สิบห้านาที กับ พ่อท่าน โดย ทีม สมอ. ตอน...
นโม
หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 144 เดือนสิงหาคม 2533
ฉบับ "นโม"

"นโม" เป็นคำขึ้นต้น ของ บทสวดมนต์ ที่เรามักได้ยินเสมอ ในพิธี ที่เกี่ยว กับ พระพุทธศาสนา คล้าย กับ เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ เลยทีเดียว แต่ทว่า ในความหมาย ที่แท้จริงแล้วนั้น คำว่า "นโม" มีความหมาย ที่ศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งกว่าเสียอีก หากผู้ใด สามารถเข้าใจ ถึงนัย แห่งความหมาย ที่ละเอียด ลึกซึ้งได้ จาก บทสัมภาษณ์ พ่อท่านโพธิรักษ์ ณ พุทธสถานปฐมอโศก ดังต่อไปนี้

ถาม: นโมแปลว่าอะไร ทำไมเวลาสวดมนต์ จึงต้องมีคำว่านโมนำหน้าคะ

ตอบ : นโมเป็นภาษาบาลี แปลว่า ความนอบน้อม เป็นคำระลึกถึงผู้มีคุณธรรมอย่างนอบน้อม เป็นคำยกย่องเชิดชูน้อมต่อคนที่เราเคารพนับถือ นโมตัสสะ ภควโตฯ คือน้อมต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ถาม: ความนอบน้อมมีลักษณะอย่างไรคะ

ตอบ : ความนอบน้อมมีลักษณะที่เราเอง เรา ไม่หลงตน ไม่ถือตน ไม่ยกตน ไม่เบ่งตน การไม่หลงตน ไม่ยกตน ไม่เบ่งตนนั้นเป็นความเป็นไปได้ทั้งที่เป็นสัมมาทิฐิและมิจฉาทิฐิ

การไม่ถือตน ไม่ยกตน ไม่เบ่งตนด้วยลักษณะ ของผู้ที่รู้แจ้งรู้จริง ก็จะทำได้เสมอๆ ทำได้โดยไม่มีมานะ เป็นผู้น้อมเป็นผู้ถ่อมตนไม่ถือตนไม่หลงตน ไม่เบ่งตนอยู่ตลอดไปอย่างถูกสัดส่วนในการแสดงออก ของกาย-วาจา-ใจ

แต่สำหรับ ผู้ที่มีกิเลสมานะนั้น นอบน้อมก็น้อมได้ทั้งในสภาพที่น้อมแต่กาย น้อมแต่วาจา ใจไม่น้อมก็ได้ ใจมันไม่ยอม ใจมันค้านแย้ง ใจมันยังเบ่งยังใหญ่ ใจมันยังไม่ยอมทีเดียวหรอก ใจมันยังไม่ได้เคารพเชิดชูอะไรหรอก ทว่าจำเป็นจำนนต่ออำนาจ จำนนต่ออะไรหลายๆ อย่าง มันก็ไม่น้อมแต่ภายนอก

หรือ อีกอย่างก็เป็นผู้ที่น้อมอย่างเป็นทาสต่อผู้ที่ไม่น่ายกย่อง ไม่สมควร เคารพจะเพราะรู้ไม่เท่าทัน หรือ เพราะจำนนก็ตาม น้อมอย่างหลง เป็นผู้หลงใหลยกย่องเชิดชูอย่างผู้ที่หลงใหลก็ได้ ก็ถือเป็นการนอบน้อมอย่างมิจฉาทิฐิเหมือนกัน

ถาม: การที่เรานอบน้อม กับ บางคนได้ แต่ กับ บางคนเราก็นอบน้อมไม่ลง เพราะอะไรคะ

ตอบ : อันนั้นเป็นเรื่อง ของสัจจะความจริง เรานอบน้อมนั้นหมายความว่า เราเคารพยกย่องเชิดชูผู้ที่ควรยกย่องเชิดชู เราก็ยกย่องเชิดชูจริงๆ กับ ผู้ที่เราเห็นสมควร เพราะท่านเป็นผู้ที่มีคุณธรรมมีภูมิธรรม มีสิ่งที่เราควรจะเคารพยกย่อง บูชาจริงๆ เราก็นอบน้อมด้วยใจจริง อย่างนั้นก็เรียกว่าเป็นการนอบน้อมตามฐานะจริง และ ท่านที่สูงอยู่แล้วนั้น ท่านก็เป็นผู้นอบน้อม เป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนด้วย ท่านเป็นผู้ไม่เบ่งไม่ข่ม แม้ผู้อยู่ฐานะต่ำกว่าทั้งสมมติและปรมัตถ์

