แฉ..ความลับ @เสธ น้ำเงิน3
https://www.facebook.com/topsecrettha

วันที่ 27 มิ.ย.57 ไขปริศนา..ที่แท้รัฐบาลเผาไทยปูเน่า เวนคืนวังสระปทุม พระเทพฯ ทำทางด่วน

พลันที่ พล.ต.ม.จ.จุลเจิม ยุคล หรือ ท่านใหม่ ผู้ซึ่งเป็นพระโอรส ลำดับที่ 4 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อนุสรมงคลการ กับหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา เผยแพร่ข้อความ ผ่านโซเชี่ยล เน็ตเวร์ค ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงซื้อที่ดิน แปลงเล็กๆ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงปลูกบ้าน โดยเป็นการใช้ พระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ ในการซื้อ ที่ดินแปลงนี้

ข้อความดังกล่าว ความว่า “ ผมได้รับทราบเรื่อง จากผู้ใกล้ชิด สมเด็จพระเทพฯ มาว่า ท่านทรงซื้อ ที่ดินแปลงเล็ก ในจังหวัดเชียงใหม่ และท่านทรงรับสั่งว่า จะปลูกบ้านหลังเล็ก ๆ , ขอย้ำนะครับ ปลูกบ้าน ท่านรับสั่งว่า ไม่ปลูกวัง เพราะต่อไปเขา ( เขา??? ) จะไล่ฉัน ไม่ให้อยู่วังแล้ว จึงใช้พระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ซื้อเอง , เหตุที่สมเด็จพระเทพฯ ใช้พระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ ซื้อที่ดิน ท่านรับสั่งว่า เขาจะได้มายึดไม่ได้ ผมได้ฟังแล้ว รู้สึกตีบตัน ในลำคอ ขอบตาร้อนผ่าว

สงสารท่านเหลือเกินแล้ว พระบิดา ทรงงานหนัก เพื่อชาติ และประชาชน มาตลอด แต่สุดท้าย จะไม่มี อะไรเหลือ ผมในฐานะ ปวงชนชาวไทย ขอกล่าว คำสัตย์สาบาน ด้วยชีวิต ณ ที่นี้ว่า ผมจะไม่ยอม ให้มัน ไอ้ อี ผู้ใด มากระทำ ต่อพระองค์ เยี่ยงนั้นได้ สถาบัน พระมหากษัตริย์ จะต้องธำรงอยู่ คู่ประเทศไทย ตราบนานเท่านาน..ใครเล่าเหวย จะร่วมสู้กับกูบ้าง “..

ก็เกิดคำถาม ขึ้นในใจ คนไทยทุกคน ว่าที่มาที่ไป เรื่องนี้ เป็นอย่างไรกันแน่ ใครกลุ่มไหนกัน ที่กล้าอาจหาญ กระทำการ มิบังควรเช่นนี้ ก่อนจะมีคำเฉลย ปริศนานี้ มาดูประวัติ ความเป็นมา “ วังสระสระปทุม “ ที่เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก่อนว่า มีความสำคัญ ต่ออารยธรรม ประวัติศาสตร์ ชาติไทยอย่างไร

วังสระปทุม ตั้งอยู่บริเวณ ถ.พระรามที่ 1 และถนนพญาไท กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยอาณาเขต ทางด้านทิศเหนือ ติดคลองแสนแสบ ทิศตะวันออก ติดคลองอรชร ริมวัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร ทิศใต้ติด ถ.พระรามที่ 1 และทิศตะวันตก ติดถนนพญาไท ปัจจุบัน อยู่กลางย่าน เศรษฐกิจ ที่คึกคัก ในเขตปทุมวัน

สมัย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีพระราชดำริ จะพระราชทานที่ดิน บริเวณถนนปทุมวัน หรือถนนพระรามที่ 1 ให้เป็นสถานที่สร้างวัง ของสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชโอรส ซึ่งประสูติแต่ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า

แต่เนื่องจาก ในขณะนั้น พระองค์ได้เสด็จ ไปศึกษาต่อ ที่สหรัฐอเมริกา จึงยังไม่มีการสร้าง พระตำหนักขึ้น ตราบกระทั่ง พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงได้พระราชทาน สิทธิ์ในที่ดิน ให้เป็นของ สมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ในเวลาต่อมา

หลังจาก การเสด็จสวรรคต ของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว นั้น สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ได้เสด็จออกมา ประทับภายนอก พระบรมมหาราชวัง พระองค์โปรดฯ ที่ดินบริเวณนี้มาก ถึงแม้ว่าในขณะนั้น บริเวณประทุมวัน ถือว่าเป็นที่ดิน ที่อยู่ห่างไกล จากความเจริญ รวมทั้ง การคมนาคม ก็ลำบากมาก

