570330_พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ที่ป้อมมหากาฬ
เรื่อง สัจจะที่ปราก
ฏ 

       วันนี้ตั้งใจว่า จะมาขอย้ำสิ่งที่เกิดขึ้น อาตมาว่ามันยาก ที่คนจะเข้าใจ ขอแก้ไขเมื่อวาน ที่อาตมาพูดคำว่า อภิสิทธิ์ อาตมาก็ว่า ภาษาอังกฤษว่า ไพรวิลเลจ ก็มีคนท้วงว่า ที่จริงอ่านว่า พริ-วิ-เลจ ก็ขอบคุณมาก ที่ทักท้วงมา ก็แก้ไขไป ก็ดี มีคนเมตตาใจดี ช่วยแก้ไข อย่างนี้ดีมาก อะไรถูกต้อง ก็ว่ากันไป

       ที่อาตมาจะย้ำก็คือ การปฏิบัติของเรา เหมือนคลั่งไคล้ แต่ที่จริง ก็ไม่ใช่หรอก อาตมาอยากย้ำ ให้คนเข้าใจชัด เพื่อให้รู้ว่า มันเป็นสิ่งวิเศษ วิสุทธิ์ วิศิฏฐ์ (เลิศเลอประเสริฐศรี) มันเป็นสัจจะ ที่ปรากฎ

