560509_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู
เรื่อง แตกปฏิจจสมุปบาทให้ระเบิดเกิดวิชชา

         พ่อครูจัดรายการที่ห้องกันเกราสันติฯ...

วันที่ ๕ มิ.ย. ๕๖ นี้ วันก่อนงานอโศกรำลึก พ่อครูก็จะอายุเต็ม ๗๙ ปี พ่อครูก็อายุยาว มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ย่อหย่อน ไม่ได้ออมมือในการสอน พยายามตั้งใจเต็มที่ ให้เป็นงานที่ดี อายุมากขึ้น ความเข้าใจชีวิต ความรับผิดชอบ เข้าใจสิ่งดีไม่ดี มากขึ้น และก็เห็นว่า ควรสำคัญมั่นหมาย กับสิ่งใด

พออายุยาวขึ้น เห็นพฤติกรรมที่ผ่านมา ชั่วก็ทำ ดีก็ทำ แต่ทำชั่วแล้ว มีประโยชน์อะไร ดีมีประโยชน์อะไร อย่างมากก็ได้ ลาภยศสรรเสริญ โลกียสุข ซึ่งมันก็แวบผ่านไป ชีวิตที่เรามีธาตุรู้ รับผิดชอบ พยายามทำสิ่งที่ดีที่ควร สิ่งที่ไม่ดีไม่ควร ทำไปทำไม

พ่อครูเชื่อกรรมวิบาก ที่สั่งสมมา มาถึงชาตินี้ จึงเป็นคนอย่างนี้ ทำได้รู้ได้แบบนี้ มีชีวิตแบบนี้ ซึ่งเป็นชีวิต ที่ท้าทายมาก คือในชีวิตนี้ ไม่มีหลักประกันทางโลก เงินไม่มี ยศไม่มี อำนาจอิทธิพล ทางโลกไม่มี ความสามารถของตนเอง ก็ไม่ค่อยมีเท่าไหร่ ในเรื่องการสร้างการผลิต เป็นชิ้นเป็นอัน ก็ไม่ค่อยมีความเก่งในการทำ ความรู้ยิ่งไม่เป็นผู้ที่ เรียนอะไรมามากมาย ป.ตรีไม่มีซักใบ ไม่มีใครรับรอง เรื่องความรู้

พ่อครูเห็นว่า ที่พ่อครูมีชีวิตอยู่ได้ ลาภ ยศฐาบรรดาศักดิ์ก็ไม่มี สรรเสริญแต่ก่อน ทำธุรกิจบันเทิงก็มี แต่ปัจจุบันเห็นว่า เป็นเรื่องเหลวไหล ไร้สาระ เป็นวิบากที่ต้องผ่าน ไม่ได้จริงจังอะไร ทุกวันนี้ก็เห็นว่า ไม่ต้องเอาภาระ เอาเรื่องเอาราว กับมันเลย มีแต่เรื่องสาระสัจจะ ของมนุษยชาติ ของสังคม จึงยอมเหนื่อยทำ

พ่อครูสามารถดำเนินชีวิตอย่างไม่มีเงิน ก็ไม่กลัว ไม่ย่อหย่อน แต่ยืนหยัด อยู่กับการงาน ไม่เห็นแก่เงิน ต้องได้มาแลกเปลี่ยน ไม่คิดว่า ต้องได้ยศชั้น มาให้แก่ตัว แต่ชีวิตอยู่รอดได้

จะต้องมีเงินมีทองใช้ ก็มีคนมาอุปภัมภ์ค้ำชู ให้ทำงานได้ พอเป็นไป ซึ่งไม่เหมือนตอน ฆราวาส ที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ที่ต้องรับผิดชอบ ส่งเสียน้องๆ ดูแลทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของ หาเองไม่มีมรดกอะไร

แต่พอทำงานทางนี้ ก็ไม่ได้มีเงินทองอะไร มาทำงานอย่างมือเปล่า ก็ไปได้ด้วยเนื้อหา สาระธรรมะ ด้วยเนื้อธรรมะ เป็น ธัมโมหเวรักขติ ธัมมจาริง คือธรรมย่อมรักษา ผู้ประพฤติธรม ก็ชัดจริงที่สุด เท่าที่ทำอยู่ ก็เป็นไปได้ จึงยิ่งทำให้เชื่อกรรมวิบาก เชื่อธรรมะมากขึ้น

