560610_ทวช.งานอโศกรำลึก ครั้งที่ ๓๒ โดยพ่อครู
เรื่อง เรียนรู้กายอย่างสัมมาทิฏฐิ ในปฏิจจสมุปบาท


              วันนี้วันสุดท้ายของอโศกรำลึก พระพุทธเจ้าท่านให้เข้าใกล้ เงี่ยโสดสดับ ผู้ตั้งใจฟัง ย่อมได้ประโยชน์แน่นอน สุสูสัง ลภเต ปัญญัง แต่ถ้าฟังอย่าง อาบน้ำกลัวเปียก หรือฟังอย่างจับผิด ถ้าสัญญากำหนด อย่างนั้นแล้ว มันก็จะจับหา แต่สิ่งผิด แต่สิ่งถูก จะไม่รู้เรื่อง ถ้าสัญญาของคน มีเจตนาที่อกุศล เช่นการจับผิด ก็จะได้แต่อกุศล เป็นสัญญาวิปลาส

              คุณ 8705 ว่า พระไตรฯล. ๑๖ นี้บังเอิญ พธร. เปรียบเหมือน มนุษย์โลกล้านปี ซึ่งความคิดสะตึๆ เช่นนี้ของพธร. ย่อมเปรียบได้กับ มนุษย์โลกล้านปี ที่บังเอิญ ไปเก็บหนังสือ มาได้เล่มหนึ่ง (คล้ายกับพตปฎ.เล่ม16) อันเป็นความรู้ชั้นสูง ที่พวกจานบิน (ต่างดาว) ได้ทำหล่นไว้! แล้วมนุษย์โลกล้านปี พธร.คนนี้ ก็พยายาม มานั่งแปล! จึงได้ออกมา เป็นความรู้ที่มั่วมาก.. ในสายตาของ อริยะเช่นเรา! ซึ่งเมื่อใด ที่พธร. เถียงเราไม่ออก เพราะจำนนต่อเหตุผล พธร.ก็จะหาว่า เราเป็นแค่ นักตรรกะ พธร.เองซิ ถึงจะรู้ปรมาภิธรรมสูงสุด ที่เป็นโลกุตระ จึงย่อมอยู่เหนือ ตรรกะแบบโลกๆ (ว่าเข้านั่น!) สรุปว่าในสายตาของ บริวารชาวอโศก จะมองว่าพธร. คือปรมาจารย์ พ่อครูโพธิสัตว์ C7 ส่วนในสายตาของ ชาวพุทธทั่วไป มองว่าพธร. คือแกะดำ ส่วนในสายตาเรามองว่า พธร.ก็คือสายัณ (ไม่เต็มเต็ง) +ศรีธนญชัย (ลิ้น2แฉก) +โกลิกะ (ศิษย์เอกของเทวทัต) ทั้งเป็นเจ้าของสำนัก อนุบาลอโศกอีกด้วย!

เปรียบพธร. เหมือนกับ คนพิการ แขนขาลีบแต่กำเนิด และไม่มีกำลังพอ ที่จะไปไหน มาไหนได้! แต่พอได้หนังสือ แผนที่ประเทศไทย มาเล่มหนึ่ง เมื่อพธร. เปิดแผนที่ดูแล้ว ก็อธิบาย เป็นตุเป็นตะว่า ดอยอินทนนท์ เป็นอย่างนี้นะ ภูเก็ตเป็นอย่างนั้นนะ พัทยา เป็นอย่างโน้นนะ ซึ่งเมื่อบริวาร ที่เป็นคนตาบอด.. ฟังแล้วก็หลงเชื่อว่า พธร. คงไปเที่ยว ดอยอินทนนท์ ภูเก็ต พัทยามาจริง! แต่เราฟังแล้ว รู้เลยว่าพธร. ขี้โม้ หลอกลวงบริวาร ให้หลงเชื่อนับถือ!

