บันทึกจากปัจฉาสมณะ สารอโศก อันดับ ๓๓๗ ธันวา๕๗-กุมภา๕๘
ปีใหม่ชีวิตใหม่ในงาน ว.บบบ.

ในเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ของชาวบุญนิยม ชีวิตของพวกเรา อาจจะแตกต่าง จากคนทั่วๆ ไป การส่งท้ายปีเก่าของเรา ก็คือ การทำสิ่งที่ดีที่สุด ให้กับชีวิต พ่อครูให้คำอรรถาธิบายว่า

"การทำสิ่งที่ดีที่สุด ให้กับชีวิตนี้ ไม่มีอะไรประเสริฐไปกว่า "การได้กำจัดกิเลสของตน ออกไปให้ได้!" นี่คือประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ของการเกิดเป็นคน จำอะไรไม่ได้ ก็จำอันนี้เอาไว้ พ่อครูย้ำ ผู้ใดสามารถ ทำให้ประโยชน์ตนครบ ก็หมดประโยชน์ตน ชีวิตจะเกิด อีกกี่ชาติ ก็ล้วนเป็นชีวิต เพื่อผู้อื่นทั้งสิ้น นี่คือหลักสูตร การศึกษาของพระพุทธเจ้า

ประโยชน์ตนที่พระพุทธเจ้าว่าก็คือ การชำระกิเลส นี่คือประโยชน์แท้ คนที่ลดกิเลสไม่ได้ มันมีแต่ "โทษ" ใส่ตนไม่มีประโยชน์ตน มีแต่โทษภัย ที่คุณสะสมใส่ตน ไม่ว่าคุณจะมีการศึกษา จบด๊อกเตอร์ กี่ใบก็แล้วแต่ หรือแม้ไม่ต้องไปเรียน ตามระบบวิธีการเขาก็ตาม จะเรียนวิธีไหนก็ได้ แม้จะได้ความรู้มากๆ แต่ถ้าความรู้นั้น ไม่ได้ชำระกิเลส ก็ล้วนเป็นความรู้ ที่เป็นโทษแก่ตนทั้งนั้น

เพราะยิ่งรู้มาก ก็ยิ่งเอาความรู้เป็นเครื่องมือ ในการไปเอาของคนอื่น มาให้แก่ตน เป็นการเห็นแก่ตัว ให้ได้เปรียบ ให้ได้มากๆ เพื่อสะสม กอบโกย จนมีระบบวิธี แสวงหากำไรสูงสุด (Maximize profit) คือวิธีการของทุนนิยม ทั่วโลกต่างแข่งขันอันนี้ จะต้อง ให้ได้เปรียบ ให้ได้กำไร นึกว่าเป็นประโยชน์ตน แต่แท้จริงเป็นโทษใส่ตน เป็นทั้งโทษให้เกิดกับตน และเป็นโทษกับผู้อื่น เพราะต้องไปทำร้ายผู้อื่น"

ดังนั้น ส่งท้ายปีเก่าของชาวบุญนิยม จึงน่าจะเป็นการมาทำ ความตั้งใจ ที่จะทำสิ่งที่ดีๆ ให้รางวัลกับชีวิตของตัวเราเอง แต่ก็ไม่น่า จะมีรางวัลอะไร ดีไปกว่าการได้ล้างกิเลสของเรา เพื่อการได้ชีวิตใหม่ ชาวบุญนิยม จึงอาจไม่เหมือนกับคนทั่วไป ของเขาอาจจะมีแค่ สวดมนต์ข้ามปี แต่ชีวิตของชาวบุญนิยม ซึ่งทวนกระแส ก็ต้องถือว่าพวกเราได้มา ปฏิบัติธรรมข้ามปี เป็นการตั้งใจดี ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ในท่ามกลาง ความหนาวเหน็บ อุณหภูมิ แม้จะเพียงแค่สิบองศา พวกเรา ก็ลุกขึ้นมา บำเพ็ญธรรมกันทุกๆ เช้า ได้อย่างน่าอัศจรรย์

หลักสูตร ว.บบบ. พ่อครูเคยอธิบายว่า เป็นหลักสูตร "ลัด-คัด-สั้น" เพื่อจะเช็คผล การปฏิบัติธรรมของเรา ว่าเรามีสัมมาทิฏฐิเพียงใด มีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติ ถูกต้องหรือไม่ และมีการปฏิบัติ ได้ผลอย่างไร ในปีนี้การสอบของเรา ก็ถือว่ามีการผสมผสาน คละเคล้ากัน ได้อย่างลงตัว มีทั้งเด็กตัวน้อย ป. ๑ ป. ๒ มีทั้งผู้ใหญ่ ระดับดอกเตอร์ มีทั้งผู้อายุยาว ระดับแปดสิบเก้าสิบ มีทั้งสายวิชย์ มีทั้งสายชาญ มีทั้งคนที่ยัง ไม่ได้เข็มสักเข็ม มีทั้งคนกำลัง จะเตรียมสอบเข็มที่สอง และเข็มที่สาม คลุกเคล้ารวมกัน ก็ดูเหมือนว่า ทำให้เกิดบรรยากาศ ของความอบอุ่น ของความช่วยเหลือกัน

จากปีก่อนๆ ที่ทุกคน จะเคร่งเครียดกับการสอบ กับการกลัว จะสอบไม่ได้ แต่ปีนี้ต้องถือว่า เป็นบรรยากาศ ที่ทุกคน พยายาม ที่จะช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ในช่วงบำเพ็ญคุณ วัยรุ่นคนหนุ่มคนสาว ก็จะเป็นเรี่ยวเป็นแรง ให้กับผู้ใหญ่ ผู้อายุยาว ผู้อายุยาว ผู้ใหญ่ ก็จะเป็นสมอง เป็นประสบการณ์ ให้การทำงาน สามารถเป็นไปได้ด้วยดี จึงเป็นบรรยากาศที่อบอุ่น และไม่เครียด เหมือนกับ ปีที่ผ่านมา เพราะเกิดการร่วมไม้ร่วมมือ กันอย่างสามัคคี ทำให้เกิดความสมบูรณ์ ทั้งการทำงาน และพัฒนาการ ทางจิตวิญญาณ

ในงานนี้ได้เกิดติวเตอร์ เหมือนกับเป็นครูพิเศษ ที่ช่วยย่อยคำสอน ของพ่อครู ทำให้มันง่ายขึ้น ให้จำได้ชัดเจนขึ้น แต่ก็เป็นห่วงว่า จะไม่ตรงเป้าหมาย ในการที่มาสอบ  เพราะว่าจะกลายเป็นว่า ต่างคนต่างก็เก็ง ที่จะสอบข้อสอบ จนรู้สึกว่า วันท้ายๆ ใกล้สอบ หลายคน อยากให้พ่อครู เทศน์จบเร็วๆ จะได้ไปติว ไปเก็งข้อสอบกัน ทั้งๆ ที่เป้าหมาย ของการสอบ หลักสูตรลัด คัด สั้น คือเราจะเพิ่ม สัมมาทิฏฐิ ของเราอย่างไร เพิ่มความเข้าใจ ในการปฏิบัติธรรม ของเราอย่างไร จะได้อ่านจิตใจของเรา โดยไม่ยึดมั่นถือมั่น ได้อย่างไร อันนี้น่าจะเป็นทิศทาง ของการพัฒนา ไปอย่างนี้มากกว่า

ดังนั้น ปีนี้จึงจะเห็นว่า คนที่สอบได้ท้อป เขาอาจจะไม่ได้ ตั้งหน้าตั้งตา ติวอะไรมาก เป็นแต่เพียง พยายามที่จะทำความเข้าใจ กับเนื้อหา มากกว่า ที่จะไปซีเรียส หรือเอาจริงเอาจัง กับการเก็ง ข้อสอบ ก็ได้คะแนนมากกว่าสายวิชย์ ได้อย่างอัศจรรย์ เพราะเขาเน้นที่ ความเข้าใจ ได้มากกว่า ดังนั้น การสอบผ่าน หรือสอบไม่ผ่าน อยากจะให้เน้นที่จิตใจ ของเรามากกว่า ถ้าจิตใจของเรา ไม่ได้ไปยึดมั่น ถือมั่นอะไรไปมาก ถือว่าเรา ได้มาเสียสละ  ได้มาร่วมประกอบพิธีกรรม เหมือนบางคน เราก็ไปร่วมอนุโมทนา ในการบวชสมณะ ไม่รู้กี่รูป ต่อกี่รูปแล้ว มีความยินดี อยู่ตลอดเวลา อนุโมทนาร่วมด้วย แม้เราจะไม่ได้ เข้าไปบวชกับท่าน แต่เราก็ร่วมอนุโมทนา คนนี้เขาก็ถือว่า สอบผ่านแล้ว มีความยินดี โดยที่ไม่ได้คิด หวังผลตอบแทน

เหมือนกับที่ลูกของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งไปฟังธรรม ในสมัยแรกๆ พ่อต้องจ้างเขาไปฟังธรรม แต่ตอนหลัง เมื่อเขาเริ่มเข้าใจแล้ว เขาก็ไม่ต้องเอาค่าจ้าง ตอบแทนอีก งั้นในการพัฒนา ของติวเตอร์ก็ดี ของผู้เข้าสอบก็ดี ก็ควรจะเน้นที่ว่า เราจะเข้ามาศึกษา เพื่อที่จะเพิ่ม สัมมาทิฏฐิ เข้ามาสามารถ อ่านจิตใจของเรา ให้ได้มากขึ้น ถ้ามีทิศทางอย่างนี้ ก็น่าที่จะตรง เป้าหมาย ของหลักสูตร ลัด คัด สั้น ที่พ่อครูทุ่มเท ให้อย่างมาก ทีเดียว

อย่างไรก็ดี ก็เห็นได้ว่า หลายคนเกิดความรู้สึกว่า การสอบ ว.บบบ. ในครั้งนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในชีวิตของตน มีการสนใจ ธรรมะมากขึ้น แต่ก่อน ฟังธรรมหรืออ่านหนังสือ ของพ่อครู เหมือนไม่ได้รู้เรื่อง ไม่ค่อยเข้าใจแต่พอมีความตั้งใจ ที่จะศึกษา ที่จะเอาจริง เอาจังขึ้นมา เขาบอกว่า เหมือนกับมีอะไรมาสิง ให้เจริญขึ้นมาเลย อันนี้ก็จะเห็นได้ว่า พอเริ่มมีฉันทะ เริ่มมีอิทธิบาทขึ้นมา ก็ทำให้มีชีวิต ที่เหมือนกับรำๆ เรืองๆ ในธรรมะ ก็เข้าใจได้ชัดเจนขึ้น หลายๆคน บางคน เขามีความตั้งใจว่า เขาไม่ได้คิด แค่จะอ่าน หนังสือธรรมะ ตอนก่อนสอบน ี้เท่านั้น แต่หลังจากสอบนี้ กลับไปที่พุทธสถาน ก็จะรวมตัวกัน ทบทวน ย่อยธรรมะ ที่ได้ฟังจากพ่อครู ในแต่ละวัน กันอีกด้วย

บางคนที่มาร่วมสอบ ก็ได้เปลี่ยนภพ จากงานที่ตัวเองเคยติดยึด ทำอยู่แบบเดิมๆ กับคนเดิมๆ แต่ว่าเมื่อเขาออกจากภพ มาเจอกัน ทั้งคนหลากหลายวัย คนหลากหลายจริต หลายสายงาน ก็ทำให้เขามี ปรโตโฆษะเพิ่มขึ้น มีการหลอมรวมตัวกัน ได้มากขึ้น งานนี้จึงเป็นงานที่เป็นตัวเชื่อม ให้คนภายนอก หรือญาติธรรม ที่ห่างวัด หรืออยู่ข้างวัด เข้ามาร่วมศึกษา วิถีชีวิตของชาวอโศก ได้มากขึ้น ทำให้โครงการ บ้านราชพันคน (หนึ่งในพัน) ใกล้ความจริงมากขึ้น แล้วก็ดูเหมือนว่า เมื่อเสร็จจากงาน ก็มีคนสนใจ ที่จะเข้ามาจับจอง ผืนแผ่นดินพุทธ ที่อยู่ติดกับ แม่น้ำมูลกา หรือ แม่น้ำฉันทะ นี้มากขึ้น

ธรรมทั้งหลาย มีฉันทะเป็นมูล ใครได้อยู่ใกล้แม่น้ำมูล ก็น่าที่จะเป็น เหตุปัจจัย ที่ทำให้ศีลธรรม คุณธรรม วัฒนธรรม ต่างๆ นานา ได้เกิดเจริญงอกงามขึ้นด้วย เพราะว่า ในอารยะธรรม โบราณมา ก็จะอาศัยอยู่ตามลุ่มแม่น้ำคงคา แม่น้ำเมโสโปเตเมีย แม่น้ำแยงซีเกียง วัฒนธรรมหลากหลาย ของมนุษยชาติ ก็ล้วนแต่ อยู่ตามลุ่มแม่น้ำทั้งนั้น ใครได้มาอยู่กับ ลุ่มแม่น้ำมูลกา ก็น่าจะทำให้เกิด ความเจริญ รุ่งเรือง ทั้งตัวเอง และศาสนา ไปด้วยพร้อมๆกัน

พ่อครูได้ให้โอวาท ปิดการเรียนการสอบ ว.บบบ. ครั้งที่ ๓ นี้ไว้ว่า

อาตมาสบายใจพวกเรา คนอย่างน้อย ห้าร้อยคน มารวมกัน ตั้งใจเอาประโยชน์อันนี้ ซึ่งไม่ใช่ประโยชน์ทาง โลกีย์ หรือ โลกธรรม แต่เป็นสิ่งวิเศษ ของแต่ละคนเลย  เมื่อเข้าใจแล้ว ให้เวลาเลย กับประโยชน์อันนี้ คนอื่นๆเขาไปเที่ยวปีใหม่ ได้บำเรอตน บางคน ติดงานไปหาเงิน ไปสำเริงสำราญ ตามที่โลกเขา จะเอามามอมเมา แต่พวกคุณ เห็นเป็นเรื่องไร้สาระ พากันมาสอบมาเรียน บำเพ็ญคุณ บำเพ็ญธรรม ๗ วันนี้ดีกว่า แล้วก็พากันมา