ก็อ่านจากผู้ที่มาร่วมเป็นหมู่กลุ่ม มิตรดีสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี ต่างคนต่างมาสละ มามุ่งมั่น ปฏิบัติสำรอกกิเลส ทำงานกับสังคมไป ยิ่งยืนยันว่า ธรรมะเป็นที่พึ่ง อันสุดยอดจริงๆ พึ่งธรรมได้จริงๆ มั่นใจและเห็นคุณค่า เพราะมองในโลกโลกีย์ ในประเทศ ขออภัยที่จะพูด ก็ไม่ได้กล่าวว่า แต่พูดสัจธรรม ในไทยเรานี่แหละ ยิ่งห่างธรรม ยิ่งไกลธรรมะ พูดให้ชัดคือ เสื่อมจากธรรมะ จึงเห็นความเดือดร้อน ของสังคม เพราะธรรมะมันเสื่อม มันไร้ มันมีอธรรม ซะมาก

หันกลับมาดูหมู่กลุ่มที่พ่อครูทำงานมา ๔๐ ปี เราดำเนินอย่างใช้ธรรมะ เป็นเครื่องอาศัย จะมีมากน้อย ก็อยู่ในข่ายที่ว่า เอาธรรมะเป็นที่ตั้ง เราชาวสันติอโศก ทั้งๆที่เราเอง ไม่ได้เจตนา ให้เขาเรียกว่า สันติอโศก แต่ว่าเจตนาให้เขาเรียกว่า อโศกเท่านั้น เราถือว่า อโศกเป็นชื่อยี่ห้อ แต่มันอยู่กลางตัวเมือง คนก็เลยตีขลุมว่า "สันติอโศก" เราก็ไม่ติดใจ เขาจะเรียกอะไร

ชาวอโศกที่มีธรรมะได้แก่ตัวเอง ทำให้ความประพฤติเป็นธรรมะ ตามที่ตนได้ จนรวมเป็น องค์รวม เป็นพฤติภาพของ ชาวสันติอโศก เป็นอยู่กับสังคม ผู้ที่เห็น ปรากฏการณ์ของสังคม ก็จะเห็นเรา เราไม่ได้ปิดบัง เราบอกว่า เราเป็นอย่างนี้ บอกกับสังคม อย่างไม่ปิดบัง ไม่มีแฝงซ่อน ทุกบรรยากาศคือ การรายงานความจริง ก็เป็นจริงอย่างนั้น

อโศกกับสังคม นั้นค่ารวมขององค์กรแต่ละองค์กร แต่ละสำนัก ก็เห็นความประพฤติ ผู้มีปัญญา ก็จะตัดสินเอาเอง ก็จะรู้เอง เราก็มั่นใจว่า เรายิ่งทำ เรายิ่งได้ดีไปเรื่อยๆ ยังไม่เห็นวาระเสื่อม ก็เจริญไปได้ ก็มั่นใจทำไป แน่นอน ก็มีผู้ค้านแย้งต่อต้าน ก็เป็นธรรมดาของสังคม ไม่เห็นแปลก แต่อย่างใด

มีสิ่งสะท้อนรายงานมาจากความเป็นจริงก็มีอยู่ พ่อครูอธิบายบรรยายธรรมะนั้นยาก ก็รู้ว่ายาก พยายามอธิบายนี้ก็ยาก เพราะละเอียดลึกซึ้ง พ่อครูต้องทำการค้นคว้าวิจัย ในพระไตรปิฎก เพื่อทำความจริง ความรู้ของธรรมะ ให้ดียิ่งขึ้น ก็ตั้งใจทำ จนกว่าจะตาย ไม่ได้ห่วงเลยว่า จะตายในวันนี้พรุ่งนี้ เพราะชีวิตนี้คุ้มค่าแล้ว ไม่เสียชาติเกิดแล้ว ก็ตั้งหน้าตั้งตา ทำดีต่อไปเรื่อยๆ

