ธรรมพุทธสุดลึก
พุทธสิกขา หมวด ๕
กรรม ๕
กรรม (การกระทำ) เป็นเหตุแยกแยะคนให้ดีและเลว
๑. กัมมัสสโกมหิ (มีกรรมเป็นสมบัติแท้ของตน)
๒. กัมมทายาโท (มีกรรมเป็นทายาทรับมรดกของตน)
๓. กัมมโยนิ (มีกรรมเป็นแดนเกิด-หรือพากำเนิด)
๔. กัมมพันธุ (มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์, พันธุ์เทพ,พันธุ์มาร)
๕. กัมมปฏิสรโณ (มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยแท้ๆ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ “จูฬกัมมวิภังคสูตร” ข้อ ๕๘๑) |
กามคุณ ๕
คือสิ่งที่น่าใคร่น่าพอใจ ๕ อย่าง
๑. รูป (รูปะ) ที่น่าพอใจ รู้ด้วยตา (จักขุ)
๒. เสียง (สัททะ) ที่น่าพอใจ รู้ด้วยหู (โสตะ)
๓. กลิ่น (คันธะ) ที่น่าพอใจ รู้ด้วยจมูก (ฆานะ)
๔. รส (รสะ) ที่น่าพอใจ รู้ด้วยลิ้น (ชิวหา)
๕. สัมผัส (โผฏฐัพพะ) ที่น่าพอใจ รู้ด้วยกาย (กายะ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๙ “เตวิชชสูตร” ข้อ ๓๗๗)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
กามคุณ ๕ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดี หรือส่วนอร่อยของกาม)
๑. รูปะ (รูป)
๒. สัททะ (เสียง)
๓. คันธะ (กลิ่น)
๔. รสะ (รส)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)
๕ อย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เรียกว่า กามคุณ |
การฟ้องร้อง
ผู้ฟ้องร้องปรารถนาจะกล่าวหาผู้อื่น พึงตั้งความดี ๕ ประการนี้ไว้ในตน
๑. จะกล่าวหาในเวลาอันเหมาะควร
๒. จะกล่าวหาด้วยคำจริง
๓. จะกล่าวหาด้วยคำสุภาพ
๔. จะกล่าวหาด้วยคำมีประโยชน์
๕. จะกล่าวหาด้วยเมตตาจิต
(พระไตรปิฎก เล่ม ๗ “ปาติโมกขฐปนขันธกะ” ข้อ ๕๐๕) |
ขันธ์ ๕ และอุปมาแห่งขันธ์ ๕
ขันธ์ ๕ คือ องค์ประชุมของตัวรูป(ตัวที่ถูกรู้) และตัวนาม(ตัวที่เข้าไปรู้) ที่รวมตัวกันเข้าเป็นชีวิต ได้แก่
๑. รูป(ตัวร่างกาย) อุปมาด้วยกองฟองน้ำซึ่งแม่น้ำนำมา ฯ เป็นของว่างเปล่า
๒. เวทนา(ตัวความรู้สึก) อุปมาด้วยฟองน้ำซึ่งฝนตกนำมา ฯ เป็นของว่างเปล่า
๓. สัญญา(ตัวความจำ ความกำหนดหมาย) อุปมาด้วย
พยับแดดเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ย่อมเป็นของว่างเปล่า
๔. สังขาร(ตัวปรุงแต่งจิต) อุปมาด้วยหยวกกล้วย ปอกกาบใบออกไม่พึงได้แม้แต่กระพี้ ไม่พึงได้แก่น ย่อมเป็นของว่างเปล่า
๕. วิญญาณ(ตัวรู้แจ้งอารมณ์) อุปมาดั่งมายากล หาสาระมิได้ เป็นของว่างเปล่า
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๗ “เผณปีณฑสูตร” ข้อ ๒๔๒) |
คติ ๕
คือทางไปของจิต
๑. นิรยะ (จิตนรก เร่าร้อน มีทุกข์สาหัสมาก)
๒. ติรัจฉานโยนิ (ภูมิจิตเดรัจฉาน ความโง่เขลา ไม่เจริญขึ้น)
๓. ปิตติวิสัย (ภูมิแห่งเปรต-จิตละโมบใคร่อยาก)
๔. มนุสสะ (ภูมิจิตมนุษย์ คือความมีใจสูง ใจประเสริฐ)
๕. เทวะ (ภูมิจิตสูงส่งอย่างเทวดา, อุบัติเทพ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ “คติสูตร” ข้อ ๒๗๒ , เล่ม ๑๑ ข้อ ๒๘๑)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
นิรยะ (นรก)
ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉาน)
ปิตติวิสัย (แดนเปรต)
มนุษย์ (ชาวมนุษย์) |
คุณสมบัติของธรรมกถึก ๕
คือนักเทศน์ผู้จะแสดงธรรมต้องมีคุณสมบัติ
๑. แสดงธรรมไปตามลำดับ (อนุปุพพิกถัง)
๒. แสดงธรรมอ้างเหตุผล (ปริยายทัสสาวี)
๓. แสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู (อนุททยตัง ปฏิจจะ)
๔. แสดงธรรมไม่เพ่งอามิส (น อามิสันตโร)
๕. แสดงธรรมไม่ให้กระทบ(ทำลาย)ตน และผู้อื่น (อนุปหัจจะ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อุทายิสูตร” ข้อ ๑๕๙)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ธรรมเทสกธรรม ๕ (ธรรมของนักเทศก์, องค์แห่งธรรมกถึก, ธรรมที่ผู้แสดงธรรม หรือสั่งสอนคนอื่น ควรตั้งไว้ในใจ)
๑. อนุปุพฺพิกถํ (กล่าวความไปตามลำดับ คือ แสดงหลักธรรม หรือเนื้อหาวิชา ตามลำดับ ความง่ายยาก ลุ่มลึก มีเหตุผลสัมพันธ์ ต่อเนื่องกันไป โดยลำดับ)
๒. ปริยายทสฺสาวี (ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัด ในแต่ละแง่ แต่ละประเด็น โดยอธิบาย ขยายความ ยักเยื้องไปต่างๆ ตามแนวเหตุผล)
๓. อนุทยตํ ปฏิจฺจ (แสดงธรรมด้วยอาศัยเมตตา คือ สอนเขาด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่เขา)
๔. น อามิสนฺตโร (ไม่แสดงธรรมด้วยเห็นแก่อามิส คือ สอนเขามิใช่เพราะมุ่งที่ตนจะได้ลาภ หรือ ผลประโยชน์ ตอบแทน)
๕. อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ (แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือ สอนตามหลัก ตามเนื้อหา มุ่งแสดงธรรม แสดงธรรม ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น) |
คุณสมบัติของพหูสูต (พาหุสัจจะ) ๕
คือคุณสมบัติของผู้รู้มากศึกษามาก จะต้อง.....