อาตมาว่านี่เป็นค่าสูงมากเลย ขอขอบคุณทุกคน ที่เห็นค่าอันยิ่งใหญ่ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ เป็นคุณค่าที่เกิด ปัญญาญาณ มันเป็น ความจริงของคุณ แต่ละคน จึงเห็นอันนี้ มีคุณค่ากว่าที่โลกเขา ประโคมกันทั้งโลกว่า จะต้องเอาเวลา ไปหาความสุขสำราญ

พวกเราจะเห็นสัจจะสาระความจริง คนที่เห็นสาระเป็นสาระ เห็นความสำคัญ ในความสำคัญ ผู้นั้นแหละ เป็นผู้ที่มีความสำคัญ หรือ เป็นคนที่มีสาระ ที่แท้จริง สาระที่ว่านี้ ต่างจาก คนที่ไปเห็น เงินทอง ลาภยศสรรเสริญ เป็นสาระ แต่เราเห็นว่า การศึกษา ที่จะทำตน ให้หลุดพ้นเช่นนี้ มันเป็นสาระกว่า เป็นความประเสริฐกว่า อันอื่นค่าน้อยกว่า ค่านี้สูงกว่าก็มาเอา ก็เริ่มต้นดีแล้ว ก็พยายาม พากเพียรไป อาตมาก็ยังจะดำเนินต่อ ว.บบบ.นี่เป็นการเช็คผล ทั้งจิตและกาย

เราอบรมศึกษากันอยู่นี่ เป็นการศึกษาทั้งปริยัติ ปฏิบัติ แล้วหมายใจให้เกิดปฏิเวธ ให้เกิดการบรรลุธรรม อย่างที่ คุณใบฟ้าว่า เป็นหลักสูตร ที่ยิ่งใหญ่ ไม่เคยมีในโลก เป็นหลักสูตร ประหลาด คุณใบฟ้า นี่เป็นอดีต รองคณบดี จบ ป.โท เป็นอาจารย์ มาก่อน จะมาอยู่ที่นี่ ที่จริงเรามีป.โท มาสอบกับเรา หลายคนนะ สอบข้อสอบเดียวกัน ทุกคนเลย ไม่ว่านายกระบวย (เพชรเมืองพุทธ) เกาลัด ก็ดี ด.ญ.แลเลื่อนฟ้า ก็ดี ป.๑ ป.๒ ก็มี  มีดร.อภิสิน ดังคนเดียว ที่จริงมีดร.หลายคน มาเรียนกับเรา ดร.ธำรงค์ ดร.มิ่งหมาย ดร.หนึ่งฟ้า ดร.ร้อยขวัญพุทธ มีผู้สังเกตการณ์ เป็นดร. มหาวิทยาลัยข้างนอก ดร.วิชัย ครองยุทธ์ ก็มาสังเกตการณ์ มีดร.หมอเขียว ดร.กิติมศักดิ์ ตอนนี้ก็ทำดร.อยู่จริง

พวกเราไม่ได้ไปเห่อ ความเป็นดร.อะไร พระพุทธเจ้า ไม่ได้สอนให้เราหลงบัญญัติ แต่เราเอาจิตวิญญาณ เป็นหลัก เป็นจิตที่เกิดผล เป็น สาราณียธรรม ๖ พุทธพจน์ ๗ เป็นคุณสมบัติ ที่จิตเกิดผลแล้ว ในผู้มีจริงเป็นจริง มีคุณธรรมแท้ๆในตน 

อาตมาว่า ที่เราผ่านไปนี่ ยังไม่ได้ประกาศผล ส่วนใหญ่เกือบทุกคน สอบได้แล้วนะ หรือบางคนมีจิตเบื่อ ก็น่าจะน้อยมาก หรือเข็ด ไม่เอาอีกแล้ว  ส่วนใคร ที่มีความยินดีชื่นใจ ปีหน้าต้องมาอีก อาตมาว่านะ นี่เป็นการสอบได้แล้ว! ส่วนจะประกาศผลอย่างไร นั้น อ. ออกข้อสอบ ไม่ตรงกับความเห็นของคุณ เท่านั้นเอง แต่เกิดผลจริง ทางจิตใจจริงเลย อาตมาถือว่า เป็นผลสำเร็จ ที่งาน ว.บบบ.ครั้งที่ ๓ นี้ผ่านไป ส่วนองค์ประกอบอื่น ก็รอฟังผล ในงานพุทธาฯ และมารับปัญญาบัตร กันที่งานปลุกเสกฯ ที่ราชธานีอโศก เดือนเมษายน ก็ขอบคุณทุกคน

 ใช้พลัง "จน" สร้างสิ่งมหัศจรรย์ !
   
พ่อครูว่า...อาตมาก็สัญจรมาถึงสีมาอโศก  เริ่มต้น สัญจรมาที่ วัดป่าติ้ว แล้วไปหินผาฯ แล้วไปวังน้ำเขียว แล้วค่อยมา สีมาอโศก แข่งกับหญิงลี เขายังสาวสด แต่อาตมาก็สดนะ อย่านึกว่าแห้ง อาตมาก็สดๆ ไม่ยอมแก่ วันนี้อายุ ๘๐ ปี ๗ เดือนกับ ๑ วัน ถ้านับวันที่ ๕ ก็ ๔ วัน ไปดูที่บ่อหิน เขาบอกว่ามีหินแกรนิตที่เขา น่าจะเอาไปทำพระพุทธรูป เราก็มีแบบพระพุทธรูป ปางวิชิตอวิชชา เป็นปางใหม่

อาตมาก็คิดเองว่า ยุคนี้ต้องใช้ปางนี้ ใครมองมาจากข้างล่าง จะเห็นหินแกรนิตดำ มีแสงแวววาม ตอนแรก เราบอกว่า จะสร้างหินทราย เราเคยสร้าง พระพุทธาภิธรรมนิมิตมาแล้ว เป็นหินทราย ทำมือเป็นรูป ที่ทางโลกเขาหมายถึง I love you.ภาษาจีนว่า  "หว่ออ้ายหนี่" หรือ ภาษาไทยว่า "ฉันรักเธอ" ยกมือมี ๓ นิ้ว เรียกว่า ตรีลักษณ์ ลักษณะ ๓ คือโลกุตระ (เหนือโลก) โลกวิทู (รู้ทันโลก) โลกานุกัมปายะ (เกื้อกูล อนุเคราะห์โลก)

พระพุทธรูป สมเด็จปู่วิชิตอวิชชา เป็นแบบจำลอง เคยเอาไป ออกงาน ในการชุมนุมมาแล้ว  แล้วเราจะสร้างองค์จริง ที่บ้านราชฯ แล้วคนเขาก็บอกว่า มีบ่อหินแกรนิตดำ ที่จะใช้สร้างได้ สมเด็จปู่ วิชิตอวิชชา นี่จะสร้างโดยชาวอโศก ที่เป็นคนจน แล้วจะสร้าง วัตถุที่ใหญ่ แต่ทำโดยคนจน ชาวอโศกเป็นคนจน ใช้เลือดปู ในการสร้าง แล้วเลือดปูนี่มีน้อย เป็นเลือดพิเศษนะ แต่การสร้างสมเด็จปู่นี่ ราคาหลายพันล้าน แค่เงินก้อน ขนาดร้อยล้าน อาตมาก็ไม่เคยจับ อย่างเก่งก็สิบล้าน แตะปั๊บหายปุ๊บ ไม่เคยอยู่กับอาตมา  นานหรอก หมุนเวียน ออกไปเลย ไม่เคยกัก สะพัดเร็ว เป็นนักเศรษฐศาสตร์ มือหนึ่ง แต่เราจะสร้างด้วยพลัง "”จน”"

แล้วเรามีหลักปรัชญาชีวิตที่ชัดเจนว่า ๑. ไม่เป็นหนี้ ๒. พึ่งตนรอด ๓. ทำเหลือกินเหลือใช้ ๔. มีมากเผื่อแผ่ แจกจ่าย เราทำโดย เอาเลือดเนื้อตน ทำจนอุดมสมบูรณ์ เจริญงอกงาม มีมากก็แจกจ่าย จำหน่าย การจำหน่ายจ่ายแจก เราก็ไม่เอาของเรา ไปเอาเปรียบ เอากำไร ไม่ขูดรีดทุจริต อย่างที่เรารังเกียจ ขายให้ถูก เพื่อช่วยสังคม ขายอย่างขาดทุนด้วย แต่อยู่ได้ แม้จะขายต่ำกว่าทุน

ถ้าเรายังไม่สามารถขายขาดทุนได้ ก็จำเป็นขายต่ำกว่า ราคาตลาดให้ได้ ต่ำกว่าได้เท่าไหร่ ยิ่งเป็นบุญนิยม จนที่สุด ก็ขายเท่าทุน หรือขาดทุนได้เลย ถ้าขายสูงกว่า ราคาตลาด หรือแม้เกินทุน ก็ยังบาปอยู่นั่นแหละ พวกทุนนิยมที่ว่า ให้ทำแบบ เอากำไรสูงสุด (maximize profit) นั่น มะเร็งบวกเอดส์ กินหัวเลย

เราสร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงของเรา ไม่เบียดเบียนใคร แล้วทำให้มาก เมื่อเราเหลือแล้ว จึงแจกจ่าย หรือขายราคา ต่ำกว่าทุน หรืออย่างน้อย ต่ำกว่าราคาตลาด ที่ถือว่ายังบาป! จนที่สุด ขายเท่าทุน ก็คือเจ๊ากัน ไม่บาปไม่บุญ แต่ว่า ถ้าขายต่ำกว่า ราคาตลาดได้ ก็คือ เป็นบุญแล้ว ในหลวงว่า ให้ทำอย่าง ขาดทุนของเรา คือกำไรของเรา จนที่สุดแจกฟรีได้ จึงเป็นที่สุด ทำด้วยเมตตาเกื้อกูล ไร้เล่ห์เหลี่ยม ทำด้วยใจเป็นสุข อย่างมีปัญญา นี่คือ ความเจริญประเสริฐ ของมนุษย์อย่างแท้จริง

เราก็ทำสำเร็จด้วยสูตรทฤษฎีนี้ จึงเกิดมนุษย์แบบนี้ เป็นหมู่กลุ่ม ผู้ทำได้ก็มั่นคง ถาวรยั่งยืน เพราะว่า ลดกิเลส ความเห็นแก่ตัว จนหมดตัว หมดตนได้ เราก็เห็นแก่ผู้อื่นได้จริง ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเป็นได้แล้ว มีปัญญารู้ซ้อน เห็นจริงเลยว่าดีจริง ทั้งปัญญา และเจโต เป็นอย่างนี้ได้จริงว่า ประเสริฐดี  สุขสงบ ไม่ก่อโทษภัย เป็นคุณถ่ายเดียว จึงแน่วแน่มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง ทำได้แล้ว เป็นสุขด้วย มีประโยชน์คุณค่า

เรามีหมู่กลุ่มด้วย แม้ใครจะแก่จะตาย ก็พึ่งพากันได้ คนก็มั่นใจว่า ขนาดคนสายเลือดเดียวกัน ก็ยังไม่ได้ขนาดนี้เลย แต่นี่มาจาก คนละเผ่าพันธุ์เลย ก็พึ่งพากันได้ ขอให้มีจิตใจ อันเดียวกัน ก็ช่วยกันได้ นี่คือหลักใหญ่ ของสังคม แล้วมีทฤษฎี วัฒนธรรม แบบนี้ มีระบบแบบแผน มีคนมีปัญญาทั้งรู้จัก-รู้แจ้ง-รู้จริง ยืนยันว่าทำได้ แม้โลกมีกิเลสหนา ไม่โกรธพวกกิเลส 

แม้เขาจะคิดร้ายเรา เราก็ไม่ทำร้ายตอบ เราสู้ด้วยสัจธรรมความดี ไม่เอาความร้ายไปสู้ ไม่เอาความคดโกงไปสู้ สู้ไม่ได้ ก็ยอมแพ้ ทำดีที่สุด ถูกที่สุดแล้ว อาตมาเจอมาแล้ว อาตมาทำถูกต้อง ก็ยังถูกหาว่าผิด เราก็แพ้ ไม่เป็นไร แพ้ก็แพ้ชะตาทราม ดวงใจทรงความมั่นคง

เราก็ทำมา อย่างมีอัตราก้าวหน้าได้ คนมีปัญญาเข้าใจได้ ก็มาเอา จนกระทั่ง มายืนอยู่วินาทีนี้ อาตมาก็ทำต่อ ตั้งปณิธานว่า ยังไม่ยอมตาย

(ก่อนฉันฯ ที่สีมาอโศก ๘ ม.ค. ๒๕๕๘)
ปล. โครงการพันล้านด้วยพลัง "”จน”" ของชาวบุญนิยม นับว่า เป็นสิ่งท้าทาย บุญบารมีของ ชาวบุญนิยม อย่างยิ่ง และพวกเรา คงไม่ยกให้เป็นบุญบารมี ของพ่อท่าน แต่เพียงอย่างเดียว พวกเราก็น่าจะร่วมกันสร้าง บุญบารมีของเรา ขยายรวมกันไป ร่วมด้วย ช่วยกัน กับพระโพธิสัตว์ ด้วยการทำตาม โศลกธรรมที่ว่า "ะสร้างบุญต้องประณีต - จะสร้างจารีตต้องประหยัด" ซึ่งดูอาจจะ ย้อนแย้งกับ โครงการใหญ่ น่าจะใช้จ่ายอะไรๆ ก็ใหญ่ๆ ตามไปด้วย แต่ถ้าเข้าใจเรื่อง "ส้วมทำเป็นตึกอาคาร แต่บ้านพัก ทำเป็นกุฏิ หลังเล็กๆ" ก็จะเข้าใจวัฒนธรรม ของชาวบุญนิยม ได้เป็นอย่างดี พวกเราได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมจากสังคม ในทุกวันนี้ ก็เพราะ การประณีต ประหยัด และมักน้อย สันโดษ จากชีวิตของแต่ละท่าน แต่ละคนนั่นเอง

