรื่องศีล, กล่าวถึงความประพฤติที่ถูกต้อง ดีงาม)
๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์, กล่าวถึงความสุข ความเจริญ และผลที่น่าปรารถนาอันเป็นส่วนดีของกาม ที่จะพึงเข้าถึง เมื่อได้ประพฤติดีงาม ตามหลักธรรม สองข้อต้น)
๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษแห่งกาม, กล่าวถึงส่วนเสีย ข้อบกพร่องของกาม พร้อมทั้งผลร้าย ที่สืบเนื่อง มาแต่กาม อันไม่ควรหลงใหล หมกมุ่นมัวเมา จนถึงรู้จัก ที่จะหน่ายถอนตน ออกได้)
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งความออกจากกาม, กล่าวถึงผลดี ของการไม่หมกมุ่น เพลิดเพลิน ติดอยู่ในกาม และให้มีฉันทะ ที่จะแสวงความดีงาม และความสุข อันสงบ ที่ประณีต ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น)

อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕

๑. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (อัสสุตัง สุณาติ)
๒. เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว (สุตัง ปริโยทาเปติ)
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้ (กังขัง วิหนติ)
๔. ทำความเห็นได้ถูกตรง (ทิฏฐิง อุชุง กโรติ)
๕. จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส (จิตตมัสสะ ปสีทติ)

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “ธัมมัสสวนสูตร” ข้อ ๒๐๒)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ธรรมสวนานิสงส์ ๕ (อานิสงส์ในการฟังธรรม)
๑. อสฺสุตํ สุณาติ (ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง, ได้เรียนรู้ สิ่งที่ยังไม่เคยเรียนรู้)
๒. สุตํ ปริโยทเปติ (สิ่งที่เคยได้ฟัง ก็ทำให้แจ่มแจ้ง เข้าใจชัดเจน ยิ่งขึ้น)
๓. กงฺขํ วิหนติ (แก้ข้อสงสัยได้, บรรเทาความสงสัยเสียได้)
๔. ทิฏฺฐึ อุชุ กโรติ (ทำความเห็น ให้ถูกต้องได้)
๕. จิตฺตมสฺส ปสีทติ (จิตของเขา ย่อมผ่องใส)

อาหารของถีนมิทธะ ๕

    อาหารของจิตหรี่ ง่วงซึม มี ๕ อย่าง คือ
๑. ความไม่ยินดี (อรติ)
๒. ความเกียจคร้าน (ตันทิ)
๓. ความบิดขี้เกียจ (วิชัมภิกา)
๔. ความเมาอาหาร (ภัตตสัมมโท)
๕. ความที่ใจหดหู่ (เจตโส จ ลีนัตตัง)

   (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ “อาหารสูตร” ข้อ ๕๒๕)

อินทรีย์ ๕ / พละ ๕

    คือธรรมะมีกำลังขึ้นเป็นใหญ่ในจิต เมื่อทำให้เจริญมาก ๆ ย่อมหยั่งลง สู่อมตะ
๑. สัทธา (มีความเลื่อมใสเป็นอำนาจเป็นพลัง ความเชื่อที่ปักมั่นยิ่งขึ้น เป็น สัทธินทรีย์)
๒. วิริยะ (มีความเพียรเป็นอำนาจเป็นพลัง ความเพียรที่มีพลัง-ขึ้น เป็น วิริยินทรีย์ ฯ)
๓. สติ (มีความระลึกรู้ตัวเป็นอำนาจเป็นพลัง ความระลึกรู้ตัวแววไวขึ้น เป็น สตินทรีย์ ฯ)
๔. สมาธิ (มีจิตตั้งมั่นเป็นอำนาจเป็นพลัง ความมีจิตตั้งมั่นแข็งแรง เป็นฌานยิ่งขึ้น ฯ)
๕. ปัญญา (มีความรู้แจ้งเป็นอำนาจเป็นพลัง ความรู้จริง ในความจริง แห่งธรรม ฯ)

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ “สัทธาสูตร” ข้อ ๑๐๑๑-๑๐๑๕
และ พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “วิตถตสูตร” ข้อ ๑๔)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
๑. สัทธา (ความเชื่อ)
๒. วิริยะ (ความเพียร)
๓. สติ (ความระลึกได้)
๔. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น)
๕. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด)
ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่ แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสีย ซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลง ตามลำดับ ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิด ความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธา เป็นต้น แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้

อุบาสกจัณฑาล ๕

    คืออุบาสกที่เลวทราม เศร้าหมอง น่ารังเกียจ ด้วย...
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. ทุศีล (ทำผิดศีล)
๓. เชื่อถือมงคลตื่นข่าว ไม่เชื่อกรรม
๔. แสวงหาเขตบุญนอกศาสนาพุทธ
๕. ทำการสนับสนุนในที่นอกศาสนาพุทธ

  (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “จัณฑาลสูตร” ข้อ ๑๗๕)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
มีนัยยะ ตรงข้ามคือ
อุบาสกธรรม ๕ (ธรรมของอุบาสกที่ดี, สมบัติหรือองค์คุณของอุบาสก อย่างเยี่ยม)
๑. มีศรัทธา
๒. มีศีล
๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล คือ มุ่งหวังจากการกระทำ และการงาน มิใช่จาก โชคลาง และสิ่งที่ตื่นกันว่า ขลังศักดิ์สิทธิ์
๔. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญ นอกหลัก พระพุทธศาสนา
๕. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้ เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวาย ในการอุปถัมภ์บำรุง พระพุทธศาสนา

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องสูง ๕)

    คือกิเลสละเอียดที่ผูกมัดจิตใจไว้กับทุกข์
๑. รูปราคะ (ความติดใจอยู่ในอารมณ์ที่เป็นรูปภพ – ในอุปาทายรูป)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจอยู่ในอารมณ์ ที่ไม่เป็นรูป อยู่ในอรูป -ภพ)
๓. มานะ (ความถือตัวถือตน ในความดีของตน)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน กระจัดกระจาย รู้ยาก)
๕. อวิชชา (ความหลง-ไม่รู้ อันเป็นเหตุไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้งใน – อาริยสัจ ๔)

        (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ “สังคีติสูตร” ข้อ ๒๘๕)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สังโยชน์ คือกิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรม ไว้กับผล
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไป แม้ในภพ อันสูง)
รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรม อันประณีต, ความปรารถนา ในรูปภพ)
อรูปราคะ (ความติใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนา ในอรูปภพ)
มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่า เป็นนั่นเป็นนี่)
อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง)

อุปมาแห่งขันธ์ ๕

๑. รูป อุปมาด้วยกองฟองน้ำ ซึ่งแม่น้ำนำมา ฯ เป็นของว่างเปล่า
๒. เวทนา อุปมาด้วยฟองน้ำ ซึ่งฝนตกนำมา ฯ เป็นของว่างเปล่า
๓. สัญญา อุปมาด้วยพยับแดด เดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน  ย่อมเป็น ของว่างเปล่า
๔. สังขาร อุปมาด้วยหยวกกล้วย ปอกกาบใบออก ไม่พึงได้ แม้แต่กระพี้ ไม่พึงได้แก่น ย่อมเป็นของ ว่างเปล่า
๕. วิญญาณ อุปมาดั่งมายากล หาสาระมิได้ เป็นของว่างเปล่า

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๗ “เผณปีณฑสูตร” ข้อ ๒๔๒)

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
(สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕)

    คือกิเลสหยาบที่ผูกมัดจิตใจไว้กับทุกข์
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่า ตัวตนกิเลสหยาบ เป็นตัวเรา)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย ในสักกายะกิเลส)
๓. สีลัพพตปรามาส (การปฏิบัติย่อหย่อนในศีลพรต  ปฏิบัติอย่างไม่เอาจริง ทำอย่างลูบ ๆ คลำ ๆ ทำเหยาะๆ แหยะๆ )
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดแค้น ปองร้ายผู้อื่น)

         (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ “สังคีติสูตร” ข้อ ๒๘๔)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สังโยชน์ คือกิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพ อันต่ำ)
สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น)
วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ)
สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์ หลุดพ้นได้ เพียงด้วยศีล และวัตร)
กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจ ในกามคุณ)
๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิด ขัดเคือง)

 

 

 

พุทธสิกขา หมวด ๖

คารวะ ๖

     ควรมีความเคารพยำเกรงใน ๖ ประการนี้
๑. เคารพยำเกรงพระพุทธเจ้า (พุทธคารวตา)
๒. เคารพยำเกรงพระธรรม (ธัมมคารวตา)
๓. เคารพยำเกรงพระสงฆ์ (สังฆคารวตา)
๔. เคารพยำเกรงการศึกษา (สิกขาคารวตา)
๕. เคารพยำเกรงความไม่ประมาท (อัปปมาทคารวตา)
๖. เคารพยำเกรงการปฏิสันถาร (ปฏิสันถารคารวตา)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๑ “สังคีติสูตร” ข้อ ๓๑๓)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
คารวะหรือ คารวตา ๖ (ความเคารพ, การถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะพึงใส่ใจ และปฏิบัติ ด้วยความเอื้อเฟื้อ หรือ โดยความหนักแน่นจริงจัง, การมองเห็นคุณค่า และ ความสำคัญ แล้วปฏิบัติ ต่อบุคคล หรือสิ่งนั้น โดยถูกต้อง ด้วยความจริงใจ)
๑. สัตถุคารวตา (ความเคารพในพระศาสดา)
๒. ธัมมคารวตา (ความเคารพในธรรม)
๓. สังฆคารวตา (ความเคารพในสงฆ์)
๔. สิกขาคารวตา (ความเคารพในการศึกษา)
๕. อัปปมาทคารวตา (ความเคารพในความไม่ประมาท)
๖. ปฏิสันถารคารวตา (ความเคารพในปฏิสันถาร)
ธรรม ๖ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความไม่เสื่อมแห่งภิกษุ.

