ธรรมพุทธสุดลึก
พุทธสิกขา หมวด ๘

กำลัง ๘

๑. ทารกมีการร้องไห้เป็นกำลัง
๒. หญิงมีความโกรธเป็นกำลัง
๓. โจรมีอาวุธเป็นกำลัง
๔. พระราชามีอิสริยยศเป็นกำลัง
๕. คนพาลมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
๖.บัณฑิตมีการไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง
๗. พหูสูต(ผู้มีความรู้มาก)มีการพิจารณาเป็นกำลัง
๘. สมณพราหมณ์มีขันติเป็นกำลัง

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ “พลสูตรที่ ๑” ข้อ ๑๑๗)

คุณสมบัติของพระอรหันต์ ๘

๑. เป็นพระอรหันต์ คือผู้ไกลจากกิเลส (อรหันตะ)
๒. เป็นขีณาสพ คือผู้สิ้นกิเลสที่หมักดอง ในสันดาน (ขีณาสาวะ)
๓. เป็นผู้จบพรหมจรรย์แล้ว (วุสิตวันตะ)
๔. เป็นผู้มีกิจที่ควรทำ อันทำเสร็จแล้ว (กตกรณียะ)
๕. เป็นผู้มีภาระอันวางลงแล้ว (โอหิตภาระ)
๖. เป็นผู้มีประโยชน์ตน อันบรรลุโดยลำดับแล้ว (อนุปปัตตสทัตถะ)
๗. เป็นผู้สิ้นเครื่องผูกพัน ให้ติดอยู่ในภพแล้ว (ปริกขีณภวสัญโญชนะ)
๘. เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยถูกต้อง (สัมมทัญญาวิมุตตะ)

  (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ “อิจฉานังคลสูตร” ข้อ ๑๓๖๗)

โทษของผู้เที่ยวไปนาน ๘

   โทษของภิกษุผู้เที่ยวไปนาน ไม่มีกำหนด คือ
๑. ย่อมไม่ได้ฟัง สิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. ไม่ได้บรรลุคุณวิเศษ ที่ยังไม่ได้บรรลุ
๓. ไม่เข้าใจชัด สิ่งที่ได้ฟังแล้ว
๔. เสื่อมจากคุณวิเศษ ที่ได้บรรลุแล้ว
๕. ไม่แกล้วกล้า ด้วยสิ่งที่ได้ฟังแล้วบางประการ
๖. ไม่แกล้วกล้า ด้วยคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้วบางประการ
๗. ได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก
๘. ไม่มีมิตร

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “ทีฆจาริกสูตรที่ ๑, ๒” ข้อ ๒๒๑, ๒๒๒)

ธรรมวินัยน่าอัศจรรย์ ๘   
มหาสมุทรน่าอัศจรรย์ ๘

๑. ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ กระทำไปตามลำดับ ปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่บรรลุ อรหัตตผล โดยตรง เสมือนมหาสมุทร ลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชัน เหมือนเหว
๒. สาวกไม่ล่วงละเมิดสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เสมือนมหาสมุทร เต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง
๓. สงฆ์ไม่อยู่ร่วมกับผู้ทุศีล เน่าใน ชุ่มด้วยกิเลส ประชุมกันยกวัตร (ห้ามร่วมทำกิจวัตร และ สังฆกรรม) ทันที เสมือนมหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ คลื่นย่อม ซัดซากศพ เข้าหาฝั่ง ให้ขึ้นบก โดยพลัน
๔. กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร บวชในธรรมวินัยนี้ ละชื่อและตระกูลเดิม นับเป็น สมณศากยบุตร ทั้งนั้น เสมือนแม่น้ำใหญ่ หลายสาย ไหลไปถึงมหาสมุทร ย่อมละชื่อ และโคตรเดิมหมด นับเป็น มหาสมุทร นั่นเทียว
๕. ภิกษุจำนวนมาก แม้ปรินิพพานดับสูญไปแล้ว สภาวะแห่งนิพพาน ก็ไม่มีพร่อง หรือเต็มเลย เสมือนบรรดาแม่น้ำ และสายฝน ไหลไปรวม ที่มหาสมุทร มหาสมุทรก็ ไม่มีพร่อง หรือเต็มเลย
๖. ธรรมวินัยนี้ มีวิมุตติรส รสเดียว เสมือนมหาสมุทร มีรสเค็ม รสเดียว
๗. มีรัตนะ (ของมีค่า) มากมาย ในธรรมวินัยนี้ เช่น สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อาริยมรรคมีองค์ ๘ เสมือนมีรัตนะ มากมาย ในมหาสมุทร เช่น แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วประพาฬ สังข์ ศิลา เงิน ทอง ทับทิม มรกต
๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่อาศัย ของสิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ เสมือนมหาสมุทร เป็นที่อาศัยของ สิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์

         (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ “ปหาราทสูตร” ข้อ ๑๐๙)

ผลกรรมตามสนอง ๘

๑. ผลกรรมแห่งการฆ่ามนุษย์และสัตว์ เบาสุดคือ มีอายุสั้น
๒. ผลกรรมแห่งการลักทรัพย์ เบาสุดคือ ทรัพย์สมบัติพินาศ
๓. ผลกรรมแห่งการประพฤติผิดในกาม เบาสุดคือ มีศัตรู และถูกปองร้าย
๔. ผลกรรมแห่งการพูดเท็จ เบาสุดคือ ถูกกล่าวตู่ ด้วยคำไม่จริง
๕. ผลกรรมแห่งการพูดส่อเสียด เบาสุดคือ แตกจากมิตร
๖. ผลกรรมแห่งการพูดคำหยาบ เบาสุดคือ ได้ฟังเสียง ที่ไม่น่าพอใจ
๗. ผลกรรมแห่งการพูดเพ้อเจ้อ เบาสุดคือ ได้รับคำที่ไม่น่าเชื่อถือ
๘. ผลกรรมแห่งการเสพของมึนเมาให้โทษ เบาสุดคือ ความเป็นบ้า

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ “สัพพลหุสสูตร” ข้อ ๑๓๐)

ลักษณะของพุทธธรรม ๘

๑. คัมภีรา (ลึกซึ้ง)
๒. ทุททสา (เห็นตามได้ยาก)
๓. ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก)
๔. สันตา (สงบระงับ อย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่) .
๕. ปณีตา (สุขุมประณีต ไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น)
๖. อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้)
๗. นิปุณา (ละเอียดลึก ถึงขั้นนิพพาน)
๘. ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะ ผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริง เท่านั้น)                      

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๙ “พรหมชาลสูตร” ข้อ ๒๖)

                           
โลกธรรม ๘

คือ ๘ อย่างนี้ของมนุษย์ ย่อมหมุนไปตามโลก โลกย่อมหมุนไปตาม ๘ อย่างนี้ของมนุษย์ คือ
๑. ได้ลาภ (ลาโภ)
๒. เสื่อมลาภ (อลาโภ)
๓. ได้ยศ (ยโส)
๔. เสื่อมยศ (อยโส)
๕. โดนนินทา (นินทา)
๖. ได้รับสรรเสริญ (ปสังสา)
๗. มีสุข (สุขัง)
๘. เป็นทุกข์ (ทุกขัง)
ทั้ง ๘ อย่างนี้ของมนุษย์ เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ “โลกธรรมสูตร” ข้อ ๙๕)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
โลกธรรม ๘ (ธรรมดาของโลก, เรื่องของโลก, ความเป็นไปตามคติธรรมดา ซึ่งหมุนเวียน มาหาสัตวโลก และสัตวโลก ก็หมุนเวียน ตามมันไป)
๑. ลาภ (ได้ลาภ, มีลาภ)
๒. อลาภ (เสื่อมลาภ, สูญเสีย)
๓. ยส (ได้ยศ, มียศ)
๔. อยส (เสื่อมยศ)
๕. นินทา (ติเตียน)
๖. ปสํสา (สรรเสริญ)
๗. สุข (ความสุข)
๘. ทุกข์ (ความทุกข์)
โดยสรุปเป็น ๒ คือ ข้อ ๑-๓-๖-๗ เป็น อิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่น่าปรารถนา; ข้อที่เหลือเป็น อนิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่ไม่น่าปรารถนา

วิชชา ๘

วิชชาคือความรู้แจ้งในกิเลส ได้แก่
๑. วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง – หรือรู้ความจริง ในเหตุที่มีความจริงเกิด รู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง)
๒. มโนมยิทธิญาณ (ความรู้แจ้งกิเลส ด้วยฤทธิ์ทางจิต ที่จิตสามารถ เนรมิต “ความเกิด” อย่างใหม่ ขึ้นมาได้)
๓. อิทธิวิธญาณ (ความรู้แจ้งกิเลส ด้วยวิธีอันเก่งวิเศษหลายอย่าง ในการที่จิต มีอานุภาพ เพราะปราศจาก กิเลสแล้ว)
๔. ทิพพโสตญาณ (ความรู้แจ้งด้วยหูทิพย์ แยกแยะกิเลสได้ สามารถแยกแยะ การได้ยิน สิ่งที่ละเอียด ลึกซึ้ง เช่น กิเลส ปะปนมากับคำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่า คนธรรมดา เขาจะรู้นัยยะได้)
๕. เจโตปริยญาณ (ความรู้แจ้งด้วยจิต กำหนดรู้กิเลสอื่น ๆ ได้ กำหนดรู้ ความแตกต่าง ในจิตขั้นอื่น ๆ ของตน ได้รอบถ้วน)
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความรู้แจ้งด้วยการระลึกถึง การเกิดกิเลสเก่า ก่อนมารู้อาริยสัจจะ จนหายโง่ จากอวิชชาต่าง ๆ ของกิเลสได้)
๗. จุตูปปาตญาณ (ความรู้แจ้งด้วยการรู้เห็น การเกิด -การดับของจิต ที่ดับเชื้อกิเลส แล้วเกิดเป็น สัตว์เทวดา หรือ สัตว์อาริยะได้)
๘. อาสวักขยญาณ (ความรู้แจ้งด้วยการรู้ว่า อาสวะกิเลสของตน หมดสิ้นแล้ว)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๙ “สามัญญผลสูตร” ข้อ ๑๒๗-๑๓๘)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
วิชชา ๘ (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ)
๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญา ที่พิจารณา เห็นสังขาร คือนามรูป โดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไป เป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน)
๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ, ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่น ออกจากกายนี้ ดุจชักไส้ จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงู ออกจากคราบ)
๓. อิทธวิธา หรือ อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้)
๔. ทิพพโสต (หูทิพย์)
๕. เจโตปริยญาณ (ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้)
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้)
๗. ทิพพจักษุ (ตาทิพย์)
๘. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ)
   ข้อที่ ๒ โดยมากจัดเข้าในข้อที่ ๓ ด้วย ข้อที่ ๓ ถึง ๘ (๖ ข้อท้าย) ตรงกับ อภิญญา ๖

วิธีแก้ง่วง ๘

๑. ตั้งสัญญา (กำหนดหมายรู้) ไว้ในใจให้มาก ๆ
๒. ตรึกตรองพิจารณาธรรม ตามที่ได้ฟังมาแล้ว ได้เรียนมาแล้วด้วยใจ
๓. สาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมาแล้ว ได้เรียนมาแล้ว โดยพิสดาร
๔. ยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว
๕. ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างหน้า เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว ที่ส่องสว่าง
๖. ทำในใจถึงอาโลกสัญญา(กำหนดหมายรู้แสงสว่าง) ทำจิตให้เกิดแสงสว่างขึ้น
๗. อธิษฐาน (ตั้งจิต) จงกรม (เดินไปมา โดยมีสติกำกับ ไม่ให้กิเลส ครอบงำได้)
๘. กระทำสีหไสยา (นอนตะแคงขวา มีสติสัมปชัญญะ กำหนดหมาย เวลาตื่น ตื่นแล้ว ลุกขึ้นทันที ตั้งใจว่า จะไม่เสพสุข ในการนอน)

   (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ “โมคคัลลานสูตร” ข้อ ๕๘)

วิโมกข์ ๘

   คือสภาวะจิตหลุดพ้นจากกิเลส ๘ ขั้นตอน
๑. ผู้มีรูป (ผู้ได้รูปฌาน) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายใน (รูปี รูปานิ ปัสสติ)
๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน(อรูปสัญญี) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี . เอโก พหิทธารูปานิ ปัสสติ) – หมายถึง มีสัญญาใส่ใจในอรูป
๓. ผู้น้อมใจเห็นว่า กสิณเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ) - หมายถึง เป็นโชค อันดีงาม ที่ผู้นั้น โน้มไปเจริญ สู่การบรรลุ หลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น
๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะ (ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้) เพราะล่วงพ้น รูปสัญญา (กำหนดรู้รูป) ดับปฏิฆสัญญา (กำหนดรู้ การกระทบจิต) ไม่ต้องใส่ใจ ในนานัตตสัญญา (กำหนดรู้ อารมณ์ต่าง ๆ) (สัพพโส รูปสัญญานัง สมติกกัมมะ ปฏิฆสัญญานัง อัตถังคมา นานัตตสัญญานัง อมนสิการา อนันโต อากาโสติ อากาสานัญจายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ)
๕. ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนะ (ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้) เพราะล่วงพ้น อากาสานัญจายตนะ (สัพพโส อากาสานัญจายตนัง สมติกกัมมะ อนันตัง วิญญาณันติ วิญญาณัญจายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ ฯ)
๖. ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนะ (ด้วยมนสิการว่า อะไรน้อยหนึ่ง ก็ไม่มี) เพราะล่วงพ้น วิญญาณัญจายตนะ (สัพพโส วิญญาณัญจายตนัง สมติกกัมมะ นัตถิ กิญจีติ อากิญจัญญายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ)
๗. ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ (กำหนดรู้อยู่ก็ไม่ใช่ ไม่กำหนดรู้อยู่ก็ไม่ใช่ – หมายถึง จิตวิญญาณ ต้องพ้น สิ่งที่ไม่รู้ และไม่มีที่จะไม่รู้) เพราะล่วงพ้น อากิญจัญญายตนะ (สัพพโส อากิญจัญญายตนัง สมติกกัมมะ เนวสัญญานาสัญญายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ ฯ)
๘. ผู้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ (กำหนดรู้แจ้งอารมณ์ว่า กิเลสดับสนิท พ้นอวิชชาสังโยชน์ เด็ดขาดแล้ว) เพราะล่วงพ้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ (สัพพโส เนวสัญญานาสัญญายตนัง สมติกกัมมะ สัญญาเวทยิตัง นิโรธัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๐ “มหานิทานสูตร” ข้อ ๖๖ และ เล่ม ๒๓ “วิโมกขสูตร” ข้อ ๑๖๓)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
วิโมกข์ ๘ (ความหลุดพ้น, ภาวะที่จิตปลอดพ้น จากสิ่งรบกวน และน้อมดิ่งเข้าไป ในอารมณ์นั้น ๆ อย่างปล่อยตัว เต็มที่ ซึ่งเป็นไป ในขั้นตอนต่าง ๆ)
๑. ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย (ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌาน โดยเจริญกสิณ ที่กำหนดวัตถุ ในกายของตน เช่น สีผม)
๒. ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก (ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌาน โดยเจริญกสิณ กำหนดอารมณ์ภายนอก)
๓. ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า "งาม" (ได้แก่ ฌานของผู้เจริญ วรรณกสิณ กำหนดสีที่งาม หรือ เจริญ
อัปปมัญญา)
๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญา ดับไป เพราะไม่ใส่ใจ นานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
๕. เพราะล่วงเสีย ซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณ หาที่สุดมิได้
๖. เพราะล่วงเสีย ซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ โดยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเลย
๗. เพราะล่วงเสีย ซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญา
ยตนะอยู่
๘. เพราะล่วงเสีย ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธอย
ู่

หลักตัดสินธรรมวินัย ๘

   นี้เป็นธรรมวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา
๑. เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด (วิราคะ)
๒. เป็นไปเพื่อความพราก ไม่ผูกมัด รัดรึงสัตว์ไว้ (วิสังโยคะ)
๓. เป็นไปเพื่อความไม่สะสม (อปจยะ)
๔. เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย กล้าจน (อัปปิจฉะ)
๕. เป็นไปเพื่อความสันโดษ ใจพอ (สันตุฏฐิ)
๖. เป็นไปเพื่อความสงัด สงบจากกิเลส (ปวิเวกะ)
๗. เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ยอดขยัน (วิริยารัมภะ)
๘. เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย (สุภระ)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ “สังขิตตสูตร” ข้อ ๑๔๓)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ หรือ หลักกำหนดธรรมวินัย ๘
๑. วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด, ความไม่ติดพัน เป็นอิสระ มิใช่เพื่อความกำหนัด ย้อมใจ, การเสริมความติด
๒. วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด, ความไม่ประกอบทุกข์ มิใช่เพื่อผูกรัด หรือ ประกอบทุกข์
๓. อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส
๔. อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย, ความมักน้อย มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่, ความมักใหญ่ หรือ มักมาก อยากใหญ่
๕. สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ
๖. ปวิเวก คือ ความสงัด มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่
๗. วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน
๘. สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก

องค์คุณของพระโสดาบัน ๘

เพราะอบายภูมิ ๔ สิ้นแล้ว หมดภัยเวร ๕ (คือถือศีล ๕ ได้บริสุทธิ์) อาริยสาวก จึงพยากรณ์ตัวเอง เป็นพระโสดาบันคือ

   - ส่วนที่ดับไปจากจิต

๑. ขีณนิรยะ (มีนรกสิ้นแล้ว, ปิดนรก ดับความเร่าร้อนได้)
๒. ขีณติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉานสิ้นแล้ว สิ้นจากความโง่ ที่ขวางเจริญ)
๓. ขีณปิตติวิสยะ (สิ้นจากวิสัยความอยาก อย่างเปรต)
๔. ขีณาปายทุคติวินิปาตะ (สิ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต)

    - ส่วนที่เกิดทางจิต

๕. โสตาปันนะ (เข้าสู่กระแสโลกใหม่คือโลกุตระ)
๖. อวินิปาตธัมโม (ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา)
๗. นิยตะ (เป็นผู้เที่ยงแท้แน่นอน สู่มรรคผลที่สูงขึ้น)
๘. สัมโพธิปรายนะ (มุ่งตรัสรู้ จะตรัสรู้ในภายหน้า)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ “คิญชกาวสถสูตรที่ ๒ “ ว่าด้วย
ธรรมปริยาย ชื่อธรรมาทาส ข้อ ๑๔๗๕ และ “เวรภัยสูตร” ข้อ ๑๕๗๔)

อวิชชา ๘ ตามอวิชชาสูตร

  อวิชชาคือความหลงผิดไม่รู้กิเลส เกิดมาจาก ผลสัมพันธ์สืบต่อ เป็นลำดับ ดังนี้
๑. ไม่คบสัปบุรุษ (คนที่มีความเห็นถูกต้อง)
๒. ไม่ฟังสัทธรรม (ธรรมของคนดี)
๓. ไม่มีศรัทธา (ความเชื่ออย่างถูกต้อง)
๔. ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย (ไม่ลงไปถึงที่เกิด)
๕. ไม่มีสติสัมปชัญญะ (ความระลึกรู้ตัว)
๖. ไม่สำรวมอินทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
๗. ทำทุจริต ๓ (ทำชั่วทางกาย-วาจา-ใจ)
๘. มีนิวรณ์ ๕ (กิเลส ๕ อย่าง ที่กั้นจิต ไม่ให้บรรลุธรรม) นิวรณ์ ๕ นี้เอง ทำให้เกิดอวิชชา

