560804_รายการวิถีอาริยธรรม โดยพ่อครู สมณะโพธิรักษ์ และ สมณะฟ้าไท
เรื่อง ตถตาคือธรรมะเหนือธรรมชาติ

      ส.ฟ้าไทดำเนินรายการ...

วันนี้พ่อครูจะอธิบายเรื่อง “ตถตา” เป็นการเพิ่มเติมอธิศีล – อธิจิต - อธิปัญญาต่อไป...

      พ่อครู... วันนี้ก็มีผู้ที่เป็นนักกฏหมาย มีเหตุผลเยอะ ก็นำเอาข้อความ ของท่านผู้นี้ ที่ข้องใจ พ่อครูอยู่ มาอธิบายจาก...

คำถาม... จากนักกฎหมาย
       บุญญาวุธ หมายเลข ๑. อาหารมังสวิรัติ บุญญาวุธ หมายเลข ๒. ตลาดอาริยะ (พาณิชบุญนิยม) บุญญาวุธ หมายเลข ๓. กสิกรรมไร้สารพิษ บุญญาวุธ หมายเลข ๔. สุขภาพบุญนิยม บุญญาวุธ หมายเลข ๕. การศึกษาบุญนิยม บุญญาวุธ หมายเลข ๖. สื่อสารบุญนิยม บุญญาวุธ หมายเลข ๗. การเมืองบุญนิยม
       กระผมเห็นด้วยกับข้อ ๑ ถึงข้อ ๖ แต่ข้อ ๗ กระผมเห็นว่า... ไม่ใช่หนทาง สู่พระนิพพาน จงฝึกจิต ข้ามให้พ้น ให้ได้เถิด แล้วจะเกิดประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน อย่างแท้จริง ไม่ดีกว่า รึ ครับ

      พ่อครูตอบ... หนทางสู่พระนิพพาน มีการเมืองอยู่ด้วย ในผู้ที่เข้าใจ แต่ถ้าผู้ไม่มี ภูมิคุ้มกัน อย่าแหยม เข้าไปในการเมือง ผู้มีโลกุตรจิต ก็จะทำงานการเมือง อย่างมี ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน อย่างแท้จริง
     ความเห็นอย่างคุณคนนี้มีเยอะ ในผู้ที่อ่อนแอ แต่ผู้ที่อยู่ขั้นกลาง ก็ต่อสู้ไปเรื่อยๆ ขั้นปลายคือ สู้ได้อยู่เหนือคือ โลกุตระ จะไม่ประมาท มีประมาณอย่างแท้จริง ผู้ที่เหนือแล้ว ถ้าไม่ไปช่วยผู้อื่น อยู่ป่าเขาถ้ำ อันนั้นไม่ใช่พุทธ
     พุทธอยูกับโลกีย์ อย่างรู้จัก context and content ซึ่งจะรู้กรอบของตน คือ บริบท เป็น content ส่วน context จะลงรายละเอียดไปใน content ลงไปอีกที จะไปแบ่งปริเฉท อีกทีก็ได้ จะมีวิญญัติ อีกก็ได้ เช่น กายวิญญัติ คือสื่อทั้ง กายและวาจา แต่ถ้าวจีวิญญัติ ก็สื่อแต่เสียง แต่ภาษา
     พ่อครูว่า พ่อครูข้ามพ้นแล้ว ส่วนผู้ยังไม่พ้น ก็ต้องระวัง อย่าเข้าไปเกี่ยวด้วย
     ไม่ใช่เนื้อแท้ทางธรรมของคุณ แต่ของพระพุทธเจ้า ไม่เป็นอย่างที่คุณเข้าใจ ฟังดีๆ ในสิ่งที่ พ่อครูอธิบาย ก็อาจมีข้อขัดแย้ง กับคุณได้

      คำถามต่อ
        ผมขอยืนยันกับท่านอีกครั้งว่า ไม่ได้มีอคติ ในทางส่วนตัวต่อท่าน และชาวอโศกเลย ในทางกลับกัน ผมเห็นว่า แนวทางของ สันติอโศก ในอดีตนั้น ถูกต้องตามหลักธรรม ตามธรรมชาติ ชัดเจน ตรงไปตรงมา ที่ผมติติง อยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะห่วงใยสังคม มากกว่า เพราะสิ่งที่ ท่านแสดง เผยแพร่อยู่ ทุกวันนี้ มันไม่ใช่เนื้อแท้ทางธรรม
        หากแต่มันเป็นไป ในทางโลกมากกว่า ซึ่งท่านกำลัง นำพาผู้คน ให้ไปเกลือกกลั้ว ทางการเมือง มากขึ้น ทั้งที่คนเหล่านั้น เขาน่าจะมาหา ที่พักพิงจิตใจ ในทางธรรมมากกว่า ธรรมะนั้น ย่อมอยู่เหนือการเมือง อยู่เหนือกฎเกณฑ์ ความขัดแย้งใด ๆ คนที่เข้าถึง ธรรมะนั้น ต้องเข้าถึงธรรมชาติ ไม่จำต้องมีกฎเกณฑ์ หรือกฎหมายใด ๆ มาคอยกำกับ ควบคุมแล้ว
        ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น เป็นธรรมะที่ไม่มีชาติแล้ว ส่วนธรรมะ คือธรรมชาตินั้น ยังวนเวียน เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป แต่ธรรมะพระพุทธเจ้านั้น ดับสูญได้หมดดับชาต