           สัจจะที่ปรากฎ
           โดย พ่อครูสมณะโพธิรักษ์

           การชุมนุมต่อต้านอย่าสันติวิธี หรืออย่างสงบ ไม่มีอาวุธ และแถม มีคุณธรรม มีจริยธรรมอย่างสูงส่งวิเศษ
           ที่แสดงทั้งปริมาณ อันเป็นเครื่องบ่งชี้ พื้นฐานของพลัง มวลมหาประชาชน ว่ามีคะแนนเสียง ยืนหยัดยืนยัน ทั้ง จำนวน ปริมาณ และทั้งมั่นคง เหนียวแน่น ทั้งยืนนาน ไม่ลดละ ไม่ทรุดโทรม ไม่ถดถอย
           ซึ่งแสดงออกถึง คุณค่า หลากแง่ หลายเชิง ของความเป็นน้ำหนัก หรือเนื้อหาสาระของ
ความเป็นอำนาจ ปวงมวลมหาชน แท้ๆ สดๆ ในความประสงค์ มุ่งหมายว่า
           ขอให้รัฐบาลวางอำนาจหรือสิทธิ ที่จะทำหน้าที่บริหาร ลงได้แล้ว
           ประชาชนจำนวนมาก ตามหลักประชาธิปไตย เขาออกมาปรากฏตัวตน แจ้งความเห็น
ความต้องการ อย่างชัดเจน เสียงประสานกัน ดังกึกก้องกัมปนาท ขนาดนี้ อย่าทำเป็นหูหนวก ตาบอด
           ยอมรับผิดเสียดีๆ
           นี่คือ การแสดงอำนาจความเป็นประชาธิปไตย อย่างสง่างาม สดสวย สงบวิเศษ เลอเลิศยิ่ง ในความเป็นสังคม ประชาธิปไตย เท่าที่เกิดปรากฎการณ์จริง ขึ้นในโลกนี้
           ซึ่งเป็นการชนะอย่างสดสวย สง่างาม สงบวิเศษ เลอเลิศยิ่ง หาที่เปรียบมิได้แล้ว
           แต่ด้วยความไม่รู้ว่า ฉะนี้ๆแหละคือ "ตัวตน"โต้งๆ โทนโท่ ของประชาธิปไตย
           ภาวะเช่นนี้มันเป็นปรากฏการณ์ใหม่มาก ยังไม่เคยมี ความเป็นประชาธิปไตย ที่สวยสดงดงาม
ปานฉะนี้ มาก่อนเลยในโลก
           ความเป็นปรากฏการณ์ใหม่นี้ จึงทำให้คนทั้งหลาย ยังไม่เห็นความวิเศษนี้ได้
           เพราะเข้าใจกันไม่ได้ ว่า นี่คือลักษณะของ"อำนาจอธิปไตย" แท้ๆของประชาชน
ที่แสดงทั้งมวลปริมาณ ทั้งคุณภาพของความเป็นประชาธิปไตย อันชอบธรรมยิ่ง สงบ สันติ อหิงสา งดงามวิเศษวิสุทธิ์วิศิษฐ์
           บางคนอาจจะติดใจผิดๆอยู่ว่า ไม่สงบ สันติ อหิงสาจริง เพราะยังมีการปะทะ รุนแรง ฆ่าแกงกัน อยู่ จนมีคนตาย คนเจ็บปรากฏจริงๆ
           ก็ขอยืนยันว่า การทำความรุนแรงใดๆที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่เกิดจากฝ่ายเรา ผู้ประท้วงต่อต้านนี้เป็นอันขาด เราไม่ได้เป็น ผู้ทำเลย แม้แต่น้อย เป็นการกระทำของอีกฝ่าย หรือมือที่ ๓ ใด เราก็ไม่ทราบได้
           เราผู้ประท้วงต่อต้านตามรัฐธรรมนูญนี้มีแค่ป้องกันตัว และหลบเลี่ยง ตามธรรมเท่านั้น
           แต่แน่นอน เมื่อมีคนทำร้าย ความสูญเสียดังกล่าวก็ต้องเกิดขึ้น เป็นธรรมดา
           ต้องพยายามทำความเข้าใจ ความจริงนี้ให้ดีๆ
           ขอยืนยันว่า การประท้วงครั้งนี้ ของมวลมหาประชาชน คนไทย ทำได้สงบ สันติ อหิงสา ไม่มี
อาวุธ อย่างถูกธรรม ตามสากล วิเศษวิสุทธิ์วิสิษฐ์จริงๆ
           พยายามไตร่ตรองตามหลักฐานความเกิดจริงเป็นจริงให้ได้
           หากไม่รู้ ไม่เข้าใจ ก็จะไม่เห็นปรากฏการณ์ ที่เป็นประชาธิปไตยนี้ได้
           เหมือนคนตาบอด ทั้งๆที่มีของวิเศษนี้ ปรากฏอยู่ต่อหน้าโต้งๆ ก็ไม่เห็น เพราะไม่รู้ว่าอะไร?
           นี่คือ การไม่มีภูมิรู้เห็นประธิปไตย ที่มีคุณค่าสุดวิเศษนี้
           การประท้วงของประชาชน จึงไม่จบ ไม่เสร็จ คาราคาซัง กันอยู่อย่างนี้
           จบงานประท้วงต่อต้านลงไม่ได้
           เพราะผู้รักษาการอำนาจที่ตนไม่มีแล้ว หมดสิทธิ์แล้วนั้น ไม่รู้ว่า ตัวเองคือ "ผู้แพ้" ต่อพลัง
