570310_พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ และ อ.กฤษฎา ให้วัฒนานุกูล
เรื่อง กติกาประชาธิปไตย ตอน ๑

                พ่อครูว่า... อำนาจนั้นเป็นอย่างไร ใครมีสิทธิ์ได้อำนาจ …. อาตมาพยายาม เรียบเรียบ มาหลายครา แก้ไขหลายที

        ตอนนี้เรื่องดำเนินไป จนคนเห็นได้หมด ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ตอนนั้นแหละ ท้องแตกตาย คือเต็มที่ ของความชั่ว ที่เขาทำ แตกเหม็นโฉ่เลย

        เราดำเนินตามรัฐธรรมนูญ มาตราต่างๆ ต้นๆของรัฐธรรมนูญ ปี๒๕๕๐ เลย
มาตรา ๑ (รูปแบบรัฐ) ประเทศไทย เป็นราชอาณาจักร อันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้

มาตรา ๒ (รูปแบบการปกครอง) ประเทศไทย มีการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

มาตรา ๓ (อำนาจอธิปไตย)อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้น ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติ หน้าที่ของ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไป ตามหลักนิติธรรม

มาตรา ๔ (ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง

        เมื่อเราแสดงออก สิทธิเราย่อมได้รับการคุ้มครอง พวกราชสีห์เอ๋งเขาก็ร้องๆออกไป

มาตรา ๕ (ความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย)ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ใน ความคุ้มครอง แห่งรัฐธรรมนูญนี้ เสมอกัน

มาตรา ๖ (กฎหมายสูงสุดของประเทศ)รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใด ของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้น เป็นอันใช้บังคับมิได้

มาตรา ๗ (การอุดช่องว่างในรัฐธรรมนูญ) ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญนี้ บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัย กรณีนั้น ไปตามประเพณี การปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

        ซึ่งประเทศไทยเหมือนบ้าน ทุกคนต้องช่วยกันรักษาดูและ เหมือนปลวกขึ้นบ้าน ก็ต้องดูแล หรือโจรปล้นบ้าน ก็ต้องช่วยกันจัดการ

        ตอนนี้สองสถาบันหลักคือ บริหารและนิติบัญญัตินั้น พิการไปแล้ว ใช้ไม่ได้ เหลือศาล ตอนนี้อำนาจ ในมาตรา ๓ ของรัฐธรรมนูญ ก็ต้องกลับมา เป็นของ ปวงชนชาวไทย

         และมาตรา ๔ และ ๕ ก็ยิ่งเสริมอำนาจของประชาชนอีก ไม่ว่าจะเพศ หรือศาสนาใด ย่อมได้รับ การคุ้มครอง ส่วนมาตราที่ ๖ ก็ต้องอธิบาย รัฐธรรมนูญ กับกฎหมาย กับธรรมะนั้น จึงเป็นหลักเดียว กับศีลกับวินัย

        อย่างในศีล ในธรรมวินัย นั้น ก็เป็นใหญ่กว่าบุคคล เหมือนรัฐธรรมนูญ ก็อยู่เหนือบุคคล

        หยิบมาพูดนี้ให้รู้ว่า ศาสนาก็คือประชาธิปไตย ทุกคนต้องอยู่ภายใต้ หลักเกณฑ์ ของศีล หรือธรรมวินัย ฉันเดียวกันกับโลก ที่จะไปตั้งใคร ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ไม่ได้ แม้พระมหากษัตริย์ แม้ในศาสนา สังฆราชก็ต้อง อยู่ใต้ศีล หรือวินัย

        ซึ่งในรัฐธรรมนูญ มีบทบัญญัติที่ให้อภิสิทธิ์ เหนือกว่าคนอื่น เช่น
หมวด 2 พระมหากษัตริย์
มาตรา 8 องค์พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงอยู่ในฐานะ อันเป็นที่ เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหา หรือฟ้องร้อง พระ มหากษัตริย์ ในทางใดๆ มิได้