        พ่อครูตอบต่อว่า... ธรรมะของพ่อครู ต่างกับของท่านพุทธทาส ซึ่งธรรมะของพ่อครู มี ๔ ความหมาย
       ๑.รู้เท่าทันธรรมชาติกิเลสนั้นๆที่เกิด
       ๒.รู้เหตุแห่งการเกิดธรรมชาตินั้นๆ
       ๓.รู้วิธีและทำการดับธรรมชาตินั้นๆ
       ๔.รู้การใช้ชีวิตอยู่เหนือธรรมชาตินั้นๆ

        คำถามต่อ... เหมือนที่ครั้งหนึ่ง ท่านโพธิรักษ์ประกาศตัว ไม่ขึ้นกับ เถรสมาคม นั่นแหละ ผมชื่นชม และเข้าใจได้จริง ๆ ถ้ามีธรรมะเสียแล้ว ก็ไม่จำต้องมี กฎหมายอีก ผู้ที่ถึงธรรมแล้ว จะไม่เรียกร้อง สิทธิใด ๆ ทางกฎหมายอีก
        ผมเคยดูคริป เห็นท่านโพธิรักษ์ บรรยายธรรมเรื่อง รัฐธรรมนูญ ปี ๕๐ ก็ยังรู้สึก แปลกใจ แต่ก็ไม่ได้ติดใจ เพราะผมพยายามจะเข้าใจ หลักของความเป็น เช่นนั้นเอง และฝึกจิต ไม่ให้เพ่งโทษคนอื่น แต่ที่มาตอบกระทู้ กับท่านอยู่เนี่ย ก็เพราะตระหนักถึง ความรับผิดชอบ ต่อสังคม ไม่อยากเห็นสังคม มีความขัดแย้ง กันไปมากกว่านี้ ผมเชื่อว่า ธรรมะ ไม่ได้อยู่ใน พระไตรปิฎก เพราะพระไตรปิฎก เขียนขึ้นหลังจากที่ พระพุทธเจ้า ดับขันธ ปรินิพพานไปแล้ว ธรรมะคือธรรมชาติ ซึ่งพระพุทธเจ้านั้น ได้ตรัสรู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ และทางพ้นทุกข์ พระพุทธเจ้า จึงสอนมวลมนุษยชาติ เพียงเท่านี้ และคำสอนต่าง ๆ ล้วนเป็นไปเพื่อ ความพ้นทุกข์ทั้งสิ้น

        พ่อครูว่า...  ผู้บรรลุอรหันต์แล้ว ก็ไม่ต้องมีกฏหมาย แต่ถ้ายังไม่เป็นอรหันต์ อย่างในสังคม จำต้องมีกฏหมาย หรือมีวินัยไว้ควบคุม อย่างที่พ่อครู ออกมาจาก มหาเถรสมาคม ก็เห็นว่า กฏหมายที่ท่าน เขียนออกมานั้น ขัดแย้งธรรมะพระพุทธเจ้า เช่น ให้สังฆราช สั่งสึกพระได้ อย่างนี้ไม่ตรงกับ พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ก็ไม่มีกฏนี้ แต่กฏเกณฑ์ ที่ถึงขั้นสั่งสึกก็มี แต่ว่าพ่อครู ไม่ได้ผิดแบบนั้น ก็ไม่สามารถสึกได้ พ่อครูก็ไม่เอาด้วย กับหลักเกณฑ์ ที่ขัดกับสิ่งที่ พระพุทธเจ้าบัญญัติ ก็ลาออกมาเป็น นานาสังวาสกัน เหมือนออกมา ตั้งร้านปาท่องโก๋เล็กๆ แต่ท่านเป็นร้านใหญ่
       อรหันต์นั้น มีอรหัตตาไว้ สักแต่ว่าอาศัย เรียกว่าทรงไว้ แต่ถ้าปรินิพพาน เป็นปริโยสาน คือไม่มีสิ่งทรงไว้ แต่ถ้าเป็นอรหันต์ ไม่ปรินิพพาน ก็มีสิ่งทรงไว้ คือกุศล แต่ท่านได้ล้างเหตุ แห่งอกุศลหมดแล้ว บาปหมดแล้ว กิเลสหมดแล้ว มีแต่กุศล ถ่ายเดียว