ของมวลมหา ประชาชนแล้ว โดยสิ้นเชิง หมดรูปแล้ว
           หรือยิ่งถ้าแม้นว่า เขารู้ รู้ว่าตนแพ้ รู้ว่าประชาชนทำถูกแล้ว แต่ไม่ถอยถอนไป อย่างคนแพ้ที่
สิ้นท่า หมดความชอบธรรม แต่ยังดื้อดึงดัน หน้าด้าน ยึดอำนาจนั้นอยู่ ไม่ยอมปล่อยวาง ก็ยิ่งแสดงถึง
ความต่ำทราม ซับซ้อน ซ่อนด้วยเล่ห์กล เป็นสภาพหมุนรอบเชิงซ้อน ร้ายลึกกว้าง ยิ่งๆขึ้น
           นี่คือ ความจบไม่ลง มวลมหาประชาชน ต้องเหน็ดเหนื่อยต่อต้าน อย่างอดทนอยู่ไม่เสร็จ
           ก็เพราะ เรื่องเช่นนี้ มันเป็นสัจธรรมที่สูงส่ง ที่ต้องสู้กับ ความต่ำทราม
           มันเป็นเรื่องของคุณธรรมความีดี ที่ดีงามมากสูงเกินกว่า ผู้โง่เง่าชั่วช้า อย่างยิ่ง จะยอมแพ้ความดี-ความถูกต้อง ได้ง่ายๆ
           เพราะเต็มไปด้วยความโง่ (อวิชชา) ไม่รู้คุณค่าของ ความดีงาม ความถูกต้อง
           เต็มไปด้วยความด้านดื้อดึงดัน (ถัมภะ สารัมภะ ) ที่ไม่ยอมแพ้ แม้จะร้าย ขนาดไหน จะผิด จะชั่ว จะเลว กูก็จะยึดเก้าอี้ อำนาจบัลลังก์นี้ ไม่ยอมถอดถอย ถอดถอนไปเด็ดขาด
           นี้คือ กิเลสแท้ๆที่สดๆดิบๆที่สุด มืดมัวโมหันต์อวิชชา เท่าที่จะมีเกิดได้ ในความเป็นคนในโลก
           เป็นเทวทัต สมัยใหม่ แต่เลวทรามกว่าเทวทัต หลายต่อหลายเท่า
           กลุ่มมวลประชาชน ก็ยิ่งต้องแสดงออก ซึ่งความดีงาม ให้เด่นชัด ทั้งความสงบ ทั้งความเรียบร้อย ทั้งความสะอาด ทั้งความสุขุม รอบคอบ วิเศษสุดๆ เป็นที่ปรากฏให้เห็น ยิ่งๆขึ้น
           พระพุทธเจ้าทรงสอนเราว่า ชนะความชั่ว ด้วยความดีเท่านั้น จึงจะต้องทำ ให้ถึงที่สุดกันให้ได้ ทำมาจนถึง ป่านนี้แล้ว
           ประชาชนก็ต้องหนักหนา เหน็ดเหนื่อย ลงทุนลงแรง มากขึ้นอีก และนานวันไปอีก ซึ่งเราไม่ได้ขาดทุน ไม่ได้เสียหาย แต่อย่างใดเลย มีแต่ทับซ้อน ทวีความดีงาม เป็นปฏิภาค ทวีมากขึ้น วิเศษวิสุทธิ์วิสิษฐ์ยิ่งๆขึ้น
           ร้ายชั่วเลวทรามต่ำช้า ก็จะยิ่งหยาบคายทรุดเสื่อมสาหัส ทับซ้อนซ่อนเชิง หนักหนายิ่งๆขึ้นเช่นกัน
           ประชาชนก็จะต้องทำดีที่ยิ่งวิจิตรประเสริฐงดงามสูงส่ง ยิ่งๆขึ้นไปอีกๆๆๆๆ
           ให้มันรู้กันไปเลย ว่า ใครจะต้องพ่ายแพ้ ใครจะต้องชนะกันจริง
           การชนะต้องชนะด้วย ความดีงาม-ถูกต้อง-ชอบธรรม
           จนกว่าความเลวทราม-ผิด-ไม่ชอบธรรม จะหยุดทำ หรือจะทำต่อไปไม่ออก ทำต่อไม่ได้ ต้องเลิกทำเด็ดขาด
           ซึ่งประชาชนต้องสู้ด้วยความสงบ ไม่รุนแรง ไม่ใช้อาวุธอย่าง วิเศษวิสุทธิ์วิสิษฐ์ กันจริงๆให้ได้
           ให้มันลือก้องมหัศจรรย์กัน เป็นที่ปรากฏขึ้นในโลก ว่า ความสงบ สยบความรุนแรงได้
           ผู้มีอาวุธ ต้องแพ้ผู้มือเปล่า ผู้รุนแรงกำแหงข่มเหง ต้องแพ้ผู้เรียบร้อยสุภาพ ไม่กดไม่ข่มใคร
           มันชนะกันได้ยังไง?... สำลีไปกำจัด หนามทุเรียนได้ยังไง? เป็นปาฏิหาริย์ มหัศจรรย์จริงๆนะ!
           แต่เป็นความจริง โดยชอบธรรมแท้ๆ อันมาแต่เหตุ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หรือเรื่องผิดสัจจะใดๆ
           ซึ่งคือ พลังแห่งความประเสริฐนั่นเอง ที่เป็นอำนาจ ชนะความผิดต่ำ ไม่ชอบธรรม
           เป็นความชนะ เด็ดขาด แบบโลกุตระ ที่รู้ได้ยาก และเป็นได้ยากยิ่งด้วย.
                     
