580101-ทวช.งานว.บบบ.รุ่นที่ ๓
ต้อนรับปีใหม่ ๕๘

พ่อครูว่า วันนี้วันที่ ๑ แล้ว ก็มีเสียงพลุดังกัน เขาจะสนุกสนาน เขาก็ต้องอาศัย สิ่งเหล่านั้นอยู่ เด็กก็ต้อง อาศัยการเล่น ไม่ว่าสัตว์เล็กสัตว์น้อยก็ตาม ลึกๆสัตว์โลกต้องการ สิ่งที่รู้สึกพอใจ เรียกว่า บำเรออัตตา มันเกิดมาด้วย อวิชชา แล้วสร้างอัตตา โดยไม่รู้ตัว อย่างพีชะ ไม่มีอัตตาเพราะไม่มีรักมีชัง มีแต่อันนี้ใช่ อันนี้ไม่ใช่ แล้วก็รับมาสังขาร รูป ส่วนสัตว์เริ่มมีอัตตา นอกจาก รับมาให้ตนแล้ว ยังมีอัตตา หยั่งลง ยึด ตั้งลงในจิต

จิตนิยาม มีลึกถึง ๓ ชั้น (กาม รูป อรูป) (consciousness  subconsciousness unconsciousness) พีชะนิยาม ไม่ถึงอรูป ไม่มีสัญญาหยั่งถึง มันมีกิริยานะ พืช เคลื่อนไหวของมันเอง แต่ไม่มีธรรมะ มันจะไม่สั่งสม แต่ที่ทรงไว้ เรียกว่าธรรมะ มีในสัตว์เป็นต้นไป พีชะ กับ จิต ตัดกันที่มีธรรมะหรือไม่ เมื่อเป็นจิตนิยาม จะสั่งสมอัตตาได้ แต่พีชะไม่สะสมอัตตา ไม่มีเวทนา  มีแต่สัญญา กับสังขาร ปรุงแต่งกับกำหนด 

ตัวธรรมะนี่ ตอนแรกจะเป็นอวิชชา เป็นสัญชาติญาณ เกิดโดยอัตโนมัติไม่รู้ กว่าจะมาเรียนรู้เป็นสัตว์ แม้อเวไนยสัตว์ ก็ไม่มีปัญญาเรียนรู้ ถึงระดับธรรมะ คนจะเรียนรู้ ถึงระดับธรรมะต้องมีญาณปัญญา อ่านเข้าไปรู้ถึง ธรรมายตนะ กับ มนายตนะ หรือ มโน ซึ่ง มโน เป็นแกนกลางจิตเลย

จิต มโน วิญญาณ มันมีสภาพภาวะซับซ้อน  มโนนี่ขั้นอรูป ส่วนกามภพ ก็ระดับจิตสำนึก เป็นระดับ วิญญาณ ถ้าลึกมาเป็นจิต ก็เป็นธาตุรู้รวม  แล้วลึกถึงแกนจิตสุดท้าย ถือว่าไม่เกี่ยวกับ สภาพข้างนอก เป็นเศษธุลีสุดท้าย เป็นขั้น อรูปสัญญี เป็นขั้นสุด ผู้มีก็สามารถอ่าน วจีสังขารได้

มนายตนะกับธรรมายตนะ ทำงานร่วมกันนี่ ในระดับอรูป ผู้ใดมีญาณ หยั่งรู้อรูป ได้นั้น ก็เพราะว่า เราได้ฝึกอย่างสัมมาทิฏฐิ ฝึกสังกัปปะ ๗ เป็น อ่านจิต ตักกะ  แล้ววิตก วิจัย วิจาร ได้ คือเมื่อจิตดำริแรก ก็อ่าน วิจัย จัดการพฤติกรรม อภิสังขาร ตามความรู้ ความสามารถของเรา เรียกว่า สังขาร หรือเรียกว่า เพ่งรู้ เพ่งเผา เพ่งกำจัด เพ่งชำระ(ปุนาติ) หรือปหาน