คือแม้ว่าผู้นี้ฐานะต่ำกว่า ผู้นี้ไม่มีภูมิสูงกว่า เป็นผู้ที่ควรจะเคารพเราด้วยซ้ำ แต่เราก็ไม่ไปเบ่งไม่ไปข่มอะไร

จะถือในลักษณะ ของความไม่ถือตน ไม่มีมานะเป็นสัมมาทิฐิเป็นภูมิสูง ที่รู้แท้รู้จริงได้ ให้เกียรติแก่ทุกคน

ถาม: แสดงว่า การนอบน้อมก็ต้องใช้ปัญญา

ตอบ : ใช่ มันจะมีญาณมีปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง เราจะรู้ว่าใครคือคนที่ควรเคารพนบนอบ ยกย่องบูชาเชิดชูอย่างแท้จริง

ถาม: คนที่ขาดความนอบน้อมเพราะอะไรคะ

ตอบ : เพราะ มีกิเลสจริงๆ คือมีมานะมีอัตตาถือดี ถือตัว กระด้าง เป็นคนที่ไม่เข้าใจความจริงว่า ความนอบน้อมนั้นเป็นคุณสมบัติที่ดี ของมนุษย์

ถ้านอบน้อมโดยสัมมาทิฐิ รู้จักฐานะ รู้จักกาลเทศะ รู้จักอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ตามสัจจะตามขนาด ตามรูปแบบสัดส่วนพอเหมาะผู้ที่มีภูมิธรรมในด้านปรมัตถสัจจะสูง ที่ไม่มีกิเลสมานะ ไม่มีกิเลสอัตตา ไม่มีกิเลสถือตัวแล้ว ก็จะเป็นผู้ที่นอบน้อมอย่างถูกกาลเทศะ ถูกบุคคล ถูกสัดส่วน ของความนอบน้อม ตามสมมุติสัจจะอย่างดี

ถาม: ทำไมคนที่มีความเชื่อมั่นสูง มักจะขาดความนอบน้อมคะ

ตอบ : ถ้าพูดตามจริงแล้ว ผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงนี้ ที่ไม่มีกิเลสไม่มีมานะ ก็ไม่ได้เป็นคนขาดความนอบน้อมอะไร แต่ว่าการนอบน้อมนั้น ถ้ารู้จักกาลเทศะอย่างพระพุทธเจ้านี้ ท่านเป็นผู้ที่มีปรมัตถสัจจะสูงสุด ท่านบอกว่าท่านไม่ยกมือรับไหว้ใคร หรือ ท่านเชื่อในความเห็น ของท่าน ท่านไม่เคารพใครก่อนอะไรนี่เป็นต้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่าท่านไม่นอบน้อม ท่านมีความนอบน้อม มีความอ่อนน้อม ท่านไม่มีมานะ ไม่มีการเบ่งข่ม ไม่มีการถือดีอะไร ไม่มีอัตตา ไม่มีมานะ แต่ทำให้ถูกสมมุติสัจจะที่ควรอย่างถูกธรรม ถูกสัดส่วน เพราะท่านสูงจริง ความเชื่อ ของท่านถูกต้องจริง

ทีนี้ผู้ที่มีความเชื่อมั่นตัวเองสูงในชนิดที่มีกิเลสตัณหานั้น มักจะไม่รู้จักสัจจะ เพราะฉะนั้นก็จะถือตัวถือตน ถือดี มีอัตตา มานะ ถือทิฐิ รู้สึกว่าหลงตัวเอง เชื่อว่าตัวเองมีความมั่นใจในอะไรก็ตามเถิด มันก็จะเป็นอย่างนั้น ตามที่ตนมั่นใจอาจเชื่อมั่นในความผิดอยู่ก็ได้

การมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงนี่ มีทั้งคุณทั้งโทษ ถ้าเผื่อว่าไม่ศึกษาธรรมะ ไม่เข้าใจสัจจะที่แท้จริงแล้ว จะมีโทษมากทีเดียว

