560321_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู
เรื่อง ถ้ามีวิมุติในตนใยต้องโหนกระแสโลกีย์

พ่อครูจัดรายการที่บ้านราชฯ...

ในช่วงปีใหม่ไทย ในเดือนเมษายนที่จะมาถึง เราก็จะมีการจัดงาน เราเป็นคนเล็กๆ จึงต้องจัดงานใหญ่ๆ ปีนี้เรามีงานตลาดอาริยะ ที่เราจะมีโครงการ "คืนชีวิตให้แม่มูน" เราเห็นว่าแม่น้ำมูน ทั้งกว้างใหญ่ สะอาดสะอ้าน แต่ไม่มีชีวิตชีวา ไหลอยู่เฉยๆ ไม่มีประโยชน์เท่าที่ควร แต่ในอดีต เคยเป็นที่ใช้สอย เป็นที่คมนาคม เราก็เห็นว่า ประโยชน์น่าจะมีมาก เช่นทำเป็นตลาดน้ำ พวกเราก็พยายามกัน

เราทำตลาดน้ำ ก็จะเอาพืชพันธุ์ธัญญาหาร ที่เรากำลังปลูก กำลังทำกัน ตลาดอาริยะเรา มีวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน หลังงานปลุกเสกฯ ที่จะจัดวันที่ ๖-๑๒ เมษายน เดิมเราจัด ตลาดอาริยะ ๑๒-๑๔ เมษายน แต่เนื่องจากความต่อเนื่อง จากงานปลุกเสกฯ จึงต้องเลื่อนการจัด

เราจะมีเรือใหญ่ ที่เราได้ซ่อมแซมขึ้นมา ลงที่ลำน้ำมูน จะมีเรือเครื่อง เรือพาย มีเรือใช้ ติดต่อกัน ระหว่าง ท่าเรือบ้านราชฯ กับท่าน้ำกรมเจ้าท่า ที่อยู่ใกล้กับตลาดเมืองอุบลฯ เราจะมีเรือใหญ่ เป็นเรือเวที และเรือตั้งร้านขายสินค้าด้วย ที่ท่าน้ำกรมเจ้าท่า มีร่องน้ำ ที่ตื้น ก็ขอให้เรือดูดทราย ไปดูดทรายออก ให้ร่องน้ำลึกขึ้น เพื่อให้เรือใหญ่เราไปจอดได้

ที่ผ่านมา มีคนที่เขียนพาดพิง ถึงพวกเราอโศก
มีคุณสุรพจน์ ทวีศักดิ์ ได้ถาม อ.ส.ศิวรักษ์ ว่าสันติอโศก ปฏิเสธอำนาจมหาเถระ แต่มหาเถรขึ้นอยู่กับระบบสมณศักดิ์ ซึ่งขึ้นตรงต่อ พระราชอำนาจ ทว่าสันติอโศก กลับต่อสู้ทางการเมือง ด้วยการโหนเจ้า และยึดอุดมการณ์ ชาตินิยม อาจารย์มองว่า อนาคตของศาสนากับการเมือง ตามแนวทางสันติอโศก จะเป็นอย่างไร?

อาจารย์ ส.ศิวรักษ์ ว่า... ก็ไปถามสันติอโศกโดยตรง ผมก็ไม่เข้าใจเขาเหมือนกันเรื่องนี้ เขาเป็นขบวนการประชาชน เขาพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนคนอื่นเลย แล้วเขาทำจริงด้วย เขาปฏิเสธทุนนิยม บริโภคนิยมชัดเจน แล้วสมัยหนึ่ง เขาก็ปฏิเสธ ศักดินาทั้งหมด แต่ตอนหลัง ผมก็ไม่เข้าใจ อาจจำเป็นที่ว่า เขาจะไม่เอาทักษิณลงก็ได้ เลยหันมาเข้าร่วมทางนี้ อาจเป็นแผน ที่พวกเสื้อเหลือง ต้องรวมตัวกัน เอาทักษิณลง เลยต้องอิงกันไว้ พวกนี้เห็นว่าอิงเจ้า ก็ไม่เป็นไรหรอก อันนี้ผมเคยถามท่านจันทร์ ท่านไม่ตอบผมด้วยซ้ำ อันนี้สำนักเขาอาจถือเป็น อุปายโกศลอย่างหนึ่ง แต่ผมเห็นว่าอันตราย โดยเฉพาะอ้างว่าเป็นสมณะ สมณะจุดยืน ต้องมั่นคง ชัดเจนในจริยธรรม ถ้าไม่มั่นคงในจริยธรรม ก็เป็นสมณะปลอม

พ่อครู.. ที่จะพูดอธิบายนี้ ไม่ได้โต้แย้งโต้เถียง แต่เป็นความต่าง ทางความคิดเห็น ของพ่อครู เข้าใจความเป็นจิตวิญญาณ เข้าใจอุปาทาน ตัณหา หรือจิตของคน ที่จะมีธรรมชาติอย่างไร และแต่ละคน จะไปยึดอะไร ของแต่ละคน พ่อครูว่า ได้ศึกษาเรื่องปรมัตถ์ ก็เข้าใจค่าต่างๆเช่นนี้อยู่ เท่าที่พ่อครูเป็นได้ คนเราก็รู้ของตนเอง ว่าเป็นอย่างไร คนที่จะเข้าขั้นไม่ยึดถือ ไม่มีอุปาทาน คือคนที่เข้าถึงมัชฌิมา มาสภาพ อตัมยตา เป็นก็ได้ไม่เป็นก็ได้ เรื่องของปัจจัตตังนั้น เดายาก

คำว่าโหนเจ้า คือคนอาศัยเจ้า เพื่อต้องการผลประโยชน์ อะไรบางอย่าง แต่พ่อครูเห็น มั่นใจว่า ไม่ได้โหนในหลวง โหนเจ้า เพื่อจะได้ประโยชน์อะไรส่วนตัว แต่ผู้ที่เข้าใจว่า เราโหนเจ้านั้นเห็นว่า เรายกย่องพระเจ้าอยู่หัว ที่ท่านตรัส เราก็เอามาออกซ้ำๆ อย่างเช่น แบบคนจน ขาดทุนคือกำไร เป็นต้น เพื่อให้คนได้ฟัง ได้ยินได้เห็น จะได้ปฏิบัติได้

เราเห็นว่ามันดี เป็นสิ่งวิเศษที่ในหลวงทำ ทำแบบคนจน ทำแบบขาดทุนของเรา คือกำไรของเรา จะว่าเราโหน โดยจะเอาประโยชน์ อย่างที่เราหมายก็ได้ แต่เราไม่ได้ไปเกาะโหน เพื่อเอาประโยชน์อะไรจากท่าน

เรื่องการยกหรือการข่ม เราทำตามพระพุทธเจ้าว่า นิคคัณเห นิคคะหาระหัง ปัคคัณเห ปัคคะหาระหัง (นิคฺคเณฺห นิคฺคหารหํ ปคฺคเณฺห ปคฺคหารหํ) คือยกคนที่ควรยก ข่มคนที่ควรข่ม

ในประเทศไทย มีคนที่ควรยกจริงๆ เป็นตัวอย่างให้สังคมไทยนั้น มีเท่าไหร่กี่คนเชียว แล้วเราเห็นว่า ในหลวงท่านประเสริฐ ท่านเป็นโพธิสัตว์ เราเห็นอย่างนั้นจริงเลย

 ท่านเป็นประมุขของประเทศ แต่ท่านตรัสว่า ให้บริหารแบบคนจน
“เราเลยบอกว่า ถ้าจะแนะนำได้ ต้องทำ“แบบคนจน” เราไม่เป็นประเทศร่ำรวย เรามีพอสมควร พออยูได้ แต่..ไม่เป็นประเทศ ที่กาวหนาอยางมาก เราไมอยากจะเปน ประเทศกาวหนาอยางมาก

เพราะถาเราเปนประเทศกาวหนาอยางมาก ก็ จ ะ มี แ ต่ ถ อ ย ห ลั ง ประเทศเหลานั้น เป้นประเทศที่มี อุตสาหกรรมก้าวหน้า จะมีแต่ถอยหลัง และถอยหลังอยางนากลัว แตถาเริ่มมีการบริหาร ที่เรียกว่า “แบบคนจน” แบบที่ไม่ติดกับตํารา มากเกินไป ทําอย่าง มีสามัคคีนี่แหละ คือ เมตตากัน ก็จะอยูได้ตลอดไป...”

คำตรัสนี้ ถือว่าเป็นภาษิตที่เยี่ยมยอด แสดงถึงภูมิรู้ที่สูงส่ง ท่านเป็นประมุขของประเทศ ท่านตรัส แก่สาธารณชนเลย ท่านก็ต้องการให้เป็นจริงเลย แต่คนไม่ค่อยเข้าใจ เพราะคนส่วนใหญ่ มีกิเลสมาก คนที่เป็นปุถุชนทั่วไป ก็จะทำตามกิเลส ก็อยากรวยทั้งนั้น แต่ท่านตรัสอย่างนี้ ต้องไม่ใช่คนธรรมดาเลย

แต่คนรับความรู้ของท่าน เอาไปทำจริงไม่ได้ แต่ชาวอโศก(ขออภัย) ที่ต้องบอกว่า เราทำได้ ตรงตามในหลวงตรัส เราก็ต้องยกย่องบูชา เราเห็นว่าดีจริง เราก็ต้องยกย่อง ชมเชย ซึ่งไปเข้าใจว่า การยกย่องของเรา คือการโหนเจ้า เขาก็มองตามภูมิของเขา

