560308_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครูและส.ฟ้าไท
เรื่อง อนัตตาที่ไม่ปฏิบัติจะขจัดอัตตาได้หรือ

ส.ฟ้าไทเปิดรายการที่ชั้น ๒ เฮือนศูนย์บ้านราชฯ

พ่อครูมาที่บ้านราชฯเพื่อดูแลงานตลาดอาริยะ ที่จะมีทั้งตลาดบนบกและในน้ำ ยังมีงานอีกหลายอย่าง ที่ต้องช่วยกัน วันนี้พ่อครูคงจะได้พูดคุยตอบกัน

พ่อครู... วันนี้อาจจะยากมากหน่อย แต่ผู้ที่ตั้งใจฟัง จะได้ประโยชน์
จะอ่านของคุณ 8705 ให้ฟังก่อน 

0888705xxx บุคคลทั่วไปย่อมกอร์ปอยู่ด้วยอุปาทานของอัตตา! ฉะนั้นบุคคล จึงย่อมมีความเชื่อ เป็นของตนเอง ในเรื่องของอัตตา! ซึ่งแบ่งบุคคลตามความเชื่อนี้ ได้เป็น2พวก..คือ 1.พวกที่เชื่อว่า มีตัวตน (=อัตตา)! ฉะนั้นหากตายเมื่อไร ตัวตนนี้ ก็จะต้องไปเกิดใหม่ อีกแน่นอน หรือคือเชื่อว่าตายแล้วเกิด! (=สัสตทิฐิ) นั่นเอง 2.พวกที่เชื่อว่า ไม่มีตัวตน (=นิรัตตา)! ฉะนั้นหากตายเมื่อไร ก็สูญเมื่อนั้น! (=อุจเฉททิฐิ) เพราะว่าไม่มีตัวตน ให้ไปเกิดใหม่ได้ นั่นเอง ซึ่งความเชื่อในเรื่องของอัตตา ที่แบ่งได้เป็น2 พวกนี้ (คือที่เชื่อว่ามีตัวตน กับที่เชื่อว่าไม่มีตัวตน) จึงย่อมเป็นความเชื่อ ที่ไม่ตรงกับสัจธรรม ความเป็นจริง ด้วยกันทั้งคู่! เพราะพุทธเจ้าตรัสแล้วว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา ซึ่งหมายถึงว่า การที่จะไปเกิดใหม่ ได้หรือไม่นั้น.. ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า มีอัตตาหรือไม่มีอัตตา! หากแต่ขึ้นอยู่กับว่า ยังมีเหตุปัจจัย (อวิชา,ตัณหา, กรรมวิบาก) ให้ไปเกิดได้หรือไม่เอง ตะหากเล่า! ซึ่งถ้าไม่ใช่อรหันต์แล้ว ย่อมเกิดอีกแน่นอน! แต่ถ้าหมดเหตุปัจจัย เพราะเป็นอรหันต์ เมื่อละสังขารแล้ว..จึงย่อมสูญ (=นิพพาน) แน่นอน! ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า ก็เพราะที่บุคคลทั้งหลาย กอร์ปด้วยอุปาทาน ของอัตตานั่นเอง ..จึงเป็นเหตุก่อให้เกิด ความเชื่อได้เป็น2ทาง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง คือ 1.พวกที่เชื่อว่าตายแล้วเกิด (=สัสตทิฐิ) ..ก็เพราะเหตุที่เชื่อว่ามีอัตตา ฉะนั้นตายแล้ว.. อัตตาจึงต้องไปเกิดใหม่อีก และ2. พวกที่เชื่อว่าตายแล้วสูญ (=อุจเฉททิฐิ) ..ก็เพราะเหตุที่เชื่อว่า ไม่มีอัตตา ฉะนั้นตายแล้ว.. จึงต้องสูญ! เพราะไม่มีอัตตา ที่จะไปเกิดใหม่ได้ นั่นเอง ซึ่งทิฐิที่เชื่อว่า ตายแล้วเกิด! กับทิฐิที่เชื่อว่า ตายแล้วสูญ! ทั้ง2ทิฐินี้ ล้วนเกิดจาก อุปาทานของอัตตา ทั้งสิ้น! ฉะนั้นหากว่าบุคคลใด ได้เห็นอนัตตา ด้วยวิปัสนาญาณแล้ว.. บุคคลนั้นย่อมรู้ชัด ถึงความหมายของคำว่า อุปาทานของอัตตา ดี! จึงย่อมละความเห็นผิด ที่เกี่ยวกับอัตตาได้.. ซึ่งก็คือละความเห็นผิดที่ว่ามีอัตตา กับที่ว่าไม่มีอัตตาได้ทั้ง2!.. เมื่อนั้นจึงย่อมไม่ฟันธงว่า.. ตายแล้วต้องเกิดเสมอไป หรือว่าตายแล้ว ต้องสูญอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะรู้ดีว่า ต้องแล้วแต่ เหตุและปัจจัย! และนี่แหละคือ ที่มาของความหมายของ อนัตตา! สมมุตว่า..เรามองไปที่ชายคนหนึ่ง ซึ่งหน้าตาของเขา จะเปลี่ยนไปทุกๆวินาที วินาทีที่1 เหมือนมิตร ชัยบัญชา วินาทีที่2 เหมือนสมบัติ เมทนี วินาทีที่3 เหมือนสรพงษ์ ชาตรี วินาทีที่4 เหมือนรัก รักพงษ์ วินาทีที่5,6,7,,, หน้าตาก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด แต่ไม่เคยกลับมา ซ้ำหน้าเดิมเลย ฉะนั้น จึงถามหน่อยว่า ตกลงแล้ว..ชายคนนี้ เป็นใครกันแน่? ซึ่งถ้าจะตอบว่า มิตร ชัยบัญชาก็ไม่ได้ สมบัติ เมทนีก็ไม่ได้ สรพงษ์ ชาตรีก็ไม่ได้ รัก รักพงษ์ก็ไม่ได้ สรุปคือจะตอบเป็นใคร.. ก็ไม่ได้ทั้งนั้น! ทั้งนี้เพราะอะไร? ก็เพราะหาตัวตนที่แท้จริง ไม่พบเจอ นั่นเอง ฉะนั้นซึ่งผู้ปฏิบัติธรรม หากว่าปฏิบัติได้ จนถึงขั้นเห็นรูปนาม มีอาการเยี่ยงนี้แล้ว.. ผู้ปฏิบัตนั้น จักย่อมไม่กล่าวว่า รูปนามนี้มีตัวตน! ทั้งนี้ก็เพราะว่า จะให้หายังไง.. ก็หาตัวตน (ที่แท้จริง) ไม่พบซักที ซึ่งย่อมเป็นเพราะว่า หาใช่ตัวตนไม่ นั่นเอง แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่า เมื่อหาตัวตนไม่พบแล้ว จะหมายถึงว่า ไม่มีตัวตน ดอกนะพธร.! ทั้งนี้เพราะว่า รูปนามนี้ ก็ยังปรากฏ ให้เห็นอยู่ทนโท่! เพียงแต่ว่า กำหนดเป็นตัวตน (ที่แท้จริง)มิได้ เท่านั้น ฉะนั้นสรุปก็คือ เพราะว่าพธร. ยังไม่เคยเห็น อนัตตา ของจริงนั่นเอง.. จึงยังต้องถูกอุปาทาน ของอัตตาครอบงำอยู่!. ปิดบังไว้ มิให้เกิดปัญญา เห็นสัจธรรมได้! ฉะนั้นจึงยากที่จะอธิบาย หรือสื่อให้พธร. รู้ความจริงได้ว่า มีตัวตน เป็นมิจฉาทิฐิได้อย่างไร! หรือไม่มีตัวตน ก็เป็นมิจฉาทิฐิ ได้อย่างไร! จึงขอให้พธร. ลองสังเกตดูว่า ในอภิธรรม 42000 ธรรมขันธ์นั้น.. เป็นเรื่องของปรมัตถ์ คือจิต, เจตสิก, รูป, นิพพาน ที่ล้วนเป็นอนัตตาทั้งสิ้น! จึงันแค่พยัญชนะ แต่ยังได้รู้ถึง ความหมายที่แท้จริง ของอนัตตานั้นแล้วด้วย.. จึงย่อม=ว่าผู้นั้น เรียนจบพตปฎ. ไปครึ่งหนึ่งแล้ว (=42000 ธข.) แต่ตรงกันข้าม หากผู้ใด (เช่นพธร.เป็นต้น) ยังไม่รู้แจ้งอนัตตาแล้ว ถึงแม้ว่าผู้นั้น จะอ่านพตปฎ. จบ84000รอบ และยกกำลัง2 แล้วก็ตาม.. ก็ยังชื่อว่า ผู้นั้นเรียนพตปฎ.ไม่จบ แม้แต่ธรรมขันธ์เดียว! และที่กล่าวมานี้ ก็มิได้เป็นการยกย่อง อนัตตาเกินจริงเลย! เพราะแม้พุทธเจ้า ก็ทรงยืนยันว่า หากรู้แจ้งแค่อนัตตา.. ก็เป็นสัมมาทิฐิได้แล้ว! (หรือขั้นพุทธแท้) ซึ่งเช่นเดียวกับ คำว่าบุญ ที่เริ่มมีในศาสนาพราหมณ์ก่อน แต่ภายหลัง ก็มีอยู่ในทุกศาสนา แต่คำว่ากุศลนั้น มีเฉพาะในพุทธศาสนานี้เท่านั้น! เหตุว่า ก็เพราะอาศัยอนัตตา ที่มีเฉพาะใน พุทธศาสนานี้แหละ.. คำว่ากุศล ถึงเกิดขึ้นได้! ถึงมีคำสอนว่า.. จงทำกุศล ให้ถึงพร้อม นั่นไง ซึ่งถ้าพธร.ยังไม่เชื่อ ก็ขอให้ลองคิดดูว่า.. ถ้าแม้นพุทธเจ้า จะยังไม่มาตรัสรู้ก็ตาม แต่โดยสภาวะธรรม.. ปฏิจสมุปปาท ก็ย่อมที่จะมี อยู่ก่อนแล้ว! และคำว่า ปุญญาภิสังขาร (ในปฏิจสมุปปาท) ที่เกิดขึ้นได้นั้น.. ก็เพราะมีอวิชา เป็นปัจจัย ฉะนั้น จึงย่อมชี้ชัดแล้วว่า คำว่าบุญเกิดได้ เพราะอวิชชา! แล้วถ้าพุทธเจ้า มาตรัสรู้ล่ะ! วิชชาเกิดขึ้น.. อวิชชาจึงย่อมดับไป และเมื่ออวิชชาดับไป.. ปุญญาภิสังขาร จึงย่อมดับไปด้วย! จึงถามหน่อยว่า.. แล้วยังจะเหลือคำว่าบุญ ที่คงความสำคัญ.. ในสายตา (=พระปัญญา) ของพุทธเจ้า อีกหรือเปล่า? แต่แน่นอนว่า ถึงคำว่าบุญ จะไม่ได้เกิดจากวิชชา ก็ตาม..แต่พุทธเจ้า ก็ยังให้ความสำคัญอยู่บ้าง โดยตรัสว่า ท่านทั้งหลาย อย่ากลัวบุญเลย.. เพราะบุญเป็นชื่อ ของความสุข (โลกีย์) แต่ถ้าหาก จะให้เป็นไป เพื่อลดละกิเลสแล้ว จะทรงใช้คำว่า กุศลแทน! กล่าวคือ ถ้าลดกิเลส.. จะใช้คำว่า โลกียกุศล แต่ถ้าละกิเลส.. ต้องใช้คำว่า โลกุตรกุศล อันหมายถึง มรรคญาณ นั่นเอง อธิบายมาถึงตอนนี้แล้ว.. พธร.ยังจะสงสัยอะไรอีกไหม? และต้องย้ำพธร. ซ้ำอีกครั้งว่า แม้นพุทธเจ้า จะไม่มาตรัสรู้.. แต่ปฏิจสมุปปาท ก็ย่อมมีอยู่แล้ว! รู้ไม๊ว่า หมายความว่าไง? ก็หมายความว่า ทั้งปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอเนญชาภิสังขาร ล้วนเป็นสังขาร ที่มีมาแต่เดิมของมนุษย์ (เพราะเกิดจากอวิชา).. ฉะนั้นสังขาร3นี้ จึงเกิดขึ้นได้ทั่วไป กับคนทุกศาสนา โดยมิได้ไม่เจาะจง ต้องเป็นศาสนาพุทธเลย! และเหตุที่เป็นสังขาร ที่มีมาแต่เดิมนี้เอง จึงทรงเรียกว่า อภิสังขาร เพราะว่าอภิ หมายถึง..ต้น,แรก, เดิม,ก่อน,ซิงๆ หรือถ้าจะแปลให้ชัดๆ ก็=ปฐมภูมิ หรือยังห่ามอยู่ นั่นเอง ฉะนั้นเมื่ออุตส่าห์ ขยายความขนาดนี้แล้ว จึงหวังว่าพธร. คงจะไม่มิจฉาทิฐิ ต่อไปอีกนะว่า อปุญญาภิสังขาร เป็นของอเสขะ (=อรหันต์)! ถ้างั้น ยังจะเหลือที่ให้สังขารบาป ไปวางไว้ตรงไหน ในสังขาร3ได้เล่า? แต่ก็รู้ทันอย่างหนึ่งว่า.. ถ้าหากพธร. ต้องจำนนด้วยเหตุผลคราใด.. พธร.ก็จะอ้างว่า อย่าเอาตรรกะ (=หลักเหตุผล) มาใช้กับศาสนาพุทธ! สรุปแล้ว.. คำที่พธร.แปลผิด มีมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นคำ ที่มีความหมายสำคัญ.. เพราะหมายถึง ความรู้พื้นฐาน ของศาสนาพุทธทั้งสิ้น! เช่นคำว่า 1.บุญ 2.กุศล 3.อปุญญาภิสังขาร 4.อัตตา 5.อนัตตา เป็นต้น แต่ก็แปลกมาก!.. ที่คำว่า อปุญญาภิสังขาร ซึ่งพวกสาวกบริวาร ก็รู้ชัดๆ อยู่แล้วว่า.. จะต้องแปลว่า สังขารที่เป็นบาป แต่ก็ไม่เห็นมีใคร กล้าทักท้วง อาจารย์เลยสักคน! จึงขอถามพธร.แทนว่า.. แล้วจะให้สังขาร ที่เป็นบาป ไปวางไว้ที่ตรงไหน ในสังขาร3?