พ่อครูให้พรกับเด็กเนื่องในวันเด็ก
(สิ่งที่หล่อหลอมให้พ่อครูเข้มแข็งและอดทนมาจนถึงทุกวันนี้)

ปีนี้วันเด็กของไทย ดูครึกครื้นมาก เพราะนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ ลงมาเล่นกับเด็กนักเรียน ได้น้ำใจจากเด็กๆ เป็นกระบุง เป็นนิมิต ที่ดีมาก ที่ผู้ใหญ่ลงมา ให้ความสำคัญ เพราะหลายอย่า งเขาทำกัน อย่างเสียไม่ได้ กับการทำอย่างมีน้ำใจ ก็ดูดีกว่ากัน อาตมาก็ดู ตามภูมิอาตมา ก็ดูเข้าทีอยู่

สรุปคือสังคมไทย อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ได้เปลี่ยนผ่าน ความเลวร้ายไปบ้าง ก็หวังว่า จะดีขึ้นๆ แม้เด็กๆเราจะไม่ได้พบลุงตู่ ก็มาพบ หลวงปู่โพธิรักษ์ ก็พอได้นะ แม้จะน้อยกว่ากันนิดนึง ก็พอได้

ขอย้ำ สำหรับเด็กๆ ทุกคนว่า ผู้ที่ได้มาอยู่ในที่นี้ ที่พูดนี้ ไม่ได้พูดเอาดี หรือหลงตนว่า ของเราดีหมู่นี้ดี ยกแต่ตน ก็ไม่ใช่นะ หลวงปู่นี่ มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องมนุษยชาติและสังคม ในสังคมใด ที่ใครอยู่ร่วม หากเป็นสังคมไม่ดี ก็นำพาไปไม่ดี หลวงปู่ย้ำว่า พวกเรา ได้มาอยู่ในที่นี้ เป็นสังคมดี ปลอดภัย พวกเราคงรู้ว่า ข้างนอกไม่ปลอดภัย เลวร้ายเละเทะ  สังคมภายนอกนั้น แม้ในโรงเรียนต่างๆ ทั่วไป มันเละเทะ จัดจ้าน ด้วยกิเลสของคน ที่มากขึ้นๆ

จนเด็กๆถูกครอบงำ ด้วยกระแสโลกจัดจ้าน เขาทนกระแสโลก ไม่ได้ เป็นกระแสแรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็ก ไม่ว่าเหล็กแท่งไหน ตกลงไป แม่เหล็กก็จัดการ จับให้อยู่ในทิศทาง ที่แม่เหล็กต้องการ เสร็จสนามแม่เหล็กเลย มันแรงมาก พวกเราได้มาอยู่ ในสนามแม่เหล็ก ชาวอโศก ไม่ใช่สนามแม่เหล็กโลกีย์ แต่เป็น สนามแม่เหล็ก โลกุตระ ก็รู้อยู่นะ ให้พากเพียร แต่เช้าตื่นตีสี่ ตีห้า มาฟังธรรม เอาใจใส่ในสิ่งดี ไม่น้อยเลย พวกเราอย่าเบื่อหน่าย ในสิ่งที่ดี ให้พวกเราฝึกฝน ตั้งใจพากเพียร ฟังหลวงปู่ดีๆ หลวงปู่ เคยผ่านวัยเด็ก เหมือนพวกเรา

แต่หลวงปู่ตอนเด็กๆ ไม่ขี้เกียจ เป็นคนเอาถ่าน แม้อายุแปด หรือ เก้าขวบ ก็ทำงานเหมือนกับผู้ใหญ่ แม่ส่งไปอยู่กับ ครอบครัว ที่แม่เลือกแล้ว อาตมาเรียกว่า พ่อใหญ่ (ตาหรือปู่) เขาเอาจริงเอาจัง ขยันเอาการเอางาน แล้วแถม แกเป็นคนเข้ม ขยัน ไม่ขี้เกียจ ละเอียดยิบ หลวงปู่ไปอยู่กับแก ตอนเก้าขวบ เท่ากับอยู่ป.๕ ในสมัยนี้ หลวงปู่ถูกใช้งาน ขนาดหนักเลย เหมือนคนโต ต้องทำงานบ้าน นึ่งข้าวแต่เช้า ที่นั่นเขาทำอาหารขาย ที่โรงเรียน ถูกใช้งาน ทุกอย่าง เป็นลูกมือแม่ครัว ตำน้ำพริก ขูดมะพร้าว แล้วไม่ได้ทำแต่ครัว สวนครัวก็ต้องทำ  ตักน้ำรดต้นไม้ แล้วไม่ได้มี สปริงเกอร์ด้วย แต่ตักน้ำจากบ่อ ใช้ไม้ส้าวตักน้ำ 

มะพร้าว ๑ ลูก ไม่ได้ทุบให้เสียนะ แต่ว่าใช้เลื่อยให้โค้งงอ ไม่ให้เสียหาย เอากะลามาใช้งานได้อีก ประหยัดขยัน แต่ตอนนั้น ไม่ชอบใจ ไม่สบายใจ ตามประสาเด็ก ร้องไห้หนีกลับบ้าน แต่แม่ก็เอามาส่งคืน ให้อยู่ต่ออีก อาบน้ำนี่เวลาถูสบู่ ไม่ให้ถู ทั้งก้อนนะ เห็นว่า เปลืองมาก ต้องเอาน้ำใส่มือ แล้วเอาสบู่ ไปถูที่มือ แล้วเอามือที่ติดสบู่ ถูตัวอีกที วันๆทำงานทั้งวัน เหนื่อย เสร็จแล้ว จับให้มาอ่าน หนังสือ ต่อหน้าด้วย เราก็ง่วงสิ ทุกวันนี้ นึกถึงบุญคุณพ่อใหญ่ ฝึกเราได้ดีมาก แล้วจากนั้น ไม่เคยกลัวเลย งานอื่นๆ จิ๊บจ้อยไปหมดเลย

วันหยุดไม่มีพัก เข้าป่าตัดฟืน ตัดไม้ไว้ทำ คันกระบวย มัดไว้เป็นฟืน ไม้สดนะ แล้วเอาลงเรือ ไหลมอง เพื่อดักปลา กว่าจะเสร็จ ก็สามหรือสี่ทุ่ม แล้วก็ค่อยมานอน ตอนนอนนั้น ก็กลัวเสือ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ต้องนอน วันอาทิตย์ ก็กลับเข้าบ้าน ปลาที่หาได้ ก็เอาเครือย่านาง ร้อยปลาที่ได้ มัดฟืน หาบมา เอาไม้มาทำ คันกระบวย เลือกไม้ที่เนื้อเหนียว แบกหามมา พักกลางทางไม่รู้กี่ครั้ง ถูกฝึกหนัก เหมือนทหาร แต่เป็นสาระ ของชีวิต ซึ่งขยันแล้วทุกอย่าง เป็นประโยชน์ประหยัด

ตอนเด็กไม่รู้หรอก คิดแต่ว่า แม่ทำไมส่งเรามาอยู่ ทรมานอย่างนี้ แต่ก็สู้ จนอยู่สิ้นปี ก็บอกแม่ว่า ไม่ไหวแล้ว ถึงขนาดนั้น เพียงปีเดียว ก็ได้อะไรติดตัวมาเยอะ ทุกวันนี้ก็นึกถึง บุญคุณพ่อใหญ่ สร้างระบบระเบียบ สร้างประโยชน์ให้มาก ที่พวกเราอยู่ที่นี่ เจอไม่ถึงครึ่ง ของที่หลวงปู่เจอมา ให้ตั้งใจ ทำไปเถอะ อย่าท้อ หนักเหนื่อยก็นอนพัก ตื่นมา ก็ค่อยว่ากันใหม่ เดี๋ยวก็มีกำลังวังชา แต่ต้องมีใจ ที่เป็นนักสู้!

ที่นี่ไม่ได้พาไปทำอะไรเสื่อมเสีย ไร้สาระหรอก ไม่มีแน่นอน พาเราทำสิ่งดีแน่ แม้ธรรมะก็ต้องฝึกฝน ฟังธรรม พวกเราอยู่ ตั้งแต่ประถมก็ดี หรือคนมาอยู่แต่มัธยมก็ดี ใครสู้ไหวก็ไม่ได้ทน แต่พวกเราที่อยู่กันนี่ หลวงปู่ว่าไม่หนักหนาหรอก หลวงปู่เจอมา หนักกว่าเยอะ แล้วเราจะเป็นเด็ก ที่ไม่เหมือนกับเด็กทั่วไป

ตอนหลวงปู่เป็นเด็ก ทำการทำงานเอง ทำได้หมด งานกุลี ที่เขาบอกให้ทำ ก็ทำหมดไม่กลัว ไม่อาย (ทั้งๆที่ในขณะนั้น โยมแม่มีฐานะดี เป็นเจ้าของธุรกิจ ตัดเย็บเสื้อผ้า) อะไรเป็นประโยชน์ คุณค่าก็ทำ ไม่ต้องขอตังค์แม่ใช้ หาเอง ตั้งแต่อายุเก้า หรือสิบขวบ เงินแม่ก็ใช้บ้าง แต่เป็นเรื่องค่าเทอม ค่าหนังสือ เป็นหลักๆ แต่เรื่องที่ใช้ส่วนตัว ก็ไม่รบกวนแม่ หลวงปู่ไม่เคยซื้อของเล่น แม้ชิ้นเดียวในชีวิต เคยเล่นแต่ของเล่น ตามธรรมชาติ หลังบ้านมีคนเขาทำ กาบมะพร้าว เราก็หามาเล่น ไปหากาบมะพร้าว ที่หงิกงอ ทำเป็นปืนยิงกัน ซ่อนหากัน เจอใครก็โป้งก่อน คนนั้นแพ้ตาย ต้องเสียปืนให้ เขาก็ต้องมีปืน อีกหลายอัน ใครช้าคนนั้นแพ้เสีย ถ้าใครเร็ว จะได้ปืน กาบมะพร้าว มามาก ก็เล่นแค่นั้น นอกนั้นก็เล่นเม็ดมะขาม เม็ดมะค่าแต้ แล้วก็มีซองยา เป็นปึกเลย เอาไว้เล่นตีหรือร่อน หรือทอด แต่ของเล่น ที่ต้องไปซื้อจากร้าน ไม่เคยเลย

ชีวิตเด็กทุกวันนี้ ขออภัย คือ ชีวิตฉิบหาย สมัยโบราณไม่เสียหาย เล่นแต่ของธรรมชาติ เล่นเม็ดน้อยหน่า เม็ดมะขาม เมื่อเล่น ได้เม็ดมะขาม มามากๆ หลวงปู่คิดเอง เอามาแช่น้ำ แล้วเอาไปขาย ที่ตลาดวาริน แม้เม็ดมะค่าแต้ ก็กินกรุบๆ ขายได้เหมือนกัน ต่อมามีคนเอาอย่างด้วย หลวงปู่คิดขาย เป็นคนแรกๆเลย ของพวกนี้ เล่าอะไรสู่ฟัง พวกเราจะได้รู้ว่า ชีวิตเรามีคุณค่าไหม หากเรา เอาแต่ไปเล่น ก็ไร้สาระ การได้ฝึกฝนศึกษาก็น้อย

แต่ถ้าเราได้ทำ ก็จะได้ชีวิตที่มีคุณค่า ไปทำปุ๋ย ทำกสิกรรม ทำงานสาระ ก็จะดี ยิ่งทำได้ความรู้ ถามผู้ใหญ่ หากใครสนใจ ก็จะได้ความรู้ ทำเองเป็น ที่จะได้ใช้อาศัยในชีวิต ไม่ใช่เรื่อง ไร้สาระ อย่างข้างนอก พาเล่นแต่เกมส์ นึกว่า เราจะได้รู้มากๆ แต่ไม่ได้เจริญเลย ทุกวันนี้ ยากจริงๆ ที่จะพาเจริญ เขาหลอกเด็ก ให้เล่น แต่ถ้าจะเล่น ต้องให้ผู้ใหญ่ แนะนำ วันนี้พูดสาระ ให้พรแก่เด็ก ฟังไป ก็เอาไป ทำความเข้าใจ ใครเห็นดีเข้าใจ ก็ไปตั้งใจ ขยันหมั่นเพียร เอาใจใส่

(พ่อครูให้โอวาทประชุมชุมชน ราชธานีอโศก และเนื่องในวันเด็ก ๑๑ ม.ค. ๒๕๕๘)

อย่างไร เข้ากระแส...ออกนอกกระแส?
ระวัง! จะกลายเป็นคนดีที่เสียแล้วหรือเสื่อมแล้ว..