ขอแจ้งเรื่องราวของชาวอโศก เกี่ยวกับเรื่องงานอโศกรำลึก ที่จะจัดในระหว่าง วันที่ ๖-๑๐ มิ.ย. ๕๖ นี้ เป็นงานไม่เคร่งครัด ในการปฏิบัติธรรม แต่เป็นงานสังสรร สนุกสนาน พอควร จะมีศิลปินภายนอก มาร่วมด้วยเยอะเลย ปกติจะจัดที่สันติอโศก แต่ปีนี้ จะไปจัดที่ บ้านราชฯ จ.อุบลราชธานี คนใจไม่ถึง ก็คงจะไม่ไป แต่อย่างไรเราก็จัด เราจะมีเรื่องกิน เรื่องสนุกเป็นหลัก นอกนั้น ก็มีเรื่องธรรมะ เรื่องประชุมแซมบ้าง มีดนตรีตลอด ๕ วัน และที่มีตลอดงาน คือโรงบุญ กินกันตลอด ๕ วัน ทุกปี มีคนมาร่วม ออกโรงบุญ ๖๐-๗๐ เจ้า ปีนี้ใครจะจัดเชิญ แจ้งที่ปะพัดชา หรือคุณใบแก้ว ก็คงจะเพิ่ม ความครื้นเครง ครึกครื้นกัน ด้วยการล่องเรือด้วย

0846661xxx นมัสการค่ะ ท่านสมณะ สิกขมาตุ ธรรมะวันนี้ ช่างทำให้เข้าใจง่ายจังค่ะ นั่งดูคนเดียว บางทียิ้มบางทีหัวเราะ เพราะมันตรงกับที่ตัวเองเป็น ซะเหลือเกิ๊น

0867081xxx เพิ่งมีเวลาได้ดูท่านพอแล้ว ท่านด่วนดี ท่านฟ้าไท และ สิกขมาตุ กล้าข้ามฝัน ให้ธรรมะ แสงสว่างเข้มข้น ขอบคุณครับ

0822432xxx วันนี้ท่านพอแล้วเทศน์ดีมาก

ซึ่งพ่อครูก็ต้องเทศน์ในสิ่งที่ยาก อธิบายจากพระไตรปิฎก ซึ่งมีความลึกซึ้ง เข้าใจยาก ต้องมีสภาะจริง จึงอธิบายได้ถูก ส่วนสมณะ สิกขมาตุ ก็มาอธิบายต่ออีก ที่ให้เข้าใจ ง่ายขึ้นอีกก็ดี

เมื่อเริ่มมี โลกุตระธรรม ก็จะมี วิชชา มาแทนที่ อวิชชา ก็คือเริ่มรู้ การเกิด มี การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นวงวน เรียกว่า ภพ หรือ โลก

ชาติ มีการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มี สามเส้า หมุนสังขารกันอยู่ เพราะมี อุปาทาน เป็นความยึด ผู้อวิชชา ก็จะมีความยึด หรืออุปาทาน ซึ่งเมื่อแสดงตัวออกมาเป็น ตัณหา ซึ่งพระพุทธเจ้าสอน เหตุใหญ่ของทุกข์ ก็คือ ตัณหา

ตัณหา เป็นตัวเหตุหลัก ในอริยสัจ ๔ ซึ่งก็จะต่อเนื่องถึง อุปาทาน เห็นสิ่งโยงใยกันอยู่ แต่ตัวที่จะดับ เป็นต้นทาง ก็คือ ตัณหา เมื่อดับได้ ก็จะเกิดเป็นวิชชา ก็จะลดสังขาร ลดวิญญาณ ลดนามรูป ..

สังขารลด คืออะไร จนถึงดับสังขาร ดับวิญญาณ ดับนามรูป ดับสฬายตะ ซึ่งต้องรู้ว่า ดับอย่างไร ดับไม่ให้มีเลย ไม่ต้องมีสังขาร วิญญาณ นามรูป เลยหรือไม่? ต้องรู้ในสภาวะ คนที่เผิน ไม่ทราบละเอียด ก็จะไปดับทื่อๆ ไปหมดเลย มันก็ไม่ได้จริง

               [] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทว ทุกข์โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
           [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาด แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
               [] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏ แห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ (หมายเอาความเกิดทางจิตวิญญาณ โอปปาติกโยนิ)
               [] ก็ภพเป็นไฉน ภพ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เรียกว่าภพ

เรื่องภพทั้งสามนี้ ปฏิบัติไม่ได้แยกกัน เปิดตาเรียนรู้ภพนอก แล้วมารู้ที่ใจ ไล่ไปตั้งแต่ กิเลสหยาบ โอฬาริกอัตตา วีติกมกิเลส (กิเลสที่จะต้องล่วงพ้น) จนไปปริยุฏฐานกิเลส ต้องเรียนรู้ กามภพก่อน อย่าไปตั้งหลัก ในภพภายใน เป็นภพละเอียด เป็นนามธรรม อย่าเรียนตัดลัด ธรรมะพระพุทธเจ้า เป็นธรรมมีลำดับ ลาดลุ่มเหมือนฝั่งทะเล

กามภพ ที่หยาบมาก็คือ อบาย ที่เหลือก็เป็นกามภพต่อมา เหลือรูปภพ ก็ปฏิบัติอยู่อย่าง เปิดทวาร ๖ แล้วมีใจ เป็นทวารรับรู้ภายใน ซึ่งต้องมีอวจร (ท่องเที่ยว) อยู่ในกามาวจร แล้วเห็นกิเลส แล้วจับกิเลส กำจัดกิเลส ในขณะลืมตาเปิด มีชีวิต เหมือนคนอื่นๆ ที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรม ไม่ได้หนีไปไหน แต่ผู้ปฏิบัติที่บรรลุธรรม ขจัดกิเลสตายแล้ว ดับกิเลสในกามภพได้ ก็เหลือกิเลส ในภวภพ อรูปภพ ไม่ออกมามีพฤติกรรมภายนอก จะเหลืออยู่แต่ภายใน แต่ปฏิบัติอยู่เหมือนเดิม หลุดพ้นแบบไม่หนีโลก ไม่เป็นโลกันตะ อยู่กับโลก และช่วยโลกด้วย เมื่อดับกิเลส ก็มีทุนรอน แรงงานเหลือไปช่วยโลกอีก

ลืมตาโพลงๆ แต่มีฌานมีสมาธิ ซึ่งเขายึดผิดๆมานานแล้ว ต้องขออภัย ที่นำเสนอสิ่งใหม่ ที่ไปค้านแย้งกับเขา แต่ไม่ได้ไปข่มขี่ ดูถูกดูแคลน แต่มันเลี่ยงภาษาไม่ได้ เกรงใจ แต่เลี่ยงไม่ได้ ไม่บอก ก็ไม่รู้ตัว ไม่บอกก็ไม่เข้าใจกัน

ภพ นั้นสำคัญ ที่พ่อครูขยายความนั้น ต่างจากที่เขาอธิบายกัน ที่เขายึดถือกันทั่วโลก จึงกลายเป็น หัวเดียว กระเทียมลีบ ยิ่งอ่านในพระไตรฯ ยิ่งชัดว่าตรงกับที่เข้าใจ และก็ต้องติง ผู้แปลไตรปิฎก ที่มีแนวโน้ม อธิบายไปว่า การมีฌานมีสมาธิ ต้องไปอยู่ในภพ ในภวังค์ บางอันพ่อครู จึงจำเป็นต้องหัก ด้วยความเกรงใจ

ปฏิบัติ รูปภพ หรือ อรูปภพ ก็ต้องปฏิบัติก็ลืมตา อยู่ในกามาวจรนี่แหละ อยู่กับโลกเขานี่แหละ ละอรูปภพ แต่ก็อยู่ในโลกสามัญ

อุปาทานก็มี ๔ คือ กามุปาทาน ศีลพตุปาทาน ทิฏฐุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ซึ่งถ้ารู้ตัณหา ดับตัณหา อุปาทานก็ดับไปด้วยได้ ตัวที่ยึดถือกันอยู่ คือเรื่อง ทิฏฐิ ใครยึดทิฏฐิตนมาก ก็ฟังพ่อครู ไม่เข้าใจอีก ต้องมีปรโตโฆษะให้ดี ว่าเรายึดกาม ยึดศีลพรต ยึดทิฏฐิ ยึดอัตตาตนอย่างไร

               ศีลพรต หรือวิธีปฏิบัติ ของเรานั้นลืมตา กินอยู่หลับนอน มาจากอปัณกปฏิปทา
               ตัณหา พระพุทธเจ้าตรัสถึงตัณหา ๖ ที่เกิดจาก ทวาร ๖
               เวทนา พระพุทธเจ้าก็ตรัสถึงเวทนา ๖
               ผัสสะ พระพุทธเจ้าก็ยืนยันผัสสะ ๖
               อายตะ ก็ชัดอยู่แล้วว่า สฬายตนะ(แปลว่า ๖อยู่แล้ว)
               นามรูป เป็นไฉน ต้องรู้สภาวะคือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามธรรม ที่ต้องเรียนรู้ ส่วนรูปธรรมนั้นมี อุปาทายรูป และมหาภูตรูป
               เวทนา ก็แจกแจงเป็น เวทนา ๑๐๘ ต้องรู้ มโนปวิจาร ๑๘ ซึ่งมีทั้งด้าน เคหสิตะ และ เนกขัมมสิตะ ถ้าไม่ลดละกิเลส ก็คือเคหสิตะ ส่วนลดกิเลสได้ ก็คือเนกขัมมสะ
               วิญญาณ ๖ ซึ่งการเกิดวิญญาณ เกิดจากมีผัสสะ ๓ มีตาหูจมูกลิ้นกายใจ เป็นเหตุปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ซึ่งสำคัญ จะต้องเรียนรู้ วิญญาณผี วิญญาณสัตว์นรก เป็นสัตว์โอปปาติกะ ซึ่งมาจากการปรุงแต่ง (สังขาร) ด้วยอวิชชา
               สังขาร มี กายสังขาร จิตสังขาร วจีสังขาร และท่านยังแยกต่อไปอีกว่ามี อภิสังขาร ๓ คือ ปุญญาภิสังขา อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร การจะอ่าน วจีสังขารออก ต้องรู้ สังกัปปะ ๗ เราต้องอ่าน เพื่อทำสังขาร ที่ไม่มีอุปาทาน เข้าไปปรุงแต่งเป็น อุปาทานขันธ์ ๕


                ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

  • ผมปฏิบัติกับพ่อครูมาตั้งนาน ยังไม่รู้สึกอยากบรรลุอะไรมากนัก แต่ตอนนี้ พ่อครูนำเสนอ แนวคิด สูตรของไอสไตน์ E=mc2+A ในทางธรรม จึงสนใจอยากสัมผัส สภาวะเช่นนั้น จึงขอทราบ หนทางที่เป็นไปได้ จากพ่อครู

ตอบ ของพ่อครูมีสูตรว่า E=mc2+A ที่ไอสไตน์คิดค้นระเบิด คือระเบิดนิวเคลียส ก็ได้พลังงาน นิวเคลียร์ ออกมามหาศาล ฉันเดียวกันกับ พลังงานนามธรรม ของพระพุทธเจ้า ที่กล้าท้าทายว่า นอกจากจะ Abstract แล้วยัง Absolute ด้วย สมบูรณ์ ทั้งพลังงาน นามธรรม และรูปธรรม สามารถมีฤทธิ์เหนือหมด ทั้งรูปธรรม นามธรรม ส่วนหนทางนั้น ก็อธิบายใน ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ ๔ โพธิปักขิยธรรม หรือจรณะ ๑๕ ก็ตาม นี่คือหนทาง ถ้าปฏิบัติได้ ก็จะเกิดพลังงาน เรียกว่า ฌาน เป็นไฟกองใหญ่ ที่จะระเบิด ทำลาย ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะได้ เป็นเรื่องจริง ถ้าทำให้ถูก