คุณสมบัติของฐานะที่ควรเรียก ๖

๑. พระราชา
  พระราชาใด ชนะคนที่ไม่ควรชนะ พระราชานั้นไม่ชื่อว่าเป็น “พระราชา”
๒. เพื่อน
  ผู้ใดเอาชนะเพื่อน ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็น “เพื่อน”
๓. ภรรยา
ภรรยาใดย่อมไม่กลัวเกรงสามี ภรรยานั้นไม่ชื่อว่า เป็น “ภรรยา”
๔. บุตร
บุตรเหล่าใด ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่แล้ว บุตรเหล่านั้น ไม่ชื่อว่าเป็น “บุตร”
๕. สภา
  ในที่ประชุมใดไม่มีสัตบุรุษ ที่ประชุมนั้นไม่ชื่อว่า “สภา”
  (น สา สภา ยัตถะ น สันติ สันโต)
๖. สัตบุรุษ
  ชนเหล่าใดไม่พูดเป็นธรรม ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าเป็น “สัตบุรุษ”
  (น เต สันโต เย น ภณันติ ธัมมัง)
คนผู้ละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว พูดเป็นธรรมนั่นแล ชื่อว่าเป็น “สัตบุรุษ”
(ราคัญจะ โทสัญจะ ปหายะ โมหะ ธัมมะ ภณันตาวะ ภวันติ สันโต)
บัณฑิตผู้อยู่ปะปนกับคนพาล เมื่อไม่พูด ใคร ๆ ก็ไม่รู้ว่า เป็นบัณฑิต แต่ว่าบัณฑิต เมื่อพูด แสดงอมตธรรม ใคร ๆ จึงจะรู้ว่า เป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงกล่าวธรรม ให้กระจ่าง   
พึงยกธงของพวกฤๅษี ฤๅษีทั้งหลาย มีคำสุภาษิตเป็นธง ธรรมเหล่านั้นแลเป็นธง (หรือเครื่องหมาย) ของฤๅษีทั้งหลาย

  (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๘ “หาสุตโสมชาดกที่ ๕” ข้อ ๓๙๓)

จริต ๖

      คือพื้นเพนิสัยของคน ๖ จำ
๑. ราคจริต (นิสัยรักสวยรักงาม ต้องการเสพรส) แก้นิสัยด้วยการฝึกพิจารณา ของไม่สวย ไม่งาม
๒. โทสจริต (นิสัยโกรธฉุนเฉียว จริตสายผลักไส) แก้นิสัยด้วยการสร้างเมตตา ให้มาก ๆ
๓. โมหจริต (นิสัยลุ่มหลงโง่เขลา หลงผิด) แก้นิสัยด้วยการหมั่นถามฟังธรรม จากครู
๔. วิตักกจริต (นิสัยคิดฟุ้งซ่าน ไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งสักที) แก้นิสัยด้วยการฝึกทำ อานาปานสติ
๕. สัทธาจริต (นิสัยมีศรัทธาเลื่อมใส เชื่อถือ นิยมชมชอบ) เสริมนิสัยด้วยการศึกษา ธรรมะดี ๆ เพิ่มเสมอ
๖. พุทธิจริตหรือญาณจริต (นิสัยหยั่งรู้ในธรรม) เสริมนิสัยด้วยการพิจารณา ในไตรลักษณ์

(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๙ “ตุวฏกสุตตนิทเทส” ข้อ ๗๒๗)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
จริต หรือ จริยา ๖ (ความประพฤติปกติ, ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปกติ ประจำอยู่ในสันดาน, พื้นเพของจิต, อุปนิสัย, พื้นนิสัย, แบบหรือประเภทใหญ่ๆ แห่งพฤติกรรม ของคน) ตัวความประพฤติเรียกว่า จริยา บุคคลผู้มีความประพฤติ อย่างนั้นๆ เรียกว่า จริต
๑. ราคจริต (ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนัก ไปทางรักสวย รักงาม กรรมฐาน คู่ปรับ สำหรับแก้ คือ อสุภะ และกายคตาสติ)
๒. โทสจริต (ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทาง ใจร้อน หงุดหงิด กรรมฐาน ที่เหมาะ คือ พรหมวิหาร และกสิณ โดยเฉพาะ วัณณกสิณ)
๓. โมหจริต (ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนัก ไปทางเขลา เหงาซึม เงื่องงง งมงาย กรรมฐาน ที่เกื้อกูล คือ อานาปานสติ และพึงแก้ด้วย มีการเรียน ถาม ฟังธรรม สนทนาธรรม ตามกาล หรืออยู่กับครู)
๔. สัทธาจริต (ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนัก ไปทาง มีจิตซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจเลื่อมใส โดยง่าย พึงชักนำไปในสิ่งท ี่ควรแก่ความลื่อมใส และความเชื่อ ที่มีเหตุผล เช่น พิจารณา อนุสติ ๖ ข้อต้น)
๕. พุทธิจริต หรือ ญาณจริต (ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปในทางใช้ความคิดพิจารณา)
๖. วิตกจริต (ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนัก ไปทางนึกคิด จับจดฟุ้งซ่าน พึงแก้ด้วย สิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น เจริญอานาปานสติ หรือ เพ่งกสิณ เป็นต้น)

 

ธรรมล้างอธรรม ๖

    การปฏิบัติธรรมให้มาก ให้เกิดผล ย่อมล้างกิเลสได้
๑. เมตตา (คิดช่วยเหลือ) มากขึ้น จะละพยาปาท (พยาบาท) ได้
๒. กรุณา (ลงมือช่วยเหลือ) มากขึ้น จะละวิหิงสา (ความเบียดเบียน) ได้
๓. มุทิตา (ยินดีที่ผู้อื่นได้ดี) มากขึ้น จะละอรติ (ความไม่ยินดี) ได้
๔. อุเบกขา (วางใจเที่ยงธรรมเป็นกลาง) มากขึ้น จะละปฏิฆะ (กระทบกระทั่ง ขัดเคือง) ได้
๕. เห็นอสุภะ (ความสกปรกของกาย) มากขึ้น จะละราคะ (ความกำหนัด) ได้
๖. เห็นอนิจจสัญญา(กำหนดรู้ความไม่เที่ยง)มากขึ้น จะละอัสมิมานะ (การถือเขา ถือเรา) ได้

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๓ “มหาราหุโลวาทสูตร” ข้อ ๑๔๕)

ทักขิณาวิสุทธิ ๖ (ความบริสุทธิ์แห่งทาน)

๑. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก คือ ทายกมีศีล มีกัลยาณธรรม แต่ปฏิคาหก ทุศีล มีบาป
๒. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก คือ ทายกทุศีล มีบาปธรรม... แต่ปฏิคาหก มีศีล มีกัลยาณธรรม
๓. ทักขิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก คือ ทั้งสองฝ่ายทุศีล มีบาปธรรม
๔. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก คือ ทั้งสองฝ่ายมีศีล มีกัลยาณธรรม
ทักษิณาทานใน ๓ ข้อแรก ไม่เกิดผลอันไพบูลย์ ทายกผู้มีศีล ได้ของมาโดยชอบธรรม มีจิตเลื่อมใส เชื่อกรรม และผลชองกรรม ให้ทานแก่ ปฏิคาหกผู้มีศีล จึงจะเกิดผลอันไพบูลย์ ยิ่งถ้าทายก และ ปฏิคาหกนั้น เป็นผู้ปราศจากราคะด้วยแล้ว ทักษิณาทานนั้น ถือว่าเป็นเลิศกว่า อามิสทานทั้งหลาย

      (พระไตรปิฎก เล่ม ๑ ข้อ ๒๖๖ , เล่ม ๑๔ “ทักขิณาวิภังคสูตร” ข้อ ๗๑๔-๗๑๙)

พิจารณาโลก ๖

     พึงพิจารณาโลก (กายกับใจ) เป็นของสูญ (สุญญโต) ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ
๑. เห็นโลกนี้ตนไม่เป็นใหญ่ (อนิสสริยโต)
๒. โลกนี้ทำตามความชอบใจไม่ได้ (อกามการิยโต)
๓. โลกนี้เป็นที่ตั้งแห่งความไม่สบาย (อผาสุนียโต)
๔. โลกนี้ไม่เป็นไปในอำนาจ (อวสวัตตนโต)
๕. โลกนี้เป็นไปตามเหตุ (ปวัตติโต)
๖. โลกนี้เป็นไปโดยความว่างเปล่า (วิวิตตโต)

   (พระไตรปิฎกเล่ม ๓๐ “โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทส” ข้อ ๕๐๕)

ลักษณะกามเมถุน ๖

๑. เป็นเรื่องของชาวบ้าน (คามธัมมัง)
๒. เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ (วสลธัมมัง)
๓. ชั่วหยาบ (ทุฏฐุลลัง)
๔. มีน้ำเป็นที่สุด (โอทกันติกัง)
๕. กระทำในที่ลับ (รหัสสัง)
๖. เป็นของคนคู่ (ทวยังทวยะสมาปัตติง)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑ “ปฐมปาราชิกกัณฑ์” ข้อ ๒๐)

ลักษณะของฌาน ที่เป็นสมาธิพุทธแท้ ๖

๑. ปริสุทเธ (จิตบริสุทธิ์ไม่มีอุปกิเลสเครื่องยียวน)
๒. ปริโยทาเต (ผ่องแผ้ว อย่างแข็งแรงอยู่กับผัสสะ)
๓. มุทุภูเต (แววไวด้วยจิตหัวอ่อน - ดัดง่าย แก้ไขไว)
๔. กัมมนิเย (ควรแก่การงานอันไม่โทษ ไม่มีกิเลส)
๕. ฐีเต (จิตถึงความตั้งมั่น)
๖. อเนญชัปปัตเต (จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๙ “สามัญญผลสูตร” ข้อ ๑๓๑)

วิญญาณ ๖

เพราะวิญญาณ (ความรับรู้) เป็นเหตุ จึงมีนาม (ตัวที่เข้าไปรู้) และรูป (สิ่งที่ถูกรู้)
๑. จักขุวิญญาณ (ความรับรู้ทางตา)
๒. โสตวิญญาณ (ความรับรู้ทางหู)
๓. ฆานวิญญาณ (ความรับรู้ทางจมูก)
๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรับรู้ทางลิ้น)
๕. กายวิญญาณ (ความรับรู้ทางกาย)
๖. มโนวิญญาณ(ความรับรู้ทางใจ)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๐๖ และ
เล่ม ๑๖ “พุทธวรรค”  ข้อ ๒)