ส.เดินดิน...ธรรมะในวันนี้เหมือนกับพ่อครูย้ำ ให้พวกเรามั่นใจว่า ศาสนาพุทธ จะไปได้อีก สองพันกว่าปี แต่ว่าความมั่นใจนี้ คงขึ้นอยู่กับพวกเราๆ เป็นกลุ่มคน ที่พ่อครูพอมองเห็นนะ แต่ถ้ามองไม่เห็นใครเลย พ่อครูก็คงไม่กล้าประกาศ เหมือนกันว่า จะสองพันปี ในช่วงที่พ่อครูมั่นใจ ที่พวกเราพากันเดินตาม แต่หลายคน อาจจะมั่นใจบ้าง ไม่มั่นใจบ้าง หรือมั่นใจบางอารมณ์ หรือบางอารมณ์ก็ไม่มั่นใจ ก็อาจจะไม่เที่ยง

แต่สิ่งหนึ่ง ที่เป็นทิศทาง ที่พ่อครูบอกพวกเราก็คือ ผู้ที่เข้าสู่กระแสนี่ ก็จะอ่านจิตตัวเองได้ เมื่ออ่านจิตตัวเองได้ ก็จะสามารถ ลดกิเลส ของตัวเองลงได้ ในช่วงระหว่าง ที่พวกเราเดินทางกันไปกับ "หลักสูตร วนบ." จะไม่ได้มีปริยัติ อย่างเดียว มีตัวปฏิบัติด้วย มีผัสสะ จริงด้วย มีเรื่องให้ถูกใจด้วย ไม่ถูกใจด้วย มีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแต่ก่อน เราก็ไม่มีนะ แต่ก่อน เราทำวัตรเช้า ก็ฟังสมณะ สิกขมาตุสรุป แล้วเราก็ไปทำงาน แล้วก็กลับมา ก็ไม่มีอะไรมากวนใจ แต่อยู่ที่นี่ มีสนามรบ รบกันอยู่ตลอดเวลา คราวนี้ก็จะได้รู้ว่า ใครเข้ากระแส หรือ ใครหลุดออกจากกระแส

รบๆๆๆไปแล้ว เอ.....ชักเมาหมัด มันจะเข้ากระแสอยู่ตรงที่ว่า สามารถเห็นกิเลสเรา หรือเห็นกิเลสมรึง อะไรอย่างนี้ คือ ถ้าเห็นกิเลสเรา เราก็หาทาง ลดมันลงไป อันนี้ก็ชี้ชัดว่า เข้าสู่โลกุตระ หรือเข้าสู่กระแส แต่ถ้ารบกันไป แล้วมองเห็นแต่ กิเลสมรึง กิเลสมัน ไม่ใช่กิเลสเรา อันนี้เห็นบ่อยๆ เข้า ก็จะทนไม่ได้ เมื่อทนไม่ได้ ก็ขอออกไปดีกว่า อย่าไปยุ่งกับมันเลย อะไรอย่างนี้

แต่จริงๆแล้ว กิเลสมันตามเราไปตลอด เหมือนเราไม่ยุ่งกับมัน แต่ว่าจริงๆ มันเอาเราหนักขึ้น ถ้าฟังดาวเย็น เขาจะทบทวนว่า เออ สมัยก่อนนี้ มันเป็นกิเลสเก่าของเขานะ เขาไม่ชอบให้ใครมาสั่ง  ตอนนี้กิเลสเก่ามันมา กลับทำงานอีกแล้ว แล้วเขาก็จัดการมันลงได้ อย่างนี้ เขาก็สบายขึ้น แต่ถ้าเราเห็นกิเลส ที่มันขึ้นมาแล้ว แล้วเราไม่จัดการมัน มันก็จะลากตัวเราไป พาให้เราเห็นแต่ กิเลสมรึงๆๆๆๆ อันนี้ก็เรียกว่า เราไม่เข้ากระแสแล้ว เราออกนอก กระแสไปไกล

เพราะผู้ที่เข้าสู่กระแสนี้คือผู้ที่เมื่อมีผัสสะ แล้วก็สามารถเห็นกิเลส ของตัวเอง แล้วหากรรมวิธี ที่พ่อครูบอกว่า หากรรมวิธี ที่ทำให้กิเลสเรา ลดน้อยลงไป ตรงนี้เรามีผัสสะจริง แล้วก็เกิดเรื่องจริง แล้วเราก็จะบอกตัวเองได้ว่า เรากำลัง จะเข้าสู่กระแส หรือว่า เรากำลัง ออกนอกกระแส ซึ่งสนามสอบตรงนี้ มันจะสอบได้ทุกวัน วันนี้แพ้ พรุ่งนี้สอบใหม่ พรุ่งนี้แพ้ มะรืนนี้สอบใหม่ ก็คงจะไม่ใช่ว่า สอบปลายปีอย่างเดียว แต่พวกเรา เราสอบกันทุกวันอยู่

และอีกประเด็นหนึ่งที่คิดว่า เป็นข้อคิด ที่พ่อครูพูดถึง ลุงจำลอง ที่ลุงอาจจะไม่ค่อยได้เน้น เรื่องที่จะมาศึกษา หลักวิชาการอะไร ทั้งๆ ที่ลุงจำลอง ก็อาจจะปฏิบัติได้ โอ้โห พระก็ไม่น่าจะทำได้ อย่างลุง ถือศีล ๘ กินข้าวมื้อเดียว นอนอยู่กับภรรยา อยู่ในมุ้งเดียวกัน มีผัสสะตลอด มีความมั่นคง ในอธิศีล บริสุทธิ์บริบูรณ์ อย่างนี้ ซึ่งก็ถือว่า เป็นคุณวิเศษ หาได้ยากมาก ที่แม้แต่พระ ก็ยังทำไม่ได้

ในเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงพระสูตร ที่พระพุทธเจ้า พูดถึงความเสื่อม ของผู้ที่ไม่ได้เป็น พระอรหันต์  จะมี ๕ ประการด้วยกันคือ

๑. มีกัมมารามตา คือยินดีในการงาน หมกมุ่นจมไปกับงานเลย
๒. มีภัสสารามตา ยินดีในการคุย
๓. มีนิททารามตา ยินดีในการนอน
๔. สังคณิการามตา ยินดีในการคลุกคลีกับกองกิเลส
๕. ไม่พิจารณาตามจิตตนที่หลุดพ้นแล้ว บางทีเราปฏิบัติธรรม แบบมวยวัด ก็ไม่รู้ว่าได้อะไร ไม่รู้ว่าเราได้หรือไม่ได้ เหมือนสายเจโต กับสายปัญญา บำเพ็ญด้วยกัน ตั้งตบะ จะไม่กินขนม สายเจโต อาจจะกินไปสักชิ้นเดียว แต่รู้สึกว่า โอ้โห ตัวเองพ่ายแพ้ หมดรูปไปเลย แต่สายปัญญา กินไปแล้ว ๔ ชิ้น ๕ ชิ้น บอกโอ้โห เรานี่พัฒนาขึ้นเยอะเลย แต่ก่อน กินเป็นกาละมัง ตอนน ี้กินแค่ ๔-๕ ชิ้น คือคนที่มีรายละเอียด ของการปฏิบัติ และเขาก็รู้ว่า แต่ก่อน เขากินเยอะกว่านี้ ตอนนี้เขาลดลงมา อย่างนี้ จิตใจเขาก็สบายขึ้น แต่ว่าเจโต อาจจะยึดแต่รูปแบบ อย่างเดียวว่า กินกับไม่กิน แต่กินเมื่อไหร่ ก็ถือว่าแพ้กิเลส หมดท่าแล้ว แต่ไม่รู้ว่า มันเบาบาง จางคลาย มันลดได้มาก ลดได้น้อย ได้แต่กดข่ม

บางทีถือศีลไปก็ได้แค่รู้ว่าฉัน "ทำได้" แต่ฉัน "ได้ธรรม" ไหม? ก็ไม่รู้ มันสบายหรือไม่สบาย หรือมันจางคลาย หรือมันมากขึ้น หรือมันน้อยลง ไม่สามารถอ่านจิต ของตัวเองได้ หรือ แม้แต่จิตตัวเอง ไม่มีปัญหาแล้ว แต่ตัวเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่า มันได้หรือไม่ได้ อันนี้ก็เป็นความเสื่อม  รู้ก็บอกกับตัวเองไม่ได้ ว่าได้หรือไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า เป็นความเสื่อมของ เสขบุคคล เพราะตัวนี้ จะเป็นคำตอบ ทั้งหมด ที่พ่อครูว่า จะอยู่ได้สองพันปี หรือไม่ได้ จริงๆแล้ว คำตอบ อยู่ที่เราทุกคนว่า ทุกวันนี้ เรามั่นใจ ในตัวเราเอง เราชัดเจน ในตัวเราเอง มากน้อย แค่ไหน ก็จะเป็นคำตอบ ที่พ่อครูก็จะอ่านได้ว่า มันจะไปได้ สองพันปีหรือไม่?

พ่อครู.....แถมให้นิดหนึ่ง มันน่างงนะ ข้อ ๑ กัมมรามตา อารามแปลว่า ความยินดี นี่เขาก็แปลไว้ครบดีนะ ตัวพยัญชนะ = น กัมมารามตา พวิสติ ท่านก็แปลว่า ไม่มัวเพลิน ฟังให้ดีนะ ทีนี้เราไปแปลกันตื้นๆว่า ไม่มัวเพลินยินดี ในการงาน คือไม่หลงเพลิน หมกมุ่นวุ่นอยู่กับการงาน จนเสื่อมเสียอันอื่น เช่น การศึกษาเล่าเรียน การบำเพ็ญโพธิปักขิยธรรม หรืออะไรอื่นๆ

ไปมุ่นอยู่แต่กับการงาน มันมีนัยลึกซึ้งละเอียด พอบอกว่า ผู้ยินดีในการงาน เป็นความเสื่อมของภิกษุหรือว่า เป็นความเสื่อม ของศาสนา มันก็เลยกลายเป็นว่า โอ้โห! ฟังแล้ว ถ้าใครไปยินดี ในการงานนี่นะเสื่อม ตกลงการงาน ก็การงานสิ เราไม่เอา เราไม่ยินดีด้วย ตีกินเลย ก็ไม่ต้องทำการงาน อันนี้มันมีนัย อันละเอียด ลึกซึ้ง ถ้าเราเข้าใจไม่ได้แล้ว

น กัมมารามตา คือไม่ยินดีในการงาน พวิสติ คือเราเอง ไม่ไปติดไปยึด ไม่ไปเพลินมัน จนกระทั่งเสื่อมเสีย จนกระทั่ง หมกหมุ่น อยู่กับการงาน จนกระทั่ง ทำงานแล้วไม่ได้อ่านใจเลย ใจตัวเองอ่านไม่เป็นเลย มุ่งแต่การทำงาน ทำงาน ซึ่งในงานมีผัสสะ มีโน่นมีนี่ กระทบกับ อันนั้นอันนี้ มีเรื่องราวอะไร ต่างๆนานา ไม่ได้รู้เลยว่า ใจเราเกิดกิเลสกี่ตัว จนผ่านไป กิเลสก็เกิดกองๆๆ ด้วยจับตัวเอง ไม่ติดเลย อ้ายอย่างนั้น ก็มุ่นมั่วอยู่กับการงาน ยินดีกับการงาน หลงเมาในการงาน ติดกับการงาน

ถ้าทำการงานอย่างนั้นนี่ เรียกว่า กัมมารามตา เสื่อมแน่ แต่ถ้าเผื่อว่า ไม่ให้หลงในกัมมารามตา  ให้เป็นภัยเป็นโทษถึงเสื่อม ก็ต้องเข้าใจนัย ตามที่อาตมาได้ขยายความ คุณต้องทำงาน คุณจะขยัน ไม่เป็นไรหรอก ทำไปสิการงาน ขยันหมั่นเพียร แต่อย่าให้คุณ หลงติดมุ่น จนกระทั่ง กลายเป็น พาเรา ยิ่งเสริมกิเลสเลย กิเลสก็โตเข้าๆ แทนที่ทำการงาน จะมีการปฏิบัติธรรมเยอะ ด้วยซ้ำไป

ถ้าคุณมีสติสัมปชัญญะ มีโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ชัดเจน พิจารณาอ่านไปพร้อม ขณะทำงาน แล้วก็เห็นกิเลส มันเกิด เมื่อนั่นเมื่อนี่ คนทำการงาน บางทีไม่เกี่ยวข้องกับคน แม่ครัว ยังเกิดกิเลส กับตะหลิว เกิดกิเลส กับกระทะ เกิดกิเลสกับไฟ มันทำไม มันไม่ร้อนสักที ใช่ไหม สารพัด ยิ่งคนมายุ่งด้วย โอ๊ย....! กิเลสมันยิ่ง หลายอย่างเลยทีนี้

คุณมีผัสสะกับอะไร มันก็มีกิเลสทั้งนั้น คุณต้องอ่าน คุณต้องพิจารณา ใช่ไหม? ถ้าไม่เช่นนั้น คุณนี่แหละ กัมมารามตา เข้าใจไหม? ประเดี๋ยวจะพาซื่อ ก็เลยไม่ค่อยอยากจะทำงาน หากทำมาก เดี๋ยวติดยึดการงาน ถ้าทำมากได้ ทำไปเถอะ คุณจะทำมากก็ยิ่งดี ถ้าไม่เมื่อย ถ้าเมื่อย จนสุขภาพเสียแล้ว คุณก็ต้องหยุด ต้องพักบ้าง แต่ถ้ามันมาก สุขภาพยิ่งไม่ได้เสียอะไร ยิ่งแข็งแรง ก็ไม่มีปัญหาอะไร

ทำงานมากๆ แล้วก็ไม่เป็น "กัมมารามตา" หรอก ถ้าคุณปฏิบัติเป็น ไม่พาให้เสื่อม

จะละตัวตนได้อย่างไรในขณะทำงาน ?

ส.ดินไท...... กราบขอโอกาสพ่อครู ช่วงบ่ายวันนี้ หลังฉัน พ่อครู ก็มาดูการตั้งหิน ตอนนี้อาจจะไม่เสร็จ พรุ่งนี้ตอนเช้า ลองมาดู ก็แล้วกัน

พ่อครู.....ยังไม่เสร็จ ยังไม่เสร็จ

ส.ดินไท.....ข้างๆเฮือนหญังกิน มีก้อนหินมาปรากฏ อยู่ประมาณ ๑๑ ก้อน มาเรียงกัน แบบเป็นโต๊ะ สามารถใช้เป็นฉาก เป็นเวที ของรายการ ของบุญนิยมทีวีได้ อาจจะใช้เป็น วิปัสสนาข่าวตรงนี้  อาตมาก็ตามพ่อครูนะ พยายามตามติดนะ แต่วันนี้เห็นพ่อครู อาตมา แทบจะตามไม่ทันเลย ตอนไปขนก้อนหิน ต้องเอาก้อนหิน ลงมาจากรถเทเลอร์ พ่อครูในวัยขนาดนี้ กระโดดขึ้นไปบนรถ

พ่อครู.....แหม.....ค่อยๆขึ้น ไม่ได้ถึงกระโดดขนาดนั้น ไม่ได้ปราดเปรียว ถึงขนาดวัย ๒๐ หรอก

ส.ดินไท.....รถเทเลอร์ รถสูงขนาด เมตรกว่าๆ กระโดดขึ้น อาตมาก็พยายาม จะตามให้ทัน แล้วก็ไปจับ ไปขน ไปแบก

พ่อครู..... ไม่ถึงกะขนาดนั้น

ส.ดินไท.....เดี๋ยวคอยดูภาพ

พ่อครู....คนทำงานจริงๆ เขามีเรี่ยวมีแรง หนุ่มๆสาวๆกันทั้งนั้น แล้วก็มีหลายๆท่าน

ส.ดินไท..... แต่ว่าภาพแบบนี้ คนถ้าไม่มาอยู่บ้านราชฯ ก็จะไม่เห็นนะ หรือว่าถ้าไม่ได้อยู่ใกล้ชิดนี่ แต่เดี๋ยว อาจจะมีภาพออกไป ลักษณะอย่างนี้ ผมมองว่า เมื่อกี้พูดกันถึงเรื่อง การละตัวตน ลักษณะนี้ พ่อครูทำเป็นตัวอย่าง ของการละตัวตน หรือเปล่าครับ? ที่ลงไปช่วยลุย ทำการทำงาน จริงๆ คนระดับ เป็นผู้ใหญ่ ผู้บริหารนี่ ไม่ต้องลงไปทำ ขนาดนี้ก็ได้ แต่ว่าแม้งาน อย่างนี้ ท่านก็ไปทำ

พ่อครู..... ไม่ได้ทำประจำหรอก ก็มอบให้พวกเราทำเยอะ อยู่แหละ เวลาที่ไปเจอเข้า ก็ไปทำ เท่านั้นเอง

ส.ดินไท.....แล้วก็ในบรรยากาศการทำงาน บางคนก็แสดงความคิด จริงๆ แทบทุกคนเลย คนนู้นบอกว่า งัดตรงนั้น เติมตรงนี้ งัดตรงนี้โน้น น่าจะไว้ตรงนั้นตรงนี้ ถ้าเป็นเมื่อก่อน ผมว่าอาจจะทะเลาะกัน ก็ได้นะครับ แต่เดี๋ยวนี้ รู้สึกว่าราบรื่น แต่ละคน ก็จะฟังๆๆกัน พ่อครูเองก็ฟัง ฟังคนอื่นหมด ไม่ใช่ว่า เอาแต่ที่ตัวเองคิด  ลักษณะอย่างนี้ การทำงาน จะช่วยเรา ได้ละตัวละตน หรือเปล่าครับ กิเลส มานะอัตตา ถือดีถือตัว ถือเอาแต่ความคิดของตัวเรา ก็จะลดลงใช่ไหมครับ งานนี้ก็จะช่วยเราลดกิเลส

แต่ถ้าเราไม่ทำ หรือว่าถ้าคิดว่า ละตัวตน แบบด.ช.เบน เขายกตัวอย่าง อย่างคุณยายหมดตัวตน หรือว่าละตัวละตน โดยการที่วาง ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่คิดไม่ทำอะไร นั่งสมาธิเฉยๆ อย่างนั้นคงไม่มีทาง ซึ่งภาวะที่เห็นอย่างนี้ แล้วก็บรรยากาศที่เราทำ ผมก็สัมผัสว่า มันเป็น ความอบอุ่น ความเบา ความสบาย ลักษณะอย่างนี้ น่าจะดีกว่าและไปในทิศทางที่ว่า จะพ้นทุกข์ อย่างแท้จริง ได้มากกว่า ไม่ทราบว่า เข้าใจถูกหรือเปล่าครับ? ถูกยิ่งกว่าทางสายที่ว่า พาไปนั่ง นั่งให้เห็นลูกแก้วใสๆ หรือว่าเห็นแต่ความว่างๆ แต่ไม่มีผัสสะ ไม่มีการงาน อย่างนี้ จะเห็นชัดได้มากกว่า หรือเปล่าครับ?

พ่อครู.....เอ้าขอแถมนิดหนึ่ง ก่อนจบเลย อ้ายเรื่องมี "ผัสสะเป็นปัจจัย" มันเป็นเรื่องจริง จริงๆ ที่จะต้องปฏิบัติ เพราะฉะนั้น มันจะเห็น เป็นตัวอย่าง เพราะเป็นอุภโตภาค หรือว่ามันเป็น อุภยัตถะ มันเป็นประโยชน์ สองด้าน เรากระทบสัมผัส เราก็ได้งาน ส่วนที่มันเป็น งานสามัญ ของโลกเขาด้วย แล้วเราก็ได้รู้จัก อาการของจิต อารมณ์ของจิต มีกิเลสของจิต หรือว่าไม่มีกิเลสของจิต มีตัวตน หรือไม่มีตัวตน

พอเราเข้าใจตัวตน เราจะเข้าใจ๋ เข้าใจว่า อ๋อ ยึดถือตัวตน เป็นอย่างนี้ ไม่ยึดถือตัวตนแล้ว เราจะรู้ว่า อ้อ ที่เราทำไปนี่ มันมีซ้อนอยู่อย่างนี้ อาตมา อยากจะอธิบายสู่ฟัง คนที่รู้จักจิตตัวเอง ละเอียดแล้วว่า อุปกิเลส เป็นอย่างไร ตั้งแต่ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ อิสสา อะไรต่างๆ ไปจนกระทั่งถึง มายา สาเฐยยะ ไปจนกระทั่งถึง มานะ อติมานะ ต่างๆ เราจะเข้าใจอาการต่างๆ ของอุปกิเลส ตั้งแต่หยาบ กลาง ละเอียดไป

ยกตัวอย่างเช่น อย่างที่ท่านดินไทว่า จิตของเรานี่นะ อย่างอาตมา ไปทำงาน ไปทำร่วมด้วย อย่างนี้ๆ คนที่ยังมีจิตสาเฐยยะ จิตอยากอวด อยากโอ่ อยากโชว์ อยากแสดง มันเป็นเชิง อวดตัวอวดตนในตัว รู้ว่าทำอย่างนี้โก้ ทำอย่างนี้ดี ทำอย่างนี้ มันเป็นสิ่งที่น่าชมเชย แล้วก็มีอาการจิต สาเฐยยะ  จิตของตนเอง ประกอบ ในการที่ไปทำงาน อย่างที่ยกตัวอย่างเมื่อกี๊

อาตมาก็ไปช่วยยกหิน ไปช่วยหยิบนั่น หยิบนี่อะไร ก็เหมือนกับ คนทุกคนนั่นแหละ ไม่ได้ถือดีถือตัว อะไรจริงๆ พร้อมกันนั้น อาตมาก็ต้องดู จิตตัวเองว่า จิตตัวเอง มีสาเฐยยะจิตไหม??? แหมมันทำนี่ มันรู้สึกมันเท่ห์ มันโก้ มันรู้สึกว่า คนเขาเห็น คุณงามความดี ของเรานะ มันมีไหม ถ้าจิตตัวนั้นมันไม่มี ก็คือไม่มี เราก็จะรู้ของตัวเองว่ามันไม่มี ถ้ามันมีก็คือมี

เพราะฉะนั้น เหตุการณ์จริง ที่เราได้ประพฤติปฏิบัติ ต่องานการ อย่างเล็กน้อยจุกจิก งานไม่จุกจิก งานต่ำ งานสูง งานอะไรพวกนี้ มันทำให้เราได้อ่านของจริง ทุกปัจจุบัน เพราะฉะนั้น เวทนา ๑๐๘ มันจะครบๆ นานๆ ก็ยิ่งจะมีเหตุปัจจัย ให้มันครบๆๆ มันจะได้รู้เลยว่า อ๋อ ตัวนี้ เรามันยังถือตัว เรายังถือดี นี้เรายังถือ ความไม่เหมาะ ไม่สมกาละ บางกาละอาตมาก็จะต้อง ไม่ทำนะ ทำไม่ดี ดูแล้วว่า ไม่ดีหรอก คนอื่นเขาเข้าใจไม่ได้ เขาเข้าใจผิดเราก็ไม่ควรทำ

เพราะฉะนั้น มหาปเทส ๔ นี่เราจะเข้าใจเลยว่า องค์ประกอบของ เหตุปัจจัยพวกนี้ อันนี้มันควร หรือไม่ควร จะรู้จัก การตัดสิน ประมาณ มัตตัญญุตา ได้อย่างดีเลย ละเอียด แล้วเราก็จะทำ อย่างเป็นปโหติ เป็นสิ่งที่เหมาะที่ควร หรือเป็น กัมมัญญตา (ความควรแก่การงาน แห่งนามกาย) จะเกิดเป็น กัมมัญญตา เป็นสิ่งที่เหมาะที่ควร  ไปได้ตามลำดับ

ข้อคิดจากงานฉลองหนาว ปี ๒๕๕๘

๑. ปีนี้พวกเราได้ไปพักผ่อน ฉลองอากาศหนาวกัน สถานที่แรกคือ "ธุลีฟ้ารีสอร์ท" มีผู้เปรียบว่า เหมือนกับสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ การจัดสถานที่ และองค์ประกอบ ทำได้แบบผสมกลมกลืน กับธรรมชาติที่สวยงาม เจ้าของสถานที่ให้การต้อนรับ ดูแล ทั้งสมณะและ ญาติธรรม ได้อย่างประทับใจ นอกจากนี้ ยังได้บริจาค ที่ดินแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับภูผาฟ้าน้ำ อีกด้วย ห่างกันเพียง ๑๐ กิโลเมตร

เขาเปิดเผยความในใจว่า ที่ดินที่ถวายใหม่นี้ เดิมตั้งใจ จะสำรองเอาไว้ สำหรับเป็นภูผาฯ๒ เพราะตอน ที่ซื้อที่ดินแปลงนี้ ภูผาฯ กำลังเกิดเรื่อง พวกเสื้อแดง บุกไปขับไล่ เขาคิดว่า ถ้าสมณะอยู่ไม่ได้ ก็ยังมีที่ใหม่ น่าจะเป็นที่สำรอง มาอยู่กันได้ ซึ่งเขาเห็นว่า เป็นที่ ที่มีความสวยงาม และมีความอุดมสมบูรณ์ ทางธรรมชาติอยู่มาก มีทั้งต้นไม้ มีทั้งแหล่งน้ำ อยู่กลางหุบเขา และด้านหน้าเป็นผาชัน ที่สามารถจัดสรร องค์ประกอบ ให้เป็นที่อยู่อาศัย ได้อย่างสมบูรณ์ทีเดียว

แต่ด้วยความที่เรามี กฎระเบียบ ของมูลนิธิ ที่กำหนดไว้ว่า ถ้าบริจาคที่ให้กับมูลนิธิแล้ว จะต้องไม่มีเงื่อนไขใดๆ คือทางมูลนิธิ สามารถเอาไปขาย หรือไม่ก็เอาไปพัฒนาต่อ ก็แล้วแต่กรรมการ จะตกลงกัน เงื่อนไขในข้อนี้ ทำให้เขาลังเลใจ เพราะกลัวว่า จะถูกเอาไปขาย แต่ปีนี้เป็นปีที่เขาทำใจได้ และก็ตัดใจได้ ว่าอยู่ที่พ่อท่าน จะเอาไปขายก็ได้ หรือจะเอาไปทำ ประโยชน์ต่อก็ได้ เขาจึงได้นำที่ดินแปลงใหม่นี้ มาถวายพ่อท่าน

พ่อท่านเอง ก็ให้กรรมการทางภูผาฯ ไปพิจารณากัน ซึ่งก็มีทั้ง อาจารย์หนึ่ง อาจารย์สอง และสมณะ อีกหลายท่าน  ไปดูกันแล้ว ก็เห็นว่าเป็นที่เหมาะสม ในการที่จะพัฒนากันต่อไป เมื่อได้มาเรียน ให้พ่อท่านทราบ พ่อท่าน จึงตั้งชื่อให้ที่ใหม่ ที่ได้รับการมอบ ในครั้งนี้ว่า ให้เป็นรีสอร์ท "ภูฟ้า-ผาธรรม" เนื่องจาก ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านผาลิ้น จึงได้ชื่อว่า ผาธรรม พ่อท่านอธิบาย เหตุที่ได้ชื่อว่ารีสอร์ท เพราะว่าเป็นที่อยู่ที่อาศัย แต่รีสอร์ทที่นี่ จะไม่ใช่เป็นที่บำเรอใจ บำเรอกิเลส  แต่จะเป็นที่ให้สาระธรรม ให้มีการพัฒนา ทางจิตวิญญาณด้วย โดยให้ต่อยอดจาก ธุลีฟ้า เช่น ไม่มีการเอาเนื้อสัตว์ และอบายมุข เข้ามาภายในรีสอร์ท

การเกิดของภูฟ้าผาธรรม ทำให้ได้เห็นว่า เมื่อมีจิตที่เป็นกุศล จิตที่คิดให้ คิดเสียสละ และจิตที่ปล่อยวางได้ หรือเป็นจิต ที่เอาธรรมะ นำหน้าแล้ว ก็จะสามารถทำให้เกิด สิ่งต่างๆ ดีงามขึ้นมา ยิ่งไม่ยึด ยิ่งไม่หวงแหน ก็ยิ่งจะเป็นประโยชน์ กว้างขวางออกไปอีก ทุกวันนี้ นักปฏิบัติธรรมของเรา หรือแม้แต่ คนมาอยู่วัดก็ตาม อาจจะหมกมุ่น อยู่กับการงาน จนไม่ได้เอา ธรรมะนำหน้า แต่เอาการงาน ที่ตัวเองรับผิดชอบนำหน้า (กัมมารามตา) จึงก่อให้เกิดปัญหา อีกมากมาย เพราะเมื่อเอางาน นำหน้าแล้ว ก็จะทำให้ต่างคนต่างยึด ต่างคนต่างอยู่ในภพ ต่างคนต่างพยายาม ทำตามทิฏฐิ ของตัวเอง แล้วก็จะเกิดเรื่อง เกิดราว จนเกิดความไม่สามัคคี ไม่เป็น "เอกีภาวะ" ตามมา