เมื่อวานเราพูดถึง วิโมกข์ ๘ วันนี้มาพูดอีก ให้ละเอียด

ผู้ใดสามารถอ่าน ดัก วจี เรารู้สึกตัว ในวจีสังขาร แล้วไม่ให้มันออกมาเป็น กายกรรม วจีกรรม ใครดักได้ทัน ยั้งไว้ได้ แล้วประมาณอีก ให้มันเบาหรือแรงกว่านี้  มีไหวพริบว่า จะเลือกคำพูดว่าให้เอาระดับไหน ผู้ดักทำได ้คือ อ่านสังกัปปะได้ ใช้จิตตน ทำกับจิตตนได้ คือผู้มีบารมี ส่วนผู้ทำไม่ได้ ก็ไม่มีบารมี มันจะออกมา โดยสัญชาติ หรือสัญชาติญาณ  เป็นอัตโนมัติ เราไม่มีจิตเร็วไวพอ เรียกว่า ชวนจิต ที่เป็น มุทุภูตธาตุ ที่จะเจริญด้วย มุทุภูเต ทั้งเจโต และปัญญา รู้ก็เร็ว ปรับก็ง่าย  จะเป็นได้ต้องฝึก พวกเราหากพากเพียร ก็จะได้

สังกัปปะ ๗ คือการทำใจในใจ เราจัดการเป็นช่าง เป็นศิลปิน จัดการองค์ประชุมจิต ระดับสังกัปปะ ที่เป็นกายในกาย ที่ลึกระดับอรูป .....ใครตามเข้าใจได้บ้าง อธิบายเช่นนี้

เราจะทำ สัมมาสังกัปปะ เราต้องรู้ธาตุที่เป็น อารัมธาตุ อารัพธาตุ แล้ว เป็นตัวที่ ๔ คือปรักกัมธาตุ ก็จะมาสร้าง เส้าใหม่ ก็เกิดถามธาตุ ฐิติธาตุ มีกำลังตั้งฐานที่มั่นอีก ก็เป็นสองเส้า แล้วมีกำลังสูง เหมือนน้าว สายธนู ให้ลูกธนูพุ่งออกไป ที่จะเป็นตัวที่ ๗ เรียกว่า ความสำเร็จของจิตที่ได้ เป็นธาตุพยายาม เป็นสัมมาวายามะ ผู้ใดจัดการได้ ยิ่งเรารู้จุดเริ่ม อารัพธาตุ (ไม่มีอารมณ์เหมือนพีชะ) แล้วมีอารัมภธาตุ (อารมณ์) มี นิกกัมธาตุ

นามคือธาตุรู้ รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ ในรูป ๒๘ มีมหาภูตรูป อยู่ภายนอก ส่วนปสาทรูป นี่กึ่งกายกึ่งจิต หากไม่มีจิต เข้าไปทำงานกับประสาท มันก็ไม่เกิดวิญญาณ แม้ร่างกายเรามีประสาท อยู่ในร่าง แต่ไม่ทำงาน มันก็แปะ กันไว้เฉยๆ แต่เมื่อไหร่มันคน ก็มีรูปนามที่สังขาร เป็นรูปกาย คือเริ่มสังขารแล้ว เกิดจิตรู้ แต่ถ้าเป็นนามกาย ก็เป็นความรู้สึกเต็มเลย นามกาย คือจิตสังขาร รูปกาย คือกายสังขาร

แล้วในกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร เมื่อคนทำนิโรธได้ อะไรดับก่อน ....ก็วจีสังขารดับก่อน นั่นคือ การทำงานใน สังกัปปะ ๗  ก็จัดการวิตก วิจาร รู้จักจิตดำริ แล้วอ่านองค์รวมของความนึกคิด รู้เหตุปัจจัย ว่าเป็นกาม หรือพยาบาท แล้วเปลี่ยนพฤติ ของมันได้ ที่เป็นความเคลื่อนไหวของมัน เราก็จับมันได้ แล้วจัดการให้ดีได้ เป็นพฤติที่จะให้มีอย่างยิ่ง ก็เป็นวิจาร ทำได้สำเร็จก็เป็น สัมมาสังกัปปะ แล้วไปผ่านด่าน การกรอง เป็นความละเอียดอีกขั้น ทำได้ก็ละเอียดขึ้นๆ จนผ่านไป ระดับแรกก็ อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา สามชั้น ก็สะอาดสุดยอด แล้วเป็น วจีสังขาร