แต่ถ้ามีความรู้ภูมิธรรมดีๆ มีความรู้สัจธรรมสูงๆ แล้ว คนที่มีความเชื่อถือในตัวเองสูง ก็ไม่ใช่เป็นการเชื่อถือในตัวเองสูง แต่เป็นความเชื่อถือในสัจจะที่สูง

ผู้ที่มีปรมัตถสัจจะสูงเท่าไร ก็จะเป็นผู้ที่รู้จักสมมุติสัจจะดี เพราะฉะนั้นความเชื่อถือตัวเองสูงจะปรับตัวเอง จะทำตัวเองให้เหมาะสมที่ควรจะทำ มีกิริยา มีการแสดงออกอะไรต่างๆ นานา เพื่อให้เกิดประโยชน์คุณค่าต่อผู้อื่นได้ดีมากทีเดียว

ถาม: มีผู้กล่าวว่า ชาวอโศกมักจะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นตัวเองสูง จนบางครั้งดูกร้าว กระด้าง รุนแรง ในความรู้สึก ของพ่อท่าน คิดว่าชาวอโศกอ่อนน้อมเพียงพอ หรือ ยังคะ

ชาวอโศกส่วนใหญ่อ่อนน้อมดี เป็นผู้ที่ไม่ถือตัวถือตน เป็นผู้ที่ลดตัวลดตนได้ไม่ใช่น้อย

ทีนี้มันยากที่คนเราจะรู้อะไรๆ ได้ คือพวกเรา ยอมในสิ่งที่ควรยอม แต่สิ่งที่ไม่ควรยอม เพราะดูเหมือนว่าเราจะเสียธรรม ให้เขาลบหลู่ธรรมะ พวกเราก็จะไม่ยอม ลักษณะพวกนี้มันแสดงออกยังไม่กลมกลืน หรือ ยังไม่ได้สัดส่วน มันดูเหมือนกระด้างๆ แต่แท้จริงแล้วมันเป็นการไม่ให้ลบหลู่ธรรม ไม่ให้ธรรมถูกข่ม ซึ่งมันก็เป็นการแสดงออกที่อยู่ในกิริยา ของมนุษย์นี่แหละ มัน จึงดูยากกิริยาอย่างนั้น

คนที่ยังปรับกิริยา ของตัวเองไม่ได้ เพื่อที่จะมีประโยชน์แก่ตนแก่ท่านอย่างดีงาม ยังไม่ได้เหมาะเจาะ ยังไม่ได้เหมาะสม มีสัปปุริสธรรมยังไม่สมบูรณ์ก็มีบ้าง แต่เราก็ได้พยายามฝึกการอ่อนน้อมถ่อมตนไม่ถือตัว ไม่ถือดี เป็นคนยอม เป็นคนที่เสียสละ ไม่เบ่งไม่ข่มอะไร เราก็ทำอยู่ ซึ่งบางคนก็ทำได้มาก บางคนก็ทำได้น้อย บางคนก็เริ่มจะทำ ฉะนั้นบางคน จึงดูหยาบเพราะไม่ค่อยได้ฝึกมาก่อนเป็นชาวอโศก แต่ก็ลดลงกว่าเดิมเมื่อเทียบจากตัวเขาเอง แต่คนอื่นก็อาจเห็นว่ายังหยาบยังก้าวร้าวอยู่มาก ซึ่งเราก็เข้าใจ

ถาม: ความนอบน้อม กับ การยอมเหมือนกัน หรือ คล้ายกันคะ

ตอบ : ความนอบน้อม กับ การยอมมีลักษณะคล้ายกัน แต่มีนัยละเอียดอีก การยอมในลักษณะจำนนเพราะจำเป็นก็ได้ ซึ่งก็เป็นลักษณะนอบน้อมยอมได้โดยจริงไม่ใช่เราผิดไม่ใช่เราต่ำ แต่ยอมเขาได้ โดยที่เราเสียสละ เห็นแก่ความเป็นไปด้วยดี เห็นแก่สันติ ให้เกิดสภาพที่เป็นอยู่ผาสุก ผิด กับ การยอมที่ไม่นอบน้อม

ถ้ายอมโดยนอบน้อม ก็จะมีแต่ปัญญามีความรู้สมสัดส่วน ถ้ายอมโดยไม่นอบน้อม มันคือความเป็นทาส ยอมอย่างจำนน กลัวเกรงอะไรก็ได้ เพราะฉะนั้นมันต่างกัน

