_560905_รายการเรียนอิสระ โดยพ่อครูและอ.กฤษฎา
เรื่อง แบบคนจนมหัศจรรย์

       อ.กฤษฎา จัดรายการที่สวนลุมฯ... (๕กันยายน๒๕๕๖)

สังคมไทยตอนนี้ มีประเด็นร้อน คือเรื่องการประท้วง ราคายางพารา ในภาคใต้ ซึ่งรัฐบาล ใช้อำนาจเผด็จการ ในการจัดการ กับผู้ชุมนุม แต่ที่อินเดีย สมัยที่คานธีประท้วง มีการใช้วิธี แบบอหิงสา ซึ่งผู้ปกครองที่ดี ควรใช้ธรรมะ วันนี้จะได้ อาราธนาพ่อครู สาธยายเรื่องธรรมะ ของผู้ปกครอง

       พ่อครูว่า ในหลวงของเรานั้น หลายคนคงเคยได้ยิน พ่อครูกล่าวว่า มีคนหาว่า พ่อครูโหนสถาบัน โหนในหลวง แต่พ่อครูยืนยันว่า ไม่ได้โหน (โหนคือ อิงอาศัย จุดที่เราโหน เพื่อให้ตนเอง ได้อาศัยอิทธิพล เพื่อมีสิ่งที่ได้แก่ตน ไม่ว่าจะเป็น โลกธรรม อำนาจ ตอบแทน) แต่พ่อครู ก็ขอยืนยันว่า ห้ามไม่ได้ ถ้าคนจะเข้าใจอย่างนั้น แต่ก็ขอตอบ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้ามีคนกล่าวว่า เราผิด เราก็ต้องกล่าวแก้ว่า เราไม่ได้เป็น ดังเขาว่า ถ้าเขากล่าวชม ก็ตรวจว่า เขาชมถูกต้องหรือไม่ ถ้าชมถูก ก็แล้วไป แต่อย่าเหลิงอย่าหลง ไม่ใช่ว่า ใครว่าเราก็เฉย ไม่ต้องกล่าวแก้ ให้เขาเข้าใจผิด ปล่อยไปเลย มันก็เสียหาย  ไม่ใช่เสียที่อัตตาเราหรอก แต่เสียหายที่ เขาเข้าใจผิด ความจริงไป พฤติกรรมที่เราทำ มันก็ผิดจากที่เขากล่าว สังคมก็จะเข้าใจ ผิดๆไป เช่นพ่อครู

       อย่างที่ในหลวงตรัสว่า ให้บริหารประเทศ แบบคนจน เราก็เอามาฉาย ออกโทรทัศน์เรา ตลอด และก็มีที่ว่า ขาดทุนคือกำไรของเรา คือสิ่งประเสริฐ คือ สิ่งยอดเยี่ยมแล้ว เราก็ต้องมีมุ่งหมาย ให้เกิดคนชนิดนี้ เป็นสังคม เป็นประเทศ ที่คน มีทัศนคติ เป็นแบบคนจน เป็นระบอบคนจน ซึ่งเป็นภาษา ยากที่จะอธิบาย ให้คนฟัง ทั้งโลกเลย ซึ่งสอดคล้องกับ
       ทศพิศราชธรรม
๑.    ทาน (การให้) เป็นเรื่องสามัญ คนทุกคนรู้ แต่ว่าถ้าปริจาคะ จะลึกกว่า
๒.    ศีล (ความประพฤติดีงาม)
๓.    ปริจจาคะ (การบริจาค
)