  • การจัดโรงบุญที่บ้านราชฯ ทางบ้านราชฯและศีรษะอโศก มีภาชนะและเตา ให้ยืมพอได้ มีวัตถุดิบ ผักบุ้งถั่วงอก เราจัดอโศกรำลึก มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ ปีนี้ ก็เป็นครั้งที่ ๓๔
  • พ่อครูมีความเห็นเป็นอย่างใดในเรื่องนี้คือ มนสิการ มีสองความหมาย ๑. การทำใจ เป็นสัมภวะ หรือแดนเกิด ดังนั้น จึงหมายถึง สถานที่ที่จะทำลายกิเลส

ตอบ ทุกอย่างจะคู่กันระหว่างรูปกับนาม เช่น ชาติกับภพ ก็คู่กัน มีชาติก็ต้องมีภพ ฉันเดียวกันกับ มนสิการ

  • การปฏิบัติเรื่องอบายนั้นจะมีโลกธรรมมาให้ปฏิบัติตามฐานะเสมอ

ตอบ ถูกต้อง เริ่มที่ขั้นหยาบ ต้องกำหนดของตนเอง ตั้งแต่เรื่องอบาย เรื่องกามภูมิ พอไปถึง อนาคามี ก็หมดกามภูมิ เหลือแต่ภพภายใน จะต้องทำของตนเอง ทำกุศล ของตนเอง ในฐานของ อภิสังขารในระดับ อเนญชาภิสังขาร ซึ่งในอภิสังขาร ๓ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร หรือ อเนญชาภิสังขาร เป็นการสังขารอย่างเฉพาะ อภิแปลว่า ยิ่งใหญ่ ทับ เหนือ เจริญไปข้างหน้า กระทำให้เกิดผลไปเรื่อยๆ

     [๒๕๗] สังขารเกิด เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย เป็นไฉน
1) ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
กุศลเจตนา กามาวจร รูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา  นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร
2) อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
อกุศล เจตนา กามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร  คือจะต้องเรียน ต้องเพ่งเจตนาที่เป็นอกุศล ในกามาจวร
3) อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน
กุศล เจตนา อรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร
               ในพระไตรฯล. ๑๖ ข้อ ๑๙๑-๑๙๒  เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้น ย่อมรู้ประจักษ์สังขาร ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ ความดับ แห่งสังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควร ที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร และย่อมเป็น ผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรม อันสมควร ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ โดยประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณ ก็เข้าถึงบุญ ถ้าสังขารที่เป็นบาป ปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบาป (คำว่าบาปนี้ ท่านแปล มาจาก อปุญญา) ถ้าสังขารที่เป็น อเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงอเนญชา ฯ
           [๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ ไม่ทำกรรมเป็นบุญ (ตรงนี้ บาลี ท่านแปลว่า เนว ปุญญาภิสังขาร คำว่า เนว คือยังครึ่งๆ กลางๆ คือยังต้องชำระ จิตสันดานอยู่นั่นเอง) ไม่ทำกรรมเป็นบาป (ตรงนี้ท่านแปลขัดแย้ง กับที่แปลในข้อ ๑๙๑ ซึ่งท่านที่ไม่รู้สภาวะ จะแปลผิดไปตาม พยัญชนะ คือแปลอย่างโน้มเอียง ในบาลี ท่านใช้คำว่า น อปุญญาภิสังขารัง ซึ่ง น นั้นแปลได้ว่า "เต็มหรือสมบูรณ์" หรือจะแปลว่า "ไม่"ก็ได้ คำว่า น หมายถึง พระพุทธเจ้าได้ด้วย ) ไม่ทำกรรมเป็นอเนญชา เพราะสำรอก อวิชชาเสีย เพราะมีวิชชา เกิดขึ้น เมื่อไม่ทำ เมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ภิกษุนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้ว ด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้ว ด้วยตัณหา ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้ว ด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้ว ด้วยตัณหา ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้ว ด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้ว ด้วยตัณหา ภิกษุนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป ภิกษุนั้น เมื่อเสวยเวทนา ที่ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา ที่ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา ที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันตัณหา ไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุ จักเหลืออยู่ ในโลกนี้ เท่านั้น เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฯ

ท่านแปลกันมาผิดๆ พระไตรปิฎกที่แปลกันมา สืบทอดจาก พระมหากัสสปะ ซึ่งเอียงไปทาง พระป่า ก็ไม่ได้ดูถูกดูแคลน เพระสายนี้ปักมั่น ทางมักน้อย สันโดษเกิน

  • พระนิสิต มจร. ๑. จริยศาสตร์กับศีลธรรม ต่างกันหรือไม่ ๒. ทำไมการศึกษาขั้นต้น เดี๋ยวนี้ มีแต่จริยะธรรม ไม่มีศีลธรรมแล้ว ๓.การศึกษาของภิกษุสามเณร ไม่ถูกต้อง อย่างไร ขอวิจารณ์ แต่ละหลักสูตร ของภิกษุสามเณร จะเอาไปทำรายงาน

ตอบ.. พ่อครูว่าไม่รู้หลักสูตรของท่านหรอก
       จริยศาสตร์กับศีลธรรม ถ้าจะว่าเนื้อหานั้นไม่ต่างกัน จริยะคือความประพฤติ ศีลธรรมคือ สิ่งที่จะให้ปฎิบัติ กายวาจาใจ คำว่า จริยะและศีลนั้น ต้องได้ทั้งกาย วาจา ใจ ถ้าอธิบายว่า ศีลขัดเกลาแค่ กายกับวาจานั้นผิด ดูในพระไตรปิฎก ล.๒๔ ข้อ ๑ ท่านอธิบายว่า ศีลจะมีผล ไปถึงจิต ได้อานิสงส์ ๑๐ ของศีล กุสลานิ สีลานิ อนุปุพเพนะ อรหัตตายะ ปูเรนตีติ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตผล ให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ
๑. อวิปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อนใจ)
๒. ปามุชชะ - ปราโมทย์ (มีความยินดี)
๓. ปีติ (ความอิ่มเอมใจ) .
๔. ปัสสัทธิ (สงบระงับจากกิเลส)
๕. สุข (แบบไม่บำเรอตน คือ วูปสมสุข)
๖. สมาธิ (จิตมั่นคง)
๗. ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้ยิ่งในความจริง) . .
๘. นิพพิทา (เบื่อหน่าย) .
๙. วิราคะ (คลายกิเลส)
๑๐.วิมุติญาณทัสสนะ (ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในนิพพาน)

  • เสียงที่เปิดในเวลานอน จะมีผลกับจิตวิญญาณหรือไม่ เพราะตอนเราหลับแล้ว เราปิดทวารนอก จะมีการซึมซับ ในจิต ได้หรือไม่ ถ้าจิตซึมซับได้ ข่าวก็จะไม่เปิดแล้ว เวลานอน

ตอบ ถ้าหลับไม่สนิทก็ซึม แต่ถ้าหลับสนิทก็ไม่ซึม ถ้าหลับไม่สนิท ก็เอาไปฝัน ไปเลยในฝัน

  • เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ได้เห็นการแสดงออกของชาวชาติพันธุ์ ในการจงรักภักดี ต่อในหลวง และชาติ โดยไม่ต้องอาศัย ทรัพย์ภายนอก แต่อย่างใด แต่ทำตามทฤษฏี ขาดทุนคือกำไร ของในหลวง ขอเรียนถามว่า อะไรเป็นเหตุให้ ชาติพันธุ์พื้นราบ ที่มีโอกาส กลับไม่รับรู้ บุญคุณในหลวง และแผ่นดิน เกิดวิปริตอะไร จึงเกิดเช่นนี้