พ่อครูตอบแทรกว่า...  บาปก็อยู่ที่ปุญญาภิสังขาร ในโสดาบันก็จะรู้ว่า บาปคืออะไร ชำระบาปได้ ก็เป็นบุญ ปุญญะคือแปลว่า การชำระ เราต้องปรุง ให้กิเลสลดไปจนหมด ก็ไม่ต้องชำระแล้ว ก็เหลือแต่สังขาร ที่ไม่มีกิเลส พระพุทธเจ้าก็สังขารได้ ปรุงแต่งให้แก่ มนุษยชาติ ถ้าเข้าใจว่า คนบรรลุธรรม ก็ไม่ต้องปรุงแต่งแล้ว ก็จะบื้อๆ นั่นเข้าใจผิด และอภิสังขาร พ่อครูว่า คือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เหนือชั้นกว่า ธรรมดาสามัญ ในสังขาร ๓ เป็นสังขารของ โลกุตระ มีส่วนโลกียะ คือส่วนแห่งบาปบ้าง เมื่อทำได้ไปเรื่อยๆ บาปก็หมดไปเรื่อยๆ จนหมด เป็นอปุญญาภิสังขาร และแข็งแรง อย่างอเนญชาภิสังขาร ทั้งสังขาร ๓ เป็นโลกุตรธรรม (มี ๙ ขั้นโลกุตรธรรม คือ มรรค ๘ ผล ๑)

สุดท้ายขอชี้แนะว่า จิตมีอยู่จริง เจตสิกมีอยู่จริง รูปมีอยู่จริง นิพพานมีอยู่จริง มนุษย์มีอยู่จริง เทวดามีอยู่จริง ผีเปรตมีอยู่จริง สัตว์นรกมีอยู่จริง วิญญาญฐีติ7 มีอยู่จริง สัตตาวาส9 มีอยู่จริง ปุถุชนมีอยู่จริง อรหันต์มีอยู่จริง พุทธเจ้ามีอยู่จริง แต่ทั้งหมดนี้.. ล้วนเป็นอนัตตา! คือมิใช่ตัวตน เท่านั้น แต่ก็มิได้หมายถึงว่า ไม่มีตัวตน (=นิรัตตา) และก็มิได้หมายถึงว่า มีตัวตน (=อัตตา) โปรดเข้าใจตามนี้ แต่ถ้าพธร.+สาวก ยังเข้าใจตามนี้ ไม่ได้ละก็.. นั่นย่อมแสดงว่า ทั้งพธร.+สาวก ยังถูกอุปทาน ของอัตตา ครอบงำอยู่.. จึงปิดกั้นปัญญา ไม่ก็เลยไปคิดต่อว่า ตัวตนก็คือกิเลส ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้ ลงล๊อคพอดี! ว่าไม่มีกิเลส ก็คือไม่มีตัวตน.. และไม่มีตัวตนก็คือ อนัตตา นั่นเอง สรุปแล้ว ถ้าแก้มิจฉาทิฐิ ให้พธร.คนเดียวได้ ก็จะ=ว่า ได้แก้ให้แล้ว ทั้งสำนัก!!! 