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์  ประมวลธรรม
๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา รู้รูปด้วยตา, เห็น)
๒. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู คือ รู้เสียงด้วยหู, ได้ยิน)
๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือ รู้กลิ่นด้วยจมูก, ได้กลิ่น)
๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือ รู้รสด้วยลิ้น, รู้รส)
๕. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย คือ รู้โผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้สึกสัมผัส)
๖. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ คือ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ, รู้ความนึกคิด)

สังขาร ๖

สังขาร (ความปรุงแต่ง) เกิดเพราะอวิชชา (ความไม่รู้กิเลสทุกข์) เป็นเหตุ
๑. ปุญญาภิสังขาร(การปรุงแต่งที่ชำระกิเลสออก)
๒. อปุญญาภิสังขาร(ได้ปรุงแต่งชำระกิเลสสิ้นแล้ว)
๓. อเนญชาภิสังขาร(ปรุงแต่งจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว)
๔. กายสังขาร(การปรุงแต่งทางกาย)
๕. วจีสังขาร(การปรุงแต่งทางวาจา)
๖. จิตตสังขาร(การปรุงแต่งทางจิต)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๓๕ “ปัจจยาการวิภังค์” ข้อ ๒๕๗)

สวรรค์ ๖ สมมุติเทพ (เทวดาขั้น “กามาวจร”)

      คือแดนสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นที่อยู่ของเทวดา (ผู้ติดสุข) ๖ ชั้น
๑. จาตุมหาราชิกา (สวรรค์ของผู้เริ่มเสพย์ความสุข)
๒. ดาวดึงส์ (สวรรค์ของผู้หลงเสพย์สุขจนติดยึด ยังเสพอารมณ์เพิ่ม ๆ เกิน ๆ)
๓. ยามา (สวรรค์ของผู้พรั่งพร้อมสุขที่ยิ่งเสพมากขึ้น เป็นแดนใจ ของผู้เปลื้องทุกข์ได้ ได้นาน)
๔. ดุสิต (สวรรค์ของผู้สุขสุดยอดจนอิ่มแล้วพัก แดนใจของผู้อิ่ม สงบเฉยได้แล้ว เพราะเสวยอิ่ม)
๕. นิมมานรดี (สวรรค์ของผู้ปรุงแต่งจิต สร้างความพอใจ ที่จะเสพย์สุข ละเอียดยิ่งขึ้น ภูมิจิตของ ผู้มีใจยินดี ในการเนรมิต ความปรารถนา สำเร็จได้ด้วย ความสามารถตน)
๖. ปรนิมมิตวสวัตตี (สวรรค์ของผู้มีความสุขสูงสุด  อยู่กับคลังแห่งความสุข ที่ตนมี ภูมิที่อยู่ แห่งเทพ ที่มีอำนาจ ในการเนรมิตอื่น ๆ มีผู้อื่นสนองอำนาจให้ได้อย่างเร็วไว หากจิตพ้นขั้นนี้ ได้แล้ว ย่อมเป็นพรหม)

   (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ “อุโปสถสูตร” ข้อ ๕๑๐ ,“ทางเอก” ภาค ๒ หน้า ๒๔๖-๒๕๘)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
วรรค์ ๖ (ภพที่มีอารมณ์อันเลิศ, โลกที่มีแต่ความสุข, เทวโลก, ในที่นี้หมายเฉพาะ สวรรค์ขั้น กามาพจร คือ ชั้นที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม ซึ่งเรียกเต็มว่า ฉกามาพจรสวรรค์ หรือ กามาวจรสวรรค์ ๖)
๑. จาตุมมหาราชิกา (สวรรค์ที่ท้าวมหาราช ๔ หรือท้าวจตุโลกบาล ปกครอง คือ ท้าวธตรฐ จอมคนธรรพ์ ครองทิศตะวันออก; ท้าววิรูฬหก จอมกุมภัณฑ์ ครองทิศใต้; ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค ครองทิศตะวันตก; ท้าวกุเวร หรือ เวสสวัณ จอมยักษ์ ครองทิศเหนือ)
๒. ดาวดึงส์ (แดนที่อยู่แห่งเทพ ๓๓ มีท้าวสักกะ หรือพระอินทร์เป็นจอมเทพ บางทีเรียก ไตรตรึงส์)
๓. ยามา (แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ปราศจากทุกข์ มีท้าวสุยาม เป็นผู้ปกครอง)
๔. ดุสิต (แดนที่อยู่แห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน มีท้าวสันดุสิต เป็นจอมเทพ ถือกันว่า เป็นที่อุบัติ ของพระโพธิสัตว์ ในพระชาติสุดท้าย ก่อนจะเป็น พระพุทธเจ้า และเป็นที่อุบัติ ของพระพุทธมารดา)
๕. นิมมานรตี (แดนที่อยู่แห่งเทพผู้มีความยินดีในการเนรมิต มีท้าวสุนิมมิต เป็นจอมเทพ ถือกันว่า เทวดาชั้นนี้ ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมนิรมิตได้เอง)
๖. ปรนิมมิตวสวัตตี (แดนที่อยู่แห่งเทพ ผู้ยังอำนาจให้เป็นไป ในสมบัติ ที่ผู้อื่นนิรมิตให้ คือ เสวยสมบัต ิที่เทพพวกอื่น นิรมิตให้ มีท้าววสวัตตี เป็นจอมเทพ)

สัมมาทิฏฐิที่เป็นอนาสวะ ๖
(ทิฐิรอบในที่พัฒนา มีกำลังเข้าโลกุตระมากแล้ว)

    คือความเห็นถูกต้อง ที่ไร้กิเลสหมักหมมในสันดาน เป็นของพระอาริยะ เป็นโลกุตระ (เหนือโลกีย์) โดยมีลักษณะดังนี้
๑. ปัญญา (มีความรู้ชำแรกกิเลส รู้เห็นจริงตามสัจจะของจริง)
๒. ปัญญินทรีย์ (มีกำลังรู้ยิ่งขึ้นในการชำแรกกิเลส)
๓. ปัญญาผล (ได้รู้ผลรู้จบในการชำแรกกิเลส - มีพลังงาน static แฝง)
๔. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (วิจัยทบทวน สิ่งที่ปรุงสร้างมา)
๕. สัมมาทิฏฐิ (เป็นผลสรุปความเห็นที่ถูกต้อง สมบูรณ์ขึ้น เป็นทิฐิรอบใน ที่เจริญขึ้น)
๖. องค์แห่งมรรค (ได้เป็นองค์ที่ ๑ ของอริยมรรคองค์ ๘ - มีพลังงาน Dynamic แฝง)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๔ “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ ๒๕๘)

สาราณียธรรม ๖ (ธรรมะบริหารการอยู่ร่วมกัน)

     เป็นหลักการอยู่ร่วมกันคือ ให้ระลึกถึงกันด้วย...
๑. เมตตากายกรรม (เมตตัง กายกัมมัง) คือ เข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบด้วย เมตตา ทั้งลับ-แจ้ง
๒. เมตตาวจีกรรม (เมตตัง วจีกัมมัง) คือ เข้าไปตั้งวจีกรรม ประกอบด้วย เมตตา ทั้งลับ-แจ้ง
๓. เมตตามโนกรรม (เมตตัง มโนกัมมัง) คือ เข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วย เมตตา ทั้งลับ-แจ้ง
๔. แบ่งปันลาภแก่กันให้กับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็นสาธารณโภคี (ลาภธัมมิกา - มีลาภ ตามธรรม แห่งสาธารณโภคี)
๕. ศีลบริบูรณ์เสมอสมานกัน กับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งหลาย (สีลสามัญญตา)
๖. ความเห็นอย่างอาริยะเสมอสมานกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งหลาย (ทิฏฐิสามัญญตา)
   สาราณียธรรม ๖ ทำให้เกิดคุณธรรม คือ พุทธพจน์ ๗

(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒ “สาราณิยสูตร” ข้อ ๒๘๒)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สารณียธรรม ๖ (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุที่ ระลึกถึงกัน, หลักการ อยู่ร่วมกัน)
๑. เมตตากายกรรม (ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้า และลับหลัง คือ ช่วยเหลือ กิจธุระ ของผู้ร่วมคณะ ด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยา อาการสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้า และลับหลัง)
๒. เมตตาวจีกรรม (ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้า และลับหลัง คือ ช่วยบอกแจ้ง สิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือน ด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพ นับถือกัน ทั้งต่อหน้า และลับหลัง)
๓. เมตตามโนกรรม (ตั้งเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้า และลับหลัง คือตั้งจิต ปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่ เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตา ยิ้มแย้ม แจ่มใส ต่อกัน)
๔. สาธารณโภคี (ได้ของสิ่งใดมาก็แบ่งปันกัน คือ เมื่อได้สิ่งใดมา โดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็ไม่หวงไว้ผู้เดียว นำมาแบ่งปัน เฉลี่ยเจือจาน ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอย บริโภคทั่วกัน)
๕. สีลสามัญญตา (มีศีลบริสุทธิ์เสมอกัน กับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลัง คือ มีความประพฤต ิสุจริตดีงาม ถูกต้อง ตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจ ของหมู่คณะ)
๖. ทิฏฐิสามัญญตา (มีทิฏฐิดีงามเสมอกัน กับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลัง คือ มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญ ที่จะนำไปสู่ ความหลุดพ้น สิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา)

อบายมุข ๖

      คือทางแห่งความฉิบหาย ๖ ทาง
๑. เสพของมึนเมาให้โทษ มีโทษคือ
๑) เสียทรัพย์
๒) ก่อการทะเลาะวิวาท     
๓) เป็นบ่อเกิดแห่งโรค
๔) เป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง
๕) เป็นเหตุให้ไม่รู้จักละอาย
๖) เป็นเหตุบั่นทอนกำลังปัญญา

๒. เที่ยวกลางคืน มีโทษคือ
๑)ไม่คุ้มครองรักษาตัวเอง
๒)ไม่คุ้มครองรักษาครอบครัว
๓)ไม่คุ้มครองรักษาทรัพย์สมบัติ
๔)เป็นที่ระแวงของคนอื่น
๕)ผู้นั้นมักพูดโกหกในที่นั้น ๆ
๖)เหตุแห่งทุกข์มากมายเข้ามารุมล้อม