ผู้จะนิโรธเป็น ต้องจัดแจงตัวนี้ ก่อนอื่นในจิต เป็นวจีสังขาร และอยู่ในกายด้วย เกิดใน มนายตนะ กับ ธรรมายตนะ เป็นอายตนะสุดท้าย แล้วพอเป็นวจีสังขาร ก็คือสำเร็จ เป็นนิโรธที่วจีสังขารดับ พอเสร็จแล้ว ออกมาเป็นวจีกรรม ที่ท่านเรียกว่า ออกจากนิโรธ พวกฤาษี จะดับจิต ไม่รู้จักวจีสังขารหรอก เข้าใจสังขาร ไม่ถ้วนรอบ หรือเอาวจีสังขาร ไปปนกับวจีกรรม เพราะไม่รู้ว่า วจีสังขาร เกิดที่ไหน หทยรูปที่ไหน ก็ไม่ชัด

กายสังขาร คือสภาพของรูป ๒๘ ครบหมด ทั้งดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมองค์ประกอบครบ ก็เกิดกายสังขาร แล้วถ้าจะควบคุม ก็ปุถุชนก็ระงับ ควบคุมได้ ตามมารยาทสังคม ระดับสามัญสำนึก เป็นวิกขัมภนปหาน กดข่ม แต่พอผู้ศึกษาเข้าใจ จักขายตนะ รูปายตนะ เกิดกายสังขาร ตา หู  จมูก ลิ้น กาย มีคู่กระทบ คือ รูป เสียง กลิ่น  รส สัมผัส ก็เป็นอายตนะ ๑๐ ก็เหลืออายตนะ ๒ คือ มนายตนะ กับ ธรรมายตนะ เป็นขั้นอรูป

ผู้เรียนรู้ในกาย ก็จะระงับกิเลส ในส่วน ภายนอก จนถึง กายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ก็ขึ้นกามคือสำนึก เป็นภพนอก ขั้นที่ ๑  แต่พอขั้นที่ ๒ ทำได้แล้ว ก็ไม่ต้องทำอีก คืออนาคามี เป็นผู้มีนิโรธ จะเป็นได้ ต้องดับ กายวิญญาณ ที่เกี่ยวกับภายนอก ทำนิโรธได้ ต้องอนาคามี แต่ถ้าไม่ถึงอนาคามี ก็ได้แค่วิราคะ บรรเทา ยังมีเวียนกลับได้ แต่ถ้านิโรธนี่ ดับขั้นไม่เวียนกลับ นิยตะ แต่อรหันต์นี่ ก็ยิ่งแน่นอนว่า ไม่เวียนกลับ

เมื่อออกจากนิโรธ อะไรเกิดก่อน ก็จิตสังขาร ซึ่งมนายตนะ กับ ธรรมายตนะ เป็นจิตสังขารข้างใน แต่ถ้าจะออกมาภายนอก ต้องเกิดจากจิตก่อน ผู้ไม่สัมมาทิฏฐิ ก็จะพูดนิโรธ แบบเข้าๆออกๆ แต่ที่จริง คือลำดับ การเข้า การออก ของคำว่ากาย ที่พระพุทธเจ้าว่า หายใจเข้า ก็รู้ว่าเข้า หายใจออก ก็รู้ว่าออก ไม่ได้หมายถึงแค่ร่าง เท่านั้น แต่คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขารด้วย

ผู้จะรู้ ต้องดับกามภพได้ แล้ว ตัวรูป (subconscious) ก็จะออกมา ให้รู้ถึงภายนอก แม้อนาคามีก็เรียนรู้จิต รูปาวจร แล้วกำจัดกิเลส รูปาวจร ขณะมีองค์ประกอบนอกครบ ในครบ แต่กิเลสที่จะไปปรุง ร่วมกับ ภายนอกนั้น ไม่มีแล้ว ตา ก็กระทบรูปปกติ แต่กิเลสไม่มีไปปรุงแล้ว นิโรธแล้ว จึงมีการสังขาร ได้อย่างแคล่วคล่อง ทำให้ปริโยทาตา ปริสุทธา มีมุทุกัมมัญญา

