570411_รายการตอบปัญหาละดับชาติ ตอนที่ ๒
ในงานปลุกเสกฯครั้งที่ ๓๘ ณ เวทีผ่านฟ้าฯ

     การละ จนถึงดับชาติ คำว่าชาตินี้ ถ้าไม่ศึกษา อาจเข้าใจว่า คือการเกิดตาย ทางร่างกาย เป็นกายัสสะ เภทา ปรัมมรณา จิตออกจากร่าง ไปรับวิบาก

ในพระไตรฯล.๑๖ ว่าไว้เกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาทว่า
[๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและ อุปายาส ความเกิดขึ้น แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ นี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ฯ

ผู้รู้จักปฏิจจสมุปบาท คือผู้รู้จักศาสนาพุทธ ซึ่งเป็น อวิชชา ข้อที่ ๘

     ในพระไตรฯล.๑๖ ก็มีแจกแจงเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท
๒ วิภังคสูตร    

[๔] พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนก ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง ปฏิจจสมุปบาท นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ    

[๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้น แห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาด แห่งชีวิตินทรีย์ (ชีวิตินทรีย์ คือ สิ่งที่ถูกรู้ทางนามธรรมแล้ว คือความดับ ความไม่มีชีวิตของ จิตวิญญาณ ชีวิตทางร่างกาย ก็ยังอยู่ แต่ชีวิตินทรีย์ คือชีวิตในจิตวิญญาณ ) จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ ชราและ มรณะ ดังพรรณนามา ฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ    

[๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏ แห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ    

[๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เรียกว่าภพ ฯ

[๙] ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ฯ   

มนุษย์ชมพูทวีป มนุษย์ชาวชมพูทวีป ประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ ชาวอุตร-กุรุทวีป และเทวดา ชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ คือ เป็นผู้กล้า (สุรภาโว) เป็นผู้มีสติ (สติมันโต) เป็นผู้อยู่ ประพฤติ พรหมจรรย์อันเยี่ยม (อิธ พรหมจริย วาโส) ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีป ประเสริฐกว่า พวกมนุษย์ ชาวอุตรกุรุทวีป และพวกเทวดา ชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ นี้แล (พตปฎ. ล.๒๓ ข.๒๒๕)

     ต้องสัมผัสวิโมขก์ ๘ ด้วยกาย ผู้ไม่มีความสำคัญ ในรูปภายใน (๑๐/๖๖) ย่อมเห็น รูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี  เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ) (พ่อครูแปลว่า มีสัญญาใส่ใจในอรูป คือรู้ทั้งรูปภายนอก ไปจนถึง รูปภายใน ต้องเห็นทุกเวลา แม้ขั้นอรูป ก็ต้องใส่ใจกำหนด)

     ถ้าไม่บรรลุปัญญาวิมุติ พระพุทธเจ้าไม่รับรองว่า เป็นอรหันต์ เพราะไม่ได้ อุภโตภาควิมุติ

     จะดับชาติได้ ก็ต้อง เรียนรู้ภพ ๓ คือ กาม-ภว-วิภวภพ เรียนรู้อปาทาน ๔ และเรียนรู้ ตัณหา ๖ อาตมา ตั้งข้อสังเกตว่า ท่านให้เรียนรู้ตัณหา ๖ , เวทนาก็ให้เรียนรู้ เวทนา ๖ หมายความว่า ต้องปฏิบัติธรรม แบบลืมตา เปิดทวารทั้ง ๖ เพื่อรับวิถีรับผัสสะ จึงปฏิบัติ ปฏิจจสมุปบาทได้

     จากเวทนา ๖ ก็มีผัสสะ ๖ และมีสฬายตนะ ๖ เป็นตัวยืนยันชี้บ่งว่า ปฏิบัติธรรม ที่ไม่ผิด ต้องลืมตาเปิด

[๑๐] ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่าตัณหา ฯ

[๑๑] ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัสสชา เวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า เวทนา ฯ

[๑๒] ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ ฯ

[๑๓] ก็สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่า สฬายตนะ ฯ    

[๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัย มหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามและรูป ดังพรรณนา มาฉะนี้ เรียกว่า นาม
รูป ฯ

[๑๕] ก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณ ฯ

[๑๖] ก็สังขารเป็นไฉน สังขาร ๓ เหล่านี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร ฯ ที่เรียกว่า กายสังขาร ก็คือองค์รวมทั้งหมด ทั้งกายและจิต ส่วนจิตสังขารนั้น ก็เป็นแต่จิต ไม่มีกาย ส่วนวจีสังขาร นี้อยู่ในสังกัปปะ ๗ เป็นนามธรรม คนเข้าใจไม่ละเอียด จะเข้าใจ ไปเป็นวจีกรรม ซึ่งมันหยาบมากแล้ว แต่นี่เป็นเรื่องละเอียด

     ต่อไปตอบปัญหา(ละ)ดับชาติ

ภิกษุมีปกติอยู่ด้วยรูป ที่พึงรู้แจ้งด้วยตา.. (จักษุวิญเญยยา) มีอยู่ ธรรมารมณ์ ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ (ธัมมาวิญเญยยา) อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุ ไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นในธรรมารมณ์นั้นอยู่ ฯลฯ เมื่อไม่ยินดี ความเพลิดเพลินย่อมดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มี ความกำหนัด ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง (น โหติ นันทสัญโยชนสัง) แม้จะอยู่ปะปนกับ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของ เดียรถีย์ ในที่สุด-บ้านก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว (เอกวิหารีติ) มิคชาลสูตร ล.๑๘ ข.๖๗ ประเทศไทย ก็เป็นเมืองพุทธ แต่ว่าปฏิบัติผิดทาง มีแต่หลงจม ในกิเลส ลาภยศ สรรเสริญ สุข ขนาดซื้อ ตำแหน่งยศกัน ถ้าท่านได้ยินก็โกรธ

   www.asoke.info