        เหมือนในศาสนาก็ให้อภิสิทธิ์แก่พระพุทธเจ้าเป็นต้น ซึ่งใช้หลักเดียวกัน

        ใครจะมาจำกัดริดรอนสิทธิ์ของกษัตริย์ ในหลายประเทศ ก็แล้วแต่ ริดรอนท่าน จนหลายประเทศ เหลือแค่ สัญญลักษณ์ แล้วแต่ประชาชน ในประเทศนั้น จะกำหนด

        ส่วนประชาชน ย่อมมีสิทธิ์ส่วนตัว ที่จะยกให้ พระมหากษัตริย์ หรือยกให้ อรหันต์ เป็นสิทธิส่วนตัว ของแต่ละคน ไม่มีอะไรบังคับ ซึ่งแม้บางประเทศ จะริดรอนสิทธิ์ท่าน แต่ว่าท่าน ทรงทศพิธราชธรรม ก็มีประชาชน ยกย่องท่าน ไม่ต้องมี กฎหมายเลย อย่างเช่น ในอังกฤษเป็นต้น

        แต่อย่างไรก็ละเมิดไม่ได้ตามศีล ตามวินัยและทางโลก ก็ต้อง ไม่ละเมิดกฎหมาย

        พระอรหันต์และกษ. ที่ทรงธรรมนั้น ก็จะอยู่ในหลักศีล วินัย ได้โดยไม่ยากลำบาก เป็นภูมิธรรม ของท่าน แม้จะริดรอน สิทธิท่าน ก็ไม่มีปัญหา ท่านก็ทำได้ ตามกฎหมาย ท่านทำงานเต็มที่ ให้ประชาชน กฎจะออกมา อย่างไร ก็ไม่เป็นไร

        บุคคลใดที่จะอยากได้อำนาจ ให้แก่ตนนั้น จึงมีจริง สำหรับผู้มีกิเลส จึงทุกข์ จึงละเมิด ตามแรงกิเลส

        ไม่ว่าบทบัญญัติ จะห้ามหรืออนุญาต ท่านก็ไม่มีปัญหา เพราะมีภูมิธรรมพอ        

        ความมีอำนาจอธิปไตยของตน ที่จะใช้กับสังคม จึงจะถูกจำกัดด้วย ภูมิธรรมจริง ของตน และตามบทบัญญัติ ของกฎหมาย หรือวินัยและศีล

        ใครจะทำดีไม่ดี จะละเมิดกฎจึงขึ้นอยู่กับภูมิธรรมจริง

        อำนาจอธิปไตยของประชาชนไทย ต้องมาวิจัยกันดู ที่วิเคราะห์ วิจัยกัน ตอนนี้ ก็เรื่องอำนาจ หรืออธิปไตย นี่แหละ ต้องทำความเข้าใจจริงๆว่า

        การได้มาซึ่งอำนาจในการบริหารประเทศมี ๕ แบบ
        ๑. อำนาจเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
        ๒. อำนาจรัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้งตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
        ๓. อำนาจคณะทหารที่ได้มาอย่างไม่สงบรุนแรงไม่เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญนี้
        ๔. อำนาจประชาชนที่ปฏิวัติอย่างไม่สงบ มีอาวุธ รุนแรง
        ๕. อำนาจประชาชนที่ปฏิวัติอย่างสงบ ไม่มีอาวุธ ไม่รุนแรง เป็นไปตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้

        อาตมาพยายามอธิบายข้อที่ ๕ นี้แหละ ก็เข้าใจกันยาก อาตมาก็ขออวดฉลาด ในตลาดเพชรหน่อย

        อำนาจที่จะวินิจฉัยในกรณีใดก็พาดพิงไปมาตรา ๗ อำนาจที่จะวินิจฉัย กรณีใด ไปตามประเพณี การปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗ โดยมีการกระทำ ที่ดีงาม ชอบธรรม เป็นวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

        มาตรา ๖๙ (การต่อต้านโดยสันติวิธี) บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้าน โดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไป เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็น ไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้              