แต่ถ้านักปฏิบัติธรรม เอาธรรมะนำหน้า ให้ธรรมะเป็นผู้จัดสรร ตามที่หมู่กลุ่มจะตกลงกัน หรือว่าถ้าใช้สำนวนของคริสต์ ก็บอกว่า แล้วแต่พระประสงค์ ของพระผู้เป็นเจ้า ก็จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดความลงตัว แต่ถ้าเอางานนำหน้า ก็จะเอาความยึดของอัตตา ของตัวกู-ของกู เข้ามากำหนดทิศทาง ของพระศาสนา และจะเกิดปัญหาปั่นป่วน วุ่นวายตามมา

ดังนั้น คนที่จะทำงานให้กับศาสนา ก็คงจะต้องหมั่นระลึกว่า เราต้อง เอาธรรมะนำหน้า เราต้องมีเวลา ฟังธรรม เราต้องมีเวลา ทบทวนธรรม จึงจะทำให้เกิดความก้าวหน้า ในพระศาสนา เกิดความก้าวหน้า ทางจิตวิญญาณ ถ้าเราเอาแต่งานนำหน้า หมกหมุ่น วุ่นวาย อยู่กับงาน จนไม่ได้ระลึกถึง การปฏิบัติธรรม เราก็จะเป็นเพียงแค่ "กรรมกร" ของพระศาสนา แต่ถ้าผู้ใด ที่เอาธรรมะนำหน้า ผู้นั้น ก็จะได้ชื่อว่าเป็น "บัณฑิต" ในพระพุทธศาสนา

ข้อที่ ๒ เมื่อได้มาทางเหนือ ซึ่งเป็นดินแดนที่ธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ อาหารสดใหม่ อากาศเย็นสบาย มีน้ำตก มีต้นน้ำลำธาร มีทั้งโป่งเดือด น้ำพุร้อน ที่มีแร่กำมะถัน ถ้าใครได้ไปแช่ ก็จะทำให้ร่างกาย สดชื่นสบาย เมื่อเราได้มาใช้ชีวิต ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ที่สะอาด บริสุทธิ์เช่นนี้ ก็จะทำให้ร่างกาย ของแต่ละคน สามารถที่จะฟื้นฟูสุขภาพ ได้อย่างรวดเร็ว

ซึ่งก็จะทำให้เราได้ย้อนทบทวนว่า ปัจจัยที่ทำให้เราเกิดเจ็บป่วย หรือไม่สบาย เกิดจากเราทรมานร่างกาย หรือทรมาน "อีร่าง" สาวใช้ ผู้น่าสงสารของเรา อยู่ตลอดมา ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว ร่างกายของเรา เป็นหมอที่ดีที่สุด ของตัวเราเอง โดยจะมีสัญญาณ เตือนเรา อยู่ตลอดเวลา เวลาปวดหนัก ปวดเบา ควรรีบเข้าห้องน้ำ เวลาร้อนตอนบ่ายๆ ก็ควรรีบไปอาบน้ำ เวลาเมื่อยเนื้อ เมื่อยตัว ก็ควรจะได้ ออกกำลังกาย ยืดเส้นยืดสาย เวลาเปลี้ยเพลียล้า ก็ควรจะได้พักผ่อน หลับนอน ยิ่งอากาศหนาวๆ เย็นๆ แบบนี้ เราจะสามารถ นอนได้หลับสนิท พักได้ยาว ตื่นมาก็จะมีจิตใจ และร่างกายที่สดชื่น แจ่มใส

ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ที่พยายามมองตัวเอง เป็นหลักแล้ว เราจะเห็นได้ว่า ในกรณีที่เราเจ็บป่วย ด้วยการไม่มีเชื้อโรคร้ายใดๆ ปัจจัย ที่ทำให้เกิด ความเจ็บป่วย อย่างสำคัญนั่นก็คือ "การเอาแต่ใจตัวเอง" ยิ่งเป็นนักปฏิบัติธรรม ก็ยิ่งที่จะเอาแต่ ใจตัวเอง ได้สูงทีเดียว เมื่อไม่ได้เป็นทาส อบายมุข ไม่ได้ทำงาน เพราะลาภ ยศ สรรเสริญมาบังคับ ไม่มีลูกกวนตัว ไม่มีผัว ไม่มีเมียกวนใจ จึงทำให้ใจของเรา เพ่งเล็งกล้า ที่จะเอาแต่ใจตัวเอง ได้สูง จนทำให้เกิด การทรมานร่างกายตัวเอง ได้กว่าคนทั่วไป

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ถึงปัจจัยที่จะทำให้คนเรา มีอายุยืน 
๑. ต้องทำความสบาย ให้กับตัวเรา เวลาไหนควรรับประทานอาหาร เวลาไหนควรหลับนอน เวลาไหน ควรยืดเส้น ยืดสาย ซึ่งตรงนี้ มันเป็นสิ่งที่ ถ้าเราไม่เอาแต่ใจตัวเอง ก็จะรู้จักจัดเวลาที่เหมาะสม ที่ทำให้ร่างกายเราสบายได้ 

๒. ต้องรู้ประมาณความสบาย เมื่อสบายแล้ว ก็ไม่ใช่ว่า สบาย จนเลยเถิด เป็นต้นว่า นอนสบายดี ก็เลยนอน ทั้งวันทั้งคืน อันนี้ก็ตายเร็ว เหมือนกัน หรือว่าน้ำผักปั่น กินแล้วดีนะ หรือดีท๊อกซ์นี้ ก็ดีนะ ทำดีท๊อกซ์ แล้วก็สบาย แต่ดีท๊อกซ์ทั้งวัน ล้างพิษตับ ก็ล้างกัน อย่างหนักเลย อ้ายนี่ก็ตายเหมือนกัน อะไรที่สบายแล้ว ก็ต้องประมาณ ในความสบายให้พอดี ไม่สุดโต่งมากไป       

๓. กินอาหารที่ย่อยง่าย

๔. ให้เป็นผู้มีศีล เพราะการมีศีล นำความสุข (เอ็นโดฟิน) มาให้ ตราบเท่าชรา (สุขัง ยาว ชรา สีลัง)

๕. ให้มีกัลยาณมิตร ถ้าเราได้อยู่กับพระอาริยะ อยู่กับพระอรหันต์ กับคนที่มีบุญ เราก็จะอายุยืน แต่ถ้าเราหมกมุ่นอยู่กับตัวเอง ไม่เอาใครเลย เอาแต่ใจตัวเอง อันนี้น่ากลัวมาก อายุสั้นแน่นอน

จะเห็นได้ว่า คนที่หมกมุ่นอยู่กับตัวเองมากๆ จะแก่เร็ว ตายเร็ว ดังนั้น นักปฏิบัติธรรม ก็คงจะมาเรียนรู้ อันตรายของการ เอาแต่ใจ ตัวเอง คนที่ชอบ เอาแต่ใจตัวเอง คือเอาตัวเองเป็นใหญ่ แม้จะมักน้อย แค่ไหน อย่างพวกลัทธิเชน แต่พ่อครูก็บอกว่า เขาก็เห็นแก่ตัวเอง เต็มๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์เลย ไม่ได้คิดถึง คนอื่นเลย ดังนั้น การเอาแต่ใจตัวเอง จึงก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ที่สำคัญ อีกประการหนึ่งทีเดียว

 ๓. พวกเรามาในงานฉลองหนาว น่าจะได้ประทับใจใน "ชีวิตที่เรียบง่าย" มีพวกเราไปถามชาวเขา ที่เขาทำขนมง่ายๆ เอาข้าวเหนียว มานึ่งมาตำ แล้วใส่น้ำมันงา แค่นี้ก็ถือว่า ขนมของเขา เรียบร้อยแล้ว พวกเราไปถามว่า กินขนมอย่างนี้ รู้สึกอย่างไร? เขาก็ตอบว่า กินแล้วอิ่ม ไม่ต้องวุ่นวายไปกับ อร่อยมาก อร่อยน้อย เขากินเอาอิ่ม กินเอาธาตุอาหาร เป็นหลัก เรียกว่ากินเพื่ออิ่ม ญาติธรรมของเรา อยู่ที่ฮอมบุญ ซึ่งเป็นธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์ เขาบอกตื่นเช้ามา เขาก็เพียงแค่ไปเก็บ ถั่วมะแฮะ สดๆ เอาขนุนลูกอ่อนๆสดๆ มาจิ้ม น้ำพริก ก็กินกันได้เลย ไม่ต้องไปปรุง อะไรมาก แค่นี้เขาก็อยู่ได้สบายๆ ดังนั้น เมื่อกินอยู่กัน เรียบง่ายแล้ว เราควรจะมีเป้าหมาย ของชีวิตไปสู่ความเรียบง่ายด้วย

ชุมชนต่างๆของชาวอโศก บางครั้งก็สับสน ในกิจกรรม ที่ทำกัน มากมาย บางชุมชน คนอยู่ไม่มากเท่าไหร่ แต่ก็จะจัดงาน ให้ยิ่งใหญ่ ไม่แพ้ใคร ตลาดอาริยะก็จะมี โรงบุญก็จะเปิด พ่อท่าน ก็จะเอามาเทศน์ ไปคิดหากลวิธี ที่จะให้คนมาที่ ชุมชนของตน เยอะๆ ก็หาวิธี จัดคอร์สสุขภาพขึ้นมา เพื่อหาทางดึงแขก มาให้ได้ ซึ่งบางครั้ง ก็ไม่ชัดเจน ว่าทำไปแล้ว มันอยู่ในข่ายสัมมา หรือมิจฉาอาชีวะ? ตามที่พ่อท่าน เคยให้โศลกว่า "เลวที่สุดในแผ่นดิน คือหากิน กับคำว่าช่วยเขา" เพราะมันมีเรื่อง ของเงินทอง มีรายได้เข้าไปด้วย

ตัวอย่างญาติธรรม อย่างคุณตุ๊หล่าง เขาไม่ได้เน้นเรื่อง ต้องมีคน มามากๆ เขาเน้นเรื่องเจาะลึก เข้าหาสาระสำคัญ "เมล็ดพันธุ์ข้าว" พยายามสะสม เมล็ดพันธุ์ข้าว ร้อยกว่าสายพันธ์ ก็มีทั้งญาติ ทั้งน้องสาว ทั้งพ่อแม่ ก็ออกมาช่วยเขา ทั้งคนในกรุงเทพฯ ก็ออกมาเกี่ยวข้าว มาทำนา เพื่อได้มาเรียนรู้ ความสำคัญ ของพันธุ์ข้าวต่างๆ ก็มีคนมาศึกษาเรียนรู้ กับเขาเพิ่มขึ้นๆ เรื่อยๆ แต่ชุมชนของเรา บางแห่ง ที่เน้นสร้างกิจกรรมนั้น กิจกรรมนี้ขึ้นมา หรือจัดคอร์สสุขภาพขึ้นมาก็ดี บางทีก็เห็นได้ว่า คนก็น้อยลงไป เรื่อยๆ สุดท้าย ก็จะเหลือ ผู้อำนวยการ และภารโรง ซึ่งเป็นคนๆ เดียวกัน อันนี้ได้เห็นถึงบางครั้ง การมีกิจกรรม ขึ้นมามากๆ จนเกินแรงเกินตัว มันเป็นความสับสน จนล้มเหลว ทั้งประโยชน์ตน และประโยชน์ท่าน

ทั้งๆ ที่เรากินอยู่ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายแล้ว ก็น่าจะมีทิศทาง ในการดำเนินชีวิต ที่เรียบง่ายด้วย หลักการสำคัญของ ชาวบุญนิยม ก็คือว่า 

  1. ต้องไม่เป็นหนี้
  2. พึ่งตัวเองให้ได้ หลายๆ ชุมชนของเรา มีปัจจัย ๔ อุดมสมบูรณ์ อย่างทางเหนือนี่ หลายแห่ง มีปัจจัย ๔ อย่างอุดมสมบูรณ์ และที่
  3. ก็คือ ทำให้มาก จนเหลือกินเหลือใช้ ข้อที่
  4. แล้วก็แจกจ่ายผู้อื่นต่อไป อันนี้คือทิศทางของบุญนิยม แต่ว่ามันจะเป็นความสับสน ตรงที่ว่า เราไม่ได้ทบทวนว่า เป้าหมาย ของชีวิตของเรา คืออะไร เราไปคิดเอาเงินเป็นตัวตั้ง หรือเราคิดเอาการ พึ่งตัวเองเป็นตัวตั้ง ที่ฮอมบุญอโศก มีชาวบ้าน มาขอ แลกที่กับเรา โดยที่ของเขา มันอยู่กลางที่ ของเรา แล้วก็เป็นป่ารวก ซึ่งที่ของเขา ก็ใช้ประโยชน์ อะไรไม่ได้ แต่ที่ของเรา มันเป็นที่ที่ปรับ เรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะใช้ปลูกอะไรได้ พอเราตัดสินใจ แลกเปลี่ยนกัน เขาดีใจมาก รีบไปบอกลูก ให้มารีบเปลี่ยน รีบโอนชื่อกันเลย เพราะกลัวพวกเรา จะเปลี่ยนใจ พวกเราก็ดีใจ ที่เราจะได้ ป่ารวก ที่อุดมสมบูรณ์มาแทน แต่ชาวบ้านก็ดีใจ ที่เขาจะได้ที่ ไปปลูกมันสำปะหลัง ได้เงินเข้ามาแทน อันนี้ก็จะเห็นว่า คนหนึ่งมองเห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ อีกคนหนึ่ง มองเห็น เม็ดเงิน ที่จะมีมากขึ้น แม้ชาวบุญนิยมเอง บางครั้ง ก็สับสน เมื่อเราหันไปปลูก ยางพารา ปลูกพืชเศรษฐกิจ เพราะว่า อยากจะได้เม็ดเงิน มากกว่าการมี สิ่งแวดล้อม ที่อุดมสมบูรณ์

ดังนั้น เมื่อเรามีชีวิตอยู่ ด้วยความเรียบง่าย กินง่ายๆ อยู่ง่ายๆแล้ว เราจึงควรดำเนินชีวิต ให้ง่ายที่สุด บรรลุธรรม ได้เร็วที่สุด เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ด้วยการเอาธรรมะนำหน้า (ไม่ใช่วันๆ หมกมุ่นจมไปกับ กัมมารามตา) มีเวลาดูแลสุขภาพให้ดี ด้วย ๘ อ. (ไม่ใช่มีคอร์สที่ไหน ไปที่นั้น) และลุยงานตามพ่อสั่ง! หรือทำตามพระประสงค์ ของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่เอาตาม ที่ข้าพเจ้า ต้องการ เท่านั้น เมื่อมีงานของหมู่ของกลุ่ม ก็พร้อมที่จะออกมา ขวนขวาย ในกิจใหญ่น้อย ของเพื่อนสหธรรมิกด้วยกัน ความสามัคคี และเอกีภาวะ ก็จะเกิดได้ทุกชุมชน นั่นแล.

    
     เพชรจากพระไตรปิฎก (๑)

     ในปี ๒๕๒๗ พ่อท่านได้นำเพชร จากพระไตรปิฎกมา ๒ สูตรด้วยกัน สูตรแรกชื่อ จูฬวิยูหสูตร ที่ ๑๒ ผู้ใดที่ทำความเข้าใจ ในสูตรนี้ได้แล้ว ก็จะทำให้ไม่เสียเวลา ไปทะเลาะเบาะแว้ง หรือไปมีความขัดแย้งกับใคร เพราะอ่านแล้ว อาจจะต้อง สะดุ้งเฮือก! เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงระบุว่า คนที่ทะเลาะกัน ไม่ว่าคนนั้น จะผิดหรือถูก พระพุทธเจ้าถือว่า มีปัญญาต่ำทรามทั้งคู่ พระสูตร ทั้งสองสูตรนี้ มีความลึกซึ้งและพิสดาร ที่อยากจะให้ค่อยๆอ่าน และค่อยๆ พิจารณากัน อย่างละเอียดลออ แล้วจะเห็น ความลึกซึ้ง ระดับ "พระพุทธนิมิตร" ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทีเดียว

     จูฬวิยูหสูตรที่ ๑๒  พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

                [๔๑๙] สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ยึดมั่นอยู่ในทิฐิของตนๆ ถือมั่นทิฐิแล้ว
ปฏิญาณว่า พวกเราเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวต่างๆ กันว่า ผู้ใดรู้อย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่า รู้ธรรมคือทิฐิ ผู้นั้นคัดค้านธรรม คือทิฐินี้อยู่ ชื่อว่าเป็นผู้เลวทราม

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ถือมั่นทิฐิ แม้ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมโต้เถียงกัน และกล่าวว่า ผู้อื่นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด วาทะของ สมณพราหมณ์ สองพวกนี้ วาทะไหน เป็นวาทะจริงหนอ เพราะว่า สมณพราหมณ์ ทั้งหมดนี้ ต่างก็กล่าวกันว่า เป็นคนฉลาดฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า หากว่าผู้ใด ไม่ยินยอมตามธรรม คือ ความเห็นของผู้อื่น ผู้นั้นเป็นคนพาล คนเขลา เป็นคน มีปัญญาทราม ชนเหล่านี้ทั้งหมด ก็เป็นคนพาล เป็นคนมีปัญญา ต่ำทราม เพราะว่าชนเหล่านี้ทั้งหมด ถือมั่นอยู่ในทิฐ(ถ้ามีคนผิด คนถูก ต่างคนต่างยึด แล้วมา ทะเลาะกัน ย่อมไม่ต่างกับ คนตาบอดและคนตาดี เดินชนกัน ย่อมมีปัญหาทั้งคู่ ผู้ที่ถูกจริง และไม่ยึดมั่น ผู้นั้นย่อมเป็นปราชญ์ ซึ่ง "ปราชญ์ย่อมเห็นความผิด ของคนผิดว่าถูกแล้ว ส่วนคนพาลย่อมเห็น ความถูกของคนถูก ว่าผิดอยู่" )

ก็หากว่าชนเหล่านั้น เป็นคนผ่องใสอยู่ในทิฐิของตนๆ จัดว่าเป็นคน มีปัญญาบริสุทธิ์ เป็นคนฉลาด มีความคิดไซร้ บรรดาคนเจ้าทิฐิ เหล่านั้น ก็จะไม่มีใครๆ เป็นผู้มีปัญญาต่ำทราม เพราะว่าทิฐิของชน แม้เหล่านั้น ล้วนเป็นทิฐิเสมอกัน เหมือนทิฐิของพวกชนนอกนี้

อนึ่ง ชนทั้งสองพวก ได้กล่าวกันและกันว่าเป็นผู้เขลา เพราะความเห็นใด เราไม่กล่าวความเห็นนั้นว่าแท้ เพราะเหตุ ที่ชนเหล่านั้น ได้กระทำความเห็นของตนๆ ว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง (สิ่งอื่นเปล่า) ฉะนั้นแล ชนเหล่านั้น จึงตั้งคนอื่น ว่าเป็นผู้เขลาฯ

พระพุทธนิมิต ตรัสถามว่า สมณพราหมณ์แต่ละพวก กล่าวทิฐิใด ว่าเป็นความจริงแท้ แม้สมณพราหมณ์พวกอื่น ก็กล่าวทิฐินั้นว่า เป็นความเท็จไม่จริง สมณพราหมณ์ทั้งหลาย มาถือมั่น (ความจริง ต่างๆกัน) แม้ด้วยอาการอย่างนี้ แล้วก็วิวาทกัน

เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะ ให้เป็นหนึ่ง ลงไปได้ฯ

พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น สัจจะที่สองไม่มี ผู้ที่ทราบชัด มาทราบชัดอยู่ จะต้องวิวาทกัน เพราะสัจจะอะไรเล่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าวสัจจะ ทั้งหลาย ให้ต่างกันออกไป ด้วยตนเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะ ให้เป็นหนึ่งลงไปได้ฯ

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
เพราะเหตุไรหนอ สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิทั้งหลาย กล่าวยกตน ว่าเป็นคนฉลาด จึงกล่าวสัจจะ ให้ต่างกันไป สัจจะมากหลาย ต่างๆกัน จะเป็นอันใครๆ ได้สดับมา หรือว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ระลึกตาม ความคาดคะเนของตนฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
สัจจะมากหลายต่างๆกัน เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสีย ไม่มีในโลกเลย

ก็สมณพราหมณ์ทั้งหลาย มากำหนดความคาดคะเน ในทิฐิทั้งหลาย (ของตน)แล้ว จึงกล่าวทิฐิธรรม อันเป็นคู่กันว่า จริงๆ เท็จๆ ก็บุคคล เจ้าทิฐิ อาศัยทิฐิธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่ได้เห็นบ้าง เสียงที่ได้ฟังบ้าง อารมณ์ที่ได้ทราบบ้าง ศีลและพรตบ้าง จึงเป็นผู้เห็น ความบริสุทธิ์ และตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิ แล้วร่าเริงอยู่ กล่าวว่า ผู้อื่นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด

บุคคลเจ้าทิฐิ ย่อมติเตียนบุคคลอื่น ว่าเป็นผู้เขลาด้วยทิฐิใด กล่าวยกตน ว่าเป็นผู้ฉลาด ด้วยลำพังตน ย่อมติเตียนผู้อื่น กล่าวทิฐิ นั้นเอง บุคคลยกตน ว่าเป็นคนฉลาด ด้วยทิฐินั้น ชื่อว่าเจ้าทิฐินั้น เต็มไปด้วย ความเห็นว่าเป็นสาระยิ่ง และมัวเมา เพราะมานะ มีมานะบริบูรณ์ อภิเษกตนเอง ด้วยใจว่า เราเป็นบัณฑิต เพราะว่า ทิฐินั้น ของเขาบริบูรณ์แล้วอย่างนั้น

ก็ถ้าว่าบุคคลนั้นถูกเขาว่าอยู่ จะเป็นคนเลวทราม ด้วยถ้อยคำของ บุคคลอื่นไซร้ ตนก็จะเป็น ผู้มีปัญญา ต่ำทรามไปด้วยกัน

อนึ่ง หากว่าบุคคลจะเป็นผู้ถึงเวท เป็นนักปราชญ์ ด้วยลำพัง ตนเองไซร้ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ก็ไม่มีใคร เป็นผู้เขลา ชนเหล่าใด กล่าวยกย่องธรรม คือ ทิฐิอื่นจากนี้ไป ชนเหล่านั้น ผิดพลาด และไม่บริบูรณ์ ด้วยความหมดจด เดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมกล่าว แม้อย่างนี้โดยมาก เพราะว่าเดียรถีย์เหล่านั้น ยินดีนักด้วยความยินดี ในทิฐิของตน เดียรถีย์ทั้งหลาย กล่าวความบริสุทธิ์ในธรรม คือทิฐินี้เท่านั้น หากล่าวความบริสุทธิ์ ในธรรมเหล่าอื่นไม่ เดียรถีย์ทั้งหลาย โดยมากเชื่อมั่น แม้ด้วยอาการอย่างนี้ เดียรถีย์ทั้งหลาย รับรองอย่างหนักแน่น ในลัทธิของตนนั้น อนึ่ง เดียรถีย์รับรอง อย่างหนักแน่น ในลัทธิของตน จะพึงตั้งใครอื่น ว่าเป็นผู้เขลา ในลัทธินี้เล่า เดียรถีย์นั้น เมื่อกล่าวผู้อื่น ว่าเป็นผู้เขลา เป็นผู้มีธรรมไม่บริสุทธิ์ ก็พึงนำความทะเลาะวิวาทมาให้แก่ตน ฝ่ายเดียว เดียรถีย์นั้น ตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้ว นิรมิตศาสดาเป็นต้น ขึ้นด้วยตนเอง ก็ต้องวิวาทกันในโลก ยิ่งขึ้นไป บุคคลละการวินิจฉัย ทิฐิทั้งหมดแล้ว ย่อมไม่กระทำความทะเลาะวิวาทในโลก ฉะนี้แลฯ จบจูฬวิยูหสูตรที่ ๑๒

พ่อครูว่า.....สัจจะมากหลายต่างๆกัน เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสีย ไม่มีในโลกเลย ประโยคนี้ ยิ่งใหญ่ที่สุด เท่ากับปฏิเสธ สัจจะในโลก เพราะฉะนั้น สัจจะต่างๆ คือ สัญญาย นิจจานิ คือไปยึดสัญญา ว่าเที่ยง ในตอนต้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัจจะมีหนึ่งเดียว เท่านั้น เป็นสองไม่ได้ แต่ต่อจากนั้น ท่านก็ตรัสว่า สัจจะไม่มีในโลกเลย นอกจากสัญญาว่าเที่ยงเสียแล้ว ก็ไม่มีเลยในโลก ก็คือ สัจจะไม่มีในโลก มีแต่ สัญญาย นิจจานิ

คำว่าเที่ยง (นิจจานิ)นั้น ก็แล้วแต่ใคร ไปกำหนดสัญญาว่าเที่ยง (เช่นไปกำหนดว่า GOD คือผู้บันดาล) นั่นแหละคือสัจจะ ของใคร ก็ตาม พระพุทธเจ้าก็ สัญญาย นิจจานิ ของท่าน (กรรมไม่ใช่ GOD คือผู้บันดาล) ของคนอื่นก็ยึด กำหนดต่างๆกัน แต่ทั้งมหาจักรวาลนี้ สัจจะมีหนึ่งเดียว ก็คือของผู้นั้น ที่ยึดไว้เป็นสัญญาย นิจจานิ หรือก็คือ สัญญูปาทานักขันโธ (ยึดสัญญา เป็นอุปาทานในขันธ์)

แต่เมื่อผู้ใด ไม่มีการยึดในสัญญานั้น ของตนแล้ว มันหมดอุปาทาน ในขันธ์นั้นแล้ว ก็ไม่ยึดอะไรว่าเที่ยง หรือไม่เที่ยง เพราะตัวสัญญา เป็นตัวกำหนดว่าเที่ยง ทำให้ผู้นั้นเขลาต่ำทรามโง่! แต่ทีนี้ผู้นั้น เป็นผู้หมด อุปาทานในสัญญาแล้ว สัญญาเป็นตัวรู้แล้วจบ ในตัวสัญญา เมื่อสัญญาจบแล้ว ก็ทำน้ำหนัก ไปที่ปัญญา ปัญญา ก็จะลึกซึ้ง เพิ่มพูนสัมมาทิฏฐิ ปัญญาก็สั่งสมเป็น อินทรีย์พละ ตามสัญญาที่ไม่ยึด เป็นอัตตาและทิฐิได้แล้ว (เมื่อใดที่เรายึดไว้ นั่นก็คือ "อัตตา" ของเรา และธรรมใด ที่เราเข้าไปรู้ตามเชื่อตาม ที่เรายึดไว้ นั่นก็คือ "ทิฐิ" )

สัญญาจึงสำคัญมาก ในการปฏิบัติ หากสัญญาผิด ก็ไม่ได้ผล แต่ถ้าสัญญาสัมมาทิฏฐิ ก็ได้ผล ทีนี้สัญญา ถ้าไม่มีอุปาทาน เป็นคนที่ ปราศจากอุปาทาน ในสัญญาขันธ์แล้ว แต่ไม่ได้ หมายความว่า สัญญานั้นมืดบอด สัญญานั้น ไม่มีอะไร เพราะคุณ ไปนั่งหลับตาดับ เป็นอสัญญีสัตว์ ลัทธิพุทธ ไม่ได้ให้ไปดับสัญญา แต่ให้ศึกษาสัญญา จนรู้แจ้ง จนได้สัญญาเวทยิตนิโรธ ปฏิบัติจนได้ อรูปฌาน ๔ แล้วพ้นอรูปฌาน ๔

รูปฌาน ๔ คืออะไร คือการปฏิบัติ โดยทำความสะอาดวิญญาณ วิญญาณคือ ธาตุรวมของเวทนา สัญญา สังขาร เป็นเจตสิก ๓ แม้ยึดเวทนา สัญญา สังขาร สัญญาต้องตามกำหนดรู้ เมื่อล้างกิเลสได้ สัญญาก็สะอาด กำหนดรู้ของตน ที่ทำได้ถูกต้องหรือไม่ สัญญา ก็เป็นตัวตรวจสอบ ถ้าทำได้ เวทนา สัญญา สังขาร ก็สะอาดขึ้นๆ สัญญาจึงเป็นตัวงาน ที่สำคัญที่สุด จึงจบด้วย สัญญา เวทยิตัง นิโรธัง คือเคล้าเคลียเวทนา แต่ไม่ใช่ ดับเวทนา ไม่ใช่ดับสัญญา ไม่ให้ทำงาน
      

ดูอย่างไรว่า เรายึดทิฏฐิถือมั่นหรือไม่?