พระอนาคามี มีการรู้ภายในได้ดี สัมผัสแล้วรู้ใน ก็ตรวจสอบ อากาสาฯ วิญญานัญจาฯ อากิญจัญญา  เนวสัญญาฯ  พระอนาคามี อยู่เหนือกิเลสกาม ล่วงพ้นกามสัญญา เข้าสู่รูปสัญญา ล้างรูปสัญญา พ้นปฏิฆะสัญญา เหลือแต่อัตตาข้างใน กำหนดได้ว่า โอฬาริกอัตตา เราดับได้แล้ว ทำมนสิการได้ เราก็อมนสิการ เป็นอปุญญะแล้ว รู้จัก รู้แจ้ง รู้จริง ใจเป็นจริงด้วย การไม่ใส่ใจใน นานัตตสัญญา ก็คืออัตตานอก เราดับได้แล้ว รู้แจ้ง รู้ดี แต่อุเบกขาได้แข็งแรงเลย

ผู้ล่วงพ้นในขั้นอากาสาฯ นั้นไม่มีกามราคะ ปฏิฆะ ตัวโทสะ ปฏิฆะไม่ต้องมีเลยได้ แต่โลภะราคะ ก็ยังต้องอาศัยอยู่ ก็เป็นขั้นตอน จนดับรูปสัญญา ก็คือ อนาคามีแท้ เหลือแต่อนุสัย เศษธุลีละอองจริง โดยไม่ได้ทิ้งรูป ๒๘ การปฏิบัติธรรม ของพระพุทธเจ้า มีทั้งวิญญาณ และสัญญา แต่ว่าฤาษีจะมีแต่สัญญา ไม่มีกายครบพร้อม นอกและใน หรือมีจิตเป็นวิญญาณ ที่ต้องรวมนอกและในด้วย แต่ในรูปภพ อรูปภพ ก็ไม่มีวิญญาณ มันมีแต่สัญญา ไม่ได้ไปรู้วิญญาณตอนตายหรอกนะ

ใครเห็นผี นอกตัวไม่มีหรอก ใครกลัวผี ก็เดินเข้าไปหามันเลย ท่องไว้ว่า แค่ตาย คนเห็นนั้นมันเป็น มโนมยอัตตา ซึ่งมีเป็นธรรมชาติ ของทุกคน เป็นอัตตา ที่ปรุงแต่งเองในจิต ในฝันนี่มโนมยอัตตาทั้งนั้น จะให้เกินจริงอย่างไร ก็ได้ตามใจ  ถ้าเราเข้าใจจะรู้ว่า ภาวะนิโรธ เป็นอย่างไร จะเข้าใจสังขาร ๓ อวิชชา มีสังขารเป็นปัจจัย หากมีวิชชา ก็จะสังขารได้ดีขึ้น ผู้จะสังขารได้ดี ต้องรู้วิญญาณ ที่เป็นนามธรรม เกิดเมื่อมีผัสสะภายนอก แล้วเกิดอัตตาภายใน มีระดับหยาบ หรือ กลางละเอียด

รูปที่รู้ด้วยตา เห็นเส้นแสงสีเสียง คุณก็กำหนดเอาเอง เป็นอินทรีย์ ขนาดของมัน มีความต่างเป็นลิงค มีสองเพศคือ อิตถีภาวะ และปุริสภาวะ ที่บอกสภาวธรรม ไม่ใช่แค่รูปหยาบ หญิงชาย แต่หมายถึง ภาวะจิต ที่มีสูงสุด เป็นปุริสสัตตมะ คือปริสภาวะ ที่อยู่สูงสุดอุตตมะ อ่านได้ในส่วนตน เอโก จับสักกายะได้เมื่อไหร่ คือหทยะ (สถานที่-วิหารติ) มันเป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม ใครจะไปกำหนด ที่ห้องหัวใจ ก็แค่ใช้งาน อย่านึกว่า เป็นรูปจริงๆ