๓. เที่ยวดูมหรสพการละเล่น(เช่น เกมส์ การกีฬา การหาความสำราญ ในบันเทิง ฯลฯ) มีโทษคือ
๑)มีรำที่ไหน ไปที่นั่น
๒)มีขับร้องที่ไหน ไปที่นั่น
๓)มีประโคมดนตรีที่ไหน ไปที่นั่น
๔) มีเสภา(กลอนยาวประกอบดนตรี)ที่ไหน ไปที่นั่น
๕)มีเพลงที่ไหน ไปที่นั่น
๖)มีเถิดเทิง(กลองยาว)ที่ไหน ไปที่นั่น

๔. เล่นการพนัน มีโทษคือ
 ๑)ผู้ชนะย่อมก่อเวร
๒)ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป
๓)เสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน
๔)คำพูดของผู้เล่นพนันมักฟังไม่ขึ้น เชื่อถือไม่ได้
๕)ถูกผู้คนหมิ่นประมาท
๖)ไม่มีใครอยากแต่งงานด้วย เพราะเลี้ยงครอบครัวไม่ได้

๕. คบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษ คือ
๑) ชักจูงให้เป็นนักเลงการพนัน
๒)ชักจูงให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
๓)ชักจูงให้เป็นนักเลงเหล้า
๔)ชักจูงให้เป็นนักเลงหัวไม้ (ตีรันฟันแทง)
๕)ชักจูงให้เป็นคนหลอกลวง
๖)ชักจูงให้เป็นคนคดโกง

๖. เกียจคร้านการทำงาน มีโทษคือ
  ๑)มักอ้างว่าหนาวนัก จึงไม่ทำงาน
  ๒)มักอ้างว่าร้อนนัก จึงไม่ทำงาน
  ๓)มักอ้างว่าเวลายังเช้าอยู่ จึงไม่ทำง
  ๔)มักอ้างว่าเวลาเย็นแล้ว จึงไม่ทำงาน
  ๕)มักอ้างว่าหิวนัก จึงไม่ทำงาน           
   ๖)มักอ้างว่ากระหายนัก จึงไม่ทำงาน
   เมื่ออ้างเลศ ผัดเพี้ยนการงาน อยู่อย่างนี้ สมบัติที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น สมบัติที่เกิดแล้ว ก็ถึงความหมดสิ้นไป

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๑ “สิงคาลกสูตร” ข้อ ๑๗๘-๑๘๔)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อบายมุข ๖ (ช่องทางของความเสื่อม, ทางแห่งความพินาศ, เหตุย่อยยับ แห่งโภคทรัพย์)
๑. ติดสุราและของมึนเมา มีโทษ ๖ คือ ๑) ทรัพย์หมดไปๆ เห็นชัดๆ
๒) ก่อการทะเลาะวิวาท
๓) เป็นบ่อเกิดแห่งโรค
๔) เสียเกียรติเสียชื่อเสียง
๕) ทำให้ไม่รู้อาย
๖) ทอนกำลังปัญญา

๒. ชอบเที่ยวกลางคืน มีโทษ ๖ คือ
๑) ชื่อว่าไม่รักษาตัว
๒) ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย
๓) ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
๔) เป็นที่ระแวงสงสัย
๕) เป็นเป้าให้เขาใส่ความหรือข่าวลือ
๖) เป็นทางมาของเรื่องเดือดร้อนเป็นอันมาก

๓. ชอบเที่ยวดูการละเล่น มีโทษ โดยการงานเสื่อมเสีย เพราะใจกังวล คอยคิดจ้อง กับเสียเวลา เมื่อไปดูสิ่งนั้นๆ ทั้ง ๖ กรณี คือ
๑) รำที่ไหนไปที่นั้น
๒-๖) ขับร้อง-ดนตรี-เสภา-เพลง-เถิดเทิงที่ไหน ไปที่นั่น

๔. ติดการพนัน มีโทษ ๖ คือ
๑) เมื่อชนะย่อมก่อเวร
๒) เมื่อแพ้ก็เสียดายทรัพย์ที่เสียไป
๓) ทรัพย์หมดไปๆ เห็นชัดๆ
๔) เข้าที่ประชุม เขาไม่เชื่อถือถ้อยคำ
๕) เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อนฝูง
๖) ไม่เป็นที่พึงประสงค์ ของผู้ที่จะหาคู่ครอง ให้ลูกของเขา เพราะเห็นว่า จะเลี้ยงลูกเมีย ไม่ไหว

๕. คบคนชั่ว มีโทษ โดยนำให้กลายไปเป็นคนชั่ว อย่างคนที่ตนคบทั้ง ๖ ประเภท คือ ได้เพื่อน ที่จะนำให้กลายเป็น
๑) นักการพนัน
๒) นักเลงหญิง
๓) นักเลงเหล้า
๔) นักลวงของปลอม
๕) นักหลอกลวง
๖) นักเลงหัวไม้

๖. เกียจคร้านการงาน มีโทษ โดยทำให้ยกเหตุต่างๆ เป็นข้ออ้างผัดเพี้ยน ไม่ทำการงาน โภคะใหม่ ก็ไม่เกิด โภคะที่มีอยู่ ก็หมดสิ้นไป คือให้อ้างไปทั้ง ๖ กรณีว่า ๑-๖ หนาวนัก -ร้อนนัก -เย็นไปแล้ว -ยังเช้านัก -หิวนัก -อิ่มนัก แล้วไม่ทำการงาน

อปริหานิยธรรม ๖

     คือธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อมจากกุศลธรรม
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน (ที่เป็นโทษ)
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบคุย (นอกกถาวัตถุ)
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ (ที่ชั่ว)
๕. ความเป็นผู้ว่าง่าย
๖. ความเป็นผู้มีมิตรดี

      ก็ชนเหล่าใด ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชนเหล่านั้นทั้งปวง จะไม่เสื่อมจาก กุศลธรรม เพราะธรรม ๖ ประการนี้

  (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒ “อปริหานิยสูตร” ข้อ ๒๙๓)

อวรรณะ ๖

      คือการทำตัวเป็นคนน่าตำหนิติเตียน ๖ อย่าง
๑. เป็นคนเลี้ยงยาก (ทุพภระ)
๒. บำรุงยาก (ทุปโปสะ)
๓. มักมาก (มหิจฉะ)
๔. ไม่รู้จักพอ (อสันตุฏฐิ)
๕. คลุกคลีกับกองกิเลส (สังคณิกา)
๖. เกียจคร้าน (โกสัชชะ)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑ “ปฐมปาราชิกกัณฑ์” ข้อ ๒๐)

อภิญญา ๖

    คือความรู้อันวิเศษยิ่ง ที่ทำให้กิเลสหมดไป
๑. อิทธิวิธี (ความเก่งหลายอย่าง ในการที่จิตมีอานุภาพ มีฤทธิ์สู้กิเลสได้)
๒. ทิพพโสต ( สามารถแยกแยะการได้ยินสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง แยกแยะกิเลสได้ เช่น กิเลส ปะปนมา กับคำร่ำลือ กับเสียง ที่เกินกว่า คนธรรมดา เขาจะรู้นัยยะได้)
๓. เจโตปริยญาณ (กำหนดรู้ความแตกต่างในจิตขั้นอื่น ๆ ของตนได้รอบถ้วน กำหนดรู้ว่า มีกิเลสอื่นใด บ้างหรือไม่ )
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (การย้อนระลึกถึง การเกิดกิเลสเก่าก่อน มารู้อาริยสัจจะ จนหายโง่ จากอวิชชา)
๕. ทิพพจักขุ (ตาทิพย์มองทะลุกิเลสเห็นการเกิด-การดับของจิต ที่ดับเชื้อกิเลส แล้วเกิดเป็น สัตว์เทวดา หรือ สัตว์อาริยะ)
๖. อาสวักขยญาณ (ญาณที่รู้แจ้ง การหมดสิ้น อาสวะกิเลส ของตน)
  
(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๑ “ทสุตธารสูตร” ข้อ ๔๓๑)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อภิญญา ๖ (ความรู้ยิ่งยวด)
๑. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้)
๒. ทิพพโสต (ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์)
๓. เจโตปริยญาณ (ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้)
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ญาณที่ทำให้ระลึกถึงชาติได้)
๕. ทิพพจักขุ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์)
๖. อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป)

๕ ข้อแรกเป็นโลกียะ (โลกียอภิญญา) ข้อท้ายเป็นโลกุตตระ

โอวาทปาฏิโมกข์ ๖

๑. การไม่เข้าไปว่าร้ายกัน (อนูปวาโท)
๒. การไม่เข้าไปฆ่า(ทำร้าย)กัน (อนูปฆาโต)
๓. ความสำรวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกเข จ สังวโร)
๔. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการกิน (มัตตัญญุตา จ ภัตตสมิง)
๕. การนอนการนั่งอันสงัด (ปันตัญจ สยนาสนัง)
๖. การประกอบความเพียรในอธิจิต (อธิจิตเต จ อาโยโค)

        (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ข้อ ๒๔)

 

พุทธสิกขา หมวด ๗

พุทธพจน์ ๗

การหมั่นระลึกถึงกัน (สาราณียธรรม ๖) ย่อมก่อเกิดคุณธรรมตามมา เป็นลำดับ
๑. สาราณียะ (รู้จักระลึกถึงกัน คำนึงถึงคนที่ควรเอื้อ)
๒. ปิยกรณะ (รักกันสัมพันธ์ดี -ปรารถนาดีต่อกัน)
๓. ครุกรณะ (เคารพกัน รู้จักฐานะ รู้จักคุณวุฒิ)
๔. สังคหะ (สงเคราะห์เกื้อกูล ช่วยเหลือกัน)
๕. อวิวาทะ (ไม่วิวาทแตกแยกกัน)
๖. สามัคคียะ (พร้อมเพรียงกัน มีพลังรวมยิ่งใหญ่)
๗. เอกีภาวะ (เป็นปึกแผ่น มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒ “โกสัมพีสูตร” ข้อ ๒๘๓-๒๘๔)

