570327_พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ที่ป้อมมหากาฬ
เรื่อง ทางออกประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ ตอน ๒

        อาตมาว่าเรายิ่งได้ฟังข้อมูล แง่มุมต่างๆ ก็ยิ่งเห็นชัด ในความผิดความถูก ได้สดับตรับฟัง เรื่องราวต่างๆ ในสังคม ก็จะรู้ว่าอะไรคืออะไร มีเรื่องซับซ้อน เรื่องที่เราทำนี้ เป็นเรื่องยาก ใหม่มาก ที่สำคัญคือ เป็นเรื่อง ที่คนติดไม่ออก ว่าความสงบ ความไม่มีอะไรแรงไปรุน คือไม่รุนแรง เขามาแรง แต่เราไม่เอาแรง ไปรุนเขาเลย แล้วไปชนะ คนที่รุนแรงได้อย่างไร คนก็งง หัวแตก จะเป็นไปได้อย่างไร คนที่ไม่มีความรุนแรง ไปโต้ตอบเลย เป็นความนิ่งสงบ ใช้แต่ความดีงามถูกต้อง เป็นธรรมาวุธต่อสู้

        คนที่เป็นอาริยะ จะรู้ความดี ชอบ ถูก ผิด แล้วยอมรับความดี เป็นผู้นำ เป็นผู้ชนะ ถ้าสังคม เป็นเช่นนั้น ก็จบ สังคมก็พอรู้ว่า ความดีควรชนะ โดยสามัญสำนึกก็รู้ แต่ทำไม ถึงไม่ยอม ให้สิ่งนั้นชนะ โลกยังไม่เคยมี ยังไม่เชื่อว่า ความสงบดีงาม จะชนะปืน ชนะความชั่ว คนที่ฟังอาตมาพูด ก็คงเห็นว่าจริงๆนะ โลกยังไม่เคยมี ไม่เคยเห็นเกิดได้ โดยเฉพาะ การเปลี่ยนอำนาจ บริหารปกครองประเทศ ให้มาสู่คน ไม่รุนแรงสุภาพ ชี้ถูก ซึ่งคนไม่ดีพอ ก็ไม่ยอมปล่อย

        ถ้าดีซักพอประมาณ ก็ปล่อยแล้ว แต่นี่ไม่ดี แถมชั่วมาก ก็เลยไม่น่าเชื่อว่า จะชนะได้  ก็เลยต้องใช้อุตสาหะ วิริยะ พากเพียร จนกระทั่ง มันจะมีพลังงานทุกอย่าง เป็นพลังงานนามธรรม มองไม่เห็น จึงเข้าใจยาก ไม่เห็นรูปร่างตัวตน ไม่มีน้ำหนัก มองไม่เห็น ยิ่งอำนาจ Authority มิใช่ force เป็นอำนาจไม่กดข่ม เป็นปัญญา คุณธรรม เป็นตัวยืนยันว่า อันนี้ควร ไม่ควร ก็เลยยาก มหายาก ก็ทำให้คนเห็นไม่ได้ด้วย ยังไม่เคยมี เป็นตัวอย่างด้วย เป็นกรณีใหม่เอี่ยม

        แต่คนไทยทำได้อย่าง วิเศษ วิสุทธิ์ วิศิฏฐ์ ตุลาการก็ให้ การรับรอง คุ้มครอง ใครจะมาทำอะไรไม่ได้

        อาตมาได้อ่านหนังสือของ คุณณรงค์ โชควัฒนา ว่าการเมือง ทุกวันนี้ เป็นเผด็จการอำพราง โดยใช้การเลือกตั้ง เป็นกระทำ

        ทุกคนที่มีความปรารถนาดีต่อชาติ ไม่ตกในข่ายขอ งผู้มีอำนาจที่อาศัย ประชาชน ทำมาหากิน เป็นคน ไม่หวังดี ต่อประเทศชาติ ทำให้ประชาชน เดือดร้อนวุ่นวาย ... มีประเด็นว่า ประชาธิปไตย คือประชาชน ปกครองตนเอง การเมืองที่มีผู้อื่น มาปกครองนั้น ไม่ใช่ประชาธิปไตย คนที่เราเลือกไปนี้ เป็นผู้แทน ดูใหญ่ แต่ที่จริง ไปรับใช้ประชาชน ทำนอกหน้าที่ไม่ได้ ไม่ใช่เจ้าของอำนาจ ไม่ใช่รัฐาธิปัตย์ ไม่ใช่นะ แม้เลือกตั้งแล้ว อำนาจอธิปไตย ก็เป็นของประชาชน อยู่นั่นเอง

        ถ้าอำนาจอธิปไตย เป็นของคนๆเดียว เรียกอัตตาธิปไตย หากอำนาจเป็นของ คนกลุ่มเดียว เรียกคณาธิปไตย ถ้าอำนาจเป็นของ ข้าราชการ ขุนนาง เรียกว่า อำมาตยาธิปไตย แต่ถ้าอำนาจอธิปไตย เป็นของประชาชน เรียก ประชาธิปไตย​

        ประชาธิปไตยเป็นการเมือง การปกครองหนึ่งเดียว ที่รัฐบาลเป็นลูกจ้าง และประชาชน เป็นนายจ้าง ปปช. ไม่ได้มอบ อำนาจอธิปไตยให้รบ หรือสส. ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่เลือกให้ไป ทำงานแทน เหมือนจ้างคน มาทำสวน ทำครัว ทำงานในบ้านไม่ใช่ เลือกคน มาเป็นนายบ้าน เราก็ยังเป็น นายบ้านอยู่ คนสวนก็ทำสวน คนล้างส้วม ก็ทำงานล้างส้วม

        อำนาจนอธิปไตย เป็นของประชาชน ทั้งก่อนและหลัง การเลือกตั้ง คนไม่เข้าใจ ก็ตีกิน ให้มีการหลอกว่า เลือกตั้ง เป็นสุดยอดของ ประชาธิปไตย ทุกสิ่งทุกอย่าง ประชาชนต้อง บูชาเลือกตั้ง หากไม่มีเลือกตั้ง ไม่ใช่ประชาธิปไตย ก็ประเทศไทยนี่ มีประชาธิปไตยมา ๘๐ กว่าปี ก็ใช้วิธีที่ ไม่ใช่เลือกตั้ง มีนายกฯ ตามวิธีการ ที่เคยทำมา คือได้ผู้แทน แล้วก็ไปสรรหา นายกฯ มาบริหาร แต่ถึงกระนั้น เมืองไทยก็มีนายกฯ ที่ไม่ใช่ระบบ เลือกตั้ง ก็มี คุณณรงค์ ว่ามีถึง ๓ คนแล้ว

        คนแรกก็คือ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นศ.ปฏิวัติ  แล้วก็มีนายกฯ พระราชทาน ที่จริง ก็ไม่ได้เลือกจากผู้แทน

        คนที่สองก็คือ คุณอานันท์ ปัญญารชุน ก็ไม่ได้มาจาก การเลือกตั้ง

        คนที่สาม ก็คือ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ก็คณะรัฐประหาร ทูลเกล้าเข้าไป ก็ผ่านการใช้อำนาจแทน มาตลอดเวลา ไม่ถือว่าเป็นเผด็จการ ของพระเจ้าอยู่หัว แต่เป็นการชง จากราษฎรณ์ แม้จะเป็นปฏิวัติ  แบบครั้งที่ พล.อ.สนธิ ทำ

        ประชาธิปไตย ได้ถูกเผด็จการ ทั้งจากการเลือกตั้ง และวิธีอื่น ครอบงำ เผด็จการ ย่อมไม่ต้องการ ให้ประชาชน สามัคคี กลมเกลียว หรือประชาชน มีความรู้ประชาธิปไตย เขาจะอำพรางว่า อำนาจ เมื่อเลือกตั้ง เสร็จแล้ว อำนาจก็เป็นของ นักการเมือง แล้วเขาทำ สำเร็จด้วย นักรัฐศาสตร์ ก็ไม่สอนเรื่องนี้กัน ก็เลยคลุมเครือ ผู้ได้อำนาจแล้ว ก็ไม่สอนประชาธิปไตย ที่แท้จริง

        เผด็จการ ย่อมต้องการให้ประชาชน อ่อนแอ แตกแยก เพราะจะปกครองได้ง่าย การศึกษาของคนไทย ทั้งระบบ จึงไม่มีการให้ความรู้ เข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องประชาธิปไตย เปรียบเทียบกับ เผด็จการ

        เข้าใจผิดๆว่า นักการเมือง ที่มาจากการเลือกตั้ง มีสิทธิ์ปกครองประเทศ ทำอะไรก็ได้ ปลดย้ายคนดี ก็ได้ และ รัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งศักดิ์ ใครอยากได้อะไร ก็นำไปบรรจุไว้ใน รัฐธรรมนูญ ก็เขียนใส่ในรัฐธรรมนูญ อยากให้คน มีศีลธรรม ก็ใส่ในรัฐธรรมนูญ ก็จะได้สิ่งนั้น ที่จริง ไม่ได้เป็น เช่นนั้นหรอก

        เมื่อประชาธิปไตย หย่อนบัตรเลือกตั้งแล้ว ก็ยกอำนาจ ให้นักการเมือง ที่ชนะเลือกตั้ง ผู้ได้เสียงข้างมาก ก็มาปกครอง ..........ออกกมาตรา....... อะไรก็ได้ เขาก็ทำกัน

        แม้แต่ที่พล.อ.สนธิ ปฏิวัติ  เรียกว่าปฏิวัติ ดอกไม้ ประชาชนเห็นด้วย ไม่มีใครมาต้าน เอาดอกไม้ไปให้ เพราะประชาชน เห็นด้วย ว่าทักษิณไปได้เลย ปฏิวัติ ไปเสีย แต่เสร็จแล้ว แทนที่จะเปลี่ยนผ่าน ได้ดีงาม ก็กลับเข้า ระบอบเดิมอีก ก็เลยน่าเสียดาย เพราะไม่เข้าใจ ประชาธิปไตยแท้จริง

        การได้นายกฯสามครั้ง ที่ไม่ได้มาจาก เลือกตั้ง ทั้งสามครั้ง มาเป็นรัฐบาล โดยเหตุการณ์ ไม่ปกติ ไม่ได้หวัง มาสืบทอดอำนาจ แต่เข้ามาเพื่อ เปลี่ยนผ่านอำนาจ จากคนกลุ่มน้อย ไปสู่คนหมู่มาก เป็นประชาชน ทั้งสาม รัฐบาล ก็ไม่สามารถแก้ไข ให้ประชาชน ได้ปกครองตนเองเลย ทำได้แค่ การเขียนรัฐธรรมนูญ ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง กลับทำให้เป็น เผด็จการ ซับซ้อนยิ่งขึ้น

        สร้างอำนาจ จนข้าราชการประจำ หงอเลย อย่างทักษิณทำนี่ หยิ่งผยองเลย ส่งเสาไฟฟ้าลงก็ได้ ส่งไม้จิ้มฟัน ลงสมัครก็ได้ เขาทำสำเร็จด้วย เป็นอำนาจผูกขาด ที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย คนถูกหลอก ก็ไปเป็นบริวาร

        ถ้าไทยจะมีบุญวาสนา เกิดรัฐบาลเฉพาะกาล ครั้งที่สี่ขึ้นมา ก็อย่าได้มุ่งแก้ไข รัฐธรรมนูญ แล้วจัดเลือกตั้ง เท่านั้น เพราะไทยเรา มีรัฐธรรมนูญ ๑๘ ฉบับ เลือกตั้งมา ไม่รู้กี่ครั้ง เรายึดเอา การเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตย มาช้านานแล้ว

        รัฐบาลเฉพาะกาล ควรทำภารกิจ ศักดิ์สิทธิ์ คืนอำนาจ ให้แก่ประชาชน ตามพระราชปณิธานของ ร.๗ ได้เทอญ

        ๘๑ ปีมาแล้ว ประเพณีตามมาตรา ๗ ที่เคยมีมา ตามบริบทของ รัฐธรรมนูญนี้ อย่างที่ ท่านยินดีใช้คำว่า บริบทของ รัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับนี้

        เรามาประท้วงนี่ยาวนาน เรียบร้อยสันติ อาตมาอยากจะทวน ข้อเขียนของ ท่านยินดี

        ทางออกของประเทศตามทฤษฎีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

      บทความทางวิชาการ  ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ
       อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 24 มี.ค. 57

       
       ข้อ 1.ตามหลักการปกครองแล้ว ผู้ปกครองหรือรัฐบาล เป็นผู้รักษากฎหมาย มีหน้าที่ ต้องปฏิบัติ ตามกฎหมาย ดูแลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชน ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้ประชาชน และสังคม อยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข
       
       แต่ถ้าผู้ปกครองหรือรัฐบาล เป็นผู้กระทำ ผิดกฎหมายเสียเอง ไม่ว่าจะเป็น การกระทำผิด โดยการใช้ อำนาจบริหาร หรือใช้อำนาจ โดยกลไกทางรัฐสภา เพื่อฉ้อฉล ให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ที่จะใช้บังคับได้ ในเชิงกฎหมาย หรือเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจในทางกฎหมาย ที่ไม่ชอบ หรือ เพื่อให้ได้มา ซึ่งผลประโยชน์ อันไม่ชอบ ด้วยวิธีการทุจริต คอรัปชั่นนั้น เป็นการบิดเบือน และฉ้ออำนาจอธิปไตย ของประชาชน โดยอาศัย ความไว้วางใจของ ประชาชน ที่ได้มอบอำนาจ ให้ไปใช้อำนาจ ในทางบริหารหรือทางรัฐสภา การกระทำ ดังกล่าว เป็นอาชญากรรม( Criminal Syndicalism ) มิใช่เป็นการ ใช้อำนาจบริหาร หรืออำนาจนิติบัญญัติ ในระบอบประชาธิปไตย ( Democratic theories ) แต่เป็นลัทธิ รวบอำนาจ ( Totalitarianism ) อันมีผล เปลี่ยนแปลง ในทางการเมือง ซึ่งเป็นอำนาจ ทรราชย์ (Tyrant ) นั้น เป็นการกระทำ ความผิดอาญา ในทางการเมือง ( Political offence )