 ตั้งแต่อ่านมา พ่อครูว่าได้อธิบายเรื่องตัวตน อยู่ตลอดเวลา ว่าผู้ที่ไม่รู้ อวิชชานี่แหละ คือผู้ที่มีตัวตน ได้ตัวตน และต้องรู้ อัตตาตัวตนก่อน ในมหาจัตตารีสกสูตรนั้น อธิบาย สมาธิลืมตา มีสัมผัสทางทวาร ๖ เป็นปัจจัย ซึ่งอธิบายต่างจาก 8705 ที่เขาเข้าใจว่า การเข้าใจว่า มีอัตตา เป็นสัสตทิฏฐิ และเข้าใจว่า ไม่มีตัวตน เป็นอุทเฉจทิฏฐิ ก็เป็นการเล่นภาษาวาทะ ที่จริงการมีตัวตนนั้น มาจากเหตุ คืออวิชชา ถ้าเข้าใจว่า ไม่มีตัวตน ก็ไม่ต้องไปปฏิบัติ แต่เราต้องเข้าใจว่า มีตัวตนก่อน แล้วจึงจะปฏิบัติได้ ขนาดว่า เรารู้ว่ามีตัวตน จับมันได้ มันยังเจ้าล่อเอาเถิดกับเรา กว่าจะสู้มันได้ ผู้ที่มีโลกุตระ ไม่มีเจโตสมถะ ก็เป็นอรหันต์สมบูรณ์ได้ ไม่ต้องไปนั่งหลับตาเลย แต่เขายึดถือกันมานาน เป็นเรื่องยาก ที่จะเข้าใจ

การเห็นความไม่เที่ยงนั้น ต้องทำให้กิเลส มันลดลง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ตามเห็นความไม่เที่ยง ของกิเลสที่ลดลง (อนิจจานุปัสสี) เห็นมันจางคลาย อย่างเห็นๆเลย หลัดๆเลย เราเรียนอย่างกำหนดรู้ เห็นได้ในตัวตน ที่เป็นสักกายะ ผู้เห็นตัวตนนั้น จะพ้นอัตตทิฏฐิ เพราะอัตตา สักกายะ นั้นเป็นตัวเดียวกัน แต่เป็นคำที่ ใช้เรียกรวมๆ กับคำที่ใช้เรียก ความจำเพาะของตัวตน ของเราต่างหาก การปฏิบัติ ต้องมีการสัมผัส ครบทวารทั้ง ๖ ดูในสักกายะทิฏฐิสูตร

๑.รู้เห็นด้วยองค์แห่งสัมผัส  รูป->ตา->จักขุวิญญาณ  รู้อยู่ เห็นอยู่ แม้สุข-ทุกข์-ไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดโดยจักขุสัมผัส ฯลฯ ซึ่งเห็นโดยความไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงละมิจฉาทิฏฐิได้.
๒.   ซึ่งรู้-เห็น ฯ โดยเป็นทุกข์ (ทุกขโต) จึงละสักกายทิฏฐิได้
๓.   ซึ่งรู้-เห็น ฯ โดยอนัตตา (อนัตตโต) จึงละอัตตานุทิฏฐิได้

ขั้นจิตเจตสิกแล้ว ไม่มีรูปร่าง เพราะวิญญาณนั้น อสรีรัง อนัตตา แต่ที่คุณว่า ภาคต้น ต้องเข้าใจว่า ไม่มีตัวตนนั้นแหละ แต่ก่อนเข้าใจว่า ถ้าไม่ตาย ก็มีรูปร่างอยู่ในตัวเรา พอตายไปแล้ว จิต วิญญาณ หรือ มโนก็มีรูปร่าง อยู่นอกตัวเรา ล่องลอยไป นั่นถ้าเห็นว่า มันไม่มีตัวตน เป็นโฉมกาย หรือรูปร่างอย่างนั้นต่างหาก ที่จะเป็นความเข้าใจเบื้องต้น ที่ถูกต้องต่างหาก

ถ้าคนเรียนอภิธรรม แล้วไม่มีสภาวะรองรับ จะวนซะมาก แต่บางคน ก็เข้าใจไปไกลมาก แต่ไม่ได้เป็นจริง ในสภาวะ อนัตตานั้น เช่น ผู้หญิงเคยติดลิปสติก แต่ว่าเมื่อเราตอนนี้ เราเห็นจิต ก็ไม่กระดิกเลย นั่นคือ สภาวะอนัตตา ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นตัวเราด้วย ซึ่งแต่ก่อน เราติดยึด แต่บัดนี้ เราลดละมา จนเฉยๆ อเนญชา เราไม่ต้องปรุง ให้ลดกิเลสแล้ว เราเป็นอปุญญาภิสังขารแล้ว ไม่ไปว่าเขาด้วย เราต้องอ่าน อาการตัวตน ที่ติดยึดเหล่านี้ มันไม่มีสรีระตัวตน แต่มันมี อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ มันเป็นนามกาย หรือนามรูป (ซึ่งมีนัยะต่างกัน ในบั้นปลาย แต่เบื้องต้น เป็นไวยพจน์กันได้)

จิตเจตสิกเป็นอนัตตา เมื่อได้ล้างหมดแล้ว แต่ก็ต้องอาศัยอัตตา ใช้ต่อไป อรหันต์ก็มีอัตตา ที่ไม่ลึกลับแล้ว อย่างรสอร่อย ก็เป็นอัตตา ชอบใจ ไม่ชอบใจ ในรสอาหาร ก็เป็นอัตตา แต่เขาว่า มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่อัตตา

สังขาร ๓ คุณ 8705 ว่ามีอยู่ในทุกคน แต่พ่อครูยืนยันว่า ตั้งแต่ปุญญาภิสังขาร ต้องอย่างน้อย โสดาปัตติมรรค ในโสดาบัน เริ่มรู้จักตัวตน ที่จะชำระ เมื่อชำระไปจนหมด ก็ไม่ต้องชำระ (อปุญญะ) จนเป็นอรหันต์ ท่านทำแต่กุศล ไม่ต้องทำบุญแล้ว

อภิสังขาร คือการปรุงแต่ง มีผลเป็นอุตตริมนุสสธรรม ไปตามลำดับ ถ้ายังไม่ที่สุด เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ถ้าถึงชั้นที่สุด ก็เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ถ้ายังไม่ถึงขั้น อเนญชา (อเนญชา= สภาวะที่มั่นคง, ไม่หวั่นไหว) ก็ต้องทำอีก ทำซ้ำ ทำให้คุ้น (อาเสวนา) อย่างที่ทำได้ผล มาแล้วนั้นแหละ (ภาวนา) ทำให้มากๆ (พหุลีกัมมัง) เป็นการเพียรรักษาผล (อนุรักขนาปธาน)

