560812_เทศน์ก่อนฉันวันแม่ โดยพ่อครู สมณะโพธิรักษ์
เรื่อง พ่อแม่ทางจิตวิญญาณ

๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่ราชธานีอโศก

        วันนี้เป็นวันแม่แห่งชาติ ลูกที่ดีก็น่าจะได้กระทำสิ่งดี เป็นการกตัญญู กตเวที ต่อบุพการี

        แม่ให้การเกิด ทางร่างกายได้ แต่ให้กำเนิด จิตวิญญาณไม่ได้ ซึ่งสรีรพันธุ์ ต่างจาก กรรมพันธุ์

        สรีระพันธุ์คือ ร่างภายนอก เป็น อวัยวะรวม องคาพยพ ของร่างกายทั้งหมด เป็น Anatomy แม่จะมี ดีเอ็นเอ โครโมโซม มีเผ่าพันธุ์เป็นยีน เท่านั้น แต่เขาใช้คำว่า กรรมพันธุ์ ซึ่งผิดความหมายแท้จริง น่าจะแปลว่า “สรีระพันธุ์” มากกว่า ซึ่งการเกิด แบบนี้ คนไม่มีความรู้ ก็ทำได้ แม้แต่พืชกับสัตว์ ก็ทำได้ ผสมพันธุ์แล้ว ก็ทำการเกิดได้ อย่างนี้เป็นธรรมดา ไม่มีปัญหาอะไร เราได้ร่างกายนี้ จากพ่อแม่

        แต่ว่าร่างกายนี้ เราต้องมีจิตวิญญาณอาศัย เราได้ร่างกายนี้ จากพ่อแม่มาแล้ว เราต้องใช้ ร่างกายนี้ ทำบุญ ทำกุศล อย่าให้ทำชั่ว โดยเรามีจิตวิญญาณ เป็นตัวใช้ ร่างกายนี้ “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” อะไรเป็นกุศลอกศล ใจเราเป็นตัวบังคับ ถ้าเรา ไม่มีร่าง เราก็ทำอะไรไม่ได้มาก ทำได้แต่ในใจเรา เป็นตัวคนเดียว เอกจรัง มีอาการ เกิดในใจอย่างเดียว สมมุตติว่า เราตายไปแล้ว ก็มีมีแต่ใจ ไปเดี่ยวๆ เดียวๆ เป็นเอกจรัง ไม่มีรูปร่างตัวตน แต่คนมักเข้าใจผิดว่า ตายไป จะมีร่างกาย เหมือนเดิม เป็นวิญญาณ ล่องลอย ออกจากร่าง เป็นตัวเป็นตน อย่างนั้น เป็นการเข้าใจผิดๆ

        ถ้าร่างเอง ไม่มีใจ เป็นตัวกำหนด ก็ทำอะไรเองไม่ได้ เช่น กระดาษนี้ (ชูกระดาษ) ตัวมันเอง ทำอะไรไม่ได้ มันต้องมีน้ำ มีลม มีไฟ มากระทำกับมัน ให้มันละลาย หรือยืด หรือ เปื่อยสลายไป มันไม่มีวิญญาณ เป็นแค่อุตุนิยาม ซึ่งสามารถพัฒนา มาเป็น พีชะนิยาม (ทั้งอุตุและพีชะ เป็นอนุปาทินนกสังขาร คือสังขาร ที่ไม่มีวิญญาณครอง) และ พอมาเป็น จิตนิยาม ก็สามารถมีวิญญาณได้ ทำบาป ทำบุญได้ เป็นอุปาทินนกสังขาร มีเวทนา มีสุข มีทุกข์ มีรัก มีชังได้ ก่อเวรานุเวร กันมากมาย นับไม่ถ้วน

        จิตวิญญาณนั้น มีการเกิดการดับ ซึ่งต้องมีแม่ มีพ่อ ในสัมมาทิฏฐิ ๑๐ มีข้อที่ว่า พ่อมี แม่มี

        ซึ่งธรรมดาทั่วไป คนเขาก็รู้กันว่า คน สัตว์ เกิดมา ต้องมีพ่อมีแม่ ที่ให้กำเนิด ร่างกายนี้อยู่แล้ว แต่แม่ทาง วิญญาณนี่สิ ต้องมาตั้งใจ ฟังให้ดีว่า คืออะไร

        พระพุทธเจ้า มีวิญญัติรูป คืออาการเคลื่อนไหว ขององค์รวมทั้ง กาย วาจา ใจ มีนัจจะ คีตะ วาทิตะ มีการสอน เป็นแม่ เป็นการเคลื่อนไหว เป็นภาวะแม่ เป็นอิตถีภาวะ (ภาวะไม่นิ่ง ไม่จบ ปริเทวนาการ ยังมีต่องแต่ง ยุกยิก ไม่เป็นหนึ่ง เป็นภาวะรอง) แต่เป็นภาวะ ที่มีประโยชน์ ให้เกิดการสังเคราะห์ สร้างสรร ทำงาน

        พระพุทธเจ้า แสดงอาการเคลื่อนไหว Kinetic energy เป็นพลังงานจลน์ สามารถ เอาพลังกุศล ที่เคลื่อนที่เป็นประโยชน์ ท่านไม่ทำ สิ่งเป็นโทษเลย เป็นองค์รวมของ กาย วาจา ใจ แสดงออก สื่อออกมา เป็นกายวิญญัติ แต่ถ้ามีแต่ สุ้มเสียงภาษา เรียกว่า วจีวิญญัติ ให้คนรับรู้ได้ เป็นแบบอย่างทำตาม จนเกิดเป็นไปได้ เกิดลีลา การเกิดสอน ตามที่เป็น Kinetic หรือ Dynamic นี่คืออาการของแม่ เรียกว่า กายวิญญัติ หรือวจีวิญญัติ ซึ่งกายพระพุทธเจ้า เป็นปุริสภาวะแล้ว แต่ว่าแสดงออกเป็น อิตถีภาวะได้ ซึ่งทั้งผู้หญิง ผู้ชายทำได้ เป็นอาการสอน ให้ไปทำตาม ให้เกิดชำนาญ เป็นนิสัย เป็นวิสัย แล้ว วิสัยคือ เป็นเราเลย แก้ไขยากแล้ว ซึ่ง สย หรือ สยัง คือเป็นเราแล้ว แก้ได้ยากเลยล่ะ

        อาการที่สอน ด้วยการเคลื่อนไหว นี่คือ แม่ แล้วก็จะได้ความครบ เป็นภาวะ “พ่อ”

        ความเป็นแม่ คือ “มาตา” ในทิฏฐิ ๑๐ ข้อที่ ๗ จะมีผลอย่างไร เป็น “นัตถิ” (ไม่มีผล) หรือ “อัตถิ” (มีผล) ซึ่งเกิดจาก กรรมเราเอง “มโนกรรมเป็นพ่อ ส่วน กายกับวจี เป็นแม่”

        จากพ่อเป็น Kinetic มาเป็นแม่ Dynamic การกระทำใดๆ มาจากต้นเหง้า หรือพ่อที่ดี แล้วก็สื่อ ออกมาให้ดี ทำให้เกิด กายกับวาจาที่ดี ถ้าแม่กับพ่อ ทะเลาะกัน แม้พ่อ มีเจตนาดี แต่ข้างนอก มีแรงมาก เราเป็นแม่เหล็กอ่อน ไปตกใน สนามแม่เหล็กไม่ดี ก็เสียได้ เลวได้ เราต้องทำพ่อให้แกร่ง ให้แข็งแรง ส่งออกเป็นแม่ ที่แข็งแรงด้วย เหนือกว่าทางโลก ไม่เป็นไปตามโลก เราจะมีบทบาทแม่ ก็จะมีกรรม ที่เหนือชั้นกว่า ชาวโลกที่เป็นอยู่ เราจะมีทั้ง ความรู้ความจริง และมีแรงฤทธิ์ สูงกว่าทางโลก เราจะเป็น อย่างโลกก็ได้ ถ้าดี แต่เราไม่เป็นก็ได้ มีปัญญาตัดสินว่า ดีหรือไม่ แล้วก็เป็นหรือไม่ ก็ได้ นี่คือ อำนาจพ่อและแม่ ซึ่งไม่แยกกัน

        อำนาจสูงสุด เป็นเอกกัคคตา ที่จะทำให้สมบูรณ์ได้แค่ไหน ก็จะออกมาเป็น กายหรือวจี - วิญญัต ออกมาที่ดี ให้คนอื่นได้รับรู้ คนมีปัญญา ก็จะมาทำตาม ทำตาม กาย - วจีวิญญัติ เขาจะมีปัญญาตัดสิน แล้วเกิดแม่เกิดพ่อ ที่เป็นกาย - วาจา อย่างใด เป็นอิสระเสรีภาพว่า จะทำแบบไหน คุณจะเอาอย่างใคร คนนั้นก็เป็นแม่ เอาอย่าง การเคลื่อนนี่ อ่านง่ายกว่า สิ่งที่ไม่แสดงออก หรือนิ่งอยู่

        มารดาหรือมาตา ที่ว่านี้ ไม่ใช่ตัวตน บุคคลเราเขา แต่แม่ทางจิตวิญญาณนี้ยาก คนจะเข้าใน ทิฏฐิ ๑๐ ข้อนี้ได้ ไม่ง่าย พ่อครูก็เข้าใจ รู้จากภูมิของตนเก่า ไม่ได้เอาจาก ตำราไหนเลย

        ศีลเป็นแม่ ปัญญาเป็นพ่อ แม่มีความเก่งเร็ว คิดได้มาได้เยอะ ได้สารพัด แต่เรียบเรียง รวบรวมความคิด ไม่ให้เฟ้อเกินยาก เช่นพ่อครู มีความเป็นแม่มาก มีความรู้อะไรมาก แต่เรียบเรียงไม่เก่ง ส่วนภาวะพ่อ ก็จะทำเป็นโล้เป็นพาย เป็นลำดับ มีระเบียบ

        ปัญญาคือตัวรู้ ส่วนศีลคือการกำหนด แต่กำหนดนอก กำหนดขอบเขต ว่าจะทำ เขตขอบนี้นะ เช่นไม่กินเนื้อ หรือไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังกินนมอยู่ เป็นต้น ให้รู้ว่า นี่คือ อนุโลม แล้วเราก็ทำให้บริสุทธิ์ เพิ่มเคร่งขึ้น จะเจริญไปตามลำดับ ตามอธิศีลสิกขา จะรู้ว่า ทำได้หรือไม่ ก็อยู่ที่ใจที่ปัญญา เช่นอาหารอะไรไม่ถูกปาก เราก็ต้องกิน หากมีประโยชน์ จะเอาแต่อร่อยไม่ได้ เราไม่ตามกิเลส มันไม่ตายหรอก มีอะไรให้กิน ที่มีประโยชน์ อีกมากมาย หรือเครื่องอุปโภค ก็อยู่ที่ความพอเหมาะพอสม

        มรรค ๘ กับโพชฌงค์ ๗ ซึ่ง มรรค ๘ เป็นแม่ โพชฌงค์เป็นพ่อ เราต้องเข้าใจอาการ (วิญญัติ) อาการอย่างไรคือมรรค คือทางปฏิบัติ มีอาชีพ มีกาย-วจี-มโน เราก็ต้องรู้ ว่าอย่างไร คือสัมมา อย่างไรคือมิจฉา อย่างไม่ดี เราก็ไม่เอา เราทำแต่ดี จับให้ได้ว่า อาการนี้คือ โกง คือส่อเสียด คือเพ้อเจ้อ เราไม่ทำ ไม่ปด ไม่หยาบ ไม่เพ้อเจ้อ ไม่ส่อเสียด มันไม่ดี เป็นสิ่งสากล ที่รู้กันทั่วโลก ให้งดเว้น จะทำไม่เป็นเลย ปดไม่เป็น มีแต่ซื่อตรง เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่บื้อๆ ปดไม่เป็นนี่ไม่บื้อ เราจะรู้ลีลาการพูดว่า อย่างไรไม่ถูกตรง รวมทั้ง นัจจะ คีตะ วาทิตะ ว่าอย่างไร คือมิจฉา อย่างไรคือสัมมา มาจากใจ เป็นตัวกำเนิดทั้งสิ้น

        ลึกเข้าไปในโพชฌงค์ ต้องมีสติ มีธัมวิจัย มีวิริยะควบคุม ต้องรู้กุศลอกุศล ทำได้ก็เป็น ปีติ - ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ใจเราก็ทำ สติ – ธัมวิจัย  - วิริยะ เป็นตัวปฏิบัติไป สะสมไปเรื่อยๆ  เช่นเราลดความโลภได้ ก็ดีใจ ซึ่งการดีใจ ในการทำชั่ว ก็มีเหมือนกัน เป็นปีติโลกีย์ สมใจสมกิเลส ก็ดีใจ เป็นเทวดาเก๊ก็มี ต้องแยกแยะให้ออก โดยธัมวิจัย สัมโพชฌงค์ และทำมากๆ ก็ตกผลึก เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ ... จนไปถึง อุเบกขา

        สรุปคือ โพชฌงค์เป็นหลัก เป็นตัวจัดการ แต่มรรคคือ การแสดงออกมา เป็นพ่อกับแม่ แล้วทำให้เกิดความเจริญ เป็นคุณธรรม ตั้งแต่ทิฏฐิ – สังกัปปะ – วาจา – กัมมันตะ - อาชีวะ

        คุณรู้ว่า แม่และพ่อคืออย่างไร คุณก็ทำให้ จิตวิญญาณเรา เกิดเป็นโอปปาติกะโยนิ ทำความเจริญ ทางจิตวิญญาณ เป็นการเกิดที่ ไม่ว่าใคร ก็สามารถทำได้ จะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย ก็สามารถทำได้

        การเกิด หรือชาติ ๕ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าบัญญัติมี ชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ อภินิพพัตติ

        เราเลือกเฟ้นเอาอกุศลออกไป เอาแต่กุศล เอาอย่างอาริยะ เป็นการเกิด ให้เป็น โอกกันติ จนเป็น นิพพัตติ และเป็น อภินิพพัตติ

        ต่อมาพ่อครูก็จะได้สาธยาย “ชาติ” หรือ “ความเกิด”  ๕ อย่าง แบบที่พ่อครูแบ่ง

            “ชาติ” นัยที่ ๑ “การเกิด” ของสัตวโลก สามัญทั่วไป ได้แก่ ชีวิตของคน หรือ มนุษย์, สัตว์เดรัจฉาน เกิดมาได้ร่างและวิญญาณ แล้วก็ตายไป ร่าง(สรีระ) แตกดับ (กายัสสะเภทา) ลงไป ก็สลายหายไป จบความเป็น”ชาติ” ชาติหนึ่ง

            นี้คือ “ชาติ” ความหมายที่ ๑ ตามสามัญ ความรู้พื้นๆของโลก แบบสามัญ คือ เกิดขึ้น -ตั้งอยู่ -ดับไป ตามไตรลักษณ์ที่เป็น “สามัญลักษณะ” ซึ่งธรรมดาของธรรมชาติ ก็เป็นเรื่อง ปกติทั่วไป นี่คือ “สมมุติสัจจะ”

            แม้ใครเรียนรู้ ความเป็นจริงนี้ หรือไม่เรียนเลยก็ตาม ความจริงนี้ ก็เป็นจริง อยู่อย่างนี้ ตลอดกาล จะเรียนรู้ หรือไม่เรียนรู้ ก็เปลี่ยนแปลง ความเป็นธรรมดา ธรรมชาตินี้ จากความจริงนี้ ไปไม่ได้

            “การเกิด” ของสัตวโลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเกิดชนิด “อัณฑชโยนิ” คือ เกิดออกมา จากตัวสัตว์ เป็นไข่ก่อน แล้วไข่จึงจะฟักออกมา เป็นตัวอีกที

            หรือจะเกิดชนิด “ชลาพุชโยนิ” คือ เกิดเป็นตัวในท้อง ในมดลูก แล้วคลอดออกมา เป็นตัวทีเดียว

            หรือจะเกิดชนิด “สังเสทชโยนิ” คือ สัตว์ที่เกิดจากเหงื่อไคล หรือของชื้นแฉะ โสโครก

            ล้วนเป็น “การเกิด” คือ “ชาติ”  มีชีวิต แล้ว “ตั้งอยู่” ในเวลาช่วงหนึ่ง แล้วก็ “ดับไป หรือตายไป”  ก็เป็น “ลักษณะ ๓” (ไตรลักษณ์) ลักษณะ ๓ อย่างนี้ เรียนก็รู้ ไม่เรียนก็รู้ได้ ไม่เห็นยากอะไรเลย ไม่ลึกซึ้ง ลึกลับอะไร สำหรับ “ชาติ” หรือ “การเกิด” สัตวโลก ทั้งแบบ “อัณฑชโยนิ - ชลาพุชโยนิ - สังเสทชโยนิ”  ไตรลักษณ์ที่เป็น สามัญลักษณะ แบบนี้ ไม่ยาก

            “ชาติ” แบบที่ ๑  “การเกิด” แบบนี้ ใครๆก็รู้ได้
            “ชาติ” นัยที่ ๒ “การเกิด” ทางจิตวิญญาณ อันเป็นการเกิดของสัตว์ ที่เรียกด้วยศัพท์ ทางพุทธธรรมว่า “สัตว์โอปปาติกะ” (สัตตา โอปปาติกา)  ซึ่งก็เป็นสามัญ ทุกคนมี -ทุกคนเป็นกันอยู่ ได้แก่ ชีวิตของสัตว์ ในจิตใจของมนุษย์ สัตว์ในร่างของ คนเป็นๆ ที่เกิดอยู่ในจิตวิญญาณ เช่น จิตใจเราเป็น “สัตว์นรกอยู่ - สัตว์เทวดาอยู่” นั้น มีภาวะอย่างไร? ต้องมาเรียนรู้ว่า

            ตั้งอยู่ ” ที่ไหน? ต้องรู้ “หทัยรูป” ตามที่เป็นอยู่จริง มันเกิดวิญญาณ ตอนที่ผัสสะ ทาง ทวาร ๖ ไง แล้วมีอาการอย่างไร เป็นอิตถีภาวะ และ ปุริสภาวะอย่างไร อาการเคลื่อน คือความมี ใช้ประโยชน์ได้ แต่ไม่เอาที่เป็นโทษ ใช้เสร็จแล้ว หยุดจบนิ่ง ปุริสสภาวะ

            เช่น ตากระทบแก่นตะวัน แล้วคุณก็รู้ว่า มันเป็นอะไร ตามปฏิภาณ ปัญญา รูปร่าง น่าดูหรือไม่ สีสันน่าดูหรือไม่ ก็อยู่ที่อุปาทานคุณเอง กำหนด ไปเซ็นสัญญาไว้เอง ซึ่งสัญญานี้ ร้ายกาจมาก ไปสัญญาไว้หมดว่า นี่คือ ขี้หมา นี่คือดอกไม้ สัญญามันเอามาใช้ ทันทีเลย

            สรุปแล้ว ทหยรูป คือที่ตั้ง เป็นนามธรรม  อธิบายยาก ซึ่งอภิธรรม เขาก็ไปกำหนด เป็นสถานท ี่ตัวตนรูปร่าง มันก็เลยจับอาการ นามธรรมไม่ได้ ไปกำหนดว่า อยู่ที่หัวใจ เป็นต้น ต้องอ่านที่เวทนา ชอบหรือชัง อ่านรู้ นั่นก็คือ หทยรูป นั่นแหละ มันต่อเนื่องจาก มหาภูตรูป มาสู่ อุปาทายรูป เป็นเวทนา เราก็ต้อง เจาะลงในเวทนา แล้วเจาะ เวทนาในเวทนาอีก จับตัวการ ตัวเหตุแห่งทุกข์ต่ออีก เมื่อจับตัวการได้ ก็รู้ที่ตั้งมันได้ จัดการมันได้ มันก็ถูกตัวมัน ในที่ตั้งของมัน แล้วต่อมาที่ ชีวิตรูป

          “มีความเป็นชีวิต” อยู่อย่างไร? ต้องรู้ “ชีวิตรูป” เข้าใจชัดใน “ชีวิตินทรีย์” ของความเป็น“ชีพหรือชีวะ” นั้นๆว่า ยังทรงอยู่อย่างไร? แค่ไหน? เราจะสามารถให้ “เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป” ได้อย่างไร? แค่ไหน? ภาวะใดควรอยู่ ควรดับ

            อาการลีลานี้ มันยังมีชีวิตหรือชีพ ของจิตวิญญาณ ยังดิ้นดุ๊กดิ๊กอยู่ อ่านให้รู้ว่า ชีวิตมันเกิน มันเฟ้อไป มันเลว มันชั่วแล้วนะ บาปแล้วนะ ไม่ดีแล้ว คุณต้องมีปัญญา มีญาณ เลือกเฟ้นเอาออกได้

          “มีอาหาร ๔” ที่ต้องเข้าใจอย่างสำคัญ ก็ต้องรู้ “อาหารรูป”  และต้องรู้ถึง ความเป็น “อาหาร” อย่างไร? แค่ไหน? ซึ่งเป็นเครื่องอาศัย ยังชีวิตให้ “เกิดขึ้น” อย่างไร? แค่ไหน? และ “ตั้งอยู่” อย่างไร? แค่ไหน? แม้แต่ที่จะให้ “ดับไป” อย่างไร? แค่ไหน? ชนิดที่เป็น “ปรมัตถธรรม” ถูกสัดส่วน อันควรอย่างพอเหมาะ (ปโหติ)

            ในกวฬิงการาหารนี้ มีสิ่งที่คุณติดยึดอีกมาก ต้องพิจารณาผีร้าย ที่มากับอาหาร ที่เราต้องได้ ต้องกำหนดหมาย และยึดต้องเอาอย่างนี้ๆ ถ้าไม่ได้ก็ไม่ชอบ ถ้าได้ก็ชอบ ซึ่งมันไม่ตรงกันหมดหรอก มีทั้งคล้ายกันมาก และต่างกันไป แต่ถ้าเหมือนกันหมด ก็แย่งกันเละเลย เราเอาอาหาร ที่เป็นแค่เครื่องอาศัย

            รูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส-ใจ ทางทวาร ๖ มันก็มีแต่อาการ ชอบกับไม่ชอบ อย่างเช่นรูป ใครเห็นก็รู้ว่า เป็นรูปอย่างเดียวกัน แต่ว่าความชอบกับไม่ชอบ ก็ต่างกันไป เราต้องรู้เหตุ และดับเหตุ เราจะเห็นความดับ ในความเกิด อย่างเช่น เลือกเฟ้นว่า อย่างนี้ เราจัดการอาการชอบ - ไม่ชอบได้ จะเกิดสาระประโยชน์ขึ้นได้ ทำให้เกิดชอบหรือชัง หายไป จิตคุณก็เกิดใหม่ เป็นจิตสะอาด นี่คือเห็น ความเกิดความดับ อย่างแท้จริง ไม่เหมือนพวก นั่งหลับตาดับ ก็เรียนรู้ได้แคบๆ แต่ในสัญญา ในความนึกคิด ความจำ เท่านั้น เป็นของแห้ง ไม่ใช่ของสด คุณอ่านได้ คุณให้มันเกิดมันดับ ก็ได้ แต่ของสด คุณไปกระทบ แล้วคุณเกิดพยาบาท เกิดรัก แล้วคุณไม่ให้มันขึ้นได้ หยุดโกรธ หยุดรักได้ นี่อันนี้สิจริง แล้วไปอยู่ในใจ มันก็ไม่มีแรงแล้ว ขนาดสัมผัสปัจจุบัน มันยังไม่ขึ้นเลย แล้วเหลือในใจ มันก็ไม่ขึ้นหรอก จะมีอาการในใจนี่แหละ คือส่วนเหลือ ไอ้เหลือนี่ จะหมด จากความจำ นี่แหละนาน แต่ไม่มีปฏิกิริยา รักหรือชังแล้ว ขณะมีผัสสะ

          “มีการจำกัดบทตอน ตัดแบ่งตอน อย่างเหมาะสมกับตน กับการปฏิบัติ และรู้ แต่ละบท แต่ละตอนว่า เกี่ยวสัมพันธ์ มากน้อย ใกล้ไกล แน่นบาง” อย่างไร? แค่ไหน?

            นั่นคือ ต้องรู้ “ปริเฉทรูป” หรือรู้จัก “บริบท” ของภาวะนั้นๆ ที่ปฏิบัติไป ตามลำดับ ให้แต่ละบทแต่ละตอน ให้ถึงที่สุด ความหมด กระทั่งเป็น “ความสูญ” (สุญญ) – “ความว่าง” (อากาส)

            จึงไม่เป็นสามัญเลย ที่ทุกคนจะรู้จัก รู้แจ้งรู้จริง ว่า “เกิดขึ้น” อย่างไร? “ตั้งอยู่” อย่างไร? “ดับไป” อย่างไร?

            ซึ่งเป็น”สัตว์” ที่ไม่มี “ร่าง” (สรีระ) ไม่มี “รูปทรง” (สรีระ) ที่เรียกว่า “สรีระ”  แต่เป็นสัตว์ที่ “เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป” อยู่จริง เป็น “จิต” เป็น “วิญญาณ” ที่ปรากฏจริง ในคนเป็นๆ ที่เห็นได้จริง จึงเป็น “วิสามัญ” อย่างยิ่งเพราะ “วิเศษ” กว่าสามัญ
            เพราะเป็นผู้สามารถ รู้จักรู้แจ้งรู้จริง ความเป็นสัตว์ โอปปาติกะ ของตน ในตนจริง ว่า “เกิด” อย่างไร? “ดับหรือตาย” อย่างไร?

            โดยเฉพาะ “ดับ” จริงๆ “ตาย” จริงๆ ซึ่งเป็น “การตายหรือดับไป อย่างสนิท ไม่เกิดขึ้น ในใจเราอีกเลย” นั้นอย่างไร? ถ้าใครสามารถทำให้ “ดับหรือตายสนิท ไม่เวียนวนมาเกิด ในจิตใจเราได้อีก”  นี่แหละคือ “สิ้นการเกิด”  คือ “ชาติดับสนิท”

            “ชาติ” ตามนัยที่ ๒ นี้เอง คือ “ชาติ” ที่พระพุทธเจ้าตรัส เป็นหลักธรรมสำคัญ ไว้ใน “ปฏิจจสมุปบาท” ที่ผู้มีวิชชา รู้จักรู้แจ้งรู้จริง ความเป็น“ชาติ” ตามนัยที่ ๒ นี้ แล้ว “ดับชาติ” นี้ได้ อย่างสัมมาทิฏฐิ ฉะนี้เอง เรียกว่า “นิโรธหรือนิพพาน”    

            ผู้ที่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง “การเกิด-ตั้งอยู่-ดับไป” ของสัตว์โอปปาติกะ ในจิตวิญญาณ ตนเอง และศึกษาปฏิบัติ กระทั่งสามารถ ทำให้ความเป็น “สัตว์ในจิตวิญญาณ” ของตน ลดลง หรือตายดับ ไปได้สนิท –ไม่มีการเกิด ของสัตว์ทางจิตใจนี้อีก”  

            เช่นนี้ ผู้นี้ชื่อว่า ผู้รู้แจ้งไตรลักษณ์ที่เป็น “ปัจจัตตลักษณะ”  คือ ลักษณะที่ทำได้ ในตนเอง เฉพาะตน ซึ่งเป็นไตรลักษณ์ เกินสามัญคนปุถุชนจะรู้ จะเป็นกันได้ หรือ ทำไม่ได้ง่ายๆ

            ซึ่งใน “ธรรมที่เป็นพุทธ” อย่างถูกต้องแท้จริง ต้องเรียนรู้ให้ “สัมมาทิฏฐิ”  แล้วปฏิบัติ จนเกิด “สัมมาผล”  ก็จะได้เห็นจริงใน “ผล” ของตนเอง ในตนเองว่า “ธรรมชาติ” ของ “สมมุติธรรม” นั้น เป็น “สามัญลักษณะ” อย่างไร? และมันแตกต่างกับ “ธรรม” ที่ไม่มี “ชาติ” ของ “ปรมัตถธรรม” อย่างไร           

            ตั้งแต่ “ชาติ” ของความเป็นสัตว์ ที่ตนเอง เริ่มกำจัดได้ จนกำจัดสำเร็จ หมดเกลี้ยง “สิ้นชาติความเป็นสัตว์” นั้นๆ

            ผู้ปฏิบัติมี “มรรคผล” จริงอันเป็นผู้มี “ปัจจัตตลักษณ์”  จึงเป็น “ไตรลักษณ์” ที่นัยสำคัญ ต่างกันกับ “สามัญลักษณ์” ฉะนี้ 

            “ชาติ” นัยที่ ๓ “การเกิด” ที่เรียกว่า “ลิงลมอมข้าวพอง” ของผู้มี “ปัจจเจกภูมิ หรือ สยังอภิญญา” (บารมีที่มีเอง เป็นของตนเอง มาจริง) แต่ชีวิตที่ “สัญชาตญาณ อันเป็น ปัจเจกภูมิ หรือ สยังอภิญญา” ของตน ยังไม่ถึงวาระ ที่จะออกมา มีพลังแท้ ทำงานเต็มที่ ยังหลงไปกับสังคม สิ่งแวดล้อมนั้นๆอยู่ ซึ่งเป็นอำนาจของโลกีย์ ก็เป็น “การเกิด” ชั่วขณะ ที่ตนยังถูกครอบงำ ไปชั่วระยะหนึ่ง

            “ชาติ” นัยที่ ๔ “การเกิด” ที่เรียกว่า “ชาติ” ในความเป็นประเทศ เป็นรัฐ ซึ่งเรียกกันว่า “ประเทศชาติ หรือชาติรัฐ”  

            “ชาติ” นัยที่ ๕ “การเกิด” ที่เรียกว่า “ชาติ” ในความเป็น “ทิฏฐิ หรือ “อัตตา”  แล้วก็หลงยึด “ทิฏฐิ-อัตตา”  เป็น “ภพ”  เป็น “ชาติ” ของตน ก็ได้สิ่งที่ “ยึด” นั้นๆเป็น “ตัวตน” (อัตตปฏิลาโภ)

            วันนี้ขยายความเรื่อง ความเป็นแม่ โดยมีความเป็นพ่อ ประกอบเล็กน้อย ก็ไปทำให้ ความเกิดทางจิตวิญญาณ ของแต่ละคน ให้เจริญกันเทอญ...

จบ

 
จันทร์ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่ราชธานีอโศก