       
       ในทำนองเดียวกัน พรรคการเมือง ที่ประกาศไม่ยอมรับ อำนาจศาล หรือ คำวินิจฉัยของศาล ซึ่งเป็นอำนาจ อธิปไตยของรัฐ ในระบอบ ประชาธิปไตย ไม่ยอมรับ อำนาจตรวจสอบ ขององค์กรอื่น ของรัฐ เป็นการปฏิเสธ การตรวจสอบ และการฟ้อง เจ้าหน้าที่ระดับสูง ในทาง อาญา (impeachment) หรือการกระทำ ของพรรคการเมือง และสมาชิก พรรคการเมืองที่ เป็นผู้ปกครอง ต้องการแบ่งแยกประเทศ หรือการกระทำของ พรรคการเมือง และสมาชิกพรรคการเมือง ที่ไม่ยอมรับ การกระทำของ ประชาชน ที่ได้แสดงออก ตามวิถีทาง ในระบอบ ประชาธิปไตย โดยสงบ ปราศจากอาวุธ และประกาศ จะทำการรบกับประชาชน นั้นเสียเอง โดยพรรคการเมือง ซึ่งมีอำนาจปกครองนั้น ได้ใช้กำลัง ปราบปราม และได้ร่วมกัน แสดงออก ซึ่งการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ยุยงส่งเสริม ทั้งในทางลับ และทางแจ้ง ต่อสมาชิก พรรคการเมือง หรือกองกำลังของ พรรคการเมืองของตน ที่จะทำการรบ กับประชาชน ผู้ชุมนุม ผู้ใช้สิทธิ ตามรัฐธรรมนูญ จนเป็นที่ประจักษ์ต่อ สาธารณชน โดยทั่วไปแล้วนั้น การกระทำดังกล่าว ของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นผู้ปกครอง หรือรัฐบาลนั้น เป็นการปฏิเสธ ความเป็นรัฐ-ชาติ ของรัฐไทย ( nation- state ) อันเป็นการไม่ยอมรับ การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็น ประมุข ซึ่งเป็นการกระทำ ที่มีเจตนา ที่จะให้มีผลเปลี่ยนแปลง ในทางการเมือง อันเป็นการกระทำ ที่เข้าข่าย ของการเป็นกบฏ และเป็นความผิดต่อ ความมั่นคงของรัฐ การกระทำดังกล่าว ย่อมเป็นอาชญากรรม ( Criminal Syndicalism ) ด้วยเช่นกัน
       
       การที่คณะรัฐมนตรีรักษาการ ได้ประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรง และ ตั้งศูนย์รักษา ความสงบเรียบร้อย หรือ ศรส. และนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมาย ให้ดูแลการเลือกตั้ง ได้ทั่วราชอาณาจักรนั้น จึงเป็นกรณีที่ คณะรัฐมนตรีรักษาการ ได้ใช้ทรัพยากร หรือบุคลากรของรัฐ เพื่อกระทำการใดๆ  ซึ่งมีผลต่อ การเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการกระทำการ อันขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (4) อันเป็นการกระทำ ผิดเงื่อนไขของ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ทำหน้าที่ คณะรัฐมนตรีรักษาการ ซึ่งเข้าข่าย เป็นการกระทำ ความผิดอาญา  ในทางการเมือง
       
        การกระทำ อันเป็นอาชญากรรม หรือกระทำความผิดอาญา ในทางการเมือง ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจ การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย ตามที่ได้รับเลือกตั้งมา และ การกระทำดังกล่าว ขัดต่อเจตนารมณ์ ของประชาชน ที่ได้เลือกตั้งมา ขัดต่อทฤษฎีการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย

       
       ข้อ 2. การที่ผู้ปกครอง หรือรัฐบาล กระทำการ อันเป็นอาชญากรรม หรือการกระทำ ความผิดอาญา ในทางการเมือง จึงก่อให้เกิด อำนาจหน้าที่ และสิทธิ โดยชอบด้วยกฎหมาย ในทางการเมือง ของประชาชน ในระบอบ ประชาธิปไตย ( Legitimate political authority ) ที่จะชุมนุมต่อต้าน คัดค้าน และเรียก อำนาจ การปกครอง หรืออำนาจอธิปไตย ของประชาชน กลับคืน จากผู้ปกครอง รวมถึงการมีสิทธิและหน้าที่ ที่จะกำหนด หลักเกณฑ์ และกติกา ในทางการเมือง ( Right to rule ) ขึ้นได้ อำนาจหน้าที่ และสิทธิดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ และสิทธิ โดยพฤตินัย ของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย ( de facto authoritus ) ตามทฤษฎีการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย
       
        เมื่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 63 และ 69 ได้บัญญัติรับรอง อำนาจหน้าที่ และสิทธิ ของประชาชน ให้มีเสรีภาพ ในการชุมนุมต่อต้าน โดยสันติวิธี โดยสงบ และปราศจากอาวุธ ในการกระทำใดๆ ของรัฐบาล หรือผู้ปกครอง อันเป็นการกระทำ เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครอง  ประเทศโดย วิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญแล้ว และรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติ ถึงสิทธิ ในการกำหนดหลักเกณฑ์ และกติกา ในทางการเมือง ไว้ในบริบทแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 โดยได้มี พระบรมราชโองการ ประกาศเป็นบริบทไว้ว่า “ให้ ประชาชนมีบทบาท และมีส่วนร่วม ในการปกครอง และตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐ อย่างเป็น รูปธรรม การกำหนดกลไก สถาบันทางการเมือง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ให้มี ดุลยภาพ และประสิทธิภาพตามวิถีการปกครอง แบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาล และองค์กรอิสระอื่น สามารถปฏิบัติหน้าที่ ได้โดยสุจริต เที่ยงธรรม ” นั้น
       
       ดังนั้น ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 , 69 และตามบริบทแห่ง รัฐธรรมนูญ ดังกล่าวข้างต้น อำนาจหน้าที่ และสิทธิ ในการต่อต้าน คัดค้าน เรียกอำนาจอธิปไตย ของประชาชน คืนจากผู้ปกครอง หรือรัฐบาล และ อำนาจหน้าที่ และสิทธิ ในการกำหนดหลักเกณฑ์ และกติกา ในทางการเมืองของ ประชาชน จึงเป็นอำนาจหน้าที่ และ สิทธิโดยนิตินัย ของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ ( de jure authoritus )
       