  (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “อวิชชาสูตร” ข้อ ๖๑)

อวิชชา ๘ ตามอกุศลเหตุของโมหะ และอวิชชาสวะ

คือความหลงผิด ที่หมักหมมอยู่ในสันดาน โดย....
๑. ไม่รู้ทุกข์ (ทุกเข อัญญาณัง)
๒. ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ (ทุกขสมุทเย อัญญาณัง)
๓. ไม่รู้ความดับทุกข์ (ทุกขนิโรเธ อัญญาณัง)
๔. ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย อัญญาณัง)
๕. ไม่รู้ในส่วนอดีต – ที่ไม่เที่ยง (ปุพพันเต อัญญาณัง)
๖. ไม่รู้ในส่วนอนาคต – ที่ไม่เที่ยง (อปรันเต อัญญาณัง)
๗. ไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและอนาคต – ไม่รู้สิ่งที่เที่ยงแท้เท่ากัน หมดแล้ว
      (ปุพพันตาปรันเต อัญญาณัง)

๘. ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันเกิดขึ้น เป็นห่วงโซ่ แห่งการเกิดทุกข์ หรือดับทุกข์ ตามหลัก         ปฏิจจสมุปบาท / อิทัปปัจจยตา
      (อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปันเนสุ ธัมเมสุ อัญญาณัง)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๓๔ “อกุศลเหตุของโมหะ” ข้อ ๖๙๑ และ “อาสวโคจฉกะ” ข้อ ๗๑๒)

อันตรายของกาม ๘

   กามเกิดย่อมเป็นอันตราย แก่ผู้ประพฤติธรรม กามเป็นบ่วงแห่งมาร (กิเลส) เป็นแดนแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นที่หากินของมาร

๑. กามไม่เที่ยง (อนิจจา)
๒. กามว่างเปล่า (ตุจฉา)
๓. กามเลือนหาย (โมสธัมมา)
๔. กามล่อลวง (มุสา)
๕. กามให้ความยินดีน้อย (อัปปัสสาทา)
๖. กามมีทุกข์มาก (พหุทุกขา)
๗. กามมีความคับแค้นมาก (พหูปายาสา)
๘. กามมีโทษอย่างยิ่ง (อาทีนโว)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ “จูฬทุกขักขันธสูตร” ข้อ ๒๑๑
และ เล่ม ๑๔ “อาเนญชสัปปายสูตร” ข้อ ๘๑)

อาริยมรรค มีองค์ ๘

คือทางสายกลางอันประเสริฐ ๘ ประการ ที่เป็นข้อปฏิบัติ สู่ความเป็นอาริยะ
๑. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกตรง ในอาริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) – เป็นประธานไปทุกมรรค
๒. สัมมาสังกัปปะ (ความดำริที่ถูกตรง ในการออกจากกาม ในการไม่พยาบาท ในการไม่เบียดเบียน) – เป็นประธานปฏิบัติ
๓. สัมมาวาจา (การเจรจาที่ถูกตรงในศีลข้อ ๔ คือ เจตนางดเว้น จากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ) – เป็นตัวปฏิบัติ
๔. สัมมากัมมันตะ (ทำการงานที่ถูกตรงในศีล ๓ ข้อ คือ เจตนางดเว้น จากการฆ่า การลักขโมย การประพฤติผิดในกาม) – เป็นตัวปฏิบัติ
๕. สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพที่ถูกตรง คือ ละการเลี้ยงชีพในทางผิด อันเป็นมิจฉาอาชีวะ ๕ มาเลี้ยงชีพ ในทางถูก) – เป็นตัวปฏิบัติ
๖. สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกตรง คือ ไม่ให้อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น ละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้หมดไป ทำให้กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น เจริญกุศลธรรม ที่เกิดแล้ว ให้บริบูรณ์) – เป็นตัวเร่งห้อมล้อม
๗. สัมมาสติ (การระลึกที่ถูกตรง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม) – เป็นดวงตาห้อมล้อม
๘. สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นที่ถูกตรง คือ บรรลุฌานทั้ง ๔ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่) – เป็นผล

(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ ๒๕๒ – ๒๘๑
และ เล่ม ๑๙ “วิภังคสูตร” ข้อ ๓๓-๔๑)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
มรรคมีองค์ ๘ หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ)
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูล กับกุศลและกุศลมูล หรือเห็น ปฏิจจสมุปบาท)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔)
องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ ข้อ ๓-๔-๕ เป็น ศีล ข้อ ๖-๗-๘ เป็นสมาธิ ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา

 

พุทธสิกขา หมวด ๙

นวังคสัตถุสาสน์ ๙

 คือคำสอน ๙ อย่างของพระพุทธเจ้า
๑. สุตตะ (แสดงเนื้อความของพระสูตรต่าง ๆ)
๒. เคยยะ (เป็นร้อยแก้วบ้าง เป็นคาถาร้อยกรองบ้าง ปนกัน)
๓. เวยยากรณะ (เป็นร้อยแก้วล้วน ๆ)
๔. คาถา (ประพันธ์โดยผูกเป็นร้อยกรองล้วน ๆ)
๕. อุทาน (คำความที่ พระพุทธเจ้าทรงเปล่งด้วยความเบิกบาน)
๖. อิติวุตตกะ (พระสูตรที่อ้างว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้)
๗. ชาดก (พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องราว ในอดีตชาติ ๕๔๗ เรื่อง)
๘. อัพภูตธรรม (พระสูตรว่าด้วย เรื่องอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีมา)
๙. เวทัลละ (พระสูตรที่เป็นไปด้วย การถามและตอบ)

   (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒ “ธรรมวิหาริสูตร” ข้อ ๗๓)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
นวังคสัตถุสาสน์ (คำสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙)
๑. สุตฺตํ (สูตร ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรในสุตตนิบาต และพุทธวจนะอื่นๆ ที่มีชื่อว่า สุตตะ หรือ สุตตันตะ กล่าวง่ายคือ วินัยปิฎก คัมภีร์นิทเทสทั้งสอง และพระสูตร ทั้งหลาย)
๒. เคยฺยํ (เคยยะ ได้แก่ ความที่มีร้อยแก้ว และร้อยกรอง ผสมกัน หมายเอาพระสูตร ที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะ สคาถวรรค ในสังยุตตนิกาย)
๓. เวยฺยากรณํ (ไวยากรณ์ ได้แก่ ความร้อยแก้วล้วน หมายเอาพระอภิธรรมปิฎก ทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์อื่นใด ที่ไม่จัดเข้าในองค์ ๘ ข้อที่เหลือ)
๔. คาถา (คาถา ได้แก่ ความร้อนกรองล้วน หมายเอา ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วน ในสุตตนิบาต ที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร)
๕. อุทานํ (อุทาน ได้แก่ พระคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ พร้อมทั้ง ข้อความ อันประกอบอยู่ด้วย รวมเป็นพระสูตร ๘๒ สูตร)
๖. อิติวุตตกํ (อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ตรัสโดยนัยว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา)
๗. ชาตกํ (ชาดก ได้แก่ ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น)
๘. อพฺภูตธมฺมํ (อัพภูตธรรม หรือเรื่องอัศจรรย์ ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วย ข้ออัศจรรย์ ไม่เคยมี ทุกสูตร เช่น ที่ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ข้ออัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ อย่างนี้ หาได้ในอานนท์" ดังนี้เป็นต้น)
๙. เวทลฺลํ (เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถามตอบ ซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้ และความพอใจ ถามต่อ ๆ ไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัณหสูตร สังขารภาชนียสูตร และ มหาปุณณมสูตร เป็นต้น)
   คำว่า นวังคสัตถุสาสน์ นี้ เป็นคำรุ่นคัมภีร์อปทาน พุทธวงส์ และอรรถกถาทั้งหลาย บางทีเรียกว่า ชินสาสน์ บ้าง พุทธวจนะ บ้าง ส่วนในบาลีที่มาทั้งหลายเรียกว่า ธรรม บ้าง สุตะ บ้าง

 

เป้าหมายการประพฤติพรหมจรรย์ ๙

   พระพุทธเจ้าอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ (บวช)
๑. มิใช่เพื่อหลอกลวงประชาชน (หลอกลวงคน ให้มาเคารพนับถือ)
๒. มิใช่เพื่อเกลี้ยกล่อมประชาชน (เรียกคน มาเป็นบริวาร)
๓. มิใช่เพื่อผลประโยชน์ในลาภ สักการะ และสรรเสริญ
๔. มิใช่เพื่อผลประโยชน์ในการอวดอ้างวาทะ (เพื่อจะได้เป็น เจ้าลัทธิ หรือค้านลัทธิอื่นใด ให้ล้มไป)
๕. มิใช่เพื่อปรารถนาว่า ชนทั้งหลายจงรู้จักเรา (ว่าเป็นผู้วิเศษ) ด้วยอาการดังนี้ (ดังที่อวดอ้าง)
๖. ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อสำรวมอินทรีย์ (สังวร)
๗. เพื่อละกิเลส (ปหานะ)
๘. เพื่อคลายกำหนัด (วิราคะ)
๙. เพื่อดับกิเลส ดับทุกข์สนิท (นิโรธะ)

   (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๑ “พรหมจริยสูตร” ข้อ ๒๕)

พุทธคุณ ๙

 คือคุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ
๑. อรหัง (เป็นพระอรหันต์ ผู้ไกลจากกิเลส)
๒. สัมมาสัมพุทโธ (ตรัสรู้ถูกต้องโดยพระองค์เอง)
๓. วิชชาจรณสัมปันโน [ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความประพฤติ)]
๔. สุคโต (เสด็จไปแล้วด้วยดี)
๕. โลกวิทู (ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง)
๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ (เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่า)
๗. สัตถา เทวมนุสสานัง (เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย)
๘. พุทโธ (เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม)
๙. ภควา (เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอน)

   (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒ "มหานามสูตร" ข้อ ๒๘๑)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
พุทธคุณ ๙ (คุณของพระพุทธเจ้า)
   อิติปิ โส ภควา (แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น)
๑. อรหํ (เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำ สั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น)
๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง)
๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ)
๔. สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยา ให้เป็นไป โดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เอง ก็ได้ตรัสรู้ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ ก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่ แก่ชนทั้งหลาย ในที่ที่เสด็จไป และแม้ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ประดิษฐาน พระศาสนาไว้ เป็นประโยชน์ แก่มหาชนสืบมา)
๕. โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะ อันเป็นคติธรรมดาแห่งโลก คือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบ อัธยาศัยสันดาน แห่งสัตวโลก ทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจ แห่งคติธรรมดา โดยท่องแท้ เป็นเหตุให้ ทรงดำเนินพระองค์ เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำ แห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่ง แห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังมาอยู่ในกระแสโลกได้)
๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (เป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคน ได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใด เทียมเท่า)
๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย)
๘. พุทฺโธ (เป็นผู้ตื่น และเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นจากความเชื่อถือ และข้อปฏิบัติทั้งหลาย ที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่น ให้พ้นจาก ความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวล ในสิ่งใดๆ มีการคำนึง ประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัย เบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจ ได้ถูกต้องบริบูรณ์ โดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณ สมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญ พุทธกิจ ได้เรียบร้อย บริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุ คือความเป็นผู้ตื่น และย่อมให้เกิดผล คือทำให้ ทรงเบิกบานด้วย)
๙. ภควา (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัย ทุกประการ หรือ เป็นผู้จำแนก แจกธรรม)
    พุทธคุณ ๙ นี้ เรียกอีกอย่างว่า นวารหาทิคุณ (คุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีอรหํ เป็นต้น) บางที เลือนมาเป็น นวรหคุณ หรือ นวารหคุณ แปลว่า คุณของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ ๙ ประการ

วรรณะ ๙

   คือการทำตัวเป็นคนน่ายกย่องสรรเสริญ ๙ อย่าง
๑. เป็นคนเลี้ยงง่าย (สุภระ)
๒. บำรุงง่าย ปรับให้เจริญได้ง่าย (สุโปสะ)
๓. มักน้อย กล้าจน (อัปปิจฉะ)
๔. สันโดษ ใจพอ (สันตุฏฐิ)
๕. ขัดเกลากิเลส (สัลเลขะ)
๖. เพ่งทำลายกิเลส มีศีลเคร่ง มีศีลสูงอยู่ปกติ (ธูตะ)
๗. มีอาการที่น่าเลื่อมใส (ปาสาทิกะ)
๘. ไม่สะสม ไม่กักเก็บ (อปจยะ)
๙. ระดมความเพียร ขยันเสมอ (วิริยารัมภะ)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑ "ปฐมปาราชิกกัณฑ์" ข้อ ๒๐)

สัตตาวาส ๙

     คือภพที่อยู่ของสัตว์โลก ๙ พวก
๑. พวกมีกาย (นามกาย) ต่างกัน มีสัญญา (กำหนดหมาย) ต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางพวก เปรต(วินิปาติกสัตว์) บางพวก
๒. พวกมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เทพพวกพรหมกายิกา (มีเมตตาฌาน) ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน
๓. พวกมีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น เทพสว่าง พวกอาภัสราพรหม (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง)
๔. พวกมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพมืด สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืด เป็นโชค)
๕. พวกไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา (ไม่มีอารมณ์/ความรู้สึก) เหมือนเทวดาพวก อสัญญีสัตว์ (อุทกดาบส ก็ทำนิโรธสมาบัติ ชนิดดับ จนไม่รับรู้อะไร)
๖. พวกเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ (ความว่างไม่มีที่สุด พ้นรูปสัญญา)
๗. พวกเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ (ความรับรู้ไม่มีที่สุด พ้นเสพความว่าง)
๘. พวกเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ (ความดับดิ่งไม่มีอะไร ๆ ไว้เลย)
๙. พวกเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ (รู้บ้าง – ไม่รู้บ้าง ดับ ๆ รู้ ๆ)

(พระไตรปิฎกเล่ม ข้อ ๓๕๓ และเล่ม ๒๓ ”ววัตถสัญญาสูตร” ข้อ ๒๒๘)

อขณะอสมัย ประพฤติพรหมจรรย์ ๙

   แม้มีธรรมอันพระสุคต (พระพุทธเจ้า) ทรงประกาศไว้ แต่ก็มิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่อประพฤติ พรหมจรรย์ ของบุคคลเหล่านี้ คือ
๑. บุคคลผู้เข้าถึงนรก (ภาวะเร่าร้อนใจ)
๒. ผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน (ภาวะมืดมัวโง่เขลา)
๓. ผู้เข้าถึงลักษณะแห่งเปรต (ภาวะโลภหิวกระหาย)
๔. ผู้เข้าถึงอสุรกาย (ภาวะขลาดกลัว)
๕. ผู้เข้าถึงเทพ (ภาวะติดสุข) ที่มีอายุยืน
๖. ผู้เกิดในปัจจันติมชนบท (ถิ่นเถื่อนสุดเขตแดน) เป็นพวกชนชาติมิลักขะ (คนป่าเถื่อน) ผู้โง่เขลา ซึ่งไร้คติ (แบบอย่าง) ของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
๗. ผู้เกิดในมัชฌิมชนบท (ถิ่นเจริญในส่วนกลาง) แต่เขาเป็นคนมิจฉาทิฏฐิ (มีความเห็นผิด) มีความเห็น วิปริตว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญ (พิธีกรรม) ที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวย (พฤติกรรม) ที่ บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผลกรรมที่ ทำดีหรือทำชั่ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกสัตว์ (อาการของจิตใจ ที่เกิดดับอยู่ในจิต) ไม่มี ไม่มีสมณพราหมณ์ ผู้ดำเนินไปดี ผู้ปฏิบัติถูกตรง แล้วทำให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้และโลกหน้า ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่น ให้รู้ตาม
๘. ผู้เกิดในมัชฌิมชนบท (ถิ่นที่เจริญ) แต่เป็นคนโง่เซอะซะ เป็นคนใบ้ ไม่สามารถรู้เนื้อความ แห่งสุภาษิต และ ทุพภาษิตได้
๙. มิได้มีผู้แสดงธรรมอันพระสุคตทรงประกาศไว้ ดังนั้น ผู้เกิดในมัชฌิมชนบท (ถิ่นที่เจริญ) แม้เป็นคน มีปัญญา ไม่เซอะซะ ไม่เป็นคนใบ้ สามารถรู้เนื้อความ แห่งสุภาษิต และทุพภาษิตได้ แต่นี้ก็มิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่อประพฤติพรหมจรรย์

        (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๑ "สังคีติสูตร" ข้อ ๓๕๔)

อนุปุพพวิหาร ๙

   คือธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ
๑. สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เกิดจากวิเวกอยู่
๒. บรรลุทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก วิจาร มีแต่ปีติ สุข เกิดจากสมาธิอยู่
๓. บรรลุตติยฌาน (ฌานที่ ๓) เพราะปีติสิ้นไป ได้รับสุขด้วยนามกาย มีสติอยู่เป็นสุข มีอุเบกขาอยู่
๔. บรรลุจตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) ละสุข ละทุกข์ ดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่
๕. บรรลุอากาสานัญจายตนะ ด้วยทำไว้ในใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงพ้น รูปสัญญา (กำหนดรู้รูป) ดับปฏิฆสัญญา (กำหนดรู้ การกระทบจิต) ไม่ใสใจใน นานัตตสัญญา (กำหนดรู้ อารมณ์ต่าง ๆ)
๖. บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยทำไว้ในใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงพ้น อากาสานัญจายตนะ
๗. บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยทำไว้ในใจว่า อะไรน้อยหนึ่ง ก็ไม่มี เพราะล่วงพ้น วิญญาณัญจายตนะ
๘. บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ (กำหนดรู้อยู่ก็ไม่ใช่ ไม่กำหนดรู้อยู่ ก็ไม่ใช่) เพราะล่วงพ้น อากิญจัญญายตนะ
๙. บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ (กำหนดรู้แจ้งอารมณ์ว่า กิเลสดับสนิท เด็ดขาดแล้ว) เพราะล่วงพ้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๑ “สังคีติสูตร” ข้อ ๓๕๕)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อนุบุพพวิหาร ๙ (ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไป โดยลำดับ) ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา เรียกอีกอย่างว่า นิโรธสมาบัติ)
   สมาบัติข้อที่ ๙ นี้ เฉพาะแต่พระอนาคามี และพระอรหันต์ ผู้ชำนาญใน สมาบัติ ๘ ข้างต้นแล้ว เท่านั้น จึงจะเข้าได้ เพราะต้องดับขั้นต้น ๆ และขั้นไปตามลำดับ จึงจะเข้าถึงขั้นสูง ที่อยู่ถัดขึ้นไปได้
อนุบุพพวิหารนี้ เรียกอีกอย่างว่า อนุบุพพนิโรธ

