งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ ๓๗ ที่ พุทธสถาน ศาลีอโศก
 ธรรมที่เป็นพุทธ ตอนที่ ๒ |
560226_สรุปเนื้อหา ทำวัตรเช้างานพุทธาฯครั้งที่ ๓๗ โดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์

ชาติ เป็นการเกิด ถ้าการเกิดของกาม เรียกว่า ชาติของกาม ยังมีชาติของพยาบาท ที่เกิดมา มีอาการ มีภาวะคือ ความปรากฏมาให้เราเห็น ตัวนี้แหละ ที่เรียกว่า อัตตา บางทีก็สับสน เพราะ พระพุทธเจ้า ท่านแจกไว้ว่า กิเลส มีกาม กับ อัตตา แต่ก็เหมือนกัน ในเนื้อแท้ที่แยก อย่างไม่ติดภาษา ลักษณะของอัตตาที่เป็นกาม มีภาวะที่ต่างกัน กามนั้นกว้าง แต่อัตตานั้นลึก

กามนั้นกว้าง คือเอามาเป็นสิ่งที่จะเสพ อยากได้มา โลภก็เป็นกาม ราคะก็เป็นกาม ราคะอยากได้มาเสพรส โลภอยากได้มาเป็นเรา ส่วนโทสะหรือพยาบาท คือตัวไม่ชอบใจ รุนแรง ทำร้ายทำลาย อาการเกิดทางนามธรรม พวกนี้แหละ ที่เราต้องเรียนรู้

ในพระไตรฯเล่ม ๑๖ ข้อ ๔ นามธรรม มี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ

พระพุทธเจ้าว่า จะต้องมีเหตุปัจจัยคือ ทวาร ๖ แล้วมี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ก็จะเกิดนามธรรม โดยเฉพาะ จะเกิดวิญญาณ ต้องมีการกระทบ มีผัสสะ เช่น ตากระทบรูป หูกระทบเสียง

เราเรียนอย่างอเทวนิยม ไม่ใช่อย่างภิกษุสาติว่า เราย่อมรู้เห็น พระพุทธเจ้าว่า วิญญาณนั้นล่องลอยไป แต่พระพุทธเจ้า ไม่สอนอย่างนั้น บอกว่า ภิกษุสาติ มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ว่า วิญญาณนี้ ย่อมท่องเที่ยวแล่นไป ตุ๊บป่องๆ ทีนี้เพื่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เห็นว่า ภิกษุสาติ เห็นผิดแน่ อยากให้ปลดเปลื้อง ทิฏฐิลามกนี้เสีย จึงไปสอบสวน ไล่เรียงกับสาติ ว่าท่านกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค ท่านไม่ได้สอนอย่างนั้นนะ

พระพุทธเจ้าว่า วิญญาณนั้นย่อมมีปัจจัยให้เกิด ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี ในมหาตัณหาสังขยะสูตร เล่ม ๑๒ข้อ ๔๔๐ นี่คือ เนื้อแท้ศาสนาพุทธ

พระพุทธเจ้าว่า เราจะแสดงความเกิด และความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร?

ความเกิดแห่งทุกข์นั้น อาศัยจักษุและรูป สัมผัสแล้ว เกิดวิญญาณ รวมธรรมทั้งสาม เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา นี้คือเหตุแห่งทุกข์ ดังนั้นลัดไปว่า วิญญาณมีเวทนาเป็นปัจจัย

นามรูปนั้น รูปคือ มหาภูตรูป และอุปาทายรูป ส่วนนามนั้นคือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ

ถ้าเราไม่เรียนรู้นามธรรมเหล่านี้ มันก็เกิดสังขารอยู่ ตลอดเวลา มันไม่คงที่ มันไม่เที่ยง ซึ่งในมหาจักรวาล สิ่งที่คงที่ มีอย่างเดียวคือ นิพพาน คืออนัตตา คือสุญญตา คือวิมุติ หลุดพ้นอย่างไม่กลับกำเริบ (นิจจัง ธุวัง สัสสตัง อวิปริณามธัมมัง อสังหิรัง อสังกุปปัง) อะไรๆ ก็ไม่มีเที่ยงแท้ เลยทั้งนั้น แต่สิ่งที่จะเที่ยงแท้ คือนิโรธ นิพพาน วิมุติ สุญญตา เรียกได้หลายอย่าง มีในอรหันต์เป็นต้นไป ตายแล้วตายเลย ไม่กลับกำเริบ ไม่เปลี่ยนแปลง อะไรมาล้มล้าง ความเป็นอรหันต์ไม่ได้ เที่ยงแท้ ยั่งยืน ตลอดกาลนิรันดร์

สิ่งที่ไม่มีก็มี แต่สิ่งที่จะมีอยู่ก็ยังมี คือ กายขันธ์ คือจิตที่สะอาด จะมีสภาพได้อาศัยแล้ว สำหรับอรหันต์ แต่โสดาบัน ก็มีสภาพนี้ได้ ที่ดับอบายได้ แต่ที่มีกิเลสอื่น ยังมีอีกเยอะอยู่ คือดับได้ ๑ใน ๔ จะเรียกว่า สูญ ยังยาก สกิทาฯก็ยังยาก แต่ในอนาคาก็เรียกว่า สูญได้ ถ้าแบ่งสองส่วน ส่วนนอกอย่างหยาบ ก็หมดแล้ว ไม่เป็นเหตุให้ท่าน ไม่เที่ยงแล้ว มีนิโรธในกามภพ กามาวจร ในกามทั้งหลาย ท่านหมดแล้ว ไม่มีอะไรให้ท่าน รู้สึกทุกข์สุขจากกาม ดังนั้น ผู้ที่จะรู้เรื่อง กามภพ กามาวจรภูมิ กามรส กามานุสารีย์ กามาทิกรณะ กามาวจรกิริยา กามาวัฏฏะ กามาวจรวิปาก กามุปาทาน กามาสวะ กามภิพู

กามภพเป็นคำนาม กามาวจรเป็นคำกิริยา กามาวจรภูมิ เป็นคำนาม เป็นชั้นระดับของกาม ที่ยังท่องเที่ยวในกาม ยังมีบทบาทดำเนิน(อวจร) ในพระอนาคามี ก็มีกามาวจรกิริยา มีกิริยาที่อวจรในนั้น แต่ได้แต่ว่า สักแต่ว่าอวจรอยู่ มีกิริยาอยู่ แต่ในชั้นต่ำ ก็ยังเสพกามอยู่ แต่ในกามาวจรภูมิ ของอนาคามี ก็ยังดำเนินไป ในโลกกามภพ แต่ไม่มีกิริยา ที่มีกิเลสผสม

ความไม่เที่ยง อะไรๆก็ไม่เที่ยง แม้แต่จะช้าสุด จะเร็วสุด ก็ไม่เที่ยง การไม่มีทางวัตถุ ท่านก็ไม่รับรองว่าไม่เที่ยง ท่านรับรองว่า มันเที่ยงอย่างเดียว คือไม่มีกิเลสอย่างเดียว ที่เที่ยงที่สุด นั่นเป็นการ ไม่มีเกิด “ชาติดับ”

เมื่อวานพ่อครูอธิบายสารบัญ ถึงบทที่สาม ชีวิตชาติชั่ว
ชาติที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันมีชาติ ๕ อย่าง ที่ได้เรียบเรียงไว้มาก่อน

ชาติ ๒ แบบ
๑. ชาติ = ชีวิตที่เกิด-ตาย ทางร่างกายที่เวียนวน ของสัตวโลก
๒. ชาติ = การเกิดทางใจ หรือการเกิดทางวิญญาณ คือ การเกิดทาง ปรมัตถธรรม เรียกว่า โอปปาติกโยนิ

ชาวพุทธมีบทเรียนอันนี้ เป็นอเทวนิยม คือไม่โง่ไปกับเทว ซึ่งไม่ใช่ว่า ไม่มีเทวะ และเทวนิยมคือ นิยมเทวะ แต่อเทว นั้นไม่ได้โง่ต่อเทวะ แต่ไม่โง่อย่างพ้นอวิชชา คือพ้นความโง่ คือรู้เทวาที่แท้จริง อย่างพ้นอวิชชา จึงเรียกว่า อเทวะ แต่ไม่ได้ไปแย้งเถียงโลกเขา เข้าใจพวกเทวะที่ไปยึดเป็นตัวตน มีสภาพ เช่น เทวดาที่ใหญ่ที่สุด ในจักรวาล เขาเรียกว่า “เทพเจ้า” เขาก็ว่ามีสภาพที่ คนมองเห็นไม่ได้ แต่มีตัวตน แล้วแต่ใครจะบอกว่า เป็นอย่างไร คนที่เขาเก่ง เขาพบพระเจ้า อย่าง “โมเสส” ก็พบพระเจ้า ได้บัญญัติ ๑๐ ประการ แต่ก็ไม่มีใคร กล้าบอกว่า พระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร มีโฉมกายอย่างไร ยิ่งอิสลามว่า อย่าไปพูดว่ารูปพระเจ้า ไม่มีรูปให้เคารพ พระเจ้าไม่มีรูปให้พบ อย่างนี้เรียกว่า อรูปอัตตา เป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่มาก บรมอัตตา เป็นปรมาตมัน

พระพุทธเจ้า ไม่แย้งเถียงในพลังงานภายนอกว่าไม่มี แต่พิสูจน์ได้ยาก แต่ให้พิสูจน์พลังงานภายใน เป็น กัมมโยนิ กัมมพันธุ กัมมปฏิสรโณ มีพลังพิเศษ เป็นปรมาตมัน ของใครก็มีของตน มีฤทธิ์ในตน บันดาลให้ตนได้ ถ้าพลังทางดี เรียกว่าพระเจ้า ถ้าให้ผลไม่ดี เป็นพลังงานไม่ดีก็เป็นบาป ให้ผลต่อตน เป็นที่พึ่งของตน ใครมีพลังชั่วเป็นบาป ก็ได้พึ่งกามบาป (กัมมปฏิสรโณ) สรณะแปลว่า สงคราม ถ้าทำสงครามให้ลดลงก็เป็นกรณะ เป็นกิจที่ควรทำ ใครไม่รู้ก็จะทำสงคราม(สรณะ) อยู่เป็นสิ่งชั่ว ถ้าทำดีลดสงคราม ก็เป็นกรณะ จนหมดสงครามก็เป็น “อรณะ” เป็นจิตอรหันต์ ไม่มีการรบ สงครามไม่มีสำหรับเรา จิตที่ไม่มีสงคราม เป็นจิตที่เที่ยง เราไม่สามารถรู้ พลังที่ล่องลอยออกไป แต่เราเรียนรู้ที่อยู่ในตัวเรา ในคูหาสยังนี้ นอกจากในคูหาสยัง เรียนรู้ จัดการมันไม่ได้ มนสิการมันไม่ได้

ในคูหาสยังนี้ มีอิธะ พรหมจริยวาโส คือที่ๆจะสร้างพระพรหม มีที่เดียว คือ กายยาววา หนาคืบ กว้างศอก พร้อมสัญญา และใจนี้ ที่สร้างพรหม คือจิตที่สะอาดบริสุทธิ์ นอกจากนี้ สร้างไม่ได้ เพราะมีทวาร ๖ ให้วิญญาณออกมาปรากฏ จึงต้องมีผัสสะ เป็นอุบายวิธี ของพระพุทธเจ้า

นพระไตรฯข้อ ๔๓ เล่ม ๑๖ วรรคหลัง ท่านว่า “ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลก (โลกสมุทัย) ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก (โลเก นัตถิตา) ย่อมไม่มี (น โหติ)
เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก (โลกนิโรธ หรือโลกอมตะ) ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลกย่อมไม่มี โลกนี้โดยมาก ยังพัวพันด้วยอุบาย อุปาทาน และอภินิเวส แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ ซึ่งอุบาย และอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิต ว่าอัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัย ว่าทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ พระอริยสาวกนั้น มีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฐิฯ

ในมูลสูตร คนที่ยินดีในกุศลธรรม ในธรรมะขั้น พาบรรลุนิพพาน เช่น คนมาปลุกเสกฯนี่ ต้องมีฉันทะ ใครอยู่บ้านดูทีวี ก็ได้ แต่ไม่เท่ากับ มาปลุกเสกฯ พุทธาฯ เพราะมีองค์ประกอบ กิจกรรมหลายอย่าง คนที่จะมา ต้องมีฉันทะ 

ถ้ามีกองเพชรเท่าภูเขา กับกองปรมัตถ์กองเล็กๆ คนเห็นสองกองนี้ แล้วมายินดีกองปรมัตถ์ มากกว่ายินดี กองเพชรเท่าภูเขานั้น ต้องมีภูมิ มีฉันทะ ต้องมีปัญญา มันเป็นแสงเงินแสงทอง เป็นแสงอรุณ ที่มาก่อนพระอาทิตย์ คือมิตรดี ของเราเป็นกลุ่มมิตรดี กัลยาณมิตโต คือจิตใจ (คำว่ามิตรคือจิตใจ จิตที่แท้ที่ดี) ส่วนสหายโย คือผู้มีประโยชน์ร่วมกัน ส่วนสัมปวังโก คือองค์ประกอบร่วม คือสังคมสิ่งแวดล้อม

เริ่มต้นที่มิตรดี ต้องอยู่กับหมู่ดี หมู่บัณฑิต อย่างน้อยต้องมีผู้ สยังอภิญญา เป็นมิตรดีคนแรก พระพุทธเจ้าว่า เราเป็นกัลยาณมิตร ของเธอทั้งหลาย ต่อมา ก็ต้องพากันมีศีล เป็นแสงอรุณข้อที่สอง การศึกษาของพุทธ มีอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ในพระไตรฯ จะมีว่า เกิดพระพุทธเจ้า จึงเกิดมีศีล แล้วจะมีจรณะ ๑๕ ตามมา โดย พระพุทธเจ้า ให้กำหนดศีล ตามควรแต่ละคน จากนั้นก็ สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ เป็นภาคปฏิบัติต่อไป

เข้ามาสู่การเกิด คือ ชาติ ... เมื่อเราได้รู้จักรูป-นาม ที่เป็นเหตุ ผู้ที่ไปพัวพันในอุบาย อุปาทาน อย่างไร
อุบายคือกลไก ถ้าทางนามธรรม คือเชิงคิด คือสูตร คือวิธีการต่างๆ ซึ่งคนไปติด ในกลไกตรงนี้ ติดในลัทธิศีลพรต ในความเห็นทิฏฐิ ทฤษฏี เขาไปติดในอุบายนี้ บางคนไม่ค่อยรู้เรื่อง รู้แต่ว่าอาจารย์พาทำเช่นนี้ บางคนก็ยึดทฤษฏีความเห็น ใครมาเถียงไม่ได้ ไม่ฟังเสียงคนอื่น ที่เขาปฏิบัติได้ผล

ส่วนคำว่า ไม่เข้าถึง คือ พระพุทธเจ้า และคำว่าไม่ถือมั่น ท่านว่า น อุปาทิยติ  ส่วน ไม่ตั้งไว้ คือ นาธิฏฐาติ  คือไม่ทั้งถือมั่น หรือเข้าถึง ในความเป็นอัตตา