        ตอบอย่างย่อเรื่อง “การเมือง”
       การเมือง ในภาษา มีสองความหมาย
        ๑.การเมืองที่มนุษย์มีพฤติในสังคมปัจจุบัน เป็นเรื่องเลว เรื่องเสีย
        ๒.การเมืองของผู้ที่ช่วยบ้านช่วยเมือง อยู่อย่างแท้จริง เป็นการเมืองโลกุตระ
        ผู้ไม่มีภูมิคุ้มกันพอ กระโดดลงไป ในสนามแม่เหล็ก แห่งโลกียะ ดูดไปเป็น โลกีย์หมด ตกลงไปเสร็จ ถูกแรงเหนี่ยวนำ ดึงไปหมด
        ส่วนผู้ที่เป็นตัวของตัวเอง เป็นเหล็กกล้า เหล็กชั้นเยี่ยม แข็งแรง เข้าไปอยู่ในนั้น ก็เป็นพระมาลัย โปรดสัตว์ เพราะมีภูมิเหนือ จึงทำการเมือง อย่างไม่เป็นทาสได้ ไม่ไปแย่งอำนาจ โลกธรรมกับเขา อย่างที่พ่อครู พาไปทำงานการเมือง ไม่ได้ไปทำ พฤติกรรมการเมือง อย่างโลกีย์เขา
        ผู้ใดเป็นโลกุตระจิตจริง ผู้นั้นเป็นการเมือง โลกุตระจริง พ่อครูทำ การเมืองโลกุตระ เห็นใจ คนที่เข้าใจไม่ได้ แล้วก็ไปเอาอย่างโลกีย์ ซึ่งคนทำการเมืองโลกุตระ โสดาบัน สกิทาคามี ก็ยังทำไม่ได้ แต่อนาคามี จะหมดเรื่องลาภยศ จะเป็นตัวของตัวเอง อย่างอรหันต์ ยิ่งได้เลย ยิ่งอรหันต์ที่สูง มีบารมีสูง ยิ่งนำไปได้ดีมาก ทุกวันนี้ พ่อครู ทำการเมือง อย่างไม่ใช่ว่า อวดด ไม่มีโลกุตระจิตจริง ถ้าทำก็บรรลัย แต่ทำอย่างมี สัปปุริสธรรม ๗ จริง กลุ่มใดควรร่วม ก็ร่วม กลุ่มใดไม่ควรร่วม ก็ไม่ร่วม
        แม้กาละใด ควรสนับสนุน แต่ไม่เอาตัวไปร่วม ก็ทำตาม สัปปุริสธรรม ๗ ตัดสิน เป็นกาละๆด้วย กาละนี้ควรร่วม กาละนี้ไม่ควรร่วม ก็ประมาณ จัดสรรตามควร
        พวกฤาษี ตีทิ้งการเมือง เพราะไม่มีโลกุตระจิต ก็หนี ก็ถูกแล้ว ไม่ว่า ไม่ลงโทษ ไม่มีภูมิคุ้มกันจริง ถ้าไม่มีก็อย่าเสี่ยง แต่เราทำอย่างเหนือโลกีย์ ไม่หลงไปกับโลกีย์
        และที่ว่าธรรมะ ย่อมอยู่เหนือการเมือง คนจะมาพักพิง มากกว่า... พ่อครูว่า คนที่ได้ ลาภยศ สรรเสริญ เขาไม่มาหรอก คนจะมา ต้องมีปัญญา
        ธรรมะอยู่เหนือกฏเกณฑ์ ทุกอย่าง ถ้าเป็นอรหันต์ คืออรหันต์ทำตามกฏเกณฑ์ ได้ทุกอย่าง แต่อรหันต์ ก็ต้องอยู่ใต้กฏหมาย ไม่ดีหากอยู่เหนือกฏหมาย อย่าเข้าใจผิด ต้องมีศีล มีวินัย พระพุทธเจ้า สร้างศาสนาด้วยศีล ไม่มีข้อบังคับ แต่วินัย มีหลักเกณฑ์ บังคับ เป็นอาณา มีบทลงโทษ
        พระอรหันต์ก็มีศีล ท่านทำศีลธรรมนูญครบ ท่านเอาธรรมนูญนี้ ไปทุกแคว้น ใครมาถือตาม ก็ปลดแอกจากวรรณะ จากทาสได้
        แต่ถ้าคิดว่า ไม่ต้องมีกฏเกณฑ์บังคับเลย ก็เป็นแบบฮิปปี้ เขาก็บำเรอตนไป ไม่รู้เรื่อง แต่อรหันต์ก็ยอมรับกฏ แต่ถ้าไม่ยอมรับ ก็ต้องลาออก เช่น พ่อครูลาออกจาก มหาเถรสมาคม แต่ไม่ได้ออกจากคนไทย ซึ่งก็มีคนตู่ว่า ถ้าลาออก ต้องออก นอกประเทศด้วย
        แต่พ่อครูว่า ทำตามกฏหมายไทยที่ว่า คนนับถือลัทธิ ศาสนาใดๆ ที่ต่างๆกัน ก็อยู่ร่วมกัน ในประเทศได้ เป็นต้น แต่จะบอกว่าอยู่เหนือ โดยไม่มีกฏควบคุม ไม่ได้
        พ่อครูว่า ธรรมมีทั้งอยู่ในพระไตรปิฎก และไม่อยู่ในพระไตรปิฎกน่ะ