อานิสงส์ของศีล ๙

ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตตผลโดยลำดับ ดังนี้
๑. อวิปปฏิสาร (ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ )
๒. ปามุชชะ (เบิกบานยินดี)
๓. ปีติ (อิ่มใจ)
๔. ปัสสัทธิ (สงบระงับกิเลส )
๕. สุข (ความสุขอันเกิดจากความสงบ)
๖. สมาธิ (จิตตั้งมั่น)
๗. ยถาภูตญาณทัสสนะ (รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง)
๘. นิพพิทาวิราคะ (เบื่อหน่ายคลายกำหนัด)
๙. วิมุตติญาณทัสสนะ (รู้แจ้งเห็นจริงในความหลุดพ้น)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ "กิมัตถิยสูตร" ข้อ ๑)

อาหาร ๙ ลำดับ (ตามตัณหาสูตร)

๑. การไม่คบสัปบุรุษ เป็นอาหารของ การไม่ได้ฟังสัทธรรมที่ถูกต้อง
๒. การไม่ได้ฟังสัทธรรม เป็นอาหารของ ความไม่มีศรัทธา (หรือศรัทธาผิด ๆ)
๓. ความไม่มีศรัทธา (ศรัทธาไม่บริบูรณ์) เป็นอาหารของ การทำไว้ในใจ โดยไม่แยบคาย (กระทำใจไม่เป็น)
๔. การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (หรือทำใจไม่เป็น) เป็นอาหารของ ความไม่มีสติสัมปชัญญะ
๕. ความไม่มีสติสัมปชัญญะ (หรือทำสติไม่เป็น) เป็นอาหารของ ความไม่สำรวมอินทรีย์
๖. การไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของ ทุจริต ๓ (กาย, วาจา, ใจ ทุจริต)
๗. ทุจริต ๓ เป็นอาหารของ นิวรณ์ ๕
๘. นิวรณ์ ๕ เป็นอาหารของ อวิชชา
๙. อวิชชา เป็นอาหารของ ภวตัณหา

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “ตัณหาสูตร” ข้อ ๖๒)

อาหาร ๙ ลำดับ (ที่ทำให้วิชชาและวิมุตบริบูรณ์)

๑. การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์
๒. การฟังสัทธรรมบริบูรณ์ ย่อมทำ ศรัทธาให้บริบูรณ์
๓. ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำ มนสิการโดยแยบคายให้บริบูรณ์
๔. การมนสิการโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ที่จะรู้ทันผัสสะ รู้ทันเวทนา
๕. สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ ความสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์ (คือ กาย วาจา ใจ เลิกทำการงานทุจริต)
๗. สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์
๘. สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
๙. โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ วิชชาและวิมุต บริบูรณ์  

  (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “อวิชชาสูตร” ข้อ ๖๑)

 

พุทธสิกขา หมวด ๑๐

กถาวัตถุ ๑๐

    คือเรื่องที่ควรพูด เพื่อการขัดเกลากิเลส
๑. เรื่องที่ชักนำให้มักน้อย กล้าจน (อัปปิจฉกถา)
๒. เรื่องที่ชักนำให้สันโดษ ใจพอ (สันตุฏฐิกถา)
๓. เรื่องที่ชักนำให้สงัดจากกิเลส (ปวิเวกกถา)
๔. เรื่องที่ชักนำไม่คลุกคลีกับหมู่กิเลส (อสังสัคคกถา)
๕. เรื่องที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในความเพียร (วิริยารัมภกถา)
๖. เรื่องที่ชักนำให้สมบูรณ์ในศีล (สีลกถา)
๗. เรื่องที่ชักนำให้จิตตั้งมั่นในกุศล (สมาธิกถา)
๘. เรื่องที่ชักนำให้เกิดปัญญาชำแรกกิเลส (ปัญญากถา)
๙. เรื่องที่ชักนำให้ทำตนหลุดพ้นกิเลส (วิมุตติกถา)
๑๐. เรื่องที่ชักนำให้รู้แจ้งเห็นจริง ในภาวะแห่งความหลุดพ้นกิเลสแล้ว (วิมุตติญาณทัสสนกถา)

               (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “วัตถุกถาสูตร” ข้อ ๖๙ – ๗๐)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
กถาวัตถุ ๑๐ (เรื่องที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ)
๑. อัปปิจฉกถา (เรื่องความมักน้อย, ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย ไม่มักมาก อยากเด่น)
๒. สันตุฏฐิกถา (เรื่องความสันโดษ, ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ไม่ชอบฟุ้งเฟ้อ หรือปรนปรือ)
๓. ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด, ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายใจ)
๔. อสังสัคคกถา (เรื่องความไม่คลุกคลี, ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่)
๕. วิริยารัมภกถา (เรื่องการปรารภความเพียร, ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำควรเพียร)
๖. สีลกถา (เรื่องศีล, ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล)
๗. สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ, ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น)
๘. ปัญญากถา (เรื่องปัญญา,ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา)
๙. วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ, ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์)
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องความรู้ความเห็นในวิมุตติ, ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจ และเข้าใจ เรื่องความรู้)

กาลามสูตร ๑๐

    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อย่าเชื่อถืออะไรง่าย ๆ
๑. อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา (มา อนุสสเวนะ)
๒. อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำที่เล่าสืบต่อกันมา (มา ปรัมปรายะ)
๓. อย่าได้เชื่อถือ โดยตื่นข่าวลือ (มา อิติกิรายะ)
๔. อย่าได้เชื่อถือ โดยอ้างตำรา (มา ปิฎกสัมปทาเนนะ)
๕. อย่าได้เชื่อถือ โดยเดาเอาเอง (มา ตักกเหตุ)
๖. อย่าได้เชื่อถือ โดยการคาดคะเน (มา นยเหตุ)
๗. อย่าได้เชื่อถือ โดยนึกคิดตามอาการ (มา อาการปริวิตักเกนะ)
๘. อย่าได้เชื่อถือ โดยชอบใจว่า ตรงกับความเห็นของตน (มา ทิฏฐินิชฌา นักขันติยา)
๙. อย่าได้เชื่อถือ โดยลักษณะของผู้พูด น่าเชื่อถือ (มา ภัพพรูปตายะ)
๑๐.อย่าได้เชื่อถือ โดยนับถือว่าสมณะนี้ เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
หากปฏิบัติธรรมเหล่านั้น แล้วเกิดอกุศล (ชั่ว) ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ควรละธรรมเหล่านั้นเสีย 
หากปฏิบัติธรรมเหล่านั้น แล้วเกิดกุศล (ดี) เกื้อกูล เป็นสุข ควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้น

   (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ “เกสปุตติสูตร” ข้อ ๕๐๕)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐ (หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ใน กาลามสูตร)
๑. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา
๒. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
๓. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
๔. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
๕. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
๖. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
๗. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
๘. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
๙. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
๑๐. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

กุศลกรรมบถ ๑๐

    คือหนทางแห่งการกระทำความดี (กุศล) ๑๐ ทาง
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เว้นขาดการฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทานา เวรมณี (เว้นขาดการลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี (เว้นขาดการประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาทา เวรมณี (เว้นขาดการพูดเท็จ)
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี(เว้นขาดคำส่อเสียด)
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เว้นขาดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เว้นขาดคำเพ้อเจ้อ)
๘. อนภิชฌา (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น)
๙. อพยาบาท (ไม่มีจิตปองร้ายผู้อื่น)
๑๐. สัมมาทิฏฐิ (มีความเห็นที่ถูกตรง)

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “จุนทสูตร” ข้อ ๑๖๕)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
กุศลกรรมบถ ๑๐ (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ ความสุข ความเจริญ หรือสุคติ) ว่าโดย ข้อธรรมสมบูรณ์ (แปลตัดเอาแต่ใจความ) ดังนี้
ก. กายกรรม ๓ (การกระทำทางกาย)
๑. ละการฆ่าการเบียดเบียน มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๒. ละอทินนาทาน เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น
๓. ละการประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ
ข. วจีกรรม ๔ (การกระทำทางวาจา)
๔. ละการพูดเท็จ ไม่ยอมกล่าวเท็จ เพราะเหตุตนเอง ผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใด ๆ
๕. ละการพูดคำส่อเสียด ช่วยสมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน ชอบกล่าวถ้อยคำ ที่สร้างสามัคคี
๖. ละคำหยาบพูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน
๗. ละการพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริงมีเหตุผล มีสารประโยชน์ ถูกกาลเทศะ
ค. มโนกรรม ๓ (การกระทำทางใจ)
๘. ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น
๙. ไม่มีจิตคิดร้าย คือปรารถนาแต่ว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ ครองตน อยู่เป็นสุขเถิด
๑๐. มีความเห็นชอบ เช่นว่า ทานมีผล การบูชามีผล ผลวิบากกรรมดีกรรมชั่วมี เป็นต้น

สัมมัตตะ ๑๐
ความถูกตรงภาวะที่ถูก ความเป็นที่ถูก

  คือความถูกตรงที่ทำให้บรรลุมรรคผล
๑. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นถูกตรง)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ความดำริถูกตรง)
๓. สัมมาวาจา (วาจาถูกตรง)
๔. สัมมากัมมันตะ (การงานถูกตรง)
๕. สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพถูกตรง)
๖. สัมมาวายามะ (ความพยายามถูกตรง)
๗. สัมมาสติ (การระลึกถูกตรง)
๘. สัมมาสมาธิ (จิตตั้งมั่นถูกตรง)
๙. สัมมาญาณ(ความรู้ถูกตรง)
๑๐. สัมมาวิมุต(ความหลุดพ้นถูกตรง)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “สัมมัตตสูตร” ข้อ ๑๐๔)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สัมมัตตะ ๑๐ (ภาวะที่ถูก, ความเป็นที่ถูก)
    ๘ ข้อต้น ตรงกับองค์มรรค ๘ ข้อ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ และเพิ่ม ๒ ข้อ คือ
๙. สัมมาญาณ (รู้ชอบ ได้แก่ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณทั้ง ๑๙ ประเภท)
๑๐. สัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ ได้แก่ อรหัตตผลวิมุตติ)
    ธรรมหมวดนี้ เรียกชื่ออีกอย่างว่า อเสขธรรม (ธรรมของพระอเสขะ)

มิจฉัตตะ ๑๐
(ความผิดพลาด ภาวะที่ผิด ความเป็นสิ่งที่ผิด)

คือภาวะที่ผิดที่ทำให้ไม่บรรลุมรรคผล
๑. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)         
๒. มิจฉาสังกัปปะ (ความดำริผิด)  
๓. มิจฉาวาจา (วาจาผิด)  
๔. มิจฉากัมมันตะ (การงานผิด)    
๕. มิจฉาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพผิด) 
๖. มิจฉาวายามะ (ความพยายามผิด)             
๗. มิจฉาสติ (การระลึกผิด)            
๘. มิจฉาสมาธิ (จิตตั้งมั่นผิด)         
๙. มิจฉาญาณ (ความรู้ผิด)
๑๐. มิจฉาวิมุต (ความหลุดพ้นผิด)

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “มิจฉัตตสูตร” ข้อ ๑๐๓)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
มิจฉัตตะ ๑๐ (ภาวะที่ผิด, ความเป็นสิ่งที่ผิด)
๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด ได้แก่ ความเห็นผิด จากคลองธรรม ตามหลักกุศลกรรมบถ และความเห็น ที่ไม่นำไปสู่ ความพ้นทุกข์)
๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด ได้แก่ ความดำริ ที่เป็นอกุศลทั้งหลาย ตรงข้ามจาก สัมมาสังกัปปะ)
๓. มิจฉาวาจา (วาจาผิด ได้แก่ วจีทุจริต ๔)
๔. มิจฉากัมมันตะ( กระทำผิด ได้แก่ กายทุจริต ๓)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด ได้แก่ เลี้ยงชีวิตในทางทุจริต)
๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด ได้แก่ ความเพียรตรงกันข้ามกับสัมมาวายามะ)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด ได้แก่ ความระลึกถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เช่น ระลึกถึงการได้ทรัพย์ การได้ยศ เป็นต้น ในทางอกุศล อันจัดเป็น สติเทียม เป็นเหตุชักนำใจ ให้เกิดกิเลส มีโลภะ มานะ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น)
๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตผิด ได้แก่ ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ ในกามราคะ พยาบาท เป็นต้น หรือเจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจน นำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไป เพื่อญาณทัสสนะ และ ความหลุดพ้น)
๙. มิจฉาญาณ (รู้ผิด ได้แก่ ความหลงผิดที่แสดงออก ในการคิดอุบาย ทำความชั่ว และในการพิจารณาทบทวนว่าความชั่วนั้นๆ ตนกระทำได้อย่างดีแล้ว เป็นต้น
๑๐. มิจฉาวิมุตติ (พ้นผิด ได้แก่ ยังไม่ถึงวิมุตติ สำคัญว่าถึงวิมุตติ หรือสำคัญผิด ในสิ่งที่มิใช่วิมุตติว่า เป็นวิมุตติ)

ทศพิธราชธรรม ๑๐

    คือคุณธรรม ๑๐ ประการของผู้ปกครองบ้านเมือง
๑. ทาน (การแบ่งปันให้)
๒. ศีล (การไม่ทำชั่วทางกาย วาจา ใจ)
๓. ปริจจาคะ (การสละรอบไม่สะสม)
๔. อาชชวะ (ความซื่อตรง)
๕. มัททวะ (ความอ่อนโยน)
๖. ตปะ (ความเพียรเผากิเลส)
๗. อักโกธะ (ความไม่โกรธ
๘. อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)
๙. ขันติ (ความอดทน)
๑๐. อวิโรธนะ (ความไม่ประพฤติผิดธรรม)

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๘ “มหาหังสชาดก” ข้อ ๒๔๐)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ราชธรรม ๑๐ หรือ ทศพิธราชธรรม (ธรรมของพระราชา, กิจวัตรที่พระเจ้าแผ่นดิน ควรประพฤติ, คุณธรรมของ
ผู้ปกครองบ้านเมือง, ธรรมของนักปกครอง
๑. ทาน (การให้ คือ สละทรัพย์สิ่งของ บำรุงเลี้ยง ช่วยเหลือประชาราษฎร์ และบำเพ็ญ สาธารณประโยชน์)
๒. ศีล (ความประพฤติดีงาม คือ สำรวมกายและวจีทวาร ประกอบแต่การสุจริต รักษากิตติคุณ ให้ควรเป็น)
ตัวอย่าง และเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์ มิให้มีข้อที่ใคร จะดูแคลน)
๓. ปริจจาคะ (การบริจาค คือ เสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดจนชีวิตของตน เพื่อประโยชน์สุข ของประชาชน และความสงบเรียบร้อย ของบ้านเมือง)
๔. อาชชวะ (ความซื่อตรง คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มารยา ปฏิบัติภารกิจ โดยสุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน)
๕. มัททวะ (ความอ่อนโยน คือ มีอัธยาศัย ไม่เย่อหยิ่ง หยาบคาย กระด้างถือองค์ มีความงามสง่า เกิดแต่ท่วงที กิริยาสุภาพ นุ่มนวล ละมุนละไม ให้ได้ความรักภักดี แต่มิขาดยำเกรง)
๖. ตปะ (ความทรงเดช คือ แผดเผากิเลสตัณหา มิให้เข้ามาครอบงำ ย่ำยีจิต ระงับยับยั้ง ข่มใจได้ ไม่ยอมให้หลงใหล หมกมุ่น ในความสุขสำราญ และความปรนเปรอ มีความเป็นอยู่ สม่ำเสมอ หรือ อย่างสามัญ มุ่งมั่น แต่จะบำเพ็ญเพียร ทำกิจให้บริบูรณ์)
๗. อักโกธะ (ความไม่โกรธ คือ ไม่กริ้วกราด ลุอำนาจความโกรธ จนเป็นเหตุ ให้วินิจฉัยความ และกระทำกรรมต่างๆ ผิดพลาดเสียธรรม มีเมตตาประจำใจ ไว้ระงับความเคืองขุ่น วินิจฉัยความ และกระทำการ ด้วยจิตอันราบเรียบ เป็นตัวของตนเอง
๘. อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน คือ ไม่บีบคั้นกดขี่ เช่น เก็บภาษีขูดรีด หรือ เกณฑ์แรงงาน เกินขนาด ไม่หลงระเริงอำนาจ ขาดความกรุณา หาเหตุเบียดเบียน ลงโทษอาชญา แก่ประชาราษฎร์ผู้ใด เพราะอาศัย ความอาฆาต เกลียดชัง)
๙. ขันติ (ความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ ถึงจะลำบากกาย น่าเหนื่อยหน่ายเพียงไร ก็ไม่ท้อถอย ถึงจะถูกยั่วถูกหยัน ด้วยคำเสียดสี ถากถางอย่างใด ก็ไม่หมดกำลังใจ ไม่ยอมละทิ้ง กรณีย์ที่บำเพ็ญ โดยชอบธรรม)
๑๐. อวิโรธนะ (ความไม่คลาดธรรม คือ วางองค์เป็นหลัก หนักแน่นในธรรม คงที่ ไม่มีความเอนเอียง หวั่นไหว เพราะถ้อยคำ ที่ดีร้าย ลาภสักการะ หรืออิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ใด ๆ สติมั่นในธรรม ทั้งส่วนยุติธรรม คือ ความเที่ยงธรรม ก็ดี นิติธรรม คือ ระเบียบแบบแผน หลักการปกครอง ตลอดจน ขนบธรรมเนียม ประเพณี อันดีงาม ก็ดี ไม่ประพฤติให้เคลื่อนคลาด วิบัติไป)

ทุกข์ ๑๐

    คือสภาพไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ทนได้ยาก มี.....
   ก. ทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ (กายิกทุกข์ อันเกิดจากกาย)
๑. สภาวทุกข์ (ทุกข์เองตามธรรมชาติ เกิด แก่ ตาย)
๒. นิพัทธทุกข์ (ทุกข์ประจำชีวิต ร้อน หนาว หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ)
๓. อาหารปริเยฏฐิทุกข์ (ทุกข์ในการหากินเลี้ยงชีพ)
๔. พยาธิทุกข์ (ทุกข์จากความเจ็บป่วย)
๕. วิปากทุกข์ (ทุกข์จากผลกรรม เลี่ยงวิบากเก่าไม่ได้)
๖. ทุกขขันธ์ คือ ทุกข์รวบยอดเพราะการประชุมแห่งขันธ์ ๕ อันยังอาศัยมีชีวิตอยู่ มี รูป (กาย)  เวทนา (ความรู้สึก) สัญญา (กำหนดจำ) สังขาร (ปรุงแต่ง)  วิญญาณ (ความรับรู้)

        ข. ทุกข์ที่เลี่ยงได้ (เจตสิกทุกข์ อันสามารถดับได้แท้)
๗. ปกิณกทุกข์ คือ ทุกข์จรแห่งกิเลส ได้แก่ ความโศก ปริเทวะ (คร่ำครวญ) ทุกข์ โทมนัส (เสียใจ)  อุปายาส (คับแค้นใจ) เช่น เมื่อพรากจากคนที่รัก หรือสิ่งอันเป็นที่รัก เป็นต้น
๘. สันตาปทุกข์ (ทุกข์ร้อนรุ่มใจอันเนื่องมาจากกิเลส ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะแผดเผา)
๙. สหคตทุกข์ (ทุกข์จากพัวพันไปด้วยกันกับโลก เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข)
๑๐. วิวาทมูลกทุกข์ (ทุกข์จากเหตุทะเลาะวิวาทกัน)

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๐ “อชิตมาณวกปัญหานิทเทส” ข้อ ๖๘
พระวิสุทธิมัคค์ “ปัญญานิเทศ” หน้า ๖๑๗- ๖๒๑)

โทษของผู้อยู่ประจำที่ ๑๐

     โทษของภิกษุในการอยู่ประจำที่ คือ

๑. เป็นผู้ตระหนี่ (หวงไม่อยากให้) ที่อยู่
๒. เมื่อจะหลีกไปจากที่อยู่นั้น มีความห่วงใยหลีกไป
๓. ตระหนี่สกุล (หวงพวก)
๔. อยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการคลุกคลี กับคฤหัสถ์ อันไม่สมควร
๕. ตระหนี่ลาภ
๖. มีสิ่งของมาก มีการสะสมสิ่งของมาก
๗. ตระหนี่วรรณะ (หวงตัว)
๘. มีเภสัช (ยารักษาโรค)มาก มีการสะสมเภสัชมาก
๙. ตระหนี่ธรรม
๑๐. มีกิจมาก มีหน้าที่ต้องทำมาก ไม่ฉลาดในกิจที่ต้องทำ

   (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อภินิวาสสูตร” ข้อ ๒๒๓ และ เล่ม ๒๒ “มัจฉรสูตร” ข้อ ๒๒๔)

ธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอาริยะ ๑๐ ประการ

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว (คือ นิวรณ์ ๕ อันได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา)
๒. ประกอบด้วยองค์ ๖ (เรียกว่า ฉฬังคสมันนาคโต อันได้แก่ เห็นรูปด้วยจักษุ... ฟังเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมด้วยใจ แล้วเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่)
๓. รักษาแต่อย่างเดียว (เรียกว่า เอการักโข คือเป็นผู้ประกอบด้วยใจ อันรักษาด้วยสติ)
๔. มีธรรมเป็นที่พักพิง ๔ ประการ (เรียกว่า จตุราปัสเสโน คือ
๑) พิจารณาแล้วย่อมเสพ ๒) พิจารณาแล้วย่อมอดกลั้น
๓) พิจารณาแล้วย่อมเว้น ๔) พิจารณาแล้วย่อมบรรเทา)
๕. มีปัจเจกสัจจะบรรเทาได้แล้ว (เรียกว่า ปนุณณปัจเจกสัจโจ คือการบรรเทาได้แล้ว กำจัดออกแล้ว สละได้แล้ว คลายได้แล้ว พ้นได้แล้ว ละได้แล้ว สลัดได้เฉพาะแล้ว อันได้แก่ สัจจะว่า โลกเที่ยงบ้าง -ไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง -ไม่มีที่สุดบ้าง ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น -สรีระเป็นอื่นบ้าง สัตว์เมื่อตายไป ย่อมเป็นอีกบ้าง -ย่อมไม่เป็นอีกบ้าง สัตว์เมื่อตายไป ย่อมเป็นอีกก็มี -ไม่เป็นอีก ก็มีบ้าง สัตว์เมื่อตายไป ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้-ย่อมไม่เป็นอีก ก็หามิได้บ้าง)
๖. มีการแสวงหาอันสละเสียแล้วด้วยดี (เรียกว่า สมวยสัฏเฐสโน ได้แก่ ละการแสวงหากาม และภพ แต่แสวงหา พรหมจรรย์ ได้แล้ว)
๗. มีความดำริไม่ขุ่นมัว (เรียกว่า อนาวิลสังกัปโป ได้แก่ละความดำริในกาม พยาบาท และวิหิงสาได้แล้ว)
๘. มีกายสังขารอันสงบระงับแล้ว (เรียกว่า ปัสสัทธกายสังขาโร คือ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่)
๙. มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี
(เรียกว่า สุวิมุตตจิตโต คือจิตเป็นธรรมชาติ หลุดพ้นแล้วจาก ราคะ โทสะ โมหะ)
๑๐. มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี (เรียกว่า สุวิมุตตปัญโญ คือ ย่อมรู้ชัดว่า ราคะ โทสะ โมหะ เราละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไป เป็นธรรมดา)

     (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “อริยวสสูตร” ข้อ ๑๙-๒๐)

นาถกรณธรรม ๑๐  

    คือคุณธรรมที่ทำให้พึ่งตนเองได้ ทำให้อยู่เป็นสุข หากไม่มีธรรมอันเป็นที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์
๑. ศีล (ข้อปฏิบัติไม่ทำชั่วทางกายวาจาใจ มีกรรมโดยความประพฤติดี)
๒. พาหุสัจจะ (ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก และพิสูจน์รู้เห็นผล ของสัจจะ มามาก เช่น พิสูจน์ผลของ โสดาบัน ฯลฯ)
๓. กัลยาณมิตตตา (มีมิตรดีงาม มีผู้แนะนำดี ช่วยขัดเกลาดี)
๔. โสวจัสสตา (เป็นคนว่าง่าย สอนง่าย ฟังเหตุผล ปรับใจเก่ง)
๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา (ขยันช่วยงานที่ควรทำ เอาใจใส่ในกิจธุระ ของหมู่คณะ)
๖. ธัมมกามตา (เป็นผู้ใคร่ในธรรม มีใจใฝ่รักในธรรม ยินดีใฝ่หา ยิ่งขึ้น ๆ)
๗. วิริยารัมภะ (เป็นผู้ตั้งอยู่ในความเพียร ขยันหมั่นเพียรในการละหน่าย ให้คลายจาก อำนาจกิเลส)
๘. สันตุฏฐี (เป็นผู้สันโดษ มีใจพอ)
๙. สติ (มีพลังแห่งความรู้ตัว ระลึกรู้ตัวเสมอ แม้สิ่งที่ทำ / คำที่พูดนานแล้ว)
๑๐. ปัญญา (มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งปวง ตามความเป็นจริง มีความรู้ ชำแรกกิเลสได้)

 (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๕๗ และเล่ม ๒๔ “นาถสูตร” ข้อ ๑๗)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
นาถกรณธรรม ๑๐ (ธรรมอันกระทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้ ตนเป็นที่พึ่ง ของตนได้)
๑. ศีล (ความประพฤติดีงามสุจริต รักษาระเบียบวินัย มีอาชีวะบริสุทธิ์)
๒. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก มีความรู้ ความเข้าใจลึกซึ้ง)
๓. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร, การคบคนดี ได้ที่ปรึกษา และผู้แนะนำ สั่งสอนที่ดี)
๔. โสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รับฟังเหตุผล)
๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา (ความเอาใจใส่ ช่วยขวนขวาย ในกิจใหญ่น้อย ทุกอย่าง ของเพื่อน ร่วมหมู่คณะ รู้จักพิจารณา ไตร่ตรอง สามารถจัดทำ ให้สำเร็จเรียบร้อย)
๖. ธัมมกามตา (ความเป็นผู้ใคร่ธรรม คือ รักธรรม ใฝ่ความรู้ ใฝ่ความจริง รู้จักพูด รู้จักฟัง ทำให้เกิดความพอใจ น่าร่วมปรึกษาสนทนา ชอบศึกษา ยินดีปรีดา ในหลักธรรม หลักวินัย ที่ละเอียด ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป)
๗. วิริยารัมภะ (ความขยันหมั่นเพียร คือ เพียรละความชั่ว ประกอบความดี มีใจแกล้วกล้า
บากบั่น ก้าวหน้า ไม่ย่อท้อ ไม่ทอดทิ้งธุระ)
๘. สันตุฏฐี (ความสันโดษ คือ ยินดี มีความสุขความพอใจด้วยปัจจัย ๔ ที่หามาได้ ด้วยความเพียร อันชอบธรรมของตน)
๙. สติ (ความมีสติ รู้จักกำหนดจดจำ ระลึกการที่ทำ คำที่พูดไว้ได้ ไม่มีความประมาท)
๑๐. ปัญญา (ความมีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล รู้จักคิดพิจารณา เข้าใจภาวะ ของสิ่งทั้งหลาย ตามความเป็นจริง)
นาถกรณธรรมนี้ ท่านเรียกว่าเป็น พหุการธรรม หรือ ธรรมมีอุปการะมาก เพราะเป็นกำลังหนุน ในการบำเพ็ญ คุณธรรมต่างๆ ยังประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น ให้สำเร็จ ได้อย่างกว้างขวาง ไพบูลย์

เนื้อต้องห้าม ๑๐

๑. เนื้อมนุษย์
๒. เนื้อช้าง
๓. เนื้อม้า
๔. เนื้อสุนัข
๕. เนื้องู
๖. เนื้อราชสีห์
๗. เนื้อเสือโคร่ง
๘. เนื้อเสือเหลือง
๙. เนื้อหมี
๑๐. เนื้อเสือดาว

      (พระไตรปิฎก เล่ม ๕ ช้อ ๕๙-๖๐)

บารมี ๑๐

     คือคุณความดียิ่งที่กระทำสั่งสมมา ๑๐ อย่าง
(อดีตชาติสำคัญ ที่พระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญ เรียกว่า พระเจ้า ๑๐ ชาติ)
๑. ทานบารมี (พระเวสสันดร)
๒. ศีลบารมี (พระภูริทัตต์)
๓. เนกขัมมะบารมี (พระเตมีย์)
๔. ปัญญาบารมี (พระมโหสถ)
๕. วิริยะบารมี (พระมหาชนก)
๖. ขันติบารมี (พระจันทกุมาร)
๗. สัจจะบารมี (พระวิธุระ)
๘. อธิษฐานบารมี (พระเนมิราช)
๙. เมตตาบารมี (พระสุวรรณสาม)
๑๐. อุเบกขาบารมี (พระนารทะ)

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๘ “มหานิบาตชาดก” ข้อ ๓๙๔-๑๐๕๑
พระไตรปิฎก เล่ม ๓๓ “สโมธานกถา” ข้อ ๓๖)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
บารมี ๑๐ หรือ ทศบารมี (ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติ อย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญ อย่างพิเศษ เพื่อบรรลุ ซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น ความเป็น พระพุทธเจ้า และความเป็น มหาสาวก เป็นต้น)
๑. ทาน (การให้ การเสียสละ)
๒. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, ความประพฤติดีงาม ถูกต้อง ตามระเบียบวินัย)
๓. เนกขัมมะ (การออกบวช, ความปลีกตัว ปลีกใจจากกาม)
๔. ปัญญา (ความรอบรู้, ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะ ของสิ่งทั้งหลาย ตามความเป็นจริง)
๕. วิริยะ (ความเพียร, ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่น อุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่)
๖. ขันติ (ความอดทน, ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญา ควบคุมตน ให้อยู่ในอำนาจ เหตุผล และแนวทาง ความประะพฤติ ที่ตั้งไว้ เพื่อจุดหมาย อันชอบ ไม่ลุอำนาจกิเลส
๗. สัจจะ (ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ)
๘. อธิษฐาน (ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมาย แห่งการกระทำ ของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้น แน่วแน่)
๙. เมตตา (ความรักใคร่, ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่น และเพื่อนร่วมโลกทั้งปวง มีความสุข ความเจริญ)
๑๐. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง, ความวางใจสงบราบเรียบ สม่ำเสมอ เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วย ความยินดี ยินร้าย หรือชอบฟัง)
บารมีนั้น ท่านกล่าวว่า จะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ ต้องครบ ๓ ขั้น คือ
๑. บารมี (ระดับสามัญ เช่น ทานบารมี ได้แก่ ให้ทรัพย์สินเงินทอง สมบัตินอกกาย)
๒. อุปบารมี (ระดับรองหรือจวนจะสูงสุด เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การเสียสละอวัยวะ เป็นทาน)
๓. ปรมัตถบารมี (ระดับสูงสุด เช่น ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ การสละชีวิต เพื่อประโยชน์ แก่ผู้อื่น)
บำเพ็ญทั้ง ๑๐ บารมี ครบ ๓ ขั้นนี้ เรียกว่า สมตึสปารมี หรือ สมตึงสบารมี แปลว่า บารมี ๓๐ ถ้วน

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

     คือเรื่องของการทำบุญ (เครื่องชำระกิเลส) ๑๐ วิธี
๑. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ - การสละออก)
๒. สีลมัย (ทำบุญด้วยการชำระล้างกิเลสออก)
๓. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการ ทำผลเจริญให้จิต ทำดีให้เกิดผล)
๔. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการอ่อนน้อม)
๕. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวาย เอาภาระการงาน)
๖. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ ที่เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ยิ่งขึ้น ๆ เป็นการแบ่ง ส่วนแห่งความดี ให้แก่ผู้อื่น)
๗. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดี ที่ได้ชำระกิเลส หรือได้บุญแล้ว แม้ผู้อื่นกระทำ)
๘. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรม)
๙. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการแสดงธรรม)
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็น ให้ถูกตรง)

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ “สังคีติสูตร” ข้อ ๒๒๘
อรรถกถาแปล เล่ม ๑๖ “สังคีติสูตร” หน้า ๓๑๒)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี)
๑. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ)
๒. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี)
๓. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ)
๔. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
๕. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้)
๖. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น)
๗. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)
๘. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้)
๙. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้)
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)

ประโยชน์ของ การบัญญัติสิกขาบท ๑๐

    พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติข้อศีลข้อวินัย
อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ(อาย) ยาก
๔. เพื่อความอยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
๕. เพื่อป้องกันอาสวะ (กิเลสที่หมักหมมในสันดาน)
อันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะ อันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม(ธรรมของคนดี)
๑๐. เพื่อถือตามพระวินัย (ข้อบังคับ)

  (พระไตรปิฎก เล่ม ๑ “ทุติยปาราชิกกัณฑ์” ข้อ ๘๔)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
วัตถุประสงค์ในการบัญญัติวินัย ๑๐ (เหตุผลที่พระพุทธเจ้า ทรงปรารภ หรือประโยชน์ ที่ทรงประสงค์ ในการทรงบัญญัติ สิกขาบท แก่พระสงฆ์สาวก)

ก. ว่าด้วยประโยชน์แก่สงฆ์หรือส่วนรวม

๑. สงฺฆสุฏฺฐุตาย (เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ คือ เพื่อความเรียบร้อย ดีงามแห่งสงฆ์ ซึ่งได้ทรงชี้แจง ให้มองเห็นคุณโทษ แห่งความประพฤตินั้น ๆ ชัดเจนแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ขึ้นไว้โดย ความเห็นร่วมกัน)
๒. สงฺฆผาสุตาย (เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์)

ข. ว่าด้วยประโยชน์แก่บุคคล

๓. ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย (เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก คือ เพื่อกำราบ คนผู้ด้าน ประพฤติทราม)
๔. เปสลานํ ภิกฺขูนํ ผาสุวิหาราย (เพื่อความอยู่ผาสุก แห่งเหล่าภิกษุ ผู้มีศีลดีงาม)

ค. ว่าด้วยประโยชน์แก่ความบริสุทธิ์ หรือแก่ชีวิต ทั้งทางกายและทางใจ

๕. ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย (เพื่อปิดกั้นอาสวะ ทั้งหลาย อันจะบังเกิด ในปัจจุบัน คือ เพื่อระงับปิดทางความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในปัจจุบัน)

ง. ว่าด้วยประโยชน์แก่ประชาชน

๗. อปฺปสนฺนานํ ปสาทาย (เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส)
๘. ปสนฺนานํ ภิยฺโยภาวาย (เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว)

จ. ว่าด้วยประโยชน์แก่พระศาสนา

๙. สทฺธมฺมฏฺฐิติยา (เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม)
๑๐. วินยานุคฺคหาย (เพื่ออนุเคราะห์วินัย คือ ทำให้มีบทบัญญัติ สำหรับใช้เป็นหลักเกณฑ์ จัดระเบียบของหมู่ สนับสนุน ความมีวินัย ให้หนักแน่น มั่นคงยิ่งขึ้น)

ประโยชน์ของข้าวยาคู ๑๐

      ข้าวยาคูคือ ข้าวต้มที่ทำอย่างซดได้ ดื่มได้
เป็นอาหารเบา ๆ ท้อง มีประโยชน์ ๑๐ อย่าง
๑. ให้อายุ
๒. ให้ผิวพรรณ
๓. ให้ความสุข
๔. ให้กำลัง
๕. ให้ปฏิภาณ
๖. กำจัดความหิว
๗. บรรเทาความกระหาย
๘. ทำลมในท้องให้เดินคล่อง
๙. ล้างลำไส้
๑๐. ย่อยอาหารใหม่ที่เหลืออยู่
(ข้าวยาคูที่ปรุงด้วยข้าวสาร ถั่วเขียว งา เป็นยารักษาโรคลม ในท้องด้วย)

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๕ “เภสัชชขันธกะ” ข้อ ๔๙, ๖๑)

มิจฉาทิฏฐิ ๑๐ . . ไม่มีผลต่อปุญญาภาคียะ

๑. ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล (กิเลสไม่ลด) (นัตถิ ทินนัง)
๒. ยัญพิธี(พิธีการ)ที่บูชาแล้ว ไม่มีผล (นัตถิ ยิฏฐัง)
๓. สังเวย(เสวย)ที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล (นัตถิ หุตัง)
๔. ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว ไม่มีผล
(นัตถิ สุกตะทุกกะฏานัง กัมมานัง  ผลัง วิปาโก)
๕. โลกนี้ ไม่มี (นัตถิ อยัง โลโก) .
๖. โลกหน้า ไม่มี (นัตถิ ปโร โลโก)
๗. ไม่มีปัญญาเห็นมารดา (นัตถิ มาตา)
๘. ไม่มีปัญญาเห็นบิดา (นัตถิ ปิตา)
๙. ไม่มีปัญญาเห็นสัตว์อุบัติขึ้นเอง (นัตถิ สัตตา โอปปาติกา)
๑๐. ไม่เห็นสมณพราหมณ์ทั้งหลาย.เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ -โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกนี้ (นัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญจ โลกัง ปรัญจ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ ๒๕๕)

มูลสูตร ๑๐

   มูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง (รากเหง้าทั้งปวง มีอะไร เป็นอะไร) คือ
๑. มีฉันทะเป็นมูล – รากเหง้า (มูลกา)
๒. มีมนสิการเป็นแดนเกิด (สัมภวะ)
๓. มีผัสสะเป็นเหตุเกิด (สมุทัย)
๔. มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง (สโมสรณา)
๕. มีสมาธิเป็นประมุข (ปมุขะ)
๖. มีสติเป็นใหญ่ (อธิปไตย - คือพลังอำนาจ)
๗. มีปัญญาเป็นยิ่ง (อุตระ – คือเหนือ)
๘. มีวิมุตเป็นแก่น (สาระ) – สุดยอดที่จะรู้ยิ่ง
๙. มีอมตะเป็นที่หยั่งลง (โอคธา)
๑๐. มีนิพพานเป็นที่สุด (ปริโยสาน)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “มูลสูตร” ข้อ ๕๘)

วิปัสสนูปกิเลส ๑๐

     คือญาณที่ยังข้องด้วยอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของการวิปัสสนา (การพิจารณา รู้แจ้งเห็นจริง)
๑. โอภาส (แสงสว่าง)
๒. ญาณ (ความหยั่งรู้ ความรู้แจ้ง)
๓. ปีติ (ความอิ่มใจ)
๔. ปัสสัทธิ (ความสงบจากกิเลส)
๕. สุข (ความสบายใจ)
๖. อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ)
๗. ปัคคาหะ (ความเพียร)
๘. อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น สติแก่กล้า)
๙. อุเบกขา (ความมีจิตวางเฉยกิเลส)
๑๐. นิกันติ (ความพอใจ-ติดใจ ความดิ้นรนปรารถนา)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๓๑ “ยุคนัทธกถา” ข้อ ๕๔๒)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ (อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, ธรรมารมณ์ ที่เกิดแก่ผู้ได้ ตรุณวิปัสสนา หรือวิปัสสนาอ่อน ๆ ทำให้เข้าใจผิดว่า ตนบรรลุ มรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวาง ให้ไม่ก้าวหน้าต่อไป ในวิปัสสนาญาณ)
๑. โอภาส (แสงสว่าง)
๒. ญาณ (ความหยั่งรู้)
๓. ปีติ (ความอิ่มใจ)
๔. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น)
๕. สุข (ความสุขสบายใจ)
๖. อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ, ศรัทธาแก่กล้า, ความปลงใจ)
๗. ปัคคาหะ (ความเพียรที่พอดี)
๘. อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า, สติชัด)
๙. อุเบกขา (ความมีจิตเป็นกลาง)
๑๐. นิกันติ (ความพอใจ, ติดใจ)

ศรัทธา ๑๐

        ธรรม ๑๐ ประการนี้ก่อเกิดความเลื่อมใสโดยรอบ
๑. มีศรัทธา (ความเชื่อมั่นอย่างสัมมาทิฏฐิ เชื่อถือเลื่อมใส ในอริยสัจ เป็นต้น)
๒. มีศีล(ข้อปฏิบัติเว้นจากความชั่วทั้งกาย วาจา ใจในบริบทที่สูงไปสู่ สีลสัมปทา แห่งจรณะ๑๕)
๓. เป็นพหูสูต/พาหุสัจจะ (ผู้รู้สัจจะบรรลุจริง จนรู้มากขึ้น)
๔. เป็นธรรมกถึก (อธิบายสัจธรรม สอนความจริง)
๕. เข้าสู่บริษัท (สู่หมู่ชน หมู่กลุ่มอื่น)
๖. แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท
๗. ทรงวินัย (ตั้งอยู่ในข้อห้าม ข้อบังคับ)
๘. อยู่ป่าเป็นวัตร(ข้อปฏิบัติ) ยินดีในเสนาสนะอันสงัด (คืออุเบกขา)
๙. ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔
๑๐. กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุต ปัญญาวิมุต อันหาอาสวะมิได้

     (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “สัทธาสูตร” ข้อ ๘)

สัญญา ๑๐

คือความกำหนดหมายรู้ ๑๐ ประการ
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดรู้ความไม่เที่ยง)
๒. อนัตตสัญญา (กำหนดรู้ ความหมดตัวตน)
๓. อสุภสัญญา (กำหนดรู้ความน่าเกลียด)
๔. อาทีนวสัญญา (กำหนดรู้ความเป็นโทษ)
๕. ปหานสัญญา (กำหนดรู้การกำจัดทิ้ง)
๖. วิราคสัญญา (กำหนดรู้ความสิ้นกำหนัด)
๗. นิโรธสัญญา (กำหนดรู้ความดับกิเลสทุกข์)
๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญษ (กำหนดรู้ ความไม่น่ายินดียิ่ง ในโลกทั้งปวง)
๙. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา (กำหนดรู้ความไม่น่าปรารถนา ในสังขารทั้งปวง )
๑๐. อานาปานสติ (สติกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ "มูลสูตร" ข้อ ๖๐)

สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นสาสวะ ๑๐

     คือความเห็นถูกต้อง ที่ยังมีกิเลสหมักหมมในสันดาน
เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิยา) ให้ผลวิบากแก่ขันธ์
(อุปธิเวปักกา - คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) โดยมีความเห็นดังนี้
๑. ทานที่ให้แล้ว มีผล – คือให้กิเลสลด (อัตถิ ทินนัง)
๒. ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง)
๓. สังเวย (เสวย) ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง)
๔. ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีอยู่ (มีแน่)
(อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก)
๕. โลกนี้มี (อัตถิ อยัง โลโก) - หมายถึง วนในโลกีย์เดิม ๆ
๖. โลกหน้ามี (อัตถิ ปโร โลโก) - หมายถึง โลกโลกุตระ
๗. มารดามี (อัตถิ มาตา)
๘. บิดามี (อัตถิ ปิตา)
๙. สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ (สัตว์ที่ผุดเกิดอุปปัติเอง)มี (อัตถิ สัตตา โอปปาติกา)
๑๐. สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ (ถูกต้อง) ปฏิบัติชอบ (ถูกตรง) ซึ่งประกาศ โลกนี้โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่ง ด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
          (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญจ โลกัง ปรัญจ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)

  (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ ๒๕๗)

อกุศลกรรมบถ ๑๐ (ทางทำความชั่ว)

๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาท (พูดเท็จ)
๕. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด)
๖. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)
๘. อภิชฌา (โลภอยากได้ของเขา)
๙. พยาบาท (คิดปองร้ายผู้อื่น)
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (มีความเห็นผิด)

  (พระไตรปิฎก เล่ม๑๐ “ปายาสิราชัญญสูตร” ข้อ ๓๐๓)

อนุสสติ ๑๐

     คือธรรมอันเป็นเอก เพื่อนิพพาน
เป็นธรรมที่ควรระลึกถึงอยู่เนือง ๆ ๑๐ อย่าง
๑. พุทธานุสสติ (ระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
๒. ธัมมานุสสติ (ระลึกถึงพระธรรม)
๓. สังฆานุสสติ (ระลึกถึงพระสงฆ์)
๔. สีลานุสสติ (ระลึกถึงศีล)
๕. จาคานุสสติ (ระลึกถึงการบริจาค)
๖. เทวตานุสสติ (ระลึกถึงคุณธรรมที่ทำให้มีจิตใจสูง)
๗. มรณสติ (ระลึกถึงความตาย)
๘. อานาปานสติ (มีสติระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดทุกลมหายใจเข้าออก)
๙. กายคตาสติ (ระลึกถึงกายนี้ว่า น่ารังเกียจ เป็นของไม่เที่ยง ควรละหน่าย)
๑๐. อุปสมานุสสติ (ระลึกถึงนิพพาน/ความสงบระงับกิเลส และความทุกข์ได้)

   (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ “เอกธัมมาทิบาลี” ข้อ ๑๗๙-๑๘๐)

  1. พระไตรปิฎกใช้ อนุสสติ
  2. พจนานุกรมราชบัณฑิตฯใช้ อนุสติ

    จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อนุสติ ๑๐ (ความระลึกถึง, อารมณ์อันควรระลึกถึงเนือง ๆ
๑. พุทธานุสติ (ระลึกถึงพระพุทธเจ้า คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระองค์)
๒. ธัมมานุสติ (ระลึกถึงพระธรรม คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระธรรม)
๓. สังฆานุสติ (ระลึกถึงพระสงฆ์ คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระสงฆ์)
๔. สีลานุสติ (ระลึกถึงศีล คือ น้อมจิตรำลึกพิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติปฏิบัติบริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย)
๕. จาคานุสติ (ระลึกถึงการบริจาค คือ น้อมจิตระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณา เห็นคุณธรรม คือความเผื่อแผ่ เสียสละนี้ ที่มีในตน)
๖. เทวตานุสติ (ระลึกถึงเทวดา คือ น้อมจิตระลึกถึง เทวดาทั้งหลาย ที่ตนเคยรู้ และพิจารณา เห็นคุณธรรม อันทำบุคคล ให้เป็นเทวดานั้นๆ ตามที่มีอยู่ในตน)
๗. มรณสติ (ระลึกถึงความตาย อันจะต้อง มีมาถึงตน เป็นธรรมดา พิจารณาที่จะให้เกิด ความไม่ประมาท)
๘. กายคตาสติ (สติอันไปในกาย คือ กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่า ประกอบด้วย ส่วนต่างๆ อันไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะ ของกายนี้ มิให้หลงใหลมัวเมา)
๙. อานาปานสติ (สติกำหนด ลมหายใจเข้าออก)
๑๐. อุปสมานุสติ (ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบ คือ ระลึกถึง และพิจารณาคุณ ของพระนิพพาน อันเป็นที่ระงับกิเลส และความทุกข์)

อภิณหปัจจเวกขณ์ ๑๐

     คือธรรมที่นักบวชควรพิจารณาเนือง ๆ ๑๐ ประการ
๑. บัดนี้เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
๒. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
๓. อาการกาย - วาจาอย่างอื่น ที่เราควรทำดีกว่านี้ ยังมีอีก
๔. เราติเตียนตนเองด้วยศีลได้หรือไม่
๕. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว ติเตียนเราด้วยศีลได้หรือไม่
๖. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น
๗. เรามีกรรมเป็นของตน ทำดีเราดี ทำชั่วเราชั่ว
๘. วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
๙. เรายินดีในเรือนว่าง (จิตที่ปลอดกิเลส)หรือไม่
๑๐. อุตตริมนุสสธรรม อันเราได้บรรลุแล้ว มีอยู่หรือไม่ ที่เราจะไม่เก้อเขิน เมื่อเพื่อน นักปฏิบัติธรรม ถามในภายหลัง

(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร” ข้อ ๔๘)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ ๑๐ (ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ)
๑. เราถึงความมีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว ข้อนี้บาลีว่า "เววณฺณิยมฺหิ อชฺฌูปคโต" ในที่นี้แปล เววณฺณิย ว่า ความมีเพศต่าง (จากคฤหัสถ์) แต่หลายท่าน แปลว่า ความปราศจากวรรณะ (casteless state) คือเป็นคนนอกระบบชนชั้น หรือ หมดวรรณะ คือ หมดฐานะในสังคม หรือเป็นคน นอกสังคม (outcast) ความต่าง หรือปราศจาก หรือหมดไปนี้ อรรถกถาอธิบายว่า เป็นไปใน สองทาง คือ ทางสรีระ เพราะปลงผม และหนวดแล้ว และทางบริขาร คือเครื่องใช้ เพราะแต่ก่อน ครั้งเป็น คฤหัสถ์ เคยใช้ผ้าดีๆ รับประทาน อาหารรสเลิศ ในภาชนะ เงินทอง เป็นต้น ครั้งบวชแล้ว ก็นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ฉันอาหาร คลุกเคล้าในบาตรเหล็ก บาตรดิน ปูหญ้านอนต่างเตียง เป็นต้น ส่วนวัตถุประสงค์ แห่งการพิจารณา ธรรมข้อนี้ อรรถกถาแก้ว่า จะละความกำเริบใจ (ความจู้จี้เง้างอน) และมานะ (ความถือตัว) เสียได้
๒. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น (คือต้องอาศัยผู้อื่น) วัตถุประสงค์ ตามอรรถกถาแก้ว่า เพื่อให้อิริยาบถ เรียบร้อยเหมาะสม มีอาชีวะ บริสุทธิ์ เคารพในบิณฑบาต และบริโภคปัจจัยสี่ ด้วยใส่ใจพิจารณา
๓. เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่น ที่จะพึงทำ
อรรถกถาอธิบายว่า เราควรทำอากัปป์ (คือกิริยามารยาท) ที่ต่างจากของคฤหัสถ์ เช่น มีอินทรีย์สงบ ก้าวเดิน สม่ำเสมอ เป็นต้น และแสดงวัตถุประสงค์ว่า เพื่อให้มีอิริยาบถ เรียบร้อยเหมาะสม บำเพ็ญไตรสิกขา ได้บริบูรณ์
๔. ตัวเราเองติเตียนตัวเราเอง โดยศีลไม่ได้ อยู่หรือไม่  ข้อนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดหิริ พรั่งพร้อม อยู่ในใจ ช่วยให้มีสังวร ทางไตรทวาร
๕. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชน พิจารณาแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้ อยู่หรือไม่
ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ดำรงโอตตัปปะ ในภายนอกไว้ได้ ช่วยให้มีสังวร ทางไตรทวาร
๖. เราจักต้องมีความพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็น ผู้ไม่ประมาท และเป็นอันได้ตั้ง มรณสติไปด้วย
๗. เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาท ของกรรมนั้น ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกัน มิให้กระทำความชั่ว
๘. วันคืนล่วงไป ๆ เราทำอะไรอยู่  ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำความไม่ประมาท ให้บริบูรณ์
๙. เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่  ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำกายวิเวก ให้บริบูรณ์
๑๐. คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญ ที่เราบรรลุแล้ว มีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เรา เป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิต ถาม ในกาลภายหลัง  ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อมิให้เป็นผู้ตายเปล่า

อานิสงส์ของศีล ๑๐

  ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตตผลโดยลำดับ
(กุสลานิ สีลานิ อนุปุพเพนะ อรหัตตายะ ปูเรนตีติ) ดังนี้
๑. อวิปปฏิสาร (มีความไม่เดือดเนื้อร้อนใจ)
๒. ปามุชชะ (ปราโมทย์ – มีความเบิกบานยินดี)
๓. ปีติ (มีความอิ่มใจ)
๔. ปัสสัทธิ (มีความสงบระงับจากกิเลส)
๕. สุข (มีความสุข อันเกิดจากความสงบ ซึ่งไม่บำเรอตน เป็น วูปสมสุข)
๖. สมาธิ (มีจิตมั่นคง ตั้งมั่น)
๗. ยถาภูตญาณทัสสนะ (มีความรู้แจ้งเห็นจริง ตามความเป็นจริง)
๘. นิพพิทา (มีความเบื่อหน่าย)
๙. วิราคะ (มีความคลายกิเลส)
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนะ (มีความรู้แจ้งเห็นจริง ในความหลุดพ้น)
 
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “กิมัตถิยสูตร” ข้อ ๑ และข้อ ๒๐๘)

 

พุทธสิกขา หมวด ๑๑

โทษที่กล่าวร้ายพระอาริยะ ๑๑

      ผู้ใดด่าว่าเพื่อนผู้ปฎิบัติธรรม กล่าวร้ายพระอาริยะ และ เพื่อนสพรหมจรรย์
จะฉิบหาย ๑ ใน ๑๑ อย่างนี้
๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว
๓. สัทธรรม (ธรรมที่ดีแท้) ย่อมไม่ผ่องแผ้ว
๔. เข้าใจผิดว่า ตนได้บรรลุสัทธรรม
๕. ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ (ธรรมอันประเสริฐ)
๖. ต้องอาบัติ / มีความผิดเศร้าหมอง อย่างใดอย่างหนึ่ง
๗. เลิกปฏิบัติธรรม เวียนกลับมาเลวต่ำช้า
๘. เป็นโรคร้ายแรงหนัก
๙. ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน
๑๐. ตายด้วยความหลงผิด (อยู่อย่างประมาท ชอบทำบาปให้แก่ตน ตายไม่มีสติ)
๑๑. ย่อมเข้าถึงอบาย (ความฉิบหาย) ทุคติ (ไปชั่ว) วินิบาต (ตกต่ำทรมาน) นรก (เร่าร้อนใจ)

    (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “พยสนสูตร” ข้อ ๘๘, ๒๑๓)

   พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “พยสนสูตร” ข้อ ๘๘ มีเพียง ๑๐ อย่าง
แต่พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “พยสนสูตร” ข้อ ๒๑๓ มี ๑๑ อย่าง

ปฏิจจสมุปบาท (อนุโลม) ๑๑

      คือการอาศัยกันและกันเกิดขึ้น (เป็นไปตามลำดับ)
๑. เพราะอวิชชา (ความหลงผิดไม่รู้กิเลส) เป็นปัจจัย (เหตุ)
จึงมีสังขาร (สภาพปรุงแต่งกายวาจาใจ)
๒. เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์จิต)
๓. เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป (ตัวรู้และตัวถูกรู้)
๔. เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ (อายตนะ ๖ - สื่อติดต่อ ๖ อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
๕. เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ (สัมผัส)
๖. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา (ความรู้สึก)
๗. เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา (ความดิ้นรนปรารถนา)
๘. เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)
๙. เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ (ที่อาศัย – ได้แก่กามภพ รูปภพ และอรูปภพ)
๑๐. เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ (การเกิด - กิเลสเกิดบทบาทในมโนกรรม)
๑๑. เพราะชาติ เป็นปัจจัย จึงมีชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย)
โสกะ (ความเศร้าโศก)  ปริเทวะ (คร่ำครวญรำพัน)      
ทุกข์ โทมนัส (เสียใจ)  อุปายาส (ความคับแค้นใจ)  
กองทุกข์ทั้งมวลนั้นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้   

(พระไตรปิฎก เล่ม ๔ “มหาขันธกะ” ข้อ ๑ และเล่ม ๑๖ “เทศนาสูตร ข้อ ๒)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
   แสดงตามลำดับ จากต้นไปหาปลายอย่างนี้ เรียกว่า อนุโลมเทศนา ถ้าแสดงย้อนกลับ จากปลาย มาหาต้น ว่า ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขาร มีเพราะอวิชชา เป็นปัจจัย เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา
๑. อวิชชา ความไม่รู้ คือไม่รู้ในอริยสัจ ๔ หรือตามนัยอภิธรรม ว่า อวิชชา ๘ อวิชชา ๔
๒. สังขาร สภาพที่ปรุงแต่ง ได้แก่ สังขาร ๓ หรือ อภิสังขาร ๓
๓. วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ ได้แก่ วิญญาณ ๖
๔. นามรูป (mind and matter) นามและรูป ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ หรือตามนัยอภิธรรมว่า นามขันธ์ ๓+รูป
๕. สฬายตนะ อายตนะ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖
๖. ผัสสะ ความกระทบ, ความประจวบ ได้แก่ สัมผัส ๖
๗. เวทนา ความเสวยอารมณ์ ได้แก่ เวทนา ๖
๘. ตัณหา (craving) ความทะยานอยาก ได้แก่ ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น (ตัณหาในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัสทางกาย และในธัมมารมณ์)
๙. อุปาทาน ความยึดมั่น ได้แก่ อุปาทาน ๔
๑๐. ภพ ภาวะชีวิต ได้แก่ ภพ ๓ อีกนัยหนึ่งว่า ได้แก่ กรรมภพ (ภพคือกรรม) ตรงกับ อภิสังขาร ๓ กับ อุปปัตติภพ (ภพคือที่อุบัติ) ตรงกับ ภพ ๓
๑๑. ชาติ ความเกิด ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะ
๑๒. ชรามรณะ ความแก่และความตาย ได้แก่ ชรา (ความเสื่อมอายุ, ความหง่อมอินทรีย์) กับ มรณะ (ความสลายแห่งขันธ์, ความขาดชีวิตินทรีย์)
   ทั้ง ๑๒ ข้อ เป็นปัจจัยต่อเนื่องกันไป หมุนเวียนเป็นวงจร ไม่มีต้น ไม่มีปลาย เรียกว่า ภวจักร

ปฏิจจสมุปบาท ๑๑ (หลังสภาวะอรหันต์)

๑. เมื่อดับอวิชชา จึงใช้สังขาร -ปุญญาภิสังขารเพื่อผู้อื่น
๒. มีปุญญาภิสังขาร จึงอาศัยวิญญาณที่บริสุทธิ์ไปรู้จริง
๓. มีวิญญาณ จึงอาศัยรู้นาม-รูปอื่น ๆ ได้ถูกสมมุติสัจจะ
๔. มีนามรูป จึงอาศัยเพียงอายตนนิพพาน (อายตนะ ๒)
๕. มีอายตนนิพพาน จึงอาศัยเป็นอยู่กับผัสสะเพื่อผู้อื่น
๖. มีผัสสะ จึงมีเวทนาที่เป็นเพียงรับรู้สมมุติสัจจะ
๗. อาศัยเวทนา จึงมี วิภวตัณหา (ตัณหาอุดมการณ์)
๘. อาศัยวิภวตัณหา จึงมี สมาทาน (ไม่ใช่อุปาทาน)
๙. มีสมาทาน จึงมี ภพที่อาศัยทำงานอย่างโพธิสัตว์
๑๐. มีภพ จึงมี ชาติ (การให้เกิดขึ้น เฉพาะแต่กุศลกิจ)
๑๑. มีชาติ จึงมีเพียง ชรา มรณะ และทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ (ส่วน โสกะ-ปริเทวะ-และอุปายาสนั้น ไม่มีแล้ว)

(พระไตรปิฎก เล่ม

 

อานิสงส์ของเมตตา ๑๑

๑. หลับเป็นสุข
๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันลามก
๔. เป็นที่รักของมนุษย์ (คนจิตใจประเสริฐ) ทั้งหลาย
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ (คนจิตใจต่ำ) ทั้งหลาย
๖. เทวดา (คนจิตใจสูง) ย่อมรักษา
๗. ไฟ ยาพิษ ศาสตรา กล้ำกรายไม่ได้
๘. จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว
๙. สีหน้าผ่องใส
๑๐. ไม่ตายไปด้วยความหลงใหล (อยู่อย่างไม่ประมาท)
๑๑. แม้ยังไม่บรรลุธรรม ก็เข้าถึงพรหมโลก (โลกของคนเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา , เป็นผู้มีคุณธรรมชั้นสูง)        

   (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “เมตตาสูตร” ข้อ ๒๒๒)

 

พุทธสิกขา หมวด ๑๒

กรรม ๑๒

         คือการกระทำดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ย่อมมีผล
๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมให้ผลปัจจุบันชาตินี้)
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในชาติหน้า)
๓. อปราปริยเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในชาติถัด ๆ ไป
๔. อโหสิกรรม (กรรมที่เลิกแล้วต่อกัน เลิกให้ผล)
๕. ชนกกรรม (กรรมส่งผลให้เกิด)
๖. อุปัตถัมภกกรรม (กรรมที่ค้ำจุนชีวิต)
๗. อุปปีฬกกรรม (กรรมที่กดขี่บีบคั้นชีวิต)
๘. อุปฆาตกกรรม(กรรมที่ตัดรอนผลกรรมอื่น)
๙. ครุกกรรม [(กรรมหนัก) คือ ทางกุศลเป็นมหัคคตกรรม (ได้ฌานสูง) ทางอกุศล เป็นอนันตริยกรรม (บาปหนา)]
๑๐. พหุลกรรม (กรรมที่ทำบ่อย ๆ จนชิน)
๑๑. อาสันนกรรม (กรรมที่ทำในเวลาใกล้ตาย)
๑๒. กตัตตาวาปนกรรม (กรรมสักว่าทำ ไม่เจตนา)

(อรรถกถาแปลเล่ม ๖๙ “กรรมกถา” หน้า ๔๒๐-๔๒๑)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
กรรม ๑๒ (การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาดีก็ตาม ชั่วก็ตาม, ในที่นี้หมายถึงกรรมประเภทต่างๆ พร้อมทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผลของกรรมเหล่านั้น)
   หมวดที่ ๑ ว่าโดยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล
๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในปัจจุบันคือในภพนี้)
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิดคือในภพหน้า)
๓. อปราปริยเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพต่อ ๆ ไป)
๔. อโหสิกรรม (กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก)
   หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่
๕. ชนกกรรม (กรรมแต่งให้เกิด, กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด)
๖. อุปัตถัมภกกรรม (กรรมสนับสนุน, กรรมที่เข้าช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม)
๗. อุปปีฬกรรรม (กรรมบีบคั้น, กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน)
๘. อุปฆาตกกรรม (กรรมตัดรอน, กรรมที่แรง ฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว เช่น เกิดในตระกูลสูง มั่งคั่ง แต่อายุสั้น เป็นต้น)
   หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือ จำแนกตามความยักเยื้องหรือลำดับความแรงในการให้ผล
๙. ครุกกรรม (กรรมหนัก ให้ผลก่อน ได้แก่ สมาบัติ ๘ หรือ อนันตริยกรรม)
๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม (กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองจากครุกกรรม)
๑๑. อาสันนกรรม (กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย คือกรรมทำเมือจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มี๒ ข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น)
๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม (กรรมสักว่าทำ, กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผลแล้วกรรมนี้จึงจะให้ผล
   กรรม ๑๒ หรือ กรรมสี่ ๓ หมวดนี้ มิได้มีมาในบาลีในรูปเช่นนี้โดยตรง พระอาจารย์สมัยต่อมา เช่น พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นต้น ได้รวบรวมมาจัดเรียงเป็นแบบไว้ภายหลัง.

พุทธสิกขา หมวด ๑๓

ธุดงค์ ๑๓

    คือองค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส
๑. ปังสุกูลิกังคะ (ถือใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร)
๒. เตจีวริกังคะ (ถือครองผ้าสามผืนเป็นวัตร)
๓. ปิณฑปาติกังคะ (ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร)
๔. สปทานจาริกังคะ (ถือบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร)
๕. เอกาสนิกังคะ (ถือนั่งฉันที่นั่งแห่งเดียวเป็นวัตร คือ ฉันวันละมื้อเดียว)
๖. ปัตตปิณฑิกังคะ (ถือการฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร)
๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ (ถือห้ามภัตที่เขามาถวายภายหลัง คือ
ลงมือฉันแล้ว ไม่รับเพิ่มอีก)
๘. อารัญญิกังคะ (ถืออยู่ป่าเป็นวัตร)
๙. รุกขมูลิกังคะ (ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร)
๑๐. อัพโภกาสิกังคะ (ถืออยู่ที่กลางแจ้งเป็นวัตร)
๑๑. โสสานิกังคะ (ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร)
๑๒. ยถาสันถติกังคะ (ถืออยู่ในที่พักแล้วแต่เขาจัดให้เป็นวัตร)
๑๓. เนสัชชิกังคะ (ถือการนั่งเป็นวัตรคือ ยืน เดิน นั่ง แต่ไม่นอน)

        (พระไตรปิฎกเล่ม ๘ “ธุดงควรรค” ข้อ ๑๑๙๒)

 

    ข้อมูลเพิ่มเติมจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม

    ข้อควรทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุดงค์ ๑๓
ก. โดยย่อธุดงค์มี ๘ ข้อ เท่านั้น คือ
๑) องค์หลัก ๓ ( สีสังคะ) คือ สปทานจาริกังคะ ( เท่ากับได้รักษาปิณฑปาติกังคะด้วย ) เอกาสนิกังคะ (เท่ากับได้รักษาปัตตปิณฑิกังคะ และขลุปัจฉาภัตติกังคะด้วย) และอัพโภกาสิกังคะ ( ทำให้รุกขมูลิกังคะ กับ ยถาสันติกังคะ หมดความจำเป็น )
๒) องค์เดี่ยวไม่คาบเกี่ยวข้ออื่น ๕ (อสัมภินนังคะ) คือ อารัญญิกังคะ ปังสุกุลิกังคะ เตจีวริกังคะ เนสัชชิกังคะ และโสสานิกังคะ
ข. โดยนิสสัย(คือที่อาศัย) มี ๒ คือ ปัจจัยนิสิต ๑๒ (อาศัยปัจจัย) กับ วิริยนิสิต ๑ (อาศัย ความเพียร)
ค. โดยบุคคลผู้ถือ
๑ ภิกษุ ถือได้ทั้ง ๑๓ ข้อ
๒) ภิกษุณี ถือได้ ๘ ข้อ (คือ ข้อ ๑-๒-๓-๔-๕-๖-๑๒-๑๓)
๓) สามเณร ถือได้ ๑๒ ข้อ (คือ เว้นข้อ ๒ เตจีวรกังคะ)
๔) สิกขมานาและสามเณรี ถือได้ ๗ ข้อ (คือ ลดข้อ ๒ ออกจากที่ภิกษุณีถือได้)
๕) อุบาสกอุบาสิกา ถือได้ ๒ ข้อ (คือ ข้อ ๕ และ ๖)
ง. โดยระดับการถือ แต่ละข้อถือได้ ๓ ระดับ คือ
๑) อย่างอุกฤษฏ์ หรืออย่างเคร่ง เช่น ผู้ถืออยู่ป่า ต้องให้ได้อรุณในป่า ตลอดไป
๒) อย่างมัธยม หรืออย่างกลาง เช่น ผู้ถืออยู่ป่า อยู่ในเสนาสนะชายบ้าน ตลอดฤดูฝน ๔ เดือน ที่เหลืออยู่ป่า
๓) อย่างอ่อน หรืออย่างเพลา เช่น ผู้ถืออยู่ป่า อยู่ในเสนาสนะชายบ้าน ตลอดฤดูฝน และหนาวรวม ๘ เดือน
จ. ข้อ ๙ และ ๑๐ คือ รุกขมูลิกังคะ และอัพโภกาสิกังคะ ถือได้เฉพาะ นอกพรรษา เพราะวินัย กำหนดให้ ต้องถือเสนาสนะ ในพรรษา
ฉ. ธุดงค์ไม่ใช่บทบัญญัติทางวินัย ขึ้นกับความสมัครใจ มีหลักทั่วไป ในการถือว่า ถ้าถือแล้ว ช่วยให้กรรมฐานเจริญ หรือช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อมควรถือ ถ้าถือแล้ว ทำให้กรรมฐานเสื่อม หรือทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ไม่ควรถือ ส่วนผู้ที่ถือ หรือไม่ถือ ก็ไม่ทำให้กรรมฐาน เจริญหรือเสื่อม เช่น เป็นพระอรหันต์แล้ว อย่างพระมหากัสสปะ เป็นต้น หรือคนอื่นๆ ก็ตาม ควรถือได้ ฝ่ายแรกควรถือ ในเมื่อคิด จะอนุเคราะห์ชุมชน ในภายหลัง ฝ่ายหลังเพื่อเป็นวาสนาต่อไป

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ธุดงค์ ๑๓ (องค์คุณเครื่องสลัดหรือกำจัดกิเลส, ข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจ จะพึงสมาทาน ประพฤติได้ เพื่อเป็นอุบาย ขัดเกลากิเลส ช่วยส่งเสริม ด้วยมักน้อย และสันโดษเป็นต้น
   หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต (เกี่ยวกับจีวร)
๑. ปังสุกูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คำสมาทาน โดยอธิษฐานใจ หรือเปล่ง วาจาว่า "คหปติจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, ปํสุกูลิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "เรางดคฤหบดีจีวร สมาทานองค์แห่ง ผู้— ")
๒. เตจีวริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร คำสมาทานว่า "จตุตฺถ จีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, เตจีวริกงฺคํสมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้า งดจีวรผืนที่ ๔ สมาทานองค์แห่งผู้—")
   หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต (เกี่ยวกับบิณฑบาต)
๓. ปิณฑปาติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คำสมาทานว่า "อติเรกลาภํ ปฏิกฺขิปามิ ปิณฺฑปาติกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้า งดอติเรกลาภ สมาทาน องค์แห่งผู้—")
๔. สปทานจาริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต ไปตามลำดับ เป็นวัตร คำสมาทานว่า "โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ, สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้า งดการเที่ยว ตามใจอยาก สมาทาน องค์แห่งผู้ —")
๕. เอกาสนิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉัน วันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้ว ไม่ฉันอีก คำสมาทานว่า "นานาสนโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, เอกาสนิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้า งดเว้นการฉัน ณ ต่างอาสนะ สมาทาน องค์แห่งผู้— ")
๖. ปัตตปิณฑิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ไม่ใช้ภาชนะ ใส่อาหารเกิน ๑ อย่างคือ บาตร คำสมาทานว่า "ทุติยภาชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ปตฺตปิณฺฑิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้า งดภาชนะที่สอง สมาทาน องค์แห่งผู้—")
๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อได้ปลงใจ กำหนดอาหาร ที่เป็นส่วนของตน ซึ่งเรียกว่า ห้ามภัต ด้วยการลงมือฉัน เป็นต้นแล้ว ไม่รับอาหาร ที่เขานำมา ถวายอีก แม้จะเป็นของประณีต คำสมาทานว่า "อติริตฺตโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ"แปลว่า "ข้าพเจ้า งดโภชนะ อันเหลือเฟือ สมาทาน องค์แห่งผู้— ")
   หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต (เกี่ยวกับเสนาสนะ)
๘. อารัญญิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคน อย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู คือ ๒๕ เส้น คำสมาทานว่า "คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้า งดเสนาสนะ ชายบ้าน สมาทาน องค์แห่งผู้—")
๙. รุกขมูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร คำสมาทานว่า "ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ, รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้า งดที่มุงบัง สมาทาน องค์แห่งผู้—")
๑๐. อัพโภกาลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร คำสมาทานว่า "ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้า งดที่มุงบัง และโคนไม้ สมาทาน องค์แห่งผู้—")
๑๑. โสสานิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คำสมาทานว่า "อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้า งดที่มิใช่ป่าช้า สมาทาน องค์แห่งผู้— ")
๑๒. ยถาสันถติกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ในเสนาสนะ แล้วแต่เขาจัดให้ คำสมาทานว่า "เสนาสนโลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้า งดความอยาก เอาแต่ใจ ในเสนาสนะ สมาทาน องค์แห่งผู้—")
   หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต (เกี่ยวกับความเพียร)
๑๓. เนสัชชิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือ การนั่งเป็นวัตร คือเว้นนอน อยู่ด้วยเพียง ๓ อิริยาบถ คำสมาทานว่า "เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ, เนสชฺชิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้า งดการนอน สมาทาน องค์แห่งผู้—")

พุทธสิกขา หมวด ๑๔

ชายเทวดา / หญิงเทวดา ๑๔

      คือชายหญิงที่มีจิตใจสูง มีลักษณะดังนี้
๑. เป็นผู้เว้นการฆ่าสัตว์ (ปาณาติปาตา เวรมณี)
๒. เว้นการลักทรัพย์ (อทินนาทานา เวรมณี)
๓. เว้นการประพฤติผิดในกาม (กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี)
๔. เว้นการพูดเท็จ (มุสาวาทา เวรมณี)
๕. เว้นการพูดส่อเสียด (ปิสุณาย วาจาย เวรมณี)
๖. เว้นการพูดคำหยาบ (ผรุสาย วาจาย เวรมณี)
๗. เว้นการพูดเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปา เวรมณี)
๘. ไม่มีความละโมภ (อนภิชฌา)
๙. ไม่มีพยาบาท (อพยาปาท)
๑๐. มีความเห็นถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ)
๑๑. มีศีล (สีลวา)
๑๒. มีกัลยาณธรรม (กัลยาณธัมโม)
๑๓. มีใจปราศจากมลทินความตระหนี่ (วิคตมลมัจฉริยะ)
๑๔. ไม่ด่าว่าสมณพราหมณ์ (อนักโกสกปริภาสโก สมณพราหมณา)

        (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๑ “สังวาสสูตร” ข้อ ๕๔)

ชายผี / หญิงผี ๑๔

    คือชายหญิงที่เป็นคนเลว มีลักษณะต่าง ๆ
๑. เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ (ปาณาติบาต)
๒. ลักทรัพย์ (อทินนาทาน)
๓. ประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร)
๔. พูดเท็จ (มุสาวาท)
๕. พูดส่อเสียด (ปิสุณาวาจา)
๖. พูดคำหยาบ (ผรุสวาจา)
๗. พูดเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปะ)
๘. มีความเพ่งเล็งอยากได้ (อภิชฌา)
๙. มีจิตพยาบาท (พยาปาท)
๑๐. มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)
๑๑. เป็นคนทุศีล (ทุสสีโล) ละเมิดศีล
๑๒. มีบาปธรรม (ปาปธัมโม) นิสัยชั่ว
๑๓. มีใจตระหนี่ (มัจฉริยะ)
๑๔. ด่าว่าสมณพราหมณ์ (อักโกสกปริภาสโก สมณพราหมณา)

       (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๑ “สังวาสสูตร” ข้อ ๕๔)

พุทธสิกขา หมวด ๑๕

จรณะ ๑๕

   คือข้อประพฤติปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรม (วิชชา ๓) หรือข้อประพฤติ ไปนิพพาน ได้แก่
๑. สังวรศีล (ถึงพร้อมด้วยศีล)

อปัณณกปฏิปทา ๓
๒. สำรวมอินทรีย์ (ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
๓. โภชเนมัตตัญญุตา (รู้ประมาณในการบริโภค)
๔. ชาคริยานุโยคะ (ทำความเพียรตื่นอยู่)         

สัทธรรม ๗
๕. ศรัทธา (เชื่อมั่นความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)
๖. หิริ (ละอายต่อการทำทุจริตกายวาจาใจ)
๗. โอตตัปปะ (สะดุ้งกลัวต่อการทำทุจริตกายวาจาใจ)
๘. พหูสูต (ฟังธรรมรู้ธรรมมาก)
๙. วิริยารัมภะ/อารัทธวิริโย (ปรารภความเพียรละอกุศล)
๑๐. สติ (ระลึกรู้ตัวไม่เผลอใจ)
๑๑. ปัญญา (รู้แจ้งชำแรกกิเลสได้)      

ฌาน ๔
๑๒. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑)
๑๓. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒)
๑๔. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓)
๑๕. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔)

   (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๓ “เสขปฏิปทาสูตร” ข้อ๒๗ – ๓๒,๓๔)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
จรณะ ๑๕ (ความประพฤติ, ปฏิปทา, ข้อปฏิบัติ อันเป็นทางบรรลุวิชชา หรือนิพพาน)
๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล คือ ประพฤติถูกต้องดีงาม สำรวมใน พระปาฏิโมกข์ มีมารยาท เรียบร้อย ประพฤติเคร่งครัด ในสิกขาบท ทั้งหลาย
๒. อปัณณกปฏิปทา ๓
อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรม ครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖)
โภชเน มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณา รับประทานอาหาร เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกาย ใช้ทำกิจ ให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา)
ชาคริยานุโยค (การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือ ขยันหมั่นเพียร ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิต มิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอ ทุกเวลา ที่จะปฏิบัติกิจ ให้ก้าวหน้าต่อไป)
๓. สัทธรรม ๗ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
สัทธัมมสมันนาคโต  ประกอบด้วย สัทธรรม ๗   
  ประการคือ
  ๑. มีศรัทธา       ๒. มีหิริ    ๓. มีโอตตัปปะ  
  ๔. เป็นพหูสูต    ๕. มีความเพียรอันปรารภแล้ว    
   ๖. มีสติมั่นคง    ๗. มีปัญญา

๔. ฌาน ๔ 
๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑  มีองค์ ๕ คือ  วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ  ปีติ สุข เอกัคคตา)
๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ  สุข และ เอกัคคตา)
๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔  มีองค์ ๒ คือ  อุเบกขา และ เอกัคคตา)
   ในบาลีที่มา ท่านเรียกว่า เป็น เสขปฏิปทา คือข้อปฏิบัติ อันเป็นทางดำเนิน ของพระเสขะ

 

พุทธสิกขา หมวด ๑๖

คนว่ายากสอนยาก ๑๖

     คือคนที่ไม่อดทน ไม่รับคำสอนโดยเคารพ มีนิสัย...
๑. ลุอำนาจปรารถนาชั่วช้าลามก
๒. ยกตนข่มผู้อื่น
๓. มักโกรธ
๔. มักผูกโกรธ
๕. มักระแวงจัด
๖. มักพูดจาแรงใกล้โกรธ
๗. เวลาถูกฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์ (ผู้ฟ้อง)
๘. ถูกฟ้อง กลับรุกรานโจทก์
๙. ถูกฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์
๑๐. ถูกฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง
ทำเป็นโกรธ มุ่งร้าย ไม่เชื่อฟัง
๑๑. ถูกฟ้อง ก็ไม่พอใจตอบในความประพฤติของตน
๑๒. ทำลบหลู่ ตีเสมอ
๑๓. ริษยา ตระหนี่
๑๔. โอ้อวด เจ้ามายา
๑๕. กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น
๑๖. เอาแต่ความเห็นของตน ดื้อรั้น ถอนยาก

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ “อนุมานสูตร” ข้อ ๒๒๑)

เจโตปริยญาณ ๑๖

     คือความรู้รอบถ้วนในสภาวะต่างๆของจิต ๑๖ อาการ
๑. สราคจิต (จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ)
๒. วีตราคจิต (จิตไม่มีราคะ ก็รู้ว่าจิตไม่มีราคะ)
๓. สโทสจิต (จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ)
๔. วีตโทสจิต (จิตไม่มีโทสะ ก็รู้ว่าจิตไม่มีโทสะ)
๕. สโมหจิต (จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ)
๖. วีตโมหจิต (จิตไม่มีโมหะ ก็รู้ว่าจิตไม่มีโมหะ)
๗. สังขิตตจิต [จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่(หมายถึงสภาวะจิตเกร็ง - จับตัวแน่น คุมเคร่งอยู่)]
๘. วิกขิตตจิต [จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน (หมายถึงสภาวะ จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด)]
๙. มหัคคตจิต [จิตสูงขึ้น ก็รู้ว่าจิตสูงขึ้น(จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น)]
๑๐. อมหัคคตจิต[จิตไม่สูงขึ้น ก็รู้ว่าจิตไม่สูงขึ้น(จิตไม่เจริญขึ้น)]
๑๑. สอุตตรจิต [จิตมีดีอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีดีอื่นยิ่งกว่า (จิตมีดี แต่ยังมีดียิ่งกว่านี้ -ยังไม่จบ)]
๑๒. อนุตตรจิต [จิตไม่มีดีอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีดีอื่นยิ่งกว่า (จิตไม่มีจิตอื่น สูงยิ่งกว่า)]
๑๓. สมาหิตจิต [จิตตั้งมั่น ก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว)]
๑๔. อสมาหิตจิต [จิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น (จิตยังไม่ตั้งมั่นไม่เป็นประโยชน์)]
๑๕. วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น)
๑๖. อวิมุตตจิต (จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น)

      (พระไตรปิฎกเล่ม ๙ “อัมพัฏฐสูตร” ข้อ ๑๖๓)

วิปัสสนาญาณ ๑๖ (โสฬสญาณ)

     คือความรู้แจ้งเห็นจริงตามลำดับของการวิปัสสนา
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ (รู้แจ้งแยกรูปแยกนามได้)
คือญาณที่จำแนกรู้รูป-รู้นาม และนามธรรม ก็เปลี่ยนเป็น “รูป” ให้ถูกจับมารู้อีกที
๒. ปัจจัยปริคคหญาณ (รู้แจ้งเหตุปัจจัยแก่กันของนามรูป)
คือ
ญาณที่รู้ปัจจัยของการก่อเหตุให้เกิดเป็นปัจจัยของอะไรๆ ตามมา ให้เกิดเวทนาอีก
๓. สัมมสนญาณ (รู้แจ้งนามรูปเป็นไปตามไตรลักษณ์)
คือญาณรู้เห็นรูป-นาม ของกิเลสตัณหา ซึ่งยังวน ๆ อยู่อย่างเกิดขึ้น -ตั้งอยู่ -ดับไป ไม่เที่ยง
๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (รู้แจ้งความเกิดและดับ)
คือญาณตามเห็นความเกิด - ความเสื่อมไป ของกิเลส ของชาติ เวทนาสุขทุกข์ต่าง ๆ
๕. ภังคานุปัสสนาญาณ (รู้แจ้งว่าทุกสิ่งต้องเสื่อมสลาย)
คือ
ญาณตามเห็น ความสลายไป ของสังขารธรรม -ตัณหาปรุงแต่งทั้งหลาย
๖. ภยตูปัฏฐานญาณ (รู้แจ้งภัยอันน่ากลัวของกิเลส)
คือ
ญาณอันเพ่งเห็น กิเลสสังขาร เป็นภัย อันน่ากลัว.. เพราะล้วนแต่ต้องสลายไป
๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (รู้แจ้งโทษชั่วของกิเลส)
คือ
ญาณอันคำนึงเห็นโทษ . ต่อเนื่องมาจาก การเห็นภัย
๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ (รู้แจ้งในความเบื่อหน่ายกิเลส)
คือ
ญาณเห็น ความน่าเบื่อหน่าย ในกิเลส เพราะสำนึกเห็น ทั้งโทษและภัย
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ (รู้แจ้งการปลดเปลื้องกิเลสออกไป)
คือ
ญาณรู้เห็น การเปลื้องปล่อย ไปเสียจาก โทษ-ภัยเหล่านั้น (อตัมมยตา)
๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (รู้แจ้งทบทวนว่ากิเลสออกจริงไหม)
คือ
ญาณพิจารณา ทบทวนถึง . การปฏิบัติ ที่ปลดปล่อยได้ ก็ทำซ้ำอีก จนสำเร็จยิ่งขึ้น
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ (รู้แจ้งความเป็นกลาง ปราศจากกิเลส)
คือญาณอันเป็นไป โดยความเป็นกลาง วางเฉยต่อ สังขารปรุงแต่ง ทั้งหลาย
๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ (รู้แจ้งในอาริยสัจ ๔ ทั้งอนุโลม ปฏิโลม)
คือ
ญาณอันเป็น ไปโดยอนุโลม ต่อชาวโลก ต่อสมมุติสัจจะ ทั้งหลาย โดยใช้
สัปปุริสธรรม ๗. ที่รู้จักประมาณ สัดส่วนต่าง

๑๓. โคตรภูญาณ (รู้แจ้งรอยต่อระหว่างปุถุชน กับอาริยชน)
คือ
ญาณรู้หัวต่อ ตัดโคตรขึ้นสู่ อาริยภูมิ
๑๔. มัคคญาณ (รู้แจ้งในข้อปฏิบัติสู่ความเป็นอาริยบุคคล)
คือ
ญาณรู้ภาวะ ของอริยมรรค แต่ละขั้น
๑๕. ผลญาณ (รู้แจ้งในอาริยผลที่ทำได้) คือญาณรู้ผลสำเร็จ แห่งการเป็น พระอาริยะ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ (รู้แจ้งตรวจสอบชัดว่าวิมุตไหม)
คือ
ญาณหยั่งรู้ ทบทวน ตรวจสอบ มรรคผล และบริบท แห่งความสำเร็จ ทุกอย่าง

      (พระไตรปิฎกเล่ม ๓๑ มาติกา และ พระวิสุทธิมัคค์ “ปัญญานิเทศ” หน้า ๕๔๐-๖๕๖)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ (ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนา ตามลำดับ ตั้งแต่ต้น จนถึงที่สุด
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลาย มีแต่รูปเป็นธรรม และนามธรรม และกำหนด แยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม)
๒. ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของ นามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรม และนามธรรม ทั้งหลาย เกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนว ปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนว กฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนว วัฏฏะ ๓ ก็ดี เป็นต้น)
๓. สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูป โดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรม และนามธรรม ทั้งหลาย ขึ้นพิจารณา โดยเห็นตามลักษณะ ที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน)
๔ – ๑๒. ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙ อันได้แก่
๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิด และความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้น และความดับไป แห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป ทั้งหมด)
๕. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับ เช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัด ในส่วนความดับ อันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่า สังขารทั้งปวง ล้วนจะต้องสลายไป ทั้งหมด)
๖. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏ เป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่ จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัย ทั้งสิ้น)
๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็น สังขารทั้งปวง ซึ่งล้วนต้อง แตกสลายไป เป็นของน่ากลัว ไม่ปลอดภัย ทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็น สังขารทั้งปวงนั้นว่า เป็นโทษ เป็นสิ่งที่มี ความบกพร่อง จะต้องระคน อยู่ด้วยทุกข์)
๘. นิพพทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็น ด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็น สังขารว่า เป็นโทษ เช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ)
๙. มุญฺจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขาร ทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนา ที่จะพ้นไปจาก สังขารเหล่านั้น)
๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการ จะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไป ยกเอาสังขาร ทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณา กำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบาย ที่จะปลดเปลื้อง ออกไป)
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร, คือ เมื่อพิจารณา สังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็น สภาวะของสังขาร ตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่ เป็นไปของมันอย่างนั้น เป็นธรรมดา จึงวางใจ เป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้าย ในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพาน เป็นสันติบท ญาณจึงแล่น มุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะ กับสังขาร เสียได้)
๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไป โดยอนุโลม แก่การหยั่งรู้ อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลาง ต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่น มุ่งตรงไป สู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อย ต่อการตรัสรู้ อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้น ในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้าย ของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้น ก็จะเกิดโคตรภูญาณ มาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณ ให้สำเร็จความเป็น อริยบุคคล ต่อไป)
๑๓. โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อ แห่งการข้ามพ้น จากภาวะปุถุชน เข้าสู่ภาวะ อริยบุคคล)
๑๔. มัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ ที่ให้สำเร็จภาวะ อริยบุคคล แต่ละขั้น)
๑๕. ผลญาณ (ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ ที่เป็นผลสำเร็จ ของพระอริยบุคคล ชั้นนั้น ๆ)
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณา ทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่า พระอรหันต์ ไม่มีการพิจารณากิเลส ที่ยังเหลืออยู่)
  ในญาณ ๑๖ นี้ ๑๔ อย่าง (ข้อ ๑-๑๓ และ ๑๖) เป็น โลกียญาณ, ๒ อย่าง (ข้อ ๑๔ และ ๑๕) เป็น โลกุตตรญาณ
  ญาณ ๑๖ (บางทีเรียกว่า โสฬสญาณ ซึ่งก็แปลว่า ญาณ ๑๖ นั่นเอง) ที่จัดลำดับเป็นชุด และ เรียกชื่อเฉพาะ อย่างนี้ มิใช่มาใน พระบาลีเดิมโดยตรง พระอาจารย์ในสาย วงการ วิปัสสนาธุระ ได้สอนสืบกันมา โดยประมวลจาก คัมภีร์ ปฏิสัมภิทามรรค และวิสุทธิมรรค ในกาลต่อมา

อานาปานสติ ๑๖

     นั่งคู้บังลังก์ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
มีสติหายใจเข้า (อัสสสติ) หายใจออก (ปัสสสติ)
กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ทั้ง ๑๖ ขั้น

๑. รู้ชัดหายใจเข้ายาว หายใจออกยาว
๒. รู้ชัดหายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น
๓. รู้แจ้งกาย(กองลม)ทั้งปวง (สัพพกายปฏิสังเวที)
๔. ระงับกายสังขาร (ปัสสังภยัง กายสังขารัง)
๕. รู้แจ้งปีติ (ปีติปฏิสังเวที)
๖. รู้แจ้งสุข (สุขปฏิสังเวที)
๗. รู้แจ้งจิตตสังขาร (จิตตสังขารปฏิสังเวที)
๘. ระงับจิตตสังขาร (ปัสสัมภยัง จิตตสังขารัง)
๙. รู้แจ้งจิต (จิตตปฏิสังเวที)
๑๐. ทำจิตให้ร่าเริง (อภิปปโมทยัง จิตตัง)
๑๑. ตั้งจิตมั่น (สมาทหัง จิตตัง)
๑๒. เปลื้องจิตให้หลุดพ้นกิเลส (วิโมจยัง จิตตัง)
๑๓. พิจารณาตามเห็นความไม่เที่ยงของกิเลส (อนิจจานุปัสสี)
๑๔. พิจารณาตามเห็นความคลายกำหนัด (วิราคานุปัสสี)
๑๕. พิจารณาตามเห็นความดับกิเลส (นิโรธานุปัสสี)
๑๖. พิจารณาตามเห็นความสละคืน (สลัดทิ้ง) กิเลส (ปฏินิสสัคคานุปัสสี)

    (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๔ “อานาปานสติสูตร” ข้อ ๒๘๘)

อุปกิเลส ๑๖

     คือกิเลสที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ๑๖ อย่าง
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ (ละโมบเพ่งเล็งอยากได้)
๒. พยาบาท (ปองร้าย)
๓. โกธะ (โกรธ)
๔. อุปนาหะ (ผูกโกรธ)
๕. มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)
๖. ปลาสะ (ยกตนเทียบเท่าท่าน ตีเสมอท่าน)
๗. อิสสา (ริษยา ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี)
๘. มัจฉริยะ (ตระหนี่)
๙. มายา (มารยา มารยาทเสแสร้งแกล้งทำ)
๑๐. สาเฐยยะ (โอ้อวด การโอ่แสดง)
๑๑. ถัมภะ (หัวดื้อ เชื่อมั่นหัวตัวเองมาก)
๑๒. สารัมภะ (แข่งดี เอาชนะคะคาน)
๑๓.มานะ (ถือดี ยึดดีจนถือสา)
๑๔. อติมานะ (ดูหมิ่นเขา)
๑๕. มทะ (มัวเมาหลงระเริง)
๑๖. ปมาทะ (ประมาทเลินเล่อ)

    (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ “วัตถูปมสูตร” ข้อ ๙๓)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อุปกิเลส หรือ จิตตอุปกิเลส ๑๖ (ธรรมเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งทีทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี)
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ (คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร)
๒. พยาบาท (คิดร้ายเขา)
๓. โกธะ (ความโกรธ)
๔. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)
๕. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น)
๖. ปลาสะ (ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน)
๗. อิสสา (ความริษยา)
๘. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
๙. มายา (มารยา)
๑๐. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด)
๑๑. ถัมภะ (ความหัวดื้อ, กระด้าง)
๑๒. สารัมภะ (ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน)
๑๓. มานะ (ความถือตัว, ทะนงตน)
๑๔. อติมานะ (ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขา)
๑๕. มทะ (ความมัวเมา)
๑๖. ปมาทะ (ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ)
  ข้อ ๒ มีต่างออกไป คือ ในธัมมทายาทสูตร เป็น โทสะ (ความคิดประทุษร้ายเขา)

นามรูป ๓๓

คือนาม (ตัวที่เข้าไปรู้) และ รูป (สิ่งที่ถูกรู้)

เกิดเพราะวิญญาณ (ความรับรู้) เป็นปัจจัย (เหตุ)

นาม ๕

คือ ตัวผู้รู้ หรือ สภาวะรู้ที่เข้าไปสัมผัสกับรูปนั้นๆ

นามเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่อาจรู้ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ

๑. เวทนา (ความรู้สึก)
๒. สัญญา (ความกำหนดหมาย ความจำ)
๓. เจตนา (ความจงใจ ความมุ่งหมาย)
๔. ผัสสะ (ความกระทบสัมผัส)
๕. มนสิการ (ความทำใจในใจ)

รูป ๒๘

คือ สิ่งที่ถูกรู้ หรือ สภาวะที่นามเข้าไปรู้สึกนั้น
รูปเป็นวัตถุภายนอกที่มีรูปร่าก็มี
เป็นจิตใจภายใน ที่ไม่มีรูปร่างก็มี ได้แก่

- มหาภูตรูป ๔ คือรูปที่เป็นวัตถุภายนอก
๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดินที่มีสภาวะเข้มแข็ง)
๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำที่มีสภาวะเอิบอาบ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟที่มีสภาวะร้อน)
๔. วาโยธาตุ (ธาตุลมที่มีสภาวะ ้คลื่นที่)

- อุปาทายรูป ๒๔ คือ รูปที่อาศัย เกิดจากมหาภูตรูป

ก. ปสาทรูป (รูปที่มีประสาทเป็นตัวรับรู้อารมณ์)
๑. จักขายตนะ (ตา เป็นสื่อเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)
๒. โสตายตนะ (หู เป็นสื่อเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)
๓.ฆานายตนะ (จมูก เป็นสื่อเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)
๔. ชิวหายตนะ (ลิ้น เป็นสื่อเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)
๕. กายายตนะ (กาย เป็นสื่อเชื่อมต่อกับสิ่งที่ถูกรู้)

ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป๔ (สภาพเป็นอยู่ของรูปที่ถูกรู้)
๖. รูปายตนะ (รูป ที่เป็นรูปที่ถูกรู้)
๗. สัพพายตนะ (เสียง ที่เป็นรูปที่ถูกรู้)
๘. คันธายตนะ (กลิ่น ที่เป็นรูปที่ถูกรู้)
๙. รสายตนะ (รส ที่เป็นรูปที่ถูกรู้)
(โผฏฐัพพายตนะ ข้อนี้ไม่ได้นับ เพราะตรงกับปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ)

ค. ภาวรูป ๒ (รูปที่ปรากฏเครื่องชี้ความแตกต่าง)
๑๐. อิตถินทรีย์ (ภาวะของความเป็นหญิง)
๑๑. ปุริสินทรีย์ (ภาวะของความเป็นชาย )

- ง. หทัยรูป ๑ (รูปที่เป็นจิตใจ จิตวิญญาณ)
๑๒. หทัยวัตถุ (ที่ตั้งของจิตใจ เกิดที่ใดก็ตั้งอยู่ที่นั้น)

- จ. ชีวิตรูป ๑ (รูปที่มีชีวิตความเป็นอยู่)
๑๓. ชีวิตินทรีย์ (ภาวะความประพฤติที่เป็นไปอยู่)

- ฉ. อาหารรูป ๑ (รูปที่เป็นอาหาร)
๑๔. กวฬิงการาหาร (อาหารที่ค้ำจุนชีวิต)

- ช. ปริจเฉทรูป ๑ (รูปที่กำหนดตัดรอบขอบเขต)
๑๕. อากาศธาตุ (สภาวะช่องว่าง ความว่างเปล่า)

- ญ. วิญญัติรูป ๒ (รูปที่เป็นการเคลื่อนไหว สื่อความหมาย)
๑๖. กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหวกายสื่อความหมาย)
๑๗. วจีวิญญัติ (การกล่าววาจาสื่อความหมาย)

- ฎ. วิการรูป ๓ (รูปที่แสดงอาการผันแปรไป)
๑๘. ลหุตา ( (สภาวะความเบา ความรวดเร็ว)
๑๙. มุทุตา (สภาวะความอ่อน ความไม่กระด้าง)
๒๐. กัมมัญญตา (สภาวะความควรแก่การงาน)

- ฏ. ลักษณะรูป ๔ (รูปที่เป็นลักษณะอาการต่างๆ)
๒๑. อุปจยะ (ความก่อตัว ความสั่งสม)
๒๒. สันตติ (ความสืบต่อ)
๒๓. ชรตา (ความชรา ความเสื่อม)
๒๔. อนิจจตา (ความไม่เที่ยง ความแตกสลาย)

(พระไตรปิฎก เล่ม ๓๔ "รูปวิภัตติ" ข้อ ๕๑๕-๕๓๘
พระไตรปิฎก เล่ม ๓๕ "ปัจจยาการวิภังค์" ข้อ ๒๕๙
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ (ป.อ.ปยุตโต) ฉบับประมวลธรรม)

โพธิปักขิยธรรม ๓๗

     คือธรรมอันเป็นแนวทางแห่งความตรัสรู้
๑. สติปัฏฐาน ๔ (การตั้งสติพิจารณา ๔ อย่าง)
– เป็นการใช้สติ ตรวจสอบจิต ให้บริสุทธิ์

๒. สัมมัปปธาน ๔ (ความเพียรประคองจิต ๔ อย่าง)
– เป็นยุทธวิธี เพียรทำลายกิเลส
๓. อิทธิบาท ๔ (ธรรม ๔ อย่างอันเป็นที่ตั้งแห่งความสำเร็จ)
– เป็นการยุทธวิธี เพียรทำลายกิเลส
๔. อินทรีย์ ๕ (ความมีอำนาจ ๕ อย่างเพื่อความหลุดพ้น)
– เป็นการสั่งสม เป็นกำลังธรรมของจิต
๕. พละ ๕ (พลัง ๕ อย่างเพื่อความหลุดพ้น)
– เป็นขุมกำลังธรรมะของจิต
๖. โพชฌงค์ ๗ (องค์แห่งการตรัสรู้ ๗ อย่าง)
– เป็นการก้าวเดินไปสู่การตรัสรู้
๗. มรรคมีองค์ ๘ (ทางสายกลางอันประเสริฐ ๘ ประการ)
– เป็นทางเอก เพื่อเดินสู่การตรัสรู้

    (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๑ “ปาสาทิกสูตร” ข้อ ๑๐๘)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้, ธรรมเกื้อหนุน แก่อริยมรรค)
๑. สติปัฏฐาน ๔
๒. สัมมัปปธาน ๔
๓. อิทธิบาท ๔
๔. อินทรีย์ ๕
๕. พละ ๕
๖. โพชฌงค์ ๗
๗. มรรคมีองค์ ๘

มงคล ๓๘

     คือความดีความเจริญอันสูงสุด ๓๘ ประการ
๑. ไม่คบคนพาล (อเสวนา จ พาลานัง)
๒. คบหาบัณฑิต (ปัณฑิตานัญจ เสวนา)
๓. บูชาบุคคลที่ควรบูชา (ปูชา จ ปูชนียานัง)
๔. อยู่ในที่อันสมควรอยู่ (ปฏิรูปเทสวาโส จ)
๕. มีคุณความดีทำสะสมไว้ก่อน (ปุพเพ จ กตปุญญตา)
๖. ตั้งตนไว้อย่างถูกต้อง (อัตตสัมมาปณิธิ จ)
๗. เป็นผู้รับฟังใส่ใจศึกษามาก (พาหุสัจจัญจะ)
๘. มีศิลปะฝีมือยอดเยี่ยม (สิปปัญจะ)
๙. มีวินัยศึกษาดีแล้ว (วินโย จ สุสิกขิโต)
๑๐. กล่าวแต่ถ้อยคำที่ดี (สุภาสิตา จ ยา วาจา)
๑๑. บำรุงบิดามารดา (มาตาปิตุอุปัฏฐานัง)
๑๒. ช่วยเหลือบุตร (ปุตตสังคหะ)
๑๓. ช่วยเหลือภรรยา (ทารสังคหะ)
๑๔. ทำงานไม่ให้คั่งค้าง (อนากุลา จ กัมมันตา)
๑๕. ทำทานเสียสละ (ทานัญจะ)
๑๖. ปฏิบัติธรรม (ธัมมจริยา จ)
๑๗. ช่วยเหลือญาติ (ญาตกานัญจะ สังคโห)
๑๘. ทำงานที่ไม่มีโทษ (อนวัชชานิ กัมมานิ)
๑๙. งดเว้นการทำบาป (อารตี วิรตี ปาปา)
๒๐. เหนี่ยวรั้งกายวาจาใจ ออกจากของมอมเมาให้โทษ (มัชชปานา จ สัญญโม)
๒๑. ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย (อัปปมาโท จ ธัมเมสุ)
๒๒. มีความเคารพ (คารโว จ)
๒๓. มีความถ่อมตน (นิวาโต จ)
๒๔. ยินดีพอใจความมักน้อย (สันตุฏฐี จ)
๒๕. มีความกตัญญู (กตัญญุตา)
๒๖. ฟังธรรมสม่ำเสมอ (กาเลนะ ธัมมัสสวนัง)
๒๗. มีความอดทน (ขันตี จ)
๒๘. เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย (โสวจัสสตา)
๒๙. พบปะเยี่ยมเยือนสมณะ (สมณานัญจะ ทัสสนัง)
๓๐. สนทนาธรรมสม่ำเสมอ (กาเลนะ ธัมมสากัจฉา)
๓๑. เพียรเผาผลาญกิเลส (ตโป จ)
๓๒. ประพฤติพรหมจรรย์ (พรัหมจริยัญจะ)
๓๓. เห็นอาริยสัจ คือความจริงอันประเสริฐสุดของชีวิต (อริยสัจจานะ ทัสสนัง)
๓๔. กระทำให้แจ้งในนิพพาน (นิพพานสัจฉิกิริยา จ)
๓๕. จิตไม่หวั่นไหว แม้สัมผัสโลกธรรมอยู่ (ผุฏฐัสสะ โลกธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ น กัมปติ)
๓๖. จิตไม่เศร้าโศก (อโสกัง)
๓๗. จิตปราศจากธุลีอันคือกิเลสแม้เล็กแม้น้อย (วิรชัง)
๓๘. จิตเกษมสุขสบายปลอดภัย (เขมัง)

  หากเทวดา (ผู้มีใจสูง) และมนุษย์ (ผู้มีใจประเสริฐ) ทำมงคลเช่นนี้แล้ว จะเป็นผู้ ไม่พ่ายแพ้ ต่อข้าศึก ทุกหมู่เหล่า ย่อมถึง ความสวัสดี ในที่ทุกสถาน

       (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ “มงคลสูตร” ข้อ ๓๑๘)

 

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
มงคล ๓๘ (สิ่งที่ทำให้มีโชคดี, ธรรมอันนำมา ซึ่งความสุข ความเจริญ เรียกเต็มว่า อุดมมงคล คือ มงคลอันสูงสุด)

   คาถาที่ ๑
๑. อเสวนา จ พาลานํ (ไม่คบคนพาล)
๒. ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา (คบบัณฑิต)
๓. ปูชา จ ปูชนียานํ (บูชาคนที่ควรบูชา)

   คาถาที่ ๒
๔. ปฏิรูปเทสวาโส จ (อยู่ในปฏิรูปเทศ, อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี)
๕. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา (ได้ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อน, ทำความดีเตรียมพร้อมไว้ แต่ต้น)
๖. อตฺตสมฺมาปณิธิ จ (ตั้งตนไว้ชอบ)

   คาถาที่ ๓
๗. พาหุสจฺจญฺจ (เล่าเรียนศึกษามาก, ทรงความรู้กว้างขวาง, ใส่ใจสดับตรับฟัง ค้นคว้า หาความรู้ อยู่เสมอ)
๘. สิปฺปญฺจ (มีศิลปวิทยา, ชำนาญในวิชาชีพของตน)
๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต (มีระเบียบวินัย, ได้ฝึกอบรมตนไว้ดี)
๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา (วาจาสุภาษิต, รู้จักใช้วาจา พูดให้เป็นผลดี)

   คาถาที่ ๔
๑๑. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ (บำรุงมารดาบิดา)
๑๒/๑๓. ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห = ปุตฺตสงฺคห (สงเคราะห์บุตร) และ ทารสงฺคห (สงเคราะห์ ภรรยา)
๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา (การงานไม่อากูล)

   คาถาที่ ๕
๑๕. ทานญฺจ (รู้จักให้, เผื่อแผ่แบ่งปัน, บริจาคสงเคราะห์ และบำเพ็ญ ประโยชน์)
๑๖. ธมฺมจริยา จ (ประพฤติธรรม, ดำรงอยู่ในศีลธรรม)
๑๗. ญาตกานญฺจ สงฺคโห (สงเคราะห์ญาติ)
๑๘. อนวชฺชานิ กมฺมานิ (การงานที่ไม่มีโทษ, กิจกรรมที่ดีงาม เป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เป็น ทางเสียหาย)

   คาถาที่ ๖
๑๙. อารตี วิรตี ปาปา (เว้นจากความชั่ว)
๒๐. มชฺชปานา จ สญฺญโม (เว้นจากการดื่มน้ำเมา)
๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ (ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย)

   คาถาที่ ๗
๒๒. คารโว จ (ความเคารพ, การแสดงออก ที่แสดงถึงความเป็นผู้รู้จัก คุณค่าของบุคคล สิ่งของ หรือ กิจการนั้น ๆ และรู้จัก ให้ความสำคัญ และความใส่ใจ เอื้อเฟื้อ โดยเหมาะสม)
๒๓. นิวาโต จ (ความสุภาพอ่อนน้อม, ถ่อมตน)
๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ (ความสันโดษ, ความเอิบอิ่มพึงพอใจ ในผลสำเร็จ ที่ได้สร้างขึ้น หรือในปัจจัย ลาภที่แสวงหามาได้ ด้วยเรี่ยวแรง ความเพียรพยายาม ของตนเอง โดยทางชอบธรรม)
๒๕. กตญฺญุตา (มีความกตัญญู)
๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ (ฟังธรรมตามกาล, หาโอกาสแสวงหาความรู้ เกี่ยวกับ หลักความจริง ความดีงาม และเรื่อง ที่เป็นประโยชน์)

   คาถาที่ ๘
๒๗. ขนฺตี จ (มีความอดทน)
๒๘. โสวจสฺสตา (เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย, พูดกันง่าย ฟังเหตุผล)
๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ (พบเห็นสมณะ, เยี่ยมเยียนเข้าหา ท่านผู้สงบกิเลส)
๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา (สนทนาธรรมตามกาล, หาโอกาสสนทนา แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกัน เกี่ยวกับหลักความจริง ความดีงาม และเรื่องที่ เป็นประโยชน์)

   คาถาที่ ๙
๓๑. ตโป จ (มีความเพียรเผากิเลส, รู้จักบังคับควบคุมตน ไม่ปรนเปรอ ตามใจอยาก)
๓๒. พฺรหฺมจริยญฺจ (ประพฤติพรหมจรรย์, ดำเนินตามอริยมรรค, การรู้จักควบคุมตน ในทางเพศ หรือ ถือเมถุนวิรัต ตามควร)
๓๓. อริยสจฺจาน ทสฺสนํ (เห็นอริยสัจ, เข้าใจความจริง ของชีวิต)
๓๔. นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ (ทำพระนิพพานให้แจ้ง, บรรลุนิพพาน)

   คาถาที่ ๑๐
๓๕. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ (ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว)
๓๖. อโสกํ (จิตไร้เศร้า)
๓๗. วิรชํ (จิตปราศจากธุลี)
๓๘. เขมํ (จิตเกษม)

  แต่ละคาถามีบทสรุปว่า "เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ" (นี้เป็นมงคลอันอุดม)
มีคาถาสรุปท้าย มงคลทั้ง ๓๘ นี้ว่า
"เอตาทิสานิ กตฺวาน สพฺพตฺถมปราชิตา สพฺพตฺถ โสตฺถี คจฺฉนฺติ ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ."
แปลว่า "เทวะมนุษย์ทั้งหลาย กระทำมงคล เช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ ไม่ปราชัย ในที่ทุกสถาน ย่อมถึง ความสวัสดี ในที่ทั้งปวง นี้คือ อุดมมงคลของ เทวะมนุษย์เหล่านั้น."

เวทนา ๑๐๘

คือสภาวะของอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ แบ่งเป็น....

เวทนา ๒
๑. กายิกเวทนา (ความรู้สึกที่รับรู้ทางกาย) อาศัยมหาภูตรูป
๒. เจตสิกเวทนา (ความรู้สึกที่รับรู้ทางใจ) อาศัยอุปาทายรูป

เวทนา ๓
๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)
๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข)     

เวทนา ๕
๑. สุขินทรีย์ (รู้สึกกายสุข) เป็นเวทนาภายนอก
๒. ทุกขินทรีย์ (รู้สึกกายทุกข์) เป็นเวทนาภายนอก
๓. โสมนัสสินทรีย์ (รู้สึกจิตดีใจ) เป็นเวทนาภายใน
๔. โทมนัสสินทรีย์ (รู้สึกจิตเสียใจ) เป็นเวทนาภายใน
๕. อุเบกขินทรีย์ (รู้สึกจิตเฉย ๆ) เป็นเวทนาภายใน    

เวทนา ๖
๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (รู้สึกจากสัมผัสทางตา)
๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา (รู้สึกจากสัมผัสทางหู)
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (รู้สึกจากสัมผัสทางจมูก)
๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (รู้สึกจากสัมผัสทางลิ้น)
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา (รู้สึกจากสัมผัสทางกาย)
๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา (รู้สึกจากสัมผัสทางใจ)

เวทนา ๑๘
๑. สุขเวทนาแบบ โสมนัสสูปวิจาร ๖ เป็นความรู้สึกดีใจ ๖ ประการ
ที่เกิดจาก เวทนา ๖ กับเวทนา ๓ ร่วมกัน (๖ทวาร+โสมนัส)

๑.๑ ตา กระทบ รูป แล้วรู้สึกดีใจ
๑.๒ หู กระทบ เสียง แล้วรู้สึกดีใจ
๑.๓ จมูก กระทบ กลิ่น แล้วรู้สึกดีใจ  
๑.๔ ลิ้น กระทบ รส แล้วรู้สึกดีใจ            
๑.๕ กาย กระทบ สัมผัส แล้วรู้สึกดีใจ     
๑.๖ ใจ กระทบ กระทบ แล้วรู้สึกดีใจ

๒. ทุกขเวทนาแบบ โทมนัสสูปวิจาร ๖ เป็นความรู้สึกเสียใจ ๖ ประการ
ที่เกิดจากเวทนา ๖ กับ เวทนา ๓ ร่วมกัน (๖ทวาร+โทมนัส)

๒.๑ ตา กระทบ รูป แล้วรู้สึกเสียใจ                       
๒.๒ หู กระทบ เสียง แล้วรู้สึกเสียใจ                              
๒.๓ จมูก กระทบ กลิ่น แล้วรู้สึกเสียใจ                           
๒.๔ ลิ้น กระทบ รส แล้วรู้สึกเสียใจ                                
๒.๕ กาย กระทบ สัมผัส แล้วรู้สึกเสียใจ                        
๒.๖ ใจ กระทบ อารมณ์ แล้วรู้สึกเสียใจ

๓. อารมณ์เฉย ๆ ที่เป็น อุเปกขูปวิจาร ๖
เป็นความรู้สึกเฉย ๆ ๖ ประการ ที่เกิดจากเวทนา ๖ กับ เวทนา ๓ ร่วมกัน (๖ทวาร+อุเบกขา)
๓.๑ ตา กระทบ รูป แล้วรู้สึกเฉย ๆ                         
๓.๒ หู กระทบ เสียง แล้วรู้สึกเฉย ๆ                               
๓.๓ จมูก กระทบ กลิ่น แล้วรู้สึกเฉย ๆ                          
๓.๔ ลิ้น กระทบ รส แล้วรู้สึกเฉย ๆ                                
๓.๕ กาย กระทบ สัมผัส แล้วรู้สึกเฉย ๆ                          
๓.๖ ใจ กระทบ อารมณ์ แล้วรู้สึกเฉย ๆ               

เวทนา ๓๖
๑. เคหสิตเวทนา ๑๘
(เป็นความรู้สึกอย่างชาวบ้าน ที่เกิดจากเวทนา ๑๘ นั่นเอง)
– วนอยู่กับโลกีย์ (โลกนี้)

๑.๑ เคหสิตโสมนัส ๖ (รู้สึกดีใจอย่างชาวบ้าน ๖ อย่าง)         
๑.๒ เคหสิตโทมนัส ๖ (รู้สึกเสียใจอย่างชาวบ้าน ๖ อย่าง)    
๑.๓ เคหสิตอุเบกขา ๖ (รู้สึกเฉย ๆ อย่างชาวบ้าน ๖ อย่าง)

๒. เนกขัมมสิตเวทนา ๑๘
(เป็นความรู้สึกอย่างนักบวช ที่เกิดจากเวทนา ๑๘ นั่นเอง)
– ตรงสู่โลกุตระ (โลกหน้า)

๒.๑ เนกขัมมสิตโสมนัส ๖ (รู้สึกดีใจอย่างนักบวช ๖ อย่าง)
๒.๒ เนกขัมมสิตโทมนัส ๖ (รู้สึกเสียใจอย่างนักบวช ๖ อย่าง)
๒.๓ เนกขัมมสิตอุเบกขา ๖ (รู้สึกเฉยๆอย่างนักบวช ๖ อย่าง

เวทนา ๑๐๘
๑. เวทนา ๓๖ ที่เป็นอดีต (ก็สูญแล้ว)
๒. เวทนา ๓๖ ที่เป็นปัจจุบัน (ก็สูญอยู่)
๓. เวทนา ๓๖ ที่เป็นอนาคต (ก็สูญอีก)

(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๘ “อัฏฐสตปริยายสูตร” ข้อ ๔๓๑-๔๓๗)

ธรรมพุทธสุดลึก     พุทธสิกขา หมวด ๑-๔        พุทธสิกขา หมวด ๕-๗