ตอบ ความเสื่อมของสังคม มันเสื่อมไปในด้านที่ไปนับถือติดยึด ผู้ที่เราศรัทธาเลื่อมใส เกิดพรรคพวก แทนที่จะเห็นแก่มนุษยโลก ที่ต่างคือต่างจาก ที่เราประพฤติ เราทำ เพื่อส่วนรวม ชาวอโศกเราแสดงออกชัด เห็นดีมากเลย พวกเราเตรียมงาน แม้ที่สุด ขามารถไฟ มาถึงก็หอบอาหาร บริการส่งรถไฟ จนถึงกทม. ขากลับ มีรถไฟตกราง ก็ไปไม่ได้ พวกเราก็ขนอาหาร ไปส่งอีก ทำอย่างที่ว่า เราไม่ได้มีค่าจ้าง เราทำด้วยใจ อุตสาหะ เกื้อกูล โดยเอาการมาถวายพระพร เป็นหลัก ยืนยันจิตวิญญาณบริสุทธิ์ ของมนุษย์ ซึ่งเราผจญกับความระแวง ไม่สะดวก มีอุปสรรคมากมาย ก็ได้เท่านั้น ตามบุญบารมี สังคมแย่ ระแวงไปหมด ไม่เป็นไร ระแวง เราก็สู้ยืนยันไป หลายคน ก็คงจะเข้าใจ พวกเรามากขึ้น ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อย่างเต๊นท์ ทั้งหนักใหญ่ เราก็ต้องทนเอา ทำให้พวกเราขยัน ทำให้เห็นน้ำใจมากขึ้น เห็นความจริงใจ

  • อะไรเป็นสิ่งสะท้อน ว่าพ่อครูยังไม่เห็น ความเสื่อมของอโศก

ตอบ เพราะว่าพ่อครูเห็นความเจริญก้าวหน้าไง ไม่ได้เอาที่บุคคล เป็นคนๆ แน่นอน บางคนเสื่อม บางคนก้าวหน้าเจริญ แต่บวกลบคูณหาร ทั้งหมดแล้ว ไม่ได้เสื่อม บางคนก็เสื่อม ออกไปก็มี บางคนก็ทำเลวร้ายอยู่ก็มี แต่ที่เจริญไป มีมากกว่าที่เสื่อม จะวัดค่าได้ ต้องดูที่กาย วาจาใจ ทั้งพฤติกรรมที่แสดงออก ทั้งวัตถุที่ซับซ้อน วัตถุ เราหามาได้มากขึ้น แต่เราสละออกได้มากขึ้น เหลือก็ยังไม่หมด ยังมากขึ้นอยู่บ้าง แต่ก่อน เราจะใช้เงิน เราจะใช้ตัวเลขหลักหมื่น ก็ขนชันหนักหนา หลักแสนก็ยาก แต่เดี๋ยวนี้ พูดเลข ๗ ตัว ก็ขนตั้งนิดหน่อย แต่ก่อนอาจหัวล้านเลย ถ้าพูดหลักล้าน

  • พระมารดาของพระพุทธเจ้า จะเวียนกลับมาเกิดในโลกมนุษย์ ได้หรือไม่

ตอบ ไม่รู้ไปตอบแทนเขาไม่ได้ เป็นเรื่องกรรมวิบาก ของแต่ละบุคคล

  • ในปฏิจจสมุปบาท ทำไม ไม่มีสัญญา

ตอบ มีสัญญาในนามธรรม นามคือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นตัวย่อยไง

  • ในระหว่างคนที่ขาดสติกับคนที่ขาดสตังค์ จะเมตตาใครก่อน

ตอบ ก็เมตตาทั้งคู่ แต่พ่อครูไม่มีสตังค์ ก็ช่วยคนขาดสติมากหน่อย

  • เมื่อครู่ท่านบอกว่า ระเบิดออกมานั้น จะเห็นอะไร จะทราบอะไร จะได้อะไร

ตอบ คำว่าระเบิด เป็นภาษาที่สื่อให้รู้ว่า ตีแตกความโง่ ความยึดติด ทำให้มันคลายออก จากที่มัน แน่นเหนียวดื้อด้าน คือก้อนกิเลส ระเบิดคือระเบิดก้อนกิเลส พอระเบิด ก็เห็นความจริง เพราะอวิชชามันบัง มันมืดบอดอยู่ ก็จะเห็นความสว่างความรู้ หรือ ระเบิดแล้ว มันก็รวมกันไม่ติด หรือให้หายไปเลย ...

จบ

           

 
๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานสันติอโศก