บัณฑิต นั้นคือ ผู้มีปัญญา และ
"
ศีล อยู่ที่ใด ปัญญา อยู่ที่นั้น
ปัญญา อยู่ที่ใด ศีล อยู่ที่นั้น
ผู้มี ศีล ก็มี ปัญญา
ผู้มี ปัญญา ก็มี ศีล
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึง
ศีล และ ปัญญา ว่า เป็นของเลิศในโลก
พระพุทธพจน์ ใน โสณทันฑสูตร
ทรงยืนยันชัดเจนไว้ ดั่งนี้ จริงๆ
ศีล ที่บุคคลใดสมาทาน
(เท่าที่ตนสามารถนั้น)
แล้วผู้นั้น ก็มีสติ (ปัฏฐาน หรือ สัมโพชฌงค์)
สังวร (ในทวารทั้ง ๖)
ให้ "ศีล ขัดเกลา "กาย-วจี เป็นเบื้องต้น และ
ให้ ศีล ขัดเกลา จิต ทั้งต้นและที่สุด (เรียกว่าทำ สมาธิ )
โดยเฉพาะ ศีล จะขัดเกลา
จิต ของเรา
สูงขึ้นได้จริงเรื่อยๆ
จึงจะชื่อว่า
พ้น สีลัพพตปรามาส
(ซึ่งหมายความว่า ปฏิบัติศีล
ปฏิบัติธรรม มีมรรค มีผล
มิใช่ ถือศีล-ปฏิบัติธรรม
แล้วก็งมๆ งายๆ
ตามๆ จารีต ตามๆ รูปแบบไปเปล่าๆ
หรือ ปฏิบัติผิดๆ
อยู่อย่างนั้นเอง)
และ นั่นคือ การเกิด อธิจิต
(สมาธิ) แบบพุทธ
อันเป็น สมาธิ
ที่มี ศีล เป็นฐาน
มี ศีล
เป็นที่ตั้ง
มี ศีล เป็นที่เป็นไป
(ซึ่งแตกต่างกับ
สมาธิ แบบนั่งหลับตากดข่ม
หรือ สะกดจิตเอาเฉยๆ ของฤาษี)
เมื่อผู้ประพฤติเองนั้น
รู้เห็นความเปลี่ยนแปลงของจิตเราเอง
ว่า ดีขึ้น สูงขึ้น ได้จริง
(ไม่คงเดิม,ไม่เที่ยง,
ไม่เป็นอยู่อย่างเก่า)
นั่นคือ ผู้นั้นเห็น อนิจจัง
ที่เป็นปรมัตถ์แท้แล้ว
(ขั้นพ้น มิจฉาทิฏฐิ)
และ ยิ่งเห็นความคลาย ทุกข์
(เห็น อริยสัจ 4 แท้)
เพราะ กิเลสเราลดลง จริงๆ
ได้อีก (ขั้นพ้น สักกายทิฏฐิ)
หรือ ยิ่งถึงขั้นที่สุด เราบริสุทธิ์
ศีล นั้นๆได้
จนเป็นความง่าย ความสบาย ความอัตโนมัติ
อันคือ ความ
ปกติ สมบูรณ์แล้วนั่นเอง
(เรื่องใด เราดี ปกติ
สมบูรณ์อยู่ก่อนแล้ว
ก็คือ เรามี ศีล อยู่แล้ว
เราเป็นอยู่เป็นไปตาม ศีล มาก่อนแล้ว
เรื่องนั้น ก็ไม่ต้องปฏิบัติอะไร)
ความรู้จริงในสภาวะที่กล่าวถึงอย่างนี้แล
คือ
ปัญญา ของผู้มี ศีล
หรือคือ ปัญญาอยู่ที่ใด
ศีลอยู่ที่นั้น
ซึ่งเมื่อผู้ใดมีถึงขั้นนี้จริง (เป็นขั้น อัตตานุทิฏฐิ)
ก็ยิ่งจะเกิด ศรัทธา-วิริยะ-สติ-สมาธิ-ปัญญา
ที่ผู้นั้นกันจริงๆ มีกันจริง โดยจริง สังเกตดูเถิด
จนขั้นจบ ก็จะพบความเป็น อนัตตา
ของทุกข์ ของกิเลส ชัดแท้
ที่ ศีล
และ อธิจิต ได้ช่วยขัดเกลาให้
แต่ละข้อ
และแต่ละขั้น
ยิ่งๆขึ้นไปๆ จนจบเสมอ
คือ หมดทุกข์
หมดอนุสัยกิเลส
และ สิ้นสังโยชน์สูงสุด ถึงพ้น
อวิชชาสังโยชน์
หรือเราบริสุทธิ์บริบูรณ์ ตรงตาม ศีล
นั้นๆ
ได้อยู่แท้ๆ ทั้งภายนอก-ภายใน
และ หมด ยึดถือ
อย่างเป็นของจริง
แต่ผู้นั้น จะเป็นผู้มี ศีล อยู่แท้
โดยมีความเป็น อนัตตา ให้เจ้าตัวสัมผัสได้จริง
(คือ พ้น อัตตานุทิฏฐิ)
หาใช่ อนัตตา ที่เป็นสภาพเพียง..
การรู้ความหมายของภาษา หรือ
หาใช่ อนัตตา
ที่เป็นเพียง
ผลของความเทียบเคียง ในปัญญาของเรา
และหรือ หาใช่ อนัตตา
ที่เป็นเพียง
ความเชื่อว่า เราไม่มีความเป็นตัวตนแล้ว เอาง่ายๆ
เท่านั้นไม่
!
แต่เป็น ความไม่มีตัวตน ของทุกข์
ในเรื่องนั้นๆ จริง
เพราะ ความไม่มีตัวตน ของกิเลส
แม้แต่อย่างหยาบ-กลาง-ละเอียด ในเรื่องนั้น
ๆ แท้
ซึ่งต้องเห็น ความไม่มี ด้วยญาณ
ที่หยั่งถึงที่สุด แห่งก้นบึ้งของจิตตน
แม้แต่ส่วนที่เรียกว่า อนุสัย
กันแน่ๆ คมๆ แม่นๆ
โดยมีสภาวะที่ ถูกรู้เห็น
แท้ๆ ชัดๆ แล้ว
ผู้นั้นจึงจะพ้นทุกข์ถาวร
และ หมดสิ้นสนิท ทั้งกิเลสแท้
(เพราะดับ เหตุแห่งทุกข์
แท้
มิใช่เพราะ เสพสม หรือ บำบัด
แค่นั้นด้วย)
และมีทั้ง ศีล มีทั้ง
ปัญญา
อยู่ครบพร้อมด้วยกันทั้งสิ้นอีก
จึงจะชื่อว่า ความหลุดพ้น
อันเป็นอริยบุคคล
ถึงจุดสุด ที่ถูกจริงเป็นจริง
มิใช่ หลงๆ หลวมๆ ปลอมๆ
หรือ มีแต่ ปัญญา
ที่ไม่มี ศีล ไม่มี ธรรม
กล่าวคือ มีแต่ ปัญญา แสนรอบรู้ ว่า
อย่างนั้นดี
เช่นนี้ควรเป็น สุดจะเข้าใจซาบซึ้ง
แต่เมื่อ เอา ศีล
เอา ธรรม นั้น
จับวัดเข้าไปในผู้รู้ไซร้ ก็เป็นไม่ได้ ทำไม่ถึง
หรือไม่ก็เป็นแต่ ปัญญา ที่สร้างนั่น
ก่อนี่
ความรู้เชิงนั้น วิชาการเชิงนี้
อันเป็นผลของความคิด ที่สามารถผลิต
ทั้งวัตถุ
และทั้งภพภูมิแห่งจิตวิญญาณ
ซึ่งผู้ยังเป็นทาสสิ่งเหล่านั้น
ยังหลงทำ หรือ
ยังต้องทำอยู่ (โลกียวิชา)
และ ก็เพราะ หลง นั่นเอง
จึงยังทำเพื่อ แลก ลาภ-ยศ-สรรเสริญ-โลกียสุข
มาเสพสม อยู่ตามระดับ
ที่ผู้นั้นยัง เหลือ ไม่จบสิ้นลงได้
โปรดศึกษา ศีล ตรวจ ศีล ปฏิบัติ
ศีล
ของพระบรมศาสดาให้จริงเถิด
แล้วประพฤติไปกับ การสร้างนั่น
ก่อนี่
คิดรู้เชิงนั้น ทำวิชาการเชิงนี้ พลางก็ได้
และ ไล่ (ศีล) ตามข้อตามขั้น ดูไปเรื่อยๆ
จะเห็น ปัญญา ที่มี ศีล
ในตน จนได้เข้าจริงๆ
ไม่เช่นนั้น ผู้นั้นแม้จะมี ปัญญายิ่ง
ก็จะมีเชื้อของ
จอมโจรบัณฑิต หรือ The
Great Pretender
ได้อย่างแสนมารยา ซ่อนลึก
และสุดร้าย หรือ ยิ่งคือ
โจรบัณฑิต
ที่เป็น จอม นั่นเอง
เพราะ
ยิ่งมี ปัญญา
ก็ยิ่งเลี่ยงสุดเร้น อำพรางสุดรอย
ชนิดที่ แม้เจ้าตัวก็แทบ
ไม่รู้ตัว
โน่นทีเดียว บางครั้งบางขณะ
เว้นแต่ ผู้นั้นยัง อวิชชา
โดยที่เจ้าตัวก็ยอมรับ
และ ยอมรู้ ในความโง่ข้อนั้นๆ
หรือ ผู้นั้นไม่มีเจตนาเลย
เป็นแต่ปัญญาตน ยังจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
และ ศีล หรือ อธิศีล ของตน
ที่ยังปฏิบัติไม่ถึง แท้ๆ จริงๆ เท่านั้น
ซึ่งเมื่อผู้ใดเริ่มรู้ทัน อวิชชา สังโยชน์นั้น
ๆ จริงแล้ว
ก็จะเห็นความเป็น อุทธัจจสังโยชน์
เป็นรูปเป็นรอยชัดขึ้นๆ ตามมา
และสุดท้าย
ก็จะจับต้นเหตุ ต้นเชื้อ
ต้นตระกูล ต้นเค้า
ซึ่งเป็นวายร้าย ที่ก่อความเป็นโจรได้ ว่า
ที่แท้ มานะสังโยชน์
นั่นเอง
ที่คือ ตัว จอมโจรบัณฑิต แท้ๆ
ตรงๆ
และ มันมีในคนจริงๆ
แม้ถึงขนาดพระอริยเจ้า
ขั้นที่ หลงตนว่าเป็น
อรหันต์
หากไม่ตามรู้มันให้ชัด และล้างทำลายมัน
ให้ดับสูญสนิทกันแท้แล้ว
มันก็จะยังคงคือ โจร ที่เป็น จอม
อยู่นั่นเอง
จะป่วยการกล่าวไปไย กับคนที่ยังไม่มีอริยคุณ
เป็นหลักประกัน
แม้เพียงสักขั้น.
๗ กรกฎาคม ๒๕๒๓
|