        ธรรมะคือธรรมชาติ นั้นพ่อครูว่าไม่ใช่ แต่ว่าธรรมะคือ สิ่งที่ทรงไว้ และมีที่ทรงไว้ อย่างอธรรมก็มี แต่ทรงไว้อย่างธรรมะก็มี เราต้องให้หมดอธรรมก่อน แล้วเหลือแต่ดี ได้กำจัดเหตุ แห่งความไม่ดี เหลือแต่จิตที่ดี เอามาใช้ให้เป็นไปอยู่ อย่างดี ผู้สะอาด หมดอธรรมในจิต ก็เหลือแต่ธรรม คือกุศล ช่วยคนได้แท้จริง ทำงานรับใช้สังคม เพื่อมนุษยชาติ ต่อไป
       ส่วนจะปรินิพพาน ไม่ตั้งจิตต่อ ก็เป็นปรินิพพาน เป็นปริโยสาน แต่ถ้าตั้งจิตต่อ โพธิสัตว์ ก็ไม่ปริโยสาน ก็เวียนว่าย ตายเกิดอีกได้ แต่มีสยัง อภิญญา มีของจริง ของตนแล้ว หมดทุกข์แล้ว
       ผู้ที่หมดธรรมชาติแล้วก็คือ อรหันต์เป็นต้นไป ไม่มีชาติแล้ว มีอภินิพพัตติ เป็นการเกิด สุดยอด ไม่มีกิเลสเกิด จะเรียกว่า ธรรมชาติที่สมบูรณ์ บริบูรณ์ คือไม่ลึกลับ ในความเป็นชาติแล้ว หมดอคติ ทั้งหมดทั้งมวลเลย เป็นต้น
       เอาแต่แค่คำว่า “ชาติ” แปลว่า “เกิด” ต้องดับชาติ จึงทรงไว้ ซึ่งธรรมของพุทธ แต่ถ้าธรรมะ คือธรรมชาติ นั้นไม่ใช่ เช่นสมการ x = xy อย่างนี้ไม่ใช่ แต่ต้อง x = x จึงจะถูก ธรรมะ=ธรรมะ จึงจะถูกต้องสิ
       ธรรมะครึ่งหนึ่ง คือธรรมชาติก็ใช่ แต่อีกครึ่งหนึ่งไม่ใช่ เราต้องรู้จักธรรมชาติ และ อยู่เหนือธรรมชาติ เราต้องทรงอยู่ อย่างเหนือกว่ามัน เรื่องไม่ดีเราไม่ทรง ไม่เอาด้วย
       ในสิ่งที่เป็นธรรมชาติ หมายว่า เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป เป็นสามัญลักษณ์ ถ้ามีเหตุ เติมให้หนักหน้า เป็นโลกียะ ก็เป็นหนักหน้า จัดจ้านเพิ่มขึ้น แต่ถ้าผู้ใดเรียนรู้ ที่จะลดเหตุ การเติมโลกียะ มันก็บางเบาลง ไม่เกิดตามธรรมชาติ ลดๆๆ จนไม่เกิดธรรมชาติได้ จนหมดชาติ ก็เหลือแต่ธรรมะ โดยไม่มีธรรมชาติอีกเลย ดังนั้น ใช่แล้ว ต้องรู้ธรรมชาติ และ ต้องดับธรรมชาติด้วย อุปาทาน , ตัณหานั้นเอง เป็นเหตุแห่งชาติ
       เมื่อดับตัณหา อุปาทาน , ภพ ชาติก็ดับ เวทนาก็ดับ ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ อย่างแข็งแรง เป็นนิสสรณปหาน เป็นเนกขัมมสิตอุเบกขา ถาวร ยิ่งมีคุณสมบัติ อุเบกขายิ่งขึ้น เป็นมัชฌิมา เป็นความเป็นกลาง ที่สัมบูรณ์ อุเบกขาก็เป็นกลาง แต่มัชฌิมา ก็กลาง แบบสุดยอดกว่า ไม่มีอันตา (ปลายข้างใดๆ)เลย ไม่มีออก ข้างปลายใดเลย มันกลางจริงๆ ไม่มี Overlap ใดๆเลย แล้วกลางถาวรด้วย แม้มีอะไร กระทบกระเทือน กระแทก ก็ไม่มอะไรมาหักล้าง ความเป็นเช่นนี้เอง ได้เลย คุณสมบัติของนิพพาน คือ นิจจัง (เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง (ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง (ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง (ไม่มีอะไร หักล้างได้) อสังกุปปัง (ไม่กลับกำเริบ)
       ผู้บรรลุแล้ว เป็นอรหันต์แล้ว แต่ไม่ปรินิพพาน ท่านมี สยัง อภิญญา อยู่เหนือ โลกแล้ว ท่านก็อยู่กับธรรมชาติ แต่อยู่เหนือแล้ว ไม่เกิดกิเลสอีกแล้ว แต่ก็อยู่ใน ชาติไทยนี้ได้
       ธรรมชาตินั้นต้องรู้จัก แล้วลดเหตุ ที่ทำให้มันเกิด จนเป็นการเกิด ชนิดพิเศษ เป็น "นิพพัตติ" เป็นผู้มี ปรินิพพุโพติ เป็นการเกิด ที่มีอยู่ในการตาย เป็นจักขุมา ปรินิพพุโพติ กิเลสท่าน ตายหมดแล้ว แต่ท่านจะมี สัจจานุโลมเกิดเอง แต่ท่านจะไม่ให้เกิดก็ได้ อยู่ทำงาน เป็นประโยชน์ต่อโลก อย่างแท้จริง อยู่เหนือ ความเกิด ความตาย ได้อย่างแท้จริง ทางจิตวิญญาณ แต่ความเสื่อม ทางกาย ก็แก่ไป เสื่อมไปได้ อย่างพ่อครูนี่ ก็อยู่เหนือ การเกิดการตาย แต่เนื้อหนังก็เหี่ยว ตอนนี้ใช้พลังงาน เขียนมากเลย หนังสือ จะออกใหม่ เคยเขียนหนังสือเรื่อง "อีคิวโลกุตระ" เขียนหนัก ถึงวูบไปเลย หน้าห้องน้ำ รู้แล้ว ไม่ให้เป็นแบบเดิม แต่ก็ต้องหนักอยู่ ต้องใช้พลังงาน ไม่เอาเลยขีด โหมพอใช้ สักระยะหนึ่ง ก็จะพักแล้ว ตอนนี้ ไล่ล่าเวลาอยู่ เท่าไหร่ก็ไม่พอ

        สรุป ธรรมะต้องมีธรรมชาติ แต่ต้องอยู่อย่าง เหนือธรรมชาติด้วย แต่ถ้าใคร มาลดธรรมชาติได้ มันก็จะเบาลงถึง ลหุตา มันเบาแล้ว ก็จะประมาณ ในการเกิด อยู่กับสังคม อย่างอนุโลม ปฏิโลม มีจิตทั้งอ่อนและไว ดัดได้ง่าย หัวอ่อน เป็นธาตุ ในอุเบกขา (ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา) อนุโลมไปกับเขา ได้เร็วไวง่าย แต่ก็กลับมาเป็นตัวเอง ได้ง่ายเร็วไว เช่นกัน ไม่ใช่เพียงพูด แต่ทำได้ด้วย
       ถ้าสุดท้ายจริง ไม่มีแม้แต่ธรรมะ แม้แต่ธรรมชาติ มีอัปปณิหิตตัง ไม่ตั้งจิตต่อ คือ ปรินิพพานด้วยจิต อัปปณิหิตตัง จิตตัง คือ ตายสูญไปเลย

        ถ้าเป็นสุญญตา เป็นนิพพานแล้ว จะอยู่ต่อหรือไม่ ก็อยู่ที่ตน จะมีนิมิตเอา จะปณิหิตตะ คือมีจุดมุ่งหมายอยู่ต่อ พลังงานนี้ จะคงอยู่ มีมโนสัญเจตนา เป็นวิภวตัณหา มีเจตนาตั้งอยู่ แต่ถ้าจะดับสูญ มีเจตนาจะไม่ให้ มีอะไรตั้งอยู่ เป็น อัปปณิหิตตัง จิตตัง ทุกอย่าง สูญหมด ทั้งธรรมะและธรรมชาติ

 

        ต่อไปเป็นธรรมะที่พ่อครูเรียบเรียงมาเรื่อง "ตถตา"
       ตถตา มาจาก คำว่า ตถะ กับคำว่า ตา
     ตถะ แปลว่า ความจริง ความแท้ จริง แท้
     ตถตา โบราณาจารย์ ท่านผู้รู้แปลกันว่า ความเป็นจริง ความเป็นแท้ ความเป็น เช่นนั้น ความเป็นอย่างนั้น ความเป็นเหมือนอย่างนั้น ภาวะที่สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวง เป็นของมัน เช่นนั้นเอง คือ เป็นไปตามเหตุปัจจัย (มิใช่เป็นไป ตามความอ้อนวอน ปรารถนา หรือการดลบันดาล ของใครๆ) เป็นชื่อหนึ่ง ที่ใช้เรียกกฎ ปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา
     ตถตา นี้ ใช้กับคนทั่วไป ที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้า สำหรับพระพุทธเจ้า จะใช้คำว่า ตถาคต
     ตถาคต มาจาก คำว่า ตถะ กับคำว่า อาคต
     ตถะ แปลว่า ความจริง ความแท้ จริง แท้
     อาคต แปลว่า มาแล้ว ถึงแล้ว การมา การถึง
     ตถาคต โบราณาจารย์หมายถึง พระนามอย่างหนึ่ง ของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่ พระพุทธองค์ ทรงเรียก หรือตรัสถึง พระองค์เอง  พระตถาคต
     แปลได้ความหมาย ๘ อย่าง คือ
     () พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือ เสด็จมาทรงบำเพ็ญ พุทธจริยา เพื่อประโยชน์ แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น
     ()พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น  คือ ทรงทำลายอวิชชา สละปวงกิเลส เสด็จไป เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น
     ()พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้ เข้าถึงลักษณะ ที่แท้จริง ของสิ่งทั้งหลาย หรือ ของธรรมทุกอย่าง
     ()พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือ ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นธรรม ที่จริงแท้แน่นอน
     ()พระผู้ทรงเป็นอย่างนั้น คือ ทรงรู้เท่าทัน สรรพอารมณ์ ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ ทั้งเทพ และมนุษย์ ซึ่งสัตวโลก ตลอดถึงเทพ ถึงพรหม ได้ประสบ และพากันแสวงหา ทรงเข้าใจ สภาพที่แท้จริง
     ()พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวง นับแต่ตรัสรู้ จนเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน ล้วนเป็นสิ่งแท้จริง ถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น
     ()พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น
     ()พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง เหนือกว่าสรรพสัตว์ ตลอดถึง พระพรหม ที่สูงสุด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจ เป็นราชา ที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือประดาพรหม ไม่มีใคร จะอาจวัด หรือทัดเทียมพระองค์ ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ วิมุตติญาณทัสสนะ