เขาว่าสันติอโศก ปฏิเสธอำนาจ มหาเถรสมาคม แต่มหาเถรสมาคม กลับอยู่ใต้อำนาจ สถาบัน มีศักดินา แล้วอโศกปฏิเสธศักดินา แต่ทำไม กลับไปยกเจ้าโหนเจ้า เขาเห็นว่า เจ้าก็มีศักดินา ทำไมอโศกไปส่งเสริม แต่คุณ ส.ศิวรักษ์ว่า แต่ก่อนเขาก็ปฏิเสธศักดินา แต่ตอนหลัง ผมก็ไม่เข้าใจเขา

พ่อครูว่า.. ความเสมอภาคในโลกนี้มันไม่มี ไม่มีอะไร เท่าเทียมกันเลย แม้แต่ปรมาณูเ ล็กที่สุด ก็ไม่เท่ากัน ยิ่งนามธรรม ยิ่งไม่เท่ากัน นิ้วมือยังไม่เท่ากันเลย คนที่คิดว่า ทุกอย่าง ต้องเสมอภาคนั้น เป็นความคิดสุดโต่ง

ยกตัวอย่างว่า แม่ของคุณ ก็คือสมมุติสัจจะอย่างหนึ่ง ถ้าสมมุติว่า แม่คุณชั่ว คุณจะต้อง ไปประจานแม่ไหม จะต้องให้เท่าเทียมกันทุกคน ใช่ไหม แล้วคุณจะยก แม่คุณไว้ไหม? อย่างนี้เป็นต้น อาจมีตัวอย่างอื่นก็ได้ แต่ยกแค่นี้พอ

ในโลกนี้จะให้เท่ากัน เสมอภาคหมด ไม่ต้องมีผู้ใหญ่ ผู้น้อย ผู้กลาง ผู้ที่จะต้องยกย่องนั้น มันไม่ได้ มันต้องมีตามขนาด และต้องมีการประมาณ ว่าขนาดนี้พอเหมาะ มันไม่เที่ยง ไม่คงที่ สัตบุรุษต้องมีการประมาณ อาศัยองค์ประกอบ อยู่ตลอดเวลา อาศัยสัปปุริสธรรม ๗ อยู่ตลอดเวลา ต้องเข้าใจความสำคัญ ของแต่ละครั้ง แต่ละเรื่อง และต้องรู้ตัวเรา ที่จะไปจัดสรร ต้องรู้หมู่กลุ่มบุคคล กาละเวลา ต้องเอามาประมาณให้หมด ซึ่งมันจะเปลี่ยนไป ตามข้อมูลในปัจจุบัน ทุกวันนี้ พ่อครูใช้สัปปุริสธรรม กับมหาปเทส ในการประมาณ บอกตายตัวไม่ได้

ภูมิของแต่ละคน มีหลากหลาย จะถือว่าอะไรจริง อะไรถูก อะไรเท็จ อาจตัดสินไม่ได้เลย ยากคาดเดา แต่ก็ต้องอธิบาย ตามสัจธรรม ก็ตอบอีกทีว่า หลายเรื่องที่เราทำ เป็นเรื่องโลกุตรธรรม เป็นสัจจะย้อนสภาพ ใช้สัจจานุโลมมิกญาณ ในการร่วมกับสังคม ใครจะว่า พ่อครูชั่ว ผิด ก็แล้วแต่ พ่อครูก็ใช้สัปปุริสธรรม ๗ กับมหาปเทส ๔ ในการตัดสิน อยู่ตลอด ซึ่งทุกวันนี้ ความไม่เที่ยง มันจัดจ้านมาก มันต้อง up to second แล้วไม่ใช่ up to date แล้ว มันมีอะไรเปลี่ยนแปลง เร็วมากเยอะมาก

สิ่งที่ทำนี้ เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจ ในกลุ่มอโศก ที่พ่อครูพาทำ และพวกเรา ก็เชื่อมั่นในการทำ พ่อครูไม่ได้บังคับให้ทำ เพียงขอความร่วมมือก็มาทำ โดยไม่ได้ อาศัยอามิส หรือโลกธรรม ทุกวันนี้ พ่อครูภูมิใจ ที่พาพวกเรา ดำเนินชีวิต โดยไม่เป็นทาส โลกธรรม

อย่างโลกียสุข พวกเราก็ฝืนฝึก เพื่อละล้าง ตั้งตนบนความลำบาก อย่าว่าแต่ลาภยศ สรรเสริญเลย แม้แต่ความสุข ที่จะเสพสบาย พวกเราก็ไม่ปราถนา พยายามลด ล้างอยู่ตลอด พยายามตั้งตน บนความลำบาก กุศลธรรมเจริญยิ่ง พวกเราทำมา ก็ได้ผลเรื่อยๆ ดูหัวหอมที่อยู่บนโต๊ะพ่อครู ได้หัวใหญ่เท่ากำปั้น (เป็นหอมแขก) ปลูกที่สวน งานเมืองใหม่

พวกเราทำอย่างที่พ่อครูพาทำ ไม่ได้ไปโหนผู้มีอำนาจ ไม่ได้โหนกาม โหนอัตตา หรืออามิสใดๆ เราไม่ต้องไปอาศัย อิทธิพลของโลกธรรม ผู้ที่พ้นความเป็นทาสแล้ว ก็ไม่โหนอะไร แต่เราก็ทำไป อย่างอาศัยการศึกษาสังคม ทำงาน โดยไม่ได้ไปเอาเปรียบ การศึกษา เพื่อล่าโลกธรรม หรือไปทำงานการเมือง เพื่อไปล่าโลกธรรม จากงานการเมือง เราก็ไม่ไปทำ อาศัยสังคม เราก็ไม่ได้ไปล่าอะไร จากสังคม หรือไปเอาเปรียบสังคม พวกเราไปเสียสละ ไปเสียเปรียบ เรามั่นใจว่า พึ่งตนรอด

๑.ไม่เป็นหนี้ ๒.พึ่งตนเองรอด ๓.พัฒนาสร้างสรรมีส่วนเกิน ๔.เอาส่วนเกินไปช่วยเขา ตั้งแต่วัตถุ แรงงาน เรามีแรงงานเหลือ ก็ไปออกแรงให้ข้างนอก โดยไม่คิดค่าแรงงาน หรือจะไปได้อะไร ตอบแทนมา แต่เพื่อสงเคราะห์ เกื้อกูลมนุษยชาติ พูดไปเหมือนยกตัว ข่มคนอื่น เราทำอย่างนั้นจริง

เรามาแบบหัวเดียวกระเทียมลีบ ไม่มีใครช่วยเหลือ สนับสนุนเลย แล้วก็กว้างมาเรื่อย คนที่เห็นดีเห็นงาม ก็ไม่มีคนที่มีอำนาจทางสังคม จะมีก็แต่คุณจำลอง ศรีเมืองที่มา เราก็อาศัยกันบ้าง พึ่งพากัน แต่ก็ไม่ได้ไป รบกวนเขามากมาย ไม่ได้เอาอิทธิพล อำนาจคุณจำลองไปเบ่ง ไปเอาอะไร แม้แต่บางคราว ที่คุณจำลองจะแสดง ที่คุณจำลอง เป็นประธาน มูลนิธิกองทัพธรรม ก็แสดงบ้าง

คนจะเข้าใจในพฤติกรรมอาริยะได้ยาก เพราะเป็นธรรม ทวนกระแสสังคม มันยาก มีคนมาย้อนแย้ง ก็เป็นอย่างนั้น เพราะมันเข้าใจไม่ง่าย ต้องเป็นคนที่มีวิมุติ

                เรื่องของวิมุติ มีอยู่ใน พร ๕ ประการ คือ
                ๑. อายุ มีเครื่องแสดงคือ อิทธิบาท จะเห็นว่าคนที่ยังมีชีวิต จะมีอิทธิบาท มีความยินดีขยัน เอาใจใส่ ทำการงานอันไม่มีโทษ นี่คือเครื่องแสดง ความเป็นผู้มีอายุ ของผู้บรรลุธรรม
                ๒.วรรณะ คือมีศีลเป็นเครื่องแสดง ศีล ๘ จะสูงกว่าศีล ๕ (ใครไม่เห็นว่าสูงกว่า ก็แล้วไป) ผู้มีศีลนั้นคือผู้บรรลุศีล คือจิตจะบรรลุเลย ในศีลแต่ละข้อ ในโสดาบัน ก็บรรลุศีล ๕ จิตเป็นปกติ ที่จะไม่ฆ่าสัตว์ คำว่าปกตินี้ ลึกซึ้งถึงปรมัตถ์ อย่างศีลข้อ ๑ จิตล้างกิเลสอยากฆ่าสัตว์ ไม่เหลือ จนเป็นปกติสามัญชีวิต นี่คือปกติที่เป็นศีล มันไม่ใช่เรื่องตื้นเขิน ผู้มีวรรณะคือผู้มีศีล อย่างจิตไม่ฝืนเลย ไม่ต้องการของๆคนอื่น ไม่มีกิเลสไปนอกใจคู่สามี ภรรยาของเรา ไม่ติดในสิ่งมอมเมา อบายมุข เราก็ปกติสบาย
                ศีล ๕ เป็นโสดาบัน ศีล ๘ เป็นสกิทาคามี ศีล ๑๐ เป็นอนาคามี จิตจะสูงขึ้นจริง ไปถึงศีลโอวาทปาติโมกข์ ผู้มีชั้นวรรณะ จะเอาศีลเป็นเครื่องแสดง ยิ่งบรรลุแล้ว ก็จะไม่แสดงออก ทางกายวาจา ดีไม่ดี จะมีการใช้สัจจะย้อนสภาพ ได้ด้วย
                ๓. สุข เพราะมีฌาน ฌานคือจิตที่ไม่มีนิวรณ์ อย่างลืมตา เราจะไม่มีนิวรณ์ ได้ระดับไหน เรามีไฟฌานในการเผากิเลสให้หมด เราก็สุขสงบจากกิเลส แม้ลืมตามีการกระทบ เราก็เฉยได้สงบสบาย ผู้มีฌานจะอยู่กับโลก สัมผัสกับโลกธรรม จิตก็ไม่หวั่นไหว ( ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ น กัมปติ ) นี่คือ นิพพานัง ปรมังสุขัง มัน นัตถิอุปมา ไม่มีอะไรเปรียบได้
                ๔.โภคะ โภคทรัพย์ มีอปมัญญาหรือพรหมวิหาร ๔ เป็นเครื่องแสดง มีจิตอยากช่วยโลก เป็นจิตพระเจ้า ผู้มีทรัพย์มหาศาล คือผู้ที่มีพรหมวิหาร นี่คือคนรวยมากๆ มันเป็นอาริยทรัพย์
                ๕.พละ หรือพลัง มี วิมุติเป็นเครื่องแสดง อันนี้คนเข้าใจยาก อย่างพวกเรานี่ ทำด้วยจิตที่ไม่ได้มีอามิสล่อ เราทำอย่างตั้งใจทำ ยิ่งไม่มีกิเลส ยิ่งเป็นพลังที่ประเสริฐ เราทำงานที่ไม่มีโทษ ทำเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เพราะเราเอง เหลือกินเหลือใช้แล้ว เรามีพลัง ๔ พ้นภัย ๕ได้ เราไม่กลัวการมีชีวิต แม้มาอยู่อย่างไม่มีเงิน เราก็ไม่กลัว เรามาอยู่กัน หลายคนอายุมาก ไปไหนไม่รอดแล้ว ก็ไม่กลัวว่า ชีวิตจะอยู่ต่อไปไม่ได้ ไม่ได้มีเงินทอง ทรัพย์สินเป็นประกัน เราเชื่อระบบสาธารณโภคี เราเชื่อบุญ เราเชื่อมิตรดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี สอดคล้องกับธรรมะพระพุทธเจ้า จะอธิบายได้ตรงชัดหมด เพราะเราทำ ตรงตามพระพุทธเจ้า

พ่อครูมีวุฒิทางโลก เขาเทียบแล้วแค่ อนุปริญญา แต่ไม่ได้น้อยใจ ความรู้ที่ได้เรียนมา ก็เอามาใช้บ้าง แต่ใช้ความรู้เรื่องศีลธรรม เป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ดูแคลนความรู้ทางโลก ถ้าเรามีปัญญา เลือกเฟ้นสิ่งที่ควร และไม่ควร เรามีมหาปเทส เราก็เอามาใช้ได้ ถ้าชีวิตเรามีธรรมะ เราก็สบาย เราใช้เวลา เดี๋ยวหมดวันๆ เลยแก่ไม่ทันเลย รู้สึกอย่างนั้นจริงๆ

ย้ำว่าไทยเรา มีคนที่ควรถูกยก มากหรือไม่อย่างไร? พ่อครูก็เห็นว่า ในหลวงทรงงานหนัก แม้มีคนมองว่า ในหลวงทำงานอย่างไร ไม่เห็น เขาก็มองไม่ออก เพราะกิเลสบัง แล้วมองไปสุดโต่ง ว่าต้องเท่าเทียมกัน


ต่อไปเป็นการตอบประเด็น ปัญหา?

การทำบุญด้วยการกรวดน้ำได้ผลอย่างไร? 

ตอบ... คำว่าบุญ ทุกวันนี้เพี้ยนไปไกล พ่อครูจึงต้องมา สร้างความเข้าใจให้ถูก คำว่าบุญ นี้ มาจากภาษาบาลีว่า ปุญญะ จากรากศัพท์ แปลว่า "ชำระจิตสันดาน ให้ผ่องแผ้ว สะอาด" ชำระไปถึงสันดาน ที่อยู่ภายใน ก็คือกิเลสนั้นเอง ให้บริสุทธิ์สะอาด แต่เขามาเข้าใจว่า บุญคือคุณค่าประโยชน์ อย่างโลกียะ เป็นโลกธรรม เมื่อมันเพี้ยนแล้ว เอาไปแปล เป็นบุญในเรื่องสังขาร อย่าง ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร เขาก็ไปแปลผิดๆ ที่จริงอปุญญาภิสังขาร ควรหมายความว่า ไม่ต้องปรุงบุญ คือการชำระบาปแล้ว 

ในพระไตรฯเล่ม ๓๕ ข้อ ๒๕๗ ว่าไว้ดังนี้
[๒๕๗] "สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน  กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร
กายสังขาร เป็นไฉนกายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร มโนสัญเจตนา เป็นจิตตสังขาร เหล่านี้เรียกว่า สังขารเกิด เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย"

พ่อครูขยายความ... อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร คืออกุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร อกุศล เราก็ไม่ต้องชำระแล้ว แม้ในกามาวจร พระพุทธเจ้าท่านอธิบาย ผู้บรรลุธรรมพระพุทธเจ้า แม้ในกามาวจร กิเลสท่านก็ไม่มี นี้คือปุญญาภิสังขาร ของท่านผู้บรรลุธรรม

อย่างอเนญชาภิสังขาร คืออรูปาวจรในจิต จิตของผู้นี้ถึงขั้น อรูปาวจร ก็เป็นกุศลหมด เมื่อข้างในเป็นกุศลหมด ข้างนอกก็ต้องเป็นกุศลหมด คือจิตผู้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม แม้อยู่กับภายนอก จิตเป็นประธาน จิตของผู้บรรลุธรรม ไม่ต้องชำระจิตอกุศลเจตนา และในขณะอวจรในอรูปภพ ท่านก็ไม่หวั่นไหว มีอเนญชา

การเรียนรู้ที่จะพ้นอวิชชา ต้องเรียนรู้สังขาร ๓ ที่มีกายสังขาร ต่อเนื่องไปสู่จิตสังขาร ท่านให้ศึกษา จิตในจิต คือสติปัฏฐาน ๔ ทำใจในใจเป็น เช่นทำสังกัปปะ ๗ เป็น ก็จะเห็นวจีสังขาร ถ้าผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรม ถึงขั้นทำใจในใจเป็น จนกระทั่งรู้ ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา วจีสังขาร คือการสังขารในจิต แล้วก็รู้ชำระสังขาร อย่างปุญญาภิสังขาร ศึกษาวจีสังขาร อย่างไรให้ไม่มีกิเลส ก็ทำตั้งแต่ในจิต ซึ่งจะเจริญไปตามลำดับ ของพระโยคาวจร เกินสามัญ เกินที่คนคาดเดา ถ้าไม่รู้สังขาร ก็จะปรุงแต่ง ไปตามกิเลส แต่ถ้าปฏิบัติ รู้สังขาร ตั้งแต่ควบคุม ตักกะ วิตักกะ ก็จะมีสังกัปปะ ที่เป็นกุศล เราวิจัยจิต ว่ามีโทสะ ราคะ โมหะ ให้มันลดลง ตามปหาน ๕ หรือ พิจารณาในไตรลักษณ์ มันไม่เที่ยง มันพาทุกข์นะ สุขน่ะสุขหลอก มันเป็นเหตุแห่งทุกข์ เมื่อกำจัดเหตุได้ จึงจะเข้าใจอภิสังขารได้ อย่างไม่เดา  

บุญคือการชำระกิเลส คือสิ่งยิ่งใหญ่ ถ้าไม่เข้าใจ ก็แค่แปล กลับไปกลับมา เหมือนกับแปล สุขกับทุกข์ แค่กลับกันไปมา เช่นในพรหมวิหาร แปลกันว่า เมตตา คือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ กรุณาคือให้เขามีสุข อย่างนี้มันแปลวนไปมา ไม่ใช่โลกุตระ

ประเด็นที่กรวดน้ำ

ตอบ... ยิ่งกรวดน้ำยิ่งบาปมากขึ้น เพราะคุณไปทำทาน แล้วก็ไปกรวดน้ำ ส่งไปให้ผู้ตาย เขาไปแปลว่า บุญคือตัวตน หรือโลกธรรม ก็ยังวนอยู่ คุณจะได้บุญ คือต้องชำระกิเลส แต่คุณทำทาน ก็ต้องชำระกิเลสโลภ ทานหรือสละของตัวให้คนอื่น มือและปากบอกให้ ใจก็ต้องสละด้วย แค่คุณอยากได้ นั่นก็ไม่เป็นบุญแล้วเป็นบาปแล้ว ยิ่งไปกรวดน้ำ ย้ำไปอีก มียายคนหนึ่งแกกรวดน้ำ เอาถังใบใหญ่เทลงไปเลย นั้นยิ่งย้ำลึกเข้าไป ให้โลภมากขึ้นๆ ว่าจิตเราต้องเอาให้ได้ เป็นมโนกรรมที่ ยิ่งโลภเข้าไปอีก

     มีกลอนตลกๆว่า
     ธรณี นี่นี้ เป็นพยาน
อันตัวลูกได้ทำทาน เสร็จแล้ว
จึงยืมถังท่านสมภาร มากรวด น้ำเฮย
คนอื่นใช้ขวดและแก้ว ลูกว่า เล็กไป
      เพราะสิ่งหวังในใจลูก มากมี
ขึ้นศกใหม่ทั้งที ต้องเริ่ด
จะขอเผื่อสามี และบุตร ด้วยแฮ
ชวนมาวัดทำเชิ่ด ทั้งลูก และผัว
       หากชาติหน้าเกิดอีก ฉันใด
ขอเกิดประเทศไทย นะแม่
เกิดต่างแดนคงทำใจ ลำบาก
ภาษาอังกฤษฉันแย่ แต่เล็กจนโต
       ขอให้สวยสุดหล้า ปฐพี
ได้ประกวดบนเวที หมู่บ้าน
มีสติปัญญาดี มิโง่
ให้โลกสะเทือนสะท้าน นี่แหละ หญิงไทย
       ขอผัวที่ดี เก่ง และรวย
ผัวกระบักกระบวย ขอเว้น
มีผัวผิดคิดจนงงงวย ผัวเหี่ยว
ได้ดั่งใจลูกจะเซ่น ด้วยกิ๊กหนึ่งคน
         ถ้ามีลูกขอลูกอย่า ทิ้งฉัน
เวลาแก่ตัวมัน ลำบากเน้อ
เลี้ยงโตแล้วทิ้งกัน หนีหมด
ปล่อยแม่คิดถึงเก้อ นี่หรือลูกเรา
        ขอตัดเวรกับเจ้าหนี้ ทั้งปวง
ชาตินี้ไม่มีดวง จ่ายให้
จงอย่าเสียเวลาทวง วานบอก ทีแม่
ชาติหน้าอาจจ่ายได้ ถ้าผัวฉันรวย
         ขอมากไป? หรือแค่ ชิวชิว?
แต่ตอนนี้ ลูกเป็นตะคริว ช่วยด้วย!!!!!
ว้าย !

เป็นเรื่องบานปลายของพิธีกรรม ถ้าอนุโลมก็คือ การระลึกถึง บุญคุณพ่อแม่ เป็นการเผื่อแผ่ เป็นสังคมศาสตร์นิดๆ แต่ทำลายสัจธรรมพุทธศาสนา ทำให้เข้าใจผิด เป็นทานที่เพิ่มกิเลส เป็นมิจฉาทิฏฐิ

ขอพ่อครูอธิบายว่า อภิสังขารมารของพระอาริยะคือ??.

ตอบ.. พระอาริยะมีหลายระดับ ของโสดาฯสกิทาฯอนาคาฯ ก็ยังมีมาร แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็มีมาร อย่างในโสดาฯ ก็มีอภิสังขารมาร คือมารที่ปรุงแต่งในใจ หลอกเรา เป็นอรหันต์แล้ว จึงหมดอภิสังขารมาร สำหรับปรมัตถ์ แต่อภิสังขารมาร ที่อธิบายภายนอก คือมารที่ปลอมตัวเป็นเทพบุตร ในปรมัตถ์คือหลอกตัวเอง ในรูปธรรม คือพวกขี้โกง ที่เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในสังคม ดูดี แต่จิตมีแต่กิเลสทำชั่ว

ชาวอโศกมีวิธีจัดการมดแมลงสาป หนู อย่างไรไม่ให้ผิดศีล 

ตอบ...โยมๆตอบว่า ทำ ๕ ส. หรือใช้จุลินทรีย์ไล่มันไป เป็นเรื่องยาก คนที่ทนไม่ได้ ก็ฆ่าแกงกัน แม้จะเสียของบ้าง ก็ยอมให้มดปลวกบ้าง แล้วแต่ว่าใครจะกล้าปล่อยให้สัตว์ ทำข้าวของเสียหายไหม มันก็มีส่วนบาปและบุญ มันมีวิบากซ้อนอยู่มาก ถ้าวิบากดี ก็มีคนรองรับ คนที่ยังมีอาชีพ เป็นเพชรฆาต ก็ฆ่าคน เขาก็ต้องรับ ฐานะฆ่าคน เขาก็บาป แต่จิตเขาไม่ได้ฆ่าเพราะมีกิเลส โกรธเกลียด แต่เขาฆ่าตามหน้าที่ ต่างกับคนที่ฆ่า เพราะโหดร้าย อยากฆ่า เพรชรฆาตเขาสงสารอยู่ แต่คนนี้เป็นคนร้าย ก็ต้องฆ่า เพราะปล่อยไป ก็ทำร้ายสังคม หรืออย่างตำรวจทหาร ต้องฆ่าคนเพื่อบ้านเมือง ก็ทำหน้าที่ไป ก็เป็นบาปได้ เขาก็โกรธแค้นได้ แต่เราไม่มีเจตนา ด้วยโกรธเกลียด แต่อย่างใด แม้แต่เราไปเหยียบหัวงูตาย เราไม่มีเจตนา แต่งูจะพยาบาทเราเป็นเวรภัยแล้ว เป็นอจินไตย

ช่วยขยายอรหันต์ ๗ ข้อ ๑ สัทธาวิมุติด้วยครับ?

ตอบ.. เป็นทักขิเนยบุคคล ๗ มากกว่าอรหันต์ ๗ และข้อสัทธาวิมุติ ก็เป็นข้อ ๓ ต่างหาก ...ค่อยๆฟังไป อรหันต์ ๗ นั้นเป็นคำอธิบายของ วิสุทธิมรรค ไม่ใช่คำสอน พระพุทธเจ้าทีเดียว อย่างเช่น สุขวิปัสสโก คืออรหันต์ที่ไม่มีฌานเลย ก็ค้นไม่เจอ ในไตรปิฎก

สุตมยปัญญา กับจินตามยปัญญา อะไรมาก่อน

ตอบ.. อะไรมาก่อนก็ได้ ถ้าคุณคิดของตน ไม่ฟังใครมาก่อนก็ได้ แต่จริงๆแล้วเขาจะเอา สุตมยปัญญา มาก่อน แล้วค่อยขบคิดใคร่ครวญ แต่ก็เป็นสภาพตรรกะทั้งสิ้น จนกว่า จะทำจนบรรลุ

หากเราถูกเขาชี้ชุมทรัพย์แล้วเราก็นิ่งฟัง โดยจิตเราก็ไม่หวั่นไหว แล้วเราก็วิจัยวิจาร์ของเรา ถูกไหม?
ตอบ.. ถูกทำให้ได้

อุปกิเลส ๑๖  ทำไม ไม่มีสายพยาบาท ?

ตอบ  อภิชฌาวิสมโลภะ คือข้อ ๑ เป็นสายโลภ แต่ข้อ ๒ ไปเรื่อยๆ เป็นสายพยาบาท ไปหมดเลย

การทดแทนพระคุณพ่อแม่ที่ตายไปแล้วทำอย่างไร? 

ตอบ... การตอบแทนคุณ ต้องทำตอนเป็น ไม่เคยเห็นว่า พระพุทธเจ้า ท่านสอนการทดแทน บุญคุณพ่อแม่ตอนตายไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้ผู้ตาย เพราะพระพุทธเจ้าสอนว่า กัมมัสสโกมหิ (กรรมเป็นของๆตน) กัมมทายาโท (เราเป็นทายาท รับกรรมที่เราทำ) กัมมโยนิ (เรามีกรรมเป็นที่เกิด ที่กำเนิด) กัมมพันธุ (เราเกิดมีกรรม เป็นเผาพันธุ์) กัมมปฏิสรโณ (เรามีกรรมเป็นที่พึ่ง) ถ้าเข้าใจอันนี้แล้ว จะไม่หลงผิด พ่อแม่ตายแล้ว อย่าไปห่วงหาอาวรณ์ ตายไปแล้ว ก็ไปรับวิบากของท่าน เราเองก็มีวิบากเรา ไม่ได้พูดให้ไป ลบหลู่คุณท่าน แต่ให้ปฏิบัติให้ถูก

บารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี ต่างกันอย่างไร?

ตอบ....
บารมี คือคุณธรรม เป็นคำกลางๆ
อุปบารมี คือบารมีที่สูงขึ้นเพิ่มขึ้น เป็นลักษณะกลางๆ โลกียธรรมก็ได้ โลกุตรธรรมก็ได้
ปรมัตถบารมี คือบารมีในระดับจิตเจตสิก รูป นิพพาน เช่น บารมี ๑๐ ทัศน์ เข้าถึงจิต เจตสิก รูป นิพพาน ในขณะเป็นๆเลย

ทางสันติอโศกจะเข้าข้างปชป. รังเกียจพรรคเพื่อไทย ผมอยู่ภาคใต้ รู้ดีว่าปชป. มีสิ่งไม่ดีมาก หากจะเชียร์ฝ่ายใด จะไม่ถูก..

ตอบ.. อโศกจะเชียร์ทุกพรรคที่ทำถูกต้อง พรรคไหนทำไม่ถูกต้องก็ไม่เชียร์ แม้พรรค เพื่อฟ้าดิน ใครทำไม่ถูก ก็ไม่เชียร์

พ่อครูช่วยการเมือง เป็นอนัตตาหรือไม่? ถ้าไม่ ทำไมไม่วาง เพราะเป็นเหตุ ขวางคนเข้ามาขัดเกลากิเลส.....

ตอบ... ใช่ ช่วยการเมืองด้วยจิตอนัตตา จะว่างอย่างไรก็ไม่มีตัวตนแล้ว และพ่อครู ก็เดาความเข้าใจคุณไม่ออก คุณเข้าใจอโศกไม่ถูกนะ.... ตอบไม่ไหว?

............ จบ