เห็นรึยังว่า..ผัสสะจะมีได้ก็ต่อเมื่อ ออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว! โดยจะเป็น สูญญตะผัสโสก็ตาม หรือ อนิมิตะผัสโสก็ตาม หรือ อัปณิหิตะผัสโสก็ตาม จะเกิดขึ้นได้.. ก็ต้องหลังจาก ที่ออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วเท่านั้น! ซึ่งย่อมแสดงว่า ในสัญญาเวทยิตนิโรธนี้ จึงไม่มีผัสสะ อย่างแน่นอน! แล้วทีนี้พธร. จะเถียงยังไง? ที่ตัวเอง เคยยืนยันว่า.. มีผัสสะอยู่ใน สัญญาเวทยิตนิโรธ! หรือว่าพธร. ยังจะดื้อรั้นเถียง.. แม้กับพตปฎ. ที่ตนอ่านเอง!

          พ่อครูก็ยังยืนยันว่า ต้องเข้าใจ รูป-นาม ให้ครบ จึงเป็นธรรมที่เป็นพุทธ
             คำว่า รูปรูป กับนามรูป และคำว่า รูปกาย กับ นามกาย จะมีนัยต่างกัน
             รูปรูป คือรูปของรูป คือตัวของมันเอง เป็นธาตุของมันเอง

             พระพุทธเจ้าตรัสว่า นามรูปเป็นไฉน คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม และมหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัย มหาภูตรูป ๔ ซึ่งเป็นนิยามศัพท์ ที่จำเพาะ ในปฏิจจสมุปบาท ที่พระพุทธเจ้าท่านหมาย           

และในวิภังคสูตร ใน พระไตรฯล.๑๖ ว่าไว้ว่า
       [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา  ก็มรณะ เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาด แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ ชราและ มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
             คำว่าชราและมรณะนี้ ไม่ได้หมายถึงแต่ร่างกาย แต่หมายถึง สภาวะจิตด้วย

        [๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดจำเพาะ (อภินิพพัตติ) ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ (ทั้งหมดของชาติ เป็นเรื่องของ โอปปาติกโยนิ ทั้งหมด) ทิฏฐิเป็นประธาน ถ้าเข้าใจไม่ถูกต้อง ก็ปฏิบัติไม่ถูก
       [๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เรียกว่าภพ

        พ่อครูอธิบายต่อว่า รูปรูป คือเฉพาะ ดินน้ำไฟลม ซึ่งรูปคือสิ่งที่ถูกรู้ อันนี้ไม่มีวิญญาณ เป็นมหาภูตรูป เช่น รูปปั้นหลวงปู่ วิชิตอวิชชา ไม่มีวิญญาณ คำว่ารูปรูป คือสิ่งที่อยู่นอก
             และสิ่งที่รู้เข้าไปข้างใน เช่นได้ยินเสียง แล้วก็รู้เข้าไปข้างใน เป็นกายในกาย คือ องค์ประชุมของเสียง นามของเรา ก็ไปรู้เรื่อง รวมทั้งเสียงด้วย เรียกว่า นามกาย ที่เป็นองค์ประชุมรวม ของนามธรรม

        [๙] ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน
       [๑๐] ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา
รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่าตัณหา