      ตถา แปลว่า ฉันนั้น เหมือนอย่างนั้น ประการนั้น
     ตถัตต แปลว่า ความเป็นเช่นนั้น ความเป็นจริง
     ตถปรักกมะ แปลว่า การก้าวเข้าไปสู่ความเป็นจริง
     ตถาภาวะ แปลว่า ความเป็นเช่นนั้น สภาพอย่างนั้น
     ตถารูป แปลว่า มีอย่างนั้น มีรูปเช่นนั้น อย่างนั้น เช่นนั้น
     ตถาวาที แปลว่า ผู้กล่าวเช่นนั้น กล่าวอย่างนั้น
     ตถาการี แปลว่า ผู้กระทำเช่นนั้น ผู้กระทำอย่างนั้น
     ตถาคตสาวก แปลว่า สาวกของพระตถาคต
     ตเถวะ แปลว่า ฉันนั้นนั่นแล  ในทำนองเดียวกัน เหมือนกันนั่นแหละ
     ตถูปมะ แปลว่า มีอุปมาเช่นนั้น มีอย่างนั้น เป็นเครื่องเปรียบ เหมือนอย่างนั้น

      ตถตา จะต้องศึกษา กันให้ครบๆ
     ตถตา อย่างไร ที่เป็นความหมาย แค่โลกียะ อย่างไรที่เป็นความหมาย ถึงขั้นโลกุตระ
           อย่างไรที่เป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่  อย่างไรที่เป็นสัมมาทิฏฐิ