ความเสื่อมของชาวพุทธ ๗

๑. ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ (ภิกขุทัสสนัง หาเปติ)
๒. ละเลยการฟังธรรม (สัทธัมมัสสวนัง ปมัชชติ)
๓. ไม่ศึกษาในอธิศีล [ศีลชั้นสูง (อธิสีเล น สิกขติ)]
๔. ไม่เลื่อมใสอย่างมากในภิกษุ ทั้งที่เป็นเถระ (ผู้ใหญ่) เป็นผู้ใหม่ และปานกลาง
๕. ตั้งจิตติเตียน คอยเพ่งโทษฟังธรรม (ธัมมัง สุณาติรันธคเวสี)
๖. แสวงหาเขตบุญ ภายนอกศาสนาพุทธ (พหิทธา ทักขิเณยยัง คเวสติ)
๗. ทำสักการะก่อนในเขตบุญ ภายนอกศาสนาพุทธ (ตัตถะ จ ปุพพการัง กโรติ)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ “หานิสูตร” ข้อ ๒๗)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
มีนัยยะตรงกันข้ามกันคือ
อุบาสกธรรม ๗ (ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก)
๑. ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ
๒. ไม่ละเลยการฟังธรรม
๓. ศึกษาในอธิศีล
๔. มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเถระ นวกะ และปูนกลาง
๕. ไม่ฟังธรรมด้วยตั้งใจจะคอยเพ่งโทษติเตียน
๖. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอกหลักคำสอนนี้
๗. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุง พระพุทธศาสนา

ญาณของพระโสดาบัน ๗

หลังจากฆ่ากิเลสหยาบ (วีติกกมกิเลส) อบายภูมิ ๔ แล้ว
เกิดญาณ (รู้แจ้งธรรม) ของพระโสดาบัน ๗ อย่าง
๑. รู้แล้วละ (ญาณที่ ๑) คือกำลังเรียนรู้กิเลสกลาง (ปริยุฏฐาน -กิเลส)ได้แก่นิวรณ์ ๕ เพื่อละกิเลสนั้น แต่ยังมีทะเลาะ วิวาทกัน ด้วยหอกปาก (มุขสัตติ) อยู่ แม้ละ ปริยุฏฐานกิเลส ยังไม่ได้ ก็รู้ ไม่มีที่จะไม่รู้ และมีทิฐิ ตั้งปณิธานจิตไว้ เพื่อไปสู่การตรัสรู้ สัจจะทั้งหลาย
๒. ทำให้มาก (ญาณที่ ๒) คือเสพคุ้น (อาเสวนา) ทำให้เกิดผลเจริญ (ภาวนา) ทำให้มาก (พหุลีกัมมัง) กระทั่ง ระงับดับกิเลสตนได้
๓. เชื่อมั่นธรรมวินัยนี้ (ญาณที่ ๓) คือชัดเจนว่า การปฏิบัติอื่น นอกธรรมวินัยนี้ ไม่สามารถ ดับกิเลส สิ้นเกลี้ยง ไม่เป็นโลกุตระ
๔. ผิดรีบแก้ (ญาณที่ ๔) คือรีบแก้ไขความผิดของตน เหมือนเด็กอ่อน นอนหงาย มือเท้า ถูกถ่านไฟเข้าแล้ว ก็รีบชักหนีเร็วพลัน
๕. ทำกิจตน - กิจท่าน (ญาณที่ ๕) คือทั้งศึกษา ในอธิศีล-อธิจิต-อธิปัญญา ทั้งขวนขวาย กิจใหญ่น้อย ของเพื่อนพรหมจรรย์ เหมือนวัวแม่ลูกอ่อน เล็มหญ้ากินด้วย ชำเลืองดูลูกด้วย
๖. มีกำลัง (ญาณที่ ๖) คือมีอำนาจในตน มีพลังทำประโยชน์ ทำไว้ในใจ กำหนดด้วยจิต ทั้งปวง เงี่ยโสต ฟังธรรมวินัย ของตถาคต อันบัณฑิตแสดงอยู่ มีกำลังจิต แยกแยะถูกผิดได้ชัด รู้ตนว่ามีผล ได้บรรลุแล้ว
๗. ปลื้มใจในผล (ญาณที่ ๗) คือได้รู้ธรรม รู้แก่น (อรรถ) รู้จริงครบถ้วนธรรม ปลื้มใจในผล ที่ตนได้ เห็นผลสุข ที่จะมียิ่งขึ้น ยิ่งเข้าใจชัด สมบูรณ์

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ “โกสัมพิยสูตร” ข้อ ๕๔๓ -๕๔๙)

ธรรมลักษณะ ๗ ประการของเวทนา

๑. รู้จักเวทนา ๓
๒. รู้เหตุเกิดเวทนา (เพราะผัสสะเกิด)
๓. รู้ความดับเวทนา (เพราะผัสสะดับ)
๔. รู้วิธีดับเวทนา
๕. รู้อัสสาทะของเวทนา
๖. รู้อาทีนวะของเวทนา
๗. รู้นิสสรณะของเวทนา (นำออกเสียซึ่งฉันทราคะ)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๘ “ภิกขุสูตร” ข้อ ๔๓๘)

ทักขิเณยยบุคคล ๗

คือผู้ควรได้รับการทำบุญ เพื่อผลอันเจริญ
๑. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน) ได้สัมผัสวิโมกข์๘ ด้วยกาย และสิ้นอาสวะแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา (หมายเอา พระอรหันต์ ผู้ได้เจโตวิมุติ ขั้นอรูปสมาบัติ มาก่อน ที่จะได้ ปัญญาวิมุตติ)
๒. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) ไม่ได้สัมผัส วิโมกข์๘ ด้วยกาย แต่กิเลสอาสวะ สิ้นเกลี้ยง ด้วยปัญญา (หมายเอา พระอรหันต์ ผู้ได้ปัญญาวิมุต ก็สำเร็จเลยทีเดียว)
๓. กายสักขี (ผู้มีกายบริสุทธิ์ เป็นหลักฐาน ผู้เป็นพยาน ด้วยนามกาย หรือ ผู้ประจักษ์กับตัว) ได้สัมผัส วิโมกข์๘ ด้วยกาย อาสวะบางส่วน ก็สิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา (หมายเอา พระอาริยบุคคล ผู้บรรลุ โสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่ออรหัต ที่มีสมาธินทรีย์ แก่กล้า ในการปฏิบัติ)
๔. ทิฏฐิปปัตตะ (ผู้หลุดพ้นด้วยสัมมาทิฏฐิ) คือ ท่านที่เข้าใจ อาริยสัจ ถูกต้องแล้ว และ อาสวะ บางส่วน ก็สิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา (หมายเอา พระผู้บรรลุ โสดาปัตติผล ขึ้นไป จนถึงเป็น ผู้ปฏิบัติ เพื่ออรหัต ที่มีปัญญา และ ปัญญินทรีย์แก่กล้า ในการปฏิบัติ จนเกิด ปัญญาพละ)
๕. สัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา) คือ ท่านที่เข้าใจ อาริยสัจ ถูกต้องแล้ว และ อาสวะบางส่วน ก็สิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา แต่มีศรัทธา เป็นตัวนำหน้า (หมายเอา ผู้บรรลุ โสดาปัตติผลแล้ว ขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่ออรหัต ที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า ในการปฏิบัติ)
๖. ธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม) คือ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อบรรลุ โสดาปัตติผล ที่มีปัญญินทรีย์ แก่กล้า อบรมอริยมรรค โดยมีปัญญา เป็นตัวนำ (ท่านผู้นี้ ถ้าบรรลุผลแล้ว จะกลายเป็น ทิฏฐิปัตตะ)
๗. สัทธานุสารี (ผู้แล่นตามไปด้วยศรัทธา) คือ ผู้ปฏิบัติ เพื่อบรรลุ โสดาปัตติผล มีสัทธินทรีย์ แก่กล้า อบรมอริยมรรค โดยมีศรัทธา เป็นตัวนำ (ท่านผู้นี้ ถ้าบรรลุผลแล้ว จะกลายเป็น สัทธาวิมุติ)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๓๖ ภาคหลัง “เอกกนิทเทส” ข้อ ๔๐ – ๔๖ และ “สัตตกนิทเทส” ข้อ ๑๔๙)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อริยบุคคล ๗ (บุคคลผู้ประเสริฐ) เรียงจากสูงลงมา
๑. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ท่านที่ได้สัมผัส วิโมกข์๘ ด้วยกาย และ สิ้นอาสวะแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอา พระอรหันต์ ผู้ได้เจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมบัติ มาก่อน ที่จะได้ ปัญญาวิมุตติ)
๒. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา คือ ท่านที่มิได้สัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แต่สิ้นอาสวะแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอา พระอรหันต์ ผู้ได้ปัญญาวิมุตติ ก็สำเร็จเลยทีเดียว)
๓. กายสักขี (ผู้เป็นพยาน ด้วยนามกาย หรือ ผู้ประจักษ์กับตัว คือ ท่านที่ได้สัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย และอาสวะ บางส่วน ก็สิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอา พระอริยบุคคล ผู้บรรลุ โสดาปัตติผลแล้ว ขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่ออรหัต ที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้า ในการปฏิบัติ)
๔. ทิฏฐิปปัตตะ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ คือ ท่านที่เข้าใจ อริยสัจจธรรม ถูกต้องแล้ว และอาสวะ บางส่วน ก็สิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอา พระอริยบุคคล ผู้บรรลุ โสดาปัตติผลแล้ว ขึ้นไป จนถึง เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่ออรหัต ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า ในการปฏิบัติ)
๕. สัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา คือ ท่านที่เข้าใจ อริยสัจจธรรม ถูกต้องแล้ว และอาสวะ บางส่วน ก็สิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา แต่มีศรัทธา เป็นตัวนำหน้า หมายเอา พระอริยบุคคล ผู้บรรลุ โสดาปัตติผลแล้ว ขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่ออรหัต ที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า ในการปฏิบัติ)
๖. ธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม หรือผู้แล่นตามไปด้วยธรรม คือ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อบรรลุ โสดาปัตติผล ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรค โดยมีปัญญา เป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ ถ้าบรรลุผลแล้ว กลายเป็น ทิฏฐิปัตตะ)
๗. สัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามศรัทธา หรือผู้แล่นตาม ไปด้วยศรัทธา คือ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อบรรลุ โสดาปัตติผล ที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรค โดยมีศรัทธา เป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ ถ้าบรรลุผลแล้ว กลายเป็น สัทธาวิมุต)