        พ่อครูว่า ต้องศึกษาทั้งหมด ๖ ทวาร ไม่ใช่ปิดทวาร แบบฤาษี อย่าง 8705 ที่อ้างว่า ต้องปิดทวาร ๕ เหลือแต่ทวารที่ ๖ จึงจับได้ทัน พ่อครูว่า คุณจับไม่ทัน ก็ไม่เป็นไร แต่เราจะจับอ่านรู้ได้
             เช่น ตาคุณกระทบแสง กระทบรูป แต่ใจคุณไปกำหนดรู้อย่างอื่น คุณก็ไม่รับรู้ หรือเสียง มันก็มีมากระทบ อยู่ตลอด มากมายหลายเสียง แต่คุณไม่ใส่ใจ คุณก็ไม่ได้ยินอะไร ผู้ใดทำความไม่ใส่ใจ (อมนสิการ) อย่างพระพุทธเจ้า เคยมีประวัติ เดินในโรงกระเดื่อง แต่ไม่ได้ยินฟ้าผ่า เพราะท่านปิด การรับรู้เสียง แม้ฟ้าผ่า วัวตายสี่ตัว คนตายสองคน ก็ไม่รู้ ท่านก็ว่า นี่คือการปฏิบัติ สุญญตผัสโส อนิมิตตผัสโส ก็มีเสียง เข้าหู แน่นอน ต้องกระทบสัมผัส แต่ท่านอัปปณิหิตตะ คือไม่ตั้งจิตรับรู้ อนิมิตตผัสโส เพราะฉะนั้น จึงขาด สูญ นัตถิกะ ไม่มีเลย ไม่ได้ยิน แต่มีผัสสะ
             แน่นอนสิ่งที่ควรรับ ท่านก็จะรับขนาดหนึ่ง สรุปแล้ว คุณเอง ศึกษาของตนเอง จะรับรู้ ไม่รับรู้ อันไหน คุณจะทำเก่ง อย่างไรก็ได้ บางคน เพ่งกสิณ จนกระทั่ง ดับทวาร แม้ตาลืมอยู่ แต่ก็ไม่รู้เรื่อง ว่ามองอะไร แล้วคนก็บอกว่า อย่างนี้แหละ เข้าฌาน เอาแค่ตาแข็ง ไม่รู้เรื่องแล้ว เราก็เข้าใจแบบเขา นั่นคือ การตกภวังค์ เช่น คุณคิดอะไรเพลิน ใครจะมาเรียก ก็ไม่ได้ยิน เพ่งอยู่กับอะไร ที่ตนจดจ่ออยู่เต็มที่ ใครมาแตะตัว ก็ไม่รู้ มาเรียกก็ไม่รู้ แต่พอสัมผัส แรงมากหน่อย ก็สนใจ รู้ขึ้นมาได้
             อำนาจทางจิต แม้แต่ที่อธิบายนี้ ไม่ได้ปฏิบัติธรรม ก็มีปรากฏการณ์นี้ได้

        [๑๑] ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัสสชา เวทนา โสตสัมผัส
สชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่าเวทนา
       [๑๒] ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ
       [๑๓] ก็สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะคือ ตาหูจมูก ลิ้นกาย ใจ นี้เรียกว่า สฬายตนะ
       [๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหา
ภูตรูป และรูปที่อาศัย มหาภูตรูป นี้เรียกว่ารูป นามและรูป ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป

        คำว่า เจตนา มี ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา (มุ่งหมาย ให้ไม่มีภพ) แต่ก็ยังมีเจตนา มีการทำกรรมการงาน แต่การงานนี้ ว่างจากกิเลส แต่ยังมีการทำงานอยู่ คือมีตัณหาที่เป็น วิภวตัณหาอยู่
             เราทรงไว้ซึ่งธรรมะ เป็นกรรมที่ทรงไว้เสมอ แม้วิบากที่เป็นกิเลส หมดไปแล้ว ไม่ทรงไว้แล้ว แต่อัตภาพเรา ไม่มีสิ่งทรงไว้ คือกิเลส ตัณหา อุปาทาน จะเหลือแต่ กรรมกุศล
       ระดับกัลยาณชน ก็รู้การทรงไว้ดีชั่ว แต่ธรรมในระดับ โลกุตระนั้น ข้ามเขตสามัญ จะต้องมีญาณ หยั่งรู้องค์ประชุม ของรูปนาม อ่านอาการ อารมณ์ออก ว่าเป็นสุข-ทุกข์-เฉย คือเวทนา ๓ เอาแต่ภายใน เรียกว่า โสมนัส-โทมนัส