มันมีชีวิตเท่าไหร่ แรงเบา มีอิตถินทรีย์ ก็ยังดิ้นอยู่ จนกว่า จะหมดดิ้นสงบ เป็นปุริสภาวะ เราต้องฆ่าชีวิต สัตว์โอปปาติกะ พอฆ่าได้ ก็เป็นวิสังขาร ก็มาอยู่อาศัย (หาร) ส่วนผู้อวิชชา ไม่รู้หทยรูป มีกิเลส เป็นเจ้าเรือน ก็อาศัย กวฬีการาหาร อาศัยอย่างอวิชชา แต่ถ้าผู้ทำได้ ก็อาศัยอย่างเหมือนมัน เป็นปุริสัตตมะ ทำไปตามกรอบ ปริเฉทรูป เราไม่เก่ง ก็ทำได้แต่ในหมู่กลุ่มเล็ก หรือรอบวงเล็ก แล้วค่อยขยายไป ทำให้มันว่าง เป็นอนันโต อากาโสติ เก่งขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายก็จบที่ ปริเฉทรูป ควบคุมวิญญัติได้ ทั้งกาย และวจีวิญญัติ ก็ควบคุมจากภายใน แล้วค่อยออกมาเป็น กายกรรม วจีกรรม แต่ถ้าอยู่ภายใน คุณจัดการ กับมันโดย วจีสังขาร ผู้ปฏิบัติธรรม มีนิโรธ จึงดับที่ วจีสังขารก่อน มาการดัก การกรอง วจีสังขาร เป็นตัวท้าย ก่อนปล่อยเป็นกรรม ถ้าจัดการทำจิตสังขารเก่ง ก็คือทำ สังกัปปะ ๗ แล้วผู้มีนิโรธ จะควบคุมวจีสังขารได้ วจีสังขาร จึงเกิดตามหลัง จิตสังขาร กายสังขาร

ไปดูที่อากาสาฯ วิญญานัญจาฯ กัน
ดิน น้ำ ไฟ ลม มีอากาศธาตุแทรกอยู่ เป็นที่ๆนาม จะไปเชื่อมต่อด้วยกับ มหาภูตรูป ครบทั้ง ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสธาตุ และวิญญาณธาตุ อากาศเป็นธรรมายตนะ ส่วนวิญญาณเป็น มนายตนะ ในขณะที่เป็นอรูปฌาน จึงลึกถึงอากาสาฯ อากาศเป็นรูป เมื่อทำให้พ้นได้ ตั้งแต่กรอบเล็ก จนถึงกรอบใหญ่ หลายปริเฉท รวมเป็น content ก็ทำได้เก่ง ตามบารมี ทำให้ว่างได้ รวมเป็นบริบท เราต้องประมาณตนว่า ตัวเราก็เท่านี้ อย่าประมาทอวดดี

จากอากาศก็ถึงวิญญาณ เราอนุโลม ไปสังขารกับเขา แล้วเราแลบเลีย ก็ให้รู้ อย่าประมาทไปเล่นเชียว ก็อ่านรู้เร็วไว ควบคุมยับยั้ง หรือให้มันแข็งแรงได้ เราทำให้มันเป็นนักรบ ที่แข็งแรงเป็นสมาทหัง อ่านวิญญาณ ก็สะอาดอยู่ ทำความบริสุทธิ์ แม้จะปรุงแต่งไปกับเขา

ทำให้ทรงวินัย แล้วถึงมีเรือนว่างอาศัย เรือนว่างนี้ เป็นนามธรรมนะ เป็นที่อาศัยของนามธรรม คุณก็อาศัย เรือนใจ เป็นวิญญาณ วิญญาณก็เป็นเรือนว่าง แข็งแรงขึ้น ทำงานให้สังคมดีขึ้นๆ นี่คือความเจริญของ ลักษณะธรรม อนุโลมปฏิโลมได้ ก็ระวังบัญญัติวินัย ทรงวินัย ก็จะอนุโลมปฏิโลมได้ดี มีวิตกวิจาร ถึงอุเบกขา เร็วไว ไม่ได้คิดถึงปีติสุข สักเท่าไหร่ แต่มันมีเลี้ยงเรา อย่างผรณาปีติ เป็นพลังแฝง เป็นมโนวิญญัติ ของใครของมัน ไม่มีใครล่วงรู้ได้ แล้วเราก็อภิสังขาร ของเรา ซึ่งอเนญชาภิสังขาร นี่สั่งสมให้เป็น องค์คุณอุเบกขา ดีขึ้นๆ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา 

จะรู้โทษของ ความประมาท จะลดความอยากได้หน้าตา จะเห็นโทษภัย ของความประมาท ไม่หลงโลกีย์ อยากเด่นดังอะไร พระพุทธเจ้าตรัส ความไม่ประมาทนี่ เป็นธรรมสุดยอด ในอุปกิเลส ๑๖ ตัวท้าย มี มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ตัวมานะนี่ ดีประโยชน์ แต่ถ้ายึดก็เป็น มทะ มัวเมาเลย มีทั้งหยาบละเอียด แต่นี่เป็นเมาละเอียด คือ มทะ  (สุราเมาหยาบ –  เมรยะ คือเมาระดับกลาง ข้างนอกรู้ร่วมด้วย –มาเมาระดับมัชชะ ก็เมาระดับละเอียด) 