       เมื่อผู้ปกครองหรือรัฐบาล กระทำความผิดอาญา ในทางการเมือง ประชาชน จึงมีอำนาจหน้าที่ และสิทธิ ทั้งโดยพฤตินัย ( de facto authoritus ) และนิตินัย ( de jure authoritus ) ที่จะให้รัฐบาล  พ้นจากอำนาจ การปกครองได้ รวมทั้งมีสิทธิและหน้าที่ ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ และกติกา ในทางการเมือง หรือที่ เรียกว่า การปฏิรูปการเมือง ได้ตามหลักการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย ( Democratic theories ) และ ตามรัฐธรรมนูญ
       
       การกระทำความผิดอาญา ในทางการเมือง ของรัฐบาล ซึ่งเป็นต้นเหตุ ให้มีการชุมนุมคัดค้าน และเรียกอำนาจ การปกครอง คืนจากรัฐบาล เมื่อรัฐบาล ประกาศยุบ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกตั้งใหม่ อำนาจอธิปไตย จึงคืนกลับมา เป็นของประชาชนโดยการยุบสภา ประชาชน จึงมีอำนาจหน้าที่ ทั้งทางพฤตินัย และนิตินัย ที่จะไม่ให้รัฐบาล มีอำนาจ หน้าที่ ในการบริหาร ราชการแผ่นดิน ต่อไปได้ตามรัฐธรรมนูญ และมีสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบ ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ และกติกาทางการเมือง ( right to rule ) เพื่อให้การปกครอง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร มีดุลยภาพ และประสิทธิภาพ ในการตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐ ตามวิถีการปกครอง แบบรัฐสภาได้
       
       รวมทั้งมีสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบ ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ และกติกา ให้คณะกรรมการ การเลือกตั้ง ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ให้ปฏิบัติหน้าที่ได้โดย สุจริตเที่ยงธรรมได้ โดยอำนาจหน้าที่สิทธิและความรับผิดชอบ ของประชาชนดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ สิทธิและความรับผิดชอบที่พระมหากษัตริย์ ได้ทรงพระราชทาน ให้แก่ประชาชน และข้าราชการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง การปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย ข้าราชการและประชาชน จึงมีอำนาจอธิปไตย ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ และกติกา ในทางการเมืองได้ ตามหลักทฤษฎี Divine Right of King Theories and Democratic Theories
       
       ข้อ 3. การใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรี ในขณะเป็นรัฐบาล และในขณะเป็น คณะรัฐมนตรี รักษาการ ได้มีการกระทำ ที่เข้าข่าย เป็นความผิดอาญา ในทางการเมือง เมื่อผู้ปกครอง ซึ่งกระทำความผิดอาญา ในทางการเมือง ได้เข้ามา ดำเนินการเลือก ตั้ง โดยมีอำนาจ ในการดำเนินการ และจัดการเลือกตั้ง ร่วมกับ ประธานกรรมการ การเลือกตั้ง ตามพระราชกฤษฎี การยุบสภา ผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 มาตรา 5 เมื่อเข้ามา ดำเนินการเลือกตั้ง ก็ทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (4) โดยให้ศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย ดำเนินการเลือกตั้ง ซึ่งก็เป็น การกระทำ ความผิดอาญา ในทางการเมือง ซ้ำอีก เมื่อการเลือกตั้ง อยู่ในอำนาจดำเนินการ โดยผู้กระทำ ความผิดอาญา ในทางการเมือง นั้น การเลือกตั้ง จึงไม่มีผล เป็นการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นไปตาม ทฤษฎีทางอาญาว่า “ การกระทำผิดอาญา ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นจากนั้นไม่มีผล ” [ Crimen omnia ex se nata vitiat ( ละติน ) หรือ Crime vitiates everything which springs from it ]
       
       และการที่ผู้ปกครอง หรือรัฐบาล ได้กระทำผิดอาญา ทางการเมือง จึงเป็นเรื่อง ผู้ที่มีอำนาจรัฐ ไม่อยู่ภายใต้ กฎหมาย ทำตัวเป็นผู้อยู่เหนือ กฎหมาย จึงเป็นกรณีที่ มีนัยสำคัญ เกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักร อย่างยิ่ง เพราะรัฐบาล ที่ไม่อยู่ใต้กฎหมาย ทำตัวอยู่เหนือกฎหมาย แต่เป็นผู้ใช้บังคับ กฎหมายได้นั้น จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ความมั่นคงของ ราชอาณาจักรโดยตรง ซึ่งเป็นไปตาม สุภาษิตกฎหมายว่า “ ไม่มีความมั่นคง ในราชอาณาจักรใด ยิ่งไปกว่า การที่ทุกคน อยู่ใต้กฎหมาย ” [ Nihil tam proprium est imperii quam legibus vivere (ละติน ) หรือ Nothing is so proper for the empire than to live according to the law ]
       
        การเลือกตั้งที่มีขึ้น หรือจะมีขึ้น ระหว่างการบริหาร ราชการแผ่นดิน ของคณะ รัฐมนตรีรักษาการ ซึ่งได้กระทำ ความผิดอาญา ในทางการเมือง ทั้งก่อนการยุบสภา และภายหลัง การยุบสภา นั้น จึงไม่อาจเกิดผล เป็นการเลือกตั้ง ในระบอบประชาธิปไตยได้เลย แต่จะเป็นการเลือกตั้ง ที่เป็นภยันตราย อย่างมหันต์ ต่อความมั่นคง แห่งราชอาณาจักร ตามหลักทฤษฎีอาญา และสุภาษิตกฎหมาย ดังกล่าว
       
       ข้อ 4. เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยว่า การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ จึงมีผลในทาง รัฐธรรมนูญ ต่อการอยู่ในตำแหน่งของ “ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ที่พ้นจากตำแหน่ง ” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ซึ่งไม่อาจอยู่ในตำแหน่ง ได้อีกต่อไป เพราะไม่มี คณะรัฐมนตรี ที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ามารับหน้าที่แทน ได้อีกแล้ว เงื่อนไขและเงื่อนเวลา ของการอยู่ในตำแหน่ง ของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี รักษาการ ตามอำนาจหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 จึงสิ้นสุดลง เพราะการเลือกตั้ง เป็นโมฆะ ทั้งนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เป็น สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ไม่อาจเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 171 วรรคสอง และไม่ได้อยู่ในตำแหน่ง โดยอาศัยอำนาจอธิปไตย ของประชาชน ในฐานะเป็นผู้แทน ประชาชนแล้ว นายกรัฐมนตรี จึงไม่อาจอยู่ รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้อีกต่อไป นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีรักษาการ จึงไม่มีฐานแห่ง อำนาจหน้าที่ทั้งทาง กฎหมาย และในทางการเมือง ที่จะอยู่ในตำแหน่งได้ ( Illegitimate political authority ) ไม่มีคุณสมบัติ ในทางการเมือง ที่จะอยู่รักษาการ ได้อีกต่อไป ( Political disability ) การอยู่ใน ตำแหน่งต่อไป ย่อมเป็นการกระทำที่ เข้าข่ายของ การก่ออาชญากรรม หรือ กระทำความผิดอาญา ในทางการเมืองได้ เพราะเข้าข่าย เป็นการปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่มีอำนาจหน้าที่ เป็นประการแรก แม้ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัย ในทำนองแนะนำ ให้คณะกรรมการ การเลือกตั้ง และ รัฐบาล ไปหาแนวทาง การเลือกตั้ง กันนั้น ข้อแนะนำของ ศาลรัฐธรรมนูญ หรือคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่อาจ ล้มล้าง อำนาจหน้าที่ สิทธิและความรับผิดชอบ ของประชาชน และข้าราชการ ที่จะกำหนด หลักเกณฑ์และกติกา ในทางการเมือง หรือการปฏิรูปการเมือง อันเป็นอำนาจอธิปไตย ที่ได้รับพระราชทาน จากพระมหากษัตริย์นั้น ได้เลย
       