         วิโมกข์ข้อที่ ๒ คือ อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ คำว่า อัชฌัตตัง คือภายใน ให้กำหนดรู้ ไปถึงอรูป กำหนดได้ เฉพาะของตน ไม่ใช่ให้ไปรู้ ของคนอื่น แต่ต้องไม่ทิ้ง การกระทบสัมผัส อย่างเห็นๆรู้ๆอยู่ ดังนั้น วิโมกข์ ๘ ต้องมีการผัสสะ
             ใน ปัญญาวิมุติ ท่านไม่กล่าวถึง วิโมกข์ เพราะสายนี้ มีสัมมาทิฏฐิ มาตั้งแต่ ธัมมานุสารี –ทิฏฐิปปัตตะ -ปัญญาวิมุติ ส่วนอีกสายหนึ่ง เป็นสายเจโต ไม่มีสัมมาทิฏฐิ แต่ต้น จากสัมธานุสารี – สัทธาวิมุติ - กายสักขี ซึ่งจะมีอาสวะบางอย่าง หมดได้ แต่ไม่หมด ต้องสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย จึงจะได้บรรลุ
             ไม่สัมมาทิฏฐิคือ ไม่รู้ สัมมาทิฏฐิ ๑๐ ตั้งแต่ทาน - ยัญพิธี - บวงสรวง.....

        [๑๕] ก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ หมวดเหล่านี้คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณ

        ไม่ใช่เข้าใจวิญญาณอย่างภิกษุสาติ ที่ว่าวิญญาณล่องลอย จากร่างไป อย่างนั้น เรียนรู้ไม่ได้ ไม่ใช่อิธ พรหมจริยวาโส ไม่ใช่โลก ที่จะเรียนรู้ธรรมะได้ ก็ต้องไป ตามวิบาก แม้อนาคามี แต่ถ้าอยู่ในภูมิไหน ของอนาคามี ๕ ก็ไปตามวิบาก
             ต้องทำขณะอยู่ในโลกนี้ ที่มีอิธ พรหมจริยวาโส คำว่าโลกนี้ คือตอนเป็นๆ ส่วนคำว่า โลกหน้า คือคำว่าโลกใหม่ เป็นโลกโลกุตระ ส่วนโลกเก่า คือโลกโลกีย์ ที่เราอวจรอยู่ ในมโนปวิจาร ๑๘ ที่เป็นเคหสิตเวทนา
             ผู้ไม่ศึกษาจะไม่รู้ การทรงไว้ซึ่งธรรมะ ในอัตภาพนี้ได้
             ต้องรู้สัตตาโอปปาติกา ที่ต้องมีพ่อมีแม่ ที่เป็นนามธรรม ให้เกิด โอปปาติกะสัตว์ ไม่ได้หมายถึง ตัวตนบุคคลเราเขา ถ้าไม่รู้จักนามธรรม เหล่านี้ ก็ไม่รู้ สัตตาวาส ๙ ก็มีสัญญาวิปลาส
             คำว่า กายต่างกันสัญญาต่างกัน, กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน คืออะไร
             องค์ประชุมคือกาย ถ้าสัญญาวิปลาส ก็รู้วิปลาสคลาดเคลื่อน ไปจาก ความเป็นจริง
             ต้องรู้องค์ประชุม ของความเป็นสัตว์ ซึ่งรูปธรรม ไม่เห็นจะยาก เช่น ช้างต่างจากหมู ความสวยงาม ก็แต่ละคน มีสเปคต่างกันไป มีสัญญา วิปลาสไปบ้าง ถ้าสเปคเดียวกัน ก็แย่งกันตายเลย

             คำว่าฌาน หมายถึง สภาวะไม่มีนิวรณ์ ๕ ซึ่งเทวนิยม ก็หมายเอา ไม่มีนิวรณ์ เหมือนกัน แต่ต่างกันที่ อาการกาย ใครจะอ่าน สภาวะนามธรรม ได้มากกว่ากัน ไม่ต้องอวดดี เอาของตนเอง มาอวดให้ถูก ก็แล้วกัน
             ถ้าเรามีสัมมาทิฏฐิ ตั้งแต่ต้นคือ ทานอย่าง ให้มีละหน่าย คลายจางกิเลสได้ จึงทำทาน อย่างมีผล แต่ถ้าทำทานแล้ว ไม่ลดกิเลส แถมหลอกกัน สร้างค่าให้ขี้โลภ ให้วาดวิมาน ใหญ่โตอีก เขาไม่รู้จักว่า บุญคือการชำระ จิตสันดาน ให้หมดจด คือการชำระกิเลส แต่เขาสอนกันว่า ทำทานให้ได้ร่ำรวย ลาภยศ สรรเสริญ นี่คือ การทำทาน อย่างไม่สัมมาทิฏฐิ