       ครั้งสุดท้าย วันที่ ๒๙ ที่ผ่านมา ไม่นานมานี้ เป็นสิ่งที่เกิด ความดีงาม เสียสละ ของคนไทย แม้หลังจาก ชุมนุม ก็ไม่มีขยะ เกลื่อนกลาด แต่อย่างใด เป็นความดีงาม เราก็ทนนาน ร้อนแสนร้อน ลำบากลำบน นานจน จะถึง ๒๕๐ วันแล้ว นานกว่าทุกที ที่เคยทำมา แม้แต่ของกปปส. ที่มาทีหลัง ก็ปาเข้าไป เกือบสองร้อย วันแล้ว ของเรา เลยไปนานแล้ว ก็ทำอย่าง อุตสาหะวิริยะ สุดงามสุดดี เป็นเรื่องที่ชาวโลก ระบอบประชาธิปไตย ควรรู้เห็น ตัวอย่างว่า ทำได้ขนาดนี้ และรายละเอียด ที่อาตมาพยายามย้ำ

       ว่าอำนาจที่ประชาชนมาปฏิวัติ​ เอาภาระ ตามวิถีทางแห่ง รัฐธรรมนูญนี้ ในบริบทของ รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ได้ออกนอก บริบทเลย พวกคุณทุกคน สบายใจได้เลย แม้แต่กำนันสุเทพ ที่มีข้อหาว่าเป็นกบฎ ถูกออกหมายจับ ก็ไม่ต้องตกใจเลยว่า ผิดกฎหมาย อาตมามอง ตามภูมิปัญญาว่า เราไม่ได้ทำผิดเลย เราทำตรง นิติรัฐ นิติธรรมเลย แต่เขาก็ตั้งข้อหา เล่นแง่ได้ ก็เลย ต้องลำบาก เขาก็จ้องจับ เพราะมีหมายจับ กำนันก็รู้ สู้ก่อน จบแล้ว จะไม่หนี ไปต่อสู้ คดีความกันต่อไป

       ยิ่งกำนันสุเทพ เมื่อก่อนก็เคยได้รับ การตู่ท้วง ได้มีคดีความ บางอย่าง ก็ยังไม่จบ แต่อาตมาว่า คนเราก็ต้อง เคยทำผิดมาก่อน ทั้งนั้น อาตมา กว่าจะมาเป็น สมณะโพธิรักษ์ อาตมาก็เคยมี ข้อบกพร่อง ทำมาหากินมา แต่อาตมา ก็ไม่เคยทำรุนแรง อะไรมากมาย ไม่ติดคุกตาราง อะไรก็ไม่เคย อย่างเก่งก็โดนจับ ขึ้นโรงพัก คดีผิดกฎจราจร แต่มีคดีตอบบวช

  1. ไม่ปาราชิก ก็สั่งสึกไม่ได้ ๒.ไม่มีผิด ๑๑ประเด็น เช่นว่า จับได้ว่าเป็นกระเทย ก็ต้องให้สึกเป็นต้น อาตมา ก็จำไม่ค่อยได้แล้ว
  2.  ซึ่งอาตมาไม่สึก ก็เลยต้องผิดกฎหมาย

       มาเข้าเรื่องของเราตอนนี้
       ให้รู้ว่า สิ่งที่เราทำนี่ มีค่าสูง อย่างพวกเรา ที่เป็นนักปฏิบัติธรรมนี้ ยิ่งได้ทำบุญ (การชำระกิเลส) บุญต่างจากทาน

       ถ้าใจเราทำใจเป็น ให้กิเลสลดลง คือการสละออก ไม่เอาไว้เป็นเรา เป็นของเรา นี่คือทาน สูงสุดก็คือทาน ตั้งแต่ทานโลกีย์ จนถึงโลกุตระ