อวิชชาก็ลดลงๆ วิชชา (ความรู้แบบพุทธ) เจริญๆขึ้นเป็นไป ตามลำดับคือ รู้จักรู้แจ้งรู้จริง “สังขาร” ได้ถึงขั้น วจีสังขาร ที่ยังอยู่ภายในใจ ยังไม่ได้ออกมา เป็นวจีกรรมข้างนอก โดยเฉพาะ สามารถรู้แจ้งเห็นจริง ในขณะที่กำลังมี โยนิโสมนสิการ (การทำใจในใจ อย่างแยบคายถ่องแท้) อยู่ใน “สัมมาสังกัปปะ ๗” ตามสัมมาทิฏฐิ ที่ทำ”สมาธิพุทธ” แบบพุทธ

เพราะอธิปัญญาสิกขา จะเริ่มพยายาม (สัมมาวายามะ) พัฒนารู้จักรู้แจ้งรู้จริง ใจที่เริ่ม “ดำริ” อันคือ “ตักกะ” แล้วมี “ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์” พยายามแยกแยะ จนจับตัว “มิจฉาสังกัปปะ” ซึ่งได้แก่ กามหรือพยาบาท เป็นต้น จับได้แล้วก็ “กำจัด” อกุศลเจตสิก” ด้วย ปหาน ๕ ให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ

นั้นคือผู้ปฏิบัติ พยายามมีการทำใจในใจ ให้แยบคาย ให้ลงไปถึงที่เกิด (โยนิโส)

แล้วอะไรเกิดเล่า “เกิด” ใน “ที่เกิด” นั้น ก็คือ กิเลสนั่นเอง ที่เป็นตัวการ ที่ต้องกำจัด เพราะเป็นเหตุแห่งทุกข์ ให้ได้ด้วยปหาน ๕ เมื่อได้ผลนี่ก็คือ ปโหติ ที่แปลว่า พอเหมาะได้ ที่ตามศัพท์ แปลว่า ดำเนินไป เกิดขึ้นหรือเพียงพอ หรือสามารถ “ด้วย”

ดังนั้นท่านสรุปไว้ว่า เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ จึงพอเหมาะได้ (ปโหติ) และดำเนินไป อย่างพอเหมาะ พัฒนาไปตามลำดับ และนัยในมรรคข้ออื่น ก็เช่นกัน ...

  • ด้วยนัยะนี้เอง เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ จึงพอเหมาะได้
  • ข้ออื่นๆของ มรรค เจริญขึ้นเป็นผล ก็นัยเยี่ยงนี้
  • เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงเพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ จึงพอเหมาะได้ ฯลฯ
  • จนเมื่อถึงสัมมาญาณ สัมมาวิมุติ จึงพอเหมาะได้ ที่สุดก็คือ เมื่อกำจัด อกุศลเจตสิกได้สิ้น ก็ไม่มีเหตุ “สมุทัย” เข้าไปร่วมปรุงแต่ง ในจิตเจตสิกของเรา เพราะเหตุ คืออกุศลจิตไม่มีแล้ว ในการปรุงแต่ง(สังขาร)นี้ วจีสังขารของเรา ก็เป็นอภิสังขาร หรือวิสังขาร หากจะออกมาเป็น วจีกรรม ก็เป็น “การพูดจา” อันไม่มีเหตุให้เกิด วจีกรรม เป็นมิจฉาวาจา แต่จะเป็นสัมมาวาจา เพราะใจเป็นประธาน (มโนบุพพังฯ)
  • นั่นคือ สัมมาวาจา จึงจะพอเหมาะได้ ซึ่งผู้ที่ไม่รู้การปฏิบัติ ที่สัมมาปฏิบัติ ดังที่สาธยายมานี้ ก็จะทำได้แค่ การควบคุมวาจา เท่านั้น ไม่ใช่ การทำใจในใจ (มนสิการ)
  • ดังนั้น ผู้ที่อธิบายกันว่า ศีลสามารถควบคุมได้แค่ กายกับวาจา เท่านั้น ส่วนใจ ให้ไปนั่งหลับตา ทำสมาธิเอานั้น จึงเป็นการปฏิบัติ ที่แยกไตรสิกขา ออกเป็นสามส่วน ต่างปฏิบัติกัน คนละอย่าง คนละส่วน ไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน
  • ก็สามารถควบคุมวาจา ให้เป็นวาจาสุจริต ได้ สามัญคนทั่วไป ก็มีมารยาทสังคม ทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว หรือโดยสัญชาติญาณสามัญ ก็ควบคุมระมัดระวังกันอยู่แล้ว ตามแต่จะทำได้มาก ได้น้อยเท่าใดๆของตนๆ แต่ละบุคคล และแม้จะควบคุมได้ ก็ไม่เที่ยงแท้ หรือยั่งยืน เพราะไม่มีหลักประกัน

 

หรือแม้จะฝึกฝนกัน อย่างตั้งใจทำสมาธิ แบบหลับตาสะกดจิต แล้วเชื่อว่า สมาธิจะมีพลัง มาบังคับควบคุมกายวาจาได้  “ใจ” อาจจะมีพลัง ควบคุมกายกับวาจาได้ ก็เหมือนคนทั่วไป เขาทำกันนั่นเอง ตามสัญชาติญาณ และมารยาทสังคม ที่ตนต้องระมัดระวัง และถ้ายิ่งนั่งสมาธิเก่ง จะทำได้ดีกว่า คนไม่ได้นั่งสมาธิ ก็อาจเป็นได้บ้าง ซึ่งแม้จะทำได้เก่งยิ่งขึ้น เท่าใดก็ได้เท่านั้นๆ  แต่กระนั้น ก็ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน อย่างผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ ที่มีวิธีปฏิบัติเข้าถึง การสัมผัสตัวตนของกิเลส แล้วกำจัดกิเลส อย่างถูกตัวตน ตัวตนลดลงๆ จนตัวตนดับ และสัมผัสความดับตัวตน ชนิดที่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง “อัตตา ๓” (ตัวตน ๓) แท้ ด้วยการสัมผัส “กาย” ของรูปนามทั้งหมด

ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ในทักขิเนยบุคคล ๗ ต่อให้มีอาสวะ บางอย่าง สิ้นไปได้ เช่น “กายสักขีบุคคล” พระพุทธเจ้า ก็ตรัสไว้ชัดว่า ยังไม่ถึงขั้น “อรหันต์” เพราะมีผลแค่ “อาสวะบางอย่าง เท่านั้นสิ้นไป” เพียงแค่เป็น “บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะบางอย่าง ของผู้นั้นก็หมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา นี้เรียกว่า บุคคลผู้เป็นกายสักขี เท่านั้น

ก็เห็นชัดอยู่แล้วว่า “กายสักขีบุคคล” นี้ มีโอกาสได้ “สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย” อยู่บ้าง จึงเรียกว่า กายสักขี

ถ้าผู้ปฏิบัติใด ต่อให้ปฏิบัติหนักแทบตาย นานแค่ไหน หากไม่ถูกต้อง หรือไม่สัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วเห็นด้วยปัญญาบ้าง ซึ่งจะเป็นปัญญาชนิด “สัมมัปปัญญา” ทีเดียว ก็แน่นอน ผู้นี้ไม่สามารถ “ดับอาสวะ” ใดๆได้เลย

ท่านเจ้าคุณพรหมคุณาภรณ์ ให้ความหมาย “กายสักขี” ว่า “ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย”  “ผู้ประจักษ์กับตัว” พระอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ใน อรหัตตมรรค ที่เป็นผู้มี สมาธินทรีย์แรงกล้า ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ (เมื่อบรรลุอรหัตตผล กลายเป็น อุภโตภาควิมุติ)

นั่นคือ คำแปลของท่านเจ้าคุณ พรหมคุณาภรณ์ ยังยืนยันว่า ต้องได้สัมผัส วิโมกข์ ๘ จึงจะบรรลุอรหัตตผล

ที่จริงต้องมีคำว่า “สัมผัสด้วยองค์ประชุม ทั้งภายนอกภายใน พร้อมทั้งหมด (กาเยน ผุสสิตวา วิหรติ) เห็นอยู่หลัดๆ” ด้วย ดังนั้น “กายสักขีบุคคล” ผู้ใด ถ้ายังไม่ได้ “สัมผัสวิโมกข์” ๘ ด้วยกาย และเห็นด้วยปัญญา ที่สัมมาพร้อม” ก็ทำให้  “อาสวะ” สิ้นไปไม่ได้

พระพุทธเจ้าจึงทรงยืนยันว่า สายศรัทธาที่ปฏิบัติมาถึงขั้น “กายสักขี” ปานนี้ ถ้าไม่ “ถูกต้อง หรือสัมผัสด้วยวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วเห็นด้วยปัญญา” ก็ไม่สามารถทำให้ “อาสวะ สิ้นไปได้” เลย เพราะ “ถูกต้องหรือสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วเห็นด้วยปัญญา” นั่นแหละ จึงมีผล “อาสวะบางอย่าง ของผู้นั้น ก็หมดสิ้นแล้ว” แค่ระดับต้นขั้น “ศรัทาวิมุติ และศรัทธานุสารี” จึงไม่ต้องพูดเลย

ส่วน “สายปัญญา” นั้นย่อม “สัมมาทิฏฐิ” มาแล้วแต่ต้น ตั้งแต่ “ธัมมานุสารี” ก็ต้องมีอาริยผล มาตามลำดับ (ถ้าขนาดสายปัญญาแท้ๆ ยัง “สัมมาทิฏฐิ” ไปตามลำดับไม่ได้ แล้วจะเป็นทฤษฏี สัมบูรณ์ได้อย่างไร) ยิ่งถึงขั้น “ทิฏฐิปัตตะ” ก็เห็นชัดอยู่แล้ว ว่าท่านเรียกว่า “ทิฏฐิปัตตะ” ซึ่งหมายถึงผู้ที่ “บรรลุแล้ว ถึงแล้ว” (ปัตตะ) จะบรรลุก็ต้องได้ด้วย “ความเห็น (ทิฏฐิ) ที่เป็นสัมมา” แน่นอน จึงจะบรรลุสัมมาผล ใช่มั้ย?

สายปัญญา จึงปฏิบัติโดยมี “สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย เห็นด้วยปัญญา” มาตั้งแต่ ธัมมาสุสารี เมื่อถึงขั้น “ปัญญาวิมุติ” พระพุทธองค์ก็ตรัส ให้เห็นชัดว่า “ไม่ต้องกล่าวหรอกว่า สายนี้จะต้อง “สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย”

หากใครยังสงสัยอีก ก็ขอถามว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ต้องสัมผัสวิโมกข์๘ ด้วยกาย “จึงจะสามารถทำ “อาสวะบางอย่างสิ้นหมดไปได้บ้างนั้น หากไม่สามารถ “ถูกต้อง หรือสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย” แล้ว จะมีวิธีอะไรที่จะ “ดับสิ้นอาสวะได้”บ้าง ล่ะ?

เพราะกายสักขีบุคคล “ต้องสัมผัสวิโมกข์๘ ด้วยกาย เห็นด้วยปัญญาที่เป็น สัมมัปปัญญา” ใช่ไหม จึงได้ทำให้ “อาสวะบางอย่าง สิ้นไปได้บ้าง แต่ยังไม่ถึงขั้น “อาสวะ” ทั้งหลายของตน หมดสิ้นบริบูรณ์สัมบูรณ์

นั่นก็คือ การปฏิบัติธรรม ถ้าไม่ถึงขั้น “ได้สัมผัสวิโมกข์ ด้วยกาย” และเห็นด้วยปัญญา ชนิดที่เรียกว่า “สัมมัปปัญญา” แล้วละก็ จะไม่สามารถ “ดับสิ้นอาสวะไปได้” สักอย่าง เพราะใน “วิโมกข์” นั้นสัมบูรณ์ ถึงขนาดต้องผ่าน “อรูปฌาน ๔” แบบพุทธ ขอยืนยันนะว่า “แบบพุทธ” ที่สัมมาทิฏฐิด้วย จึงจะถึงขั้น “สัญญาเวทยิตนิโรธ”

ซึ่งเป็น “นิโรธ” พิเศษ” เป็น “คุณวิเศษ” (อุตตริมนุสสธรรม ) แท้ เป็นของพุทธเท่านั้น “นิโรธ” ชนิดนี้ มีในขณะลืมตา ชีวิตปกติสามัญ อันแตกต่างจาก “นิโรธ” ที่ไม่ใช่ของพุทธ เพราะนิโรธแบบนั้น มีได้ในขณะหลับตา อยู่ในภวังค์