๑. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก (พหุสสุตา)
๒. ทรงจำไว้ได้มาก (ธตา)
๓. ท่องคล่องปาก (วจสา ปริจิตา)
๔. ขึ้นใจแม่นยำ (มนสานุเปกขิตา)
๕. มีความรู้แจ้งแทงตลอดอย่างดีด้วยทฤษฎี หรือด้วยความเข้าใจ (ทิฏฐิยา สุปปฏิวิทธา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “สีลสูตร” ข้อ ๘๗)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
พหูสูตมีองค์ ๕ (คุณสมบัติที่ทำให้ควรได้รับชื่อว่าเป็นพหูสูต คือ ผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน)
๑. พหุสสุตา (ฟังมาก คือ ได้เล่าเรียนสดับฟังไว้มาก)
๒. ธตา (จำได้ คือ จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำ)
๓. วจสา ปริจิตา (คล่องปาก คือ ท่องบ่นหรือใช้พูดอยู่เสมอจนแคล่วคล่อง จัดเจน)
๔. มนสานุเปกขิตา (เพ่งขึ้นใจ คือ ใส่ใจนึกคิดพิจารณาจนเจนใจ นึกถึงครั้งใด ก็ปรากฏ เนื้อความ สว่างชัด)
๕. ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา (ขบได้ด้วยทฤษฎี หรือ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ คือ ความเข้าใจลึกซึ้ง มองเห็น ประจักษ์แจ้ง ด้วยปัญญา ทั้งในแง่ความหมาย และเหตุผล) |
ชาติ ๕
๑. ชาติ (ความเกิด)
๒. สัญชาติ (ความเป็นขึ้น)
๓. โอกกันติ (ความหยั่งลง)
๔. นิพพัตติ (ความอุบัติขึ้น , บังเกิดขึ้น)
๕. อภินิพัตติ (ความอุบัติเฉพาะ , บังเกิดเฉพาะ)
(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ “สัมมาทิฏฐิสูตร” ข้อ ๑๑๘) |
ฐานะ ๕
คือสภาพที่ทุกๆคนในโลกเลี่ยงไม่พ้นฐานะเหล่านี้
๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา
๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา
๔. เรามีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. เรามีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสโกมหิ)
เป็นทายาทแห่งกรรม (กัมมทายาโท)
มีกรรมเป็นกำเนิด (กัมมโยนิ)
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ (กัมมพันธุ)
มีกรรมเป็นที่พึ่ง (กัมมปฏิสรโน)
ทำดี ทำชั่ว เราเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “ฐานสูตร” ข้อ ๕๗)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ (ข้อที่สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ควรพิจารณา เนืองๆ)
๑. ชราธัมมตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้)
๒. พยาธิธัมมตา ค(วรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไมล่วงพ้น ความเจ็บป่วยไปได้)
๓. มรณธัมมตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้)
๔. ปิยวินาภาวตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจักต้องมีความพลัดพราก จากของรัก ของชอบใจ ทั้งสิ้น)
๕. กัมมัสสกตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็น ทายาท ของกรรมนั้น) |
ทำบุญแต่ได้บาป ๕ ลำดับ
(ย่อมประสบบาป มิใช่บุญ)
๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา”
(อุทิศ, อุททิสสะ คือ เจาะจง มุ่งหมายไปที่สัตว์ชื่อนั้น)
๒. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส
๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้”
๔. สัตว์นั้น เมื่อกำลังถูกเขาฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส
๕. ผู้นั้นยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีไปด้วยเนื้อ ย่อมประสพบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก (ตถาคตํ วา ตถาคตสาวกํ วา อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภติ โส อิเมหิ ปญฺจหิ ฐาเนหิ พหุง อปุญฺญํ ปสวตีติ)
พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ “ชีวกสูตร” ข้อ ๖๐ |
ทุกข์ ๕ ของสตรี
๑. สตรีเมื่อเป็นสาวไปสู่สกุลแห่งสามี ย่อมทุกข์ เพราะพลัดพรากจากญาติทั้งหลาย
๒. สตรีย่อมทุกข์เมื่อมีระดู (ประจำเดือน)
๓. สตรีย่อมทุกข์เมื่อมีครรภ์
๔. สตรีย่อมทุกข์เมื่อคลอดบุตร
๕. สตรีย่อมทุกข์เมื่อทำหน้าที่บำรุงบำเรอบุรุษ
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๘ “อาเวณิกสูตร” ข้อ ๔๖๒ - ๔๖๖) |
ธรรมะให้พร ๕
ผู้ประพฤติธรรมย่อมได้รับพร (สิ่งประเสริฐ) ๕ ประการ
๑. อายุ (มีอายุหะ) คือ มีอิทธิบาท๔ เป็นเครื่องแสดง
๒. วรรณะ คือ มีศีลผุดผ่อง เป็นเครื่องแสดง
๓. สุข คือ มีฌาน ๔ เป็นเครื่องแสดง
๔. โภคะ คือ มีพรหมวิหาร ๔เป็นเครื่องแสดง
๕. พละ คือ มีวิมุติหลุดพ้น เป็นพลังแสดง
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ “จักกวัตติสูตร” ข้อ ๕๐)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
๑.อายุ คือ พลังที่หล่อเลี้ยงทรงชีวิตให้สืบต่ออยู่ได้ยาวนาน ได้แก่อิทธิบาท ๔
๒.วรรณะ คือ ความงามเอิบอิ่มผ่องใสน่าเจริญตาเจริญใจ ได้แก่ ศีล
๓.สุขะ คือความสุข ได้แก่ ฌาน ๔
๔.โภคะ คือ ความพรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สินและอุปกรณ์ต่าง ๆ อันอำนวยความสุข ความสะดวกสบาย ได้แก่ อัปปมัญญา หรือ
พรหมวิหาร ๔
๕.พละ คือ กำลังแรงความเข้มแข็งที่ทำให้ข่มขจัดได้แม้แต่กำลังแห่งมาร ทำให้สามารถดำเนินชีวิตที่ดีงามปลอดโปร่งเป็นสุข บำเพ็ญกิจด้วยบริสุทธิ์และเต็มที่ ไม่มีกิเลสหรือความทุกข์ใดใดจะสามารถบีบคั้นครอบงำ ได้แก่ วิมุตติ ความหลุดพ้น หมดสิ้นอาสวะ หรืออรหัตตผล |
ทำบุญแต่ได้บาป ๕ ลำดับ
ผู้ใดฆ่าสัตว์อุทิศแก่ภิกษุสงฆ์ผู้นั้นย่อมได้บาป มิใช่บุญเป็นอันมาก คือ
๑. ได้บาป เพราะผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา”
(อุทิศ, อุททิสสะ คือ เจาะจง มุ่งหมายไปที่ สัตว์ชื่อนั้น)
๒. ได้บาป เพราะสัตว์นั้น เมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ย่อมได้เสวย ทุกข์โทมนัส
๓. ได้บาป เพราะผู้นั้น พูดอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย จงไปฆ่าสัตว์นี้”
๔. ได้บาป เพราะสัตว์นั้น เมื่อกำลังถูกเขาฆ่า ย่อมเสวย ทุกข์โทมนัส
๕. ได้บาป เพราะผู้นั้น ยังตถาคต และสาวกตถาคต ให้ยินดีไปด้วยเนื้อ
ย่อมประสพบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก
(ตถาคตํ วา ตถาคตสาวกํ วา อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภติ โส อิเมหิ ปญฺจหิ ฐาเนหิ พหุง อปุญฺญํ ปสวตีติ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ “ชีวกสูตร” ข้อ ๖๐) |
ทุกข์ของหญิง ๕
ทุกข์ของหญิง ๕ อย่างที่จะได้รับ คือ
๑. หญิงสาวไปสู่ตระกูลสามี ย่อมพรากจากญาติของตน
๒. หญิงย่อมมีระดู (ประจำเดือน)
๓. หญิงย่อมมีครรภ์
๔. หญิงย่อมคลอดบุตร
๕. หญิงย่อมบำเรอชาย
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๘ “อาเวณิกสูตร” ข้อ ๔๖๒- ๔๖๖) |
ธรรมทำให้อยู่ผาสุก ๕
เหตุ ๕ อย่างนี้ทำให้เป็นอยู่ผาสุกร่วมกัน
๑. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่ติเตียนผู้อื่นด้วยอธิศีล (ศีลชั้นสูง)
๒. เป็นผู้เพ่งดูตน ไม่เพ่งโทษผู้อื่น
๓. เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความไม่มีชื่อเสียงนั้น
๔. เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌาน่ทั้ง ๔
๕. เป็นผู้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ (กิเลสที่หมักหมม ในสันดาน) มิได้
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อานันทสูตร” ข้อ ๑๐๖) |
นิยาม ๕ แห่งพลังงาน
คือการกำหนดธรรมชาติของสรรพสิ่ง
๑. อุตุนิยาม (ส่วนที่เป็นพลังงานวัตถุ ฟิสิกส์ ฯลฯ)
๒. พีชนิยาม (ส่วนที่เป็นพลังงานชีวะ พืชพันธุ์)
๓. จิตตนิยาม (ส่วนที่เป็นจิต เวไนย-อเวไนยสัตว์ ให้เกิดกรรมตาม โอปปาติกะ พาเป็น)
๔. กรรมนิยาม (บทบาท หรืออาการแห่งกิริยาของคน - ของโอปปาติกะสัตว์)
๕. ธรรมนิยาม (สภาพทั้งหมด ของทุกสรรพสิ่ง)
(อรรถกถาแปลเล่ม ๗๖ “จิตตุปปาทกัณฑ์” หน้า ๘๑-๘๒)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
นิยาม ๕ (กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไป อันมีระเบียบแน่นอน ของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ)
๑. อุตุนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะ ดินน้ำอากาศ และฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อม สำหรับมนุษย์)
๒. พีชนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับ การทำงานของจิต)
๓. จิตตนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผล ของการกระทำ)
๔. กรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผล ของการกระทำ)
๕. ธรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ และอาการที่เป็นเหตุ เป็นผลแก่กัน แห่งสิ่งทั้งหลาย) |
นิวรณ์ ๕
คือกิเลส ๕ อย่างที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุธรรม ทำให้ปัญญาทุรพล หรือ ปัญญาถอยกำลังลง
๑. กามฉันทะ (ความใคร่อยากในกามภพ) เปรียบเหมือนหนี้
๒. พยาบาท (การปองร้ายผู้อื่น) เปรียบเหมือนเป็นโรค
๓. ถีนมิทธะ (จิตหดหู่ หดแน่น เซื่องซึม ไม่แจ่มแจ้ง ไม่แววไว) เปรียบเหมือนเรือนจำ
๔. อุทธัจจะ กุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน กระจายกระเจิง) เปรียบเหมือน ความเป็นทาส
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในการหลุดพ้น ฯลฯ) เปรียบเหมือน ทางไกล -ทางกันดาร
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ “กายสูตร” ข้อ ๓๕๗ และ เล่ม ๙ ข้อ ๓๗๘)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
นิวรณ์ ๕ (สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม, ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี, อกุศลธรรม ที่ทำจิต ให้เศร้าหมอง และทำปัญญา ให้อ่อนกำลัง)
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ)
๓.ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวาย กลุ้มกังวล)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) |
ปหาน ๕
คือการละกิเลสให้หมดสิ้นไป
๑. วิกขัมภนปหาน (ละด้วยการข่มฝืนกิเลส การข่มใจ-ใช้เจโตนำหน้า)
๒. ตทังคปหาน (ละกิเลสได้เป็นครั้งคราว-ใช้ปัญญาอบรมจิต)
๓. สมุจเฉทปหาน (ละด้วยการตัดขาดกิเลส สลัดออกได้เก่ง)
๔. ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยการสงบระงับกิเลส ทวนไปมา)
๕. นิสสรณปหาน (ละด้วยการสลัดกิเลสออกได้เองทิ้งทันที เก่งจนเป็นปกติ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๓๑ “มหาวรรค ญาณกถา” ข้อ ๖๕)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ปหาน ๕ (การละกิเลส) มีนัยยะเดียวกับนิโรธ ๕
นิโรธ ๕ (ความดับกิเลส, ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น)
๑. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลส ของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลา ที่อยู่ในฌานนั้น)
๒. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรม ที่เป็นคู่ปรับ หรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิ ด้วยความรู้ที่กำหนด แยกนามรูป ออกได้ เป็นการดับชั่วคราว ในกรณีนั้นๆ)
๓. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลส เสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อ สมุจเฉทนิโรธ)
๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรค ดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวาย เพื่อดับอีก ในขณะ แห่งผลนั้นชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ)
๕. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลส เสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะ ที่กิเลสดับแล้วนั้น ยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อ นิสสรณนิโรธ ได้แก่ อมตธาตุ คือ นิพพาน) |
ประโยชน์การกินมื้อเดียว ๕
กินมื้อเดียว (เอกาสนโภชนัง) มีอานิสงส์ คือ
๑. ร่างกายไม่เจ็บป่วย หรือมีความเจ็บป่วยน้อย (อัปปาพาธัง)
๒. มีความลำบากกายน้อย ไม่มีอะไรบกพร่อง (อัปปาตังกัง)
๓. มีความกระปรี้กระเปร่า เบากายเบาใจ (ลหุฏฐานัง)
๔. มีพละกำลังเหลือใช้ (พลัง)
๕. อยู่อย่างผาสุก จิตใจผาสุก (ผาสุวิหารัง)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ “กกจูปมสูตร” ข้อ ๒๖๕ ,ภัททาลิสูตร เล่ม ๑๓ ข้อ ๑๖๐) |
ประโยชน์ของการจงกรม ๕
จงกรม คือ การเดินไปมาโดยมีสติกำกับ ไม่ให้กิเลสครอบงำได้
มีประโยชน์.....
๑. อดทนต่อการเดินทางไกล
๒. อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร
๓. มีความเจ็บป่วยน้อย
๔. อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้ว ย่อยได้ดี
๕. สมาธิที่ได้เพราะการเดิน ตั้งอยู่ได้นาน
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “จังกมสูตร” ข้อ ๒๙) |
ปีติ ๕ (ได้ดี รู้ดี ยินดี)
คือความปลาบปลื้มยินดีอิ่มใจในฌาน อันมีได้ ๕ อาการ
๑. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย)
๒. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ)
๓. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นพัก ๆ)
๔. อุพเพงคาปีติ (ปีติแรงกล้า โลดลอย)
๕. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน)
(อรรถกถาแปล เล่ม ๗๕ “จิตตุปปาทกัณฑ์” หน้า ๓๒๑)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ปีติ ๕ (ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำ)
๑. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล)
๒. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ)
๓. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง)
๔. อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรง ให้รู้สึกใจฟู แสดงอาการ หรือ ทำการบางอย่าง โดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไป ในอากาศ)
๕. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่าน แผ่เอิบอาบ ไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับ สมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้) |
ผู้ต้องการแก่นธรรม ๕
ความต้องการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ (นิพพาน) อุปมาเหมือนผู้ต้องการ แก่นไม้ ๕ จำพวก
๑. ผู้ยินดีในลาภ สักการะ สรรเสริญ อุปมาเหมือนผู้ตัดเอา กิ่งไม้ใบไม้ไป
๒. ผู้ยกตนในความถึงพร้อมแห่งศีล อุปมาเหมือนผู้ถากเอา สะเก็ดไม้ถือไป
๓. ผู้ยกตนในความถึงพร้อมแห่งสมาธิ อุปมาเหมือนผู้ถากเอา เปลือกไม้ไป
๔. ผู้ยกตนข่มผู้อื่นด้วยญาณทัสนะ อุปมาเหมือนผู้ถากเอา กะพี้ไม้ไป
๕. ผู้มีเจโตวิมุติ อันไม่กำเริบ อุปมาเหมือน ผู้ตัดเอา แก่นไม้ไปได้
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ “จูฬสาโรปมสูตร” ข้อ ๓๕๕) |
ผู้ป่วยที่พยาบาลง่าย ๕
๑. ย่อมทำความสบาย (ไม่เบียดเบียนตน)
๒. รู้จักประมาณในสิ่งสบาย (พอดี)
๓. กินยา
๔. บอกอาการป่วยตามความเป็นจริงแก่ผู้พยาบาลที่ปรารถนาประโยชน์
๕. เป็นผู้อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อุปัฏฐากสูตร ที่ ๑ ” ข้อ ๑๒๓) |
ผู้พยาบาลที่ดี ๕
๑. ย่อมเป็นผู้สามารถเพื่อจัดยา
๒. ทราบสิ่งสบาย และไม่สบาย นำสิ่งไม่สบายออกไป นำสิ่งสบาย เข้ามาให้
๓. มีเมตตาจิตพยาบาล ไม่เพ่งอามิสพยาบาล
๔. ไม่รังเกียจเพื่อนำออกซึ่งอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน หรือน้ำลาย
๕. สามารถเพื่อชี้แจงให้ผู้ป่วยสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา โดยกาลอันสมควร
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อุปัฏฐากสูตร ที่ ๒ ” ข้อ ๑๒๔) |
ภิกษุอยู่ป่า ๕
ภิกษุ ๕ จำพวกที่ถือการอยู่ป่า คือ
๑. พวกโง่เขลา หลงงมงาย (มันทัตตา โมมูหัตตา)
๒. พวกปรารถนาลามก (เลวทราม) ถูกความปรารถนา ลามก ครอบงำ (ปาปิจโฉ)
๓. พวกวิกลจริตจิตฟุ้งซ่าน (อุมมาทา)
๔. พวกเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าและสาวกสรรเสริญ (วัณณิโต)
๕. พวกอาศัยความมักน้อย (อัปปิจฉะ) ความสันโดษ (สันตุฏฐิ) ความขัดเกลา (สัลเลขะ) ความเงียบสงัด (ปวิเวกะ) ความมีประโยชน์ แห่งการอยู่ป่า (อิทมัฏฐิตา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๘ “อุปาลิปัญจกะ” ข้อ ๑๑๙๑) |
มัจฉริยะ ๕
คือความตระหนี่ หวงไม่อยากให้
๑. ตระหนี่ที่อยู่ (อาวาสมัจฉริยะ)
๒. ตระหนี่ตระกูล (กุลมัจฉริยะ)
๓. ตระหนี่ลาภ (ลาภมัจฉริยะ)
๔. ตระหนี่วรรณะ (วัณณมัจฉริยะ)
๕. ตระหนี่ธรรม (ธัมมมัจฉริยะ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ “มัจฉริยสูตร” ข้อ ๒๗๓)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
มัจฉริยะ ๕ (ความตระหนี่, ความหวง, ความคิดกีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้ดี หรือมีส่วนร่วม)
๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่, หวงที่อาศัย เช่น ภิกษุหวงเสนาสนะ กีดกันผู้อื่น หรือผู้มิใช่ พวกของตน ไม่ให้เข้าอยู่ เป็นต้น)
๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล, หวงสกุล เช่น ภิกษุหวงสกุลอุปฐาก คอยกีดกันภิกษุอื่น ไม่ให้เกี่ยวข้อง ได้รับการบำรุงด้วย เป็นต้น)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ, หวงผลประโยชน์ เช่น ภิกษุหาทางกีดกัน ไม่ให้ลาภเกิดขึ้น แก่ภิกษุอื่น)
๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ, หวงสรีรวัณณะ คือผิวพรรณของร่างกาย ไม่พอใจ ให้ผู้อื่นสวยงาม ก็ดี หวงคุณวัณณะ คือ คำสรรเสริญคุณ ไม่อยากให้ใคร มีคุณความดี มาแข่งตน หรือไม่พอใจ ได้ยินคำสรรเสริญ คุณความดีของผู้อื่น ก็ดี)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม, หวงวิชาความรู้ และคุณพิเศษที่ได้บรรลุ ไม่ยอมสอน ไม่ยอมบอกผู้อื่น กลัวเขาจะรู้เทียมเท่า หรือเกินตน) |
มาร ๕
คือตัวการที่เป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้ทำดี
๑. กิเลสมาร (กิเลสทั้งปวงล้วนเป็นมาร)
๒. ขันธมาร (ขันธ์ ๕ ทุกข์เจ็บป่วยเป็นมาร)
๓. อภิสังขารมาร (จิตปรุงแต่งชั่ว ให้เกิดความหลงผิด ฯลฯ เป็นมาร)
๔. เทวปุตตมาร (เทพบุตรลวงโลก ทำทีเป็นผู้มีจิตใจสูง ที่แท้เป็นมาร)
๕. มัจจุมาร (ความตายทำให้หมดโอกาสทำดี เป็นมาร)
(อรรถกถาแปลเล่ม ๒๑ “เสลสูตร” หน้า ๓๐๑)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
มาร ๕ (สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดี หรือจากผลที่หมาย อันประเสริฐ, สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี, ตัวการที่กำจัด หรือขัดขวางบุคคล มิให้บรรลุ ผลสำเร็จ อันดีงาม)
๑. กิเลสมาร (มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมาร เพราะเป็นตัวกำจัด และขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ ประสบความพินาศ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต)
๒. ขันธมาร (มารคือเบญจขันธ์, ขันธ์ ๕ เป็นมาร เพราะเป็นสภาพ อันปัจจัยปรุงแต่ง มีความขัดแย้งกันเอง อยู่ภายใน ไม่มั่นคงทนนาน เป็นภาระ ในการบริหาร ทั้งแปรปรวน เสื่อมโทรมไป เพราะชราพยาธิ เป็นต้น ล้วนรอนโอกาส มิให้บุคคล ทำกิจหน้าที่ หรือบำเพ็ญ คุณความดี ได้เต็มปรารถนา อย่างแรง อาจถึงกับ พรากโอกาสนั้น โดยสิ้นเชิง)
๓. อภิสังขารมาร (มารคืออภิสังขาร, อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัว ปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา เป็นต้น ขัดขวาง มิให้หลุดพ้นไปจาก สังขารทุกข์)
๔. เทวปุตตมาร (มารคือเทพบุตร, เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุด แห่งชั้นกามาวจร ตนหนึ่ง ชื่อว่ามาร เพราะเป็นนิมิต แห่งความขัดข้อง คอยขัดขวาง เหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้น จากแดน อำนาจครอบงำของตน โดยชักให้ห่วงพะวง ในกามสุข ไม่หาญ เสียสละออกไป บำเพ็ญคุณความดี ยิ่งใหญ่ได้)
๕. มัจจุมาร (มารคือความตาย, ความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวการตัดโอกาส ที่จะก้าวหน้าต่อไป ในคุณความดี ทั้งหลาย) |
มิจฉาวณิชชา ๕
คือการค้าขายที่ผิด ชาวพุทธไม่ควรกระทำ
๑. ค้าขายอาวุธ (สัตถวณิชชา)
๒. ค้าขายสัตว์มีชีวิต (สัตตวณิชชา)
๓. ค้าขายเนื้อสัตว์ (มังสวณิชชา)
๔. ค้าขายของเมา สิ่งมอมเมา (มัชชวณิชชา)
๕. ค้าขายสิ่งที่เป็นพิษ (วิสวณิชชา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “วณิชชสูตร” ข้อ ๑๗๗)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
วณิชชา ๕ (การค้าขาย ๕ อย่าง ในที่นี้หมายถึง การค้าขายที่เป็นอกรณียะ สำหรับอุบาสก คือ อุบาสก ไม่ควรประกอบ)
๑. สัตถวณิชชา (ค้าขายอาวุธ)
๒. สัตตวณิชชา (ค้าขายมนุษย์)
๓. มังสวณิชชา (ค้าขายเนื้อสัตว์ -อรรถกถาแก้ว่า เลี้ยงสัตว์ไว้ขาย)
๔. มัชชวณิชชา (ค้าขายน้ำเมา)
๕. วิสวณิชชา (ค้าขายยาพิษ) |
มิจฉาอาชีวะ ๕
คือการทำมาหากินที่ผิด(ลำดับความทุจริตในอาชีพ) ๕ อย่าง
๑. การโกง ทุจริต คอร์รัปชั่น (กุหนา)
๒. การล่อลวง หลอกลวง (ลปนา)
๓. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา)
๔. การยอมมอบตนในทางผิด อยู่คณะผิด (นิปเปสิกตา)
๕. การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ ๒๗๕) |
ไม่ควรอยู่ผู้เดียว ๕
ภิกษุผู้ไม่ควรหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว คือ
๑. ผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร ตามมีตามได้
๒. ผู้ไม่สันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้
๓. ผู้ไม่สันโดษด้วยเสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) ตามมีตามได้
๔. ผู้ไม่สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร (ยารักษาโรค) ตามมีตามได้
๕. ผู้มากด้วยความคิดในกาม
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อวัปปกาสสูตร” ข้อ ๑๒๗) |
ลักษณะของอนัตตา ๕
เป็นสภาวะของความว่าง หมดตัวตนแล้ว คือ
๑. ปรโต (เป็นอื่น แปรปรวนไปทุกขณะ)
๒. อนัตตโต (ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา)
๓. วิวิตตโต (สงัดกิเลสทั้งปวง)
๔. ตุจฉโต (สิ้นแก่นสารจบประโยชน์)
๕. สุญญโต (สูญว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย)
(พระวิสุทธิมัคค์ “ปัญญานิเทศ” หน้า ๖๒๘- ๖๒๙) |
วสี ๕
คือ ความเชี่ยวชาญชำนาญ ๕ ประการ
๑. อาวัชชนาวสี(ชำนาญในการคำนึงถึง) เช่น ฌาน
๒. สมาปัชชนาวสี (ชำนาญในการเข้าถึง)
๓. อธิฏฐานวสี (ชำนาญในการอธิษฐาน)
๔. วุฏฐานวสี (ชำนาญในการออกจาก)
๕. ปัจจเวกขณวสี (ชำนาญในการพิจารณา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๓๑ “มหาวรรค ญาณกถา” ข้อ ๒๒๕) |
วัตถุ ๕
พระเทวทัตต้องการทำสังฆเภท (สงฆ์แตกแยก)
แสร้งทูลขอวัตถุ ๕ กับพระพุทธเจ้าเพราะวัตถุ ๕ เป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา กำจัดกิเลส เป็นอาการน่าเลื่อมใส ไม่สะสม และปรารภความเพียร คือ
๑. ให้ถือปฏิบัติอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ ต้องมีโทษ
๒. ให้ถือปฏิบัติเที่ยวบิณฑบาต ตลอดชีวิต ภิกษุใด ยินดีกิจนิมนต์ ต้องมีโทษ
๓. ให้ถือปฏิบัติใช้ผ้าบังสุกุล (ผ้าทิ้งแล้ว) ตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีคหบดีจีวร(ผ้าที่โยมถวาย) ต้องมีโทษ
๔. ให้ถือปฎิบัติ อยู่โคนไม้ ตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยที่มุงบัง ต้องมีโทษ
๕. ให้ถือปฏิบัติ ไม่ฉันปลาและเนื้อ ตลอดชีวิต ภิกษุใด ฉันปลาและเนื้อ ต้องมีโทษ
แต่พระพุทธเจ้า ไม่ทรงอนุญาต รับสั่งว่า
๑. จะอยู่ป่าก็ได้ อยู่บ้านก็ได้
๒. เที่ยวบิณฑบาตก็ได้ ยินดีกิจนิมนต์ก็ได้
๓. ใช้ผ้าบังสุกุลก็ได้ ยินดีคหบดีจีวรก็ได้
๔. อนุญาตอยู่โคนไม้ ๘ เดือนเท่านั้น
๕. อนุญาตให้ฉัน ปลาและเนื้อ ที่บริสุทธิ์ ๓ อย่างคือ
ไม่ได้เห็น (อทิฏฐัง) ว่าเขาฆ่ามา, ไม่ได้ยิน (อัสสุตัง) ว่าเขาฆ่ามา,
ไม่รังเกียจ (อปริสังกิตันติ) ว่าเขาฆ่ามา
(พระไตรปิฎก เล่ม ๗ “สังฆเภทขันธกะ” ข้อ ๓๘๔) |
วิธีระงับความอาฆาต ๕
ธรรมอันเป็นที่ระงับความอาฆาต (ผูกใจเจ็บ) คือ
๑. พึงเจริญเมตตา (คิดช่วยเหลือ) ในบุคคลนั้น
๒. พึงเจริญกรุณา (ลงมือช่วยเหลือ) ในบุคคลนั้น
๓. พึงเจริญอุเบกขา (วางใจเที่ยงธรรมเป็นกลาง) ในบุคคลนั้น
๔. พึงไม่ระลึกถึง (อสติ) ไม่ใส่ใจ (อมนสิกาโร) ในบุคคลนั้น
๕. พึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรม เป็นของ ๆ ตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมดี หรือชั่วก็ตาม จะเป็นทายาท ของกรรมนั้น
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อาฆาตวินยสูตรที่ ๑” ข้อ ๑๖๑) |
วิสาสะ ๕
คือการถือความเป็นกันเองได้ กับผู้มีองค์ ๕ นี้
๑. เคยเห็นกันมา
๒. เคยคบกันมา
๓. เคยบอกอนุญาตกันไว้
๔. เขายังมีชีวิตอยู่
๕. รู้ว่าเมื่อเราถือเอาแล้ว เขาจะพอใจ
(พระไตรปิฎก เล่ม ๕ “จีวรขันธกะ” ข้อ ๑๕๙) |
เสนาสนะ ๕
คือที่อยู่อันมีลักษณะ ๕ ประการ ซึ่งภิกษุ(มีองค์ ๕)
อยู่อาศัยแล้วประพฤติธรรม จะบรรลุได้ในเวลาไม่นานนัก
๑. ที่อยู่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก ทางไปมาสะดวก กลางวันไม่เกลื่อนกล่น ด้วยผู้คน กลางคืน เงียบเสียง ปราศจาก เสียงอึกทึก มีลม แดด เหลือบ ยุง และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลานน้อย
๒. ได้จีวร (เครื่องนุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) เภสัขบริขาร (ยาและของใช้) อันเป็นปัจจัย ของคนไข้ ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ฝืดเคือง
๓. มีภิกษุเถระ (พระผู้ใหญ่) เป็นพหูสูต ชำนาญคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (หัวข้อ) อยู่ที่นั้น
๔. เข้าไปหาพระเถระได้ตามเวลาอันควร แล้วสอบถาม ไต่ถาม ข้อที่ยังสงสัย
๕. พระเถระย่อมเปิดเผย ในข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่าย ในข้อที่ ยังไม่ได้ทำให้ง่าย บรรเทา ความสงสัย ในธรรมที่ยังสงสัย
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “เสนาสนสูตร” ข้อ ๑๑) |
เหตุทำให้อายุยืน ๕
๑. เป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง
๒. รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย (สปายะ)
๓. บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย
๔. มีศีล (หรือเป็นที่ผู้เที่ยว ในกาลสมควร)
๕. มีมิตรดีงาม (หรือประพฤติพรหมจรรย์)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “อนายุสสสูตร ที่ ๑ ข้อ ๑๒๕-๑๒๖)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อายุสสธรรม หรือ อายุวัฒนธรรม ๕ (ธรรมที่เกื้อกูลแก่อายุ หรือ ธรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ, ธรรมที่ ช่วยให้อายุยืน)
๑. สัปปายการี (รู้จักทำความสบายแก่ตนเอง)
๒. สัปปาเย มัตตัญญู (รู้จักประมาณ ในสิ่งที่สบาย)
๓. ปริณตโภชี (บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย เช่น เคี้ยวให้ละเอียด)
๔. กาลจารี (ประพฤติเหมาะในเรื่องเวลา เช่น รู้จักเวลา ทำถูกเวลา ทำเป็นเวลา ทำพอเหมาะ แก่เวลา เป็นต้น)
๕. พรหมจารี (ถือพรหมจรรย์ ผู้เป็นคฤหัสถ์ รู้จักควบคุมกามารมณ์ เว้นเมถุนบ้าง)
อายุวัฒนธรรมนี้ มีอีกหมวดหนึ่ง สามข้อแรก เหมือนกัน แปลกแต่ข้อ ๔ และ ๕ เป็น
สีลวา (มีศีล ประพฤติดีงาม ไม่ทำความผิด)
๕. กัลยาณมิตตะ (มีกัลยาณมิตร) |
เหตุแห่งวิมุต ๕
เหตุที่ทำให้บรรลุหลุดพ้นจากกิเลส (วิมุต) ได้
๑. หลุดพ้นด้วยการฟังธรรม
๒. หลุดพ้นด้วยการแสดงธรรม
๓. หลุดพ้นด้วยการสาธยายธรรม
๔. หลุดพ้นด้วยการตรึกตรองใคร่ครวญธรรม
๕. หลุดพ้นด้วยการตั้งจิตมั่นในนิมิต (สมาธินิมิต)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “วิมุตติสูตร” ข้อ ๒๖) |
องค์ของปาณาติบาต ๕
ลักษณะของการทำผิดศีลข้อ ๑ การฆ่าสัตว์ คือ
๑. เป็นสัตว์มีชีวิต (ปาโณ)
๒. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต (ปาณสัญญิตา)
๓. มีจิตคิดฆ่า (วธกจิตตัง)
๔. มีความพยายามฆ่า (อุปักกโม)
๕. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น (เตน มรณัง)
(อรรถกถาแปลเล่ม ๗๕ “จิตตุปปาทกัณฑ์” หน้า ๒๘๗) |
องค์คุณอุเบกขา ๕
คือสภาวะจิตวิญญาณบริสุทธิ์ไร้กิเลส (นิวรณ์ ๕)
๑. ปริสุทธา (จิตบริสุทธิ์หมดจด ปราศจากกิเลส นิวรณ์ ๕)
๒. ปริโยทาตา (จิตสะอาด ผุดผ่อง ขาวรอบ แข็งแรง แม้ผัสสะกระแทก)
๓. มุทุ (จิตหัวอ่อนดัดง่ายแววไว รู้แววไว อ่อน-ง่ายต่อการดัด ปรับปรุงให้เจริญ)
๔. กัมมัญญา (สละสลวย จิตควรแก่การงาน อันไร้อคติ)
๕. ปภัสสรา (จิตผ่องแผ้วแจ่มใส ถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ “ธาตุวิภังคสูตร” ข้อ ๖๙๐) |
อนาคามี ๕