ถาม: อันนี้แต่ละคนต้องรู้ตัวเองใช่มั้ยคะ ว่าขณะที่เรายอม เรายอมเพราะอะไร บางครั้งเราก็ต้องยอมเพราะอำนาจ ของโลก

ตอบ : การยอมเราต้องรู้ ใช่ บางทีเราก็ต้องยอมต่ออำนาจ ของโลกก็จริง

ทีนี้ผู้ที่กล้าหาญชาญชัยแล้ว บริสุทธิ์ใจจริงแล้ว จะให้โลกลบหลู่ธรรม โลกีย์ลบหลู่ธรรม บางทีก็ไม่ยอม สำหรับคนที่มีปัญญาพอ กล้าหาญพอก็ไม่ยอม

ทีนี้แม้แต่ผู้มีธรรมะ มีภูมิธรรมเข้าใจแล้วก็ตาม เรารู้ว่าอำนาจโลกมี อำนาจ ของโลกีย์มี เรายอมเสียสละความเป็นอัตตาถือดีตัวเรายอมซะ เพื่อที่จะให้เกิดผลดีต่อผู้อื่น ผลดีต่อเหตุการณ์ ผลดีต่ออะไรหลายๆ อย่างที่จะเกิดคุณค่าขึ้นมา ก็ยอมได้โดยปัญญา โดยยอมทางโลกีย์ แต่ที่จริงแล้ว โลกีย์จะใหญ่กว่าโลกุตระ ใหญ่กว่าธรรมะมันไม่สมควร ซึ่งเราก็ต้องรู้กาลเทศะ รู้เพื่อประโยชน์หลายๆ อย่าง แต่ต้องไม่เสียธรรมถึงที่สุด ส่วนที่ยอมได้ก็ยอมได้ ส่วนที่ยังยอมไม่ได้ จึงยังมีอยู่ เหมือนคนดื้อรั้นอยู่บ้าง

ถาม: พ่อท่านคะ อย่างคนที่ไม่นอบน้อม เป็นคนที่ค่อนข้างกระด้าง เขาจะฝึกนอบน้อมได้ เขาควรทำอย่างไร ควรจะเริ่มตรงไหนดีคะ

ตอบ : ก็เริ่มหัดมาตั้งแต่กาย วาจา และ ก็เรียนรู้ทางใจ ใจเราจะเกิดญาณ เมื่อเราตั้งใจจะนอบน้อม เราก็นอบน้อมไปก่อน และ เมื่อเวลาปัญญา หรือ ญาณปัญญาทางธรรม ของเราสูงขึ้น เราก็จะรู้ความเหมาะควร ความสูงจริง เจริญจริง มีสภาพที่เป็นอริยะ สภาพที่เป็นภูมิธรรม คุณธรรม อะไรสูงจริงๆ เราก็จะค่อยๆ รู้ การรู้สิ่งเหล่านี้จริงแล้ว เราก็จะนอบน้อมถูกสภาพ

ถ้าเผื่อว่าเรามีกิเลส มีการถือดี ถือทิฐิ ถืออัตตา ถือมานะ ของเราเป็นต้น เราก็มาตั้งใจเป็นหลักเกณฑ์ ที่เป็นเหมือนศีล เหมือนตบะ ตั้งข้อที่เราจะหัดสังวรศีล สำรวมอินทรีย์ กาย วาจา ของเรา ทั้งใจ ของเราไปในตัวบ้าง ทำไปแล้วจะเกิดกาย วาจา จะรู้ความจริง ของสัจจะดังที่กล่าวแล้ว มันจะเป็นจริง อะไรสมเหมาะสมควร สูงจริงไม่สูงจริง แล้วเราจะปรับได้ถูกสัดส่วนถูกรูปถูกนาม ว่า ควรจะยอมให้แก่อะไร ถึงจะถูกต้องที่สุด ยอมให้แก่สัจธรรม คุณธรรมที่เจริญยิ่งกว่า มันถูกต้อง เราสมควรจะอนุโลมก็อนุโลม ยอมเพราะประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า หรือ ว่าไม่ยอม จะต้องมีการให้เขารู้สึกตัวบ้าง ไม่ยอมบ้าง ก็จะรู้จักกาลเทศะ