ธาตุความเพียร (วายามะ) ๗

คือสภาวะขั้นตอนของความเพียรภายในจิต
๑. อารัพภธาตุ(ริเริ่มคิด) ความเพียรเป็นเหตุปรารภ (ริเริ่ม)
๒. อารัมภธาตุ (ตั้งต้นเพียร) ปรารภดำริ
๓. นิกกมธาตุ (เพียรไม่หยุดยั้ง) เพียรเป็นเครื่องก้าวไป
๔. ปรักกมธาตุ (บากบั่นมุ่งมั่นเพียร) ความเพียรก้าวไปข้างหน้า
๕. ถามธาตุ (ดำริมีกำลัง เรี่ยวแรงเพียรแข็งแกร่ง) ความเพียรเป็นกำลัง
๖. ธิติธาตุ (ความเพียรดำริตั้งมั่น) ความเพียรเป็นเครื่องทรงไว้
๗. อุปักกมธาตุ (ความเพียรในจิตสำเร็จผลบริบูรณ์) ดำริสำเร็จเต็มรูป เหมือนลูกศร จะออกจากแล่ง พยายาม ที่จะกระทำ ให้เกิดกรรม ออกมา

(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒ “อัตตการีสูตร” ข้อ ๓๐๙ ,
อรรถกถาแปลเล่ม ๓๐ “กายสูตร” หน้า ๑๙๔
อรรถกถาแปลเล่ม ๗๕ “จิตตุปปาทกัณฑ์” หน้า ๓๘๕ และ
สมาธิพุทธ “สังกัปปะ” หน้า ๓๕๙ -๓๖๐)

โพชฌงค์ ๗

คือองค์ธรรม ที่เดินสู่การตรัสรู้ คือเครื่องย่ำยีมาร (กิเลส)
พระพุทธเจ้าปรากฏ โพชฌงค์ ๗ จึงปรากฏได้
๑. สติสัมโพชฌงค์ (ความระลึกรู้แจ้งกิเลส) เปรียบเสมือนจักรแก้ว
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ความเฟ้นธรรม พิจารณาแยกแยะกิเลส) เปรียบเสมือนช้างแก้ว
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ความพากเพียรลดละกิเลส) เปรียบเสมือนม้าแก้ว
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ความอิ่มใจกำจัดกิเลสได้) เปรียบเสมือนแก้วมณี
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ความสงบใจจากกิเลส) เปรียบเสมือนนางแก้ว
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ความได้สภาวะจิตตั้งมั่น) เปรียบเสมือนคหบดีแก้ว
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ความมีจิตเที่ยงธรรม เป็นกลาง) เปรียบเสมือนปรินายกแก้ว

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๑ ข้อ ๘๑ , เล่ม ๑๙ “จักกวัตติสูตร ข้อ ๕๐๕ - ๕๐๗)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
โพชฌงค์ ๗ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้)
๑. สติ (ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง)
๒. ธัมมวิจยะ (ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่องสืบค้นธรรม)
๓. วิริยะ (ความเพียร)
๔. ปีติ (ความอิ่มใจ)
๕. ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ)
๖. สมาธิ (ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์)
๗. อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง)
แต่ละข้อ เรียกเต็ม มีสัมโพชฌงค์ต่อท้าย เป็น สติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น.

เมถุนสังโยค ๗

คือกิเลสที่ผูกมัดจิตใจไว้กับเมถุน (การมีคู่)
๑. ยินดีการขัดสี ลูบไล้ ให้อาบน้ำ และนวดฟั้น ของมาตุคาม (หญิง) แล้วปลื้มใจ – สุขใจ
๒. กระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม (หญิง) แล้วปลื้มใจ – สุขใจ
๓. เพ่งดู จ้องดูตา (ฟาดเนตร) กับมาตุคาม (หญิง) แล้วปลื้มใจ – สุขใจ
๔. ได้ฟังเสียงมาตุคาม (หญิง) หัวเราะ ขับร้อง ร้องไห้ ที่ข้างนอกฝา นอกกำแพง แล้วปลื้มใจ – สุขใจ
๕. ตามนึกถึงการหัวเราะ การพูด การเล่นหัว กับมาตุคาม (หญิง) ในกาลก่อน แล้วปลื้มใจ – สุขใจ
๖. ได้เห็นคฤหบดี บุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วย กามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ แล้วปลื้มใจ – สุขใจ
๗. ประพฤติพรหมจรรย์ ตั้งจิตปรารถนา เพื่อเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ แล้วปลื้มใจ – สุขใจ

(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ “เมถุนสูตร” ข้อ ๔๗)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
เมถุนสังโยค ๗ (อาการที่เกี่ยวข้องกับเมถุน หรือนับเนื่องในเมถุน, ความประพฤติ พัวพันกับเมถุน, เครื่องผูกมัดไว้ กับเมถุน)
สมณะ ก็ดี พราหมณ์ ก็ดี บางคน ปฏิญาณตนว่า เป็นพรหมจารี เขามิได้ร่วมประเวณี กับมาตุคาม ก็จริง แต่ยังยินดี ปลาบปลื้ม ชื่นใจ ด้วยเมถุนสังโยค ๗ อย่างใด อย่างหนึ่ง พรหมจรรย์ ของผู้นั้น ยังชื่อว่า ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย เป็นการประพฤติ พรหมจรรย์ ที่ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วย เมถุนสังโยค ย่อมไม่พ้น ไปจากทุกข์ กล่าวคือ
๑. ยินดีการลูบไล้ ขัดสี ให้อาบน้ำ และการนวดฟั้น ของมาตุคาม ปลื้มใจ ด้วยการบำเรอนั้น
๒. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ยังกระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอก กับมาตุคาม ปลื้มใจ ด้วยการกระทำ อย่างนั้น
๓. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ยังเพ่งจ้องดูตากับมาตุคาม ปลื้มใจด้วยการทำอย่างนั้น
๔. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ยังชอบฟังเสียงมาตุคามหัวเราะ ขับร้อง หรือร้องให้อยู่ ข้างนอกฝา นอกกำแพง แล้วปลื้มใจ
๕. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ยังชอบตามนึกถึงการเก่า ที่ได้เคยหัวเราะ พูดจาเล่นหัว กับมาตุคาม แล้วปลื้มใจ
๖. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ชอบดูคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วย กามคุณทั้ง ๕ บำรุง บำเรอตนอยู่ แล้วปลื้มใจ
๗. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ประพฤติพรหมจรรย์ ตั้งปรารถนา เพื่อจะได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพ องค์ใดองค์หนึ่ง

ลักษณะของจิตวิญญาณ ๗

๑. ทูรังคมัง (ไปได้ไกล – เดินทางไวกว่าแสง)
๒. เอกจรัง (ไปแต่เพียงผู้เดียวไม่เกี่ยวกับใคร)
๓. อสรีรัง (ไม่มีรูปร่าง หน้าตา หรือรูปทรง)
๔. คุหาสยัง (อาศัยกายเป็นขอบเขตคูหากำบังอยู่)
๕. อนิทัสสนัง (ไม่อาจมองเห็นได้ ไม่อาจชี้บอกได้)
๖. อนันตัง (ไม่มีขอบเขต ไม่มีที่สุด)
๗. สัพพโต ปภัง (แจ่มใส แผ่กระจายไป โดยประการทั้งปวง)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๙ “เกวัฏฏสูตร” ข้อ ๓๕๐ และ เล่ม ๒๕ “จิตตวรรค” ข้อ ๑๓)

วัตรบท ๗

คือหลักปฏิบัติที่ทำให้เป็นผู้มีจิตใจสูงยิ่ง (เป็นท้าวสักกะจอมเทพ หรือ พระอินทร์)
๑. เลี้ยงบิดามารดา ตลอดชีวิต (มาตาเปติภโร)
๒. อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ตลอดชีวิต (กุเลเชฏฐาปจายี)
๓. พูดจาสุภาพ ตลอดชีวิต (สัณหวาโจ)
๔. ไม่พูดส่อเสียด ตลอดชีวิต (อปิสุณวาโจ)
๕. ยินดีในการสละ แจกจ่ายทาน ตลอดชีวิต (โวสสัคครโต ทานสังวิภาครโต)
๖. พูดคำสัตย์ ตลอดชีวิต (สัจจวาโจ)
๗. ไม่โกรธตลอดชีวิต (อโกธโน) แม้ความโกรธเกิดขึ้น ก็รีบกำจัดโดยทันที

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ “ปฐมเทวสูตร” ข้อ ๙๐๖)

วิญญาณฐิติ ๗

คือการดำรงอยู่ของวิญญาณ (ความรับรู้) ๗ จำพวก
๑. พวกมีกาย(นามกาย)ต่างกัน มีสัญญา (กำหนดหมาย) ต่างกัน
เช่น พวกมนุษย์ เทพบางพวก เปรต (วินิปาติกสัตว์) บางพวก
๒. พวกมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน
เช่น เทพพวกพรหมกายิกา (มีเมตตาฌาน) ผู้เกิดในภูมิ ปฐมฌาน
๓. พวกมีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน
เช่น เทพสว่าง พวกอาภัสราพรหม (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง)
๔. พวกมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
เช่น พวกเทพมืด สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืดเป็นโชค)
๕. พวกเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ (ความว่างไม่มีที่สุด พ้นรูปสัญญา)
๖. พวกเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ (ความรับรู้ไม่มีที่สุด พ้นเสพความว่าง)
๗. พวกเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ (ความดับดิ่งไม่มีอะไร ๆ ไว้เลย)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ “จิตตสูตร” ข้อ ๔๑)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
วิญญาณฐิติ ๗ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ)
๑. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า วินิปาติกะ (เปรต) บางเหล่า)
๒. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพ จำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิ ปฐมฌาน
๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ
๔. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ
๕. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ
๖. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้น วิญญาณัญจายตนะ
๗. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ

วิธีละอาสวะ ๗

คือกิเลสที่หมักหมมในสันดาน ละได้ด้วย...
๑. อาสวะที่พึงละได้ด้วยการเห็นแจ้ง (ทัสสนา)
๒. อาสวะที่พึงละได้ด้วยการสำรวม-สังวรระวัง (สังวรา)
๓. อาสวะที่พึงละได้ ด้วยการพิจารณา เลือกเฟ้น ส้องเสพ (ปฏิเสวนา)
๔. อาสวะที่พึงละได้ ด้วยการอดทน ข่มฝืน (อธิวาสนา)
๕. อาสวะที่พึงละได้ ด้วยการหลีกเว้น ทั้งหมด (ปริวัชชนา)
๖. อาสวะที่พึงละได ้ด้วยการบรรเทาลง (วิโนทนา)
๗. อาสวะที่พึงละได ้ด้วยการอบรมให้เจริญ ฝึกฝนให้เกิดผล (ภาวนา)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ “สัพพาสวสังวรสูตร” ข้อ ๑๑)