พระองค์ทรงเตรียม การปลูก พระตำหนัก เพื่อจะเสด็จ มาประทับอยู่ เป็นการถาวร โดยพระองค์ ทรงคิดผัง พระตำหนักเอง ทั้งเรื่องทิศทาง การวางตำแหน่ง ของอาคาร เนื่องจาก ทรงมีความรู้ เรื่องทิศทางลม และฤดูกาล เป็นอย่างดี ทรงใช้ก้านไม้ขีด หางพลู เรียงเป็นรูปร่างห้อง และให้หม่อมเจ้า จันทรนิภา เทวกุล เขียนร่างเอาไว้ และส่งให้สถาปนิก ออกแบบถวาย ตามพระราชประสงค์

พระตำหนักใหญ่นี้ จึงได้รับแสงแดด และมีการถ่ายเท อากาศได้ดี ห้องทุกห้อง ได้รับลม เสมอกัน ในระหว่าง การก่อสร้าง พระตำหนักนั้น พระองค์ได้เสด็จ มาประทับ ณ พลับพลาไม้ ริมคลอง แสนแสบ ซึ่งเป็นที่ ประทับชั่วคราว บ่อย ๆ เมื่อพระตำหนัก สร้างเสร็จแล้ว สมเด็จ พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ได้เสด็จเข้าประทับ ณ วังสระปทุม เป็นการถาวร ตราบจนเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2498

บริเวณโดยรอบวัง ในสมัยนั้น เดิมเป็นที่สวน สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า โปรดให้ปลูกพืชผัก หลายชนิด เช่น กล้วย มะม่วง ขนุน เป็นต้น โดยทรงนำ ผลผลิตต่าง ๆ ที่ได้นั้น สำหรับ ตั้งโต๊ะเสวย รวมทั้ง พระราชทาน ผลผลิต ทางการเกษตร เหล่านั้น ไปยังวัง เจ้านายต่าง ๆ ส่วนที่เหลือ เช่น ใบตอง เชือกกล้วย กล้วยสุก ได้นำออกจำหน่าย ได้รายได้ปีหนึ่ง ๆ เป็นเงินหลายร้อยบาท โดยส่วนหนึ่ง พระองค์ ทรงใช้สำหรับ เลี้ยงดูข้าราชบริพาร และทะนุบำรุง วังสระปทุม

หลังจากที่สมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงสำเร็จ การศึกษา กลับมายัง ประเทศไทยแล้ว สมเด็จ พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า โปรดให้สร้าง พระตำหนัก ขึ้นอีกหลัง เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ของพระราชโอรส โดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุน สงขลานครินทร์ ได้ประทับอยู่ พระตำหนักนี้ จนสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. 2472

วังสระปทุม ยังคงใช้เป็นที่ประทับ ของสมเด็จ พระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เรื่อยมา จนกระทั่ง พระองค์เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2538 หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทาน วังสระปทุม ให้เป็นที่ประทับของ “ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “ จนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน พื้นที่ของวัง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก เป็นพื้นที่ประทับ ของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นที่สงบเงียบ ปกคลุมด้วย ต้นไม้ใหญ่ นานาชนิด ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่ให้เช่า ทำศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ เช่น สยาม ดิสคัฟเวอรี่ เซ็นเตอร์ สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอน สำหรับพื้นที่ ส่วนที่เป็นที่ประทับ ของสมเด็จ พระเทพฯ นั้น ประกอบด้วย พระตำหนัก และเรือนต่าง ๆ ดังนี้

พระตำหนักใหญ่ เป็นตำหนัก 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน ทาสีเหลือง ทั้งองค์พระตำหนัก โดยมีลักษณะ เด่นอยู่ที่ ฝาผนังใกล้เพดานชั้นบน ซึ่งเป็นปูนปั้น รูปดอกไม้ ตั้งอยู่เกือบกลาง ของวังสระปทุม สร้างขึ้นโดย สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า

พระตำหนักเขียว เป็นพระตำหนักแรก ที่สมเด็จ พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงสร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ภายในวังสระปทุม สร้างแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2459 พระองค์จึงได้ เสด็จประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้ พระตำหนักเขียว ตั้งอยู่บริเวณ ริมคลองแสนแสบ เป็นพระตำหนัก ก่ออิฐถือปูน ทาสีเขียว เคยใช้เป็นที่ ประทับของ พระบรมวงศานุวงศ์ หลายพระองค์