       ส่วนคำว่า เนกขัมมะ คือการชำระกิเลส ออกจากใจเรา หรือเป็นการให้ทางนามธรรม เรียกว่าจาคะ เป็นกลางๆ ระหว่าง วัตถุกับนามธรรม ส่วนเนกขัมมะนั้น หมายเอา นามธรรม ละกิเลสเป็นหลัก ส่วนคำว่า ทานนั้น เป็นคำรวมๆ คลุมไปหมด

       ในสัมมาทิฏฐิ ๑๐ มีทาน
      
๑. การให้ทานแบบทั่วไป ก็ได้ประโยชน์แค่วัตถุ แต่ถ้าอ่านอาการของ จิตเจตสิกไม่ออก โดยผู้รู้จัก อาการเจตสิก คนนั้นแหละ จิตเจตสิก ที่ถูกเรารู้ เราเรียกว่า “นามรูป” ซึ่งพระพุทธเจ้า ตรัสในพระไตรฯล.๑๖ ท่านตรัสไว้ชัด ในข้อ ๑๔

[๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัย มหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามแล รูปดังพรรณนา มาฉะนี้ เรียกว่า นาม รูป ฯ

       ส่วนคำว่า กาย ส่วนใหญ่ เข้าใจแค่ว่าเป็น รูปภายนอก หรือ มหาภูตรูป แต่ว่ารูป ที่ท่านหมายนี้คือ อุปาทายรูป

       ถ้า นามรูป เราเข้าใจเป็นเพียง มหาภูตรูปนี้ผิด แต่นามรูปนี้หมายถึง สภาพที่ถูกรู้ เช่นอุปาทายรูป ๒๔ หมายถึง ทวาร ๕ คำว่านาม นี้หมายถึง เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ แต่ถ้าเป็นนามอยู่ข้างในเดี่ยวๆ ท่านไม่เรียกว่า เป็นผัสสะ แต่ถ้าเข้าใจคำว่ารูป โดยเฉพาะนามรูป ไปเข้าใจว่า เป็นเพียง มหาภูตรูป ก็ผิด คุณจะทำใจในใจได้อย่างไร ก็ต้องมีผัสสะ เป็นสมุทัย เมื่อมีผัสสะ จึงจะเกิดเวทนา

       เวทนาจึงเป็นนามรูป แล้วมันเป็น สโมสรณา เป็นตัวการหลัก มีพฤติกรรม ของเวทนา เป็นหลัก เรียกว่า มโนปวิจาร ๑๘

       ถ้าผู้ใด ไม่รู้เวทนา ๑๐๘ ตั้งแต่เวทนา ๓ แยกเป็น ๓ เวทนา ได้แก่..
สุขเวทนา
ทุกขเวทนา . .
อทุกขมสุขเวทนา (ไม่สุขไม่ทุกข์ อุเบกขา) .

       คุณตากระทบขวด ก็รู้ว่ารูปมันคือ ขวดสีน้ำตาล เป็นโครงสร้าง ไม่ใช่เวทนา แต่เวทนาคือ คุณเกิดชอบหรือชัง เกิดสุขหรือทุกข์ อ่านอาการได้ ก็รู้จักเวทนา ไม่ใช่รู้แต่รูปร่าง โครงสร้างของมัน

       หรือพิจารณาจิตเทวดา หรือผี ก็คือเวทนา จับอาการของเทวดา แต่ว่าถ้าเข้าใจผิด ไปจับผีหรือเทวดา เป็นรูปร่าง แล้วพิจารณา เป็นรูปร่าง ไปนั่งสมาธิ แล้วไปเห็นผีเทวดา เป็นรูปร่าง แต่ไม่เข้าใจ ความรู้สึก ในความรู้สึก นี่ไม่ใช่ เวทนาในเวทนา คุณเห็นแค่ กายในกายเพี้ยนๆ ไปเห็นแต่ มหาภูตรูป เป็นดินน้ำไฟลม เป็นโครงรูป เป็นภาพ แต่ความจริง กายนั้น ต้องมีนาม มาประกอบเสมอ

