560809_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครู และส.ฟ้าไท
เรื่อง อำนาจอธิปไตย (หัวใจคือประชาชน)

      ส.ฟ้าไท เปิดรายการที่บ้านราชฯ...

ตอนนี้การเมือง กำลังเข้มข้น ผ่านวันที่ ๗ แล้ว ยังไม่มีอะไรเกิดมากมาย พวกเรา ก็ไปร่วมกัน ที่สวนลุมฯ พ่อครูก็อธิบายการเมือง เอาเทปที่เคยเทศน์ไว้ ตอนอยู่ ศีรษะอโศก มารีรันให้พวกเราฟัง

      การทำความดีไปตลอดชีวิต นี่แหละสบาย แต่สำหรับ ผู้ยังมีกิเลส ก็ยังมีใจ ต้านอยู่ ใจเรายัง อวิชชา เรายังโง่ ในการต้าน การทำความดี ทำความดีแล้ว ยังใจไม่สบาย คือ

      ตอนนี้ เหตุการณ์นี่ การเมืองนี้ พ่อครูไม่ได้ มีการเตรียมตัวไว้ มาก่อน เมื่อได้ ข้อมูลใหม่มา ก็เปลี่ยนได้ เขาก็ว่าพ่อครู ไม่อยู่กับร่องกับรอย แต่พ่อครูว่า อยู่กับร่อง กับรอยอยู่ เพราะทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับ ความไม่เที่ยง อยู่กับอภิมหา อนิจจัง ทำใจได้ ไม่ยึดมั่น ถือมั่นได้ เราต้องใช้ สัปปุริสธรรม ๗ มหาปเทส ๔

      ที่เดินเข้าหา จุดสำคัญ interest point มีอัตถัญญุตา ส่วนอัตตัญญุตา ต้องประมาณตนว่า ตนทำได้ขนาดไหน อย่าประมาท มัตตัญญุตา ต้องประมาณสัดส่วน ตามเหตุปัจจัย คำนวณให้อยู่ ในสิ่งที่ควรที่สุด อยู่ในมหาปเทส เป็นสิ่งที่ พระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้ห้าม แล้วเป็นสิ่งที่ เข้ากับสิ่งที่ควร ก็ควรทำ ทำตาม
สัปปุริสธรรม ๗ คือ

๑.   ธัมมัญญูตา (รู้จักทุกองค์ประกอบ)
๒.  อัตถัญญูตา (รู้จักเนื้อหาเป้าหมาย)
๓.   อัตตัญญูตา (รู้จักตนเอง)
๔.   มัตตัญญูตา (รู้จักประมาณสัดส่วน)
๕.   กาลัญญูตา (รู้จักกาลสมัย) สมัยนี้คือ ปลายเข็มที่สุด ออกจากปลายเข็มนี้ ไม่ใช่สมัยแล้ว
๖.   ปริสัญญูตา (รู้จักหมู่กลุ่มบริษัทอื่น) .
๗.  ปุคคลปโรปรัญญูตา (รู้จักบุคคลอื่น)

      วันนี้เรากองทัพธรรม ก็แจ้งบอกแก่ประชาชน สังคม เราไม่ได้ไปอยู่ฝ่ายไหน เราเป็นกลาง และเป็นกลาง ไม่ใช่ไม่เข้าข้างใคร เราเข้าข้างคนดี เราช่วยให้คนไม่ดี ไม่ได้ทำบาปด้วย ตอนนี้ ก็อธิบายว่า “การเมือง” เรื่องประชาธิปไตย ก็อธิบายแล้ว อธิบายอีก

      การเมืองหรือประชาธิปไตย นั้นมนุษย์ต้องปฏิบัติ “ออกไปชุมนุม” นี่คือ ประชาธิปไตย แต่ที่ว่า การออกไป ลงคะแนนเสียง เป็นประชาธิปไตย นั่นมัน ประชาธิปไตย ขั้นที่ ๕ แต่การออกมาชุมนุม นี่คือ ประชาธิปไตย ชั้นที่ ๑ ชั้นแรกเลย ออกมา ๖๗ ล้านเสียงเลย ถ้าเห็นร่วมกัน แต่คงเป็นไปไม่ได้ คงมีความเห็นต่างกัน

      เรียกว่าออกมา “โปรเทส” ตั้งแต่ตอนออกมา ชุมนุมประท้วงช่วงแรก และก็ต้อง ใช้ต่อไป พ่อครูเรียกว่า นีโอ-โปรเทส Neo-Protest คือการชุมนุมแบบ “สันติ อหิงสา ซื่อสัตย์ บริสุทธิ์ คมลึก แม่นประเด็น” นี่คือ คำชัดเจนแล้ว