ถาม: การยอมอย่างพระเยซูถูกกาละมั้ยคะ

ตอบ : อย่างพระเยซูยอมก็เป็นการถูกกาละ ยอมเพื่อประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่แก่มวลมนุษยชาติ ท่านก็กล่าวท่านก็เปล่งนะว่าท่านเป็น ผู้ไถ่บาป ถอดถอนเพื่อมวลชน ของโลก ของมนุษยชาติ ท่านยอมอย่างนอบน้อม อย่างไม่กระด้าง ยอมอย่างที่รู้ว่าอำนาจโลกแล้วก็ต้องเป็นไปอย่างนั้น ท่านไม่ทำร้ายใคร แต่ใครทำร้ายท่านทั้งๆ ที่ไม่สมควร ผู้ไม่รู้ความจริง (โง่) ย่อมทำได้ทั้งๆ ที่ร้าย

ถาม: พ่อท่านคะ คนที่มีความนอบน้อมจะมีความสุภาพ แต่คนที่สุภาพอาจจะไม่นอบน้อม เป็นไปได้ไหมคะ

ตอบ : ได้ คนที่สุภาพอาจเป็นพวกมีปัญญาอย่างเฉกตา คือเฉลียวฉลาดอย่างเฉโกซับซ้อน โดยรู้ว่าถ้าแสดงอาการสุภาพจะได้รับคะแนนว่างั้นเถอะ เพื่อต้องการความยอมรับ ของผู้อื่น ของสังคม ของอะไร แต่จิตจริงๆ นั้น ไม่ได้เป็นผู้นอบน้อม ไม่ได้เป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน แต่ว่าทำเพื่อจะได้สิ่งอย่างนั้น อันนี้มันลึกซึ้งซับซ้อนอยู่เพื่อที่จะได้สิ่งที่ตนเองต้องการ แต่ใจจริงๆ แล้ว แข็งกระด้างต่อกัน ดื้อดึง เบ่งข่ม หยาบคายในท่าทีลึกๆ ไม่จริงใจก็ได้

ถาม: ผู้ที่มีปกตินบนอบต่อผู้ใหญ่อยู่เป็นนิตย์ ย่อมได้รับพรชัย ๔ ประการเพราะอะไรคะ

ตอบ : อันนั้นเป็นสิ่งที่ฝึกปรือดังที่กล่าวแล้ว หัดฝึกปรือด้วยกาย วาจา ใจ เป็นผู้นอบน้อมต่อผู้ใหญ่

คำว่า "ผู้ใหญ่" เราดูด้วยตาดูด้วยอายุ คุณวุฒิ วัยวุฒิ หรือ ดูด้วยอายุ วรรณะ สุข พละ ของคน จึงจะรู้ว่าเป็น"ผู้ใหญ่"แท้ เพราะวัยวุฒิ คุณวุฒิ มันยังมีคุณธรรมที่ซ้อนเชิงอีก เรื่องคุณธรรม ภูมิธรรมที่ลึกซึ้งนี่แหละ เราจะเกิดปัญญา เราจะเกิดความรู้สึกนอบน้อมได้จริง กับ ผู้มีสัจธรรมจริงๆ

ผู้ใดนอบน้อมได้ถูกกาลเทศะดังที่ได้กล่าวมาแล้ว มีญาณปัญญารู้จักปรมัตถธรรม รู้จักสมมุติธรรม รู้จักปรมัตถสัจจะ สมมุติสัจจะดี ผู้นั้นย่อมทำตนให้มีพรชัย ๔ ประการคือ อายุ วรรณะ สุข พละได้ เพราะว่าเรื่องอายุ วรรณะ สุข พละ เป็นเรื่องลึกซึ้ง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อายุ" ของผู้มีภูมิธรรมสูงๆ แล้ว หมายถึง "ความเพียร" หมายถึง "อิทธิบาท ๔" เพราะฉะนั้นผู้ใดที่ปฏิบัติถูกธรรม ถูกทาง ของพระพุทธเจ้า ก็จะเป็นผู้ที่มี"อายุ" ก็คือจะเป็นผู้ที่มีความเพียรเป็นที่ปรากฏ มีลักษณะ ของ"อิทธิบาท ๔" ดีเด่นชัดเจนในผู้นั้นๆ ทำประโยชน์แก่โลก แก่สังคมอย่างมากอยู่ทีเดียว