เช่น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และสมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระมเหสี และพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาประทับ เมื่อสมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ยังทรงพระเยาว์

พระตำหนักใหม่ หรือ พระตำหนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวง สงขลานครินทร์

หลังจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวง สงขลานครินทร์ ทรงสำเร็จการศึกษา จากสหรัฐอเมริกา พระองค์ได้เสด็จ มาประทับ ที่วังสระปทุม เป็นการถาวร ดังนั้น สมเด็จ พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า โปรดให้สร้าง พระตำหนัก แห่งนี้ขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ของพระราชโอรส

โดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวง สงขลานครินทร์ ทรงให้หม่อมเจ้า อิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ซึ่งทรงเคยรู้จัก เมื่อประทับอยู่ ต่างประเทศ เป็นสถาปนิก โดยเริ่มก่อสร้าง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467 รูปแบบของ พระตำหนัก มีลักษณะ เป็นแบบอังกฤษ สร้างอย่างประณีต และอยู่สบาย

พิธีอภิเษกสมรส ระหว่างสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุน สงขลานครินทร์ (พระยศขณะนั้น) และคุณสังวาลย์ ตะละภัฏ (พระยศขณะนั้น) จัดขึ้น ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 โดยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเป็นองค์ประธาน และพระราชทาน น้ำสังข์ นอกจากนี้ ยังมีการจดทะเบียน เป็นหลักฐาน ตามแบบแผน ของทางการ ราชสำนักด้วย

หลังจากนั้น สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า เสด็จออก ในพระราชพิธี ถวายน้ำ พระพุทธมนต์ เทพมนต์ แด่สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และทรงรดน้ำ พระพุทธมนต์เทพมนต์ แด่หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ในการพระราชพิธี ราชาภิเษกสมรส ตามโบราณราชประเพณี ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์ อ่านประกาศ สถาปนา หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น "สมเด็จพระราชินี"

หลังจากสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จประทับ ณ วังสระปทุมแล้ว พระองค์ทรงระลึกถึง พระราชปรารภ แห่งพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชดำริว่า วังสระปทุม เป็นสถานที่สำคัญ แห่งพระราชวงศ์ และชาติ สมควรที่จะจัดตั้ง เป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า พระองค์ จึงทรงจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์ สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า" ขึ้นภายใน วังสระปทุม

เพื่อเป็นแหล่งศึกษา พระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า อย่างถูกต้อง และครบถ้วน โดยทรงใช้ พระตำหนักใหญ่ เป็นสถานที่ตั้ง ของพิพิธภัณฑ์ โดยสมเด็จ พระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนิน ไปในการเปิด “พิพิธภัณฑ์ สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า” เพื่อน้อมเกล้า น้อมกระหม่อม ถวาย พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551

ภายใน “พระตำหนักใหญ่” หรือ “พิพิธภัณฑ์ สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า” ได้จัดแสดง เป็นห้องต่างๆ ไว้เป็น 3 ช่วงเวลา ห้อง “ยุววัฒน์รัชกรณีย์” ภายในจัดแสดง อ่างสรง ของในหลวง ที่ใช้สรง เมื่อทรงพระเยาว์ จดหมายลายพระหัตถ์ ของพระบรมราชชนก จดหมายของ สมเด็จย่า โทรเลขของ สมเด็จพระพันวัสสา เป็นต้น ซึ่งจัดแสดงใน “ห้องพิธี” และ “ห้องรับแขก”

ห้องที่จัดแสดงในช่วงที่สอง “ราชประดิพัทธภิษิต” เป็นช่วงที่สมเด็จ พระบรมราชชนก ทรงเสกสมรส และมีพระราชธิดา แล้วหนึ่งพระองค์ ทรงพาครอบครัวเสด็จฯ กลับจากประเทศอังกฤษ และมาประทับอยู่ที่ วังสระปทุม อีกวาระหนึ่ง การจัดสิ่งของเครื่องใช้ ในห้องแสดงของ พิพิธภัณฑ์ ในช่วงนี้ ได้แก่ “ห้องเทา” และ “ห้องทรงพระอักษร”

ส่วนจัดแสดง ในช่วงสุดท้าย “ราชกฤตย์กตัญญุตา” จัดแสดงใน “ห้องทรงพระสำราญ” “ห้องทรงนมัสการ” และ “ห้องพระบรรทม” เป็นช่วงเวลาที่ สมเด็จพระบรมราชชนก มีพระราชโอรส เพิ่มขึ้นอีก 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงสำเร็จการศึกษา วิชาแพทย์ เสด็จกลับจาก สหรัฐอเมริกา พร้อมครอบครัว