       การกระทำใดๆ ของคณะกรรมการ การเลือกตั้ง และนายกรัฐมนตรี กับคณะรัฐมนตรี รักษาการ เพื่อจะให้มี การเลือกตั้ง และได้ผลของ การเลือกตั้ง ที่จะมาเป็น ผู้ปกครอง โดยไม่คำนึงถึง สิทธิเสรีภาพ และอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของประชาชน ผู้ใช้สิทธิ เลือกตั้ง เพราะต้องการจะเป็น ผู้ปกครองให้ได้ แต่ฝ่ายเดียวนั้น ก็จะกลายเป็น การเลือกตั้ง ที่ละเมิดต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน และอำนาจอธิปไตย ซึ่ง เป็นของประชาชน อันเป็นการกระทำ ที่นอกจาก จะผิดกฎหมายแล้ว ยังเป็นการกระทำที่ ไม่ใช่เป็นการเลือกตั้ง ในระบอบประชาธิปไตย อีกด้วย
       
       การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยนั้น จะต้องใช้การเลือกตั้ง เป็นวัตถุประสงค์ และเครื่องมือของประชาชน ผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง ซึ่งเป็นเจ้าของ อำนาจอธิปไตย ไม่ใช่ใช้ประชาชน เป็นเพียงวัตถุ ของการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจรัฐ การเลือกตั้ง ที่ใช้ประชาชน เป็นเพียงวัตถุ ของการเลือกตั้งนั้น เป็นการเลือกตั้ง ในระบอบ ทรชนาธิปไตย ( Kakistocracy ) คณาธิปไตย ( Oligarchy ) หรือ ธนาธิปไตย ( Plulocracy ) ซึ่งก็คือ ใช้การเลือกตั้ง เพื่อปล้นอำนาจอธิปไตย ของประชาชนไป นั่นเอง
       
       ข้อ 5. ทฤษฎีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และทฤษฎีอำนาจ ที่ได้รับพระราชทาน จากพระมหา กษัตริย์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ใช้กัน ในสากลนั้น แม้ประชาชน มีอำนาจหน้าที่ และสิทธิ ทั้งทางพฤตินัย และนิตินัย ในการมีส่วนร่วม ในการปกครอง ตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐ มีสิทธิและหน้าที่ ที่จะกำหนดกลไก สถาบัน ทางการเมือง ทั้งทางฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ตลอดจน ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระ ได้ตามที่บัญญัติไว้ ตามบริบทของ รัฐธรรมนูญ ได้ก็ตาม แต่ก็มีข้อขัดข้อง ทั้งในทางรัฐธรรมนูญ และทางกฎหมาย ที่ประชาชน ไม่สามารถใช้ อำนาจหน้าที่และสิทธิ ให้มีผล ในทางปฏิบัติได้ เพราะเป็นกรณีที่ ต้องดำเนินการ โดยต้องใช้ อำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติที่ จะดำเนินการได้ ปวงประชาชนชาวไทย จะต้องถวายคืน อำนาจอธิปไตย ของปวงชนชาวไทย แด่พระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นประมุข เพื่อให้เกิด อำนาจรัฐสูงสุด เมื่อประเทศไทย มีการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย และประเทศ ขาดรัฐสภา คณะรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์ไม่อาจใช้ อำนาจอธิปไตย ของปวงชนชาวไทย ทางรัฐสภา และ คณะรัฐมนตรี ได้ จึงเป็นพระราชอำนาจ โดยอำนาจ อธิปไตย ที่ประชาชน ถวายคืน ตามช่องทาง ของอำนาจ อธิปไตย ของประชาชน ที่ยังคงมีเหลืออยู่ เพื่อดำเนินการ ตามวิถีทาง ปกครองประเทศ ในระบอบ ประชาธิปไตย อันจะยังไว้ ซึ่งความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรไทย ที่มีการปกครอง ในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขได้ ทั้งนี้เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 2 มาตรา 3 มาตรา 7 และตามหลัก ทฤษฎีสากล คือ Divine Right of King Theories and Democratic Theories

            อาตมาออกมาทำงานนี่ ก็ทำในแง่มุม ที่เขาไม่มีกัน เช่น เรื่องความสงบ สยบความรุนแรง อาตมา เชื่อว่า สิ่งถูกต้องดีงาม ย่อมมีธรรมฤทธิ์ ธรรมะย่อมชนะอธรรม เรากองทัพธรรม ยกมาทั้งกองทัพ เราออกมา แสดงธรรม แสดงความสงบ เรียบร้อย เสียสละอดทน เกื้อกูล น้ำใจ เอื้อเฟื้อ เจือจาน

            ไม่ใช่ดื้อรั้นดึงดัน เป็นอกุศลทุจริต ยึดมั่นถือมั่น ส่วนเรายืนหยัดยืนยัน ไม่ใช่ความถือมั่นอย่างอกุศล แต่เป็นการยืนหยัด อย่างมั่นคง แข็งแรง มีนัยต่างกัน

            ฝ่ายแดงดื้อด้านดึงดัน เหนือกำลังวังชา ส่วนเรายืนหยัด ไม่ถอย ฝ่ายแดงก็ว่า ไม่ชนะไม่เลิก ฝ่ายกำนัน ก็ประกาศ ไม่ชนะไม่เลิก แต่ทางโน้น เขามึงมา พาโวย จะตั้งกองทัพ อวดใหญ่ อวดร้ายแรง เบ่งข่ม เขียนเสือ ให้วัวกลัว แม้ทำขัด รัฐธรรมนูญก็ทำ ยิ่งเห็นยิ่งปรากฏชัดเจนว่า พวกอธรรม ก็ต้องทำอธรรม ผู้เป็นฝ่ายธรรมะ ก็ต้องทำธรรมะ ผู้มีภูมิปัญญา ก็ต้องรู้เห็น ชัดเจน

            เรามาทำความชอบธรรม ทั้งทางโลก ที่เข้าใจยอมรับกัน และในทางธรรม แนวลึก ซึ่งเข้าใจยาก ว่าความสงบ จะมาสยบ ความรุนแรง เป็นเรื่องเข้าใจยาก ปฏิบัติยาก จะทำให้สงบ ได้นานขนาดนี้ ทั้งที่ถูกยั่วยุ ทำลาย ให้เรากิเลสขึ้น จนทนไม่ได้ ต้องวู่วาม ต้องทำสิ่งไม่ดี โต้ตอบ สารพัด ที่มีวิธีการซับซ้อน แต่พวกเรา ก็พอเป็นไปได้ อย่างดี ไม่อยากจะพูดว่า ดีมาก บริบูรณ์ ๑๐๐ % ก็มีบางคน จิตไม่แข็งแรง ก็โต้ตอบบ้าง ซึ่งไม่แรง เหมือนพวกเขา ที่เอาตาย จนพวกเราตายไป หลายคนแล้ว

            เราทำมานานก็ถือว่า ชนะรายทาง มาเรื่อยๆ เขาเป็นผู้ไม่สงบ มากระทำ กับพวกเรา ปฏิเสธไม่ได้ เขาหาว่า เราทำเอง หลอกชาวบ้าน เล่เหลี่ยมลีลาสารพัด แต่เอาเถอะ ยังไงผู้มีปัญญา ก็รวบรวมความจริง อาตมามั่นใจว่า เพราะยืนบนฐาน ความจริง ก็ดำเนินมาได้ จนป่านนี้ ก็ชนะ เป็นการพิสูจน์ธรรม คุณธรรมแท้จริง ของคนไทย ภูมิใจ ที่คนไทย มีคุณธรรมโลกุตระ ไม่ใช่แบบโลกีย์

           
            อำนาจที่เราทำนี้ เป็นธรรมฤทธิ์ ที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง ก็ต้องตะโกนบอกว่า ตนเองก็สันติๆ แต่พฤติกรรม ก็สะสมคน อาวุธ ตลอดเวลา มันค้านแย้ง กับสิ่งที่พูด เป็นสิ่งจริง ในประเทศชาติ

            ขอให้พวกเราตั้งใจ อดทนเสียสละ มาถึงวินาทีนี้ ประชาชนไทย แพ้ไม่ได้ คราวนี้ยังไง ก็อดทน อุตสาหวิริยะ ทำได้อย่างมาก เราก็มีปริมาณคน ไม่ได้บังคับให้มา หรือหลอกล่อให้มา เป็นการวัดค่าวิธีง่ายๆ ที่ใครมากกว่า ก็ชนะ แต่ที่จริง ต้องวัดคุณธรรม ผู้มีธรรมแม้มีน้อย ก็ควรชนะ แต่นี่เราก็พยายาม  แม้เขาจะเถียง เรื่องหมู่มวล ปริมาณ ซึ่งประชาธิปไตย ต้องมีสองฝ่าย คือฝ่ายค้าน กับฝ่ายปฏิบัติการ ถ้าไม่มีฝ่ายค้าน ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย

            ฝ่ายค้านต้องไม่รุนแรง เอาเหตุผล คุณธรรมถูกต้อง มาชี้วัด ไม่ใช่ใช้รุนแรงวัดกัน

            เชื่อว่าคนไทยยังเข้าใจได้ เป็นแต่เพียง ยังขาดน้ำใจ เสียสละ ถ้าคนที่ยังไม่มีน้ำใจ ไม่เสียสละ ก็เสียสละ ออกมา แสดงมวลให้แจ้งชัด ว่านี่คือ มวลมหาประชาชน ออกมาแสดง ความจริงข้อนี้ เสียสละหน่อย รวมกัน เป็นครั้งๆ ประท้วงต่อไป กินๆนอนๆ กลางถนน ตากแดด ตากลม อดทนก็ทำไป พอถึงเวลาวาระ จะมากัน ก็เพิ่มจำนวนนะ แต่ละครั้ง ที่ชุมนุมกัน รวมพลกัน เป็นครั้งๆ ครั้งนี้ก็ประกาศ วันที่ ๒๙ ออกมา ให้มืดฟ้า มัวดิน ก็ให้มากัน ผู้สามารถมาได้ ก็มาก่อน เหลือวิสัยมาไม่ได้ ก็รวมกันที่ จังหวัดตน ทั้ง ๗๗ จังหวัด ประกาศมวล โดยให้เห็นว่า มวลนี้จะปฏิรูป ให้รัฐบาลนี้ออก เราเอาปฏิรูป ก่อนเลือกตั้ง เราไม่ปฏิเสธเลือกตั้ง แต่เรามี ระยะเวลา เขาก็ว่าไปเรื่อย ว่าเราไม่เลือกตั้ง

            คนหลงเชื่อ ก็หลงไป คนเข้าใจดี ก็ไม่มีปัญหา คุณมีใจ ออกมาแสดงก็ดี ก็ควรต้องใช้กาละ เสียสละเวลา เพื่อบ้านเมือง ออกมาแสดงเช่นนี้ มาหลายครั้งแล้ว

            ถ้าครั้งนี้มาได้ จนเขาพูดไม่ออก ถ้าออกมาถึง ๒๐ ล้านขึ้นไป อาตมา จะดูสิว่า คนดื้อด้าน จะทำอย่างไร หนึ่งในสาม ของประเทศ เชียวนะ คนออกมา แสดงตัว แสดงรัฐาธิปัตย์สดๆ ไม่เหมือนไปเลือกตั้งคน ไปรับใช้ประชาชนนะ

            การออกไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนี้ เป็นอำนาจชนิดหนึ่ง เป็นอำนาจ ระดับรองลงไป หลายขั้นเลย