มีความลึกยาวไกลกว่า ผู้ที่มีชีวิตอยู่ อย่างให้ อย่างบริจาค ตลอดเวลานี่แหละ คือ คนจะมาจน เพราะไม่สะสม แต่คนมารวย จะต้องสะสม และขี้เหนียว หอบหวงไว้ คนนี้คือ คนจนไม่เสร็จ รวยเท่าไหร่ไม่พอ แล้วหาทางรวยเพิ่ม แนวคิดนี่คือ แบบคน ตกเป็นทาสโลก เป็นสาธารณปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่คนมีภูมิธรรม คนมีภูมิธรรมระดับหนึ่ง จะมีสันโดษ รู้จักพอ แม้จะได้มา ก็จะรู้บริจาค เอาไว้แค่พอ เป็นคนเจริญ ประเสริฐ เป็นคนไม่รวย เพราะมีขีดความพอ การจะมีขีดความพอ หรือมักน้อย ไม่สะสม อย่างไม่สิ้นสุดนั้น ถ้าคนมีจิต และทำอย่างนี้ ในสังคม คนเหล่านี้ จะไม่รวย แล้วสะพัดออก ตรงกับหลัก เศรษฐศาสตร์โลก แต่คนไม่ตั้งใจเรียนรู้ และทำจริง แต่ถ้าเข้าใจ และทำจริงได้ผล คนกลุ่มไหนก็ตาม ถ้าได้ทำอย่างนี้ มีการลดละกิเลส ความขี้เหนียว ไม่ทำอย่าง ถูกบังคับ หรือตามประเพณีเขาไป อย่างนั้น ไม่ถาวรยั่งยืน ไม่มีผลสำเร็จแท้จริง แต่ถ้าได้เรียนรู้ สัจธรรมพระพุทธเจ้า สัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิ ทำแบบฤาษี หนีเข้าป่าเขาถ้ำ จะไม่สมบูรณ์ด้วย อธิศีล-อธิจิต-อธิปัญญา แต่ถ้าทำ แบบพระพุทธเจ้า จะมีพลัง ๔ อย่างสมบูรณ์จริงๆเลย จะมาเป็น แบบคนจน จริงๆ สังคมแบบคนจน จะไปรอด

        แต่เสียดายคนไทย แม้เป็นพุทธ ในหลวงก็เป็นพุทธ ท่านตรัส ด้วยปัญญาธิคุณ ของท่าน ไม่มีในหลวง ของประเทศไหน ที่ปฏิบัติ ทฤษฏีเช่นนี้ ท่านตรัส ให้บริหาร ประเทศแบบนี้ แต่ผู้บริหารประเทศ ไม่ทำตาม ไม่ได้พูดเล่น แต่เป็นสัจธรรม ในหลวงบริหารประเทศ อย่างคนจน แต่ผู้รับสนอง พระราชดำรัส ไม่เอาใจใส่ เอามาบริหาร ให้เป็นดังว่าไม่ได้ ก็เลยไม่ได้ อย่างที่ควรเป็น

       อย่างชาวอโศก เราสนองพระราชดำรัสเลย เรามาเป็นคนจน ทำจนเป็น วัฒนธรรม ของสังคมกลุ่มอโศก อย่างที่ท่าน ตรัสเอาไว้

“...คนที่ทํางานตามวิชาการ จะต้องพึ่งตํารา เมื่อพลิกไปถึงหน้าสุดท้ายแล้ว ในหน้าสุดท้ายนั้น เขาบอก “อนาคตยังมี” แต่ไม่บอกว่า ให้ทําอย่างไร
ก็ต้องปิดเล่ม คือ ปิดตํารา ปดตําราแลวไมรูจะทําอะไร ลงทายก็ตอง เปดหนาแรกใหม่ เปดหนาแรกก็ .. เริ่มตนใหม ถอยหลังเขาคลอง แตถ้าเราใช้ตํารา “แบบคนจน” ใช้ความอะลุมอลวยกัน ตํารานั้นไมจบ.. เราจะกาวหนา “เรื่อยๆ”
(พระราชดํารัสในวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔)

       พ่อครูอธิบายต่อ คำว่า เราก็มีพอสมควร คือ พึ่งตนเองรอด ไม่ร่ำรวย พอกินพอใช้ ตามอัตภาพ และท่านก็ตรัสอีกว่า เราจะไม่เอา แบบประเทศที่ก้าวหน้า ทั่วโลกมุ่งหมาย คืออย่างที่ ปุถุชนต้องการ คือรวยลาภ ยศ สรรเสริญ โลกธรรม ซึ่งในความคิด ภูมิปัญญา ของคน ถ้าจะมาไล่ล่า โลกธรรมแก่ตน คนนั้นก็คือปุถุชน แม้แต่จะเป็นคนดี หากินให้ตน ร่ำรวยได้ คนนั้นก็ได้เป็นแค่ คนฐานะดี ตามความสามารถ โดยตน ไม่ทำชั่วทำผิด ต่อสังคม แต่เขาก็เป็นปุถุชน (แปลว่า กิเลสหนา อ้วน ใหญ่โตมาก) คนเราเกิดมาชาติหนึ่ง ได้ร่างกายเป็นมนุษย์ มีปัญญามีสมอง ที่จะสามารถ ปฏิบัติลดกิเลส แต่กลับไป เติมกิเลส ให้หนา ให้อ้วนมากขึ้น แล้วตนยินดี ที่จะได้สมโลภ แม้สุจริต พระพุทธเจ้าเรียกว่า โมฆะบุรุษ เสียชาติเกิด