       ถ้าเข้าใจคำว่า กาย ไม่ได้ก็ไม่เข้าสู่ นิพพานแท้

       คำว่า กาย ไม่ได้หมายถึง เฉพาะวัตถุ แต่ต้องมีนามธรรมเสมอ แม้ในตัวโครงร่างวัตถุ เห็นเส้นแสง เป็นภาพ เป็นรูปร่าง แต่คำว่ากาย ไม่ได้หมายถึงแค่นั้น แต่หมายถึง ต้องมีนามธรรม ประกอบด้วยเสมอ แม้แต่ในพจนานุกรม ภาษาบาลีบางเล่ม ยังบอกว่า กาย หมายถึงแต่วัตถุ แต่ว่าที่จริง กายต้องมีนามธรรม ประกอบเสมอ และเวลาปฏิบัติ ต้องเพ่งที่นามธรรม เสมอ

       ในอารมณ์ชอบชังนั้น ยังมี เจตนาอยู่ แล้วในเจตนา ก็มีอุปาทานอยู่ ต้องรู้ลึกเข้าไป

       ในขณะที่คุณมี กายคตาสติ เคลื่อนไหว โดยองคาพยพ ในอริยาบทต่างๆ ทุกอิริยาบท สำเร็จอิริยาบทอยู่ แล้วแจกวิภังค์ ในอิริยาบทนั้น แล้วรู้ใจ ทำใจให้รู้สังขาร ใช้สัญญากำหนดรู้สังขาร ว่าอะไรเป็นเหตุ แยกเป็น กุศลเหตุ หรืออกุศลเหตุ

       ถ้ากุศลเจตนา เพื่อล้างภพชาติ ให้เป็นวิภวะ แล้วมีวิธีที่สัมมาทิฏฐิ รู้ตัวเหตุที่เป็น กามตัณหา ในขณะที่เรา มีอารมณ์กาม เราก็อ่านให้ออก แล้วเรามีเจตนาอย่างไร ถ้าเรารู้ว่าเรามี วิภวตัณหา ที่เป็นเจตนา ไปล้างกาม เราก็ทำการ ลดละจางคลาย พิจารณาให้รู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในขณะเคลื่อนไหว จะตากระทบรูป หูกระทบเสียง ร่างกายสัมผัส เราก็พิจารณาอ่านกาม ทุกกายคตาสติ แล้วจัดการกิเลสกามในทุกขณะ เราก็มี เนกขัมมสิตเวทนา

       เจตนาเราต้องเป็น วิภวตัณหาไปล้างกาม ถ้าเข้าใจผิด ก็ไม่หมดกิเลส หรือทำได้ข้างเคียง คลุมเคลือ แล้วเมื่อไหร่ จะไปรู้ความเด็ดขาด ในแต่ละขั้นตอน ของโสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์

       สรุป ถ้าใครหมายว่า กาย นั้นคือ มหาภูตรูป ก็คือสูญ คนนั้นปฏิบัติธรรม ด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีทางบรรลุธรรม ตั้งแต่เริ่ม ต้องรู้ สักกายทิฏฐิ

       ในสัตตาวาส ๙
๑.    สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า
๒.    สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพ จำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิ ปฐมฌาน เป็นต้น .
๓.    สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพสว่าง อาภัสราพรหม (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง) .
๔.    สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพมืด สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืด เป็นโชค) .

       ถ้าไปเข้าใจว่า ปฏิบัตินั่งหลับดับดิ่ง ก็ไม่เข้าใจ สัตตาวาส ๙ ดับธาตุรู้ไปหมด ก็ปฏิบัติไม่ได้ ไม่พ้นสังโยชน์ ไม่รู้จักกาย ดังนั้น เราต้องชัดเจน ในคำว่า กาย ถ้าไปปฏิบัติแต่ว่า กายคือ มหาภูตรูป คุณไม่มีวันทำให้ ความเป็นสัตว์ลด ไม่พ้นสังโยชน์แน่ ตั้งแต่สัตตาวาส ข้อที่ ๑ คุณก็ไปเห็น เทวดามารพรหม เป็นรูปร่าง ไม่ใช่อารมณ์​ ก็ปฏิบัติผิด ไปเข้าใจคำว่า กายผิด ดังนั้น กายต่างกัน ในความหมายข้อนี้ คือต้องรู้ว่า กายคืออะไร ?

       จิตวิญญาณที่เป็นมนุษย์ คือจิตสูง อาจเป็นทั้ง โลกีย์หรือโลกุตระ ถ้าแยกไม่ออกว่า เทวดาคือจิตเจริญ​ มันเจริญเพราะ ได้เสพสุขโลกีย์ ได้โลกธรรม ได้เสพกามคุณ ๕ ได้บำเรออัตตา ก็เรียกว่า สมมุติเทพ เป็นเทพโลกีย์ คุณก็แยกไม่ออก หรือ คุณจะทุกข์ แย่งชิง ตามความอยาก เร่าร้อน ก็เป็นผีนรก เป็นเปรต คุณก็ไม่รู้ ถ้าไม่รู้ข้อนี้ ก็ไม่มีทางไปโลกุตระเลย ไม่ต้องพูดถึงว่า ต้องสัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกายเลย ถ้าเข้าใจกาย แค่วัตถุ มหาภูตรูป เท่านั้น ปฏิบัติธรรม โมฆะไปตลอดชีวิตเลย สุญโย ไม่มีวันบรรลุ

       คำว่ากายนี้ ตัดขาดใจไม่ได้เลย แม้อนาคามี กิเลสกับภายนอก ไม่เกิดแล้ว เหลือแต่กิเลส ภายในใจ แต่กระนั้น อนาคามี ก็มีวิญญาณฐิตี ต้องมีการกระทบสัมผัส ภายนอกอยู่ เกิดวิญญาณทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย แล้วกายวิญญาณ ก็คือ วิญญาณของร่าง คือตัววิญญาณ ของข้างนอก ที่ต้องผัสสะอยู่ เมื่อเป็นอนาคามี กายวิญญาณท่าน ไม่ทุกข์ไม่สุขแล้ว กับทวารนอก เหลือแต่ ทวารใน เป็นมโนวิญญาณ แต่เวลาปฏิบัติ ต้องปฏิบัติกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือต้องกระทบสัมผัส ขาดไม่ได้ ต้องครบ อายตนะ ๑๒ แต่ปฏิบัติ อายตนะ ๑๐ ก่อนได้ แล้วก็เหลือ ๒ คือ มนายตนะ และธรรมยตนะ ในพระอนาคามี ก็มีอายตนะ ๑๒ ให้ปฏิบัติ ส่วนผู้ที่ไม่ใช่ อนาคามี ก็ปฏิบัติอายตนะ ๑๐ ก่อน ไม่ต้องกังวล อายตนะภายใน

       ถ้าเข้าใจความเป็นกาย ไม่ถูกต้อง กายในกาย ก็ไม่เนื่องต่อกับเวทนา รู้แต่มหาภูตรูป ไม่อ่านเข้าถึง อาการของ ผีหรือเทวดา ที่เกิดอาการ แล้วมันมีตัวราคะ โทสะ ประกอบในจิต มันไม่ราคะ ไม่โทสะ เป็นอภยกฤติ ก็ได้ คุณอ่านว่า สุขหรือทุกข์ เป็นเช่นนี้ เช่นนี้เอง ตถตา

       คุณก็มีปัจจัตตัง ของคุณเอง รู้ว่าอาการราคะ เป็นอย่างนี้หรือ เป็นอัญญาสิ ... (ตัวคุณเอง) ได้รู้แล้ว