ระดับละเอียดลึกเข้าไป ก็ไม่มีภาษาจะพูดกันแล้ว อากิญจัญฯ คืออะไรล่ะ ที่จะไม่ให้มี ในอานาปานสติ ตัวที่ปัสสัมภยังจิตตัง (ทำจิตให้สงบรำงับ) และอภิปโมทยังจิตตัง คือรักษาจิตให้เบิกบานร่าเริง ให้เบา ลหุตา เท่าที่เราอาศัยได้ บางคนแล้วแต่จริต ต้องอาศัยแรงเบา ไม่เท่ากันแต่ว่าต้องมีทิศทาง ไปหาความเบา รู้สภาวะ แววไวเร็วไว ดัดได้ เป็นมุทุตา ก็สามารถทำกัมมัญญตาได้ อย่างมีสัปปุริสธรรม จะรู้ขนาด จัดสรรนอกใน ได้สัดส่วน ทำให้เจริญ อุปจยะ จะตัดก็ได้ ก็ตัดสันตติได้ เราตัดเอง เราเป็น อมตบุคคล เรากำหนดกรรมได้ เป็นผู้มีกรรมอยู่ในกำมือ ไม่มีใครล้างกรรม จัดกรรมให้เรา ไม่มีใครมาเป็น เจ้ากรรมนายเวรเรา เราเป็น เจ้าของกรรม กัมมสโกมหิ กัมมทายาโท กัมมโยนิ กัมมพันธุ กัมมปฏิสรโณ  กำหนดตายเกิดได้

คำว่าปรสัตตานัง คือเราเป็นผู้รู้ความต่าง ว่าอันนี้เบาหรือแรง อ่อนหรือแข็ง เรากำหนดเองได้ ตามบารมีจริง ไม่ประมาท ประมาณได้สัดส่วน แล้วน้อยไว้ ไม่ทำมากเกิน ไม่ขาดทุน แต่ถ้าใครมาก แล้วจะพลาด ใครเข้าใจรู้ดี จะอัปปิจฉะ อยู่กับความน้อยก็พอ ไม่ใช่ว่า มีมากแล้วพอ คนมีธาตุจิต มักน้อย จึงเป็นลูก พระพุทธเจ้า แต่ก็ไปกับเขาได้ เขาจะมาก เราก็น้อย แต่ไปกันได้ แม้จะอุปจยะ ทำสันตติอย่างไร ก็ต้องมีชรตา ไปตามลำดับ ทุกอย่างไม่เที่ยง เหตุปัจจัยบางอย่าง ทำลายได้ เราต้องรู้ให้ทัน ต้องศึกษาฝึกฝน ลักขณะรูป ๔ จึงเป็นเครื่องอาศัย ของอาริยะ คนประมาท ก็จะต่ออย่างห่ามๆ แต่คนไม่มีตัวตน อยากเด่นดังอะไร ท่านก็ไม่เสียท่า แล้วจะไม่น้อยไป จนไม่พอ ท่านทำได้ผลพอดี จะประมาณตน ว่าเสี่ยงไปไหม หากเสี่ยงไป จะไม่ทำ ถ้าเสียท่า จะสะสมอัตตา ก็ไม่ทำ สัจจะจริง ของคนไม่มีอัตตา จะไปเสี่ยงทำไม ในประโยชน์ท่าน ทั้งนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า อย่าพร่าประโยชน์ตน เพราะประโยชน์ผู้อื่น แม้มาก คนรู้แจ้งเห็นจริง ไม่ได้อยากใคร่ได้อัตตาใส่ตน จะไม่ประมาท รู้คุณโทษของสิ่งเกิด ว่าเป็นโทสะ ราคะ โมหะ แต่ถ้าไม่เป็น เราจึงจะต่อ ต้องมีจริง จึงจะต่อได้