คือผู้ละกิเลสสังโยชน์เบื้องต่ำ ทั้ง ๕ แล้วกำลังละสังโยชน์ เบื้องสูงอยู่ จะได้ปรินิพพาน ไม่เวียนกลับ มาเกิดอีก
๑. อันตราปรินิพพายี (ผู้เพียรทำปรินิพพาน ในระหว่างภพ)
๒. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้ทำปรินิพพาน ด้วยสามารถ)
๓. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพาน โดยไม่ต้องใช้ การปรุงแต่ง อภิสังขาร ให้มากนัก)
๔. สสังขารปรินิพพายี (ผู้ทำปรินิพพาน โดยต้องใช้ความเพียรมาก ประกอบ ปุญญาภิสังขาร ในภพตน ให้มาก ๆ)
๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (สภาวธรรม ไม่เป็นสองรองใคร หรือไม่เป็นน้องใครอีก แล้วปรินิพพานไว)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ “อเวจจสูตร” ข้อ ๖๔ และเล่ม ๓๖ “เอกกนิทเทส” ข้อ ๕๑ –๕๖)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อนาคามี ๕ (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก)
๑. อันตราปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือ เกิดในสุทธาวาส ภพใดภพหนึ่งแล้ว อายุยังไม่ถึงกึ่ง ก็ปรินิพพาน โดยกิเลสปรินิพพาน)
๒. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้จวนจะถึงจึงปรินิพพาน คือ อายุพ้นกึ่งแล้ว จวนจะถึงสิ้นอายุ จึงปรินิพพาน)
๓. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยง่าย ไม่ต้องใช้ ความเพียรนัก)
๔. สสังขารปรินิพพายี
(ผู้ปรินิพพานโดยใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยต้องใช้ ความเพียรมาก)
๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบน ไปสู่อกนิฏฐภพ คือ เกิดในสุทธาวาส ภพใดภพหนึ่ง แล้วก็ตาม จะเกิดเลื่อน ต่อขึ้นไป จนถึง อกนิฏฐภพ แล้วจึงปรินิพพาน) |
อนุปุพพิกถา ๕
คือการแสดงธรรมไปตามลำดับ
๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
๒. สีลกถา (เรื่องศีล)
๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์-ความสุข ที่พรั่งพร้อมด้วยกาม)
๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษของกาม)
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์ ในการออกจากกาม)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๔ “มหาขันธกะ ยสกุลบุตร” ข้อ ๒๗)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อนุปุพพิกถา ๕ (เรื่องที่กล่าวถึงตามลำดับ, ธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความ ลุ่มลึกลงไป โดยลำดับ เพื่อขัดเกลา อัธยาศัย ของผู้ฟัง ให้ประณีตขึ้นไป เป็นชั้นๆ จนพร้อมที่จะทำความเข้าใจ ในธรรม ส่วนปรมัตถ์)
๑. ทานกถา (เรื่องทาน, กล่าวถึงการให้ การเสียสละเผื่อแผ่แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน)
๒. สีลกถา (เรื่องศีล, กล่าวถึงความประพฤติที่ถูกต้อง ดีงาม)
๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์, กล่าวถึงความสุข ความเจริญ และผลที่น่าปรารถนาอันเป็นส่วนดีของกาม ที่จะพึงเข้าถึง เมื่อได้ประพฤติดีงาม ตามหลักธรรม สองข้อต้น)
๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษแห่งกาม, กล่าวถึงส่วนเสีย ข้อบกพร่องของกาม พร้อมทั้งผลร้าย ที่สืบเนื่อง มาแต่กาม อันไม่ควรหลงใหล หมกมุ่นมัวเมา จนถึงรู้จัก ที่จะหน่ายถอนตน ออกได้)
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งความออกจากกาม, กล่าวถึงผลดี ของการไม่หมกมุ่น เพลิดเพลิน ติดอยู่ในกาม และให้มีฉันทะ ที่จะแสวงความดีงาม และความสุข อันสงบ ที่ประณีต ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น) |
อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕
๑. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (อัสสุตัง สุณาติ)
๒. เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว (สุตัง ปริโยทาเปติ)
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้ (กังขัง วิหนติ)
๔. ทำความเห็นได้ถูกตรง (ทิฏฐิง อุชุง กโรติ)
๕. จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส (จิตตมัสสะ ปสีทติ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “ธัมมัสสวนสูตร” ข้อ ๒๐๒)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ธรรมสวนานิสงส์ ๕ (อานิสงส์ในการฟังธรรม)
๑. อสฺสุตํ สุณาติ (ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง, ได้เรียนรู้ สิ่งที่ยังไม่เคยเรียนรู้)
๒. สุตํ ปริโยทเปติ (สิ่งที่เคยได้ฟัง ก็ทำให้แจ่มแจ้ง เข้าใจชัดเจน ยิ่งขึ้น)
๓. กงฺขํ วิหนติ (แก้ข้อสงสัยได้, บรรเทาความสงสัยเสียได้)
๔. ทิฏฺฐึ อุชุ◦ กโรติ (ทำความเห็น ให้ถูกต้องได้)
๕. จิตฺตมสฺส ปสีทติ (จิตของเขา ย่อมผ่องใส) |
อาหารของถีนมิทธะ ๕
อาหารของจิตหรี่ ง่วงซึม มี ๕ อย่าง คือ
๑. ความไม่ยินดี (อรติ)
๒. ความเกียจคร้าน (ตันทิ)
๓. ความบิดขี้เกียจ (วิชัมภิกา)
๔. ความเมาอาหาร (ภัตตสัมมโท)
๕. ความที่ใจหดหู่ (เจตโส จ ลีนัตตัง)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ “อาหารสูตร” ข้อ ๕๒๕) |
อินทรีย์ ๕ / พละ ๕
คือธรรมะมีกำลังขึ้นเป็นใหญ่ในจิต เมื่อทำให้เจริญมาก ๆ ย่อมหยั่งลง สู่อมตะ
๑. สัทธา (มีความเลื่อมใสเป็นอำนาจเป็นพลัง ความเชื่อที่ปักมั่นยิ่งขึ้น เป็น สัทธินทรีย์)
๒. วิริยะ (มีความเพียรเป็นอำนาจเป็นพลัง ความเพียรที่มีพลัง-ขึ้น เป็น วิริยินทรีย์ ฯ)
๓. สติ (มีความระลึกรู้ตัวเป็นอำนาจเป็นพลัง ความระลึกรู้ตัวแววไวขึ้น เป็น สตินทรีย์ ฯ)
๔. สมาธิ (มีจิตตั้งมั่นเป็นอำนาจเป็นพลัง ความมีจิตตั้งมั่นแข็งแรง เป็นฌานยิ่งขึ้น ฯ)
๕. ปัญญา (มีความรู้แจ้งเป็นอำนาจเป็นพลัง ความรู้จริง ในความจริง แห่งธรรม ฯ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ “สัทธาสูตร” ข้อ ๑๐๑๑-๑๐๑๕
และ พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “วิตถตสูตร” ข้อ ๑๔)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
๑. สัทธา (ความเชื่อ)
๒. วิริยะ (ความเพียร)
๓. สติ (ความระลึกได้)
๔. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น)
๕. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด)
ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่ แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสีย ซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลง ตามลำดับ ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิด ความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธา เป็นต้น แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้ |
อุบาสกจัณฑาล ๕
คืออุบาสกที่เลวทราม เศร้าหมอง น่ารังเกียจ ด้วย...
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. ทุศีล (ทำผิดศีล)
๓. เชื่อถือมงคลตื่นข่าว ไม่เชื่อกรรม
๔. แสวงหาเขตบุญนอกศาสนาพุทธ
๕. ทำการสนับสนุนในที่นอกศาสนาพุทธ
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ “จัณฑาลสูตร” ข้อ ๑๗๕)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
มีนัยยะ ตรงข้ามคือ
อุบาสกธรรม ๕ (ธรรมของอุบาสกที่ดี, สมบัติหรือองค์คุณของอุบาสก อย่างเยี่ยม)
๑. มีศรัทธา
๒. มีศีล
๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล คือ มุ่งหวังจากการกระทำ และการงาน มิใช่จาก โชคลาง และสิ่งที่ตื่นกันว่า ขลังศักดิ์สิทธิ์
๔. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญ นอกหลัก พระพุทธศาสนา
๕. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้ เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวาย ในการอุปถัมภ์บำรุง พระพุทธศาสนา |
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องสูง ๕)
คือกิเลสละเอียดที่ผูกมัดจิตใจไว้กับทุกข์
๑. รูปราคะ (ความติดใจอยู่ในอารมณ์ที่เป็นรูปภพ – ในอุปาทายรูป)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจอยู่ในอารมณ์ ที่ไม่เป็นรูป อยู่ในอรูป -ภพ)
๓. มานะ (ความถือตัวถือตน ในความดีของตน)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน กระจัดกระจาย รู้ยาก)
๕. อวิชชา (ความหลง-ไม่รู้ อันเป็นเหตุไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้งใน – อาริยสัจ ๔)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ “สังคีติสูตร” ข้อ ๒๘๕)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สังโยชน์ คือกิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรม ไว้กับผล
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไป แม้ในภพ อันสูง)
รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรม อันประณีต, ความปรารถนา ในรูปภพ)
อรูปราคะ (ความติใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนา ในอรูปภพ)
มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่า เป็นนั่นเป็นนี่)
อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง) |
อุปมาแห่งขันธ์ ๕
๑. รูป อุปมาด้วยกองฟองน้ำ ซึ่งแม่น้ำนำมา ฯ เป็นของว่างเปล่า
๒. เวทนา อุปมาด้วยฟองน้ำ ซึ่งฝนตกนำมา ฯ เป็นของว่างเปล่า
๓. สัญญา อุปมาด้วยพยับแดด เดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ย่อมเป็น ของว่างเปล่า
๔. สังขาร อุปมาด้วยหยวกกล้วย ปอกกาบใบออก ไม่พึงได้ แม้แต่กระพี้ ไม่พึงได้แก่น ย่อมเป็นของ ว่างเปล่า
๕. วิญญาณ อุปมาดั่งมายากล หาสาระมิได้ เป็นของว่างเปล่า
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๗ “เผณปีณฑสูตร” ข้อ ๒๔๒) |
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
(สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕)
คือกิเลสหยาบที่ผูกมัดจิตใจไว้กับทุกข์
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่า ตัวตนกิเลสหยาบ เป็นตัวเรา)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย ในสักกายะกิเลส)
๓. สีลัพพตปรามาส (การปฏิบัติย่อหย่อนในศีลพรต ปฏิบัติอย่างไม่เอาจริง ทำอย่างลูบ ๆ คลำ ๆ ทำเหยาะๆ แหยะๆ )
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดแค้น ปองร้ายผู้อื่น)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ “สังคีติสูตร” ข้อ ๒๘๔)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สังโยชน์ คือกิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพ อันต่ำ)
สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น)
วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ)
สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์ หลุดพ้นได้ เพียงด้วยศีล และวัตร)
กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจ ในกามคุณ)
๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิด ขัดเคือง)
|