       การรู้การเห็นอย่างนั้น เรียกว่า สัมผัส กาย สัมผัสเวทนา แยกจิตออก แยกได้ในจิต หรือในเวทนา ว่ามีอุปทาน ความยึดติดว่า ถูกใจ หรือไม่ถูกใจ เช่น เมียทำอาหารมา ผิดสเปค ทำมาอย่างไรนะผิดสเปค ก็ขว้างใส่หน้าเลย แต่ถ้าถูกใจ ก็ว่าน้องทำดี เอาจำไว้ในใจ ยึดไว้อีก ของใครของใคร ยึดไว้ไม่เหมือนกัน

       ต้องอ่านรู้ถึง
๑. สมมุติเทพ (คนที่มีสภาวะจิต เสพโลกียสุข ได้สมใจ). .
๒. อุปปัตติเทพ (คนที่มีสภาวะจิต เกิดความเป็นอาริยะ) จิตคุณทำออกได้ เป็นเนกขัมมะ ให้ออกจากกาม ที่ติดยึด เรียกว่า เนกขัมมะ
๓. วิสุทธิเทพ (คนที่มีสภาวะจิตบริสุทธิ์ ขั้นอรหัตตผล)
(พตปฎ. เล่ม ๓๐  ข้อ ๖๕๔)

       ให้รู้ตามอนุปุพพิกถา
       การลดกิเลสได้นี่คือ ได้เกิดเทวดา เป็นโอปปาติกโยนิ แยกออกว่า นี่เป็นเทวดาโลกีย์ หรือโลกุตระ ถ้าเป็น วิสุทธิเทพ ก็เป็นฐานนิพพาน ได้ชั่วคราวหรือถาวร
๑.    วิกขัมภนปหาน (ละด้วยการข่มใจ -ใช้เจโตนำหน้า)
๒.    ตทังคปหาน (ละได้เป็นครั้งคราว -ใช้ปัญญาอบรมจิต) .
๓.    สมุจเฉทปหาน (ละด้วยการตัดขาด สลัดออกได้เก่ง) .
๔.    ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยการสงบระงับ ทวนไปมา)
๕.    นิสสรณปหาน (สลัดออกได้เองทันที เก่งจนเป็นปกติ) จิตชนิดนี้ เป็นที่พึ่ง เรียกว่า สรณะ
(พตปฎ. เล่ม ๓๑  ข้อ ๖๕)

       แม้มีผัสสะ มันก็ไม่เกิดกิเลส ส่วนการกดข่ม ทุกคนก็ทำอยู่แล้ว แต่นี่ไม่ต้อง กดข่มเลย เราเห็นหน้ามัน ก็พิจารณาเลยว่า มันของหลอก เอ็งไม่ใช่ตัวข้าเลย มายึดตัวข้า หลอกว่า เป็นตัวกู แต่หลงว่า เป็นตัวกู โง่มานาน ใครตื่นรู้ตัว ก็แจ๋วเลย ใครไม่ตื่น ก็ถูกหลอก อยู่นั่นแหละ

       ในสัตตาวาส ข้อที่ ๑ สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า

       คุณเข้าใจสัญญา กำหนดรู้ว่า ผีหรือเทวดา คืออย่างไร? ถ้าเข้าใจว่า คือตัวตนรูปร่าง แล้วไม่รู้ที่ เวทนาเป็นนามธรรม ก็ปฏิบัติ ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ต้องอ่าน เวทนาให้ออก ประชุมกันแล้ว เป็นกาย เป็นราคะ เป็นโทสะ ก็เป็นกาย

       กายเป็นองค์ประชุม ส่วนจิตก็คือตัวตรง กายนั้นต้องมี เหตุปัจจัย ต้องมี ทวารทั้ง ๖ ด้วย และมีผัสสะ จึงเกิด กาย ทั้งกายของ ผี เทวดา มาร พรหม ถ้าไม่มีผัสสะ ก็ไม่มีกาย

       เพราะสัญญาต่างกัน กายจึงต่างกัน ถ้าสัญญาต่างกัน ความเห็นก็ต่างกัน เช่น ฌานโลกีย์ นั้นตัดขาดจาก ทวารนอกเลย แล้วไปเห็นจิตในจิต เป็นฌาน เป็นองค์ประชุมของ นามกาย

   www.asoke.info