หน้าแรก>สารอโศก


น.ส.อรสา วงษ์จันทร์
เกิด ๑๙ ตุลาคม ๒๔๙๙
พี่น้อง ๔ คน เป็นคนที่ ๒
ภูมิลำเนา บ้านเล่า ตำบลบ้านเล่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
สถานภาพ โสด
การศึกษา ปริญญาตรี กศ.บ., สาขา ชีววิทยา ศษ.บ. สาขาการบริหารการศึกษา ปริญญาโท กศ.ม. สาขาการบริหารการศึกษา
อาชีพ รับราชการในตำแหน่ง หัวหน้างานบริหารทั่วไป สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอหนอง- บัวแดง จ.ชัยภูมิ, หัวหน้างานบริหาร ทั่วไป สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ, หัวหน้างานการเจ้าหน้าที่ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอหนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ

ปี ๒๕๒๘ พบอโศก โดยการเข้ารับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับข้าราชการครู ซึ่งจัดขึ้นที่โรงเรียนสตรีชัยภูมิ โดยกอง ทัพธรรมมูลนิธิ ตอนนั้นเป็นข้าราชการจากต่างอำเภอ ที่สมัครเข้ารับการอบรมด้วยความอยากเป็นผู้มีปัญญา โดยไม่เคยรู้จักอโศกมาก่อน

ประทับใจพ่อท่าน พระ(ปัจจุบันเรียกว่าสมณะ) ญาติธรรม สัมผัสได้ถึงความพร้อมเพรียง ความเป็นระเบียบเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่า ผ่านการฝึกฝนมาดี โดยเฉพาะพ่อท่านที่มีความอาจหาญในการแสดงธรรม ชี้ถูกผิดได้ชัดเจนมาก ประกอบกับตนเอง อยู่ในครอบครัวที่ ไม่มีอบายมุขอยู่แล้ว ซึ่งรู้สึกค้านแย้งกับสังคมทั่วไปมาโดยตลอด เมื่อพบชาวอโศกจึงเข้าใจ ประทับใจและดีใจมากๆ หลังจากผ่านการ อบรม ๔ วัน ๓ คืน ได้กลับมาทบทวนทั้งคืนโดยไม่หลับเลย นึกไม่ถึงว่าจะมีกลุ่มบุคคลเช่นนี้อยู่ในโลก มีความรู้สึกได้ เลยว่าใช่

จากนั้นก็เริ่มปฏิบัติธรรม โดยการขออนุญาตจากคุณแม่ว่า ต่อไปนี้จะไม่เบียดเบียนสัตว์ ขอรับประทานอาหารมังสวิรัติ ซึ่งได้รับอนุญาต อย่างง่ายดาย กับทุกคนในบ้านก็ไม่เป็นปัญหา และค่อยๆปรับตัวมาเรื่อยๆ ช่วงที่ยังไม่เข้าวัด ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับหมู่ กลุ่มมาโดยตลอด (กลุ่มชัยภูมิอโศกหรือหินผาฟ้าน้ำในปัจจุบัน) และได้ทำหน้าที่เลขานุการกลุ่มหลายวาระ

ปี ๒๕๓๙ คุณแม่เสียชีวิต ทำให้เกิดสภาวะเห็นอนิจจัง ความไม่เที่ยงของคนเราอย่างชัดเจน เป็นการเห็นด้วยใจว่า คนเราเกิด มาหนีไม่พ้นความตาย จะตายเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ตายแล้วจะเอาอะไรไปไม่ได้เลย ตัวเราเองก็เหมือนกัน ถ้ามัวประมาทอยู่ จะทำให้ พลาด จากสิ่งที่เราอยากจะทำ คือการเข้าวัดปฏิบัติธรรม กลับมาถามตนเองว่า อยู่แล้วได้อะไร ตายแล้วสิ่งที่เราได้ติด ตัวไปคืออะไร สุดท้ายก็ต้องยอมจำนน ตัดสินใจเข้าวัด แต่ยังมีวิบาก ต้องทำงานให้กับทางราชการตามกำหนดสัญญา