       คนเราต้องเข้าใจจุดนี้แหละ ในหลวงท่านก็ตรัส ให้บริหารแบบนี้ ไม่ให้คนไทย เสียชาติเกิด แม้จะรวย มันก็ไม่ควร นึกออกไหม เข้าใจไหม ท่านก็ตรัสชัดเจนอีกว่า ขาดทุนของเรา คือกำไรของเราอีก Our loss is Our gain นักบริหาร หรือนักการศาสนา ไม่ได้นำไปใช้ ให้เกิดผลเลย

       พ่อครูว่า ท่านบำเพ็ญปางเตมีย์ใบ้ เพราะท่านให้เกียรติ นักบริหารบ้านเมือง ท่านตรัสแล้ว ก็จบแล้ว ท่านทรงพระอดทน เหลือเกิน
.    อาชชวะ (ความซื่อตรง)
.    มัททวะ (ความอ่อนโยน)
.    ตปะ (การเพ่งเผากิเลส)
.    อักโกธะ (ความไม่โกรธ)
.    อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)
.    ขันติ (ความอดทน)

แข้มแข็ง ไม่ท้อไม่ถอย คือทานบำเพ็ญพระมหาชนก ไม่ท้อถอย ขนาดทรงประชวร ก็ไม่หยุดหย่อนท้อถอย ในการช่วยประชาชนเลย แล้วกลับกลายว่า ผู้บริหารประเทศ ก็ทำตรงกันข้าม แบบที่ท่านตรัสแล้ว (อ.กฤษฎาว่า ตอนนี้ที่ภาคใต้ ปะทะกันแล้ว)

       พ่อครูว่า แทนที่จะแบบอวิหิงสา ก็เอาเข้าแล้ว แก๊สน้ำตานี่ ไม่ใช่ของคนที่จะไป โยนใส่ตำรวจนะ ซึ่งรมต.แต่ละคน ก็เปิดเผยทรัพย์สิน คนละกี่ร้อย กี่พันล้าน ซึ่งพ่อครูคิดว่า เขาไม่เปิดหมดหรอก อย่างนายกฯ แจ้งตอนก่อนเป็น กับตอนนี้ เพิ่มอีก ๖๐ ล้าน นี่บอกอย่าง ขอแสดงเท่านี้ แต่ก็เดี๋ยวหาว่า ใส่ความอีก

       ในเหตุการณ์จริง ไทยเราน่าสงสาร ที่มีทฤษฏีหลัก ของศาสนา คำสอนก็ยังอยู่ ศาสนา ก็แข็งแรงอยู่ แต่มันแข็งแรง อย่างกลองอานกะ ชื่อเป็นพุทธ แต่เนื้อแท้ ไม่ใช่พุทธแล้ว เป็นสัจจะ ที่จำเป็นต้องพูด ผู้ที่ได้รับการศึกษาทางธรรม คนในประเทศ ก็ต้องได้รับ การถ่ายทอด จากองค์กรศาสนาของประเทศ ต้องให้ความรู้สอนสั่ง ให้เกิดนิสัยใจคอขึ้นมา แล้วพฤติกรรม ก็เป็นพื้นฐานชีวิต ก็ได้เท่าที่ตน มีภูมิธรรม คุณธรรม ตามครูบาอาจารย์ให้ความรู้ ก็ได้แบบนั้น มันถึง ออกมาแบบนั้น ไม่สอดคล้องกับ แบบพระพุทธเจ้า ที่ท่านบอกว่า ธรรมใดวินัยใด เป็นไปเพื่อ ความมักน้อย ธรรมนั้นวินัยนั้น เป็นของตถาคต แต่ทุกวันนี้ มันไม่ใช่

๑๐.อวิโรธนะ (ความเที่ยงธรรม ไม่คลาดธรรม)

(พตปฎ. เล่ม ๒๘  ข้อ ๒๔๐)

       ในหลวงตรัสแล้ว แต่คนก็ไม่เอาไปทำ ให้ได้ผล แม้แต่ในวงการสงฆ์ สังคมสงฆ์ไทยเรา บริหารเป็นปึกแผ่นนะ ไม่เหมือนแบบที่ ออกป่าเขาถ้ำ ก็ยังดีที่ ไม่ล่าโลกธรรม เหมือนสงฆ์ที่ บริหารประเทศอยู่บัดนี้ แต่ที่จริงแล้ว ศาสนาพุทธ ไม่ใช่สอน ให้ออกป่าเขาถ้ำ แต่อยู่กับสังคม แล้วปฏิบัติมีภูมิธรรม เป็นโสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์จริง

       อาริยบุคคลขึ้นต้น คือโสดาบัน คืออย่างน้อย มีศีล ๕ ถ้าจิตบรรลุศีล ๕ จะทำได้ อย่างไม่ต้องฝืนใจเลย ไม่ฆ่าจริงๆ ไม่ขโมยจริง ไม่ละเมิดในคู่ครอง สูงขึ้นเป็น สกทาคามี ก็จะลดกามคุณ ลดโลกธรรมอีก ปฏิบัติในเมืองนี่แหละ ไม่ออกป่าเขาถ้ำเลย ท่านว่า ยินดีในป่า คือยินดีในความสงบ สิ่งแวดล้อม ในป่าคอนกรีต แต่มีธรรมชาติ พ่อครู ยินดีในป่า แต่ไม่เข้าป่า แต่สร้างป่า ใจพ่อครูเป็นป่า และก็สร้าง สิ่งแวดล้อมเป็นป่า อย่างสันติอโศก มีป่ากลางกรุงเลย

       พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าศึกษาให้สัมมาทิฏฐิ และปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ โลกไม่ว่าง จากอรหันต์ ซึ่งเข้าใจกัน เลอะเทอะ ไปเข้าใจว่า อรหันต์ กระดูกเป็นพระธาตุ หรือลึกลับ ที่จริงแล้ว พุทธเป็นเรื่องพิสูจน์ได้

       อาริยบุคคล คือคนที่อยู่ในสังคม นี่แหละ เป็นนักเศรษฐกิจ ที่ช่วยสังคมอยู่ เป็นตัวจริงเลย พ่อครูมาทำงาน ก็มีคนเห็นดีด้วย เขาก็ลาออกจากงานมา บางคน ก็ตำแหน่งใหญ่โต บางคน เงินเดือนหลายแสนบาท ก็ลาออกมา ทำงานอยู่โรงขยะ คนเขาก็บอกว่า พ่อครูบ้าหรือ เขาบอกว่า พ่อครูทำลายสังคม ประเทศชาติ เพราะที่ เขาออกมา เขามาทำงานฟรี ให้สังคม เขาบายรายได้ ที่จะเอาจากสังคมด้วย แม้คนเล็ก คนน้อย ที่ออกมา เขาก็มาทำงานฟรี หาว่าเขาไม่ทำงาน

       คนที่เลิกจากโลกีย์ แต่ก่อนมีรายได้ ต้องแต่งตัว มีเพื่อน ต้องเที่ยวกินใช้ แต่พอ ออกมาอยู่นี่ ก็ตัดอบายมุข ไม่ต้องกินเที่ยว ก็ทำงานสร้างสรรมาก ก็มีเหลือ ให้แก่สังคม ไม่สะสม นี่คือช่วยสังคม คือเศรษฐศาสตร์ ชั้นหนึ่ง เป็นอาริยะ มนุษย์ศิวิไลซ์ ยุคนี้ก็มีได้ ทำไมเป็นได้ เพราะศึกษาธรรมะ พระพุทธเจ้าเข้าใจ เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นอกาลิโก เป็นสวากขาตธรรม เป็นเอหิปัสสิโก (เชิญมาดูได้ หรือท้าให้มาพิสูจน์) เป็นเรื่อง ทวนกระแสโลก ปฏิโสตัง แต่ไม่หนีโลก แต่รู้โลก ทันโลก มีโลกวิทู มีโลกานุกัมปา (รับใช้โลก) นี่คือนักการเมืองตัวจริง ต้องรับใช้โลก แล้วไม่หาเสียงด้วย เราไม่ประกาศตนอะไร แต่ยกตัวอย่างยืนยัน อย่างเกรงใจ เพื่อให้รู้ว่า มีของจริง อ้างอิงเป็นไปได้ แม้ยุคเลวร้าย โลกีย์จัดจ้านหยำฉ่า แต่ก็ยังทำได้

       กล้าพูดนะ ถ้าพระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติมา ณ บัดนี้ (ซึ่งพระพุทธเจ้า ท่านไม่มาอุบัติ ตอนนี้ เพราะไม่คุ้มค่า) พระพุทธเจ้า ตอนประสูติแล้ว พอพระองค์ รู้ตนเองว่า เราคือพุทธเจ้า มีพุทธการกธรรม มีสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ท่านก็ระลึก แล้วตรัสรู้ พอท่าน จะประกาศศาสนา ก็ทรงมีพุทธปริวิตก ท่านตรวจโลก ดูยุคกาล ก็พบว่า มนุษย์มันเสื่อมมาก มีแต่คน กิเลสหนามาก จะคุ้มไหม ที่จะประกาศศาสนา เท่านั้นแหละ สหัมบดีพรหม ก็มาอาราธนา ให้ท่านประกาศศาสนา ยังมีผู้มีธุลี ในดวงตาน้อย ซึ่งมายุคนี้ คนยิ่งกิเลสหนา จัดหนักจัดเต็ม ยิ่งกว่าสมัยยุค พระพุทธเจ้า ซึ่งก็สามารถทำได้ แม้ในยุคนี้ ยังมีพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระบารมี แม้ท่านไม่ทรงรูป ศาสนาเต็ม แต่ว่าท่าน ก็ทรงใช้ธรรมะ ตลอดพระชนชีพ ท่านทรงงาน มาตลอด ท่านสูงส่ง ในทศพิศราชธรรมเลย

       แต่คนเราไปแยกธรรม ออกจากเรื่องของ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ซึ่งความจริง ชีวิตคน ไม่ได้แยกส่วนกัน นักธรรมะนั้น ก็ยอดนักเศรษฐกิจเลย ก็มีบวร คือบ้าน วัด โรงเรียน บ้านคือสังคม วัดคือธรรมะ ส่วนโรงเรียน คือการเมือง และจริงๆแล้ว วัดนี่แหละ คือตัวอย่าง ของเศรษฐกิจ เพราะวัดจะต้อง เป็นสถานที่มีสมาชิก ที่แสดงความเป็นจริง ของผู้อาริยะ มีเศรษฐกิจชั้นสูง คือ “คนจน” ที่ในหลวงตรัส

       ความจน ความหมายคือ ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว แต่คนๆนี้สามารถ รวยได้ไหม แต่เขาไม่ยอมรวย ไม่ยอมสะสม เอาเปรียบกักตุน ไปออกดอก ออกผลเพิ่ม เขาสะพัดเร็ว ไม่กักตุน ให้มาก็รีบสะพัด ถ้าจะมีคงคลัง ก็มีให้น้อยเข้าไว้ เผื่อพอ น้อยที่สุด บางครั้ง อาจไม่พอนิดหน่อย แต่เราขยันทำ แต่ไม่สะสม ก็มีเหลือ ไปใส่ให้ที่ขาด มันก็ครบวงจร โดยเฉพาะ สังคมแบบ คนจนมหัศจรรย์ เป็นสังคม ของคนที่ขยัน มีความรู้ สามารถทำงาน ที่เป็นสัมมาอาชีวะ ที่ควรทำในสังคม ซึ่งอาชีพทุกวันนี้ เป็นที่เลวร้าย มากเลย และพาคนรวยด้วย เช่น ดารา คืออบายมุข แม้แต่เกมกีฬา แล้วไม่เข้าใจว่า มันเสียเวลา คุณจะออกกำลังกาย เพื่อให้สุขภาพดี ไม่มีปัญหา แต่อย่าเอาการเล่น ที่เป็นกีฬา (การละเล่น) มาเป็นอาชีพ เป็นสิ่งสำคัญ ในชีวิต และการเล่น เชื่อมสัมพันธ ์กับการใช้เนื้อหาสาระ สัมพันธ์กัน อันไหนจะดีกว่า อย่าเอาเรื่อง ตื้นเขินนี้มาอ้าง คนไม่เข้าใจคือ ภูมิธรรมไม่พอ ไปเอาอบายมุข มาเป็นหลัก แล้วติดสินบนไป สังคมยิ่งติด ยิ่งเลวร้าย แล้วไปโทษใคร ทำไม ไม่โทษผู้บริหาร ที่ไม่จัดการสังคม อย่าเอาสิ่งมอมเมา มาใส่สังคม

       ศาสนาพุทธนี่ ครบทั้งการเมือง เศรษฐกิจสังคม แล้วเก่าสมัยใหม่เสมอ เรียกว่า เก่าเอี่ยมก็ได้ ทันสมัย ตลอดกาล แล้วทัน ชนิดที่ล้ำหน้าด้วย ชาวอโศก มีเศรฐศาสตร์ นำหน้าประเทศไทย ไปอีกหลายสิบปี อย่างว่าแต่ไทยเลย ประเทศอื่นด้วย เพราะเป็น คนคุ้ม กินใช้ ไม่เป็นหนี้ มีส่วนเกิน มีส่วนแจก นี่คือหลักและของจริง คือ นักเศรษฐศาสตร์ ชั้นสูง จน ไม่รวย แต่มีแจก

       อย่างบ้านราชฯนี่ ปีก่อนๆ น้ำท่วมแทบทุกปี มากหรือน้อย ก็แล้วแต่ ท่วมหมดหมู่บ้าน เราก็มีบ้านยกสูง มีเรืออยู่ ทางการ ไม่ต้องช่วยเหลือเราเลย แล้วก็มีคน เอาของยังชีพ มาแจกเรา เราไม่เอา เขาก็ว่า ไม่ได้ เราก็จำเป็น ต้องรับไว้ เซ็นรับ แล้วเราก็ นำของเหล่านั้น ไปแจกคนอื่น ที่เดือดร้อนต่อ แม้น้ำท่วม รัฐต้องช่วย แต่ราชธานีอโศก ทางการไม่ต้อง ขณะน้ำท่วมหมู่บ้าน ชาวอโศกยังไปช่วย คนอื่นๆอีก

       เพราะสังคมอโศกทุกชุมชน เป็นสาธารณโภคีทั้งสิ้น คือมีของกิน ใช้ทรัพย์สิน เงินทอง หรือที่ดิน ของทุกอโศก เป็นของส่วนกลาง ไม่มีใคร เป็นเจ้าของ การเงิน ก็เป็นส่วนกลาง แต่ละชุมชน ก็บริหารกัน แต่ถ้าชุมชนใดขาด ก็มีการเงิน ส่วนกลาง ให้เกื้อ อย่างบ้านราชฯ ใช้เงินหมุนเวียน ประจำปี แล้วจำเป็น ต้องใช้เงิน ไปซื้อข้าวเปลือก ใช้เงินซื้อเป็น ๑๐ ล้านเลย แต่ทั้งบ้านราชฯ ไม่มีเงินก้อน แต่ว่า เรามีส่วนกลาง ที่เหมือนธนาคาร ที่ชาวอโศก มีเงินส่วนตัว ก็ไปเอาฝากไว้ โดยไม่มีดอกเบี้ย เงินส่วนนี้ คือส่วนกลาง บ้านราชฯเกื้อเงิน ไปซื้อข้าวเปลือก ไปสีขาย แล้วได้เงินมา ก็ส่งคืนเงินเกื้อ เราไม่เรียกเงินกู้ พอถึงปีใหม่ ก็เกื้อกันใหม่

       หรือบางชุมชนที่มีพอ เช่น ปฐมอโศก ทุกวันนี้พอ เป็นเหมือนพี่ อย่างบ้านน้อง ไม่มี ก็เกื้อหรือขอได้ นี่คือ สาธาณโภคี สมาชิกชุมชน ทำงานฟรีทุกคน และยังมีคน อยู่ข้างนอก เข้าไปทำงานแบบฟรี หรือมีเงินเดือนก็มี เขาไปช่วยทำงาน หลายอย่าง ที่ต้องอาศัย เขาก็ได้เงินรายได้ เลี้ยงตัวไป ก็มีคนข้างนอก ไปทำงานในนั้น มีคน ชาวบ้านข้างนอก ไปทำงานกับเรา โดยเรามีหลักเกณฑ์ ให้ปฏิบัติ อย่างเช่น เข้าไปทำงานในนั้น จะเสพอบายมุขไม่ได้ ส่วนสมาชิกชุมชน ทำงานฟรี เอาเงิน เข้าส่วนกลาง

       การบริหาร ก็มีประธานชุมชน มีผู้รับใช้ แม้แต่ทางนิตินัย อย่างบ้านราชฯ หรือ ศีรษะอโศก ก็มีผู้ใหญ่บ้าน มีอบต. ก็ไปประชุมกับเขา ก็เป็นไป ได้รับเงินเดือน จากราชการ ก็เอาเงินไปเข้ากองกลาง และผู้ใหญ่บ้าน ศีรษะอโศก ก็เป็นดร.นะ ส่วนบ้านราชฯ ก็กำลังจะจบดร. ปลายปีนี้ ไม่ใช่ว่า เราเป็นคนงมงาย ไม่รู้เรื่อง แต่ทำงานฟรี อยู่ในนั้นน่ะ และก็หาว่า เขาเรียนมาสูงๆ ทำงานมีเงินเดือนมาก เอาเขา ออกมาทำไม มันซับซ้อน เขาออกมา ก็บายรายได้ ให้คนอื่น สังคมก็แย่งชิง น้อยลงแล้ว เป็นหลักเศรษฐศาสตร์ง่ายๆ ในอนาคต เรื่องเศรษฐศาสตร์ สังคม การบริหาร การเมือง เขาจะมาศึกษา กับชาวอโศก

       ผู้ปกครองต้องมีธรรมะ เป็นคำที่ยิ่งใหญ่ ท่านพุทธทาส สรุปธรรมะว่า คือ “ความไม่เห็นแก่ตัว” ศัพท์ของพระพุทธเจ้า คือหมดตัวตน หมดอัตตา (มีอัตตา๓)

       โอฬาริกอัตตา คืออัตตาหยาบๆ ต้องเรียนรู้แล้วลดละ คนมีธรรมะ คือกิเลสน้อย ที่ต้องให้สัมมาทิฏฐิ คือคนไม่หนีโลก ไม่ใช่คนไม่เอาถ่าน ไม่เอาภาระสังคม แต่คือ คนที่ไม่หนีโลก แต่เหนือโลก คือโลกจะทำร้ายเขาไม่ได้ เขาไม่เป็นทาสโลก เขาจะช่วยโลก นี่คือโลกุตรจิต

       ผู้ที่จะบริหารประเทศหรือโลกได้ ต้องเป็นคนที่มีธรรม อย่างพระพุทธเจ้า ท่านประสูติ มีคนทำนาย เป็นสองคติ ถ้าไม่ออกบวช จะเป็นจอมจักรพรรดิ์ ถ้าบวช จะเป็นพระพุทธเจ้า และจอมจักรพรรดิ์คือ คนที่ปกครองโดยธรรม อย่างในหลวงเรา ตรัสไว้แต่ครองราชย์ ว่าท่านจะบริหารประเทศ โดยธรรม นี่แหละคือ จอมจักรพรรดิ์ ไม่ใช่ว่า คืออย่าง เจ็งกิสข่าย พ่อครูเคยอ่าน ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า กระดูกของคน ที่ควรใส่เจดีย์ไว้ เคารพบูชาคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า - พระปัจเจกพุทธเจ้า - พระอรหันต์ - จอมจักรพรรดิ์ ซึ่งพ่อครูก็สะดุด พอบอก จอมจักพรรดิ์ ก็นึกถึง เจ็งกิสข่าน หรือ อเล็กซานเดอร์ ซึ่งก็ไม่น่ากราบ และก็มาได้คิดตอนหลังว่า ไม่ใช่จอมจักรพรรดิ์ ล่าอำนาจ แต่ว่าต้องเป็น จอมจักรพรรดิ์ ที่มีทศพิศราชธรรม อย่างน้อยก็คือ พระเจ้าอโศก มหาราช

       พระพุทธเจ้า สอนเรื่องการบริหาร ก็ไม่มีไปสอนให้ฆ่าแกง ใช้อำนาจ หรือ ความรุนแรง ปกครอง แต่ผู้บริหารที่ดี ควรเป็นอาริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบัน อาริยะคือ ผู้ที่รู้จัก วิธีลดกิเลส สามารถมีญาณปัญญา รู้จักจิต เจตสิก รูป นิพพาน แยกจิตเจตสิก แยกรูป แยกนามออก รู้จักสักกายะ และรู้วิธีลดกิเลส เรียกว่าศีลพรต เมื่อลดกิเลสได้ ก็มีเศรษฐกิจดี การเมืองดี ก็ช่วยสังคมได้ เป็นพหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกัมปาย และ อาริยนี้มี เป็นฆราวาส มากกว่ามาบวช เป็นสมณะ (ซึ่งบุคคลทั้ง ๔ เหล่า มีในฆราวาส มากกว่า มีในนักบวชด้วย) ศาสนาพุทธ ไม่ใช่ศาสนาหนีสังคม ไม่ถ่วงโลก แต่ช่วยโลก ช่วยสังคม ให้สงบสุข เศรษฐกิจสังคม จะดีเรื่อยๆ พระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดี สัมมาทิฏฐิจริง ๗ ปียกให้ จะได้อรหันต์ได้เลย

       ผู้ได้ธรรมะแล้ว เหนือโลก ช่วยโลก ศาสนาพระพุทธเจ้ามี ๓ โลก คือโลกุตรจิต (เหนือโลก) โลกวิทู (รู้แจ้งโลก) โลกานุกัมปา (ช่วยหรือรับใช้โลก) ไม่ได้หนีโลกเลย คำว่าหนีโลก คือโลกันต์ แปลว่า หนีไปสุดโลกเลย ของพระพุทธเจ้า โลกุตระ คืออยู่เหนือ ไม่อยู่หนี พ่อครู ทำพระพุทธรูป ปางตรีลักษณ์ มีลักษณะของนิ้ว ชู ๓ นิ้ว องค์ใหญ่ อยู่บ้านราชฯ

       การที่เราออกมาชุมนุม คือมารับใช้โลก มาช่วยโลก ช่วยสังคม ชีวิตเราพึ่งตนรอด มีเหลือเฟือ เรามานี่ แต่ละชุมชน ก็มีคน หมุนเวียนอยู่ ทำได้ นี่ก็เพิ่งกลับมา จากบ้านราชฯ เมื่อวันนี้เอง ก็คุยกับคนบ้านราช ฯ ว่ากำลังปลูกผัก แล้วจะส่งมาสวนลุมฯ ต่อไป เป็นต้น

       เรามาทำงานนี่ ได้ ฝึกฝนตนเอง สร้างทักษะ ขัดเกลาใจตน นี่คือประโยชน์ตน ส่วนประโยชน์ท่าน เราก็มาช่วยสังคม เราไม่ได้จะมา ตีรันฟันแทง หรือแย่งอะไรกับใคร เราทำช่วยสังคม ที่เดือดร้อน เรามาแสดงว่า ทำอย่างนี้ดีไหม แล้วมาช่วยกัน จะดีไหม แล้วจะเกิด เป็นปึกแผ่น แม้เราจะออกมานานๆที แต่ว่าถ้าเป่านกหวีด ก็ควรออกมา ช่วยกัน เราไม่ได้กระสัน จะให้ได้หรอก แต่ว่าเราต้องมี มโนสัญเจตนา มีจุดมุ่งหมาย

       อ.กฤษฎาว่า ความเป็นตลาดอาริยะ ก็มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น เราไปซื้อของ แล้วเพื่อนบ้าน ฝากเราไปซื้อของ แล้วเราก็ไม่คิด ค่าเดินทาง เป็นต้น หรือเราปลูก ผักบุ้งไว้มาก เราก็ขาย ต่ำกว่าราคาทุนก็ได้ ซึ่งเป็นวิถี ไทยพุทธอยู่แล้ว

       พ่อครูก็ว่า ใช่ ไทยบ้านเราชนบท ก็ทำอยู่ทำกิน ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่หลงโลก ไปมีไปเป็น ตามโลกเขาไป ไม่ไล่ตามแฟชั่น ก็ทำอยู่ทำกินพอใช้ เกื้อกูลกัน จึงอยู่ได้ เป็นวัฒนธรรม ดีงาม แล้วไปเทียบเคียงกับสังคม American share แล้วมัน คนละอย่างเลย

       อ.กฤษฎาว่า ... วันนี้มีวิถีชาวอโศก ให้ศึกษา และในโอกาสหน้า จะขอสาธยายเรื่อง สัมมาสิกขา จะเป็นคนทำงาน ทำข่าว ทำสารคดี มีวิธีเรียนอย่างไร ในบวร

       พ่อครูว่า เรียนกับชีวิตจริง ไม่ใช่เรียนอยู่ในกล่อง แล้วไม่รู้เรื่อง สังคมเลย แค่แข่งกัน ทำคะแนนสูง ได้เกียรตินิยม สอบเก่ง แต่ไปบริหารประเทศ ก็ไม่เข้าใจสังคมจริง มีแต่ในตำรา เขาเอามา จากเมืองนอก ไม่รู้ภูมิประเทศไทย แล้วไทยเรา ก็เป็นอย่างนี้แหละ เขาเรียนอย่างนี้แหละ ….

จบ  

 
๕ กันยายน ๒๕๕๖ ที่สวนลุมพินี กทม.