ถ้าเราสามารถรู้อาการที่มันมี แล้วทำให้มันไม่มี ในสิ่งที่ควรไม่มี และทำให้มี ในสิ่งควรมี ทำอย่างมีปัญญา มีธาตุรู้ พระพุทธเจ้าจึงปฏิเสธ ความไม่รู้ ลัทธิอสัญญี คือลัทธิที่ไม่มีสัญญา ไม่มีกาย ไม่มีสัญญาให้ศึกษา กายอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างหนึ่ง ในสัตตาวาส ๙ ท่านจัดเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง หรือไปหลงใน เนวสัญญานาสัญญายตนสัตว์ คือสัตว์อย่างเดียวกับ อสัญญี แต่ไปหลงผิดในอรูปฌานแบบเทวนิยม ดับไป ในอาฬารดาบส ดับได้ถึง อากิญจัญญายตน แต่ยังไม่ดับได้สูงสุด ซึ่งในทิฏฐิสูงสุด ทั้งอากิญจัญฯ และเนวสัญญาฯ นั้นเป็นสัตว์อวิชชา

ในผู้มีพ้นอวิชชา จะไม่เข้าถึง ไม่ตั้งมั่นไว้  คือ น อุเปติ  น อุปาทิยติ  นาธิฏฐาติ

จริงแล้วนามธรรม คุณรักมากกว่ารูปธรรม แต่คุณไปหลงรูปธรรม เพราะนามธรรม สัมผัสยาก แต่ที่จริง คุณรักนามธรรมมากกว่า ใครจะไปรักลมๆแล้งๆก็รัก เช่นคุณรักสิ่งที่มีเหตุปัจจัย เกิดเป็นนิทานขึ้น แล้วคุณก็ฝังใจรัก ตายไปก็หอบหวง ทั้งๆที่มันเกิดครั้งเดียว แต่คุณก็หอบ ไปสร้างนิทานใหม่ ทั้งๆที่มันเปลี่ยนตัวละครใหม่แล้ว อย่างกามนิต วาสิฏฐี ซึ่งอาจทรงสภาพได้ระยะหนึ่ง อาจเป็นล้านๆๆๆปี อาจนานเท่านั้น ไม่มีอะไรอยู่นิรันดรในสิ่งมี แต่สิ่งไม่มีเท่านั้น ที่จะอยู่นิรันดร

พระเจ้าคือ พระผู้เมตตา คือพระผู้สร้าง คือพระจิตวิญญาณบริสุทธิ พระพุทธเจ้า ท่านมาพิสูจน์เรื่องจิต ที่เป็นเอกจรัง (ไปเดี่ยว)  ทูรังคมัง (ไกล)  สันติเก (ใกล้)  ไม่มีวิญญาณใดไปเจอกันได้ นอกจากคุณจะสัมผัสกัน ในขณะมีทวารทั้ง ๖ นี่คือ ความรู้พระพุทธเจ้า ที่สำคัญที่สุด ที่ต่างจากลัทธิเก่า ที่เดียวนี้ก็เพี้ยนไป ไปนั่งหลับตาอย่างเก่า

เขาอ้างว่าพ่อท่านเป็นภิกษุโปฐิละ เขาว่า ภิกษุโปฐิละว่ามีทิฏฐิมา ไปหาเณรอรหันต์ให้สอน เณรก็สอนว่า ให้ปิดทวารทั้ง ๕ เณรสอนว่า ทวาร ๖ เหมือนรูที่จะออก เช่นเหี้ยมีรูออก เราต้องปิดรูทั้ง ๕ แล้วคอยจับที่รูเดียว คือที่ทวารใจ พ่อครูว่าไม่เจอในพระไตรฯ เขาว่าพ่อครู เป็นพระใบลานเปล่า เหมือนพระโปฐิละ

พ่อครูว่าไม่มีปัญหา ถ้าจะไม่สำคัญในทวารนอก แล้วอ่านทวารใจ แต่ไม่จำเป็นต้อง ปิดทวารนอก เราก็ฟังเสียง เห็นรูปเต็มๆ เราเห็นก็ไม่สำคัญมั่นหมาย แล้วเราก็รู้การปรุงต่อเนื่อง ที่สังขารต่อไป ว่า น่าได้ น่ามี น่าเป็น หรือไม่น่าได้ ไม่น่ามี ไม่น่าเป็น กำจัดออก นั้นคือ สิ่งที่ต้องรู้ต่อไป เรากระทบภายนอก ให้รู้จริงตามจริงเท่านั้น แล้วปิด จบให้เร็ว ต่อจากนั้น ให้อ่านสังขารที่เกิดต่อไป