        แต่ถ้าคุณทำแล้ว มิได้เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ แต่สงบถูกต้อง ตามธรรม อันนี้ ย้อนอยู่ในอันนี้ เพราะในรัฐธรรมนูญนี้ ถ้าเป็นความสงบ ก็จะเป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งบทบัญญัติ ก็ต้องให้เป็นวิถี ที่ถูกต้อง ดีงามสงบ สุภาพ อันนี้ให้ทำได้ ตาม ม.๖๘
       
        บทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘ (วรรคหนึ่ง) "บุคคลจะใช้สิทธิ และเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้าง การปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขตาม รัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มา ซึ่งอํานาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ ... มิได้"

        คนบอกว่าเราจะทำได้อย่างไร … เราก็ทำได้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาในโลก ที่ประชาชน ทำอย่างดีงาม สงบ

        เราต้องพิจารณาว่า การได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศนั้น เป็นสิ่งถูกต้อง ดีงาม สงบ เรียบร้อย หรือ อีกนัยหนึ่ง ที่ต้องพิจารณาคือ ตรงกับบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญไหม ?

        ต้องพิจารณาเรื่องนี้ ว่าการกระทำของของคน หรือกลุ่มบุคคล ที่ควรต้องยก ให้มีอำนาจ ในการปกครองประเทศ ที่ไม่มีบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ เช่นอำนาจ ในการบริหารประเทศ เช่น นายกฯ ซึ่งนายกฯตอนนี้ ตกกระป๋อง ลาออกไม่ได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติ ให้ลาออกไป ก็ต้องวิจัยกันว่า เหมาะควรไหม ในการให้เป็นนายกฯ ต่อไป

       
        การพิจารณา ก็พิจารณาและตัดสินได้จาก ประเด็นต่างๆ ดังนี้
        (๑) อำนาจฯที่ได้มาตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
        (๒) อำนาจฯที่ได้มาไม่ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
        (๓) อำนาจฯที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ และเป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
        (๔) อำนาจฯที่ไม่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ แต่ไม่เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
        (๕) อำนาจฯที่ไม่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ แต่เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
        (๖) อำนาจฯที่ไม่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ และไม่เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
        (๗) อำนาจที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ แต่วิถีทาง ไม่เป็นไปตามสัจธรรม ไม่มีคุณธรรม ไม่ดีงาม ไม่สงบ ใช้อาวุธ รุนแรง ไม่สันติวิธี
        (๘) อำนาจที่ไม่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ แต่วิถีทางเป็นไปตามสัจธรรม มีคุณธรรม ดีงาม สงบ ไม่ใช้อาวุธ ไม่รุนแรง สันติวิธี
        (๙) อำนาจที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ และวิถีทางเป็นไปตามสัจธรรม มีคุณธรรม ดีงาม สงบ ไม่ใช้อาวุธ ไม่รุนแรง สันติวิธี
        (๑๐) อำนาจที่ได้มาโดยการใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้แล้ว แต่ วิถีทาง เป็นผู้กระทำ ไม่ซื่อสัตย์ ไม่เที่ยงตรง กระทำขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ กระทำผิดรัฐธรรมนูญนี้ ผิดจริยธรรม กบฏ จึงไม่สมควร มีอำนาจแล้ว
        (๑๑) อำนาจที่ได้มาโดยการใช้วิธีการไม่ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ และวิถีทาง เป็นผู้กระทำ ไม่ซื่อสัตย์ ไม่เที่ยงตรง กระทำขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ กระทำผิดรัฐธรรมนูญนี้ ผิดจริยธรรม กบฏ จึงไม่สมควร มีอำนาจเลย
        (๑๒)  อำนาจที่ได้มาโดยการใช้วิธีการไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ แต่ เป็นผู้กระทำที่เที่ยงตรง กระทำ ไม่ขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ เป็นแต่เพียง รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ได้บัญญัติไว้ ไม่ผิดจริยธรรม ไม่กบฏ จึงสมควร มีอำนาจกว่า ข้อที่ผ่านๆมา
        (๑๓) อำนาจที่ได้มาโดยการใช้วิธีการโดยบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ และ วิถีทาง เป็นผู้กระทำ ที่ซื่อสัตย์ เที่ยงตรง กระทำไม่ขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ผิดจริยธรรม ไม่กบฏ และเท่าที่ รัฐธรรมนูญนี้ ได้บัญญัติไว้ ผู้นี้แล สมควรเป็น ผู้มีสิทธิ ในอำนาจ การปกครองประเทศได้แล้ว เพราะมีความ ถูกต้อง ดีงามสูงสุด ยิ่งกว่าข้อใดๆ เท่าที่ประมวล ความเป็นอยู่มีอยู่จริง ทั้งหมดแล้ว 

        (๑๔) ที่สุดนั้นผู้ใดหรือกลุ่มบุคคลใด ควรเป็นผู้มีสิทธิ ในอำนาจการปกครองประเทศ สัมบูรณ์สุด ก็ต้อง ตามวิธีการ ที่มีในบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญนี้ เพราะผู้นั้น หรือกลุ่มบุคคลนั้น มีวิถีทาง ที่เป็นไป ตามความถูกต้อง  ดีงาม มีศีลธรรม และสัจธรรม สูงสุดกว่า ผู้ใด หรือคณะบุคคลอื่นใด อย่างบริบูรณ์ สัมบูรณ์

        นั่นคือ บุคคลนั้นหรือคณะบุคคลนั้น ใช้วิธีการก็ตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ และวิถีทาง ก็เป็นไป ตามบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

        กำนันสุเทพที่บอกว่า ทำอันนี้สำเร็จแล้ว ก็จะวางมือเลย ถ้าทำอย่างนั้นจริง รับรองว่า เป็นรัฐบุรุษเลย ของโลกด้วย จะติดไว้ ในรัฐศาสตร์ ของโลกเลย ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย เป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก วิสามัญ​ ประกอบด้วย เหตุปัจจัย โอกาส มีการสั่งสมมา ปัจจุบันนี้ เราบังคับไม่ได้ จะมีคนมีบารมี สมรรถนะอย่างนี้ เป็นคนที่เขาได้รับ การนิยม ชมชอบ อย่างนี้ เป็นองค์ประกอบ ที่สมบูรณ์ พร้อม ต้องมียิ่งลักษณ์ เป็นอย่างนี้ และโยงใยถึง ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ และต้อง ได้คนอย่างนี้ มีคุณปึ้ง มีคุณเฉลิม อย่างนี้ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ วิบากกรรม จะสั่งสมมา มีเหตุปัจจัย พอเหมาะ

        อย่างพระพุทธเจ้า ท่านจะรู้เหตุปัจจัย ว่าต้องมาทำอย่างนี้ จะได้ตรัสรู้ ท่านมี พุทธุปาทกาละ คือรู้กาละเวลา ที่จะต้อง อุบัติศาสนา อย่างนี้ ท่านก็ตรวจโลก ว่าต้องทำ ครบเหตุปัจจัย ท่านก็ประกาศศาสนา เมื่อท่าน ประกาศ ศาสนา ก็ต้องมี อัครสาวก เบื้องขวาซ้าย ก็มาแล้ว ไม่ต้องพยากรณ์ ไม่มีอะไรบังเอิญ ต้องมีพระยสะ ที่ต้องมาเป็น รุ่น ๑ และมีเพื่อน นักซิ่งทั้งนั้น ทำไม ฟังธรรมเดี๋ยวเดียว บรรลุ ท่านเป็น อุคติตัญญูแล้ว ได้มา ๖๐ รูปแรก ก็ไปเผยแพร่ ศาสนา ไปเดี่ยวเลย ก็ตายเยอะ เพราะสู้ทางศาสนานี่รุนแรง ฆ่าแกงกันได้ง่าย สมัยก่อน แม้พระโมคคัลลานะ ก็ยอมตาย เพราะถูกฆ่า เลย


 

   www.asoke.info