ปี ๒๕๔๓ ลาออกจากราชการ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓ และเข้าทำงานเป็นพนักงาน บริษัท แด่ชีวิต จำกัด (ฝ่ายโกดัง) เพื่อเรียนรู้ชีวิตของคนวัด และฝึกฝนตนเอง เมื่อเข้าไปอยู่วัดจะได้ไม่ต้องต่อสู้มาก (ต่อสู้กับกิเลสของตนเอง)

ปี ๒๕๔๕ ได้ขอเข้ามาเป็นคนวัด แต่ยังคงช่วยงานที่ บริษัท แด่ชีวิต จำกัด โดยไม่รับเงินเดือน ทำหน้าที่การเงินของบริษัทฯ ซึ่งถือเป็นหน้าที่ประจำ นอกเหนือจากงานประจำ ช่วยทำหน้าที่เลขาฯการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นเลขาฯการประชุมพาณิชย์ บุญนิยม ช่วยจัดทำบทคัดย่อ โครงการถอดเท็ปธรรมะออกพิมพ์ให้ท่วมโลก

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน มองว่า อุปสรรคเป็นเรื่องธรรมดา ปัญหาทุกอย่างอยู่ที่ตัว เราเอง เป็นเพราะอัตตามานะ ความหลงตัว ลืมตัว ไม่รู้จักตัวเอง จับกิเลสไม่ทัน เมื่อมีผัสสะมักมองออกนอกตนเอง มีเหตุผลมาสนับ สนุนมาก ทำให้ยอมไม่ได้

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ ทิฐิของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

แนวทางแก้ไข ปรับที่ตนเอง ถือศีลให้ดี หมั่นฟังธรรม คบคุ้นสัตบุรุษ ขวนขวาย อ่อนน้อมถ่อมตน มองตนเองให้มากๆ มองความผิดของ ตนเองเป็นสำคัญ ล้างจิตที่ไม่ดีของตนเองด้วยวิธีสมถะและวิปัสสนา มีสติหมั่นพิจารณาหาเหตุผล ยอมให้ได้ก่อน แล้วมาปรับในส่วนที่ ตนเองบกพร่อง หาวิธีการทำงานที่ดีกว่านี้ ถือเป็นการเรียนรู้ เอาประโยชน์จากผัสสะ แต่ละครั้งให้ได้

หมั่นประชุม ระดมความคิดเห็น และทำตามมติที่ตกลงกัน หากแต่ละคนสามารถปรับทิฐิ มีการประสานกัน ไม่เอาแต่ใจตัว ปัญหาต่างๆ ก็จะลดน้อยลง

ข้อปฏิบัติที่ยากที่สุด การไม่สวมรองเท้า แล้วต้องไปพบปะผู้คนในที่ต่างๆ ก่อนปฏิบัติรู้สึกยากมากๆ ยากใน ความคิด ความรู้สึกของตนเอง แต่พอลงมือปฏิบัติกลับรู้สึกดี เห็นเป็นความเจริญของนักปฏิบัติธรรม ลดโลกธรรม ได้อย่างมาก เป็นผลดีต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย

คติประจำใจ ทำกรรมปัจจุบันให้ดีที่สุด เสียสละให้มากๆ

เป้าหมายชีวิต ลดละกิเลสให้ได้มากที่สุด เพื่อสั่งสมบุญไปยังชาติต่อๆไป จนกว่าจะหมดกิเลส จะได้ไม่ต้องเกิดอีก

ข้อคิดข้อฝากให้หมู่กลุ่ม วันเวลาของชีวิตคนเราไม่มีวันย้อนกลับได้ เมื่อเราไม่ได้ทำในสิ่งที่เราคิดว่าดีกว่า ก็เท่ากับเราได้สูญ เสียเวลาไปอย่างสูญเปล่า เกิดมาชาตินี้ได้พบกับพระโพธิสัตว์แล้ว ควรได้มีชีวิตที่คุ้มค่า และมีคุณค่าสำหรับคนอื่น หากมัวแต่ ประมาท ไม่รีบตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ตนรู้แล้วว่าดี อาจพลาดโอกาสดีๆไปได้ ขอฝากผู้ที่กำลังตัดสินใจ เข้ามาอยู่วัด ขอให้รีบตัดสินใจได้แล้ว

(สารอโศกอันดับที่ ๒๖๓ สิงหาคม ๒๕๔๖)