อเทวนิยม คือผู้ที่เข้าใจในเทวะที่แท้จริง มารคือความหลอก พรหมคือความสะอาด มีเทวะหรือพรหม ๒๐ ลักษณะ หรือพรหม ๒๐ ชั้น หรือเทวะ ๖ ชั้น ก็เป็นลักษณะเทวะ ถ้าเข้าใจไม่ถูกต้อง ก็ไปหลง ก็กลายเป็นมาร

วิญญาณต้องเรียนรู้ในปัจจุบันขณะ ในขณะมีทวารทั้ง ๖ ครบ เราจะเรียนรู้ วิญญาณสัตว์ วิญญาณเทวดา วิญญาณพรหม ก็ต้องเรียนรู้ปัจจุบันขณะ ซึ่งต้องรู้กำหนดหมาย ที่พ่อครูสอน แล้วไปมีผัสสะเอง กำหนดรู้เอง นั่นคือสัญญา แต่ว่าการฟังพ่อครูนั้น แต่ละคน จะกำหนดหมาย แตกต่างจากพ่อครู แต่ถ้ามันกำหนดตรงกันอย่างรวมๆ ยกตัวอย่าง

ในวิโมกข์ ๘ ข้อ ๑-๓ คือรูปฌาน ในข้อ ๔-๘ คือ อรูปฌาน

๑. ผู้มีรูป (รูปฌาน อันนี้ท่านอรรถกถาจารย์แปลเอง)  ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปีรูปานิปัสสติ) คำว่าปัสสตินั้น ต้องมีการกระทบทวาร ดังนั้น ในข้อนี้ ต้องรู้ว่า รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ สิ่งภายนอก เรียกมหาภูตรูป และรูปภายในเรียก อุปาทายรูป มันจะเป็นความรัก ความโกรธ เมื่อมันถูกเรารู้ มันก็กลายเป็นรูป

๒. *ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (๑๐/๖๖)  ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง  อรูปสัญญี  พหิทธา รูปานิ  ปัสสติ) . (*พ่อครูแปลว่า มีสัญญาใส่ใจในอรูป)

๓. ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ   (พ่อท่านแปลว่า เป็นโชคอันดีงาม ที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น) ข้อ ๔-๗ นั้นเป็นอรูปฌาน คือการตรวจสอบ ตรวจผ่านไปทีละขั้น

๔.ผู้ล่วงพ้นรูปสัญญา  เพราะดับปฏิฆสัญญา  เพราะ(ละ)ไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา (ท่านแปลไม่เข้าท่า)โดยประการทั้งปวง  จึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า... อากาศหาที่สุดมิได้

(สัพพโส รูปสัญญานัง สมติกกมา ปฏิฆสัญญานัง อัฏฐังคมา นานัตตสัญญานัง อมนสิการา อนันโต อากาโสติ อากาสานัญจายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ) พ่อครูแปลว่า การกำหนดรู้อัตตาต่าง ๆ จนกระทั่ง ไม่ต้องทำใจในใจ (อมนสิการ)
อัฏฐังคมา พ่อครูแปลว่า บรรลุเข้าไปถึงเนื้อหา เมื่อเรียนรู้หมดก็ นานัตตสัญญา เป็นการตรวจสอบว่า มันว่างจริงหรือไม่ ว่างจากเหตุแห่งทุกข์ ว่างอย่างอากาสาฯ แม้ที่สุด กิเลสอาสวะ ก็ตรวจสอบ มีเศษเสี้ยวเท่าไหร่ก็ตรวจสอบ ตรวจมันให้ละเอียด ไปจนถึงขั้นไม่มีรูป

จบ....

อ่านต่อ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