      สันติคือสงบสุข อหิงสาคือไม่รุนแรง ซื่อสัตย์คือ อย่าเบี้ยวอย่าเพี้ยน สะอาด ทุกอย่างเลย ไม่มีกิเลสมาปน ไม่ใช่กดข่มบังคับด้วย ไม่ใช่ว่า อิสระแบบฮิปปี้ด้วย บริสุทธิ์คือ ต้องให้กิเลสหมดไป ให้ตรงตาม หลักสังคมด้วย ส่วนคมลึก แม่นประเด็น คือ ต้องตรวจสอบ ให้ชัดเจนลึก ต้องเอาข้อมูล มาประมวล ให้ครบถ้วน นี่คือ ปรัชญา การชุมนุม นีโอ-โปรเทส

      เวลาการปฏิบัติ เราจะทำอย่างไร ก็บอกกันพูดกัน ว่าเรามาชุมนุม ประท้วง ต้องไม่ยั่วยุ ให้เกิดความรุนแรง ท่านคานธี ใช้คำว่า “สัตยาเคราะห์” คือยอม แม้เขา จะทำร้าย เราก็ยอม อดทน ใครทนไม่ได้ ก็หลบวิ่งหนีเอา เรามีความมุ่งหมาย ที่จะเอา ความจริงกับความรู้ ออกมาเปิดเผย เสนอความรู้ ไม่ใช่เอามายั่วยุ เหมือนการไฮปาร์ค พยายาม มีความรู้อะไร ก็ให้ชัดเจน เอาความรู้ความจริง มาประกาศ จริงอย่างไร ก็ว่าให้ชัดเจน คือ “ยาวให้เป็น เย็นเรื่อยไป ไขความจริงออกมา ให้มากๆ หมดๆ” นี่คือ สโลแกนเรา

      เราชนะด้วยความจริง ไม่ใช่สมัยโบราณ ที่เอาชนะด้วยข่ม ด้วยทำร้าย เราไม่ใช่ ยุคหิน ยุคเจ็งกิสข่าน เราควรผ่านยุคนั้น ได้แล้ว จึงเรียก Neo-Protest มันต้องมี การชุมนุม ประท้วงแบบใหม่ ที่ไม่เหมือนเก่า แพ้ไม่เป็นไร เราเสนอความดีที่สุด แพ้ก็แพ้ ชะตาทราม พ่อครูแพ้มา ตลอดชีวิต เราเสนอความจริง ถ้าเราเสนอไปแล้ว ไม่ถูกต้อง ก็แย้งมา ติเตียนมา ก็ยินดีเลย ขอบคุณเลย เป็นสิ่งประเสริฐ ไม่ใช่ใช้เรี่ยวแรง ยั่วยุทำร้าย เรามีปัญญา เป็นมนุษย์พัฒนาแล้ว

      สิ่งที่เราได้ทำมานี้ คนที่มีความจริง เป็นตัวชี้บ่ง ซึ่งพ่อครูเคยเทศน์ คำว่า “ตุลาการภิวัฒน์” กับ ประชาภิวัฒน์” ตอนแรก ที่พ่อครูคิดคำนี้ ก็คิดว่าจะใช้ “ประชาชนาภิวัฒน์” หรือ “ประชาภิวัฒน์” ดี แต่ก็ใช้ ตุลาภิวัฒน์ด้วย ก็จึงใช้ ประชาภิวัฒน์ จะได้คู่กับ ตุลาการภิวัฒน์

      มาถึงวันนี้แล้ว อำนาจบริหารกับสภา ไปแล้วล้มเหลว และตุลาการ ก็เหลวแล้ว ซึ่งก็เหลือแต่ ประชาภิวัฒน์ แล้วตุลาการ ก็ช่วยได้มากเลย ดังนั้น ประชาชน ต้องผนึกกันก่อน เราจะได้ สู่ความเป็น ประชาธิปไตย นี่คือโอกาส เวลา ที่จะมา หนึ่งคน หนึ่งเสียง พอถึงเวลา คือออกมาชุมนุม คือออกมา ลงคะแนนเสียง ไม่ใช่เลือกผู้แทนเลย แต่นี่ ใช้อำนาจตรงเลย เป็นของจริง สดๆเลย อย่าดูดาย อย่าเฉย

      ประชาธิปไตย ต้องเอาภาระ ไม่ใช่ไม่เอาตาดูหูแล ใครจะโกงกินทำร้าย ก็ช่างเถอะ หาเลี้ยงตัวเอง ไปอย่างนั้น ซึ่งแต่ละคน ก็หาเลี้ยงตัวอยู่แล้ว แต่เกิด ในแผ่นดินนี้ เป็นหนี้ บุญคุณแผ่นดิน ควรตอบแทน คุณแผ่นดิน อโศกเรา เป็นกลุ่มไม่ใหญ่ แต่มีความซับซ้อน ของเอกภาพ เรามีคุณธรรมของ สาราณียธรรม ๖ พุทธพจน์ ๗ เป็นเอกีภาวะ เป็นอย่างเดียวกัน เหมือนกัน ไม่ขัดแย้ง เป็นหนึ่งเดียวกัน สามัคคี ขัดแย้งพอเหมาะ เราจะประชุมกัน วิเคราะห์วิจัยกัน พระพุทธเจ้าสอน ให้ทำกันมา เราทำตามพระพุทธเจ้า ใหม่เสมอ แสนปีที่แล้ว กับตอนนี้ ใหม่เสมอ อย่าไปแก้ไขพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ สอนเหมือนกันหมด เป็นสัจจะ ตลอด ไม่รู้กี่ล้านๆๆๆ ปีแล้ว ไม่ใช่เรื่อง ประหลาดอะไร

      เมื่อประชาชนผู้ใด ออกมาร่วมกันแล้ว ลงคะแนนเสียง ถ้าไทยเราทำได้ อย่างสันต ิอหิงสา มาร่วมกันแล้ว ก็อยากดูจริงๆ แล้วอย่างไร เขาจะละเมิด ขู่แฮ่ๆๆๆ ผิดก็จะทำ แบบนี้ ไม่เป็นอาริยชน มันก็เป็นพวก มิลักขชน ไม่ใช่อาริยกชน

      เรามีโอกาสแล้ว ให้ออกมาชุมนุม ออกมาแสดงความจริง ที่เราเข้าใจ นักวิชาการ นักรู้ ก็เข้ามาร่วมกัน ตอนนี้เราก็ กำลังปักหลัก คนเก่า เขาก็ยัง ค้างๆอยู่ เราไม่ได้ไป แย่งนะ จนกว่า เขาจะเลิก เราก็ทำ อันไหนที่ คุณไม่มี เรามี ก็เอามาร่วม อันไหนคุณก็มี เราก็มี คุณไม่ให้เราใช้ เราก็ไม่ทำ แต่เราไม่มีสตังค์เช่า เราก็อาศัยเบี้ยบาท ของผู้ที่มาร่วม ก็ทำ ใครจะมาช่วยเหลือก็ทำ เราไม่ประกาศ ให้ใครมาบริจาค มากมาย เราก็อาย เรามีเนื้อ เท่าไหร่ เราก็ทำ “เหลือบ่าเกินแบก ก็บอกแขก ช่วยหามหน่อย”

      ถ้าตุลาการ บริหาร จะช่วยก็อนุโมทนา เราคงไม่หวังพึ่ง สภาและบริหาร เราก็หวังพึ่ง ตุลาการ และประชาชน เราไม่มีตำแหน่ง ในตุลาการ หรือบริหาร เราเป็นประชาชน เรามีสิทธิ์ตาม รัฐธรรมนูญ เราก็ทำเต็มที่ ประชาชนที่เห็นด้วย ก็ออกมาชุมนุม มาแสดงเสียง ประชาธิปไตย เราก็มีแผนก ลงทะเบียน มาลงชื่อไว้ เป็นหลักฐานว่า กี่รายๆ เอาไปใช้เป็นประโยชน์ ในการเจริญขึ้นได้

      ๑.เราต้องสุภาพ สงบ และเรียบร้อย แสดงออก อย่างผู้สุภาพ สงบเรียบร้อย ไม่มีความรุนแรง
      ๒.ไม่มีความรุนแรง ระมัดระวัง อย่าให้เกิดรุนแรง
      ๓.เสนอความรู้และความจริง
      ๔.ไม่หยาบและไม่ผิด จะกล่าวคำแรง เสียงดังเท่าไหร่ ก็ไม่ว่าเลย เอาเลย ถ้าไม่เจ็บ คอเอง แต่อย่าผิด อย่าหยาบ เอาพอประมาณ

      เป้าหมายของการชุมนุมคือ
      ๑.ไม่มุ่งหาบริวารเป็นเอก แต่ถ้ามีมวลมากก็ดี
      ๒.ต้องให้มีคุณภาพ ความเป็นประชาธิปไตย จิตต้องมีธรรมะ
      ๓.เพื่อมาแสดงสิทธิ ร่วมชุมนุม
      ๔.ไม่มุ่งหมายเอาชนะหรือแพ้ ให้ความรู้ความจริง เป็นตัวตัดสิน บ่งชี้ว่า สังคมไทย เจริญหรือไม่ ที่จะเอาความรู้ ความจริงตัดสิน
      ๕.เอาวิถีชีวิต ความเป็นสาธารณโภคี ไปแสดง ความเป็นประชาธิปไตย คือ สาธารณโภคี สูงส่งกว่า คอมมิวนิสต์ เป็นยอดประชาธิปไตย

      สาธารณโภคีคือ คอมมูนยอด โดยประชากร ยินดีสละภาษีรายได้ ๑๐๐ % เข้ากองกลาง โดยเต็มใจ ซึ่งไม่เหมือน คอมมิวนิสต์ ที่บังคับเอาจาก ผู้มีรายได้มาก ก็เอามา ให้กองกลางมาก ซึ่งโดยจริง เป็นบุญกุศลมาก แต่เขาก็ต้องขี้เหนียว โดยธรรมชาติ ต่างจาก สาธารณโภคี เราทำได้มาก ก็ให้ส่วนกลางมาก เป็นสิ่งดีงาม กิเลสเราลด เราก็ให้ได้มาก เป็นกำลังของปัญญา วิริยะ อนวัชชะ และสังคหะ ช่วยเหลือ เกื้อกูลสังคม ตรงตามพระพุทธเจ้า

      การนำวิถีสาธารณโภคี ไปแสดง ให้ประชาชนรู้ ชาวอโศกเราทำได้ แม้จะไม่งามแงะ เราอยากทำได้ดีกว่านี้ พากเพียรทำอยู่ ก็ช่วยกัน ให้ดีกว่านี้อีก ช่วยกัน คนละไม้ คนละมือ สรุปคือ ให้ไม่มีโลภ-โกร-หลง มากที่สุด
      มั่นใจว่า ไทยเราจะมีได้ มีเค้ามูลว่า จะทำได้ ช่วยกันให้งามแงะ ให้ผ่องใส ตามลำดับ มาช่วยกัน นี่คือเป้าหมาย ของการชุมนุม

      ออกมาครั้งนี้ เราไม่เห็นด้วยกับกฎหมาย ล้มล้างความผิด ที่เรียกว่า กฎหมาย ปรองดอง ที่คุณทำเอง แล้วก็ร่างเอง แล้วก็ไม่มี ประชาภิจารณ์ ใช้อำนาจ เสียงในสภา ตัดสิน เอาพวกมากลากไป ไม่ซื่อสัตย์บริสุทธิ์เลย ไม่เข้าท่าเลย ถ้ามันจะเป็นสภา ที่มีเสียงข้างมาก จะเป็นเผด็จการ ก็ไม่ว่า แต่ขอให้ทำ เพื่อประชาชนประเทศชาติจริง จะดี จะสุขสำราญ บานตะไทเลย แต่นี่ไม่ใช่เลย เราไม่ใช่ตาหนวก หูบอดเลย มันก็เห็นอยู่ ได้ยินอยู่

      ถ้าเผื่อว่า ผู้ใดที่ฟัง ที่รับซับซาบอยู่ มาช่วยกันสร้าง ประชาธิปไตยไทย สรุปคือ หนึ่ง คน หนึ่งเสียง มีเวลาเท่าไหร่ ก็ออกมารวมตัวให้เห็น เวลาเท่าไหร่ ให้เขานับคะแนนเลย นับหัวได้เลย จะออกจะเข้า เท่าไหร่ ก็รายงานไป ตามความเป็นจริง คนเราจะอยู่เต็ม ไม่ได้ทุกคนหรอก อโศกหลายคน ก็อยู่เต็มเวลาเลย ใครมีเวลาเท่าไหร่ก็มา มีส้วมให้ เราเรียกส้วมเราว่า “ส้วมพราวสีรุ้ง”

      เราเอง เราเข้าใจว่า สังคมมนุษยชาติ เขาต้องการอะไร งานอย่างนี้ เขาไม่ค่อยทำ เรื่องขี้ เรื่องเยี่ยว เรื่องปัดกวาด ไม่ใช่ว่า เราอยากทำ แต่เราทำได้ เห็นสมควร เราก็ทำ ใครจะมา ช่วยเสียสละก็มา เป็นเรื่องจำนนด้วย

      เราไม่เห็นด้วยจริงๆว่า จะออกกฎหมายนี้ ใครเห็นด้วย ก็ออกมา พวกเราก็ฝึกเอา อยู่กันอย่าง ไม่ต้องเลอเลิศอะไร เราก็ออกสนาม กันมาตลอด เราเป็นลูก พระพุทธเจ้า ตลอดชีพ พระพุทธเจ้า ๔๕ พรรษา ก็ออกภาคสนามตลอด แม้ท่านเป็นผู้ดี เป็นเชื้อเจ้า ถูกประคบ ประหงม มาตลอด อยู่ในปราสาท ๓ ฤดู ไม่ให้เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย ถูกครอบงำ ต่างๆนานา แล้วท่านก็ออกมา ใช้ชีวิต นอนกลางดิน กินกลางทราย อยู่กับศพ กับป่าช้า อยู่กับดินกับทราย ไม่ได้มีบรรจถร แม้แต่ฉลองพระบาท ก็ไม่มี ท่านจะฉลอง พระบาท ด้วยรองเท้าทองคำนะ แต่ว่าท่านออกมา เท้าเปล่า ตลอด ๔๕ พรรษา นี่คือ ความเสียสละ ของพระพุทธเจ้า ท่านเคยเป็น ผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดินนะ

      มีกุลบุตรคือ พระโสณะที่เป็นผู้ดี มาอยู่กับพระพุทธเจ้า เดินเท้าเปล่า ก็ตีนแตก คือเท้าท่านนิ่ม จนขนขึ้นเลยล่ะ แสดงว่า เดินพระบาทเปล่า ก็เท้าแตก ภิกษุเห็น ก็สงสาร ไปทูลพระพุทธเจ้าว่า ภิกษุท่านนี้ เป็นสุขุมาลชาติ ก็เห็นใจท่าน แม้ท่านพยายามมากแล้ว พระพุทธเจ้า ก็อนุโลม ให้ใส่รองเท้าได้ ให้ใช้ใบไม้ ทำรองเท้า ให้ใช้ได้แค่ ชั้นเดียวนะ เสร็จแล้ว ภิกษุที่ขอพระพุทธเจ้า ก็ดีใจ ที่พระพุทธเจ้าอนุญาต รีบไปบอก พระโสณะ แต่ท่านก็บอกว่า ขอบคุณที่อนุญาต แต่ท่านจะอดทน ไม่ใส่ต่อไปน่ะ เป็นเรื่องจริง

      คนเรามันอยู่ที่ การศึกษา เรียนรู้ฝึกฝน ชาวอโศกเรา ทั้งสมณะ และสิกขมาตุ ปกติ ไม่ใส่รองเท้า เป็นปกติ ยกเว้นบางเหตุการณ์ แต่ว่ารองเท้า มักกัดเท้าพ่อครู เป็นประจำเลย พ่อครูไม่ใส่รองเท้ามา ตั้งแต่เป็นฆราวาส ตั้งแต่เป็นดารา ใช้ปัตตาเลี่ยน โกนผมเอง แต่ตอนนี้ ก็ไม่มีเวลาโกนผมเลย ทำงานไป ท่านที่ช่วยโกนผม ก็โกนไป พ่อครูก็ทำงานไป ก็เซฟเวลาไป แต่ตอนก่อนนี้ ๔๐ ปีก่อน ก็โกนเอง มาตลอด ไม่จำเป็น ที่จะให้คนอื่นโกน แต่ตอนนี้ เวลาโกนหัวเอง ก็ไม่มี

      เมื่อผู้ใดได้ฝึกฝนตน เป็นคนมักน้อยสันโดษ อดทนได้ โดยไม่ต้องอดทน ไม่ใส่รองเท้า ก็สบาย กินมื้อเดียวก็สบาย ให้กินหลายมื้อ ไม่สบายเลย ไม่ใช่แกล้ง คนอย่างนี้ ก็มาเสียสละได้ โดยไม่ต้องอดทน เป็นตถตาเลย เป็นเช่นนั้นเอง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ พ่อครูมั่นใจ และตั้งใจ มั่นใจว่าคนชนิดนี้ จะช่วยโลก เพราะเราไม่ได้ไปทำ เพื่อเอาเด่นดัง ลาภ ยศ สรรเสริญ เราก็อาย ระวังว่า จิตเรา จะมีจิตลามก อยากอวด เป็นสาเฐยยะจิต อยากโก้เด่นดัง อย่าให้ออกมา ทางกาย วาจา อย่าให้มีอกุศลจิต ต้องกำจัด กิเลสตัวนี้ ได้แล้ว ใครจะว่าไม่ได้ ก็เชิญ ใครจะพูดอย่างไร ให้ตาย จิตเรา ก็ไม่เปลี่ยนแปลงความดีแล้ว

      ตอนนี้ มีเหตุการณ์ทางการเมือง การสังคม การสภา เราก็ฟังเขา พ่อครูว่า ให้ใช้สูตร “ดูไป” คือดูเหตุปัจจัย เหตุการณ์ไปเรื่อยๆ แล้วทำตาม เหตุปัจจัยที่เกิด จะมีกรรมกิริยา ที่เกิดว่า ต้องแก้อย่างไร เราก็ทำ แต่เหตุการณ์ขณะนี้ อยู่ในเดือน สิงหาคม เราก็เตรียมกัน ช่วยกัน ชาวอโศกทุกคน ในประเทศไทย ใครอยู่ในรูไหน ก็ออกจากรูมา อย่าชอบ หลบสบาย เราต้องการ ความร่วมมือ ร่วมไม้ มาร่วมสร้าง ประชาธิปไตย ก็ welcome

      และมีข่าวดีข่าวด่วน วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ พวกเรา จะมีกิจกรรม พิเศษ กันที่สวนลุมฯ คือ    
      ๑.จะมีตลาดอาริยะ ขายสินค้าที่จำเป็น ที่สมควรแก่มนุษย์ ในราคาต่ำกว่าทุน อย่างไม่มีเล่ห์เหลี่ยม เหมือนทุนนิยม
      ๒.จะมีโรงบุญมังสวิรัติ ใครจะมาร่วม ก็แจ้งที่คุณต้อย ปลูกขวัญ ๐๘๖-๕๕๙-๖๙๒๕ จะเป็นชาวอโศก หรือไม่ก็ได้
      บนเวทีจะมีกิจกรรม วันแม่ด้วย ซึ่งแต่ละชุมชน เราก็ฟิตซ้อมกัน หลายเจ้า คงได้ออกงาน กันคราวนี้

      เราจะทำอย่างมี สาราณียธรรม ๖ แล้วจะเกิดคุณธรรม คือ พุทธพจน์ ๖
.   สาราณียะ (รู้จักระลึกถึงกัน คำนึงถึงคนที่ควรเอื้อ)
.   ปิยกรณะ (รักกันสัมพันธ์ดี-ปรารถนาดีต่อกัน) .
.   ครุกรณะ (เคารพกัน รู้จักฐานะ รู้จักคุณวุฒิ)
.   สังคหะ (สงเคราะห์เกื้อกูลช่วยเหลือกัน) . . .
.   อวิวาทะ (ไม่วิวาทแตกแยกกัน) .
.   สามัคคียะ (พร้อมเพรียงกัน มีพลังรวมยิ่งใหญ่) .
.   เอกีภาวะ (เป็นปึกแผ่น มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน)

      เอกีภาวะ คือสภาพแน่นปึ๊กเลย หนึ่งเดียวแน่นเหนียว ได้สร้างสรร ทำสิ่งดีงาม ก็เจริญ ก้าวหน้าขึ้น
      มีสามัคคียะ ไม่รุนแรง ขัดแย้งพอเหมาะ ไม่วิวาท อย่างเก่งก็มี มุขสตี คือ ปากมีอาวุธ ท่านแปลว่า “ปากหอก” ซึ่งระดับปากหอก ในระดับโสดาบัน ก็เสียบกันด้วย วาจาอยู่ กระทบ กระแทก ด้วยภาษาคำพูด แต่ว่าเรื่อง กายกรรม ไม่มี หรือมีเล็กน้อย เป็นข้อ error ในพวกรุนแรงบ้าง แต่นอกนั้น ก็อยู่กันอย่าง สามัคคี พูดจากัน ใครไม่เห็นด้วย มาก็ออกไปได้
      สังคหะ คืออยู่กัน พึ่งแก่เจ็บตายกันได้จริง ต่างคนต่างสงเคราะห์กัน เกื้อกูลกันไป มีคุณธรรมนี้จริง มีคุรุกรณะ คือเคารพกัน ตามศักย์ ตามวัยวุฒิ อายุ คุณงาม ความดี ความรู้ หรือสมมุติ เช่นคนนี้ เป็นจ่าก็เคารพนายร้อย คนบวชทีหลัง ต้องเคารพ คนบวชก่อน แม้คนบวชก่อน เป็นพระธรรมดา แต่คนบวชทีหลัง เป็นอรหันต์ คนบวชทีหลัง ก็ต้องเคารพ คนบวชก่อน
      มีปิยกรณะ คือรักกัน ตามความรัก มิติทั้ง ๑๐ ตามลำดับ ต่ำสุดคือ เมถุน แต่ศีล ๘ ก็ลดเมถุนแล้ว ไม่เอาแล้ว แต่ไม่ใช่อยู่คนเดียว ไม่เกี่ยวกับใคร อย่าส่งจิตออกนอก อย่างนั้น ไม่ใช่สัมมาทิฏฐิ

ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าว สรรเสริญ หมกหมุ่นรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกหมุ่นรูปนั้นอยู่ ย่อมเกิด ความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมีความกำหนัดกล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง

ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลิน และความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ผู้มีปรกติอยู่ ด้วยเพื่อน ๒ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชัก ให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้นอยู่ ย่อมเกิด ความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมีความกำหนัดกล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง
ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบด้วย ความเพลิดเพลิน และความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปรกติอยู่ ด้วยเพื่อน ๒ ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้มีปรกติ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงจะเสพ เสนาสนะ อันสงัด คือ ป่าหญ้าและป่าไม้ เงียบเสียง ไม่อื้ออึง ปราศจากลม แต่ชน เดินเข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจ ของมนุษย์ ผู้ต้องการสงัด สมควรเป็นที่หลีกเร้น อยู่ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่า มีปรกติ อยู่ด้วยเพื่อน ๒ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้น ยังมีตัณหา เป็นเพื่อน ๒ เขายังละตัณหานั้นไม่ได้ ฉะนั้น จึงเรียกว่า มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒

      สรุปคือ อยู่แต่ผู้เดียวไม่มีเพื่อนสอง คือปฏิบัติลดละ จนไม่มีกิเลสนั่นเอง ไม่ใช่ว่า ออกป่าเขาถ้ำ

      ตอนนี้มีคน อาจระแวงว่า เราออกไปทำไม ออกไปก็แพ้ แต่พ่อครูว่า จิตพ่อครู ข้ามพ้น การชนะการแพ้ แล้วก็พาพวกเราฝึก เรื่องการชนะการแพ้ มันเรื่องเด็กๆ พ่อครู พาไปเสียสละ ไปอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนรับใช้ แล้วจะเอาชนะทำไม เราแพ้ก็แพ้ แต่เรา จะไปทำงาน ซึ่งเราก็ออกไป เพราะคณะที่ออกไป ยังดำเนินต่อ ยังไม่สุดซอย ประเด็น ที่ออกมาต่อต้าน ก็คือ ไม่อยากให้รัฐบาล ออกกฎหมายนี้ ยังทำไม่สุดเลย ก็ยังไม่เลิก เราเห็นสมควร ก็ออกมาทำ เราก็พอทำได้ มีความสามารถ เราออกไป เราก็ต้องถาม ผู้ที่ทำก่อน เราไปเจรจา ทางโน้นจะให้หยุด ก็หยุด จะให้ทำก็ทำ จะให้ร่วมทำก็ได้ เราก็จะทำ เป็นการสร้าง ประชาธิปไตย ที่สำคัญมาก ให้รู้ว่า ประชาชน ควรต่อสู้อย่างไร ทำอย่างไร ก็อธิบายว่าเป็น นีโอ-โปรเทส ต้อง “สันติ อหิงสา ซื่อสัตย์ บริสุทธิ์ คมลึก แม่นประเด็น” จะพูดแรงอย่างไร ก็ขออย่าหยาบ อย่าผิด เราไม่ต้อง ได้มากคนก็ได้ แต่ได้มากคนก็ดี ต้องได้ตามจริง ให้สำนึกรู้ เต็มใจมาชุมนุม เป็นผลสำเร็จ ที่น่าภาคภูมิใจ เราไม่เร่งรัด รีบร้อน แต่ถ้าเร็ว ก็เป็นบุญของประเทศ เราแสดงสภาพของ ประชาธิปไตย ตามภูมิ ตามปัญญาของเรา ก็แสดงบทจริงเต็มที่ แสดงความจริงใจ เหมือนเรามา ปฏิบัติธรรม เราก็ไม่แสดงกิเลส เขาว่าจริงใจ ต้องแสดงกิเลสสิ นั่นไม่ใช่ เราต้องไม่แสดง สิ่งไม่ดี ถ้าออกมาเต็มที่ ก็ฉลุย ชนะ อย่างที่ พล.อ.ปรีชา มั่นหมาย แต่เราไ ม่เอาชนะ คะคานหรอก เราไม่มีอกหัก แพ้ก็แพ้ชะตาทราม ดวงใจทรง ความมั่นคง ยังมีอีกยาวนาน ให้เราทำ เราชนะรายทางนะ

        เรามีสาธารณโภคี เป็นของเด่นของพระพุทธเจ้า ที่สร้างทฤษฏีนี้ ในสาราณียธรรม ๖ เราทำได้ ก็ภาคภูมิใจ ให้เห็นเป็นพฤติภาพชัดเจน เราไม่ได้ทำ อย่างที่เขาว่า จะแพ้แล้ว ออกไปทำไม จะบ้าหรือ เราทำอย่างสร้างสรร มันยาก แต่เราจะทำ สิ่งที่ทำได้ยาก เราจะเสียสละ ในสิ่งที่เสียสละได้ยาก เราจะอดทน ในสิ่งที่อดทนได้ยาก เราจะเอาชนะ ในสิ่งที่ ชนะได้ยาก คือชนะใจตนเอง

        เราได้สิ่งที่เป็นธรรมะ ที่แท้จริง ในขณะที่เราไปทำงาน เราได้ฝึกฝน ได้ทำจริง ไม่ใช่ละคร แต่คือชีวิตจริง ที่เราทำกับสังคม เราเป็นพวก อนาคาริกะ เป็นพวกไม่ห่วง ญาติพี่น้อง ทรัพย์สินเงินทอง มีญาติปริวัฏฏัง ปหายะ โภคักขันธัง ปหายะ เป็นไปตาม หลักพระพุทธเจ้า ก็สบม. ทมด. ปกต. หห.จจ.  เราก็ทำได้ เพราะเราทำตาม พระพุทธเจ้า เราพิสูจน์ได้ เราไม่ใช่ ไม่ดูดำดูดีญาติ แต่เราไปทำ สิ่งประเสริฐ ถ้าญาติป่วย หรือแย่ เราก็ไปช่วยได้ แต่คนพอมาได้ก็มา แม้โภคักขันธัง ปหายะ ไม่ต้องห่วง ทรัพย์สิน เงินทอง บ้านช่อง เรือนชาน เราก็มาอยู่กิน กับหมู่นี่แหละ

        ส.ฟ้าไท...พ่อครูให้เราไปนี่ ก็ให้เราอย่าไปเอาชนะ พ่อครูว่า ชนะก็ดี แต่ไม่เครียด ไม่ซีเรียส เคร่งครัดแต่ไม่เคร่งเครียด ส.ฟ้าไทว่า พ่อครูให้ไปสร้าง ประชาธิปไตย ไปพัฒนา ตนเอง ให้เจริญขึ้น ไปฝึกลำบาก ไปที่ไหน ก็ไปลดกิเลส เป็นโจทย์ที่ ครูให้โจทย์ แบบฝึกหัดแก่เรา เราก็ส่งการทำ แบบฝึกหัด ในฐานะลูกศิษย์สาวก ท่านให้แบบฝึกหัด ใครตั้งใจทำเต็มที่ ก็จะผ่าน แม้ไม่ผ่าน เราก็ได้ฝึก ทำแบบฝึกหัด

        พ่อครูว่า เราจบด้วยสูตรนี้ ตั้งตนในคุณอันสมควร

        บุคคลพึงยังตนนั้นแล ให้ตั้งอยู่ในคุณ อันสมควรก่อน พึงพร่ำสอนผู้อื่น ในภายหลัง

        บัณฑิตไม่พึงเศร้าหมอง หากว่าภิกษุพึงทำตน เหมือนอย่างที่ตน พร่ำสอน คนอื่นไซร้  ภิกษุนั้น มีตนอันฝึกดีแล้วหนอ พึงฝึกตน ได้ยินว่า ตนแลฝึกได้ยาก

        ตนแลเป็นที่พึ่งของตน บุคคลอื่นไรเล่า พึงเป็นที่พึ่งได้ เพราะว่าบุคคล มีตน ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่ง อันได้โดยยาก   (พตปฎ. ล.๒๕ ข้อ ๒๒)

...จบ    

จบ

 
วันศุกร์ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่ราชธานีอโศก