อำนาจในระบอบประชาธิปไตยอันมีประมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๘ ลำดับขั้น
อำนาจลำดับที่ ๑ คือ อำนาจของประชาชน ออกมาประท้วงยืนยัน คะแนนเสียง ๑ คน ๑ เสียง
อำนาจลำดับที่ ๒ คือ พระมหากษัตริย์ ผู้เป็นรัฐาธิปัตย์ตาม Supreme law
(อำนาจลำดับที่ ๑ ร่วมกับอำนาจลำดับที่ ๒ เป็น ราชประชาสมาสัย)  อันนี้สำคัญเพราะมีนิติราชประเพณี แต่โบราณ และขนบธรรมเนียมประเพณีของราษฎร ที่กลมกลืนกัน บังเอิญขณะราษฎร์ขัดกับ พระมหากษัตริย์ ไม่เป็นราชประชาสมาสัย จึงดำเนินการ เป็นประชาธิปไตย ไม่สำเร็จ
อำนาจลำดับที่ ๓ คือ พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจนั้นผ่าน ๓ สถาบันคือ สถาบัน
                 นิติบัญญัติ (รัฐสภา) บริหาร(ครมาตรา ) และตุลาการ(ศาล) อันนี้เป็นลัทธิตะวันตก ซึ่งถือว่า อำนาจแต่ละอำนาจ ต้องแยกกันและถ่วงกัน ของไทยปนเปกันหมด สักแต่อ้างกษัตริย์  แต่อำนาจกษัตริย์ตามทฤษฎี และประเพณีประชาธิปไตยตะวันตก รัฐบาลและกฎหมาย กับลิดรอนอำนาจกษัตริย์ ไปเสียอย่างชิ้นเชิง
อำนาจลำดับที่ ๔ คือ ประชาชนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามกฎหมาย  ในประเทศประชาธิปไตยส่วนใหญ่ไม่บังคับ แต่ส่วนน้อย ก็มีบังคับให้ไปเลือกตั้ง
อำนาจลำดับที่ ๕ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (สส.) ในประเทศประชาธิปไตย ต้องไม่บังคับสังกัดพรรค
อำนาจลำดับที่ ๖ คือ นายกรัฐมนตรี ที่ได้รับการเลือกจาก สส. ในประเทศ ประชาธิปไตยไม่มีประเทศใด กำหนด  ส่วนใหญ่ก็อนุโลมกัน โดยเฉพาะประชาธิปไตย ที่มีระบบพรรคเข้มแข็ง ถึงกระนั้น กษัตริย์อังกฤษ คือราชินีอลิซาเบธ ก็เลือกคนนอก คือเซอร์ดักกลาส ฮูมมาเป็นนายกฯ เมื่อปี 1965
อำนาจลำดับที่ ๗ คือ คณะรัฐมนตรี ที่นายกฯ เป็นผู้เลือกมาทำงาน ในประเทศประชาธิปไตย พรรคกำหนดตัวมา ให้นายกเลือกตั้ง แต่ยังไม่เลือกตั้ง คือผู้นำนโยบายสำคัญต่างๆ ที่แข่งขันกันขึ้นมา ในพรรค ไม่ต้องเอาว่า คนนั้นคนนี้ เพราะส่วนใหญ่เป็นไปตามสูตร ข้อยกเว้นมีแต่มีย้อย
อำนาจลำดับที่ ๘ คือ ข้าราชการ ที่ต้องเป็นกลไก ที่เป็นกลาง และมีความสามารถ ในการนำ นโยบายการเมือง มารับใช้ราษฎร มิใช่หากินกับราษฎร และเอาราษฎร ไปรับใช้ หรือเป็นเบี้ยล่างการเมือง
           
            พวกเราก็อยู่ประท้วงกันมา ยาวนาน บางคน ไม่ไปไหนเลยก็มี ต้องปรบมือ ให้ตัวเอง อย่างชาวอโศก ที่มาทำนี่ ก็ทำงานฟรี ไม่เอาลาภแลกลาภ พ้น ลาเภนลาภัง นิชิคิงสนตา ได้เลย

            ที่มานี่ไม่ได้สะดวก ต้องปรับ ไปตามสภาพ ไม่ใช่ของถาวร เป็นของจร ต้องดูแลรักษา ประคับประคอง ไม่ให้เสียสูญ ซ่อมแซม แต่เราก็อุตส่าห์ ทำงานนี้มาได้ ที่อาตมาพาทำนี่ ไม่ใช่เรื่องยิ่งใหญ่ แต่เป็นการเสียสละ ไม่ได้บังคับ ใครมีน้ำใจ มีปัญญา ก็มา ได้แต่ขอบคุณน้ำใจ

            ตอนนี้เป็นโอกาส ที่จะได้มา ร่วมไม้ร่วมมือ ต้องระดมกันมา ให้มาก จะได้มีตัวชี้วัด ที่มีประสิทธิภาพ ไม่อย่างนั้น ก็จะไม่ได้ลักษณะที่ดี ของมนุษยชาติ เป็นลักษณะรุนแรง ไม่สงบเรียบร้อย แต่ยุคนี้ น่าจะเจริญแล้ว ไม่น่าจะมีลักษณะไม่ดี

            ครั้งนี้เห็นได้ว่า น่าจะชนะนะ อาตมาไม่ได้หลงผิดนะ ส่วนฝ่ายแดงเขาก็ว่า เราหลงผิด แล้วใคร เป็นของจริงหว่า อาตมาว่า ที่พูดนี่ ไม่ได้ประเล้าประโลม หลอกล่อนะ เท่าที่อาตมา มีภูมิปัญญา ประเมินผลนะ เราชนะด้วย ลักษณะต่างๆ ดีงามกว่า ปริมาณมากว่า มีสองอย่างนี้ เท่านั้น คุณภาพและปริมาณ เห็นชัดๆว่าชนะนะ

            จิตของเราสงบ อย่างที่เรียกว่า ไม่มีอกุศลในจิต แม้มีการกระทบ สัมผัสอยู่ ทั้งที่เขายั่วยุ กระทุ้งกระแทก ให้เราขึ้น เราก็ไม่ขึ้น อันนี้มีทั้ง เจโตและปัญญา เป็นอุภโตภาควิมุติ

            ดูสิว่า ถ้าคุณธรรมในไทย มีมาก ไม่ต้องมีอาวุธ ไม่ต้องมีทหาร แต่ประเทศไทย จะมีน้ำใจ สร้างสรร สร้างอาหาร กสิกรรม เครื่องใช้ ปัจจัย ๔ ที่ต้องอาศัย ใช้สอยอย่างดี แล้วเกื้อกูล แจกจ่าย

            หรือเรามีความรู้สามารถ ช่วยเหลือ มนุษยชาติ แจกจ่าย เจือจาน แม้ขาย ก็ขายถูกกว่าทุน เป็นขาดทุน คือกำไรของเรา ทำเป็นประจำเลย เราอุดมสมบูรณ์​ ปฏิบัติธรรม ไม่หลงหรูหรา มักน้อยสันโดษ พอกินพอใช้ พอเพียง ตามในหลวงตรัส แล้วเราก็มีเหลือ พอแจกจ่าย ไม่ไปเอาเปรียบใคร เราเสียสละ เท่าที่เราทำได้ ประเทศต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากเรา เรามีฑูตไปต่างประเทศ ไม่ใช่ไปสอดแนม เพื่อจะเอาเปรียบเขา ไม่ใช่ เราไม่ต้องรักษา ผลประโยชน์ของเรา แต่เราให้ฑูตเรา ไปสอดส่องว่าเขาต้องการ ความช่วยเหลืออะไร เราก็ไปช่วยเหลือเขา เรามีฑูตชนิดนั้น เขาก็ไม่ต้อง ไประวังดูแลอะไร แต่เราไปเชื่อมโยง ว่าเราจะช่วย อะไรเขา

            ไปให้ประโยชน์แก่ประเทศต่างๆ นี่คือนโยบาย ต่างประเทศ หากเราจะทำ แม้แต่ธุรกิจ พาณิชย์ ก็เป็นนักธุรกิจ ในเศรษฐศาสตร์ บุญนิยม ช่วยเหลือมนุษยชาติ ขาดทุนของเรา คือกำไรของเรา เราอยู่แบบคนจน เป็นเรื่องประหลาด เราไม่รวย ไม่สะสม เราอยู่พอเพียง พอเป็นไป จิตสันโดษ ไม่สะสม ไม่ต้องเบ่ง อวดอ้าง หรูหรา ถ้าจะต้องสร้าง สิ่งใหญ่โต ก็เพราะควรทำ เรามีแรงงาน มีส่วนเหลือ ไม่ทำเบ่งข่ม เราสร้างเพื่อ ให้เป็นของส่วนกลาง จะเป็นสิ่งใหญ่โต ศิลปะก็เป็นสิ่งส่วนกลาง เป็นศิลปะวัฒธรรม เพื่อยืนยัน ความเจริญ ของชาติ ไม่ใช่ทำแบบคนรวย ทำเบ่งใหญ่ ให้คนเห็น

            เราจนแต่ไม่เป็นหนี้ จนแต่แจกจ่าย ช่วยเหลือผู้อื่น นี่คือ คนจนมหัศจรรย์ พึ่งตนรอด ช่วยตนได้ เหลือเฟือ เป็นเศรษฐศาสตร์บุญนิยม
๑. ไม่เป็นหนี้
๒. ทำกินทำใช้ให้พึ่งตนเองได้
๓. ทำให้เหลือกินเหลือใช้
๔. แจกจ่ายสะพัดออก เผื่อแผ่แก่ผู้อื่น

            จะเรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียง ขาดทุนคือกำไร แบบคนจน ก็เหมือนกัน

            ชาวอโศกเป็นได้แล้ว ไม่ได้พูดอวดอ้าง อวดโชว์ เบ่งข่มอะไรนะ เป็นเรื่องจริง ที่ทำไม่ง่าย แต่ถ้าทำตาม พระพุทธเจ้า  ก็เป็นไปได้ สำเร็จ

            คุณธรรมที่ว่านี้ จะพยายามอธิบาย นำเสนอ พากันเป็น จนกว่าชีวิต จะหาไม่ เป็นความรู้ของ พระพุทธเจ้า ทุกพระองค์

            อาตมาทำงานมา ๔๐ กว่าปี ไม่ได้เรี่ยรายเลย ก็สร้างชุมชนมา ไม่ได้น้อยหน้าใคร โดยไม่เรี่ยไร หลอกลวง หรือ ใช้การตลาด ล่อให้คนมาจ่ายแก่เรา ใครจะช่วย ก็มาเสียสละเอง อาตมามีมาตรการป้องกัน ใครจะมาบริจาค ต้องมาศึกษา จนเข้าใจว่า เราคืออะไร อย่างนี้ใช่ไหม น่าจะทำบุญก็มาเอง ให้เกิดจิตมีปัญญา ไม่ถูกครอบงำ ความคิด ทำมาตลอด ไม่มีเรี่ยไร แต่อยู่รอด ไม่เป็นหนี้ พึ่งตนรอด มีส่วนเหลือ ช่วยเหลือคนอื่นได้ พูดตามสัจจะ ความจริง ไม่ใช่ว่า พูดเอาเท่ เอาโก้ แต่เอาจาก ความจริงมาพูด

            ขอสำทับอีกทีว่า กรรมชั่ว อย่าทำเสียเลย กรรมเป็นอันทำ ถ้าเข้าใจแล้วหยุด ถ้าสุดวิสัย ก็แล้วไป สู้ให้จริงๆ สุดตัว ลองสู้กับกิเลส ให้ขาดใจเลย ถ้าใครขาดใจ ก็บอกอาตมา ก่อนตายเลยว่า คนนี้ตาย เพราะสู้ กับกิเลส จะได้สลัก ลงแผ่นทองคำ ก็ยังไม่มีใครเลยนะ มีแต่ยอมกิเลสมัน ไม่เห็นสู้ขาดใจเลย

            ขอสำทับอีกว่า กรรมเป็นทรัพย์ ทำในที่แจ้ง หรือในที่ลับ ก็เป็นทรัพย์ของตน ตั้งแต่ใจคิดชั่ว ก็กรรม เป็นมโนกรรม จะบอกว่า ไม่เอาไม่ได้นะ ให้หัดฝึกไป ก็จะลดลง อย่าพูดชั่วพูดไม่ดี อย่าทำกรรม  ที่รวมเป็น กัมมันตะ เพราะมันเป็นทรัพย์ ในอัตภาพของ มนุษย์ทุกคน มีทรัพย์คือกรรม สั่งสมไป แล้วอยากได้ ทรัพย์ชั่วหรือดีล่ะ ?

            คนเกิดมา เอากรรมมาชุดหนึ่ง เท่านั้น ไม่ได้เอามาหมดหรอก เช่น พระโพธิสัตว์ ท่านต้องไปเกิด เป็นการศึกษา เกิดเป็นสัตว์ จะมีองคาพยพ มีสมอง มีอวัยวะ เท่านี้ๆ ของสัตว์ ก็มีแบบของมัน ธาตุของเรา อัตภาพของเรา ไปเกิดในสัตว์ เราก็ใช้ไป ตามเครื่องมืออุปกรณ์ ของสัตว์นั้นๆ

            คุณมีเผ่าพันธ์เป็นโลกุตระ ก็ได้คุณธรรมโลกุตระ แต่ถ้าเผ่าพันธ์คุณ เป็นโลกียะ ก็ตกต่ำ วนเวียนไป ไม่รู้จบ แต่โลกุตระนั้น จะไม่ตกต่ำกว่า ที่ได้อีกแล้ว ไม่ต้องไปวนเวียน

            โสดาบันมีเข้ากระแสได้ มีไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา แน่นอน เที่ยงแท้ต่อ การตรัสรู้ เกิดมาพบศาสนาพุทธ ก็ใส่ใจ พากเพียรเถอะ เป็นทรัพย์แท้ หลักประกันของโลกุตระ ไม่หมุนเวียน ในโลกียะ เป็นเทวดาเก๊ เป็นสัตว์นรก อีกเลย

            ผู้ที่ปฏิบัติไปตามจรณะ ตามศีล มีกรอบ หรือกรรมฐาน ไปตามลำดับ เบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย พระพุทธเจ้า สอนเช่นนี้ เรียนรู้ให้สัมมาทิฏฐิ ตราบใด ยังมีผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอยู่ โลกไม่ว่าง จากอรหันต์ เมืองไทย เป็นชมพูทวีป แดนใด มีอารยะมนุษย์เป็นหลัก แดนนั้นเป็น ชมพูทวีป นี่คือรูปธรรม ส่วนนามธรรม คือผู้มี สุรภาโว สติมันโต อิทธ พรหมจริย วาโส นี่คือ นามธรรมของ ชมพูทวีป

            เกิดมาอย่าให้เสียโอกาส ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ จงใช้ร่างกายนี้ ปฏิบัติ ให้ได้สิ่งประเสริฐสุด

   www.asoke.info