      ตถตา ที่ยังเป็นโลกียะอยู่ ก็เช่น เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง มันก็เป็นเช่นนั้นเอง ไม่มีใครสร้าง ไม่มีใครไปทำ ให้มันเป็น มันเป็นของมัน เช่นนั้นเอง ถ้าใครเข้าใจอยู่ เช่นนี้ คนนั้น ก็ไม่ต้อง ไปทำอะไรอีกแล้ว เพราะอะไร มันก็จะเป็นของมันไปเอง ตามแต่มันจะเป็น เช่นเราเป็นอยู่เช่นไร เราก็จะเป็นอยู่เช่นนั้น ตามเหตุที่มัน จะผลักดัน ให้เราเป็น ถ้าเราไม่แก้ไขตัวเรา และเราก็ปล่อยตัว ไปตามอำนาจ ของเหตุปัจจัยนั้นๆ เพราะเรา ไม่มีอำนาจ ที่จะสู้กับอำนาจนั้น เราก็เป็นไปตามแต่ “เหตุปัจจัย” ใดๆ จะพาเป็น
     นี่เรียกว่า ตถตา ตามยถากรรม ตถตา สามัญของโลกียไตรลักษณ์
     เพราะรู้จัก “ตถตา” ที่ยัง “มิจฉาทิฏฐิ” อยู่
     คนผู้นี้ก็มี “เหตุปัจจัย” เป็นเครื่องพาไป โลกพาเป็นพาไป เช่นไร ก็จะเป็นไป ตามโลก เป็นเช่นนั้นเอง ตามธรรมชาติของโลก ของโลกีย์ ไม่มีอำนาจเหนือโลก ที่เป็นโลกุตรจิต จึง “เป็นเช่นนั้นเอง” ไปตามโลกสังคมเขาเป็น พากันเป็น พากันไป เช่นนั้นเอง
     ดังนั้น ถ้าจะอยู่อย่างสง่างาม ก็ต้องเอาชนะโลก แบบโลกๆ คือ ต้องมีลาภ เหนือกว่าเขา ก็สง่างาม
     ต้องมียศเหนือกว่าเขา ก็สง่างาม ต้องได้รับการสรรเสริญ เหนือกว่าเขา ก็สง่างาม
     มีรูปสวยเหนือกว่า, มีรสเหนือกว่า, มีกลิ่นเหนือกว่า, เสียงเหนือกว่า, สัมผัสเหนือกว่า ก็สง่างามกว่าเขา
     มีอัตตา มีศักดิ์ศรีเหนือกว่า มีอำนาจเหนือกว่า มีความต้องการ ที่ได้ดังใจ เหนือกว่าเขา ก็สง่างาม
     นี่คือ “ธรรมชาติ” อันเป็นไปตามกิเลสของคน เป็นสามัญลักษณ์ ที่เกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป อยู่ในโลกแห่งสามัญโลกีย์ ไม่ต้องไปทำอะไรมัน ใครก็เป็นเช่นนี้เอง เพราะมันเป็น เช่นนั้นเอง 
      “เหตุ” คือกิเลส คือ สมุทัยอริยสัจ ที่ต้องจัดการ ต้องไม่ปล่อย ให้มันเป็นเช่นนั้นเอง ต้องดับมันให้ได้
     ส่วน “ปัจจัย” คือ อีกสิ่งหนึ่ง ที่มาร่วมปรุงแต่ง จัดแจง หรือเหตุร่วม เป็นผลดีก็ได้ เป็นผลร้ายก็ได้ ซึ่งจะเป็นผลดีได้ ก็ต้องมีความฉลาด ถ้าฉลาดแค่โลกีย์ เห็นว่า อะไรดี ตามสมมุติโลก ก็พยายามตั้งใจ ทำให้ได้ดีนั้น ตามโลกเขาสมมุติกัน เช่น เขาว่ารวยดี เขาสวยดี เขามียศดี เราไม่รวย ก็ต้องพยายามฝืนใจ แข่งเขา ซึ่งก็ “ไม่เป็นเช่นนั้นเอง” ไปตามธรรมชาติ ที่ตนยึด ตนเป็นอยู่ ในขณะนั้น อยู่โทนโท่
     นี่ก็เป็นการฝืนใจตน ขั้นโลกีย์ การทวนกระแสใจ ขั้นโลกีย์ ซึ่งไม่ใช่จิตยอมปล่อยไป ตามธรรมชาติ ไม่ได้ปล่อยให้เป็นไป ตามธรรมชาติ ที่ตนเป็นอยู่ ขั้นหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นอย่างใด ก็เป็นไปอย่างนั้น นี่คือตามธรรมชาติ จะค่อยๆ เปลี่ยนไปเอง ตามเหตุปัจจัย นี่แค่ขั้นโลกีย์ เท่านั้นนะ ก็ “ไม่เป็นเช่นนั้นเอง” อยู่โต้งๆแล้ว
     ถ้า โลกุตระ ก็ยิ่งจะต้องฝืนใจ หนักกว่านี้ ทวนกระแสโลกีย์ หรือทวนกระแสโลก คนละทิศ อย่างถาวรด้วย

      สำหรับ โลกุตระ จะเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง จะเป็นเช่นใด ก็เกิดจากเหตุปัจจัย ถ้าเราสามารถ รู้แจ้งดับ“เหตุปัจจัย” นั้น แล้วพากเพียร“กำจัดเหตุนั้น” ทุกอย่างก็ดับ ก็ไม่วนเวียน เป็นธรรมชาติอีก ก็หยุดวน เด็ดขาดได้
     เราก็ไม่เกิด ไม่เป็นอย่างนั้น เราสร้างเหตุปัจจัยใด ครบสัมบูรณ์ เราก็จะเป็น เช่นนั้นเอง ได้ในตัวเรา ถ้าถึงขั้นตถตา ก็คือ สภาพนั้น จะเป็นเช่นนั้นเอง เป็นเช่นนั้นได้ อย่างเป็นอัตโนมัติ โดยเราไม่ต้อง ไปนำพามัน มันก็เป็นเอง ไม่ต้องสังวร ไม่ต้องระวัง มันก็เป็นได้ ในตัวเราเอง ถ้าอย่างนี้เรียกว่า ตถตาโลกุตระ ตถตาของพุทธ ที่เป็นความจริง คือ เป็นตถตาแล้ว

      ตถตา แบ่งออกเป็น ๓ ประเด็นง่ายๆ คือ
     ๑. ที่ยังเป็น “โลกียะ” ก็จะมีทั้งที่ชื่อว่า สัญชาตญาณ ชื่อว่า วิสัย แม้แต่ นิสัย หรือ ชื่อว่า สันดาน
     ๒. ที่เป็น “โลกุตระ” ในระดับ “สาสวะ”  กำลัง สร้างนิสัย สร้างวิสัย (ดับสันดาน, สัญชาติญาณ) ชื่อว่า สั่งสมบารมี
     ๓. ที่เป็นระดับ “อนาสาวะ” คือ มีตถตาที่เป็น บารมีสัมบูรณ์ ก็เป็นเช่นนั้นเอง ยั่งยืน ตลอดกาล
     เพราะรู้จัก “ตถตา” อย่าง “สัมมาทิฏฐิ” และปฏิบัติ “สัมมาปฏิบัติ” จนถึงที่สุด “นิโรธ” สัมบูรณ์

      ตถตา โลกียะ นั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน (เพราะคุณไม่รู้ตัวตน จับตัวตน ของมันไม่ได้)
     เพราะยัง ไม่ได้ “ดับเหตุ” สนิท แม้จะเก่ง “สมาธิแบบโลกียะ”  เช่น สงบหรือดับ อย่างฤาษี ที่ฝึก  “ดับจิต” เป็น “มิจฉานิโรธ”  ก็จะยัง “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน”  สายนี้คือ สายศรัทธา จะอธิบาย ตถตาไม่ได้ แยกเหตุแยกผลไม่ได้ อธิบายไม่ถูก ได้แต่ทำให้ จิตดับ-จิตสงบ อาจจะดับจิตได้เร็ว จนถึงขั้นเป็น อัตโนมัติก็ตาม ก็ยังจะ “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน” อยู่ อาจจะมีสมรรถนะ ดับให้อยู่ได้นานเท่านั้น แต่ก็ยัง “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน” มีสามัญลักษณ์ หรือ ยังวนมา เกิดขึ้น – ตั้งอยู่ - ดับไป อยู่อีกจนได้

      ตถตา โลกุตระ นั้น เที่ยง ไม่ทุกข์ เพราะ “ไม่มีตัวตน” ของกิเลสสัมบูรณ์แล้ว
     เพราะ “ดับเหตุ” คือ “กิเลส” จนสิ้นอาสวะสนิทจริง
     เพราะปฏิบัติแบบพุทธ อย่างสัมมาทิฏฐิ
     จึงถึง “ตถตา” อย่างเป็น “อาริยสัจ” สัมบูรณ์และอันติมะ
     ซึ่งมี ๓ ระยะ ได้แก่
     (๑) เมื่อเริ่มรู้แจ้งความเป็น “ปรมัตถ” ขั้นต้น ที่เป็นความแตกต่าง จากโลกีย์ อย่างทวนกระแส ก็จะ “อุทาน” [จะมากหรือน้อย แล้วแต่บารมี คนที่ยังไม่เคยพบเห็น และไม่มีวี่แวว มาก่อนเลย ก็จะอุทานแรง แปลกใจมาก ผู้มีบารมี หรือมีวี่แววมาก่อน มากขึ้นๆ ก็จะอุทานน้อยลงๆ ตามที่เป็นจริง] จะแปลกใจ ในความเป็นโลกุตระ
     เมื่อได้พบ ได้สัมผัสความเป็น “ธรรมขั้นโลกุตระ” แท้ ไม่ใช่เข้าใจชัด ในความเป็น “ธรรมชาติ” ที่เกิดขึ้น แล้วก็ตั้งอยู่ แล้วก็เสื่อมไป หรือดับไป เป็นการหมุนเวียน ของสรรพสิ่งทั้งสิ้น ในมหาจักรวาล
     ก็จะ “อุทาน” ว่า โอ!!! มันเป็นเช่นนั้นเอง ได้เจอแล้ว ได้พบแล้ว ได้สัมผัสแล้ว สิ่งวิเศษ เป็นเช่นนี้เอง
     (๒) ประพฤติตนทวนกระแสได้ ทวนธรรมชาติ ที่เป็นโลกีย์ได้ “เป็นไปได้เอง จึงเป็นคน เช่นนั้นเองได้” ตนเองได้-ตนเองเป็น “ตนเป็นเอง” เป็นเช่นที่ โลกุตระ ท่านให้เป็นนั้น ได้สำเร็จ แม้ขั้นต้น
       (๓) ผู้บรรลุสูงสุดจบ ก็จะ “เป็นเช่นนั้นเอง” สูงสุด จะ “เป็นเช่นนั้นเอง” ได้เอง ป็นอัตโนมัติ โดยที่ตนเอง ไม่ต้องมี สติสัมปชัญญะใด ไปควบคุม เพราะมัน “เป็นเช่นนั้นเอง” เต็มที่แล้ว เป็นสัญชาตญาณแล้ว ติดตน-ติดตัวไป เป็นเฉพาะ ตนของตนเองแท้ อย่างน้อยก็ “สยัง อภิญญา” แล้ว ถ้าเป็น ตถตาสูงสุด ก็เป็นตถาคตา ก็ถึงขั้น “สยัมภู” แห่งสัมมาสัมพุทธเจ้า

        ส.ฟ้าไทสรุปว่า... เรื่องการเมือง คนที่จะไปทำงานการเมืองได้ อย่างน้อย ต้องเป็น “อนาคามี” หรือไม่ก็ไปกับ หมู่พวกที่มี อนาคามี เป็นหัวหน้า หรือ อรหันต์เป็นหัวหน้า และต้องมีความรู้ ความสามารถด้วย ซึ่งธรรมะของพ่อครู คือเหนือธรรมชาติ มีนิยาม ที่ต่างจาก ของทั่วไปเห็นกัน คงได้เข้าใจอะไรได้ลึกซึ้ง และพยายาม ลดกิเลส และมาอยู่กับ หมู่มิตรดี สหายดี สิ่งแวดล้อมดีด้วย ไม่อย่างนั้น ไอ้ด่าง คาบไปกินหมด...

จบ

 
อาทิตย์ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่ราชธานีอโศก