ส่วน "วรรณะ" นั้นหมายถึง "ศีล" ผู้ใดที่ปฏิบัติตัวได้สูงถูกสัจจะถูกธรรมแล้ว จะเป็นผู้มี"ศีลสูง" หมายถึงมี"วรรณะสูง" ไม่ได้หมายความว่าคนมีวรรณะสูงคือ เกิดในตระกูลดี หรือ คนที่เกิดมาวรรณะ (ผิวพรรณ) ผ่องใส แล้วก็ถือว่าเป็นวรรณะงาม พระพุทธเจ้าไม่เอาอันนั้นเป็นหลัก "วรรณะ" ของพระพุทธเจ้าเอาผู้ที่มี "ศีล" เป็นหลัก มีศีลได้มากได้สูงได้ลึกซึ้งละเอียด เป็น "วรรณะ" เป็นค่า ของมนุษย์

มี "สุข” ก็คือเป็นผู้มี "จิตสงบจากกิเลส" มีฌาน มีจิตที่สงบจากกิเลสตัณหา อุปาทานได้มาก ก็เป็นผู้มี "สุข" มากไม่ใช่ มีสุขอย่างโลกีย์ ที่ได้สมอก สมใจอยาก ของตัวเอง แล้วก็เป็นสุขไม่ใช่อย่างนั้น

"พละ" กำลังยิ่งลึกซึ้งใหญ่ มีพละกำลังเพราะมี "วิมุติ" จริงๆ ก็จะเป็นคนมีพละมีกำลังอย่างแท้จริง ไม่ใช่ว่ามีพละกำลังเพราะไปฝึกออกกำลังทางกายเอามา ไปสร้างอำนาจทางวัตถุทรัพย์ ทางอำนาจ ของอาวุธทางอะไรต่ออะไรให้คนอื่นเขากลัวเรา เราก็เลยเป็นผู้มีพละกำลังอย่างนั้นไม่ใช่

ยิ่งเป็นคนที่มีความนอบน้อม เป็นคนที่มีปัญญา มีคุณธรรมสูง เป็นคนที่มีความสงบ เป็นคนที่ปราศจากกิเลส เป็นคนที่มีวิมุติ นั่นแหละคือผู้ที่มี "กำลัง" (พละ) อย่างพระพุทธเจ้าหมาย

การอวยพรถ้าเข้าใจ "พร" ตื้นๆ มันก็จะได้ตื้นๆ แต่ถ้าผู้ใดเข้าใจธรรมะสูงๆ รู้จัก "พร" (ความประเสริฐ) ที่จริง และ ปฏิบัติถูกต้อง ก็จะได้อายุ วรรณะ สุข พละ สูงลึกซึ้ง

ไม่ใช่"อายุ"คือการมีชีวิตยืนยาวเฉยๆ แต่ยืนยาวไปก็มีแต่ทำบาปมากๆ

ไม่ใช่มี "วรรณะ" ก็ได้เกิดในที่สูง เกิดในตระกูลสูง ก็หลงเลอะๆ เทอะๆ หยิ่งผยอง

มี "สุข" ก็คือ ได้แต่เสพสมใจ (บ้าง) แสวงหามาสมอยากได้โดยมีการไปเบียดเบียนผู้อื่นได้สมใจบ้าง แล้วก็สุขใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่อย่างนั้น

"พละ" คือมีฤทธิ์มีอำนาจไปเบ่งข่มผู้อื่นได้เก่ง ใครๆ เขาก็ยอมเป็นทาส ถือว่าตนมีพละกำลังอย่างนั้น ไม่ใช่

คงได้กระจ่างชัดขึ้นแล้วนะคะ ในความหมาย ของคำว่า "ความนอบน้อม" หรือ นโม อันเป็นคุณธรรม ที่พึงจะน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ จนเกิดมีจริงขึ้นได้ในตน มิใช่เป็นเพียง การรู้โดยเข้าใจ ความหมาย เท่านั้น หรือ ยังเข้าใจได้เพียง "นอบน้อม" อย่างมิจฉาทิฐิ "นอบน้อม" อย่างฉลาดแกมโกง(เฉกตา)อยู่เท่านั้น

-ทีม สมอ.-

end of column
     

๑๕ นาที กับ พ่อท่าน บทนำ "นโม" (สารอโศก อันดับ ๑๔๔ สิงหา – กันยา ๒๕๓๓)