สภาวะจิตของผู้บรรลุอมตะนิพพาน ๗

เป็นสภาวะจิตที่กิเลสทั้งปวงสิ้นเกลี้ยงแล้ว คือ
๑. นิพพานเที่ยงแท้แล้วไม่เปลี่ยนแปลง (นิจจัง) .
๒. ถาวร, คงที่ ไม่มีเสื่อมอีก (ธุวัง)
๓. ยั่งยืนตลอดกาล ไม่กลับกลอก (สัสสตัง)
๔. ไม่แปรปรวนเป็นอื่นอีกเป็นธรรมดา (อวิปริณามธัมมัง)
๕. ไม่มีอะไร ๆ หักล้างได้ ไม่มีอะไรจะมาเอากลับคืนไปได้ (อสังหิรัง)
๖. ไม่กลับฟื้นกำเริบอีก (อสังกุปปัง)
๗. ไม่มีอะไรเปรียบได้ในที่ไหน ๆ (นัตถิ อุปมา)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๓๐ “โสฬสมาณวกปัญหานิทเทส” ข้อ ๖๕๘ -๖๖๐)

สัทธรรม ๗

คือธรรมของคนดีที่มีสัมมาทิฏฐิ
๑. ศรัทธา (ความเชื่อมั่นอย่างสัมมาทิฏฐิ)
๒. หิริ (ละอายต่อการกระทำผิด)
๓. โอตตัปปะ (เกรงกลัวต่อการกระทำผิด)
๔. พหูสูต (ฟังมากศึกษามาก)
๕. วิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร)
๖. สติ (ระลึกรู้ตัวไม่เผลอใจ)
๗. ปัญญา (รู้แจ้งชำแรกกิเลสได้)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๑ “สังคีติสูตร” ข้อ ๓๓๐)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
เรียกว่า
สัทธัมมสมันนาคโต ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการคือ
๑. มีศรัทธา
๒. มีหิริ
๓. มีโอตตัปปะ
๔. เป็นพหูสูต
๕. มีความเพียรอันปรารภแล้ว
๖. มีสติมั่นคง
๗. มีปัญญา

สัปปายะ / อสัปปายะ ๗

สัปปายะ คือสิ่งที่เหมาะควร แก่การเพิกถอนกิเลส
๑. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะควร)
๒. โคจรสัปปายะ (ที่ไปซึ่งเหมาะควร)
๓. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะควร)
๔. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่เหมาะควรเกี่ยวข้อง)
๕. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะควร)
๖. อุตุสัปปายะ (สภาพแวดล้อมที่เหมาะควร)
๗. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะควร)

อสัปปายะ คือสิ่งที่ไม่เหมาะควร แก่การเพิกถอนกิเลส
๑. อาวาสอสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งไม่เหมาะควร)
๒. โคจรอสัปปายะ (ที่ไปซึ่งไม่เหมาะควร)
๓. ภัสสอสัปปายะ (การพูดคุยที่ไม่เหมาะควร)
๔. ปุคคลอสัปปายะ (บุคคลที่ไม่เหมาะควรเกี่ยวข้อง)
๕. โภชนอสัปปายะ (อาหารที่ไม่เหมาะควร)
๖. อุตุอสัปปายะ (สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะควร)
๗. อิริยาปถอสัปปายะ (อิริยาบถที่ไม่เหมาะควร)

(อรรถกถาแปลเล่ม ๒ “ตติยปาราชิกวรรณนา” หน้า ๓๖๘)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สัปปายะ ๗ (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุน ในการบำเพ็ญภาวนา ให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิ ตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย)
๑. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ)
๒. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้าน หรือชุมชน ที่มีอาหาร บริบูรณ์ อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป)
๓. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ ๑๐ และพูด แต่พอประมาณ)
๔. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญา เป็นที่ปรึกษา เหมาะใจ)
๕. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก)
๖. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศ ธรรมชาติแวดล้อม ที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น)
๗. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกจับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจน มีการเคลื่อนไหว ที่พอดี

สัปปุริสธรรม ๗

คือธรรมของสัตบุรุษ (คนที่มีความเห็นถูกต้อง)
ที่รู้องค์ประกอบทั้งหมด
๑. ธัมมัญญุตา (เป็นผู้รู้ธรรม รู้จักทุกองค์ประกอบ)
๒. อัตถัญญุตา (เป็นผู้รู้สารประโยชน์ รู้จักเนื้อหาเป้าหมาย)
๓. อัตตัญญุตา (เป็นผู้รู้จักตนเอง)
๔. มัตตัญญุตา (เป็นผู้รู้จักประมาณสัดส่วน)
๕. กาลัญญุตา (เป็นผู้รู้เวลาอันควร รู้จักกาลสมัย)
๖. ปริสัญญุตา (เป็นผู้รู้จักหมู่คน - หมู่กลุ่มบริษัทอื่น)
๗. ปุคคลปโรปรัญญู (เป็นผู้รู้จักบุคคลอื่น)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ “ธัมมัญญูสูตร” ข้อ ๖๕)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สัปปุริสธรรม ๗ (ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี, ธรรมของผู้ดี)
๑. ธัมมัญญุตา (ความรู้จักธรรม รู้หลัก หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์ แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่น ภิกษุรู้ว่า หลักธรรม ข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ ทรงทราบว่า หลักการปกครอง ตามราชประเพณี เป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำ เหตุอันนี้ๆ หรือกระทำ ตามหลักการ ข้อนี้ๆ จึงจะให้เกิดผล ที่ต้องการ อันนั้นๆ เป็นต้น)
๒. อัตถัญญุตา (ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้น สืบเนื่องจาก การกระทำ หรือความเป็นไป ตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรม หรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมาย ว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมาย อย่างไร กำหนดไว้ หรือพึงปฏิบัติ เพื่อประสงค์ ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่ มีความมุ่งหมาย อย่างไร เมื่อทำไปแล้ว จะบังเกิดผลอะไรบ้าง ดังนี้เป็นต้น)
๓. อัตตัญญุตา (ความรู้จักตน คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติ ให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไข ปรับปรุงต่อไป)
๔. มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณ ในการรับ และบริโภค ปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณ ในการใช้จ่าย โภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์ รู้จักประมาณ ในการลงทัณฑอาชญา และในการเก็บภาษี เป็นต้น)
๕. กาลัญญุตา (ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลา ที่จะต้องใช้ ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น)
๖. ปริสัญญุตา (ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติ ต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้ เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยา อย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ ควรสงเคราะห์ อย่างนี้ เป็นต้น)
๗. ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา (ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่าง แห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อน อย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติ ต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้จะตำหนิ ยกย่อง และแนะนำ สั่งสอนอย่างไร เป็นต้น)

สัมมาสังกัปปะ ๗ ที่เป็นอนาสวะ เป็นมรรคของพระอาริยะ

คือ ความดำริถูกต้อง ที่ไม่มีกิเลสแล้ว
๑. ความตรึก (ตักโก)
๒. ความวิตก (วิตักโก)
๓. ความดำริ (สังกัปโป)
(ผลที่ดี ย่อมมีชำนาญ ในครรลองแห่งใจ จะคิด-ไม่คิด ก็ย่อมทำได้ ตามประสงค์
เพราะมี “เจโตวสิปัตตะ”)
ทั้ง ๓ ข้อนี้ เป็นฝ่ายไตร่ตรอง -ริเริ่มเคลื่อนไหว (dynamic ขั้วลบ) ที่สัมปทาแล้ว
๔. ความแน่วแน่ (อัปปนา)
๕. ความแนบแน่น (พยัปปนา)
๖. ความปักใจมั่น (เจตโส อภินิโรปนา)
ทั้ง ๓ ข้อนี้ เป็นฝ่ายตั้งมั่น (static ขั้วบวก ที่สมบูรณ์) เป็นแกนกำลัง ให้ขับเคลื่อน
๗. วจีสังขารเตรียมพูด (วจีสังขาโร)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๔ “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ ๒๖๓)

สีจีวรต้องห้าม ๗

พระพุทธเจ้าตรัสห้ามภิกษุ ไม่ควรใช้จีวรสีดังนี้
๑. สีครามล้วน (น้ำเงิน)
๒. สีเหลืองล้วน
๓. สีแดงล้วน
๔. สีบานเย็นล้วน (สีแดงอมม่วง)
๕. สีดำล้วน
๖. สีแสดล้วน (สีเหลืองปนแดง)
๗. สีชมพูล้วน (สีแดงเจือขาว หรือ สีแดงอ่อน)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๕ “จีวรขันธกะ” ข้อ ๑๖๙)

แสงอรุณ ๗

เมื่อดวงอาทิตย์(มรรคองค์ ๘) จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อนเป็นนิมิต (เครื่องหมาย) มาก่อนคือ แสงอรุณ (แสงเงิน แสงทอง)
๑. ความเป็นผู้มีมิตรดี (กัลยาณมิตตตา)
๒. ความถึงพร้อมด้วยศีล (สีลสัมปทา)
๓. ความถึงพร้อมด้วยความพอใจ (ฉันทสัมปทา)
๔. ความถึงพร้อมด้วยตน (อัตตสัมปทา)
๕. ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (ทิฏฐิสัมปทา)
๖. ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท (อัปปมาทสัมปทา)
๗. ความถึงพร้อมด้วยการทำในใจ โดยแยบคาย พิจารณาลงไป ถึงที่เกิด (โยนิโสมนสิการ สัมปทา)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙ “สุริยเปยยาล” ข้อ ๑๒๙-๑๓๖)