             ส่วนยิฏฐัง พิธีกรรม ก็ทำใจในใจไม่เป็น คือไม่รู้จัก การโน้มน้อมจิต แต่ถ้าทำเป็น คือจับหัวมันบิดให้ได้ ให้มันลดละ จางคลายกิเลสให้ได้ หรือให้ล้าง จางคลาย เป็นส่วนๆ ทำอย่างรู้แจ้ง กิเลสมันไม่เที่ยงแท้ มันไม่ใช่เรา มันเป็นอาคันตุกะ เข้ามาเยือนใจเรา คุณเลี้ยงมันไว้ทำไม
             หุตัง คือจิตคุณได้เสวยผล จากการได้ลดละ จางคลาย ในภาวนมัย ที่ได้สะสม มาแล้ว ทำแล้วเป็นผล ลดกิเลสได้ สุกฏทุกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก กิเลสแปลว่า มากขึ้น เป็นปุถุชน แปลว่า ใหญ่, หนา,บวม,ฉุ แล้วคุณเข้าใจไม่ได้
             คุณต้องอ่านออกและทำถูก ซึ่งต้องเข้าใจ ให้ถูกก่อน ซึ่งทิฏฐ ๑๐ ก็เอามา ย้อนทวน ให้ฟัง ว่ามันเชื่อมโยงกับ มหาภูตรูปด้วย จึงไม่ง่าย ที่จะทำให้บริบูรณ์ พระพุทธเจ้า จึงให้ฟังให้มาก ทำให้มาก เพื่อให้เกิด พาหุสัจจะ แปลว่า ได้สัจจะ ความจริงมากๆ

             ในขณะปฏิบัติดีหรือชั่ว ก็สะสมเป็นผลวิบาก หากเป็นผล ละกิเลสได้ ได้อาศัยอยู่ แม้มีอวจรอยู่ สัมผัสอยู่ แม้รู้รูปรสกลิ่น เสียงสัมผัส แต่ท่านไม่มีกิเลส เกิดในจิต นี่คือนิโรธ ไม่ใช่นิโรธคือ ไปดับผัสสะ หรือคิดแค่ รู้ นิ่งเฉย อย่างรู้แค่โวหารว่า ไม่ใช่ตัวตน แต่จริงๆสภาวะของคุณ ล้างตัวตนหมดหรือยัง มีญาณปัญญา เห็นตัวตน ในนามรูป รูปรูป
             ซึ่งรูปรูปที่ถูกรู้ จะเรียกว่า นามรูป คำว่านามรูป คือรูปของนาม
             เราต้องแยกออก แม้กระทั่งแม่/พ่อ ที่เป็นนามรูป เช่น ศีลเป็นแม่ ปัญญาเป็นพ่อ
             โพชฌงค์เป็นพ่อ มรรคองค์ ๘ เป็นแม่
             สติปัฏฐาน ๔ เป็นแม่ โพชฌงค์ ๗ เป็นพ่อ
             ร่วมกันทำให้เกิด โอปปาติกโยนิ มีการพิจารณา เมื่อกระทบสัมผัส แล้วเกิดกาย คือองค์รวมของ รูปธรรม -นามธรรม จากกายนอก ไปหากายใน
             กายในคือ รูปกายที่เนื่องจากภายนอก เมื่อเป็นนามธรรม ก็เป็นความรู้สึก เนื้อแท้ของมัน ก็เป็นสุข-ทุกข์ ก็คือเวทนา
       ฟังแล้วก็เพลิน เห็นตาแป๋ว มานั่งฟัง งานอโศกรำลึกครั้งนี้ พ่อครูอธิบาย รูปนาม โดยเอาคำว่า กาย มาขยายความมากขึ้น ก็คงได้รับความรู้ เพิ่มเติม พ่อครูอธิบายยังยากเลย ....

จบ

 

 
๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานราชธานีอโศก