570214_ทวช.งานพุทธาภิเษกฯ โดยพ่อครู ที่ผ่านฟ้า

 

เรื่อง อาหาร ๔ อย่างพิสดาร ตอน ๑

     วันนี้เป็นวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ซึ่งเป็นวันรำลึกถึง นักบุญวาเลนไทน์ ชาวโลกเขาใช้เป็นวัน แสดงความรัก ซึ่งเป็นความรักแบบโลกีย์ ซึ่งความรัก ที่พ่อคร ูเคยแบ่งไว้ มีความรัก ๑๐​มิติ
กามนิยม (เมถุนนิยม)
พันธุนิยม (ปิตปุตตาฯ)
ญาตินิยม (โคตรนิยม)
สังคมนิยม (ชุมชนนิยม)
. ชาตินิยม (รัฐนิยม)
. สากลนิยม (จักรวาลฯ)
. เทวนิยม (ปรมาตมันฯ) .
. อาริยนิยม (อเทวนิยม)
. นิพพานนิยม (อรหันตฯ)
๑๐. พุทธภูมินิยม (หรือ.. โพธิสัตวภูมินิยม) (พ่อท่านบรรยายไว้ที่ ม.เชียงใหม่)
    
     วันนี้เป็นวันที่เราชุมนุมได้ถึงวันที่ ๑๙๔ ของกปท. ทำลายสถิติของพธม. ที่ชุมนุมมา ๑๙๓ วันแล้ว แต่ถ้า กองทัพธรรม จะทำลายสถิติ ต้องเป็นบวกอีก ๓ วัน

     และวันนี้ก็เป็นง่วนเซี่ยว ด้วย เป็นวันเพ็ญแรก หลังตรุษจีน ก็เป็นสามอย่าง ที่ตรงกัน ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ มาฆฤกษ์​ เป็นวันพระจันทร์ เต็มดวง เป็นวันที่สว่างไสว นัยของง่วนเซี่ยว ก็นัยเดียวกัน

     วันนี้ตั้งใจอธิบายธรรม ในวันมาฆบูชา เราคนเกิดมา เป็นคนนี้ไม่รู้ พระพุทธเจ้าตรัสเรื่อง ความไม่รู้ ไม่รู้ในวิญญาณ แม้อยู่ในตัวเรา เราก็ไม่ได้เรียนรู้ ในอาหาร ๔
๑.  กวลิงการาหาร (อาหารคำข้าว ให้รู้กิเลสเบญจกาม)
๒.  ผัสสาหาร (อาหาร คือ ผัสสะกระทบให้เกิดเวทนา)
๓.  มโนสัญเจตนาหาร (อาหารใจที่เจตนามุ่งกับตัณหา)
๔.  วิญญาณาหาร (อาหารของวิญญาณ คือ กำหนดรู้จักแยกแยะนาม-รูป แล้วกำจัดเฉพาะ อาสวะ ให้จบสิ้น)

     ต้องเข้าใจวิญญาณ คืออะไร คือต้องเกิดจากผัสสะ ต้องรู้วิญญาณเทวดา
. สมมุติเทพ (คนที่มีสภาวะจิตเสพโลกียสุขได้สมใจ)
๒. อุปปัตติเทพ (คนที่มีสภาวะจิตเกิดความเป็นอาริยะ)
๓. วิสุทธิเทพ (คนที่มีสภาวะจิตบริสุทธิ์ขั้นอรหัตตผล)

(พตปฎ. เล่ม ๓๐ ข้อ ๖๕๔)

     ต้องอ่านรู้วิญญาณสัตว์นรก ที่อยู่ในจิต แล้วเรียนรู้เทวดาปลอม สมมุติเทพ ที่เสพสุข หรือ เสพวิญญาณปลอม ของแห้ง นึกว่าเป็นสุข จมอยู่ในตัณหา ยังไม่หมดตัณหา คุณยังต้องการ มาเสพ ไม่หมดอัตตา คุณก็ขังวิญญาณตน หลงสุข แท้จริงมันเป็นคุก ที่คุณขังสัตว์ ไม่รู้จัก สัตตาวาส ๙ โดยโง่เอง หลงว่าสุข ทั้งที่มันเท็จมันปลอม

     ผู้ฆ่าสัตว์อบาย สัตว์กามไปแล้ว ก็จะเป็นพรหม หรืออนาคามี มีเศษเหลือเป็นรูป และ อรูปในจิต มันมีความมาก ความเบาอย่างไรในจิต รู้ในสังโยชน์ที่เหลือใน ข้อหลังของ สังโยชน์ ๑๐
.  รูปราคะ (ความติดใจอยู่ในรูปภพ -ในอุปาทายรูป)
๗.  อรูปราคะ (ความติดใจอยู่ในอรูปภพ)
๘.  มานะ (ความถือตัวถือตนในความดีของตน)
๙.  อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน กระจัดกระจาย รู้ยาก)
๑๐. อวิชชา (ความหลง-ไม่รู้ อันเป็นเหตุไม่รู้จริง) . .

     รู้โศก ปริเทว ทุกข์ โทมนัส อุปายาสะ ... ปริเทวะคือ พิรี้พิไร โศกนี่คือ เศร้าหมอง ลำบาก (แต่แกนคือทุกข์) อ่านให้ละเอียดถึง อากิญจัญ เนวสัญญาฯ มีอะไรนิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง ก็ต้องตรวจสอบ เหมือนคุณ มีแหวนเพชร ก็ต้องพยายามเช็ด ไม่ให้มีหมองเลย นี่คืออากิญจัญฯ ศาสนาพุทธ เป็นจิตบริสุทธิ์สะอาด ก็ต้องตรวจ ให้หมดเกลี้ยง หรือสร้างวิมุติแล้ว ก็ต้องตรวจ อวิมุติ ต้องตรวจ อสมาหิตะ ตรวจอวิมุติ นี่คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอรูปพรหม จนสะอาดเกลี้ยง จนไม่เหลือเศษของ อวิชชาสังโยชน์

     ต้องรู้ความหมายของ ศีล สมาธิ ปัญญา และ ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งภาวนาคือ การเกิดผล ลดกิเลส ถ้าทำได้ ไม่เกิดผล ต้องทำที่ตัว สมุทัย คือเหตุ ซึ่งต้องมีฉันทะ มาก่อน ในสุริยเปยยลาสูตร
[๑๒๙] มิตรดี เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
[๑๓๑] สีลสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
[๑๓๒] ฉันทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
[๑๓๓] อัตตสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
[๑๓๔] ทิฐิสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค . .
[๑๓๕] อัปปมาทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๖] โยนิโสมนสิการสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

     ข้อสุดท้ายนี้สำคัญ ...เป็นถ้ามนสิการไม่ถูกต้องไม่แยบคาย ก็ไม่ถึงเหตุ ซึ่งอยู่ในมูลสูตร
.  มีฉันทะ เป็นมูล-รากเหง้า (มูลกา) . .
๒.  มีมนสิการ เป็นแดนเกิด (สัมภวะ) . . .
๓.  มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด (สมุทัย) . . .
๔.  มีเวทนา เป็นที่ประชุมลง (สโมสรณา) .
๕.  มีสมาธิ เป็นประมุข (ปมุขะ) . . .

     ฉันทะเป็นตัวเริ่มเลย อยู่ในอิทธิบาท ๔ ก็มี และตัววิมังสา คือ ตัวเลือกเฟ้น เอาแต่แก่น เอาแต่สาระ
     เราอยู่ท่ามกลางสนามรบ เป็นการเอาชนะกันด้วยธรรมะ ไม่อาจเห็นได้ด้วยตา แต่เป็น potential energy เป็นสิ่งที่ต้องคบคุ้น อยู่ร่วมกัน จะเห็นได้ เป็นพลังงานแฝง ต้องมีญาณปัญญา

     เราต้องรู้เรื่องวิญญาณ ซึ่งจะเกิดเมื่อ ผัสสะ

[๑๖๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นไฉน เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้น และรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ฯ

     ผัสสะ ๓ เมื่อรู้สัมผัสนอก ที่ปรุงแต่งใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ผู้ที่ปรุงแต่งรูป จัดจ้านมาก ไม่มีใคร เกินกระเทย ก็ต้องขออภัย กระเทยนะ อาตมาอธิบายวิชาการ
     และมาเรียนรู้ในปุตตมังสสูตร ​
     ๒๔๐] พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนคร สาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่าง เพื่อความดำรงอยู่ ของสัตว์โลก ที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์ แก่เหล่าสัตว์ ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างนั้นคือ
. กวฬีการาหาร หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง
. ผัสสาหาร
. มโนสัญเจตนาหาร
. วิญญาณาหาร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณโง่ ก็จะแสวงหา ตามจินตนาการ ตามอยาก ตามต้องการ แล้วต้องการอะไร
     สัมภเวสี นั้นไม่ใช่แบบที่ล่องลอย ไปหาที่เกิด มันต้องไปรับวิบาก มันแสวงหาที่เกิด อาจแวะไปหา สวรรค์ปลอม แล้วก็ไปหาที่เกิด

     อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล เพื่อดำรงอยู่แห่งสัตว์โลก ที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์ แก่เหล่าสัตว์ ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ

     สัมภเวสีที่เขาไม่สัมมาทิฏฐิ คือล่องลอยไปหาที่เกิด เป็นเทวนิยม วิญญาณออกจากร่าง ก็ล่องลอยไป คุณคิดเช่นนั้น ก็ไม่ได้ศึกษา ซึ่งวิญญาณไม่ล่องลอย แต่แสวงหาที่เกิด มันเกิดที่จิต นี่แหละ เขารู้ว่าสัมภเวสี เป็นพยัญชนะ แต่ว่าไปเข้าใจว่า ล่องลอยไปเรื่อย แต่ว่าที่จริง เราต้องมาดู ที่มันแสวงหาที่เกิด อย่างอนาคามี ก็ไม่เบียดเบียนใคร มีแต่เบียดเบียนตนเอง เอาแต่เขกหัวตัวเอง นั่นแหละ

     [๑๖๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็น
ไฉน เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แล
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้น และรส ...เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้น แห่งทุกข์ ฯ

๒๔๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนคร สาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่าง เพื่อความดำรงอยู่ ของสัตว์โลก ที่เกิดมาแล้ว หรือ เพื่ออนุเคราะห์ แก่เหล่าสัตว์ ผู้แสวงหาที่เกิดอาหาร ๔ อย่างนั้น คือ

. กวฬีการาหาร หยาบบ้างละเอียดบ้าง
. ผัสสาหาร
. มโนสัญเจตนาหาร
. วิญญาณาหาร ภิกษุทั้งหลาย

 อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล เพื่อดำรงอยู่แห่งสัตว์โลก ที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์ แก่เหล่าสัตว์ ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ

[๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กวฬีการาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ภรรยาสามี ๒ คน ถือเอาสะเบียงเดินทาง เล็กน้อย แล้วออกเดินไปสู่ ทางกันดาร เขาทั้งสอง มีบุตรน้อยๆ น่ารักน่าพอใจ อยู่คนหนึ่ง เมื่อขณะทั้งสองคน กำลังเดินไป ในทางกันดารอยู่ สะเบียงเดินทางที่มีอยู่ เพียงเล็กน้อยนั้น ได้หมดสิ้นไป แต่ทางกันดารนั้น ยังเหลืออยู่ เขาทั้งสอง ยังข้ามพ้น ไปไม่ได้ ครั้งนั้น เขาทั้งสองคน คิดตกลงกันอย่างนี้ว่า สะเบียงเดินทาง ของเราทั้งสอง อันใดแล มีอยู่เล็กน้อย สะเบียงเดินทางอันนั้น ก็ได้หมดสิ้นไปแล้ว แต่ทางกันดารนี้ ยังเหลืออยู่ เรายังข้ามพ้นไปไม่ได้ อย่ากระนั้นเลย เราสองคน มาช่วยกัน ฆ่าบุตรน้อยๆ คนเดียว ผู้น่ารัก น่าพอใจคนนี้เสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็ม และเนื้อย่าง เมื่อได้บริโภค เนื้อบุตร จะได้พากัน เดินข้ามพ้น ทางกันดาร ที่ยังเหลืออยู่นั้น ถ้าไม่เช่นนั้น เราทั้งสามคน ต้องพากัน พินาศหมดแน่ ครั้งนั้น ภรรยาสามี ทั้งสองคนนั้น ก็ฆ่าบุตรน้อยๆ คนเดียว ผู้น่ารัก น่าพอใจนั้นเสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็ม และเนื้อย่าง เมื่อบริโภคเนื้อบุตรเสร็จ ก็พากันเดินข้าม ทางกันดาร ที่ยังเหลืออยู่นั้น

เขาทั้งสองคน รับประทานเนื้อบุตร พลางค่อนอก พลางรำพันว่า ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของฉัน ไปไหนเสีย ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของฉัน ไปไหนเสียดังนี้ เธอทั้งหลาย จะเข้าใจความข้อนั้น เป็นอย่างไร คือว่าเขาได้บริโภคเนื้อบุตร ที่เป็นอาหารเพื่อความคะนอง หรือเพื่อความมัวเมา หรือเพื่อความตบแต่ง หรือเพื่อ ความประดับประดา ร่างกายใช่ไหม
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า จึงตรัสต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้น เขาพากัน รับประทาน เนื้อบุตรเป็นอาหาร เพียงเพื่อข้ามพ้น ทางกันดารใช่ไหม ใช่ พระเจ้าข้า (พ่อครูอธิบายว่า อาศัยเพื่อน มิตร สิ่งแวดล้อม เราก็ไม่ได้ไปฆ่า เพื่อไปสู่นิพพาน เราก็ต้องอาศัย แต่ไม่ใช่อาศัย เพื่อไปสู่ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขแต่อย่างใด) พระองค์จึงตรัสว่า ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่า บุคคลควรเห็น กวฬีการาหารว่า [เปรียบด้วยเนื้อบุตร] ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่ออริยสาวก กำหนดรู้ กวฬีการาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ ความยินดี ซึ่งเกิดแต่ เบญจกามคุณ เมื่ออริยสาวก กำหนดรู้ความยินดี ซึ่งเกิดแต่เบญจกามคุณได้แล้ว สังโยชน์ อันเป็นเครื่องชักนำ อริยสาวก ให้มาสู่โลกนี้อีก ก็ไม่มี ฯ

     พ่อครูอธิบายว่า สายนั่งหลับตา จะไม่ได้เรียนรู้ ในเบญจกามคุณ อย่างผัสสะสดๆ อาตมา ไม่ได้ดูถูก เจโตสมถะนะ อาตมาเคยศึกษา มามากแล้ว พระพุทธเจ้า ก็สามารถตัดทวาร ไม่รับรู้ ขณะเดินอยู่ในโรงกระเดื่อง ฟ้าผ่า วัวตายสี่ คนตายสอง ก็ไม่รู้เรื่อง ไม่ได้ยิน จนกระทั่ง ท่านออกจากฌาน ก็เดินมาที่ ที่คนกับวัวตาย เขาก็ว่าฟ้าผ่า แต่เราไม่รู้ แม้อยู่ใกล้ๆ เดินอยู่ แต่ไม่เปิดทวารรับรู้ เสียงฟ้าผ่า แต่พระพุทธเจ้า เข้าฌานจนไม่ได้ยินเสียง ทำจนเก่ง เป็นวสี

     คุณต้องเรียนรู้ที่จะสมาทาน ให้เป็นสมะ คือเสมอๆ คือความสงบแล้ว จากเหตุปัจจัย

     เขาไม่รู้ว่า เขาเสพกาม เสพโลกธรรมอยู่ เขาก็ไม่รู้ว่า มันชั่ว แท้จริงเป็นเพียง เครื่องอาศัย ข้ามทาง แล้วเขารังแก น้องสาวเขาอยู่ รังแกครอบครัวอยู่ ทรมานลูก ทรมานน้องตัวเอง ทรมาน มิตรสหาย ที่หลงลัทธิทักษิณ ของเขาเอง เขาไม่รู้ว่า เขาฆ่าลูก ฆ่าพี่น้อง ฆ่ามิตรกิน แล้วเพื่อให้ได้ต้องการไปสู่ความเป็นใหญ่ รวยสุดในโลก ต้องการน้ำมัน ต้องการเพชร แล้วเขาก็ฆ่าหมด ฆ่าลูกน้อย ฆ่าลูกใหญ่ แล้วเขาฆ่าแล้ว เขาก็กินเนื้อลูกน้อย เป็นอาหาร แก่ทักษิณ ไปล่าลาภยศ สรรเสริญสุข อยากใหญ่ เป็นเจ้าโลก คือกาม

     พ่อครูอธิบายว่า คุณก็แสวงหา เอามาเสพ คุณต้องเอาชนะคะคาน เขาจะเลือกตั้ง อีกกี่ที คนไทยจะรู้แล้ว คราวที่แล้ว พิสูจน์แล้วว่า ประชาชนไม่เอา ต่อให้เลือกตั้งอีกกี่ที เราก็จะประจานต่อไป เขาเลือกตั้งอีกที วันที่ ๗ เม.ย. อาตมาว่า เลือกตั้งครั้งต่อไป เขาก็จะได้ คะแนนเสียงลดลง เขาจะได้ต่ำลงๆ แพ้แน่ อาตมาก็ไม่อยากไปแนะหรอก เรามาต่อสู้ ก็ไม่ได้ไปทำ เพื่อพรรคไหน แต่เหตุปัจจัย มันจะมีเป็นไป

[๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร เหมือนอย่างว่า แม่โคนม ที่ไม่มีหนังหุ้ม ถ้ายืนพิงฝาอยู่ ก็จะถูกพวกตัวสัตว์ อาศัยฝาเจาะกิน ถ้ายืนพิงต้นไม้อยู่ ก็จะถูกพวกสัตว์ ชนิดอาศัยต้นไม้ไชกิน หากลงไปยืนแช่น้ำอยู่ ก็จะถูกพวกสัตว์ที่อาศัยน้ำ ตอดและกัดกิน ถ้ายืนอาศัยอยู่ในที่ว่าง ก็จะถูกมวลสัตว์ ที่อาศัยอยู่ในอากาศ เกาะกัดและจิกกิน เป็นอันว่า แม่โคนมตัวนั้น ที่ไร้หนังหุ้ม จะไปอาศัยอยู่ ในสถานที่ใดๆ ก็ถูกจำพวกสัตว์ ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นๆ กัดกินอยู่ร่ำไป ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่าพึงเห็น ผัสสาหารฉัน นั้นเหมือนกัน เมื่ออริยสาวก กำหนดรู้ ผัสสาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้เวทนาทั้งสามได้ เมื่ออริยสาวก กำหนดรู้ เวทนาทั้งสามได้แล้ว เรากล่าวว่า ไม่มีสิ่งใด ที่อริยสาวก พึงทำให้ยิ่งขึ้น ไปกว่านี้อีกแล้ว ฯ

     พ่อครูว่า.. ขอย้ำว่าปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้า ต้องมีผัสสะ ปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ไปปิดทวาร ในปฏิจจสมุปบาท ท่านให้เรียนรู้ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ ให้เรียนรู้ ในเวทนาทั้ง มโนปวิจาร อ่านรู้อาการ ทะยานอยาก
เพราะอาศัยความทะยานอยาก จึงมีการแสวงหา
อาศัยการแสวงหา จึงมีลาภ
อาศัยการมีลาภ จึงมีการวินิจฉัย
อาศัยการวินิจฉัย จึงมีความกำหนัด พอใจเป็นอำนาจ
อาศัยกำหนัดพอใจ เป็นอำนาจ จึงมีการฝังใจ

     เกิดมาทั้งที ได้แต่สะสมกิเลส ก็เกิดมาเสียชาติเกิด เป็นโมฆบุรุษ คนที่ไปเป็น ข้ารับใช้ทักษิณ ขอเตือน ให้สติ คุณจะเป็นโมฆบุรุษ โมฆสตรี ผู้ไม่ได้พบสัจธรรม ก็น่าสงสาร แต่ถ้าได้รู้แล้วไม่เอา คุณจะเป็น โมฆบุรุษ โมฆสตรี ได้ร่างกายมา ชิงหมาเกิด ให้หมา ตัวใดตัวหนึ่งมาเกิด จะดีกว่า

๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ที่ เวทีพุทธาภิเษก ผ่านฟ้าลีลาศ กทม.