อธิกรณสมถะ ๗

คือวิธีระงับข้อวิวาท(อธิกรณ์)ที่เกิดขึ้นแล้ว
๑. สัมมุขาวินัย คือ เมื่อเกิดการวิวาทกัน ก็ให้พร้อมเพรียงกันประชุม โดยพร้อมหน้าสงฆ์ พร้อมหน้า บุคคล พร้อมหน้าวัตถุ และพร้อมหน้าธรรม แล้วพิจารณา ตามแบบแผนธรรม ให้ข้อวิวาทนั้น ระงับลงได้ ต่อหน้ากัน
๒. สติวินัย คือ มีการโจท(กล่าวหา)ภิกษุ(อรหันต์) ด้วยอาบัติ(ความผิด)หนัก สงฆ์ต้องให้ ข้อวิวาท ระงับลง ด้วยการถือว่า ภิกษุผู้เป็นอรหันต์นั้น เป็นผู้มีสติเต็มที่ ย่อมไม่ทำผิด จึงยกฟ้องเสีย
๓. อมูฬหวินัย คือ มีการโจทภิกษุ (ผู้หายเป็นบ้าแล้ว) ด้วยความผิดหนัก (ในขณะที่ เป็นบ้าอยู่) สงฆ์ต้องให้ข้อวิวาท ระงับลง ด้วยการถือว่า ภิกษุนั้น ขณะเป็นบ้าอยู่ ย่อมเป็นผู้หลง ขาดสติ กระทำไป ให้ยกฟ้องเสีย
๔. ปฏิญญาตกรณะ คือ การระงับข้อวิวาท ด้วยการปรับความผิด ของจำเลย ตามคำที่จำเลย ยอมรับผิด ตามสัตย์
๕. เยภุยยสิกา คือ หากไม่อาจระงับข้อวิวาทในที่นั้นได้ ให้พากันไป ยังอาวาส (ที่อยู่) ซึ่งมีภิกษุ มากกว่า แล้วพร้อมเพรียงกัน ประชุมในที่นั้น พิจารณา ตามแบบแผนธรรม ให้ข้อวิวาทนั้น ระงับลงได้ ด้วยการตัดสิน ตามเสียงข้างมาก
๖. ตัสสปาปิยสิกา คือ การระงับข้อวิวาท ด้วยการลงโทษ ตามความผิด แม้จำเลย จะพูด กลับกลอกไปมา กว่าจะจำนน ยอมรับผิดก็ตาม
๗. ติณวัตถารกวินัย คือ การระงับข้อวิวาท ในความผิดเบา ที่ได้ประพฤติ ล่วงเกินกัน โดยใช้วิธี แบบกลบไว้ด้วยหญ้า คือตัดตอน ยกเลิกเสีย ไม่ต้องชำระ สะสางความเดิม

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๔ “สามคามสูตร” ข้อ ๕๗-๖๔)

อปริหานิยธรรม (นักบวช) ๗

คือธรรมที่พาเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเลย
๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
๒. เมื่อประชุม ก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุม ก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกัน ทำกิจ ที่หมู่จะต้องทำ
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่เพิกถอน สิ่งที่ทรงบัญญัติแล้ว จักประพฤติมั่น ในสิกขาบท ตามที่พระองค์ ทรงบัญญัติไว้
๔. สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุผู้เป็นเถระ (ผู้ใหญ่) เป็นรัตตัญญู (ผู้บวชมานาน) เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก และเชื่อฟังถ้อยคำ ของท่าน
๕. ไม่ตกอยู่ในอำนาจตัณหา อันจะก่อเกิด ภพใหม่ต่อไป
๖. ยินดีในเสนาสนะป่า (คือสภาพความสงบสงัด จากกิเลส)
๗. ตั้งสติไว้ว่า ทำไฉนหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้มีศีล เป็นที่รัก ที่ยังไม่มา ขอจงมาเถิด และผู้ที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นสุข

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๐ “มหาปรินิพพานสูตร” ข้อ ๗๑)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
๒. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจ ที่สงฆ์จะต้องทำ ข้อนี้แปลอีกอย่างว่า : พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันลุกขึ้น จัดการแก้ไข สิ่งเสียหาย เหตุไม่งาม พร้อมเพรียงกัน ทำกิจที่สงฆ์ จะต้องทำ
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้า ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มล้าง สิ่งที่พระองค์ ทรงบัญญัติไว้ สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ตามที่พระองค์ ทรงบัญญัติไว้
๔. ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่ เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก เคารพนับถือ ภิกษุเหล่านั้น เห็นถ้อยคำ ของท่าน ว่าเป็นสิ่ง อันควรรับฟัง
๕. ไม่ลุอำนาจตัณหา คือความอยาก ที่เกิดขึ้น
๖. ยินดีในเสนาสนะป่า
๗. ตั้งสติระลึกไว้ในใจว่า เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุก

อรหันต์ ๗

คือผู้กระทำกิเลสทั้งปวง หมดสิ้นแล้ว
๑. สัทธาวิมุต (หลุดพ้นกิเลสด้วยศรัทธา)
๒. ปัญญาวิมุต (หลุดพ้นกิเลสด้วยปัญญา)
๓. อุภโตภาควิมุต (หลุดพ้นกิเลสได้ ทั้งสองส่วน เจโตวิมุต กับ ปัญญาวิมุต)
๔. สุกขวิปัสสโก (หลุดพ้นกิเลส ด้วยวิปัสสนา)
๕. เตวิชโช (หลุดพ้นกิเลส ด้วยวิชชา ๓)
๖. ฉฬภิญโญ (หลุดพ้นกิเลส ด้วยอภิญญา ๖ - ฝ่ายเจโตสมถะ)
๗. ปฏิสัมภิทัปปัตโต (หลุดพ้นกิเลส ด้วยปฏิสัมภิทา ๔)

(พระวิสุทธิมัคค์ “ปัญญานิเทศ” หน้า ๗๐๗,๗๒๐)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อรหันต์ ๔, ๕, ๖๐
๑. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน)
๒. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา ๓)
๓. ฉฬภิญโญ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
๔. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา)
พระอรหันต์ทั้ง ๔ ในหมวดนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส ทรงประมวล แสดงไว้ ในหนังสือ ธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๔๑ พึงทราบคำอธิบาย ตามที่มาเฉพาะ ของคำนั้นๆ แต่คัมภีร์ ทั้งหลาย นิยมจำแนกเป็น ๒ อย่าง เหมือนในหมวดก่อนบ้าง เป็น ๕ อย่างบ้าง ที่เป็น ๕ คือ
๑. ปัญญาวิมุต
๒. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อน แล้วได้ ปัญญาวิมุตติ)
๓. เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓)
๔. ฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
๕. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔)
ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น ๒ คือ พระปัญญาวิมุต กับ พระอุภโตภาควิมุต เท่านั้น
พระสุกขวิปัสสก ที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน ๕ ประเภท) พระเตวิชชะ กับพระฉฬภิญญะ เป็น อุภโตภาควิมุต ที่ไม่ได้โลกิยวิชชา และโลกิยอภิญญา ก็มี ส่วนพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ได้ความแตกฉานทั้ง ๔ ด้วยปัจจัย ทั้งหลาย คือ การเล่าเรียน สดับ สอบค้น ประกอบความเพียรไว้เก่า และการบรรลุอรหัต
พระอรหันต์ทั้ง ๕ นั้น แต่ละประเภท จำแนกโดย วิโมกข์ ๓ รวมเป็น ๑๕ จำแนกออกไปอีก โดยปฏิปทา ๔ จึงรวมเป็น ๖๐ ความละเอียดในข้อนี้ จะไม่แสดงไว้ เพราะจะทำ ให้ฟั่นเฝือ ผู้ต้องการทราบ ยิ่งขึ้นไป พึงดูในหนังสือนี้ ฉบับใหญ่

 

อนุสัย ๗

คือกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน ที่ควรละเสีย
๑. กามราคานุสัย (ความดึงดูดกำหนัดในกาม)
๒. ปฏิฆานุสัย (ความผลักไส ขัดเคือง ขึ้งเคียด)
๓. ทิฏฐานุสัย (ความยึดถือความเห็น เป็นตนของเรา)
๔. วิจิกิจฉานุสัย (ความลังเลสงสัย)
๕. มานานุสัย (ความถือดี ถือตัวทั้งหลาย)
๖. ภวราคานุสัย (ความใคร่อยาก ในภพละเอียด)
๗. อวิชชานุสัย (ความไม่แจ้งในอาริยสัจ)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ “อนุสยสูตร” ข้อ ๑๑ - ๑๒)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
๑. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความอยากได้ ติดใจในกาม)
๒. ปฏิฆะ (ความขัดใจ, ความหงุดหงิด ขัดเคือง คือโทสะ)
๓. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด, การถือความเห็น เอาความคิดเห็น เป็นความจริง)
๔. วิจิกิจฉา (ความลังเล, ความสงสัย)
๕. มานะ (ความถือตัว)
๖. ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ, ความอยากเป็น อย่างยิ่งใหญ่ อยากยั่งยืน)
๗. อวิชชา (ความไม่รู้จริง คือ โมหะ)

อาริยทรัพย์ ๗

คือทรัพย์แท้อันประเสริฐของมนุษย์ ๗ อย่าง
๑. ศรัทธา (ความเชื่อมั่นอย่างสัมมาทิฏฐิ)
๒. ศีล (ข้อปฏิบัติเว้นจากความชั่ว)
๓. หิริ (ละอายต่อบาป ละอายต่อการกระทำผิด)
๔. โอตตัปปะ (สะดุ้งกลัวต่อบาป เกรงกลัวต่อ การกระทำผิด)
๕. สุตะ (ตั้งใจฟังเสมอ) / พาหุสัจจะ (รู้ธรรมที่แทงตลอด ได้มาก)
๖. จาคะ (เสียสละแบ่งปัน การให้ การบริจาค การเอาออก)
๗. ปัญญา (รู้แจ้งเห็นจริง ชำแรกกิเลสได้)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ “ธนสูตร”ข้อ ๖)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อริยทรัพย์ ๗ (ทรัพย์อันประเสริฐ, ทรัพย์คือ คุณธรรมประจำใจ อย่างประเสริฐ)
๑. ศรัทธา (ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือ และในการดีที่ทำ)
๒. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้อง ดีงาม)
๓. หิริ (ความละอายใจต่อการทำความชั่ว)
๔. โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อความชั่ว)
๕. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก)
๖. จาคะ (ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่)
๗. ปัญญา (ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิด รู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ)

 

อ่านต่อ  พุทธสิกขา หมวด ๑-๔           พุทธสิกขา หมวด ๘-๑๖