การปฏิบัติ ต้องมีการกระทบสัมผัสนอก เช่น กระทบเงินสองล้านๆ ใจเป็นอย่างไร ถ้าวิเคราะห์เหตุ ให้จับแต่อกุศลเหตุนะ ป่วยการ กับคนไปนั่งหลับตาดับนั้น วันที่จะลดกิเลสได้ไม่มี ขออภัย อาตมาพูดนี่ เหมือนชี้คนอื่นผิดไปหมด ของตนเองถูกหมด เหมือนมีอัตตามานะ แต่คุณจะไปรู้กับอาตมาไม่ได้ ว่าอาตมา มีการยึดทิฏฐิถือมั่น หรือไม่ อาตมาบอกเลยว่า อาตมาไม่มี  แต่บอกแล้ว คุณจะเชื่อหรือไม่ ก็ต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง

อย่างอาตมาบอกว่า อาตมาถูกด่า ขึ้นปกหนังสือพิมพ์เลยว่า เดรัจฉานโพธิรักษ์ อาตมาไม่ขึ้น แต่ลูกศิษย์พากันขึ้น ไปตามๆกัน ก็อาตมาเข้าใจแล้วว่า อาตมาล้างตัวเดรัจฉาน ในตัวเองหมด ไม่ใช่ว่า อาตมาหน้าด้านหน้าทน แต่อาตมารู้ว่า เดรัจฉานคืออะไร แล้วอาตมากำจัดเดรัจฉาน ได้หมดแล้ว อาตมาก็ไม่ขึ้น

ยึดอย่างไรเป็นสมาทาน?
ยึดอย่างไรเป็น อุปาทาน? 

สัญญากำหนดชัดว่า อะไรเที่ยงอะไรไม่เที่ยง อะไรมีอะไรไม่มี ก็เลยเหลือแต่ สัญญาย นิจจานิ ก็กำหนดรู้ แต่สมมุติ ถ้าใครยึดมั่น จะรู้ว่ายึดอย่างสมาทาน หรืออุปาทาน ถ้าใครยึดอย่าง อุปาทาน คือแพ้ใครไม่ได้หรอก ถ้าคุณมั่นใจแล้ว ไม่ยอมแพ้หรอก ยังไง คุณจะต้อง เหนือเขาทั้งหมด แต่คนไม่ยึดมั่น ในอุปาทาน ว่าเราถูกเราดี เราไม่ผิด เราแพ้ก็แพ้ โดยไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ

ถ้าเราไม่มั่นใจชัดเจนจริงว่า ของเราถูก เราก็เผื่อว่า ของเขา อาจจะถูกนะ ถ้าคุณไม่ใช่ยอดจริงๆ อย่างคุณฟังอาตมา ก็น่าจะยกให้อาตมา ว่าพ่อท่าน อาจจะถูกกว่านะ คุณก็สบายไป แต่ถ้าคุณก็เชื่อว่า คุณน่าจะถูก ก็ไม่ยกให้ใครเลย ก็ไม่เป็นไร แล้วคุณเอง จะเอาอะไร จากอาตมาได้ไหม? ถ้าคุณไม่เอา แล้วก็มาฟังแต่ว่า จะผิดอะไร ถ้าเห็นไม่ตรง ก็ว่าผิดแล้ว อาจไม่แสดงออก แต่คุณสบายใจ ว่าอาตมาผิด แต่ใครตัดสินคุณล่ะ ว่าคุณถูก คุณก็ตัดสิน ของคุณเอง เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าว่าไว้

ผู้ที่ไม่ยึดมั่นในทิฐิของตนได้แล้ว
จะทำงานร่วมกับใครๆก็ได้  

สรุปแล้ว คุณก็ต้องยึดว่า ของคุณถูก คนอื่นโง่เขลา คนอื่นผิด ใครรู้ "จริง" ได้แล้ว ก็ไม่ไปเบลม (ตำหนิติเตียน) เขาว่าผิด อย่างอาตมา ก็ยืนยันให้เขาฟังแล้ว แต่เขาก็มีเหตุผล เถียงแย้งว่าเขาถูก อาตมาก็ตรวจแล้วว่า อย่างอาตมาว่า นี่แหละถูก ก็แล้วไป แต่ถ้าเราว่า เราผิดก็ได้ หรือถูกก็ได้ แต่มันใช้ประโยชน์ได้ไหม ถ้าเราเอง ยืนยันว่าถูกว่าดี แต่เขาบอกว่าผิด ไม่ดีไม่ถูก เขาก็จะทำอยู่ แบบเขา ก็อิสระของเขา เขาจะทำอย่างนั้น แล้วคุณเอง คุณจะทำกับเขาไหม?

แต่ถ้าคุณเห็นว่า ถ้าทำกับเขาก็เท่ากับ ทำให้เสียหนักเข้าไป แต่ถ้าคุณเอง ว่าสังคม ไม่เสียหายเท่าไหร่ก็ทำ อย่างอาตมา ใช้มาตลอดว่า สังคมได้เท่านี้ ก็ทำไปก่อน ไม่ได้ทำอย่างฝืนอะไร ถ้าเห็นว่า ควรทำก็ทำ สิ่งเหล่านี้ต้องมีสัปปุริสธรรม ตัดสินตาม มหาปเทส ๔ จะเข้ากับสิ่งควร ก็คุณเองตัดสิน ถ้าไม่เข้ากับสิ่งควร ก็ไม่ทำ ถ้าเห็นว่าจะเสียผลก็ไม่ทำ เป็นอิสรเสรีภาพ

การลงโทษสูงสุดของพระพุทธเจ้า                                                                                                                 
ก็คือ...ปล่อยเขาไปๆ ตามกรรม!

ความจริงใจของผู้ใช้วิจารณญาณ อย่างที่กล่าว ผู้นั้น จะไม่ยึดมั่น ถือมั่นเกินไป แล้วจะไม่ไป ลงโทษใคร เรากำหนดเองเป็น สัญญาย นิจจานิ ว่าอย่างนี้ ใช่หรือไม่ใช่ ส่วนผู้ตัดสินจริงๆ ในมหาจักรวาล นี้ไม่มี อย่างพระพุทธเจ้าท่านว่า ท่านรู้ยิ่งกว่าใคร ก็ตัดสินได้ แต่อย่างพระเทวทัตต์ ไม่เชื่อท่านก็ไม่ว่าไร

สุดท้ายก็ ปกาสนียกรรม คือประกาศ ให้ชนทั้งหลายรู้ว่า ถ้าสิ่งใด ที่เทวทัตต์ทำ ก็เป็นสิ่งที่ เทวฑัตต์ทำ ไม่ใช่ของเรา วิบากใคร ก็วิบากใคร เป็นการตัดสินสุดท้าย ยิ่งกว่าพรหมทัณฑ์ เป็นนานาสังวาส เด็ดขาดแล้ว ท่านก็ประกาศว่า นั่นของเทวฑัตต์ ไม่ใช่ของพวกเราทำ ก็ไม่ต้อง ไปเกลียดชังกัน

สัจจะมีหนึ่งเดียว หรือเว้นไว้แต่สัญญาย นิจจานิ แล้วไม่มีเลยในโลก!

      
การประมาณอย่างไม่ประมาท นั้นเป็นฉันใด?

การยึดถืออย่างรู้ๆ ไม่ได้ทำเพื่อตัวกูของกูเลย ทำประโยชน์ท่าน เราเสียสละด้วยซ้ำ เป็นสมาทาน ผู้นี้มีพลังปัญญา พลังการงาน อันไม่มีโทษ มีพลังวิริยะ มีพลังสังคหะ งานเราก็ช่วยเขา แต่เราทำอย่าง ไม่ได้ต้องการอะไรจากเขา ผู้นี้จะไม่กลัวเลย ในการใช้ชีวิต จะกล้าหาญ เข้าบริษัทหมู่กลุ่ม ก็ไปกลัวทำไม เราจะไปรับใช้ ไม่ได้ไปเอาอะไรจากเขา ไม่หวั่นกลัวเลย แล้วท่านกลัว คนจะด่าว่าไหม จะกลัวทำไม ? เราทำสิ่งถูกทุกอย่าง แต่คนตำหนิเขาก็ไม่รู้ ถ้าเราเห็นว่า เขาไม่รับเราจริงๆ บาดใจเขา เราก็ไม่ทำ แต่ถ้าไม่ขนาดนั้น ยังได้ประโยชน์อยู่ ก็ทำ

อย่างเราไปทำงานกับสังคม มีคนชอบใจไม่ชอบใจ เรารู้องค์รวมว่า คนโง่มีมาก คนฉลาดมีน้อย เราเห็นว่า จะเกิดประโยชน์ ถ้าทำต่อ เราก็ทำ หากเสียผลแล้ว เราก็เลิก หรืออย่าง พล.อ.ปรีชา พาเรา กลับจากทำเนียบ คนโกรธมีมากเลย เขาว่าจะได้เปรียบ จะเอาให้ชนะ แต่ว่าเราเห็นแล้วว่า อยู่ต่อจะเสียมากกว่า เราก็ถอย ต้องใช้ มหาปเทส ๔ สัปปุริสธรรม ๗

ถ้าเราทำพลาด ก็เพราะไม่ฉลาดพอ แต่ถ้าไม่เสียมาก-ดีมากกว่า ก็ทำต่อ ต้องกระทำอย่าง ระมัดระวัง รู้บริษัท โอกาส รู้เวลา รู้เนื้อหา รู้ธรรมะ รู้ตัวเราก็เท่านี้ เราจะทำได้แค่ไหน เขารับเรา แค่ไหน หากเขาไม่รับ เราก็อย่าทำเลย  หากเขารับเราพอประมาณ จะคุ้มไหมก็ทำ ถ้าไม่คุ้มก็เลิก ใครจะว่าเราขี้แพ้ ขี้กลัว ก็ไม่เป็นไร เรารักษาผลไม่เสียหาย เราเป็นผู้บริหาร ก็ใช้สัปปุริสธรรม และ มหาปเทส อย่างไม่ลำเอียง จึงทำงานได้ดี

ถ้าอยากทำก็ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ทำ ก็เสียหายหมด การประมาณ หากผู้ไม่มีตัวตน ไม่อยากใหญ่ ไม่ต้องการลาภยศสรรเสริญ จึงถ่อมตนเสมอ ไม่ทำอะไรเกินตน คนอวดดีมีเยอะ แต่คนไม่อวดดี ก็ไม่เสียหาย อย่างเรามีเงินล้านในกระเป๋า แต่เขาก็ว่า เราไม่มีเงิน เราก็รู้ว่าเรามีอยู่ ก็ไม่เป็นไร เพราะเรารู้ว่า เรามีเงินล้าน อยู่ในกระเป๋าแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปควักล้าน ให้เขาดู เราก็รู้ว่า เขาไม่รู้ความจริง เขายึดอย่างนั้น จึงไม่โกรธ คนไหนโกรธ ก็โง่ทุกคน ทำกิเลสโง่ใส่ตน แล้วตนก็ทุกข์

ไม่ยึดมั่น แต่ต้องยึดไว้

สรุปอีกที ฟังวันนี้ไปแล้ว ถ้าเข้าใจดี ก็แล้วไป แต่ถ้าไม่เข้าใจ ก็อย่าเพิ่งไปมุ่น หรือเอาเป็นเอาตาย กับมัน ปล่อยไปก่อน หรือ อย่าเอาไปตีกิน ว่าสัจจะไม่มีหรอก ในโลกนี้ จริงมันเป็น สมมุติสัจจะ แต่โลกนี้ อยู่กับสมมุติสัจจะ อรหันต์นั้น ปรมัตถสัจจะ สูญแล้ว ท่านไม่มี แต่ท่านมีสมมุติสัจจะ จะบอกว่า สมมุติสัจจะ ไม่มี ไม่ได้ มันมี! คำโกหกเป็นสิ่งมีจริง แต่คำโกหก เป็นคำไม่จริง แล้วคนโกหก มีในโลกมากด้วย คุณก็ต้องอยู่กับคนที่ เขามีสิ่งไม่ดี แล้วก็ต้องประมาณเอา ตามเหมาะควรนี่แหละ...จบ!

                                       กองงานปัจฉาสมณะ

สารอโศก อันดับที่ ๓๓๗ หน้า ๖๙-๙๓ ธันวา ๕๗-กุมภา ๕๘