คำตรัสนี้เป็นเครื่องยืนยันว่า การปฏิบัติธรรมแบบพุทธต้อง “ต้องสัมผัสวิโมกข์ ๘ “ อย่างสัมมาทิฏฐิ เพราะ “สัมผัสเห็น” อยู่พร้อมทั้ง “กาย”ภายนอก

กายสักขี ก็คือ ผู้ที่ต้องเข้าถึง “กาย” เป็นพยาน (สักขี) ยืนยันกับตนเองได้ ว่า เป็นผู้มี “กาย” ซึ่งมีทั้ง “รูปกาย” คือองค์ประชุมของรูป และทั้ง “นามกาย” คือ องค์ประชุมของนาม

รูป หมายถึง สิ่งที่ “ตา หู จมูก ลิ้น กาย” กระทบ กับ “รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส”
ก็จะมี “นาม” เกิดขึ้นมา “รู้ได้”
ภาวะที่เกิดจาก “ตากระทบรูป” ก็เรียกว่า “รูป”
ภาวะที่เกิดจาก “หูกระทบเสียง” ก็เรียกว่า “รูป”
ภาวะที่เกิดจาก “จมูกกระทบกลิ่น” ก็เรียกว่า “รูป”
ภาวะที่เกิดจาก “ลิ้นกระทบรส” ก็เรียกว่า “รูป”
ภาวะที่เกิดจาก “กายกระทบสัมผัส” ก็เรียกว่า “รูป”

“นาม” ตัวที่ได้กระทบสัมผัสนี้แหละ ที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ชัดว่า เป็น “วิญญาณ” ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ เป็น “นาม” ในตอนแรก คือรู้สิ่งที่ “สัมผัส” นั้น แล้วก็ “ปรุงแต่ง” (สังขาร) ทันที ด้วย “อวิชชา” จึงเป็น “วิญญาณ” ที่ถูกปรุงแต่ง ถ้าผู้นั้นมีอวิชชา ก็จะถูกปรุงแต่ง ด้วยมีกิเลสร่วม อยู่นั้นๆ เรียก “นาม” ที่ปรุงแต่งนี้ว่า “จิตสังขาร”

ความหมายอีกนัยหนึ่งของคำว่า “รูป”นี้ หมายถึง สิ่งที่ถูกรู้ ไม่ว่า เวทนา สัญญา วิญญาณ เมื่อถูกรู้ ด้วย “ฌาน” จึงเรียกว่า “นามรูป” เพราะเป็น “นาม” ที่มาเป็น “รูป”

“นาม” หมายถึง “สิ่งที่เป็นตัวรู้ ธาตุที่ทำการรู้” เมื่อ ทำการรู้สำเร็จก็เรียกว่า “ญาณ” หรือ “ปัญญา”

“ญาณ”หรือ “ปัญญา”  ก็ “ถูกรู้” ได้ แต่เป็น “อรูป” คือ ไม่มีสรีระ ไม่มีร่างมีโฉม อันต้องกำหนดรู้ได้ด้วย “สัญญา”

“กาย” นั้นไม่ว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ เป็น “กาย” คือเป็น “องค์ประชุม” (กาย) ขึ้นเป็น “องค์ประชุมของเวทนา” ย่อมได้ ที่ใช้ภาษาเรียกว่า “เวทนาขันธ์” เป็นต้น  สัญญา สังขาร ก็นัยเดียวกัน

“รูปรูป” นั้น มันถูกรู้ได้ ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่แล้ว เมื่อ “สัมผัส” รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

ส่วน “นามรูป”  และ “นามกาย” จึงมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญอยู่ฉะนี้ๆ

“กาย” หมายถึง “องค์ประชุม” เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

“กาย” คือ องค์ประชุมของ “รูป” และ “นาม” ทั้งนอกและใน ถ้าบริบูรณ์ ไม่ขาดส่วนใด ก็เป็นการถึงพร้อม หรืออยู่พร้อม ถ้าใครจะชี้เฉพาะ อธิบายเฉพาะ “รูปกาย” หรือเฉพาะ “นามกาย” ในบางครั้งบางคราว ก็ย่อมได้ แต่ในวิโมกข์นี้ ยืนยันว่า พร้อมทั้งภายนอก และภายใน ครบครันบริบูรณ์อยู่อย่าง “เห็นๆ” (ปัสสติ) ด้วย

คำว่า “กาย” ใน “วิโมกข์ ๘” นี้ พระพุทธเจ้า ทรงชี้ชัดว่าทั้ง “รูปกาย” และ “นามกาย” ทั้งภายนอกและภายใน ใน “วิโมกข์ ๘” ข้อที่ ๒ ก็ชี้ชัดอยู่แล้ว “อัชฌัตตัง อรูปสัญญี พหิทธา รูปานิ ปัสสติ” แต่ท่านก็ไปแปลกันว่า “ผู้ไม่มีความสำคัญในรูป ในภายใน” ย่อมเห็นรูปในภายนอก” ส่วนท่านพระพรหมคุณาภรณ์ แปลว่า “ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก”

คนไทยส่วนมาก ก็พึงทำความเข้าใจภาษา จากคำแปลนั้นๆ กันตามภาษาที่มีอยู่ เป็นภาษาไทย ก็ต่างเข้าใจ กันไปตามภูมิ ส่วนภูมิของพ่อครูนั้น เข้าใจว่า ผู้มี “วิโมกข์ ๘” ตามข้อ ๒ นี้คือ “ผู้มีทั้งรูปภายนอกทั้งหลาย ทั้งรูปภายใน และลึกสูงไปถึงขั้นอรูป ก็กำหนดหมายรู้อย่าง (สัมผัส) เห็นได้” นี่แปลอย่างพ่อครู ที่มีจริงของตน เป็นตัวตั้ง อาศัย พยัญชนะบาลี ตามความเข้าใจของพ่อครู

และผู้ที่เป็นกายสักขีนั้น เนื่องจากยังไม่ถึงขั้น “อาสวะของผู้นั้น หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา” (อัฏฐ วิโมกเข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ปัญญาย จัสส ทิสวา อาสวา ปริกฺขีณา โหนติ) จนครบสัมบูรณ์ ต้องให้ครบสัมบูรณ์ จึงจะได้ผลเต็มบริบูรณ์ ทั้ง “ศรัทธา” และ “ปัญญา” ที่ได้ “สัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ (อัฏฐ วิโมกเข กาเยน ผุสิตวา วิหรติ) ซึ่งต้องครบพร้อม ทั้งขั้นหยาบ รูปทั้งหลายภายนอก และแม้ที่สุดละเอียดขั้น อรูปภายใน ก็สามารถ กำหนดรู้ (สัญญา) เข้าใจได้ชัดเจน “โดยตนเอง” (เอก) ชนิดที่ สัมผัส “เห็น” (ปัสสติ) กัน อยู่โทนโท่ หลัดๆ ในปัจจุบันนั้นทีเดียว (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ)

เพราะนัยสำคัญมากที่สุดก็คือ ถ้าผู้ใดไม่มีวิโมกข์ ๘ ถึงขั้น “สัมผัสหรือถูกต้องด้วยกาย เป็นปัจจุบันอยู่” (กาเยน ผุสิตวา วิหรติ) ก็จะไม่ถึงขั้น “ทั้งอาสวะของผู้นั้น หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา” (ปัญญาย จัสส ทิสวา เอกัจเจ อาสวา ปริกขีณา โหนติ) อย่างเก่งก็ได้แค่ “อาสวะบางอย่าง (เอกัจจ) ของผู้นั้น ก็หมดสิ้นแล้ว ซึ่งยังไม่หมดสิ้น ได้ละเอียดครบถ้วน โดยเฉพาะกิเลสที่ยังเป็น “อัตตา” อันสัมผัสสัมพันธ์ อยู่กับกายภายนอก “โอฬาริกอัตตา” ผู้นั้นจึงยังไม่มี “มรรคผลที่เป็นอรหัตตผล สัมบูรณ์สุด ถึงขั้นอรหันต์” แน่นอน

ดังนั้น สำหรับ “สายศรัทธา” แม้จะปฏิบัติมาถึงขั้น “กายสักขี” ปานนั้น แต่ยังไม่ได้ “สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย” คือ มี “องค์ประชุม” (กาย) ทั้งหมดทั้ง ภายนอกภายใน ที่สำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งทวารนอกทั้งทวารใน มีทั้งมหาภูตรูป ต่อเชื่อมเป็นอุปาทายรูป เข้าไปภายใน อาศัยกันอยู่ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน “ปฏิจจสมุปบาท” (พระไตรฯ เล่ม ๑๖ ข้อ ๗-๑๘) ชัดเจนว่า จะต้องมี “ชาติ ๕ -ภพ๓ -อุปาทาน ๔ –ตัณหา ๖ -เวทนา๖ -ผัสสะ๖ -อายตนะ๖ -นาม๕ -รูป๒ (มหาภูตรูปและอุปาทายรูป (มหาภูตรูปทั้ง ๔) วิญญาณ๖ -สังขาร๓ -อวิชชาในอริยสัจ ๔

มีทั้งกำหนดรู้จักรู้แจ้ง รู้จริง “นาม” อันพร้อมครบทั้ง เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ และรู้จักรู้แจ้งรู้จริง “รูป” อันพร้อมครบ ทั้งมหาภูตรูป ๔ ทั้งรูปที่อาศัย มหาภูตรูปทั้ง ๔ (อุปาทายรูป ตามคำตรัสข้อ ๑๔) จึงสามารถกำหนดรู้ “อัตตา ๓” ที่เป็นองค์ประชุม (กาย) ทั้ง “รูป” ภายนอก ทั้ง “อรูป” ภายใน โดยส่วนตน(เอโก) อย่าง “เห็นๆ” (ปัสสติ) ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริง (ยถาภูตัง สัมมัปปัญญาย ปัสสโต) ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในพระไตรฯ เล่ม ๑๐ ข้อ ๖๖ ที่บาลีว่า อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ และทั้ง “นามรูป” ที่เป็น “อัตตา” สำเร็จได้ด้วยใจ (มโนมโย) ทั้ง “นามธรรมขั้น อรูปอันเป็นภายใน” ที่เป็น “อัตตา” สำเร็จได้ด้วยการกำหนดรู้ จากความจำ (สัญญามโย) ที่บาลีว่า อัชฌัตตัง อรูปสัญญี

วิโมกข์ ๘ เป็น “วิชชา” เฉพาะของศาสนาพุทธเท่านั้น ต้องใช้ “ปัญญา” แบบพุทธ ซึ่งเป็นความรู้พิเศษ แบบพุทธ (วิชชา ๘) เท่านั้น จึงจะสามารถบรรลุได้ สัมบูรณ์จริง

ผู้บรรลุอรหันต์ ก็คือ ผู้บรรลุถึงขั้นยอดสูงสุด ของศาสนาพุทธแล้ว เป็นผู้ได้สะสม อรหัตผล จนครบสัมบูรณ์ สูงสุดยอดแล้ว แม้ผู้ใดจะปฏิบัติ ด้วยลัทธิใด ด้วยศรัทธาใด ถ้าไม่มีสัมมาทิฏฐิ ปฏิบัติมาตามแบบพุทธ อย่างสัมมาปฏิบัติ จะไม่ได้บรรลุ แม้แค่ภูมิโสดาบัน เป็นต้น อาจจะมีผลทางจิตบ้าง

ส.ฟ้าไทสรุปว่า... วันนี้ได้ทำความเข้าใจ ภูมิรู้ของ 8705 และวันนี้พ่อครู ก็ได้ทำความเข้าใจ เพิ่มเติม ในสังขาร ๓ เรื่องวิโมกข์ ๘ เรื่องของ รูปกาย นามรูป... อาจจะวูบได้ เพราะเมาหมัด ต้องตั้งสติดีๆ เราต้องพยายามเรียนรู้ แม้ยากที่จะเข้าใจหมด แต่เราเข้าใจไป ทีละประเด็นไป พ่อครูจะอธิบายซ้ำ จนกว่าเราจะเข้าใจแจ้ง


 .....จบ