สรุปว่า ผู้ที่รู้รูป ๒๘  ในมรรคก็คือ ถึงปริเฉทรูป  ส่วนวิญญัติ(ใน) จะอยู่ในวิการรูป ผู้ใดจะให้เกิดให้ต่อก็ทำ แต่แน่นอนว่า มันก็มีชรตา แต่ต้องมั่นใจ แน่ใจว่าเที่ยงจึงทำ เราก็จะไม่มีอนิจจตา แต่ต้องระวังว่า สุดท้ายก็ อนิจจตา

ผู้ที่รู้อย่างที่อาตมาว่านี่ ต้องรู้ แบบไม่รู้ไม่มี ให้เป็นเอกบุรุษ จึงจะพ้น เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา (ภพ) สู่สัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาทำงานหนัก ตรวจสอบครบ เป็นนิโรธเด็ดขาดพ้นอาสวสะ โดยมีมนายตนะ ธรรมายตนะ ทำงานอยู่ จนบริสุทธิ์บริบูรณ์จริง แล้วเที่ยงแท้ ทุกผัสสะ ทุกปัจจุบัน ความจริงว่าสูญแน่ จนเป็นอัตโนมัติ มันมาแรงเบาแค่ไหน มาเหลี่ยมไหน มันก็มีกลไก ธรรมจักรทำงาน จัดการให้ศูนย์ได้ ทุกปัจจุบัน ความจริงแข็งแรงมั่นคง เป็นคุณนิธิ ของคุณวิเศษแรงพอ ทำได้อย่างเป็น พลังงานบวกลบ ต้องการให้เป็นอย่างไร ก็ได้ อดีตก็สูญ อนาคตก็สูญ อนาคตไม่เคยมี มาถึงก็เป็นปัจจุบัน เราก็ทำให้สูญได้เสมอ เป็นเช่นนั้นเอง ตถตา

ตถตามีสามนัย

๑. ตถตายถากรรม พวกตรรกะ จะใช้แบบนี้ ไปเป็นเรื่องนอกตัวหมด ห่านมันคอยาว มะม่วงมันต้นโต แต่ลูกเล็ก ฟักทองต้นเล็ก ลูกโต นี่ก็ตถตา แบบยถากรรม

๒. ตถตาแบบมรรค คือเริ่มรู้สักกายะ รู้ทหยรูป มีอิตถีภาวะเช่นนี้ ไม่สงบ แต่ถ้าทำสงบได้ ก็เป็นเอง ปุริสภาวะ พอเรารู้ตัว ผีก็ตัวเดียวกับ อิตถีภาวะ ตัวหลอกที่สุด คือมายา แต่เป็นแม่ของ พระพุทธเจ้าเลยคือ สิริมหามายา แต่ที่จริงคือ ตัวทำให้เกิด มีธาตุแห่งความเกิด อิตถีภาวะ แต่ถ้าหมด ธาตุแห่งความเกิด ก็เป็นปุริสภาวะ คุณรู้ผีตัวแรกเลย ก็คือรู้ว่า สักกายะ ยิ่งเป็นตัวแรกๆ ที่รู้เลยเป็น First impression เลย ว่ามันเป็นเช่นนี้เอง หรือผี เป็นอิตถีภาวะ โลภะ ราคะ โทสะ มันเกิดธาตุรู้ สัมผัสแรกพบเลย ก็เลยรู้ว่า เป็นเช่นนี้เอง ตถตา

๓. ตถตาปรมัตถ์ คือ ตถตาแบบผล คือได้ผลแล้ว เป็นเองแล้ว เป็นกตญาณ จบ ไม่ต้องทำอะไร ให้มันเป็นอีก เป็นตถตาปรมัตถ์

อาตมารู้รากของบาลีนะ แต่มันเลือนไปแล้ว เช่น
ก คือเริ่ม
ข คือคู่ของมัน
ค คือก่อร่างสร้างเรือนแล้ว

ปีนี้วันนี้ วันที่ ๑ มกราคม อย่ารู้แต่ภาษา แต่ไม่ได้สภาวะ นักอภิธรรม จะรู้ภาษามา จะไม่รับอาตมา รับได้ยาก เพราะคิดว่า ตนเองเก่งกว่า ผู้ใดรับอาตมาได้ มีปรโตโฆษะ โยนิโสมนสิการ ก็จะมีสัมมาทิฏฐิ เพิ่มขึ้นๆ พวกเราที่มาเรียน ว.บบบ.

สารอโศก เล่ม ๓๓๗