นอกจากนี้บริเวณ “เฉลียงพระตำหนักใหญ่ชั้นบน” ในช่วงปลาย พระชนม์ชีพ สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า โปรดที่จะประทับ ตรงเฉลียง บนหน้าห้อง พระบรรทม ซึ่งปัจจุบัน จัดเป็นห้อง ทรงนมัสการ เมื่อทรงตื่นบรรทมแล้ว จะเสด็จออกมาประทับ ที่เฉลียง ตลอดทั้งวัน และเสวย พระกระยาหาร ณ ที่นี่ด้วย ซึ่งบริเวณนี้ มีความสำคัญ ในประวัติศาสตร์ชาติไทย อย่างยิ่ง

เนื่องจากเป็นสถานที่ ประกอบพระราชพิธี อันเป็นพระราชกรณียกิจ สำคัญสุดท้าย แห่งพระชนม์ชีพ ของสมเด็จ พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า คือ ทรงเป็นประธาน ในพิธีราชาภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ทรงรับดอกไม้ ธูปเทียนแพ และพระราชทาน น้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์ และเจิมพระนลาฏ แก่ทั้งสองพระองค์ ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ในทะเบียนสมรส และโปรดให้ หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ลงนามในทะเบียนนั้น

ตรงข้ามวังสระปทุม เคยมีวังกลางทุ่ง หรือ วังวินเซอร์สยาม โดยภายหลัง การเปลี่ยนแปลง การปกครองปี 2475 กลุ่มคณะราษฎร ได้ตั้งใจทุบทำลาย วังกลางทุ่งทิ้ง เพียงเพื่อต้องการ สร้างสนามกีฬา ที่มีชื่อตนเอง ทั้งที่ห่างออกไป อีกไม่มาก เป็นทุ่งนา แต่หลวงศุภชลาศัย ไม่ยอม จงใจจะเอา วังนี้ให้ได้ สร้างความโทมนัส แก่พระพันวัสสาฯ ยิ่งนัก

ด้วยวังนี้ ถือเป็นตัวแทนของ พระราชโอรส ของพระองค์ ที่สวรรณคต ขณะยังทรงพระเยาว์ พระองค์ได้ยินเสียง ทุบวังทุกวัน ทุบวังก็เหมือนทุบตี รังแกหัวใจ ของพระองค์ จะเห็นได้ว่า ภายหลังการเปลี่ยนแปลง การปกครอง ปี 2475 เป็นต้นมา นักการเมือง มีแต่รังแก เชื้อพระวงศ์ ตลอดมา

แต่แล้ว สิ่งที่ไม่คาดฝัน ในยุคนี้ก็เกิดขึ้น ซ้ำรอยอีก เมื่อการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย ในสมัย รัฐบาลเลือกตั้ง ที่แล้ว มีการอ้างว่า เคยมีกรณีพิพาทกัน ตั้งแต่สมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยในสมัย นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2539 ได้มีการจัดทํา ประชาพิจารณ์

เนื่องจากเกิด ความขัดแย้ง ระหว่างหน่วยงาน ของรัฐกับประชาชน ชุมชนบ้านครัว อันเนื่องมาจาก โครงการทางด่วน แยกอุรุพงษ์ – ราชดำริ ของการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย โดยชาวชุมชนบ้านครัว ได้ร่วมกับชุมชน เพื่อนบ้าน ใกล้เคียง ต่อสู้คัดค้าน โครงการดังกล่าวมานาน ตั้งแต่สมัยที่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งรับผิดชอบ การทางพิเศษ แห่งประเทศไทย

เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยให้ตั้งคณะกรรมการ ที่เป็นกลางขึ้น ชุดหนึ่ง ทําหน้าที่ ดำเนินการ ไต่สวนหา ข้อเท็จจริง และให้การทางพิเศษ แห่งประเทศไทย ประกาศชี้แจงแผนงาน เอกสารข้อเท็จจริง พร้อมทั้ง ขอมีส่วนร่วม ในการไต่ถาม และเสนอพยานหลักฐาน และข้อมูลโต้แย้ง ตลอดจน ให้การดำเนินการ ดังกล่าว กระทํา โดยเปิดเผย ต่อสาธารณชน

หลังจากนั้น พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีคำสั่ง กระทรวงมหาดไทย ที่ 243/2536 ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2536 เรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการ พิจารณาประโยชน์ ของถนน รวมและกระจาย การจราจร ต่อระบบทางด่วน ขั้นที่ 2 ขึ้น โดยคณะกรรมการชุดนี้ ประกอบด้วย 27 คณะกรรมการ ได้สรุปผลส่ง พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2536

โดยคณะกรรมการ มีมติชี้ขาดว่า โครงการดังกล่าว “ ไม่เป็นประโยชน์ กับการจราจร และไม่เป็นประโยชน์ ในทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังสร้างผลกระทบรุนแรง ต่อชุมชนบ้านครัว โดยภาระที่เกิด จะตกแก่ ชุมชนบ้านครัวมาก จนไม่เป็นธรรม “

ที่การทางพิเศษ แห่งประเทศไทยไม่ยอมรับ ความเห็น ของคณะกรรมการ โดยอ้างว่า ข้อมูลที่คณะกรรมการ นำมาพิจารณา เป็นข้อมูลเก่า จากข้อขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลให้ ไม่สามารถ หาข้อยุติ ในเรื่องดังกล่าวได้ ทําให้ต้องมีการ รับฟัง ความคิดเห็น รอบที่ 2 คณะกรรมการ ได้ยืนยันในมติเดิมว่า “ ควรยกเลิกโครงการ”

แต่คณะรัฐมนตรี กลับมีมติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 ให้ก่อสร้าง ต่อไปได้ โดยเลี่ยงลงไปในคลอง เพื่อให้เกิดผลกระทบ น้อยที่สุด แม้ว่าการรับฟัง ความคิดเห็น ของประชาชน โดยวิธีประชาพิจารณ์ ในครั้งนี้ รัฐบาลจะมีมติ แย้งกับความเห็นของ คณะกรรมการ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 สมัย นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการดำเนินการ ออกระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟัง ความคิดเห็นสาธารณะ โดยวิธีประชาพิจารณ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการจัดการรับ ฟังความคิดเห็น ของประชาชน โดยวิธีประชาพิจารณ์ มอบให้รัฐมนตรี ประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) ร่วมกับเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี มีการปรับปรุง มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539

ระเบียบฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการรับฟัง การแสดงความคิดเห็น ในปัญหา สำคัญของชาติ ที่มีข้อโต้เถียง หลายฝ่าย สำหรับ เป็นแนวทาง ประกอบการตัดสินใจ ของรัฐ ในการดำเนินงาน อันมีผลกระทบ ต่อประชาชน และยังไม่มีข้อยุติ

และเรื่องดังกล่าว ก็ชะลอเงียบหายไป 16 ปี ผ่านมาหลายรัฐบาล จนต่อมาจู่ๆ ไม่มีปี่มีขลุ่ย เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 สมัยรัฐบาลที่แล้ว ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯ ได้ฉวยโอกาสลักไก่ ช่วงน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 ต่อเนื่องปี 2555 ที่ประชาชน กำลังสาละวนกับ ความเดือดร้อนน้ำท่วม แอบให้ ครม.ในคอลโทรล ออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ ที่จะเวนคืน ในท้องที่ เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

เหตุผล ในการประกาศใช้ พระราชกฤษฎีกา คือ เนื่องจาก การทางพิเศษ แห่งประเทศไทย ได้ทำการสำรวจ เขตที่ดินเพื่อเวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ ที่จะเวนคืน ในท้องที่ เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 เพื่อสร้างทางพิเศษ สายแจ้งวัฒนะ – บางโคล่ ยังไม่แล้วเสร็จ

สมควรกำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ ที่จะเวนคืน ในท้องที่ เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย จากเจ้าหน้าที่ มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจ และเพื่อทราบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ ที่จะต้องเวนคืน ที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องตรา พระราชกฤษฎีกา บทบัญญัติ และ มาตราสำคัญ มีดังนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ ที่จะเวนคืน ในท้องที่ เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554 ”

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป

มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้บังคับได้ มีกำหนดสี่ปี

มาตรา 4 ที่ดินที่จะเวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในการสร้าง ทางพิเศษ สายแจ้งวัฒนะ – บางโคล่

มาตรา 5 ให้ผู้ว่าการ การทางพิเศษ แห่งประเทศไทย เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกานี้

มาตรา 6 เขตที่ดิน ในบริเวณที่ ที่จะเวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกานี้ อยู่ในท้องที่ เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีส่วนแคบที่สุด สามร้อยห้าสิบเมตร และส่วนกว้างที่สุด หกร้อยเมตร ทั้งนี้ ภายในแนวเขต ตามแผนที่ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้

มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม รักษาการ ตามพระราชกฤษฎีกานี้

โอ้..อะไรนี้ รัฐบาลประชาธิปไตย อ้างว่ามาจาก การเลือกตั้ง แอบงุบงิบ ออกกฎหมาย เวนคืนที่ดิน ไม่เว้นแม้แต่ วังสระปทุม ของสมเด็จพระเทพฯ เป็นที่ดินพระราชทาน พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) , วังที่เคยประกอบพิธี ทางประวัติศาสตร์ ที่ต้องจารึก เช่น พิธีอภิเษกสมรส ระหว่างสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุน สงขลานครินทร์ (พระยศขณะนั้น) และคุณสังวาลย์ ตะละภัฏ (พระยศขณะนั้น) เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 โดยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเป็นองค์ประธาน และพระราชทานน้ำสังข์

วังที่เคยพระราชพิธี ราชาภิเษกสมรส ระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (พระยศขณะนั้น) และ หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร (พระยศขณะนั้น) จัดขึ้นในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยสมเด็จ พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ทรงเป็นองค์ประธาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ในทะเบียนสมรส และโปรดให้ หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ลงนามในทะเบียนนั้น

เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า และเชื้อพระวงศ์ หลายพระองค์ ในราชวงศ์จักรี และปัจจุบัน ยังเป็นที่ตั้ง “พิพิธภัณฑ์ สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า” เพื่อน้อมเกล้า น้อมกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา อีกด้วย

นี่ยังไม่นับประวัติศาสตร์ ทางความทรงจำ ที่ทรงคุณค่า ต่อพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระราชินีนาถ และเชื้อพระวงศ์ อีกมากมาย ที่มิอาจพระเมิน คุณค่าได้ ที่พระองค์ทรงตรากตรำ พระวรกาย มาตลอด เพื่ออุทิศ ทรงงาน ให้กับราษฎร์ ของพระองค์ กว่า 64 ปี

จู่ๆ รัฐบาลเผาไทย ออกกฎหมายฉบับเดียว เพื่อเวณคืน วังสระปทุมเก่าแก่ และสร้างความเดือนร้อน ให้กับประชาชน อีกจำนวนมาก เพียงแค่เอาไปสร้างทางด่วน ให้รถวิ่ง ให้กับการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย ดำเนินการ เป็นการรังแกเบื้องสูง ที่ทรงงานหนัก เพื่อราษฏร มาทั้งชีวิต

แม้จะเปลี่ยนแนวทางด่วน ก็ยังมิบังควรเลย และจริงๆ ไม่ควรเฉียดใกล้ แต่แรกด้วยซ้ำ แล้วรัฐบาล ที่อ้างว่า มาจาก เลือกตั้ง จากประชาชน กระทำมิบังควร กับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน แบบนี้ มันดีตรงไหน ? ไม่ว่าผู้เกี่ยวข้อง จะออกมาพูด ผ่านสื่ออย่างไรก็ไม่น่าเชื่อถือ ตราบใดที่ พรก.เวนคืนนี้ ยังไม่ประกาศยกเลิก ในราชกิจจานุเบกษา และมี แผนที่แนบท้าย พรก.ค้ำอยู่

เสธ เผอิญนึกขึ้นมาได้ว่า มีบุคคลสำคัญของประเทศคนหนึ่ง โดดประชุมสภาช่วงบ่าย ต้นเดือน ก.พ. 2555 แอบไปราชการลับ ว.5 ชั้น 7 ห้องสวีท หลังประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืนนี้ เพราะทางด่วนที่จะก่อสร้างดังกล่าว เอื้อประโยชน์ต่อที่ดิน 2 แปลงของโครงการคอนโด ชื่อ หนึ่งไทยแท้ ซึ่งบริหารงาน โดยบริษัท บวกพร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งเป็น บริษัทลูก ของเครือหมื่นสิริ

แถมแปลนทางด่วน ยังกำหนดจุด ทางขึ้นลง ตรงที่ดินนั้น พอดีเป๊ะ !! ซึ่งหากโครงการ ทางด่วนนี้สำเร็จ จะทำให้ที่ดิน 2 แปลง ของโครงการ คอนโดนี้ มีผลประโยชน์ มูลค่ามหาศาล..

@ เสธ น้ำเงิน3
https://www.facebook.com/topsecretthai

   www.asoke.info